Friday, 10 May 2024
ทิศทางน้ำมันโลก

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 20 - 24 ก.พ.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 27 ก.พ. - 3 มี.ค.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรุนแรงขึ้น ซึ่งจะกดดันเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมัน โดยตลาดคาดว่าในปี 66 Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบัน สู่ระดับ 5.25-5.50% มากกว่าที่เคยคาดการณ์ 0.25% ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันราคาสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมัน โดยดัชนีดอลลาร์ (DXY Index) ซึ่งเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักของโลก วันที่ 24 ก.พ. 66 ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 0.61 จุด จากวันก่อนหน้า อยู่ที่ 105.21 จุด สูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ กดดันราคาน้ำมัน

อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันโลกจะได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์น้ำมันของจีนที่กำลังฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคการเดินทางทางอากาศ โดยสำนักวิเคราะห์ Wood Mackenzie, FGE, Energy Aspects และ S&P Global Commodity Insight คาดการณ์ว่าจีนจะนำเข้าน้ำมันดิบในปี 66 เพิ่มขึ้น 0.5 – 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 11.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ตลาดกังวลว่าอุปทานน้ำมันจากรัสเซียจะตึงตัว หากรัสเซียลดการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทมากกว่า 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน มี.ค. 66 ตามที่เคยประกาศไว้ เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรและตั้งเพดานราคาน้ำมัน (Price Cap) ของชาติตะวันตก โดย Reuters รายงานรัสเซียมีแผนลดการส่งออกน้ำมันดิบจากท่าเรือ Primorsk และ Ust-Luga ในทะเลบอลติก และท่า Novorossiysk ในทะเลดำ 25% ในเดือน มี.ค.-เม.ย. 66

สัปดาห์นี้ ทางเทคนิคคาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 80 – 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

ทิศทางน้ำมันโลก สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 27 ก.พ. - 3 มี.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 6 - 10 มี.ค. 66

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 27 ก.พ. - 3 มี.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 6 - 10 มี.ค. 66

>> ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น จากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว โดย Caixin/Markit รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing Purchasing Managers' Index: PMI) ของจีนในเดือน ก.พ. 66 เพิ่มขึ้น 2.4 จุด จากเดือนก่อน มาอยู่ที่ 51.6 จุด บ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจขยายตัวเหนือระดับ 50 จุด เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 65 โดยได้แรงหนุนจากการกลับมาเปิดประเทศเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 66 ที่ผ่านมา 

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) สาขา Atlanta นาย Raphael Bostic สนับสนุนให้ Fed ชะลอความรุนแรงในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยคาดว่า Fed อาจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.25% จากระดับปัจจุบัน สู่ 4.75-5.0% ในการประชุมวันที่ 21 – 22 มี.ค. 66 (คาดการณ์เดิมเพิ่มขึ้น 0.5%) ซึ่งจะคลายความกดดันต่อภาคเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมัน 

ความเห็นของผู้ค้าพลังงานในงานสัมมนาด้านพลังงาน CERAWeek ระหว่างวันที่ 6-10 มี.ค. 66 เมือง Houston รัฐ Texas ของสหรัฐฯ ล่าสุด ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อราคาน้ำมันในช่วงครึ่งหลังของปี 66 อาทิ นาย Mike Wirth, CEO ของ Chevron Corp. กล่าวว่าตลาดน้ำมันยังอยู่ในภาวะตึงตัวและมีความเสี่ยงต่อภาวะอุปทานชะงักงัน แม้ว่าน้ำมันดิบจากรัสเซียยังคงเข้าสู่ตลาด แต่ระยะทางและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น รวมถึงต้นทุนราคาที่แตกต่างกันจากมาตรการคว่ำบาตร จะทำให้อุปทานตึงตัว นอกจากนี้ นาย Torbjorn Tornqvist, CEO ของบริษัท Gunvor กล่าวว่าราคาน้ำมันดิบอาจปรับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 66 เนื่องจากอุปสงค์ของจีนกลับสู่ตลาด สัปดาห์นี้ ทางเทคนิคคาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 84 – 87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 6 - 10 มี.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 13 - 17 มี.ค. 66

