Sunday, 19 May 2024
นิด้าโพล

‘มาดามเดียร์’ ปลื้ม!! ผลสำรวจนิด้าโพล ชี้!! เหมาะสมเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป

‘มาดามเดียร์’ ร่วมเป็นกรรมการตัดสินประกวด ‘Policy Hackathon’ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมพบตัวแทนสาขาพรรคฯ เน้นย้ำความตั้งใจลงชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่ออนาคตของพรรคและประเทศ ขอบคุณหลังผลนิด้าโพลประชาชนยกให้เหมาะสมเป็นหัวหน้าคนต่อไป

(3 ธ.ค. 66) ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น น.ส.วทันยา บุนนาค ประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมืองกรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางร่วมกิจกรรมเป็นกรรมการตัดสินกิจกรรม การประกวดนโยบาย Policy Hackathon ในงาน ‘มหกรรมสิงห์วิชาการ ครั้งที่ 9’ ซึ่งจัดโดยสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ในโอกาสนี้ น.ส.วทันยา ยังได้พบปะตัวแทนสาขาพรรคประชาธิปัตย์ประจำจังหวัด และสมาชิก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากหลายจังหวัด เพื่ออธิบายถึงความตั้งใจในการประกาศตัวลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่ 9 และแนวทางในการทำงานเพื่อฟื้นฟูอุดมการณ์และความศรัทธาของพรรค ให้ได้รับการยอมรับและเป็นที่ไว้ใจให้กับประชาชนอีกครั้ง รวมถึงยังได้มีการแลกเปลี่ยนรับฟังถึงปัญหาและความต้องการจากตัวแทนสาขาพรรค เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมต่อไป

โดยในการพูดคุยตัวแทนสาขาพรรค มีความเห็นพ้องร่วมกันว่าอยากให้ น.ส.วทันยา ได้รับการเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่ 9 เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ทั้งด้านธุรกิจและด้านการเมือง จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถฟื้นฟูและนำพาพรรคประชาธิปัตย์ให้กลับมาเป็นที่เชื่อมั่นของประชาชนได้อีกครั้ง

ขณะที่ น.ส.วทันยา ได้กล่าวย้ำถึงความตั้งใจที่เสนอตัวลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ว่า ตนมีความตั้งใจที่จะฟื้นฟูอุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ให้กลับมาเป็นที่พึ่งของประชาชนให้ได้ และชวนทุกคนมาร่วมสร้างพรรคการเมืองให้เป็นพรรคของประชาชนอย่างแท้จริง ด้วยการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมในทุกมิติของพรรค

นอกจากนี้ น.ส.วทันยา ยังได้กล่าวถึงผลสำรวจของนิด้าโพล ที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าตนมีความเหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ ว่า ขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพความตั้งใจของตน ที่ได้เสนอตัวต่อพี่น้องประชาชนและสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์

'นิด้าโพล' เผยผลสำรวจ ส่วนใหญ่ชี้ 'คนไทยไม่ค่อยมีวินัยจราจร' แนะ!! ควรมีระบบ 'แจ้งเบาะแสคนทำผิด-ได้ส่วนแบ่งค่าปรับ'

(18 ธ.ค.66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้าโพล) เผยแพร่ผลการสำรวจเรื่อง ‘ผิดวินัยจราจร จัดการอย่างไรดี’ สอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 1,310 คน กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. - 2 ธ.ค. 2566  พบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.17 มองว่า คนไทยไม่ค่อยมีวินัยจราจร รองลงมา ร้อยละ 33.21 มองว่าคนไทยค่อนข้างมีวินัยจราจร ขณะที่ร้อยละ 14.73 มองว่าคนไทยไม่มีวินัยจราจรเลย มีเพียงร้อยละ 3.89 เท่านั้นที่มองว่าคนไทยมีวินัยจราจรที่ดีมาก

2.สำหรับ 5 อันดับ วินัยจราจรที่ต้องการให้ตำรวจเข้มงวดกวดขันมากที่สุด อันดับ 1 ขับรถขณะเมาสุรา ร้อยละ 67.10 อันดับ 2 ขับรถย้อนศร ร้อยละ 58.17 อันดับ 3 ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ร้อยละ 45.57 อันดับ 4 ไม่สวมหมวกกันน็อคขณะขับขี่หรือซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ ร้อยละ 35.19 อันดับ 5 ขับรถโดยใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ร้อยละ 33.05 

