Sunday, 19 May 2024
นิด้าโพล

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจ ‘พปชร.’ VS ‘รทสช.’ ปชช. มอง ‘ป้อม-ตู่’ ไม่แตกกัน พร้อมจับมือตั้งรัฐบาล

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจ การแข่งขันระหว่าง ‘พี่ป้อม’ พลังประชารัฐ ปะทะ ‘น้องตู่’ รวมไทยสร้างชาติ พบส่วนใหญ่เชื่อ ‘บิ๊กตู่ - บิ๊กป้อม’ ไม่ได้แตกกัน มอง ทั้ง 2 พรรคได้ ส.ส. เท่า ๆ กัน และพร้อมจับมือตั้งรัฐบาล

(29 ม.ค.66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ปะทะ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)’ ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 23-25 มกราคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแข่งขัน ทางการเมืองระหว่าง รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กับ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อการแข่งขันทางการเมืองระหว่าง รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จากพรรคพลังประชารัฐ กับนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรครวมไทยสร้างชาติ พบว่า 

- กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 46.56 ระบุว่า พลเอกประวิตร กับ พลเอกประยุทธ์ ไม่ได้แตกกัน เป็นเพียงแค่การแข่งขันทางการเมือง 
- รองลงมา ร้อยละ 28.93 ระบุว่า การเมืองไม่มีมิตรแท้และศรัตรูที่ถาวร 
- ร้อยละ 20.53 ระบุว่า เป็นสีสันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย 
- ร้อยละ 12.52 ระบุว่า พลเอกประยุทธ์ เป็นอิสระมากขึ้นในการตัดสินใจทางการเมืองและการบริหารประเทศ 
- ร้อยละ 10.76 ระบุว่า การแข่งขันกันจะทำให้ทั้งสองพรรคได้ ส.ส. รวมกันแล้วน้อยกว่าจำนวน ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้งปี 2562 
- ร้อยละ 9.01 ระบุว่า พลเอกประวิตร กับ พลเอกประยุทธ์ แตกกันอย่างแน่นอน 
- ร้อยละ 8.78 ระบุว่า พลเอกประวิตร และ พรรคพลังประชารัฐ เป็นอิสระมากขึ้น สามารถร่วมรัฐบาลกับฝั่งไหนก็ได้หลังการเลือกตั้ง
- ร้อยละ 6.56 ระบุว่า การแข่งขันกันจะทำให้ทั้งสองพรรคได้ ส.ส. รวมกันแล้วมากกว่าจำนวน ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้งปี 2562 
- ร้อยละ 6.34 ระบุว่า ผู้ที่เคยสนับสนุน พลเอกประยุทธ์ แต่ไม่ชอบ พรรคพลังประชารัฐ จะกลับมาสนับสนุน พลเอกประยุทธ์มากขึ้น 
- และร้อยละ 3.05 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เทใจให้ลุง!! คนสงขลา หนุน 'บิ๊กตู่' นั่งนายกฯต่อ แต่เชียร์ ส.ส.ประชาธิปัตย์ ทั้งเขตและปาร์ตี้ลิสต์

5 มี.ค. 2566 -ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนสงขลาเลือกพรรคไหน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17-23 กุมภาพันธ์ 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสงขลา กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,100 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนจังหวัดสงขลาเลือกพรรคไหน การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0
.
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนสงขลาจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 26.00 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะ ซื่อสัตย์สุจริต มีความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง อันดับ 2 ร้อยละ 18.46 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคเพื่อไทยสามารถแก้ไขปัญหาราคาสินค้าทางการเกษตรได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานของตระกูลชินวัตร อันดับ 3 ร้อยละ 11.36 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ เป็นคนมีวิสัยทัศน์ ชื่นชอบนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 10.36 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 5 ร้อยละ 7.18 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะ เป็นคนมีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และชื่นชอบนโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้า
.
อันดับ 6 ร้อยละ 6.73 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นคนใต้เหมือนกัน อันดับ 7 ร้อยละ 4.64 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ มีผลงานชัดเจน มีประสบการณ์ด้านการบริหารประเทศ และชื่นชอบนโยบายพรรคภูมิใจไทย อันดับ 8 ร้อยละ 4.18 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนพูดจริงทำจริง ตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทำงาน อันดับ 9 ร้อยละ 3.18 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ มีประสบการณ์ด้านการบริหาร และชื่นชอบนโยบายของพรรคไทยสร้างไทย อันดับ 10 ร้อยละ 1.91 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 11 ร้อยละ 1.27 ระบุว่าเป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) เพราะ มีประสบการณ์ในการทำงาน และช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง อันดับ 12 ร้อยละ 1.09 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต และตรงไปตรงมา และร้อยละ 3.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์(พรรคสร้างอนาคตไทย) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคพลังประชารัฐ) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) และดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
 