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent และ NYMEX WTI ยังสามารถยืนเหนือระดับ 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ แม้เกิดสถานการณ์วิกฤตการเงินในสหรัฐฯ จากปัญหา Silicon Valley Bank (SVB) ประกาศล้มละลายหลังประสบปัญหาสภาพคล่อง และธนาคาร Signature Bank ถูกสั่งปิดกิจการตามคำสั่งของหน่วยงานด้านการกำกับกิจการประจำรัฐนิวยอร์ก เพื่อป้องกันวิกฤตการธนาคารลุกลาม ล่าสุด ประธานาธิบดี Joe Biden แถลงการณ์ยืนยันให้ผู้ฝากเงินที่ธนาคาร SVB และ Signature Bank สามารถถอนเงินได้ในวันจันทร์ที่ 13 มี.ค. 66 หลังจากที่กระทรวงการคลังประกาศคุ้มครองเงินฝาก นับเป็นการล่มสลายของสถาบันการเงินใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกเมื่อปี 2008

ด้านตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ดีกว่าที่คาดการณ์ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) ในเดือน ก.พ. 66 เพิ่มขึ้น 311,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า (นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 205,000 ราย) อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี ในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 3.6% ตลาดจับตามองมติการประชุมนโยบายทางการเงิน (FOMC) ครั้งต่อไปในวันที่ 21-22 มี.ค. 66 โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ามีโอกาส 42.5% ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% และมีโอกาส 57.5% ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ล่าสุด Goldman Sachs คาดว่าสถานการณ์ความปั่นป่วนในขณะนี้ อาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงิน (FOMC) วันที่ 21-22 มี.ค. นี้ นับว่าพลิกผันเป็นอย่างมากจากที่เดิมตลาดคาดการณ์ว่าจะขึ้น 0.25% และระยะหลังคาดว่าจะขึ้นแรงถึง 0.5%

ทางเทคนิคสัปดาห์นี้คาดการณ์แนวโน้มราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 80-85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากที่ก่อนหน้านี้ทดสอบระดับแนวรับจิตวิทยาสำคัญที่ 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทำให้สามารถ Rebound ปรับตัวเพิ่มขึ้น เพื่อทดสอบแนวต้านถัดไปที่ 84, 85, และ 87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ กอปรกับ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง โดยดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักของโลกปิดตลาดวันที่ 10 มี.ค. 66 ลดลง 0.73 จุด อยู่ที่ 104.58 จุด ลดลงต่อเนื่องวันที่สอง

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
•หน่วยงานศุลกากรของจีน (General Administration of Customs) รายงานปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ ในช่วง ม.ค.-ก.พ. 66 ลดลง 1.3% จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 10.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 13 - 17 มี.ค.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 20 - 24 มี.ค.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง โดยราคาน้ำมัน ICE Brent และ NYMEX เฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลงสู่ระดับต่ำสุดตั้งแต่ ธ.ค. 64 ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Dubai ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 สัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลของนักลงทุนต่อสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะเผชิญความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) โดยตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์มีโอกาส 75% ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 4.75 - 5.0% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ในวันที่ 21 - 22 มี.ค. 66 ขณะที่มีโอกาส 25% ที่ Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม หลังสัปดาห์ก่อน ธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) และ Signature Bank ปิดกิจการจากปัญหาสภาพคล่อง

ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) ยังคงเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอเงินเฟ้อ โดยวันที่ 16 มี.ค 66 ECB มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำรองของธนาคารพาณิชย์ (Deposit Facility Rate) อยู่ที่ 3.0%, อัตราดอกเบี้ยนโยบายสำหรับการปล่อยสภาพคล่องให้ระบบธนาคารพาณิชย์ (Main Refinancing Operations Rate) อยู่ที่ 3.5% และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ให้ธนาคารกู้ยืม (Marginal Lending Facility Rate) อยู่ที่ 3.75% สูงสุดตั้งแต่ปี 51 ทั้งนี้ ประธานธนาคารกลางออสเตรีย (Reserve Bank of Australia: RBA) นาย Robert Holzman คาดว่า ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Deposit Facility Rate สู่ระดับ 4.0% ภายในปี 66 แม้ตลาดกังวลต่อความไม่แน่นอนของภาคธนาคารยุโรป ล่าสุด ธนาคารแห่งชาติสวิตเซอร์แลนด์ (Swiss National Bank) อนุมัติเงินกู้ให้ธนาคาร Credit Suisse มูลค่า 5 หมื่นล้านฟรังก์สวิส (5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ภายใต้แผนปรับโครงสร้างหนี้และเพิ่มสภาพคล่องในระยะสั้น

