Tuesday, 7 May 2024
ควีนเอลิซาเบธ

‘ควีนเอลิซาเบธ’ ครองราชย์ยาวนานที่สุด 70 ปี ครั้งแรกกับ ‘แพลตตินั่ม จูบิลี’ ของราชวงศ์อังกฤษ

บรรดาผู้จงรักภักดีตั้งแถวกันที่ถนน เดอะ มอลล์ ซึ่งเป็นถนนมุ่งไปยังพระราชวังบัคกิ้งแฮม ในกรุงลอนดอน ขณะเฝ้ารอคอยพิธีสวนสนามของทหารม้า ที่เรียกว่า “trooping the colour” ในวันพฤหัสบดี (2 มิ.ย.) ซึ่งเป็นส่วนแรกของการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 70 ปี “แพลตตินั่ม จูบิลี” อย่างเป็นทางการ

บรรดาผู้จงรักภักดีตั้งแถวกันที่ถนน เดอะ มอลล์ ซึ่งเป็นถนนมุ่งไปยังพระราชวังบัคกิ้งแฮม ในกรุงลอนดอน ขณะเฝ้ารอคอยพิธีสวนสนามของทหารม้า ที่เรียกว่า “trooping the colour” ในวันพฤหัสบดี (2 มิ.ย.) ซึ่งเป็นส่วนแรกของการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 70 ปี “แพลตตินั่ม จูบิลี” อย่างเป็นทางการ

ควีนเอลิซาเบธทรงมีหมายกำหนดการเสด็จออกสีหบัญชรที่พระราชวังบัคกิ้งแฮม 2 ครั้งในวันพฤหัสฯ (2 พ.ค.) อันเป็นวันเริ่มต้นพระราชพิธี แพลตตินั่ม จูบิลี (Platinum Jubilee) หรือการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 70 ปี ซึ่งถือว่า ยาวนานที่สุดในราชวงศ์อังกฤษ โดยที่ขณะนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงรักใคร่ศรัทธาในพระองค์

เรื่องที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 96 พรรษาแล้ว จะทรงมีส่วนร่วมได้ในระดับใด ในพระราชพิธีเฉลิมฉลองวาระการครองราชย์ 70 ปีนี้ เป็นสิ่งที่คาดเดากันมานานหลายเดือนแล้ว

ช่วงปีที่ผ่านมา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธต้องทรงลดการปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะ เนื่องจากทรงมีปัญหาเรื่องการประทับยืนและการเสด็จพระราชดำเนิน รวมทั้งทรงติดเชื้อโรคโควิด-19 แม้ดูเหมือนไม่ได้มีอาการรุนแรง

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังยืนยันว่า พระองค์จะทรงรับความเคารพจากขบวนแถวทหารม้า จากสีหบัญชร ในการสวนสนาม ที่เรียกกันว่า Trooping the Colour

ในการพระราชพิธีเฉลิมฉลองวาระวันเฉลิมพระชนมพรรษาที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปีนั้น องค์พระประมุขจะทรงรับการเคารพโดยประทับอยู่บนหลังม้าพระที่นั่ง แต่สำหรับปีนี้ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มงกุฎราชกุมา พระชนมายุ 73 พรรษา จะทรงทำหน้าที่นี้แทน พร้อมกับเจ้าฟ้าหญิงแอนน์ พระชนมายุ 71 พรรษา และเจ้าชายวิลเลียม พระชนมายุ 39 พรรษา
 

น้อมเกล้าแสดงความอาลัย 'ควีนเอลิซาเบธ' สิ้นกษัตริย์ครองราชย์ยาวนานสุดของสหราชอาณาจักร

บรรดาผู้นำทั่วโลก น้อมเกล้าแสดงความอาลัยต่อการเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 องค์พระประมุขที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดของสหราชอาณาจักร สิริพระชนมายุ 96 พรรษา รวมเวลาครองราชย์ 70 ปี

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ระบุว่า "ในฐานะประมุขแห่งรัฐที่ครองราชย์นานที่สุดและพระชนมายุยืนที่สุดของสหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ทรงเป็นที่ชื่นชมอย่างกว้างขวางทั่วโลก ต่อความกรุณา อุทิศตัวและความสง่างามของพระองค์ พระองค์สร้างความอุ่นใจตลอดช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ หลายทศวรรษ ในนั้นรวมถึงการปลดปล่อยอาณานิคมในแอฟริกาและเอเชีย และวิวัฒนาการของเครือจักรภพ"

"สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 เป็นมิตรที่ดีกับสหประชาชาติ ทรงเสด็จเยือนสำนักงานใหญ่ของเราในนิวยอร์ก 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันกว่า 50 ปี พระองค์มุ่งมั่นอย่างหนักแน่นต่องานด้านการกุศลและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และตรัสสร้างแรงบันดาลใจแก่บรรดาคณะผู้แทน ณ ที่ประชุมโลกร้อน COP26 ในกลาสโกว์ เกล้ากระหม่อมของแสดงความชื่นชมสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ต่อความมั่นคงของพระองค์ การอุทิศตนตลอดชีวิตเพื่อรับใช้ประชาชนของพระองค์ โลกจะจดจำการอุทิศตัวและความเป็นผู้นำของพระองค์"

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ และจิล ไบเดน สุภาพสตรีหมายเลข 1 ระบุในถ้อยแถลงว่า "ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง พระองค์ทรงยืนหยัดอย่างมั่นคง และเป็นบ่อเกิดแห่งความอุ่นใจและความภาคภูมิใจของชาวสหราชอาณาจักรหลายชั่วอายุ ในนั้นจำนวนมากไม่รู้ว่าประเทศของพวกเขาจะเป็นไปในทิศทางไหนหากปราศจากพระองค์ มรดกของเธอจะเป็นส่วนสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร และในเรื่องราวของโลกของเรา"

นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย กล่าวว่า "สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 จะถูกจดจำในฐานะผู้กล้าหาญในช่วงเวลาของเรา พระองค์มอบแรงบันดาลใจผู้นำของประเทศและประชาชนของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นบุคคลที่มีความสง่างามและมีทำนองคลองธรรมในชีวิตสาธารณะ ข้าพเจ้าของส่งความคิดคำนึงถึงครอบครัวของพระองค์และประชาชนชาวสหราชอาณจักร ในชั่วโมงอันน่าเศร้านี้"

เชห์บาซ ชารีฟ นายกรัฐมนตรีปากีสถาน ระบุในถ้อยแถลงว่า "ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการจากไปของสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ปากีสถานขอร่วมกับสหราชอาณาจักรและบรรดาชาติต่างๆ ในเครือจักรภพ ในการไว้อาลัยต่อการสวรรคตของพระองค์ กระผมขอน้อมเกล้าแสดงความอาลัยด้วยความจริงใจถึงเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ ประชาชนและรัฐบาลของสหราชอาณาจักร"

จันติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ระบุว่า "มันเศร้าสลดใจอย่างที่สุด หลังเราได้ทราบข่าวการจากไปของกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของแคนาดา สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 พระองค์ทรงยืนหยัดอย่างมั่นคงในช่วงชีวิตของเรา และการรับใช้ชาวแคนาดาของพระองค์ จะยังคงเป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ของประเทศของเราไปตลอดกาล"

จาซินดา อาร์เดิร์น นายรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ น้อมเกล้าแสดงความอาลัยว่า "ฉันรู้ว่าฉันต้องพูดแทนประชาชนทั่วนิวซีแลนด์ แสดงความเห็นใจอย่างสุดซึ้งถึงสมาชิกพระบรมวงศานุวงศ์ ต่อการจากไปของสมเด็จพระราชินี สำหรับเราพระองค์ทรงเป็นชื่นชมและเป็นกษัตริย์ที่เราให้ความเคารพอย่างสูง พระองค์ทรงเป็นเหมือนแม่และยายของพวกเรา"

แอนโธนี อัลบานีส นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ระบุว่า "ด้วยการจากไปของ สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 การครองราชย์ครั้งประวัติศาสตร์และการอุทิศทั้งชีวิตในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ครอบครัว ความศรัทธาและการรับใช้ได้มาถึงจุดจบ หัวใจของชาวออสเตรเลียขอยืนเคียงข้างประชาชนชาวสหราชอาณาจักรผู้โศกเศร้าในวันนี้ เรารู้ดีว่าพวกรู้สึกอย่างไรที่ต้องสูญเสียส่วนสำคัญที่สร้างประเทศของพวกเขาขึ้นมา คำปลอบโยนสามารถพบได้ในคำตรัสของสมเด็จพระราชินีเองที่ว่า ความเศร้าคือราคาที่ต้องจ่ายเพื่อความรัก"