‘นิด้าโพล’ เผย ‘คนกรุงเทพฯ’ เลือก ‘ก้าวไกล’ อันดับ 1 หนุน ‘พิธา’ นั่งนายกฯ ด้าน ‘อุ๊งอิ๊ง’ พท.คะแนนสูสี อันดับ 2

(26 มี.ค. 66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘คน กทม. เลือกพรรคไหน’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-21 มีนาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,500 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนกรุงเทพมหานครเลือกพรรคไหน

เมื่อถามถึงบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 25.08 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
อันดับ 2 ร้อยละ 24.20 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
อันดับ 3 ร้อยละ 18.24 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ)
อันดับ 4 ร้อยละ 5.96 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)
อันดับ 5 ร้อยละ 5.68 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)
อันดับ 6 ร้อยละ 5.20 ระบุว่า ยังหาคน ที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 7 ร้อยละ 4.84 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)
อันดับ 8 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย)
อันดับ 9 ร้อยละ 2.00 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย)
อันดับ 10 ร้อยละ 1.64 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย)
อันดับ 11 ร้อยละ 1.56 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์)

ร้อยละ 3.20 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคพลังประชารัฐ) นายรังสิมันต์ โรม (พรรคก้าวไกล) นายวิกรม กรมดิษฐ์ และนายสกลธี ภัททิยกุล (พรรคพลังประชารัฐ)

เมื่อพิจารณาบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครอง ของกรุงเทพมหานคร พบว่า

1.) กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 27.50 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 22.14 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 3 ร้อยละ 21.07 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 4 ร้อยละ 7.86 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) และอันดับ 5 ร้อยละ 5.36 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

2.) กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 23.72 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 23.49 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 19.30 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 6.05 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 5.81 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

3.) กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 29.16 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 24.43 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 18.89 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 7.60 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 3.49 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)

4.) กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 24.52 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 22.61 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 19.35 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 7.47 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 6.71 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้

5.) กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 27.09 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 19.60 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 16.43 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 7.20 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน และอันดับ 5 ร้อยละ 6.34 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

6.) กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 27.65 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 23.96 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 14.06 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 6.68 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และอันดับ 5 ร้อยละ 5.53 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)

มติเอกฉันท์!! ‘เพื่อไทย’ ยืนหนึ่ง 3 โพล เลือกตั้ง 66

‘เพื่อไทย’ ครองที่ 1 จาก 3 โพลดัง โดยผลสำรวจในช่วงเดือนมีนาคม 2566 ได้รับการโหวตและยอมรับให้เป็นพรรคในดวงใจที่ประชาชนอยากจะเทคะแนนเสียงให้มากที่สุด จากผลสำรวจของ 3 โพล ได้แก่ ซูเปอร์โพล, สวนดุสิตโพล และ นิด้าโพล 

‘นิด้าโพล’ ชี้!! ‘ก้าวไกล’ เดินเกมพลาด จนชวดตั้งรัฐบาล เพราะไม่ยอมยกเลิกบางนโยบาย-ประมาทเสนอ ‘พิธา’ เป็นนายกฯ

(30 ก.ค. 66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘ความผิดพลาดของพรรคก้าวไกล’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อผิดพลาดของพรรคก้าวไกลในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อผิดพลาดของพรรคก้าวไกลในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.98 ระบุว่า พรรคก้าวไกลไม่ยอมยกเลิกบางนโยบาย เพื่อให้ได้การสนับสนุนเพิ่มขึ้น รองลงมา ร้อยละ 30.46 ระบุว่า พรรคก้าวไกล ไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ ทั้งนั้น ร้อยละ 27.56 ระบุว่า พรรคก้าวไกลสู้เกมการเมืองในสภาไม่ได้ ร้อยละ 11.68 ระบุว่า พรรคก้าวไกลทำตัวปิดกั้นตัวเอง ทำให้ไม่ค่อยมีพันธมิตรทางการเมือง ร้อยละ 10.23 ระบุว่า พรรคก้าวไกลไม่เข้าใจวัฒนธรรมและความเป็นจริงทางการเมืองแบบไทย ๆ