สัปดาห์นี้ ทางเทคนิคคาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 70 - 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยแนวรับสำคัญคือ 70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งต้องจับตาการประชุม FOMC และสถานการณ์วิกฤตธนาคาร ซึ่งหากสถานการณ์คลี่คลาย ราคา ICE Brent มีโอกาสทดสอบแนวต้านที่ 70 - 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

-Goldman Sachs ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีนในปี 66 อยู่ที่ 6.0% จากปีก่อนหน้า จากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 5.5% จากปีก่อนหน้า จากจีนเปิดประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 27 - 31 มี.ค.66  จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 3 - 7 เม.ย.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น จากนักลงทุนคลายความวิตกต่อวิกฤติภาคธนาคาร ประกอบกับท่อขนส่งน้ำมันดิบ Kirkuk - Ceyhan (0.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ที่สูบถ่ายน้ำมันดิบจากเขตปกครองพิเศษเคอร์ดิสถานทางตอนเหนือของอิรักสู่ตุรกีปริมาณ 4 - 4.5 แสนบาร์เรลต่อวัน ต้องระงับการสูบถ่ายชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 66 หลังอิรักชนะอนุญาโตตุลาการข้อพิพาทการส่งออกน้ำมันเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 66 

อย่างไรก็ดี วันที่ 2 เม.ย. 66 รัฐบาลอิรักและรัฐบาลท้องถิ่นเคอร์ดิสถาน (Kurdistan Regional Government: KRG) บรรลุข้อตกลงกลับมาส่งออกน้ำมันดิบแล้ว และคาดว่าจะเริ่มส่งออกน้ำมันได้ในวันที่ 3 เม.ย. 66

สัปดาห์นี้ ทางเทคนิคคาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 80 – 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากอุปทานน้ำมันมีแนวโน้มตึงตัว หลังประเทศสมาชิก OPEC+ จำนวน 7 ประเทศ ประกาศลดการผลิตน้ำมันดิบโดยสมัครใจ ปริมาณรวม 1.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ค. - ธ.ค. 66 เพิ่มเติมจากโควตาเดิมของ OPEC+ ซึ่งลดการผลิต 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ย. 65 - ธ.ค. 66 ประกอบกับรัสเซียประกาศลดการผลิตน้ำมันดิบ 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน มี.ค. - ธ.ค. 66 ซึ่งจะสนับสนุนราคาน้ำมัน โดย Goldman Sachs ปรับประมาณการณ์ราคาน้ำมันดิบ Brent ในปี 66 และ 67 เพิ่มขึ้น 5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากคาดการณ์เดิม มาอยู่ที่ 95 และ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 10-14 เม.ย.66  จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 17-21 เม.ย.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 ท่ามกลางตามความต้องการใช้น้ำมันโลกมีแนวโน้มแข็งแกร่งขึ้น โดยรายงานฉบับเดือน เม.ย. 66 ของ IEA ประเมินอุปสงค์น้ำมันโลกในปี 65 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 99.91 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปี 66 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.03 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 101.94 ล้านบาร์เรลต่อวัน 