นอกจากไบเดนแล้ว ในส่วนของสหรัฐฯ มีบุคคลสำคัญหลายคนที่ร่วมน้อมเกล้าแสดงความอาลัยต่อการจากไปของ สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ในนั้นรวมถึง แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ มิตช์ แม็คคอนเนลล์ ผู้นำรีพับลิกันในวุฒิสภา อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และเมลาเนีย ทรัมป์ ภริยา เช่นเดียวกับอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา อดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู.บุช และอดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน

แกนนำเพื่อไทยร่วมลงนามแสดงความเสียใจต่อการเสด็จสวรรคต 'สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2' แห่งสหราชอาณาจักร

(12 ก.ย.65) แกนนำพรรคเพื่อไทย นำโดย นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรค พร้อมด้วย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการฯ และ นางนลินี ทวีสิน ประธานคณะกรรมการต่างประเทศ ร่วมลงนามแสดงความเสียใจ ต่อการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย โดยมี นายมาร์ค กูดดิ้ง (H.E. Mr. Mark Gooding) เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทยให้การรับรอง

นายแพทย์ชลน่านเป็นตัวแทนพรรคเพื่อไทยนำส่งสารถึงรัฐบาลสหราชอาณาจักรว่า พรรคเพื่อไทยเสียใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อทราบข่าวการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยและสหราชอาณาจักรมีสัมพันธไมตรีใกล้ชิดต่อเนื่องยาวนาน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงมีพระราชจริยวัตรอันอ่อนน้อม สง่างาม ตลอดพระชนม์ชีพทรงอุทิศพระวรกายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง พระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติด้วยพระวิริยะอุตสาหะเป็นแบบอย่างของผู้นำที่ดีและมีคุณธรรม

“พรรคเพื่อไทยขอถวายความอาลัยไปยังพระบรมวงศานุวงศ์แห่งสหราชอาณาจักรทุกพระองค์ และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อประชาชนและรัฐบาลสหราชอาณาจักร และขอให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ประมุขแห่งรัฐผู้ทรงครองราชย์ยาวนาน เสด็จสู่สวรรคาลัยนิรันดร์”

‘ดร.นิว’ ไขความกระจ่าง กรณีพระบรมวงศานุวงศ์ไทย ไม่ได้เข้าร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพ ควีนเอลิซาเบธที่ 2

‘ดร.นิว’ โชว์เอกสารเทียบเชิญจากสหราชอาณาจักร ยืนยันไทยได้รับเชิญร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 พร้อมไขข้อข้องใจ เหตุใดพระบรมวงศานุวงศ์ไทยไม่ได้เข้าร่วมพระราชพิธี

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ‘ดร.นิว’ นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงข้อถกเถียงของคนบางกลุ่มกรณีสงสัยเหตุใดสหราชอาณาจักร ไม่เชิญพระบรมวงศานุวงศ์ไทยเข้าร่วมในพิธีพระบรมศพ สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 โดยได้นำเอกสารเทียบเชิญมาเผยแพร่ พร้อมระบุว่า 

เชิญหรือไม่เชิญก็เบิกตากว้างๆ ดูเอาเองเลยครับ

มีผู้เกี่ยวข้องท่านหนึ่งที่กรุงลอนดอน รู้สึกทนไม่ได้กับการที่พวกสามนิ้วออกมาปั่นกระแสบิดเบือน ให้ร้ายว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยไม่ได้รับเชิญให้มาร่วมพระราชพิธีพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 

จึงได้ส่งข้อความมาหลังไมค์บอกว่าผมเขียนวิเคราะห์ได้ค่อนข้างถูกต้องและมีความใกล้เคียงมาก พร้อมทั้งได้แนบเอกสารตัวจริงหน้านี้มาให้ดูเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์อีกด้วย พวกสามนิ้วจะได้หยุดโกหกบิดเบือนให้ร้ายแบบมั่วๆ เสียที

ในความเป็นจริงนั้น ทางกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาแห่งสหราชอาณาจักร หรือ Foreign, Commonwealth & Development Office (FCDO) ได้ส่งเอกสารเทียบเชิญไปยังสถานเอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

โดยจะมีการแบ่งกลุ่มประเทศตามระดับความสัมพันธ์และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นในอดีตหรือยังอยู่ภายใต้เครือจักรภพในปัจจุบัน ก็อาจเจาะจงให้ระดับประมุขหรือผู้นำสูงสุดมาเองเท่านั้น 

