Monday, 19 May 2025
USAID

มักส์เล็งสั่งปิด 'USAID' องค์กรมนุษยธรรมโลก ซัด ไร้ประสิทธิภาพ-ผลาญเงิน-เกินเยียวยา

(4 ก.พ. 68) อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีและนักธุรกิจชื่อดัง  ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้นำกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล หรือ DOGE ได้ประกาศแผนปรับลดขนาดหน่วยงานรัฐ  โดยมีหนึ่งในเป้าหมายหลักคือการสั่งปิด องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐ (USAID) โดยให้เหตุผลว่าหน่วยงานดังกล่าว "ไร้ประสิทธิภาพและไม่สามารถแก้ไขได้อีกต่อไป" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

มักส์ โพสต์ในแพลตฟอร์มเอ็กซ์ (X) ว่า กำลังหารือกับกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาลหรือ DOGE เรื่องปิดยูเอสเอด เนื่องจาก “เกินเยียวยา” แล้ว และว่าประธานาธิบดีทรัมป์เห็นด้วยว่าควรปิดหน่วยงานนี้

USAID เป็นผู้บริจาคเดี่ยวรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยได้บริจาคความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมตามที่สหประชาชาติหรือยูเอ็นติดตามข้อมูลได้ในปี 2567 มากถึงร้อยละ 42 ของความช่วยเหลือทั้งหมด

ก่อนหน้าที่มักส์จะประกาศเรื่องดังกล่าว เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลทรัมป์ได้สั่งปลดเจ้าหน้าที่ระดับสูง 2 รายของ USAID หลังจากที่พวกเขาพยายามขัดขวางตัวแทนจาก DOGE ของมัสก์ไม่ให้เข้าถึงพื้นที่ควบคุมของหน่วยงานดังกล่าว

USAID ถือเป็นองค์กรบริจาครายใหญ่ที่สุดของโลก โดยในปีงบประมาณ 2023 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ให้เงินช่วยเหลือทั่วโลกรวมกว่า 72,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท ครอบคลุมโครงการด้านสุขภาพ น้ำสะอาด การรักษาโรค HIV/AIDS ความมั่นคงด้านพลังงาน และมาตรการต่อต้านการทุจริต โดยคิดเป็น 42% ของความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั้งหมดที่องค์การสหประชาชาติติดตามในปี 2024

ก่อนหน้านี้ไม่นานหลังโดนัลด์ ทรัมป์ กลับมาดำรงตำแหน่ง นโยบาย America First ของทรัมป์ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการให้ความช่วยเหลือระดับนานาชาติ โครงการสำคัญ เช่น โรงพยาบาลสนามในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย การเก็บกู้ทุ่นระเบิดในพื้นที่สงคราม และการแจกจ่ายยารักษาโรค HIV อาจถูกยกเลิกเนื่องจากมาตรการลดงบประมาณครั้งนี้

มัสก์คาดการณ์ว่ามาตรการลดงบประมาณดังกล่าวจะช่วยให้รัฐบาลสหรัฐฯ ลดการขาดดุลงบประมาณลงได้ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 34 ล้านล้านบาทในปีหน้า โดยเขากล่าวหาว่ามีกลุ่มอาชญากรทางการเงินจากต่างประเทศปลอมแปลงตัวตนเป็นพลเมืองสหรัฐฯ เพื่อฉ้อโกงเงินช่วยเหลือจำนวนมหาศาล อย่างไรก็ตาม มัสก์ไม่ได้ให้หลักฐานเพื่อสนับสนุนข้อกล่าวหานี้ หรืออธิบายว่าตัวเลข 1 ล้านล้านดอลลาร์นั้นถูกคำนวณอย่างไร