ร้อยละ 9.54 ระบุว่า พรรคก้าวไกลประมาทในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่พรรคเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์) ร้อยละ 7.94 ระบุว่า พรรคก้าวไกลสร้างศัตรูทางการเมืองไว้มากในช่วงที่ผ่านมา ร้อยละ 7.86 ระบุว่า ปัญหาจากพฤติกรรมของแฟนคลับ พรรคก้าวไกลทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุนในรัฐสภา ร้อยละ 7.56 ระบุว่า พรรคก้าวไกลฟังแฟนคลับของตนเองมากเกินไป ร้อยละ 6.11 ระบุว่า พรรคก้าวไกลหลงไปกับตัวเลข 14 ล้านเสียง และ 151 สส. มากเกินไป ร้อยละ 5.88 ระบุว่า กุนซือ นักวิชาการของพรรคก้าวไกลที่อยู่นอกพรรคฯ ประเมินสถานการณ์ผิดพลาด และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง หากพรรคก้าวไกลต้องไปเป็นฝ่ายค้าน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.19 ระบุว่า จะมีการชุมนุมใหญ่แต่จะสามารถควบคุมได้ รองลงมา ร้อยละ 24.81 ระบุว่า จะมีการชุมนุมเพียงเล็กน้อยและสามารถควบคุมได้ ร้อยละ 23.66 ระบุว่า จะมีการชุมนุมใหญ่และไม่สามารถควบคุมได้ ร้อยละ 11.99 ระบุว่า จะไม่มีการชุมนุมใด ๆ ร้อยละ 2.90 ระบุว่า จะมีการชุมนุมเพียงเล็กน้อยแต่จะไม่สามารถควบคุมได้ และร้อยละ 1.45 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนถึงความเป็นไปได้ที่การเลือกตั้งครั้งหน้าจะมีพรรคการเมืองใหม่ที่มีลักษณะบุคลากรและวิธีการดำเนินการทางการเมืองคล้ายกับพรรคก้าวไกลเกิดขึ้น แต่มีความประนีประนอมมากกว่า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.88 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ รองลงมา ร้อยละ 33.89 ระบุว่า เป็นไปได้มาก ร้อยละ 19.54 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย ร้อยละ 9.62 ระบุว่า เป็นไปไม่ค่อยได้ และร้อยละ 1.07 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘นิด้าโพล’ ชี้!! ‘อภิสิทธิ์’ เหมาะนั่งหัวหน้าพรรค ปชป. ผลโหวตประชาชน เผย ค้าน ปชป.ร่วมรัฐบาลเพื่อไทย

(13 ส.ค. 66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เรื่องวุ่น ๆ ของพรรคประชาธิปัตย์” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเรื่องวุ่น ๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจ เมื่อถามประชาชนถึงการเลือกพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่มีสิทธิเลือกตั้ง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.63 ระบุว่า ไม่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์, รองลงมา ร้อยละ 31.91 ระบุว่า เคยเลือก แต่ไม่ได้เลือกในการเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.ค. 2566, ร้อยละ 9.31 ระบุว่า เคยเลือก รวมถึงในการเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.ค. 2566 และร้อยละ 0.15 ระบุว่า ยังไม่เคยไปเลือกตั้งเลย