ในขณะเดียวกัน เหตุอุปทานน้ำมันชะงักชะงันจากการส่งออกน้ำมันดิบจากเขตปกครองพิเศษเคอร์ดิสถานทางตอนเหนือของอิรักผ่านท่อ Kirkuk-Ceyhan ซึ่งสูบถ่ายน้ำมันดิบที่ระดับ 400,000-450,000 บาร์เรลต่อวัน (จากขีดความสามารถในการสูบถ่าย 700,000 บาร์เรลต่อวัน) หยุดดำเนินการวันที่ 25 มี.ค. 66 ยังไม่กลับมาดำเนินการ เนื่องจากตุรกีและรัฐบาลกลางอิรักยังเจรจาเรื่องค่าชดเชย 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ตุรกีต้องจ่ายให้อิรักก่อนกลับมาสูบถ่ายน้ำมัน

อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มถูกกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หลังตัวเลขเศรษฐกิจภาคการผลิตของสหรัฐฯ แข็งแกร่งขึ้น ล่าสุด นาย Thomas Barkin ประธาน Fed สาขา Richmond เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังขับเคลื่อนไปได้กับอัตราดอกเบี้ยในระดับนี้ ขณะที่ตลาดแรงงานยังคงเติบโต ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% จากระดับปัจจุบันระดับที่ 4.75-5.00% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ในวันที่ 2-3 พ.ค. 66

ในสัปดาห์นี้คาดการณ์ราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวในกรอบ 83-88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากอุปทานในตลาดโลกตึงตัวมากขึ้นจาก OPEC+ ขยายระยะเวลาและลดปริมาณการผลิตเพิ่มเติมถึงสิ้นปี 66

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 17-21 เม.ย.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 24-28 เม.ย.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงกว่า 2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ นับตั้งแต่ประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) ประกาศอาสาลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบรวมกัน 1.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ค. - ธ.ค. 66 ทำให้ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เคลื่อนไหวในช่วงประมาณ 80 - 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 66 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม วันที่ 19 เม.ย. 66 ราคาเริ่มปรับตัวลดลง เนื่องจากตลาดกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง และจะส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

สัปดาห์นี้ คาดการณ์ราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวในกรอบ 80 - 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงกดดันในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อน Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) วันที่ 2 - 3 พ.ค. 66 นอกจากนี้ ตลาดเริ่มคลายความตระหนกจากการตัดสินใจลดการผลิตของ OPEC+ รวมทั้งอุปทานจากรัสเซียและสหรัฐฯ ที่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- นักวิเคราะห์ 90% คาดการณ์ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ 5.0-5.25% ในการประชุมนโยบายการเงิน (FOMC) วันที่ 2-3 พ.ค. 66 และนักวิเคราะห์ 59% คาดว่าหลังจากนั้นจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับใหม่ไปจนถึงสิ้นปี 66 และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 3.5% ไปอยู่ที่ 4.3% ในช่วงปลายปี 66 

- EIA รายงานปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. 66 เพิ่มขึ้น 0.56 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 4.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน (+1.58 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า) ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน (0.64 ล้านบาร์เรลต่อวัน) เนเธอร์แลนด์ (0.52 ล้านบาร์เรลต่อวัน) และสหราชอาณาจักร (0.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน) 

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 1-5 พ.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 8-12 พ.ค. 66

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เฉลี่ยสัปดาห์สิ้นสุด 5 พ.ค. 66 ลดลง 5.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนอยู่ที่ 74.95 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงและเปลี่ยนไปถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย จากความวิตกกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาอาจเข้าสู่สภาวะถดถอย ทั้งในภาคงบประมาณ การเงิน และการธนาคาร อาทิ วันที่ 4 พ.ค. 66 หุ้น PacWest Bancorp ลดลง 51% แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หลังธนาคารเปิดเผยว่าอาจพิจารณาเพิ่มทุนหรือขายกิจการ, หุ้น Western Alliance Bancorp ลดลง 38% ขณะที่ธนาคารยืนยันสถานะทางการเงินว่ายังไม่ต้องขายกิจการ, หุ้น First Horizon ลดลง 33% ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2551 หลัง Dominion Bank ของแคนาดายุติการเจรจาซื้อกิจการ 

ทางด้านนักวิเคราะห์ Reuters คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve: Fed) อาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และนักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือน ก.ย. 66 ทั้งนี้วันที่ 3 พ.ค. 66 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ 5.0-5.25% และจะมีการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 13-14 มิ.ย. 66 