3.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.74 เห็นว่า วิธีการบังคับใช้กฎหมายจราจรของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้การทำความผิดน้อยลงหรือหมดไป ควรลงโทษตามความผิดที่ได้กระทำ โดยเริ่มจากเบาไปหาหนัก  (เช่น ครั้งที่ 1 ตักเตือน ครั้งที่ 2 ปรับ 1,000 บาท และตัดแต้ม ครั้งที่ 3 ปรับ 2,000 บาท และตัดแต้ม ไปจนถึงขั้นสูงสุดพักใช้ใบอนุญาตขับขี่) รองลงมา ร้อยละ 19.92 ตักเตือนสำหรับผู้ทำความผิดครั้งแรก หากทำผิดซ้ำภายใน 1 ปี ให้ลงโทษตามกฎหมาย โดยอัตราโทษให้เป็นไปตามดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้จับกุม 

อันดับ 3 ร้อยละ 49.47 ตักเตือนสำหรับผู้ทำความผิดครั้งแรก หากทำผิดซ้ำภายใน 1 ปี ให้ลงโทษตามกฎหมาย โดยมีการกำหนดอัตราโทษตายตัวสำหรับข้อหานั้น ๆ อันดับ 4 ร้อยละ 10 จับกุมหรือออกใบสั่งทุกกรณี โดยมีการกำหนดอัตราโทษตายตัวสำหรับข้อหานั้น ๆ และอันดับ 5 ร้อยละ 6.95 จับกุมหรือออกใบสั่งทุกกรณี โดยอัตราโทษให้เป็นไปตามดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้จับกุม 

4.กลุ่มตัวอย่างสนับสนุนแนวคิดให้ประชาชนส่งหลักฐานแจ้งเบาะแสผู้ทำผิดกฎจราจร รวมถึงได้รับเงินส่วนแบ่งค่าปรับจากการดำเนินคดีด้วย โดยมีกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 79.31 หรือกว่า 3 ใน 4 สนับสนุนแนวคิดการให้ประชาชนแจ้งเบาะแส แบ่งเป็นเห็นด้วยมาก ร้อยละ 47.40 และค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 31.91 ขณะที่มีถึงร้อยละ 65.92 หรือเกือบ 2 ใน 3 สนับสนุนการที่ประชาชนผู้แจ้งเบาะแสจะได้ส่วนแบ่งค่าปรับ โดยแบ่งเป็นเห็นด้วยมาก ร้อยละ 34.35 และค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 31.57

5.ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจนทำให้การจราจรติดขัด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.58 เสนอแนะว่า รถที่มีการติดกล้องบันทึกเหตุการณ์ ให้สามารถเคลื่อนย้ายรถได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องรอเจ้าหน้าที่ รองลงมา ร้อยละ 35.04 ระบุว่า ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางไปถึงในจุดที่มีอุบัติเหตุให้เร็วที่สุด และร้อยละ 18.7 ให้ตัวแทนประกันภัยเดินทางมาถึงจุดเกิดเหตุโดยเร็วที่สุด

‘นิด้าโพล’ เปิดผลสำรวจคะแนนนิยมนักการเมือง 'พิธา' นำโด่ง เหตุมีความเป็นผู้นำ-วิสัยทัศนดี แซงหน้า 'เศรษฐา' อันดับ 2

(24 ธ.ค.66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาสปี 2566’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 13-18 ธันวาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 39.40 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะมีความเป็นผู้นำ เป็นคนรุ่นใหม่ วิสัยทัศน์ดี บุคลิกดี และเข้าถึงประชาชน 
อันดับ 2 ร้อยละ 22.35 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) เพราะมีความรู้ความสามารถ ตรงไปตรงมา และชื่นชอบพรรคเพื่อไทย 
อันดับ 3 ร้อยละ 18.60 ระบุว่ายังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ 
อันดับ 4 ร้อยละ 5.75 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคและนโยบายพรรคเพื่อไทย และชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร 
อันดับ 5 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะมีความรู้ความสามารถ มีความน่าเชื่อถือ ตรงไปตรงมา และมีความซื่อสัตย์สุจริต 
อันดับ 6 ร้อยละ 1.70 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ตรงไปตรงมา และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา 
อันดับ 7 ร้อยละ 1.65 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะมีประสบการณ์ด้านการบริหารประเทศ และต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ 

ร้อยละ 3.90 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายชัยธวัช ตุลาธน (พรรคก้าวไกล) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายวราวุธ ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน (พรรคประชาธิปัตย์) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง (พรรคประชาชาติ) นายเฉลิม อยู่บำรุง (พรรคเพื่อไทย) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) และ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์
และร้อยละ 4.25 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 44.05 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 2 ร้อยละ 24.05 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 16.10 ระบุว่า ยังหาพรรคการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 3.60 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 3.20 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 6 ร้อยละ 1.75 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 7 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 1.85 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคไทยสร้างไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อไทยรวมพลัง พรรคประชาชาติ พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคเสรีรวมไทย และร้อยละ 3.95 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘นายกฯ’ รับฟัง ‘นิด้าโพล’ หลัง ปชช.ให้คะแนนอยู่ยาวตลอดปี ชี้!! ไม่ว่าผลจะเป็นยังไงก็ยังตื่นเช้ามาทำงาน-ทำทุกอย่างเป็นปกติ