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนต่อไป พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 37.48 ระบุว่าเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, อันดับ 2 ร้อยละ 24.43 ระบุว่าเป็น นายชวน หลีกภัย, อันดับ 3 ร้อยละ 9.85 ระบุว่าเป็น ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (ดร.เอ้), อันดับ 4 ร้อยละ 4.27 ระบุว่าเป็น น.ส.วทันยา บุนนาค (มาดามเดียร์), อันดับ 5 ร้อยละ 3.05 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์, อันดับ 6 ร้อยละ 2.90 ระบุว่าเป็น ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช, อันดับ 7 ร้อยละ 2.67 ระบุว่าเป็น นายอลงกรณ์ พลบุตร, อันดับ 8 ร้อยละ 1.76 ระบุว่าเป็น นายบัญญัติ บรรทัดฐาน, อันดับ 9 ร้อยละ 1.60 ระบุว่าเป็น นายนราพัฒน์ แก้วทอง ขณะที่ร้อยละ 1.46 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน, นายเดชอิศม์ ขาวทอง, นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข และนายสาธิต ปิตุเตชะ และร้อยละ 10.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชน หากพรรคประชาธิปัตย์จะเข้าร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 44.96 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย, รองลงมา ร้อยละ 19.54 ระบุว่า เห็นด้วยมาก, ร้อยละ 18.70 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย, ร้อยละ 16.18 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.62 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจคนไทย 44% ไม่อยากมีลูก เหตุไม่อยากเพิ่มค่าใช้จ่าย-กังวลต่อสภาพสังคมปัจจุบัน

เมื่อวานนี้ (1 ต.ค.66) นิด้าโพล เผยเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนไทยไม่อยากมีลูก 2 ประการ คือ 1.ไม่อยากเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูก และ 2.ความเป็นห่วงว่าลูกจะอยู่อย่างไรในสภาพสังคมปัจจุบัน โดยมีสัดส่วนเท่ากัน 38.32% สาเหตุรองลงมา 37.72% ไม่อยากมีภาระในการดูแลลูก ตามด้วย 33.23% ต้องการชีวิตที่เป็นอิสระ ขณะที่ 17.66% กลัวจะเลี้ยงลูกไม่ได้ดีเท่าที่ควร ส่วนอีก 13.77% อยากให้ความสำคัญกับงานมากกว่า, 5.39% ตนเองหรือคู่ครองมีปัญหาเรื่องสุขภาพ, 2.10% กลัวจะเป็นพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ที่ไม่ดี ทำให้ลูกที่เกิดมาไม่ดีตามไปด้วย และ 0.90% กลัวกรรมตามสนองเนื่องจากเคยทำไม่ดีไว้กับพ่อแม่

สำหรับผู้ที่ยังไม่มีลูก 53.89% ระบุว่าอยากมี รองลงมา 44.00% ระบุว่า ไม่อยากมี ที่เหลืออีก 2.11% ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 50.53% ไม่มีความกังวลต่อจำนวนเด็กเกิดใหม่ในอนาคตว่าจะมีน้อยมาก รองลงมา 23.13% ไม่ค่อยกังวล ที่เหลืออีก 17.79% ค่อนข้างกังวล และ 8.55% กังวลมาก

มาตรการที่รัฐควรสนับสนุนเพื่อให้คนไทยมีลูก 65.19% โดยสนับสนุนการศึกษาฟรีในประเทศจนถึงขั้นสูงสุดสำหรับคนมีลูก รองลงมา 63.66% ให้อุดหนุนค่าเลี้ยงดูลูกจนถึงอายุ 15 ปี ตามด้วย 30.00% ลดภาษีเงินได้สำหรับคนมีลูก, 29.47% เพิ่มวันลาให้แม่และพ่อในการเลี้ยงดูลูก, 21.91% มีเงินรางวัลจูงใจที่สูงสำหรับเด็กแรกเกิด, 19.92% อุดหนุนทางการเงินแม่-พ่อเลี้ยงเดี่ยว และ 17.18% พัฒนาและอุดหนุนการเงินให้ศูนย์เลี้ยงเด็กเล็ก, 9.85% มีบริการศูนย์ผู้มีบุตรยากฟรี, 7.48% เพิ่มภาษีเงินได้สำหรับคนไม่มีลูก, 5.50% เปิดช่องทางในการอุ้มบุญมากขึ้น, 4.89% มีหน่วยงานจัดหาคู่ให้กับคนไทย, 2.75% รัฐไม่จำเป็นต้องมีมาตรการใดๆ และ 0.76% ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สถานะการแต่งงานและการมีลูกของกลุ่มตัวอย่าง 29.39% เป็นโสดและไม่มีแฟน รองลงมา 26.57% แต่งงานจดทะเบียนสมรสและมีลูกแล้ว ตามด้วย 20.92% เป็นโสดแต่มีแฟนแล้ว, 10.99% แต่งงานแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมีลูกแล้ว, 4.58% แต่งงานจดทะเบียนสมรสแล้วแต่ไม่มีลูก, 2.52% เป็นแม่-พ่อเลี้ยงเดี่ยว (หม้ายที่มีลูกแล้ว โสดและมีลูกแล้ว) , 1.98% แต่งงานแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่ไม่มีลูก และมีคู่ครองอยู่ด้วยกันแต่ไม่ได้แต่งงาน และมีลูกแล้ว ในสัดส่วนที่เท่ากัน และ 1.07% มีคู่ครองอยู่ด้วยกันแต่ไม่ได้แต่งงานและไม่มีลูก