คาดว่าราคา ICE Brent ในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 70-80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Joe Biden มีแผนหารือร่วมกับแกนนำรัฐสภา 4 ท่าน ในวันที่ 9 พ.ค. 66 ทั้งฝั่งวุฒิสภา ได้แก่ นาย Chuck Schumer (Democratic Senator - Majority Leader), นาย Mitch McConnell (Senate Republican leader) และฝั่งสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ นาย Kevin McCarthy (Speaker of the House - Republican), และนาย Hakeem Jeffries (House Minority Leader) ในประเด็นการใช้จ่ายงบประมาณ และขยายเพดานหนี้

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- 4 พ.ค. 66 ที่ประชุมธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ (Deposit Facility Rate) มาอยู่ที่ 3.25% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ (Marginal Lending Facility Rate) มาอยู่ที่ 4%

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 15-16 พ.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 22-26 พ.ค. 66

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ในสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลง 0.29 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 75.71 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากนักลงทุนกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจถดถอยและถูกลดความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) หากการเจรจาขยายเพดานหนี้ (Debt Ceiling ที่ปัจจุบันอยู่ที่ 31.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) ระหว่างพรรค Democrat และพรรค Republican ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯ ผิดนัดชำระหนี้ หลังวันที่ 1 มิ.ย. 66

อย่างไรก็ดี การเจรจาระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Joe Biden (พรรค Democrat) และประธานสภาผู้แทนราษฎร นาย Kevin McCarthy (พรรค Republican) มีความคืบหน้า และทั้ง 2 ฝ่ายใกล้จะบรรลุข้อตกลงในการปรับเพิ่มเพดานหนี้ โดยมีนัดหารือกันอีกในวันที่ 22 พ.ค. 66

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

• กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ ประกาศเข้าซื้อน้ำมันดิบเพื่อเติมคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ปริมาณ 3 ล้านบาร์เรล ส่งมอบภายในเดือน ส.ค. 66 หลังระบายน้ำมันจาก SPR ปริมาณ 180 ล้านบาร์เรล ในปี 2565 เพื่อบรรเทาสภาวะน้ำมันตึงตัว หลังผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

• รายงานฉบับเดือน พ.ค. 66 ของ  International  Energy Administration  (IEA) คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปี 2566 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.21 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 102.01 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ครั้งก่อน 70,000 บาร์เรลต่อวัน)

• สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (National Bureau of Statistics) รายงานโรงกลั่นนำน้ำมันดิบเข้ากลั่น (Refinery Throughput) ในเดือน เม.ย. 66 เพิ่มขึ้น 18.9% จากปีก่อน อยู่ที่ 14.87 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อเตรียมรองรับอุปสงค์ในประเทศที่คาดว่าจะฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อน

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

• ผู้บริหารของบริษัทและสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ 150 ราย อาทิ Goldman Sachs และ JP Morgan ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Joe Biden และประธานรัฐสภา เตือนว่าหากการเจรจาเพดานหนี้ไม่ได้ข้อสรุปทันเวลา สหรัฐฯ จะผิดนัดชำระหนี้ ส่งผลให้สถานะของสหรัฐฯ ในระบบการเงินโลกอ่อนแอลง กระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือ เป็นการส่งคำเตือนที่หนักแน่นที่สุดจากภาคธุรกิจในรอบหลายปีที่ผ่านมา บ่งชี้ความสำคัญของการเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐฯ 

• Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 พ.ค. 66 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 5.0 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 467.6 ล้านบาร์เรล

ให้จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) วันที่ 13-14 มิ.ย. 66 ซึ่งล่าสุด ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) นาย Jerome Powell กล่าวว่า FOMC อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้อีก 0.25% จากระดับปัจจุบันที่ 5.0-5.25% หากอัตราเงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% สัปดาห์นี้คาดการณ์ราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวในกรอบ 70-80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 22 – 26 พ.ค. 66 และแนวโน้มสัปดาห์ที่ 29 พ.ค. – 2 มิ.ย. 66