นอกจากนี้ มีข้อกังวลเกี่ยวกับการที่มัสก์สามารถเข้าถึงระบบการเงินของกระทรวงการคลัง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินมากกว่า 6 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปีให้กับหน่วยงานรัฐบาลกลาง และยังมีข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนสหรัฐฯ ที่ได้รับเงินสวัสดิการทางสังคมและการคืนภาษี ซึ่งเรื่องนี้ ส.ว. ปีเตอร์ เวลช์ จากพรรคเดโมแครต ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลอธิบายว่าเหตุใดมัสก์จึงสามารถเข้าถึงระบบดังกล่าวได้ โดยกล่าวตำหนิมัสก์ว่า 

“นี่เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบของบุคคลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และสะท้อนให้เห็นว่าการเงินสามารถซื้ออำนาจในรัฐบาลทรัมป์ได้” 

ในขณะเดียวกัน เมื่อถูกถามเกี่ยวกับบทบาทของมัสก์ โดยเฉพาะการมุ่งทำงานเพื่อตัดลดงบประมาณของรัฐบาล ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่า "ผมเห็นด้วยกับเขา เขาช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มาก แม้ว่าบางครั้งเราอาจมีความเห็นที่แตกต่างกัน แต่ผมคิดว่าเขากำลังทำงานได้ดี เขาเป็นคนฉลาดมาก และมีความมุ่งมั่นในการลดขนาดรัฐบาลกลางของเรา"

ศึกใหญ่ของ ‘อีลอน มัสก์’ กับ ปฏิบัติการขุดรากถอนโคน USAID องค์กรที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นเครื่องมือก่อการร้ายของรัฐบาลเงา?

(4 ก.พ. 68) เกิดอะไรขึ้นในอเมริกา? เมื่อ Elon Musk เปิดฉากไล่ล่า USAID

ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับเหตุการณ์ที่อาจเปลี่ยนโฉมหน้าการเมืองและนโยบายต่างประเทศไปตลอดกาล เมื่อ Elon Musk ประกาศสงครามกับ USAID (United States Agency for International Development) องค์กรที่มีงบประมาณมหาศาลและถูกกล่าวหาว่าเป็น เครื่องมือแทรกแซงทางการเมืองของฝ่ายซ้าย และมีส่วนพัวพันกับการสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย

USAID คือใคร? ทำไมถึงถูกโจมตีว่าเป็นองค์กรก่อการร้าย?

USAID ก่อตั้งขึ้นในปี 1961 โดย John F. Kennedy โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศยากจน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา USAID ถูกกล่าวหาว่ากลายเป็นแขนขาของอำนาจเงาภายในรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ใช้เงินภาษีของประชาชน แทรกแซงการเมืองโลก, สนับสนุนการล้มรัฐบาล และส่งเสริมแนวคิดเสรีนิยมสุดโต่ง

มีรายงานว่า USAID ให้เงินสนับสนุนองค์กรที่เกี่ยวข้องกับขบวนการปฏิวัติสี (Color Revolutions) ในประเทศต่างๆ เช่น อาหรับสปริง, ยูเครน, เวเนซุเอลา และแม้แต่กลุ่มเคลื่อนไหวในฮ่องกง

ที่ร้ายแรงกว่านั้น Middle East Forum (MEF) ได้เปิดเผยว่า USAID อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งผ่านเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์ไปยังกลุ่มที่เชื่อมโยงกับก่อการร้าย เช่น Hamas และองค์กรหัวรุนแรงในตะวันออกกลาง

คำถามคือ ถ้าข้อมูลนี้เป็นจริง เงินภาษีของชาวอเมริกันกำลังถูกใช้เพื่อสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายที่โจมตีพันธมิตรของอเมริกาเองหรือไม่?

Musk กับปฏิบัติการปิดฉาก USAID – การรื้อถอนรัฐลึก?

Musk ในฐานะหัวหน้าของ Department of Government Efficiency (DOGE) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยทรัมป์ กำลังไล่ล่าหลักฐานที่ชี้ว่า USAID เป็นแหล่งเงินทุนขององค์กรหัวรุนแรงและเครือข่าย NGOs ฝ่ายซ้ายสุดโต่ง

การเข้ายึดอำนาจของ USAID เริ่มต้นเมื่อทีมของ Musk พยายามเข้าไปตรวจสอบเอกสารลับใน SCIF (Sensitive Compartmented Information Facility) ซึ่งเป็นห้องข้อมูลลับสุดยอดของหน่วยงาน แต่ถูกขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ USAID

สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือ การปลดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยระดับสูงของ USAID สองคนออกจากตำแหน่งทันที ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า USAID กำลังปกปิดอะไรอยู่?