สำหรับประเทศไทย ปรากฏว่าอยู่ในกลุ่มเดียวกับ บาห์เรน, ภูฏาน, กัมพูชา, ญี่ปุ่น, จอร์แดน, คูเวต, ลิกเตนสไตน์, ลักเซมเบิร์ก, โมนาโก, โมรอคโค, นอร์เวย์, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดิอาระเบีย, สวีเดน, ไทย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการส่งเทียบเชิญของสหราชอาณาจักรมายังประเทศในกลุ่มนี้รวมถึงประเทศไทย มีลักษณะเป็นทางเลือก โดยทางประมุขแห่งรัฐที่เป็นพระมหากษัตริย์จะเสด็จฯ มาเอง หรือส่งเอกอัครราชทูตมาร่วมแทนก็ได้ 

เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขของการเทียบเชิญในข้างต้น นับได้ว่าประเทศไทยก็ได้ปฏิบัติตามกรอบของการเทียบเชิญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่ไม่ได้เป็นปัญหากับทางสหราชอาณาจักรแต่อย่างใด มีแต่พวกสามนิ้วเท่านั้นที่เป็นเดือดเป็นร้อน 

ปัญหาจึงอยู่ที่พวกสามนิ้วเองต่างหาก ที่คอยจ้องหาแต่เรื่องโกหกบิดเบือนให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยไปเรื่อยเปื่อย ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีสาระอะไรที่มากไปกว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยไปวันๆ เท่านั้นเอง

โดยก่อนหน้านี้ ดร.ศุภนัฐ ได้วิเคราะห์ว่า ทำไมสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยไม่ได้เสด็จฯ ไปเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อร่วมพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ?

ถ้าลองสังเกตดูดีๆ จะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ประมุขหรือผู้นำสูงสุดของประเทศส่วนใหญ่ที่เดินทางไปเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อร่วมพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 จะเป็นประเทศจำนวนมากที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นในอดีต หรือยังอยู่ภายใต้เครือจักรภพในปัจจุบัน [1]

สำหรับการที่สถาบันพระมหากษัตริย์ในยุโรปเกือบทั้งหมดได้เสด็จฯ ไปเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อร่วมพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 เป็นเพราะล้วนแต่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกันมาแต่เก่าก่อน เมื่อสืบสายไล่เรียงก็จะพบว่าทรงเป็นพระญาติของสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ทั้งสิ้น [2]

ส่วนการเชิญแขกอื่นๆ จากประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีงามทั่วไป ก็จะเป็นการเชิญตามมารยาทโดยผ่านสถานเอกอัครราชทูต ไม่ได้มีหนังสือเชิญโดยตรงมายังประมุขประเทศต่างๆ แต่อย่างใด ดังนั้นประเทศส่วนใหญ่ในโลกก็จะส่งเอกอัครราชทูตไปเข้าร่วมโดยมารยาทตามปกติ สำหรับประเทศไทยเองก็จัดได้ว่าอยู่ในประเทศกลุ่มนี้ (ภูฏานกับญี่ปุ่นก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าประมุขจะไปเองหรือจะส่งเอกอัครราชทูตไปร่วมแทน)

แถมในสถานการณ์ปัจจุบันก็ยังมีสถานการณ์ทางการเมืองโลกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนเป็นต้น ส่งผลให้สหราชอาณาจักรไม่อนุญาตให้บางประเทศเดินทางเข้ามาถวายความเคารพพระบรมศพในการนี้ด้วย

อย่างไรก็ดี พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ส่งข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยังสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรพระองค์ใหม่ ในการที่สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 [3]

อีกทั้งพระบรมวงศานุวงศ์องค์สำคัญอย่างสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้เสด็จฯ เยือนสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย เพื่อทรงลงพระนามาภิไธยถวายความอาลัยแด่สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2565 [4] 

แม้แต่องค์พระประมุขแห่งนครรัฐวาติกันอย่างสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ก็ถือปฏิบัติในทำนองเดียวกันกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการส่งข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยังสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 อีกทั้งส่งตัวแทนของรัฐเข้าร่วมแทนพระองค์ [5]