(7 ม.ค.67) ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมคณะ ประกอบด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เดินทางจาก บน.6 ดอนเมือง กรุงเทพฯ ไปยังท่าอากาศยานร้อยเอ็ด ตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี เป็นประธานกิจกรรม Kick off ‘30 บาท รักษาทุกที่’ ที่ลานสาเกตนคร หน้าหอโหวด 101 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด นำร่องใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ในโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ โดยจะคิดออฟพร้อมกันในจังหวัดนำร่อง ร้อยเอ็ด, แพร่, เพชรบุรี และนราธิวาส

ผู้สื่อข่าวสอบถามกรณีที่ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจประชาชน เรื่อง ‘การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตในปี 2567’ เชื่อว่าปีหน้าเศษรฐกิจจะดีและรัฐบาลนายเศรษฐาจะอยู่ยาวตลอดปี แต่จะมีเหตุวุ่นวายทางการเมืองอยู่บ้างว่า ก็รับฟัง และพรุ่งนี้เช้าก็ยังตื่นไปทำงานเหมือนปกติ

เมื่อถามว่า โพลสะท้อนว่าประชาชนเชื่อว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น ทำให้มีกำลังใจทำงานมากขึ้นหรือไม่ นายเศรษฐากล่าวย้ำว่า ถึงอย่างไรก็ต้องตื่นเช้าทำงานเหมือนเดิม ทุกอย่างยังเป็นปกติ ทำงานเหมือนเดิม

‘โพลนิด้า’ เปิดผลสำรวจ ปชช.ต่อภาพรวมกรณีของ ‘ทักษิณ’ ชี้!! ร้อยละ 39.62 มองว่าไม่ส่งผลต่อความอยู่รอดของรัฐบาล

(21 ม.ค. 67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘กรณีทักษิณ ชินวัตร กับความอยู่รอดของรัฐบาล’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-17 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความอยู่รอดของรัฐบาล จากกรณีทักษิณ ชินวัตร ยังคงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.62 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของรัฐบาลเลย

รองลงมา ร้อยละ 21.98 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของรัฐบาล ร้อยละ 18.70 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของรัฐบาล ร้อยละ 15.42 ระบุว่า ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของรัฐบาลอย่างมาก และร้อยละ 4.28 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้ส่งตัวทักษิณ ชินวัตร กลับเข้าเรือนจำ จะลุกลามจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองรอบใหม่เหมือนการชุมนุมของเสื้อเหลือง เสื้อแดง และ กปปส. ในอดีต พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.60 ระบุว่า จะไม่นำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองรอบใหม่แน่นอน

รองลงมา ร้อยละ 41.30 ระบุว่า จะนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองรอบใหม่ แต่ไม่ใหญ่โตเหมือนในอดีต ร้อยละ 11.15 ระบุว่า จะนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองรอบใหม่เหมือนในอดีตแน่นอน และร้อยละ 5.95 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘นิด้าโพล’ เผย!! คนไทยส่วนใหญ่ไม่โกรธนายกฯ หากต้องยกเลิกนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต

(28 ม.ค. 67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘วิกฤติเศรษฐกิจ กับการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-24 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับวิกฤติเศรษฐกิจกับการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต

จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 63.51 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในระดับที่ต้องหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน, รองลงมา ร้อยละ 20.15 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในระดับที่ ต้องหาทางแก้ไขแต่ไม่เร่งด่วน, ร้อยละ 10.08 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในระดับที่ไม่น่าวิตกกังวลใดๆ, ร้อยละ 5.65 ระบุว่า ไม่ได้เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ และร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับการเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจของประชาชนในขณะนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.72 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในระดับที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างเร่งด่วน, รองลงมา ร้อยละ 31.91 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในระดับที่สามารถรับมือได้ด้วยตนเอง, ร้อยละ 20.45 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในระดับที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ไม่เร่งด่วน และร้อยละ 10.92 ระบุว่า ไม่ได้เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจใดๆ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่า

