Tuesday, 7 May 2024
นิด้าโพล

อยากได้ใครเป็น ‘นายก’? ‘นิด้าโพล’ เปิดผลคนไทยหนุนใครเป็น ‘นายกฯ’ ด้าน ‘บิ๊กตู่-พิธา-อุ๊งอิ๊ง’ คว้าคะแนนิยมติด 1 ใน 5 อันดับ

(27 มีนาคม 65) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 1/2565” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10-15 มีนาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,020 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

> อันดับ 1 ร้อยละ 27.62 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
> อันดับ 2 ร้อยละ 13.42 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา ชื่นชอบในวิธีการทำงาน มีวิสัยทัศน์และแนวคิดแบบคนรุ่นใหม่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ
> อันดับ 3 ร้อยละ 12.67 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์และสุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ นโยบายสามารถช่วยเหลือประชาชน ได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า จะได้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง
> อันดับ 4 ร้อยละ 12.53 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร
> อันดับ 5 ร้อยละ 8.22 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ ชื่นชอบนโยบาย มีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ

> อันดับ 6 ร้อยละ 7.03 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนชัดเจน เด็ดขาด ตรงไปตรงมา มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
> อันดับ 7 ร้อยละ 3.96 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนเก่ง ตรงไปตรงมา และตั้งใจทำงาน
> อันดับ 8 ร้อยละ 3.61 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
> อันดับ 9 ร้อยละ 2.77 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคกล้า) เพราะ เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากต่างชาติ
> อันดับ 10 ร้อยละ 2.58 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ บริหารงานอย่างตรงไปตรงมา และตั้งใจทำงาน

ร้อยละ 5.59 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา) และนายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์)

เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 4/64 เดือนธันวาคม 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ , พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และไม่ตอบ/ไม่สนใจ มีสัดส่วนลดลง

ในขณะผู้ที่ระบุว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) , น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) , คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) , พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) , นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) , นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคกล้า) และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

เปิดผลสำรวจนิด้าโพลล่าสุด ‘สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 65 รอบที่ 1’ คนกรุงเทใจให้ ชัชชาติ คะแนนนิยมพุ่ง ร้อยละ 38.84 ทิ้งห่างคู่แข่งหลายช่วงตัว

เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 65 รอบที่ 1’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5-7 เม.ย. 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 38.84 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (อิสระ) เพราะ เป็นคนเก่ง มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์ ตั้งใจในการทำงาน และลงพื้นที่รับฟังปัญหาของประชาชน

อันดับ 2 ร้อยละ 26.58 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ

อันดับ 3 ร้อยละ 10.06 ระบุว่าเป็น  พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง (อิสระ) เพราะ เป็นคนมีประสบการณ์ บริหารงานเก่ง และสามารถสานต่องานได้อย่างต่อเนื่อง

อันดับ 4 ร้อยละ 6.83 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่มีแนวคิดใหม่ ๆ และสามารถพัฒนาให้กรุงเทพฯ มีความเจริญก้าวหน้าเทียบเท่าต่างชาติได้

อันดับ 5 ร้อยละ 6.02 ระบุว่าเป็น ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ มีอุดมการณ์ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน

อันดับ 6 ร้อยละ 2.94 ระบุว่า ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO)

อันดับ 7 ร้อยละ 2.28 ระบุว่าเป็น นายสกลธี ภัททิยกุล (อิสระ) เพราะ มีประสบการณ์ในการบริหารงาน และช่วยเหลือประชาชนในกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง

อันดับ 8 ร้อยละ 2.06 ระบุว่า จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

อันดับ 9 ร้อยละ 1.98 ระบุว่าเป็น น.ส.รสนา โตสิตระกูล (อิสระ) เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์ ทำงานดี มีผลงาน และเป็นคนมีวิสัยทัศน์

อันดับ 10 ร้อยละ 1.47 ระบุว่าเป็น น.ต.ศิธา ทิวารี (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ ชื่นชอบนโยบายและเชื่อมั่นในพรรคไทยสร้างไทย

