Saturday, 27 April 2024
ทิศทางน้ำมันโลก

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 14 – 18 พ.ย. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 21 – 25 พ.ย. 65

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 14 – 18 พ.ย. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 21 – 25 พ.ย. 65

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ล่าสุดปรับตัวลดลง ICE Brent ลดลงเกือบ 4% WoW ส่วน NYMEX WTI ลดลงเกือบ 5% WoW โดยวันที่ 18 พ.ย. 65 ราคา ICE Brent และ NYMEX WTI ปิดตลาดต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในจีนยังไม่คลี่คลาย กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์น้ำมันทางการจีนประกาศมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในหลายพื้นที่ อาทิ เมืองกว่างโจว, กรุงปักกิ่ง โดยให้ประชาชนอยู่ภายในที่พักอาศัย ปิดกิจการธุรกิจและโรงเรียนชั่วคราว และปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย. 65 ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการสาธารณสุขของจีน (National Health Commission: NHC) รายงานผู้ติดเชื้อใหม่รายวันทั่วประเทศ วันที่ 19 พ.ย. 65 อยู่ที่ 24,435 ราย สูงสุดตั้งแต่เดือน เม.ย. 65 ทางเทคนิค ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent สัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 85-90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

• สำนักสถิติแห่งชาติจีน (National Bureau of Statistics: NBS) รายงานปริมาณการนำน้ำมันดิบเข้ากลั่น (Crude Throughput) ในเดือน ต.ค. 65 ลดลงจากเดือนก่อน  20,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 13.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน และอัตราการกลั่น (Utilization Rate) อยู่ที่ 73.6%

• รมว.กระทรวงต่างประเทศฮังการี นาย Peter Szijarto รายงานท่อน้ำมันดิบ Southern Druzhba (กำลังการขนส่ง 250,000 บาร์เรลต่อวัน) กลับมาดำเนินการเป็นปกติ หลังหยุดชั่วคราวเพียง 1 วัน เนื่องจากโรงไฟฟ้าซึ่งจ่ายไฟให้สถานีเพิ่มแรงดันตามแนวท่อถูกขีปนาวุธรัสเซียโจมตี ทั้งนี้ท่อดังกล่าวส่งน้ำมันดิบจากรัสเซียผ่านเบลารุส และยูเครน สู่ฮังการี สโลวาเกีย สาธารณะรัฐเช็ก และออสเตรีย

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 21 – 25 พ.ย. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 28 พ.ย. – 2 ธ.ค. 65

สรุปสถานการตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 21 – 25 พ.ย. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 28 พ.ย. – 2 ธ.ค. 65

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในสัปดาห์ล่าสุดยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในจีนยังรุนแรง กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์น้ำมัน ล่าสุดทางการจีนรายงานผู้ติดเชื้อใหม่รายวันทั่วประเทศในวันที่ 26 พ.ย. 65 อยู่ที่ 39,791 ราย สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และสถานการณ์บานปลาย โดยประชาชนจำนวนมากออกมาประท้วงมาตรการ Lockdown ซึ่งเข้มงวดและยาวนานเกินไป อาทิ ในเมือง Shanghai, Beijing, Chengdu, Wuhan, และ Guangzhou ในบางเมืองประชาชนไม่สามารถออกนอกบ้านมานานกว่า 100 วัน

วันที่ 26 พ.ย. 65 รัฐบาลสหรัฐฯ ออกใบอนุญาตให้แก่ Chevron Corp. ผลิตน้ำมันดิบในเวเนซุเอลา เป็นเวลา 6 เดือน โดยยังคงมาตรการคว่ำบาตรภาคพลังงานเวเนฯ แต่ผ่อนผันให้เฉพาะน้ำมันดิบที่ส่งออกมาสู่สหรัฐฯ ทั้งนี้เวเนฯ ผลิตน้ำมันอยู่ที่ระดับ 700,000 บาร์เรลต่อวัน และ Reuters รายงาน Chevron ผลิตน้ำมันดิบในเวเนฯ ก่อนมาตรการคว่ำบาตร ที่ระดับ 200,000 บาร์เรลต่อวัน