สำหรับประเทศไทยที่มีความสัมพันธ์อันดีอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักรในกาลก่อน อีกทั้งมีจุดยืนในการรักษาความเป็นกลางทางการเมืองโลกมาโดยตลอด การแสดงออกของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในระดับนี้จึงจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไป และเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดแล้ว

ทางการเผยสาเหตุการสิ้นพระชนม์ ‘ควีนเอลิซาเบธ’ แจ้งเพียงพระชราภาพเท่านั้น - ไร้ข้อมูลเพิ่มเติม

เรื่อง : อนุดี เซียสกุล

เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ สิ้นพระชนม์ลงในวันที่ ๘ กันยายนที่ผ่านมาไม่มีการเปิดเผยสาเหตุของการสิ้นพระชนม์แต่อย่างใดแม้จะมีการตั้งข้อสังเกตว่าสองวันก่อนที่จะสิ้นพระชนม์นั้น สมเด็จพระราชินีนาถฯยังเสด็จออกให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เข้าเฝ้า

หรือแม้แต่ในวันที่จะสวรรคตแถลงการณ์ของสำนักพระราชวังที่ออกมาเมื่อตอนเที่ยง : ๑๒.๓๒ น. บอกเพียงแต่ว่าคณะแพทย์มีความกังวลกับพระอาการประชวรแต่ก็บอกว่าสมเด็จพระราชินีนาถฯยังคงสบายดีอยู่ หากแต่หลังจากนั้นเพียงสองชั่วโมงกว่าก็สิ้นพระชนม์

ในที่สุดสาเหตุของการสิ้นพระชนม์ก็เป็นที่เปิดเผยออกมาในเวลาบ่ายห้าโมงเย็นตามเวลาท้องถิ่นในกรุงลอนดอน ของวันที่ ๒๙ กันยายนโดยผู้สื่อข่าวสายพระราชวังของบีบีซีก็อ้างถึงข้อมูลของ National Records of Scotland ที่เผยแพร่ในมรณะบัตรของสมเด็จพระราชินีนาถฯว่าสิ้นพระชนม์ด้วยอายุขัย cause of death: old age, ในเวลา ๑๕.๑๐ น. ณ ปราสาทบัลมอรัลและผู้ที่แจ้งการสิ้นพระชนม์คือเจ้าหญิงแอนพระราชธิดา

ฝ่ายทะเบียนท้องถิ่นของเขตอาเบอดีนเชียร์ ในสก็อตแลนด์ ที่ปราสาทบัลมอรัลตั้งอยู่รับแจ้งและลงบันทึกในวันที่ ๑๖ กันยายน โดยในบันทึกของใบมรณะบัตรนี้ทำให้รู้ว่า สมเด็จฯเสด็จสวรรคตในตอนบ่าย ๓ โมง ๑๐ นาที และนายกรัฐมนตรี เอลิซาเบธ ทรัสส์ได้รับแจ้งให้ทราบเป็นการส่วนตัวตอนบ่าย ๔ โมงครึ่ง ต่อจากนั้นสำนักพระราชวังบัคกิ้งแฮมได้ออกประกาศการสิ้นพระชนม์อย่างเป็นทางการเมื่อ ๖ โมงครึ่ง

แสดงให้เห็นว่ามีเพียงเจ้าชายชาร์ลส์และเจ้าหญิงแอนเท่านั้นที่ประทับอยู่ในบัลมอรัล ส่วนเจ้าชายแอนดรู,เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดและเจ้าชายวิลเลี่ยมเสด็จไปถึงหลังจากที่สิ้นพระชนม์แล้วคือเวลาบ่ายห้าโมงเย็น

อยากจะกล่าว่าในใบมรณะบัตรที่เผยแพร่ออกมานี้เป็นการบันทึกข้อมูลเหมือนเฉกเช่นคนทั่วไป เช่นพระนาม, นามสกุล, อาชีพมีการลงบันทึกว่า Her Majesty The Queen, วันประสูติ, สถานภาพ หม้าย สิ้นพระชนม์ วันเวลา สถานที่ บ้านหรือสถานที่ประทับถาวรบันทึกว่า พระราชวังวินด์เซอร์ สาเหตุของการสิ้นพระชนม์ คืออายุขัย และมีชื่อแพทย์ยืนยันการสิ้นพระชนม์โดยสำนักพระราชวังระบุชื่อนายแพทย์ ดักราส กร้าส ซึ่งเป็นเภสัชกร


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top