Wednesday, 15 May 2024
วุฒิสภา

วุฒิสภา-สสส.-ภาคีเครือข่าย เดินหน้ารณรงค์-ผนึกกำลังตร. สร้างความปลอดภัยทางม้าลาย หลังพบคดีอุบัติเหตุคนเดินเท้าเฉลี่ย 2,500 รายต่อปี

จับมือตำรวจไทย สร้างมาตรการควบคุม-บังคับใช้กฎหมาย ด้านไรเดอร์-ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ ร่วมขับเคลื่อนขับขี่ปลอดภัยลดอุบัติเหตุ

เมื่อวันที่ (21 กรกฎาคม 2565) ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สภากาชาดไทย สำนักงานเขตปทุมวัน และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม หยุดสูญเสีย หยุดรถ ให้คนข้ามทางม้าลาย #ความดีที่คุณทำได้ ครั้งที่ 6 “ก้าวเดินอย่างปลอดภัยบนทางม้าลาย ตำรวจจราจรไทยร่วมดูแล” พร้อมมอบสื่อให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อนำไปใช้ในการรณรงค์สื่อสารสร้างความเข้าใจกับประชาชนและบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ต่างๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยบนทางม้าลาย

ด้วยการลดความเร็วเขตชุมชนและชะลอก่อนถึงทางแยกทางข้าม
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกวุฒิสภา และประธานคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา กล่าวว่า “รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลงให้เหลือไม่เกิน 12 คนต่อประชากรแสนคน ภายในปี 2570 โดยใช้แนวคิดเน้นการจัดการเชิงระบบวิถีแห่งความปลอดภัย (Safe System Approach) โดยระบบที่ปลอดภัยจะช่วยป้องกัน และลดความสูญเสีย ซึ่งกว่า 6 เดือนที่ผ่านมา กิจกรรม หยุดสูญเสีย หยุดรถ ให้คนข้ามทางม้าลาย ขับเคลื่อนทำงานรณรงค์ปลูกจิตสำนึกอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างวินัยจราจร วันนี้เรายังเดินหน้ารณรงค์อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความมั่นใจให้คนข้ามทางม้าลาย 

การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญยิ่งที่มีหน้าที่กำกับดูแล บังคับใช้กฎหมาย จึงมีข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้เกิดความปลอดภัย 3 ด้าน คือ

1. การบริหารจัดการ การบังคับใช้กฎหมายและการกำกับติดตาม โดยเฉพาะการบังคับใช้และมีมาตรการดูแล ณ ทางแยก-ทางข้าม โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่ยังมีทั้งการจอดรถทับทางม้าลาย-ไม่หยุดให้คนข้าม 
2. มาตรการและมาตรฐานความปลอดภัย เช่น มาตรฐานสัญลักษณ์จราจรทางถนน และการกำหนด Speed Zone จำกัดความเร็วในเขตชุมชน 
3. การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย เช่น นำเทคโนโลยีเสริมการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่ฝ่าฝืน การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับกรมการขนส่งทางบกและกรุงเทพมหานคร วางแนวทางควบคุม/บังคับใช้กฎหมาย และสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านความปลอดภัย

‘ดร.เสรี’ กังวล ‘นักการเมืองเศรษฐี’ ใช้เงินยึดวุฒิสภา ห่วง!! ‘นักการเมืองธรรมดา’ จะเอาอะไรไปต่อกรด้วย

(19 มี.ค. 67) ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าวิธีเลือก สว. อันสลับซับซ้อนอย่างที่เห็น ถ้าดูดี ๆ ถ้าใช้เงิน 250 ล้าน สามารถยึดวุฒิสภาได้เลยนะ

เพื่ออำนาจ เพื่อผลประโยชน์ที่ต้องการ ท่านคิดว่าจะมีคนใช้เศษเงินของเขา 250 ล้านยึดวุฒิสภาไหมคะ

สว. มีบทบาทในการผ่านกฎหมาย การคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและข้าราชการ

เมืองไทยมีเศรษฐีที่มาทำงานการเมือง โดยที่เงิน 250 ล้านเป็นเศษเงินของเขาอยู่หลายคน