ทั้งนี้ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง ‘มีลูกกันเถอะน่า’ ในช่วงวันที่ 26-28 ก.ย.ที่ผ่านมา จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18-40 ปี กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ จำนวน 1,310 ราย

‘นิด้าโพล’ เปิดผลสำรวจประชาชน ต่อนโยบาย ‘ปิดสถานบันเทิงตี 4’ พบ ร้อยละ 41.76 ไม่เห็นด้วย ชี้!! ปิดตี 2 เหมือนเดิมเหมาะสมแล้ว

(22 ต.ค. 66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘นโยบาย ปิดผับตี 4 มาอีกแล้ว!’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17-19 ตุลาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับแนวคิดการขยายเวลาปิดสถานบันเทิงในยามค่ำคืน จากเวลา 02.00 น. ออกไปเป็นเวลา 04.00 น. การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการเที่ยวสถานบันเทิงยามค่ำคืนของประชาชน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 55.65 ระบุว่า ไม่เคยไปเที่ยว ขณะที่ร้อยละ 44.35 ระบุว่า เคยไปเที่ยว

เมื่อถามผู้ที่เคยไปเที่ยว (จำนวน 581 หน่วยตัวอย่าง) ถึงความถี่ในการเที่ยวสถานบันเทิงยามค่ำคืน ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.66 ระบุว่า ไม่เคยไปเลย รองลงมา ร้อยละ 33.22 ระบุว่า มีบ้างแล้วแต่โอกาส/เทศกาล ร้อยละ 4.13 ระบุว่า เดือนละครั้ง ร้อยละ 2.58 ระบุว่า อาทิตย์ละวัน ร้อยละ 2.07 ระบุว่า เกือบทุกวัน (3-5 วัน/สัปดาห์) และร้อยละ 0.34 ระบุว่า ทุกวัน (7 วัน/สัปดาห์)

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดที่จะขยายเวลาปิดสถานบันเทิง จากเวลา 02.00 น. ออกไปเป็นเวลา 04.00 น. โดยภาพรวม พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.76 ระบุว่า ปิดสถานบันเทิง เวลา 02.00 น. เหมาะสมดีอยู่แล้ว เพราะเป็นเวลาที่ไม่ดึกมากจนเกินไป ไม่เป็นการรบกวนเวลาพักผ่อนของผู้ที่พักอาศัยอยู่ใกล้กับสถานบันเทิง

รองลงมา ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ควรอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ เพราะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศ ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย

ร้อยละ 17.56 ระบุว่า ควรจะอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เหมือนกันทั่วประเทศ เพราะควรเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เป็นการเพิ่มช่วงเวลาในการหารายได้ให้กับผู้ประกอบกิจการสถานบันเทิง และกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้อง

ร้อยละ 8.32 ระบุว่า ควรปิดสถานบันเทิง ก่อนเวลา 02.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างดึกแล้ว อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและปัญหาอาชญากรรมได้ ร้อยละ 4.35 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนในประเทศไทย เพราะไม่เป็นการส่งเสียงดังรบกวนการพักผ่อนของผู้พักอาศัยในบริเวณใกล้เคียง

ร้อยละ 4.27 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

และร้อยละ 0.08 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ควรปิดสถานบันเทิง เวลา 03.00 น.