- ร้อยละ 34.66 ระบุว่า ควรหยุดการดำเนินการในนโยบายนี้ได้แล้ว
- ร้อยละ 18.55 ระบุว่า ดำเนินนโยบายต่อไปในปีนี้ แต่แจกเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางทางเศรษฐกิจ
- ร้อยละ 5.88 ระบุว่า เลื่อนการดำเนินนโยบายไปในปี 2568
- ร้อยละ 4.58 ระบุว่า เลื่อนการดำเนินนโยบายไปในปี 2568 แต่แจกเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางทางเศรษฐกิจ
- ร้อยละ 2.67 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนหากนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ตัดสินใจยกเลิกนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่า

- ร้อยละ 68.85 ระบุว่า ไม่โกรธเลย
- ร้อยละ 12.37 ระบุว่า ค่อนข้างโกรธ
- ร้อยละ 9.39 ระบุว่า โกรธมาก
- ร้อยละ 8.85 ระบุว่า ไม่ค่อยโกรธ
- ร้อยละ 0.54 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘นิด้าโพล’ ชี้ ปชช. ยังหนุนก้าวไกล ยก ‘พิธา’ เหมาะนั่งนายกฯ เพราะ กล้าหาญ-ตรงไปตรงมา-บุคลิกเป็นผู้นำ รวมทั้ง เป็นคนรุ่นใหม่

(24 มี.ค.67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 1/2567’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 42.75 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ มีความกล้าหาญ ตรงไปตรงมา บุคลิกเป็นผู้นำ และเป็นคนรุ่นใหม่ อันดับ 2 ร้อยละ 20.05 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 3 ร้อยละ 17.75 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจ อันดับ 4 ร้อยละ 6.00 ระบุว่าเป็น นางสาวแพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ มีทัศนคติที่ดี และมีความเป็นผู้นำ อันดับ 5 ร้อยละ 3.55 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะ มีวิสัยทัศน์ดี ซื่อสัตย์ มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการทำงาน อันดับ 6 ร้อยละ 2.90 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ เป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ ทำงานด้วยความโปร่งใส และมีประสบการณ์ในการทำงาน อันดับ 7 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ซื่อสัตย์ และมีความเด็ดขาดในการตัดสินใจ อันดับ 8 ร้อยละ 1.05 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) เพราะ มีประสบการณ์ในการทำงาน และมีผลงานทางการเมือง ร้อยละ 2.45 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายชัยธวัช ตุลาธน (พรรคก้าวไกล) นายวราวุธ ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน (พรรคประชาธิปัตย์) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายกรณ์ จาติกวณิช นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และ พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง (พรรคประชาชาติ) และร้อยละ 2.05 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 48.45 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 2 ร้อยละ 22.10 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 12.75 ระบุว่า ยังหาพรรคการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 5.10 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 5 ร้อยละ 3.50 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 6 ร้อยละ 2.30 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 7 ร้อยละ 1.70 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 8 ร้อยละ 1.30 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย และร้อยละ 1.40 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อไทยรวมพลัง และพรรคท้องถิ่นไทย และไม่ตอบ/ไม่สนใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.60 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.45 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.75 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.70 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.10 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.90 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.80 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.95 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.65 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.70 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.50 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.55 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.95 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 37.35 สถานภาพโสด ร้อยละ 60.35 สมรส และร้อยละ 2.30 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 26.65 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.50 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.00 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่าร้อยละ 25.20 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.65 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.30 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.20 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.60 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.95 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.60 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.80 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.55 เป็นนักเรียน/นักศึกษาตัวอย่าง ร้อยละ 23.45 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.75 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.75 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 8.80 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.45 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.35 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.45 ไม่ระบุรายได้

‘นิด้าโพล’ เปิดมุมมอง สะท้อนความคิดเห็น ‘ขรก.-จนท.รัฐ’ เบื่อขั้นตอนมากมาย-เบื่อเจ้านาย แต่ ‘ไม่อยากย้าย-ไม่อยากออก’

(31 มี.ค.67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-18 มีนาคม 2567 จากข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความรู้สึกเบื่อของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐต่อระบบราชการไทย เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้รู้สึกเบื่อในระบบ หรืองานราชการ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.47 ระบุว่า ขั้นตอนการปฏิบัติราชการที่มากมายและยุ่งยากซับซ้อน , รองลงมา ร้อยละ 31.53 ระบุว่า ระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการ , ร้อยละ 28.24 ระบุว่า เงินเดือนน้อย , ร้อยละ 22.44 ระบุว่า ตัวชี้วัดทั้งหลาย , ร้อยละ 20.38 ระบุว่า โครงสร้าง การปกครองหรือสั่งการตามลำดับชั้น