แล้วนักการเมืองที่ไม่มีเงินมากพอที่จะต่อกรกับนักการเมืองที่เป็นเศรษฐี จะเอาอะไรมาชนะพวกเขาในสังคมที่นักการเมืองบางคนคิดว่ามีเงินดีกว่ามีจริยธรรม

คิดแล้ว มันน่าเป็นห่วงจริงๆนะคะ

หรือเราทำอะไรไม่ได้แล้ว นอกจากทำใจ

“เงินตกใส่ทราย ทรายทรุด เงินตกใส่มนุษย์ มนุษย์ไม่มีจริยธรรม” เรื่องนี้ท่าจะจริงนะคะ

'วุฒิสภา' โหวตไม่เห็นชอบ 'วิษณุ วรัญญู'  ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด

(1 เม.ย. 67) ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ตำรงตำแหน่งประธานศาลปครองสูงสุด พิจารณาเสร็จแล้ว คือนายวิษณุ วรัญญู อดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด โดยเป็นการประชุมลับและลงคะแนนลับ

จากนั้นนายพรเพชร ประกาศผลการลงคะแนนว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบนายวิษณุ ด้วยคะแนน 45 คะแนน ไม่ให้ความเห็นชอบ 158 คะแนน ไม่ออกเสียง 6 คะแนน

ดังนั้นจากผลการออกเสียงลงคะแนนปรากฏว่า นายวิษณุ ไม่ได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงข้างมากจากที่ประชุมวุฒิสภา จึงถือว่านายวิษณุไม่ได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด

'รัดเกล้า' เผย!! รัฐบาลมุ่งยกระดับอาชีวไทย-พัฒนาทั้งครูและเด็ก เชื่อ!! เป็นทักษะสำคัญในโลกยุคใหม่ที่ตลาดแรงงานโลกต้องการ

(4 พ.ค.67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง อาชีวศึกษา: คุณภาพ มาตรฐาน และแรงจูงใจ โดยมีข้อเสนอแนะทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐาน และด้านแรงจูงใจผู้เรียนอาชีวศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของอาชีวศึกษาให้มีความทันสมัยและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และสร้างแรงจูงใจให้มีผู้สนใจเข้าเรียนสายอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรรมาธิการฯ มีข้อเสนอแนะให้พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา อาทิ พัฒนาสมรรถนะที่ขาดหายไป ด้วยการ Up-Skill, Re-Skill หรือ New-Skill เพื่อให้ครูมีสมรรถนะในการสอน พัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับกลุ่มอาชีพใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และให้ความสำคัญกับการฝึกปฏิบัติวิชาชีพจริงในสถานประกอบการที่ตรงกับสาขาอาชีพของผู้เรียน

ส่วนข้อเสนอแนะด้านแรงจูงใจผู้เรียนอาชีวศึกษา เช่น การสร้างค่านิยมต่อการเรียนอาชีวศึกษาว่าการเรียนทางด้านอาชีวศึกษาจะทำให้ผู้เรียนมีงานทำทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับ การพัฒนากระบวนการแนะแนว นำเสนอความสำเร็จของผู้เรียนอาชีวศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพให้แพร่หลายผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ และสร้างระบบการเรียนร่วมกับการทำงานและมีรายได้ระหว่างเรียน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ซึ่งผู้เรียนจะได้มีประสบการณ์จริงและทักษะในการประกอบอาชีพระหว่างที่เรียนด้วย

“การยกระดับระบบอาชีวศึกษาไทย โดยเฉพาะการเสริมทักษะขั้นสูงและเฉพาะทาง ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และสร้างแรงงานทักษะให้ตรงกับความต้องการในตลาดแรงงานโลก ซึ่งหากข้อเสนอแนะดังกล่าวจะเป็นแนวทางให้นักศึกษาและแรงงานอาชีวะไทยได้รับการสนับสนุนเพิ่มทักษะความรู้ ก็จะทำให้กลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ช่วยผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยอีกทางหนึ่งด้วย” รองโฆษกฯ กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top