เมื่อพิจารณาเฉพาะความคิดเห็นของผู้ที่เคยไปเที่ยวสถานบันเทิง (จำนวน 581 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับแนวคิดที่จะขยายเวลาปิดสถานบันเทิง พบว่า ร้อยละ 36.49 ระบุว่า ปิดสถานบันเทิง เวลา 02.00 น. เหมาะสมดีอยู่แล้ว

รองลงมา ร้อยละ 30.29 ระบุว่า ควรอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ

ร้อยละ 25.13 ระบุว่า ควรจะอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เหมือนกันทั่วประเทศ

ร้อยละ 6.37 ระบุว่า ควรปิดสถานบันเทิง ก่อนเวลา 02.00 น.

ร้อยละ 0.52 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนในประเทศไทย

ร้อยละ 1.03 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

และร้อยละ 0.17 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรปิดสถานบันเทิง เวลา 03.00 น.

ส่วนความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เคยไปเที่ยวสถานบันเทิง (จำนวน 729 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ร้อยละ 45.95 ระบุว่า ปิดสถานบันเทิง เวลา 02.00 น. เหมาะสมดีอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 18.38 ระบุว่า ควรอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ ร้อยละ 11.52 ระบุว่า ควรจะอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เหมือนกันทั่วประเทศ ร้อยละ 9.88 ระบุว่า ควรปิดสถานบันเทิง ก่อนเวลา 02.00 น. ร้อยละ 7.41 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนในประเทศไทย และร้อยละ 6.86 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงความมั่นใจของประชาชนต่อการขยายเวลาปิดสถานบันเทิงจะช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว

โดยภาพรวม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 27.71 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ และไม่ค่อยมั่นใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน รองลงมา ร้อยละ 26.72 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 16.56 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 1.30 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาเฉพาะความคิดเห็นของผู้ที่เคยไปเที่ยวสถานบันเทิง (จำนวน 581 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความมั่นใจต่อการขยายเวลาปิด

สถานบันเทิงจะช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว พบว่า ร้อยละ 33.73 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 27.20 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 19.45 ระบุว่า มั่นใจมาก ร้อยละ 18.93 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ส่วนความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เคยไปเที่ยวสถานบันเทิง (จำนวน 729 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ร้อยละ 32.92 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย รองลงมา ร้อยละ 28.12 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 22.91 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 14.27 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 1.78 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/
ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจเมาแล้วขับ โดยภาพรวม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.41 ระบุว่า จำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 38.02 ระบุว่า ควรเพิ่มจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 8.17 ระบุว่า ควรยกเลิกด่านตรวจเมาแล้วขับทั้งหมด ร้อยละ 5.80 ระบุว่า ควรลดจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ และร้อยละ 1.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาเฉพาะความคิดเห็นของผู้ที่เคยไปเที่ยวสถานบันเทิง (จำนวน 581 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจเมาแล้วขับ พบว่า ร้อยละ 48.54 ระบุว่า จำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 34.60 ระบุว่า ควรเพิ่มจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 8.43 ระบุว่า ควรยกเลิกด่านตรวจเมาแล้วขับทั้งหมด ร้อยละ 7.57 ระบุว่า ควรลดจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ และร้อยละ 0.86 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ส่วนความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เคยไปเที่ยวสถานบันเทิง (จำนวน 729 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ร้อยละ 44.72 ระบุว่า จำนวน ด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 40.74 ระบุว่า ควรเพิ่มจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 7.96 ระบุว่า ควรยกเลิกด่านตรวจเมาแล้วขับทั้งหมด ร้อยละ 4.39 ระบุว่า ควรลดจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ และร้อยละ 2.19 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘นิด้าโพล’ เผย ปชช.ค่อนข้างพอใจผลงาน 2 เดือน ‘นายกฯ เศรษฐา’ แม้บางส่วนไม่ค่อยได้ติดตามข่าวการเดินทางเยือนต่างประเทศ