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ปิดตลาดสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ วันที่ 26 พ.ค. 66 เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.17 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 76.88 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยราคาวันที่ 26 พ.ค. 66 อยู่ที่ 76.95 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

วันที่ 28 พ.ค. 66 นาย Joe Biden ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ และนาย Kevin McCarthy ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงในการขยายเพดานหนี้ และจะเสนอเข้าที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 31 พ.ค. 66 ส่งสัญญาณบวกต่อราคาน้ำมัน

อย่างไรก็ตาม สมาชิกกลุ่ม OPEC+ แสดงความเห็นต่อนโยบายแนวทางการผลิตน้ำมันขัดแย้งกัน รมว.กระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย เจ้าชาย Abdulaziz bin Salman กล่าวในงานสัมมนา Qatar Economic Forum เตือนนักลงทุนที่เปิดสถานะ Short Position (เก็งกำไรโดยคาดว่าราคาน้ำมันจะลดลง) ให้ระวังการขาดทุน ส่งสัญญาณว่าหากราคาน้ำมันลดลงต่อเนื่อง กลุ่ม OPEC+ อาจพิจารณาลดการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มเติมในการประชุมวันที่ 4 มิ.ย. 66 ทั้งนี้ในการประชุมวันที่ 3 เม.ย. 66 กลุ่ม OPEC+ มีมติลดการผลิตปริมาณรวม 1.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึงสิ้นปี 2566

ขณะที่รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย นาย Alexander Novak เห็นว่ากลุ่ม OPEC+ ไม่น่าจะมีมาตรการใหม่ในการประชุมวันที่ 4 มิ.ย. นี้ เพราะหลายประเทศได้สมัครใจลดการผลิตน้ำมันไปแล้ว ในการประชุมครั้งก่อน และมองว่าราคา Brent จะสูงกว่าระดับ 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ภายในปี 2566 สอดคล้องกับประธานาธิบดีรัสเซีย นาย Vladimir Putin ซึ่งกล่าวก่อนหน้าว่าราคาน้ำมันกำลังเข้าใกล้ระดับที่เหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ (Economically Justified) ส่งสัญญาณรัสเซียไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงนโยบายการผลิต

สถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางตึงเครียด หลังอิหร่านทดสอบการยิงจรวดขีปนาวุธ (Khoramshahr 4) แบบพื้น-สู่-พื้น รุ่นใหม่ล่าสุดที่ผลิตในประเทศ โดยใช้ชื่อ Kheibar ซึ่งมีพิสัย 2,000 กม. และบรรทุกหัวรบได้ 1,500 กก. จึงสามารถโจมตีครอบคลุมฐานทัพของอิสราเอล และสหรัฐอเมริกา ในภูมิภาคตะวันออกกลาง

คาดการณ์ราคา ICE Brent สัปดาห์นี้มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น และเคลื่อนไหวในกรอบ 75-80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หลังการเจรจาขยายเพดานหนี้ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาบรรลุข้อตกลงเบื้องต้น และติดตามการประชุมกลุ่ม OPEC+ วันที่ 4 มิ.ย. 66 ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการผลิตเพิ่มเติมหรือไม่

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

• บริษัท Equinor ของนอร์เวย์เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบแหล่ง Johan Sverdrup ในทะเลเหนือจาก 7.2 แสนบาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.พ. 66 สู่ระดับ 7.55 แสนบาร์เรลต่อวัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์

• สำนักสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Federal Statistical Office) รายงานอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ในไตรมาส 1/66 อยู่ที่ -0.3% จากไตรมาสก่อนหน้า หดตัวต่อเนื่อง หลังไตรมาส 4/65 อยู่ที่ -0.5% จากไตรมาสก่อนหน้า กล่าวคือเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession)

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

• Baker Hughes Inc. รายงานจำนวน Rig ขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 พ.ค. 66 ลดลง 5 แท่น WoW อยู่ที่ 570 แท่น

• สำนักสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (Office for National Statistics) รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ซึ่งบ่งชี้อัตราเงินเฟ้อ ในเดือน เม.ย. 66 อยู่ที่ +8.7% จากปีก่อนหน้า ต่ำสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 65


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top