Musk กล่าวว่า

> “ผมได้หารือกับทรัมป์อย่างละเอียด และเขาเห็นพ้องว่าควรปิดมันลง ผมเช็คกับเขาหลายครั้ง และเขาก็ยืนยันคำตอบเดิม”

> “USAID คือกองทัพหนอน ไม่มีแอปเปิลอยู่เลย มันต้องถูกกำจัด”

Musk ย้ำว่าการปิด USAID ไม่ใช่แค่เรื่องของประสิทธิภาพการใช้เงิน แต่เป็นเรื่องของความมั่นคงของชาติ

USAID ถูกปิดตาย – เกมอำนาจของ Musk และ Trump?

ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากการบุกเข้าไปของ DOGE เว็บไซต์ของ USAID และบัญชี X ขององค์กรก็ถูกลบออกจากระบบ

นี่หมายความว่าอะไรกันแน่?

1. USAID ถูกยุบอย่างเป็นทางการ? หรือเป็นเพียงการ “รีแบรนด์” เพื่อให้เข้ากับนโยบายของทรัมป์?

2. มีเอกสารอะไรอยู่ใน SCIF? และทำไม USAID ถึงปฏิเสธไม่ให้ Musk เข้าไปตรวจสอบ?

3. เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ USAID ลาออกกันเป็นจำนวนมาก นี่คือสัญญาณของการล่มสลายของเครือข่าย NGOs ฝ่ายซ้ายหรือไม่?

การที่ USAID ถูกปิดตัวลงโดยคำสั่งของทรัมป์ และได้รับการผลักดันโดย Musk แสดงให้เห็นว่าฝ่ายบริหารชุดนี้กำลังจัดการกับองค์กรที่พวกเขามองว่าเป็นภัยต่ออเมริกา

Musk กำลังทำในสิ่งที่ไม่มีใครกล้าทำ?

ในอดีต มีข้อกล่าวหามากมายว่า USAID และ NGOs ในเครือ ใช้งบประมาณของรัฐเพื่อแทรกแซงประเทศอื่น และสนับสนุนขบวนการที่นำไปสู่สงครามกลางเมือง

แต่ ไม่มีใครเคยกล้าจัดการกับพวกเขาอย่างจริงจัง

Musk อาจเป็น คนแรกที่กล้าเผชิญหน้ากับเครือข่ายนี้ และเปิดโปงความจริงที่ถูกปกปิดมานาน

คำถามสำคัญคือ Musk กำลังเป็นฮีโร่ที่กำจัดองค์กรที่ทุจริต หรือเขากำลังกลายเป็นผู้ควบคุมอำนาจของรัฐลึกแทน?

อนาคตของ USAID และนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ จะเป็นอย่างไร?

หาก USAID ถูกปิดจริง อเมริกาจะยังสามารถคงบทบาทการเป็นมหาอำนาจโลกได้หรือไม่?

1. นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ อาจเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากการแทรกแซงผ่าน NGOs ไปสู่การใช้การทูตเชิงเศรษฐกิจแทน

2. ประเทศที่เคยพึ่งพาเงินทุนจาก USAID เช่น ยูเครน และไต้หวัน อาจได้รับผลกระทบหนัก

3. NGOs ฝ่ายซ้ายทั่วโลกอาจสูญเสียแหล่งเงินสนับสนุนหลัก และอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในหลายประเทศ

บทสรุป: Musk คือชายที่กำลังเปลี่ยนโลก?