(29 ต.ค. 66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘สนใจเรื่องนายกฯ เศรษฐา เยือนต่างประเทศหรือไม่?’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประเด็นที่สนใจจากข่าวการเดินทางเยือนต่างประเทศในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจ เมื่อถามประชาชนถึงประเด็นที่สนใจจากข่าวการเดินทางเยือนต่างประเทศในช่วง 2 เดือนของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.01 ระบุว่า ไม่ได้ติดตามข่าว การเยือนต่างประเทศของนายกฯ เลย
รองลงมา ร้อยละ 24.43 ระบุว่า การเข้าพบผู้นำ หรือบุคคลสำคัญในต่างประเทศ ร้อยละ 24.35 ระบุว่า บทบาทและผลการเยือนต่างประเทศของนายกฯ ร้อยละ 21.83 ระบุว่า การแต่งกาย/เสื้อผ้าของนายกฯ ระหว่างเยือนต่างประเทศ ร้อยละ 19.69 ระบุว่า การให้สัมภาษณ์ของนายกฯ ระหว่างเยือนต่างประเทศ
รองลงมา ร้อยละ 19.08 ระบุว่า ลักษณะท่าทาง และ/หรือ ภาษากายของนายกฯ ระหว่างเยือนต่างประเทศ ร้อยละ 10.31 ระบุว่า การจัดการต้อนรับของประเทศเจ้าภาพ และร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามผู้ที่ติดตามข่าวการเดินทางเยือนต่างประเทศของนายกฯ (จำนวน 799 หน่วยตัวอย่าง) ถึงความพอใจต่อบทบาทของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เกี่ยวกับการเดินทางเยือนต่างประเทศในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.31 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 23.40 ระบุว่า พอใจมาก ร้อยละ 20.27 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 9.39 ระบุว่า ไม่พอใจเลย และร้อยละ 0.63 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความพอใจในบทบาท/ผลงานของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ในช่วง 2 เดือนที่ดำรงตำแหน่ง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.87 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 26.87 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 18.40 ระบุว่า พอใจมาก ร้อยละ 13.74 ระบุว่า ไม่พอใจเลย และร้อยละ 4.12 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.41 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.14 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.45 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 34.43 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.98 สมรส และร้อยละ 2.59 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 23.89 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 38.02 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.01 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.42 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.66 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.23 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.11 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.75 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.83 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.74 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.00 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.34 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 23.28 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.61 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.09 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 8.32 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.35 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.16 ไม่ระบุรายได้

‘นิด้าโพล’ ชี้ ปชช.ส่วนใหญ่หนุน ‘แจกเงินดิจิทัล’ ถ้วนหน้า แบบไม่อิงเงินเดือน-เงินฝาก พร้อมไม่จำกัดรัศมีในการใช้

(5 พ.ย.66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘หลักเกณฑ์การแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง

จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงหลักเกณฑ์การแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.08 ระบุว่า จ่ายทุกกลุ่มโดยไม่ต้องมีเกณฑ์เงินเดือน หรือเงินฝากในบัญชีมาเป็นข้อจำกัด รองลงมา ร้อยละ 26.64 ระบุว่า จ่ายเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ร้อยละ 14.66 ระบุว่า ตัดสิทธิ์ผู้ที่มีรายได้เกินเดือนละ 50,000 บาท หรือมีเงินฝากในบัญชีตั้งแต่ 5 แสนบาท ร้อยละ 8.01 ระบุว่า ตัดสิทธิ์ผู้ที่มีรายได้/เงินเดือน เดือนละ 25,000 บาท หรือมีเงินฝากในบัญชีตั้งแต่ 1 แสนบาท และร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านเกณฑ์พื้นที่/รัศมีการใช้จ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 69.85 ระบุว่า ควรใช้จ่ายในร้านค้าใดก็ได้ในประเทศไทย โดยไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่/รัศมีมากำหนด รองลงมา ร้อยละ 14.50 ระบุว่า ต้องใช้จ่ายในร้านค้าภายในจังหวัด (ตามทะเบียนบ้าน) ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ต้องใช้จ่ายในร้านค้าภายในอำเภอ (ตามทะเบียนบ้าน) และร้อยละ 2.06 ระบุว่า ต้องใช้จ่ายในร้านค้ารัศมี 4 กิโลเมตร (ตามทะเบียนบ้าน)

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงระยะเวลาในการใช้จ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 62.60 ระบุว่า ต้องใช้จ่ายเงินภายใน 6 เดือน รองลงมา ร้อยละ 37.09 ระบุว่า ต้องใช้จ่ายเงินภายใน 1 ปี และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top