ร้อยละ 18.93 ระบุว่า การประสานงานที่ไม่เป็นระบบ , ร้อยละ 17.02 ระบุว่า การแข่งขันกันเพื่อแย่งชิง ความดีความชอบและตำแหน่งที่สำคัญ , ร้อยละ 16.49 ระบุว่า การคอร์รัปชันในระบบราชการ , ร้อยละ 16.18 ระบุว่า เจ้านาย , ร้อยละ 15.73 ระบุว่า ไม่เบื่ออะไรเลย , ร้อยละ 14.05 ระบุว่า เพื่อนร่วมงาน , ร้อยละ 11.07 ระบุว่า การทำงานแบบผักชีโรยหน้า , ร้อยละ 10.23 ระบุว่า การแทรกแซง ของนักการเมือง ผู้มีอิทธิพล , ร้อยละ 8.47 ระบุว่า ลูกน้อง , ร้อยละ 7.25 ระบุว่า งานที่มีความเสี่ยงจะผิดกฎระเบียบ และร้อยละ 6.41 ระบุว่า ประชาชนที่ไม่เข้าใจในระบบงาน กฎระเบียบของราชการ

ด้านความศรัทธาต่อระบบราชการไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.47 ระบุว่า ค่อนข้างศรัทธา , รองลงมา ร้อยละ 22.52 ระบุว่า ศรัทธามาก , ร้อยละ 21.53 ระบุว่า ไม่ค่อยศรัทธา , ร้อยละ 6.34 ระบุว่า ไม่ศรัทธาเลย และร้อยละ 0.14 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการลาออก หรือการย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่นของรัฐ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 63.04 ระบุว่า ไม่อยากลาออกและไม่อยากย้ายหน่วยงาน , รองลงมา ร้อยละ 14.89 ระบุว่า อยากลาออกจากหน่วยงานของรัฐ , ร้อยละ 13.44 ระบุว่า อยากย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่นของรัฐ , ร้อยละ 8.32 ระบุว่า ลาออกหรือย้ายหน่วยงานก็ได้ และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘นิด้าโพล’ เผย ปชช. ไม่เชื่อ ‘พ.ร.บ.กลาโหมฯ’ จะป้องกันรัฐประหารได้ มองเหตุการณ์ยึดอำนาจปี 57 ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ของประเทศไทย 

(28 เม.ย. 67) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เรื่อง หยุดรัฐประหาร! ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2567 โดยเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหมจะช่วยป้องกันการรัฐประหาร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 25.73 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 12.52 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 6.72 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 3.20 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

และเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการทำรัฐประหารในปี 2557 จะเป็นครั้งสุดท้ายของประเทศไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 61.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 6.11 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 3.44 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘นิด้าโพล’ ชี้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ไม่คุ้มค่าครองชีพ ที่ปรับสูงตาม ปชช. ส่วนใหญ่ ‘ไม่เชื่อมั่น’ รัฐบาลจะปรับขึ้นได้ทัน 1 ต.ค.นี้

(12 พ.ค.67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘ค่าแรงขึ้น…คุ้มมั๊ย กับ ค่าแกง?’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-7 พฤษภาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 44.50 ระบุว่า เห็นด้วยกับการทยอยปรับขึ้นทั่วประเทศ เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2567 นี้ รองลงมา ร้อยละ 25.34 ระบุว่า ควรปรับขึ้นเท่ากันทั่วประเทศทันที ไม่ต้องรอวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ร้อยละ 16.41 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศในปีนี้ ร้อยละ 13.05 ระบุว่า ควรปรับขึ้นทั่วประเทศโดยไม่มีการทยอยปรับ เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2567 นี้ และร้อยละ 0.70 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความเชื่อมั่นของประชาชนว่าคณะกรรมการค่าจ้างจะเห็นด้วยกับข้อเสนอของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.23 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 24.12 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 20.84 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 10.23 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 4.58 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับความเชื่อมั่นของประชาชนว่ารัฐบาลจะเริ่มทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.01 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 25.95 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 23.36 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 9.92 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 1.76 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

และเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะคุ้มกับค่าอาหารและค่าครองชีพในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 60.84 ระบุว่า เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น จะไม่คุ้มกับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่อาจจะสูงขึ้น รองลงมา ร้อยละ 23.97 ระบุว่า เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น จะคุ้มกับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่อาจจะสูงขึ้น ร้อยละ 9.46 ระบุว่า เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น ไม่ใช่เหตุผลหลักที่ทำให้ค่าอาหาร ค่าครองชีพสูงขึ้น ร้อยละ 4.89 ระบุว่า เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่สูงขึ้น และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top