และร้อยละ 0.94 ระบุว่า  อื่น ๆ ได้แก่ พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล (อิสระ) น.ส.วัชรี วรรณศรี (อิสระ) นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ (อิสระ) ดร.ศุภชัย ตันติคมน์ (อิสระ) ดร.ประยูร ครองยศ (อิสระ) นายประพัฒน์ บรรจงศิริเจริญ (อิสระ) และดร.ภูมิพัฒน์ อัศวภูภินทร์ (อิสระ)  

นิด้าโพล เผยผลสำรวจความเห็นประชาชน ชี้ ส่วนใหญ่ ไม่เชื่อว่ามีดีลลับ ‘พลังประชารัฐ-เพื่อไทย’ ดันล้มสูตรหาร 500 หวังชู ‘บิ๊กป้อม’ เป็นนายกฯ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ข้อตกลงทางการเมืองพรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทย?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,312 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อตกลงทางการเมืองระหว่างพรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนต่อข้อตกลงทางการเมืองระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยในการเปลี่ยนสูตร การคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จากหาร 500 เป็น หาร 100 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.32 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 21.80 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 17.91 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 9.38 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 10.59 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนต่อข้อตกลงทางการเมืองระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยในการสนับสนุน พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 59.76 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 17.45 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 13.87 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 7.47 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.45 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

'นิด้า' เผยโพล คนอีสาน ยก 'อุ๊งอิ๊ง' ยืนหนึ่ง นั่งนายกรัฐมนตรี ยก 'พิธา' เป็นที่สอง

(9 ต.ค. 65) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนอีสาน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-6 ตุลาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนอีสาน การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ 'นิด้าโพล' สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนอีสานจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 36.45 ระบุว่าเป็น

น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคทำได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานของตระกูลชินวัตร

อันดับ 2 ร้อยละ 12.65 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร เป็นคนมีวิสัยทัศน์ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคก้าวไกล

อันดับ 3 ร้อยละ 10.20 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ มีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่นชอบนโยบายของพรรค ซื่อสัตย์สุจริต ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ และยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้

ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 4 ร้อยละ 9.85 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ ซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง อันดับ 5 ร้อยละ 6.50 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทำงาน อันดับ 6 ร้อยละ 3.95 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา เป็นคนที่พูดจริงทำจริง และชื่นชอบพรรคเพื่อไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.80 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ ชื่นชอบวิธีการทำงาน และชื่นชอบนโยบายของพรรคภูมิใจไทย ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นคนลงพื้นที่ดูแลประชาชนอย่างต่อเนื่อง อันดับ 8 ร้อยละ 1.75 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะ มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหาร และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา

อันดับ 9 ร้อยละ 1.30 ระบุว่าเป็น ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) เพราะ มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ขณะที่บางส่วนระบุว่า เชื่อมั่นในการทำงาน และร้อยละ 4.35 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายวราวุธ ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) ดร.สุทิน คลังแสง (พรรคเพื่อไทย) และไม่ตอบ/ไม่สนใจ

'นิด้าโพล' เผยผลสำรวจ 'คนที่ใช่พรรคที่ชอบของคนใต้' พบ 'คนใต้' ยังหนุน 'บิ๊กตู่' นั่งนายกฯ เป็นอันดับ 1

(23 ต.ค.65) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง 'คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนใต้' ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17-20 ตุลาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคใต้ กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,001 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนใต้ การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ 'นิด้าโพล' สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนใต้จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 23.94 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ ซื่อสัตย์สุจริต มีความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง อันดับ 2 ร้อยละ 13.24 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายพรรคเพื่อไทยสามารถแก้ไขปัญหาราคาสินค้าทางการเกษตรได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานของตระกูลชินวัตร อันดับ 3 ร้อยละ 12.79 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 11.24 ระบุว่าเป็นนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ เป็นคนมีวิสัยทัศน์ ชื่นชอบนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคก้าวไกล อันดับ 5 ร้อยละ 6.14 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทำงาน

อันดับ 6 ร้อยละ 5.95 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 7 ร้อยละ 5.30 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะ มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และเป็นคนสุขุมรอบคอบ อันดับ 8 ร้อยละ 5.10 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน มีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่นชอบนโยบายของพรรค ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ อันดับ 9 ร้อยละ 4.00 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ ชื่นชอบนโยบายของพรรคภูมิใจไทย เป็นคนพูดจริงทำจริง และลงพื้นที่ดูแลประชาชนอย่างต่อเนื่อง