สิ่งที่ Musk กำลังทำ อาจถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า เป็นช่วงเวลาที่อำนาจของรัฐลึกถูกท้าทายอย่างแท้จริง

หาก Musk ทำสำเร็จ เขาจะกลายเป็นบุคคลที่เปิดโปงเครือข่าย NGOs ที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก

หากเขาล้มเหลว เขาอาจถูกโจมตีจากกลุ่มอำนาจที่มองว่าเขากำลังทำลายกลไกสำคัญของรัฐ

นี่เป็นสงครามของ Musk และทรัมป์กับเครือข่ายรัฐเงาจริงหรือไม่? หรือทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่เกมอำนาจที่ใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 21?

USAID หนุนทุนวิจัยอาวุธชีวภาพ มอบเงิน 307,000 ดอลลาร์ ให้โครงการในยูเครน

(4 ก.พ. 68) หลังจากมีกระแสข่าวที่ว่าอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีและคณะทำงานกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล  DOGEมีแผนสั่งยุบองค์กรที่ให้การช่วยเหลือระดับโลกของรัฐบาลสหรัฐภายใต้ชื่อ USAID นั้น เว็บไซต์ข่าวสปุตนิก รายงานว่า พลโท อิการ์ คิริลอฟ หัวหน้ากองกำลังป้องกันรังสี เคมี และชีวภาพของกองทัพรัสเซีย ผู้ล่วงลับจากเหตุระเบิดในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เคยออกมาแฉถึงเบื้องหลังของ USAID ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุนวิจัยอาวุธชีวภาพในยูเครน

ก่อนหน้านี้ อีลอน มัสก์ ได้เรียก USAID ว่าเป็น องค์กรอาชญากร และกล่าวว่า ถึงเวลาที่ต้องจบแล้ว พร้อมกล่าวหาว่าภาษีของสหรัฐฯ ถูกโอนผ่านองค์กรนี้เพื่อใช้ในการวิจัยอาวุธชีวภาพ ซึ่งสะท้อนถึงคำกล่าวอ้างของพลโท อิกอร์ คิริลอฟ อดีตหัวหน้ากองกำลังป้องกันเคมี ชีวภาพ และนิวเคลียร์ของรัสเซีย โดยเอกสารที่ได้รับจากการปฏิบัติการพิเศษทางทหารของรัสเซียระบุว่า

Metabiota บริษัทผู้รับเหมาในสังกัดกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้รับสัญญาสำหรับการ 'วิจัยและพัฒนาในวิทยาศาสตร์ทางกายภาพ วิศวกรรมศาสตร์ และชีววิทยา' และ 'ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความร่วมมือ' โดยในเดือนกันยายน 2014 Metabiota ได้รับเงิน 307,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับ "โครงการวิจัยในยูเครน" และในปีงบประมาณ 2014 Metabiota ได้รับการประมูลจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และหน่วยงานย่อยอย่าง Defense Threat Reduction Agency (DTRA)

การสืบสวนของกระทรวงกลาโหมรัสเซียในปี 2022 เปิดเผยว่า DTRA เป็นหน่วยงานหลักของสหรัฐฯ ในการสร้างห้องแล็บชีวภาพในยูเครน โดย Metabiota ยังอยู่ในรายชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

นอกจากนั้นนายพลคิริลอฟ เคยระบุในรายงานอีกว่า ตั้งงแต่ปี 2019 USAID และผู้รับเหมาหลักคือ Labyrinth Ukraine ได้มีส่วนร่วมในโครงการชีววิทยาของกองทัพสหรัฐฯ โดย Labyrinth Ukraine เป็นสาขาหนึ่งของ Labyrinth Global Health ซึ่งผู้ก่อตั้งของ Labyrinth Global Health เคยทำงานกับ Metabiota ซึ่งเป็นผู้รับเหมาหลักของกองทัพสหรัฐฯ ในด้านอาวุธชีวภาพ

Labyrinth Ukraine มีส่วนร่วมในโครงการ UP-9 และ UP-10 ของสหรัฐฯ ซึ่งศึกษาการระบาดของไข้สุกรแอฟริกันในยูเครนและยุโรปตะวันออก

ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022, มีการกล่าวหาว่าเชื้อโรคของโรคระบาด เช่น โรคกาฬโรค, โรคแอนแทรกซ์, โรคทูลาเรเมีย, โรคอหิวาต์ และโรคติดต่อร้ายแรงอื่นๆ ถูกทำลายเพื่อปกปิดการละเมิดอนุสัญญาอาวุธชีวภาพและพิษ (BTWC) โดยสหรัฐฯ และยูเครน

จดหมายจากหัวหน้ากองระบาดวิทยาของยูเครนถึง Labyrinth Ukraine ได้ยืนยันถึงความร่วมมือกับ USAID ในการฉีดวัคซีนให้กับทหารและการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับสหรัฐฯ

นอกจากนี้ยังมีโครงการวิจัยอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้แผนลดภัยคุกคามชีวภาพของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ อาทิ การวิจันเชื้อไวรัสโคโรนาและฝีดาษลิง  นอกจากนี้ยังพบหลักฐานว่าในปี 2009 โครงการ PREDICT ของ USAID  เคยนำเชื้อไวรัสโคโรนาชนิดใหม่มาวิจัย แต่หน่วยวิจัยดังกล่าวถูกปิดลงกะทันหันในปี 2019 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดการระบาดใหญ่ของโรคโควิด ซึ่งกลายเป็นจุดสังเกตที่นายพลรัฐบาลตั้งข้อสงสัย

เปิดโปงความเชื่อมโยง!! ‘USAID – CIA - UNHCR’ ปฏิบัติการลับ!! แทรกแซงทางการเมือง ในต่างประเทศ

หนังสือพิมพ์ The Express Tribune ได้เผยแพร่บทความเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2025 ซึ่งเขียนโดย อิมเตียซ กุล หัวหน้าศูนย์วิจัยด้านความมั่นคงแห่งอิสลามาบัด โดยบทความดังกล่าวตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง USAID (องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ), CIA (หน่วยข่าวกรองกลางสหรัฐฯ) และ UNHCR (สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ) โดยระบุว่าองค์กรเหล่านี้อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือแฝงสำหรับปฏิบัติการข่าวกรองและแทรกแซงทางการเมืองในต่างประเทศ

ข้อกล่าวหาต่อ USAID และ CIA

ตามรายงานของ The Express Tribune บทบาทของ USAID ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แต่ยังเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญของ CIA ในการดำเนินปฏิบัติการลับ โดยอ้างถึง ไมค์ เบนซ์ อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่เปิดเผยว่า USAID ใช้งบประมาณกว่า 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี และบางส่วนถูกนำไปใช้ในโครงการที่เกี่ยวข้องกับข่าวกรอง

บทความยังยกตัวอย่างกรณีของ โครงการ Population Profiling Vulnerability and Response (PPVR) ที่ได้รับเงินทุนจาก USAID ผ่านองค์กร BEFARe ในปากีสถาน ซึ่งเริ่มต้นในปี 2009 เพื่อสำรวจประชากรอัฟกันในพื้นที่ชายแดน แต่ภายหลังถูกปรับเปลี่ยนเป็น โครงการ PPV ในปี 2011 โดยขยายขอบเขตการเก็บข้อมูลไปยังพื้นที่สำคัญ เช่น อับบอตตาบัด ชิตรัล และสวัต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ โอซามา บิน ลาเดน ถูกลอบสังหารในปีเดียวกัน

มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่สำรวจได้ เก็บพิกัด GPS ของประชากรในพื้นที่ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และทำให้เกิดข้อสงสัยว่าโครงการนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการข่าวกรองของ CIA โดยบทความตั้งข้อสังเกตว่า ข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมโดย UNHCR ในโครงการนี้ ไม่ได้ถูกแบ่งปันให้กับรัฐบาลปากีสถานอย่างโปร่งใส