ให้จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) วันที่ 13-14 ธ.ค. 65 ซึ่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) สาขา San Francisco นางสาว Mary Daly คาดการณ์ว่า FOMC จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Federal Funds Rate: FFR) ขึ้น 0.75% อยู่ที่ 4.5-4.75%

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 28 พ.ย. - 2 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 5 - 9 ธ.ค. 65

สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 28 พ.ย. - 2 ธ.ค. 65 และแนวโน้ม 5 - 9 ธ.ค. 65

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เฉลี่ยสัปดาห์ล่าสุดลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 จากความไม่แน่นอนของมาตรการ Zero-COVID ในจีน ของประธานาธิบดี Xi Jinping ที่กระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ อย่างไรก็ดี ในวันพุธที่ 7 ธ.ค. 65 รัฐบาลจีนอาจผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 ซึ่งบังคับใช้ทั่วประเทศเพื่อลดแรงกดดันจากการประท้วง

ทางด้านอุปทาน ที่ประชุม The OPEC and non-OPEC Ministerial Meeting ครั้งที่ 34 ของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) มีมติคงแผนลดการผลิตน้ำมันดิบ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือน พ.ย. 65 จนถึงอย่างน้อยในเดือน มิ.ย. 66 (สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า OPEC+ จะตัดสินใจลดการผลิตเพิ่มอีก 0.25 - 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน) โดย OPEC+ จะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 4 มิ.ย. 66 

ขณะที่กลุ่ม G7 พร้อมด้วยออสเตรเลียและสหภาพยุโรป (EU) ตกลงการกำหนดเพดานราคา (Price Cap) ของน้ำมันดิบรัสเซียที่ขนส่งทางทะเลไว้ที่ 60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เริ่มบังคับใช้วันที่ 5 ธ.ค. 65 ทั้งนี้ น้ำมันดิบที่ขนจากท่าเรือรัสเซียก่อนวันที่ 5 ธ.ค. 65 และถึงท่าเรือปลายทางก่อนวันที่ 19 ม.ค. 66 ไม่อยู่ในข้อกำหนด Price Cap อย่างไรก็ดี โฆษกรัฐบาลรัสเซีย นาย Dmitry Peskov ชี้ว่ารัสเซียพร้อมที่จะตอบโต้และจะไม่ยอมรับการกำหนดเพดานราคาน้ำมันดังกล่าว ที่ผ่านมารัสเซียเน้นย้ำว่าจะไม่จัดส่งน้ำมันให้กับประเทศที่ดำเนินการตามข้อตกลง Price Cap 

ผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์จาก Reuters คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ในปี 65 จะเฉลี่ยที่ 100.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และในปี 66 จะเฉลี่ยที่ 95.56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 80 - 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 5 - 9 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 12 - 16 ธ.ค. 65

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เฉลี่ยสัปดาห์ล่าสุดลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5 แต่ในช่วงปลายสัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้น หลังจากท่อ Keystone (622,000 บาร์เรลต่อวัน) ที่ขนส่งน้ำมันดิบจากเมือง Hardisty รัฐ Alberta ในแคนาดาสู่แถบ Mid-West ในสหรัฐฯ ปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 65 โดยล่าสุดบริษัท TC Energy ผู้ดำเนินการท่อดังกล่าวรายงานการกู้คืนน้ำมันดิบรั่วไหลปริมาณ 2,600 บาร์เรล อย่างไรก็ตามมีการรั่วไหลทั้งหมด 14,000 บาร์เรล ตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 65 และขณะนี้ท่อ Keystone ยังคงปิดดำเนินการ

จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 13-14 ธ.ค. 65 ซึ่ง Reuters Poll คาดการณ์ว่าจะมีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Federal Funds Rate: FFR) ขึ้น 0.5% อยู่ที่ 4.25-4.5% และติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 15 ธ.ค. 65 ซึ่งกรรมการ ECB นาย Gabriel Makhlouf คาดการณ์ว่าจะมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สำหรับการปล่อยสภาพคล่องให้ระบบธนาคารพาณิชย์ (Main Refinancing Operations Rate) อีก 0.5% อยู่ที่ 2.25%

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- Kpler รายงานยุโรปนำเข้าน้ำมันดิบทางทะเล ในเดือน พ.ย. 65 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 300,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 8.86 ล้านบาร์เรลต่อวัน