อันดับ 10 ร้อยละ 2.90 ระบุว่าเป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) เพราะ เป็นคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง อันดับ 11 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) เพราะ มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร

อันดับ 12 ร้อยละ 1.50 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย เป็นคนสุขุมรอบคอบ และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา อันดับ 13 ร้อยละ 1.10 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพราะ เป็นคนมีความรู้ความสามารถ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการทำงาน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบแนวคิดและวิธีการทำงาน และร้อยละ 4.40 ระบุอื่นๆ ได้แก่ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นายเศรษฐา ทวีสิน และไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับพรรคการเมืองที่คนใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 27.49 ระบุว่าเป็นพรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 2 ร้อยละ 14.94 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 12.09 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และยังไม่ตัดสินใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 4 ร้อยละ 11.84 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 5 ร้อยละ 7.45 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 6 ร้อยละ 3.60 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ อันดับ 7 ร้อยละ 3.10 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 1.50 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคไทยสร้างไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 9 ร้อยละ 1.05 ระบุว่าเป็น พรรคกล้า อันดับ 10 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น พรรคสร้างอนาคตไทย และร้อยละ 2.35 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรครวมพลัง (พรรครวมพลังประชาชาติไทย) พรรคเศรษฐกิจใหม่ และไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘นิด้าโพล’ เผย Top 5 นายกฯ ของคนกรุงเทพฯ ‘กรณ์’ ติดโผ โปรไฟล์ ‘ศก.-การเมืองรุ่นใหม่’ พาเบียด

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคน กทม.’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21-27 ตุลาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคน กทม. การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า…

อันดับ 1 ร้อยละ 20.40 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนมีความมุ่งมั่น มีความรู้ความสามารถ เป็นคนรุ่นใหม่ และชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล 

อันดับ 2 ร้อยละ 15.20 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนมีความซื่อสัตย์ ชื่นชอบผลงาน ทำให้บ้านเมืองสงบ และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง 

อันดับ 3 ร้อยละ 14.10 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนมีความรู้ความสามารถ และต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ 

'นิด้าโพล' เผยผลสำรวจ นายกฯ ที่คนเหนือหนุน 'อุ๊งอิ๊งค์' มาเต็ง 'พิธา' ตาม ส่วนบิ๊กตู่ รั้งอันดับ 4

(6 พ.ย. 65)  ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง 'คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนเหนือ' ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคเหนือ กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนเหนือ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ 'นิด้าโพล' สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนเหนือจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 31.70 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคทำได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานของตระกูลชินวัตร อันดับ 2 ร้อยละ 15.00 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ เป็นคนมีวิสัยทัศน์

ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 12.65 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 12.50 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง อันดับ 5 ร้อยละ 6.55 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ เป็นคนมีประสบการณ์

ด้านการบริหาร ชื่นชอบนโยบายของพรรค ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ อันดับ 6 ร้อยละ 6.20 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทำงาน อันดับ 7 ร้อยละ 3.85 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนที่พูดจริงทำจริง มีประสบการณ์ด้านการบริหาร และชื่นชอบ พรรคเพื่อไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.50 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะ เป็นคนมีความรู้ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร อันดับ 9 ร้อยละ 2.00 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ เป็นคนพูดจริงทำจริง และชื่นชอบนโยบายของพรรคภูมิใจไทย อันดับ 10 ร้อยละ 1.85 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 11 ร้อยละ 1.10 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ มีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 12 ร้อยละ 1.05 ระบุว่าเป็น ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) เพราะ เป็นคนมีความรู้ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ

ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหาร และร้อยละ 3.05 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายเศรษฐา ทวีสิน นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) และนายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) เมื่อพิจารณาบุคคลที่คนเหนือจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มจังหวัดของภาคเหนือ พบว่า

1. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 อันดับ 1 ร้อยละ 37.98 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 17.75 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 12.21 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อันดับ 4 ร้อยละ 6.87 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และอันดับ 5 ร้อยละ 5.15 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

2. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 อันดับ 1 ร้อยละ 30.34 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 15.95 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 15.06 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 8.31 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 7.19 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) ในสัดส่วนที่เท่ากัน