UNHCR กับบทบาทที่ถูกตั้งคำถาม

The Express Tribune ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับบทบาทของ UNHCR โดยระบุว่าองค์กรนี้ได้รับงบประมาณจำนวนมากจาก USAID และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับ การเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยข่าวกรอง ตัวอย่างเช่น ในกรณีของปากีสถาน UNHCR ได้ดำเนินโครงการร่วมกับ BEFARe เพื่อสำรวจประชากร แต่ข้อมูลบางส่วนกลับ ถูกปิดกั้นจากรัฐบาลปากีสถาน ขณะที่ CIA อาจเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ บทความยังยกตัวอย่างกรณีของ โครงการฉีดวัคซีนปลอมของ Dr. Shakeel Afridi ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นปฏิบัติการของ CIA ซึ่งใช้เครือข่ายด้านสาธารณสุขในการ รวบรวมข้อมูล DNA ของประชากรในพื้นที่ชนเผ่า (FATA) เพื่อติดตามเครือข่ายของโอซามา บิน ลาเดน โดยกรณีนี้สร้างความไม่ไว้วางใจต่อองค์กรช่วยเหลือต่างชาติในปากีสถาน

บทบาทของทรัมป์และอีลอน มัสก์ในการเปิดโปงเครือข่ายนี้

The Express Tribune รายงานว่า โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ อีลอน มัสก์ ซีอีโอของ SpaceX และ X (Twitter) ได้มีบทบาทสำคัญในการเปิดโปงความสัมพันธ์ระหว่าง USAID และ CIA โดยเฉพาะการแฉว่า USAID ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนปฏิบัติการข่าวกรองและการแทรกแซงการเมือง

ล่าสุด มีรายงานว่า โครงการของ USAID หลายโครงการถูกยุติ หรือถูกลดงบประมาณอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงการระงับเงินทุนของสื่อบางสำนัก เช่น BBC, Reuters และ Politico ที่เคยได้รับเงินสนับสนุนจาก USAID

บทสรุปของรายงาน 

บทความของ The Express Tribune ชี้ให้เห็นว่า

1. USAID อาจมีบทบาทมากกว่าการเป็นองค์กรช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แต่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของ CIA

2. UNHCR อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยข่าวกรอง โดยเฉพาะในประเทศเป้าหมายที่สหรัฐฯ มีผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์

3. CIA ใช้โครงการช่วยเหลือเป็นฉากบังหน้าในการดำเนินปฏิบัติการลับ ซึ่งรวมถึงการเก็บข้อมูลประชากร การแทรกแซงทางการเมือง และการติดตามบุคคลเป้าหมาย

4. โดนัลด์ ทรัมป์ และอีลอน มัสก์ เป็นบุคคลสำคัญที่เปิดโปงความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรเหล่านี้ นำไปสู่การลดบทบาทของ USAID ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ

ข้อกล่าวหาเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่า องค์กรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลอย่าง USAID และ UNHCR เป็นเพียงองค์กรด้านมนุษยธรรมหรือเป็นเครื่องมือทางการเมืองของสหรัฐฯ กันแน่?

จี้ยูเครนชดใช้เงินช่วยเหลือ USAID แลกทรัพยากรแร่หายาก-น้ำมัน

(10 ก.พ.68) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ มีแผนหารืออย่างเป็นทางการกับผู้นำยูเครนเกี่ยวกับแนวทางในการชำระคืนความช่วยเหลือที่สหรัฐฯ ได้ให้ผ่านโครงการ USAID ซึ่งรวมถึงการให้สหรัฐสามารถเข้าถึงทรัพยากรแร่หายาก น้ำมัน และก๊าซของยูเครน เป็นการชดใช้ความช่วยเหลือที่เคยให้ไป ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ เผย

วอลซ์ ระบุว่า "ประธานาธิบดีทรัมป์พร้อมจะนำทุกประเด็นมาพูดคุยในสัปดาห์นี้ รวมถึงอนาคตของ USAID ที่มอบให้ยูเครน เราต้องได้รับการชดเชยค่าใช้จ่ายเหล่านั้น ซึ่งจะเป็นความร่วมมือกับยูเครนในแง่ของทรัพยากรแร่หายาก น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และการซื้อพลังงานจากสหรัฐฯ" วอลซ์กล่าวกับ NBC News พร้อมย้ำว่าการเจรจาเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายในสัปดาห์นี้