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 12 – 16 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 19 – 23 ธ.ค. 65

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent และ Nymex WTI เฉลี่ยรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นกว่า 2 เหรียญ จากสัปดาห์ก่อนหน้า จากตลาดคาดจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกจะเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ หลังจากเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 ขณะเดียวกัน ตลาดน้ำมันยังได้รับแรงสนับสนุนจาก รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศแผนซื้อน้ำมันดิบเติมเข้าคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ปริมาณ 3 ล้านบาร์เรล ส่งมอบเดือน ก.พ. 66 นับเป็นการซื้อเพื่อเก็บเป็น SPR ครั้งแรกหลังระบายน้ำมันดิบปริมาณ 180 ล้านบาร์เรล ตั้งแต่เดือน มี.ค. 65  

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านเศรษฐกิจยังคงกดดันราคาน้ำมัน โดยล่าสุด S&P Global รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมภาคการผลิตและการบริการ (Composite Purchasing Managers’ Index: PMI) ของสหรัฐฯ ในเดือน ธ.ค. 65 ลดลงจากเดือนก่อน 1.8 จุด  มาอยู่ที่ 44.6 จุด ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน หดตัวเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน และ PMI ต่ำกว่า 50 จุด บ่งชี้ภาวะหดตัว 

สำหรับในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวระหว่าง $78-83/BBL ประเด็นที่ต้องจับตา ได้แก่ การตอบโต้ของรัสเซียต่อการกำหนดเพดานราคา (Price Cap) น้ำมันดิบรัสเซียที่ขนส่งทางทะเล ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 65 ของกลุ่ม G7 พร้อมด้วยออสเตรเลียและสหภาพยุโรป (EU) โดยรัฐบาลรัสเซียเผยว่าได้ข้อสรุปมาตรการตอบโต้ชาติตะวันตก และเตรียมที่จะเปิดเผยรายละเอียดภายในสัปดาห์นี้  และกล่าวย้ำว่ารัสเซียจะไม่จัดส่งน้ำมันให้กับประเทศที่ดำเนินการตามข้อตกลง Price Cap 

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 19 – 23 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 26 – 30 ธ.ค. 65

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 19 – 23 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 26 – 30 ธ.ค. 65

ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นกว่า 1-2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อุปทานน้ำมันมีแนวโน้มตึงตัว โดยรองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย นาย Alexander Novak ประกาศจะลดการผลิตน้ำมันดิบลง 5-7% (ประมาณ 500,000-700,000 บาร์เรลต่อวัน) จากระดับการผลิตในปี 2565 ภายในต้นปี 2566 เพื่อตอบโต้สหภาพยุโรป (EU), กลุ่มประเทศ G7 และออสเตรเลีย ซึ่งกำหนดเพดานราคา (Price Cap) น้ำมันดิบรัสเซีย ตั้งแต่ 5 ธ.ค. 65 ทั้งนี้คาดว่ารัสเซียผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสท ในปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 10.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 220,000 บาร์เรลต่อวัน) อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์ ราคาน้ำมันดิบลดลง จากความกังวลต่อจีน ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มขึ้น และสภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจถดถอย กดดันอุปสงค์พลังงาน 

National Weather Service (NWS) ของสหรัฐฯ ประกาศประชาชนกว่า 200 ล้านคน (ประมาณ 60% ของประชากรทั้งหมด) กำลังเผชิญกับปรากฏการณ์ Bomb Cyclone เกิดพายุหนาวจัดพัดรุนแรงหลายพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิลดลงฉับพลัน โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 23 ราย และเตือนประชาชนอาจเผชิญวันคริสต์มาสที่หนาวเย็นที่สุดในรอบ 40 ปี ท่าอากาศยานนานาชาติเดนเวอร์ (Denver International Airport) ในรัฐ Colorado ทางตะวันตก อุณหภูมิลดลงจาก 5.56 องศาเซลเซียส สู่ -15 องศาเซลเซียส ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ทั้งนี้เว็บไซต์ข้อมูลการเดินทาง FlightAware.com ระบุเที่ยวบินในสหรัฐฯ ในช่วง 21-23 ธ.ค. 65 ถูกยกเลิกกว่า 2,000 เที่ยว เนื่องจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวน

อย่างไรก็ตาม เมื่อ 23 ธ.ค. 65 โรงกลั่นบริเวณอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐฯ กำลังรวมกว่า 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หยุดดำเนินการ จาการกลั่นปกติที่ระดับ 9.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้การผลิตน้ำมันดิบในรัฐ North Dakota ทางเหนือ ลดลงประมาณ 300,000-350,000 บาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของระดับปกติที่ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 2 – 6 ม.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 9 – 13 ม.ค. 66

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 2 – 6 ม.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 9 – 13 ม.ค. 66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลงจากความกังวลของนักลงทุนว่าเศรษฐกิจโลกอาจถดถอย จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางโดยเพาะสหรัฐฯ ที่เพิ่มอัตราดอกเบี้ยล่าสุด อยู่ที่ระดับ 4.25 – 4.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตามในวันที่ 8 ม.ค. 66 มีปัจจัยสนับสนุนจากจีนกลับมาเปิดพรมแดนเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี สิ้นสุดนโยบาย Zero-COVID-19 โดยสมบูรณ์ และคาดว่าจีนมีแนวโน้มนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น ซึ่ง Bloomberg รายงานจีนซื้อน้ำมันดิบ CPC จากคาซัคสถานเพิ่มขึ้น 5 ล้านบาร์เรล ส่งมอบในเดือน ก.พ. 66  ส่งผลให้จีนนำเข้าน้ำมันดิบ CPC จากคาซัคสถาน รวมในเดือน ก.พ. 66 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 122,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 191,000 บาร์เรลต่อวัน 

อุปสงค์น้ำมันเพิ่มขึ้นจากการเดินทางเริ่มคึกคักจากชาวฮ่องกงและชาวจีนหลั่งไหลข้ามฝั่งอย่างคับคั่ง กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ซึ่งผลสำรวจนักวิเคราะห์โดย Bloomberg ปรับคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของฮ่องกงในปีนี้ จะอยู่ที่ +3.3% จากปีก่อน (ปรับเพิ่มจากประมาณการณ์ครั้งก่อนที่ +2.7% จากปีก่อน) ซึ่งจะทำให้ GDP ฮ่องกง ขยายตัวมากกว่าสิงคโปร์เป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ

ให้จับตาปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเวเนซุเอลาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังรัฐบาลสหรัฐฯ อนุญาตบริษัท Chevron Corp. ลงทุนและผลิตน้ำมันดิบในเวเนซุเอลาตั้งแต่เดือน ธ.ค. 65 ซึ่ง Kpler รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเวเนซุเอลาปัจจุบันอยู่ที่ 630,000 บาร์เรลต่อวัน และคาดการณ์จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 730,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน มิ.ย. 66 และ 820,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ม.ค. 67 ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ให้ผ่อนผันมาตรการการส่งออกน้ำมันดิบสู่สหรัฐฯ เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกที่ตึงตัว

ทางเทคนิคราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 75-81 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 16 – 20 ม.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 23 – 27 ม.ค. 66

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 16 – 20 ม.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 23 – 27 ม.ค. 66

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent, NYMEX WTI และ Dubai สัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 3-4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยได้แรงสนับสนุนจากแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันของจีนฟื้นตัวหลังเปิดประเทศ โดย IEA, EIA และ OPEC คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันของจีน เฉลี่ยในปี 66 เพิ่มขึ้น 630,000 บาร์เรลต่อวัน จากปีก่อน อยู่ที่ 15.62 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่การท่องเที่ยวช่วงเทศกาลตรุษจีนคึกคัก โดยสื่อ China Central Television (CCTV) ของจีนรายงานจำนวนการเดินทางโดยรถไฟ ทางหลวง เรือ และเครื่องบิน ในช่วง 7-21 ม.ค. 66 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 50.8% อยู่ที่ 26.23 ล้านเที่ยว ส่วนทางเทคนิคราคาน้ำมันดิบ ICE Brent สัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 85-90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

จับตาการคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) โดย Reuters Poll วันที่ 20 ม.ค. 66 คาดการณ์ FOMC มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งๆ ละ 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.0% ในการประชุมช่วง 31 ม.ค.- 1 ก.พ. 66 และ 15-16 มี.ค. 66 และคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวไปจนถึงอย่างน้อยสิ้นปี 66 หากเป็นไปตามคาด เงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะอ่อนค่า สนับสนุนให้เงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) สู่สินทรัพย์เสี่ยง สินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงน้ำมัน

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 23 - 27 ม.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 30 ม.ค - 3 ก.พ.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น ท่ามกลางคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกฟื้นตัว จากจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ นำเข้าน้ำมันดิบในเดือน พ.ย.65 รวมเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 21.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะจีนหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 และเปิดประเทศ โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) คาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีนในปี 66 จะขยายตัวอยู่ที่ +4.8% จากปีก่อนหน้า

สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 85 - 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ด้านปัจจัยเคลื่อนย้ายเงินทุนคาดว่าจะมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้นหลังการประชุมนโยบายการเงิน Federal Open Market Committee (FOMC) ของสหรัฐฯ วันที่ 31 ม.ค. - 1 ก.พ. 66 โดยนักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งละ 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.0% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค. - 1 ก.พ. 66 และวันที่ 15 - 16 มี.ค. 66 และจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวจนถึงปลายปี 66

จับตามาตรการกำหนดเพดานราคา (Price Cap) น้ำมันสำเร็จรูปรัสเซียซึ่งขนส่งทางทะเล วันที่ 5 ก.พ. 66 โดยกลุ่มชาติมหาอำนาจ G7 (แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ) และสหภาพยุโรป (EU) เห็นพ้องกำหนดเพดานราคา Diesel ที่ 100-110 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (ปัจจุบันราคา Diesel รัสเซียอยู่ที่ 115-120 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ต่ำกว่าราคาตลาดยุโรปซึ่งอยู่ที่ประมาณ 125 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) ซึ่งมาตรการดังกล่าวอาจส่งผลต่ออุปสงค์น้ำมันดิบ

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 13 - 17 ก.พ.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 20 - 24 ก.พ.66

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent และ NYMEX WTI เฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น จากอุปสงค์น้ำมันโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว โดย IEA รายงานอุปสงค์น้ำมันโลกในปี 65 เพิ่มขึ้น 2.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 99.96 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ปรับเพิ่มจากประมาณการณ์ครั้งก่อน 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน) และคาดการณ์ในปี 66 เพิ่มขึ้น 1.96 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 101.92 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ปรับเพิ่มจากครั้งก่อน 0.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน) จากอุปสงค์ของจีนฟื้นตัวแข็งแกร่ง โดยคาดว่าปี 66 อุปสงค์จีนจะเพิ่มขึ้น 0.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า (เกือบครึ่งของอัตราการเติบโตของอุปสงค์โลก) มาอยู่ที่ 15.91 ล้านบาร์เรลต่อวัน และชี้ว่าการเปิดประเทศของจีนจะกระตุ้นการบิน ผลักดันให้อุปสงค์ Jet/Kerosene ของโลกในปี 66 เพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 7.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็น 90% ของอุปสงค์ในปี 62 ก่อนเกิด COVID-19

อย่างไรก็ตาม ตลาดกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) หลังตัวเลขทางเศรษฐกิจมีทิศทางที่ดีขึ้น อาทิ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (Consumer Price Index: CPI) ซึ่งบ่งชี้อัตราเงินเฟ้อ ในเดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ 6.4% ต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี ขณะที่ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) สัปดาห์สิ้นสุด 11 ก.พ.  66 ลดลง 1,000 ราย จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 194,000 ราย ซึ่งจะทำให้ Fed อาจเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง ล่าสุด ผลสำรวจจาก Reuters คาดการณ์ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% จากระดับปัจจุบัน สู่ระดับ 4.75 – 5.0% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ในเดือน มี.ค. 66 ขณะที่ Bank of America (BoA) คาดการณ์ว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งละ 0.25% ในเดือน มี.ค. 66 และเดือน มิ.ย. 66 สู่ระดับ 5.25-5.50% ซึ่งจะกดดันเศรษฐกิจและราคาน้ำมัน โดยทางเทคนิค สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 82 - 87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top