ผลโพลชี้ชัด ‘คนใต้’ ยังเทใจให้ ‘ลุงตู่’ ส่วนพรรคในใจ ยังให้ ‘ประชาธิปัตย์’ ยืนหนึ่ง

ผลสำรวจของนิด้าโพล หัวข้อ ‘คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนใต้น่าสนใจยิ่งเกี่ยวกับพฤติกรรม และการตัดสินใจเลือกตั้งของคนปักษ์ใต้’ พบว่า ‘ลุงตู่-ประชาธิปัตย์’ ยังยืนเป็นหนึ่งอยู่ในใจของคนใต้ ด้วยเหตุเพราะทำให้บ้านเมืองสงบ

‘นิด้าโพล’ ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ทําการสํารวจระหว่างวันที่ 17-20 ตุลาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคใต้กระจายทุกระดับ การศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จํานวน 2,001 ตัวอย่าง เกี่ยวกับคนที่ใช่ พรรคที่ชอบของคนใต้การสํารวจ อาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (  Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย ๆ  (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมันมั่น ร้อยละ 97.0 การกำหนดค่าความเชื่อมั่นไว้ที่ 97 % อันเป็นการสะท้อนความน่าเชื่อถือของผลโพลที่ออกมา

ผลจากการสํารวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนใต้จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันนี้พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 23.94 ระบุว่าเป็นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน เพราะ ซื่อสัตย์สุจริต มีความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ ทําให้บ้านเมืองเกิดความสงบ และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง

คะแนนอันดับ 2 ร้อยละ 13.24 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อ ไทย) เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายพรรคเพื่อไทยสามารถแก้ไขปัญหาราคาสินค้าทางการเกษตรได้ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานของตระกูลชินวัตรอันดับ 3 ร้อยละ12.79 ระบุว่ายังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้

อันดับ 4 ร้อยละ 11.24 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศเป็น คนมีวิสัยทัศน์ ชื่นชอบนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคกาวไกลอันดับ 5 ร้อยละ 6.14 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทํางาน มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทํางาน อันดับ 6 ร้อยละ 5.95 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ ชื่นชอบ ผลงานที่ผ่านมาและชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์อันดับ 7 ร้อยละ 5.30 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะ มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และเป็นคนสุขุมรอบคอบ อันดับ 8 ร้อยละ 5.10 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์เกยุราพันธ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทํางาน มีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่นชอบนโยบายของพรรค ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ อันดับ 9 ร้อยละ 4.00 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ ชื่นชอบนโยบาย ของพรรคภูมิใจไทย เป็นคนพูดจริงทําจริงและลงพื้นที่ดูแลประชาชนอย่างต่อเนื่องอันดับ 10 ร้อยละ 2.90 ระบุว่าเป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) เพราะ เป็นคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง

นิด้าโพล สำรวจความคิดเห็น “คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนภาคตะวันออก” ชี้ คนส่วนใหญ่ หนุน ‘อุ๊งอิ๊ง’ นั่งนายกฯ ตามมาด้วย ‘พิธา – บิ๊กตู่’ พร้อมเทใจ ให้พรรคเพื่อไทย อันดับ 1

20 พ.ย. 2565 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนภาคตะวันออก” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-10 พฤศจิกายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคตะวันออก (จังหวัดในภาคตะวันออก ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว) กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,001 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนภาคตะวันออก การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนภาคตะวันออกจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 25.09 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ต้องการให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบนโยบายของพรรคเพื่อไทย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานของตระกูลชินวัตร

อันดับ 2 ร้อยละ 16.64 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ มีวิสัยทัศน์ ชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบอุดมการณ์ของพรรคก้าวไกล

อันดับ 3 ร้อยละ 13.64 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต ต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร อันดับ 4 ร้อยละ 13.09 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 5 ร้อยละ 8.50 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทำงาน 

อันดับ 6 ร้อยละ 7.25 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ เป็นคนมีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่นชอบผลงานในอดีตที่ผ่านมา และต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ อันดับ 7 ร้อยละ 2.80 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะ เป็นคนมีความรู้ด้านเศรษฐกิจ และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร

อันดับ 8 ร้อยละ 2.35 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ เป็นคนพูดจริงทำจริง และชื่นชอบนโยบายของพรรคภูมิใจไทย อันดับ 9 ร้อยละ 1.60 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ มีประสบการณ์ด้านการบริหาร และชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์ และนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนที่พูดจริงทำจริง มีประสบการณ์ด้านการบริหาร และชื่นชอบพรรคเพื่อไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 10 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพราะ เป็นคนมีความรู้ความสามารถ ชื่นชอบแนวคิดและวิธีการทำงาน และไม่ตอบ/ไม่สนใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน 

อันดับ 11 ร้อยละ 1.40 ระบุว่าเป็น ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) เพราะ เป็นคนมีความรู้ด้านเศรษฐกิจ มีวิสัยทัศน์ และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร และร้อยละ 2.94 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายเศรษฐาทวีสิน นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) และนายวิกรมกรมดิษฐ์

เมื่อพิจารณาบุคคลที่คนภาคตะวันออกจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มจังหวัดของภาคตะวันออก พบว่า

1.กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 อันดับ 1 ร้อยละ 26.27 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 19.92 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 13.22 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อันดับ 4 ร้อยละ 11.78 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และอันดับ 5 ร้อยละ 7.97 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)

2.กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 อันดับ 1 ร้อยละ 23.39 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 14.98 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 3 ร้อยละ 14.25 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อันดับ 4 ร้อยละ 11.94 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) และอันดับ 5 ร้อยละ 9.38 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

สำหรับพรรคการเมืองที่คนภาคตะวันออกมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 33.68 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 19.29 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 15.79 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 10.14 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 5 ร้อยละ 6.95 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 6 ร้อยละ 3.80 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7 ร้อยละ 3.05 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.75 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 9 ร้อยละ 1.10 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 3.45 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคกล้า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเพื่อชาติ และพรรคประชาชาติ

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจ ‘6 พรรคกับโอกาสได้เป็น รบ.’ ชี้!! ‘เพื่อไทย’ พุ่งอันดับ 1 ส่วน ‘ก้าวไกล’ ครองอันดับ 2

(11 ธ.ค. 65) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘6 พรรคกับโอกาส ได้เป็นรัฐบาล’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับ 6 พรรคกับโอกาสได้เป็นรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อให้ประชาชนวิเคราะห์ถึงโอกาสที่พรรคการเมือง ทั้ง 6 พรรค ซึ่งกำลังมีกระแสข่าวการไหลเข้า-ออก ของนักการเมือง จะได้เป็นรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า

1. พรรคเพื่อไทย (นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว/น.ส.แพทองธาร ชินวัตร) 

ร้อยละ 40.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก 

ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 16.88 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 2.06 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

2. พรรคก้าวไกล (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์) 

ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย 

ร้อยละ 30.23 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 11.00 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 3.66 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

3. พรรคพลังประชารัฐ (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) 

ร้อยละ 33.51 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 32.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ 20.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก 

ร้อยละ 10.76 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 2.75 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

4. พรรครวมไทยสร้างชาติ (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค/พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) 

ร้อยละ 43.12 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ 15.73 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ 5.73 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 3.97 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

5. พรรคภูมิใจไทย (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) 

ร้อยละ 39.16 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย 

ร้อยละ 30.84 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 21.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ 4.96 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 3.44 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

6. พรรคประชาธิปัตย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) 

ร้อยละ 40.69 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย 

ร้อยละ 38.93 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 13.20 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ 4.58 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อกระแสข่าวข้อตกลงการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.65 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะ เป็นเพียงแค่กระแสข่าวลือ โอกาสเป็นไปได้ยาก เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน

รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะ ทั้งสองพรรคต่างต้องการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้ การนำของตนเองจึงไม่น่าจะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลได้

ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะ การเมืองเป็นเรื่องของการหาผลประโยชน์ จึงมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองพรรคจะตกลงจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน

ร้อยละ 5.19 ระบุว่า เชื่อมาก เพราะ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยเคยมีความสัมพันธ์กันในอดีต จึงอาจมีการหารือเพื่อตกลงเรื่องผลประโยชน์หากได้เป็นรัฐบาลร่วมกัน และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top