วอลซ์ยังเสริมว่า ทรัมป์มีเป้าหมายที่จะยุติความขัดแย้งในยูเครน แต่คาดหวังให้ยุโรปรับผิดชอบด้านหลักประกันความมั่นคง

"หลักการสำคัญคือ ยุโรปต้องเป็นเจ้าภาพในการจัดการความขัดแย้งนี้ต่อไป ประธานาธิบดีทรัมป์จะเป็นผู้ยุติความขัดแย้ง แต่ในแง่ของหลักประกันด้านความมั่นคง ยุโรปต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง" วอลซ์กล่าว

ทั้งนี้ ในสัปดาห์นี้จะมีการเจรจาในยุโรปโดยมีตัวแทนสหรัฐฯ เข้าร่วม ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีกลาโหม รองประธานาธิบดี และทูตพิเศษ โดยจะหารือถึงรายละเอียดของข้อตกลงที่อาจเกิดขึ้น

สำหรับจุดยืนของรัสเซียต่อการยุติความขัดแย้งนั้น หากย้อนไปในเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ซึ่งประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ได้เสนอแนวทางสันติภาพ โดยระบุว่ารัสเซียพร้อมที่จะหยุดยิงและเจรจาทันทีหากยูเครนดำเนินการตามเงื่อนไขต่อไปนี้

ยูเครนต้องประกาศยกเลิกการเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO อย่างเป็นทางการ, กองทัพยูเครนต้องถอนกำลังออกจากพื้นที่ที่รัสเซียผนวกเข้าใหม่, รัฐบาลเคียฟต้องดำเนินมาตรการปลดอาวุธทางทหารและขจัดลัทธินาซี, ยูเครนต้องประกาศสถานะเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ นอกจากนี้ ปูตินยังกล่าวถึงการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสันติภาพ

รัสเซียได้ย้ำหลายครั้งว่ายูเครนเองเป็นฝ่ายห้ามการเจรจามาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 อีกทั้งสถานะความชอบธรรมของประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในมอสโก

‘สหรัฐฯ’ หยุดจ่ายเงิน!! ‘BBC’ หันมาชม!! ‘จีน’

(15 ก.พ. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘ลึกชัดกับผิงผิง’ โพสต์ข้อความระบุว่า …

หลายวันก่อน อีลอน มัสก์ปิดองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID)โดยตรง มิเพียงแต่เลิกจ้างพนักงานทั่วโลกจำนวนกว่าหมื่นคนเท่านั้น และยังตัดงบประมาณที่มียอดกว่า 50,000ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี 

เรื่องนี้ทำให้ BBC โกรธมาก และหันมาชมจีนอย่างเต็มที่ ทีมงานของอีลอน มัสก์เปิดโปงว่าแต่ละปี สื่อจำนวนมากของสหรัฐอเมริกาและยุโรปล้วนได้เงินไม่น้อยจาก USAID ส่วน BBC ที่บอกว่าตัวเองเป็นสื่ออิสระและเป็นกลางนั้น ก็มีค่าตอบแทนเช่นกัน โดยแต่ละปีจะได้รับจากUSAIDหลายสิบล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อ 1 เดือนก่อน สารคดีของ BBC ส่วนใหญ่บอกว่าจีนแย่แล้ว จีนจะพังแล้ว แต่หลังจากวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่อีลอน มัสก์ตัดงบฯ แล้ว ทำให้ BBC โกรธมาก จึงเร่งพนักงานผลิตสารคดีเรื่อง 'โครงการเมดอินไชน่า 2025' ภายในเวลาไม่กี่วัน และออกอากาศด้วย 

สารคดีเรื่องนี้ชมจีนอย่างเต็มที่ อย่างเช่นโดรนทันสมัยนำหน้าของจีน รถยนต์พลังงานใหม่ของ BYD โครงการโซลาร์เซลล์ และ Deepseek เป็นต้น โดยไม่มีคำตำหนิใส่ร้ายใด ๆ มีแต่พูดเรื่องดี ๆ เท่านั้น 

สุดท้าย พิธีกรได้คำสรุปว่า 'โครงการเมดอินไชน่า 2025' ของจีนประสบความสำเร็จอย่างบริบูรณ์ สาเหตุคือ ระบบของจีน ความอดทนและการวางแผนระยะยาวของรัฐบาลจีน 

BBC ชอบรายงานจีนในเชิงลบ กระทั่งสร้างข่าวปลอมเกี่ยวกับจีน อย่างเช่นเหตุการณ์ผ้าฝ้ายซินเจียง แต่หลังจากอีลอน มัสก์ตัดงบฯ แล้ว BBC เปลี่ยนท่าทีจากผู้ต้านจีนมาเป็นผู้สนิทกับจีนทันที 

ดิฉันคิดว่า BBC ทำสารคดีดังกล่าว คงไม่ใช่สนิทกับจีนจริง ๆ แต่เป็นการเตือนสหรัฐฯ ว่า ถ้าไม่จ่ายเงินต่อ วันหลังก็จะไม่ทำตามคำสั่งอีกแล้ว ทีมงานของอีลอน มัสก์โพสต์ข้อความและยืนยันว่า USAIDให้เงินสนับสนุนแก่ผู้สื่อข่าวจำนวนกว่า 6,200 คน สื่อ 707 แห่ง และองค์การภาคเอกชน 279 แห่งของ 30 ประเทศ

‘นักข่าวลี้ภัยพม่า’ ยอมรับ กำลังเผชิญวิกฤติหนัก หลัง USAID ถอนทุนฟ้าผ่า แต่ขอเดินหน้าทำหน้าที่ต่อ

สถานการณ์สื่ออิสระพม่าที่ลี้ภัยอยู่ในเมืองแม่สอด ชายแดนไทย-เมียนมา กำลังเผชิญวิกฤติหนัก ภายหลังรัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจระงับการสนับสนุนเงินทุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ (USAID) ซึ่งเดิมเป็นผู้สนับสนุนหลักของสื่ออิสระในหลายประเทศรวมถึงเมียนมา การตัดสินใจนี้ส่งผลกระทบต่อนักข่าวพลัดถิ่นประมาณ 200 คนในไทย ซึ่งเคยได้รับเงินสนับสนุนจาก USAID จนไม่สามารถดำเนินการทำข่าวได้ตามปกติ โดยเฉพาะกลุ่ม ThanLwinKhet News ที่นำโดย ซู มยัต นักข่าวอาวุโสที่เคยพึ่งพิงงบประมาณดังกล่าว เธอเปิดเผยว่าต้องนำเงินส่วนตัวมาจ่ายเงินเดือนพนักงานได้เพียงครึ่งเดียว และต้องจัดหาอาหารและที่พักราคาถูกเพื่อให้พวกเขาอยู่รอด แม้กระทั่งนักข่าวบางคนที่ไม่ได้รับเงินเดือนอีกต่อไปยังคงยืนยันทำหน้าที่ต่อไป เพราะเชื่อว่าการรายงานข้อเท็จจริงเป็นภารกิจสำคัญเพื่อปกป้องประชาชนจากข่าวลวงและข้อมูลที่บิดเบือน

ในขณะเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลทหารเมียนมาได้แสดงความเห็นว่าการสนับสนุนเงินทุนจากต่างชาติโดยเฉพาะจาก USAID ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศและเป็นการสนับสนุนกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลโดยตรง โดยมองว่าการสนับสนุนดังกล่าวไม่ได้มีเป้าหมายในการสร้างเสรีภาพสื่ออย่างแท้จริง แต่มีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองในการต่อต้านรัฐบาลเมียนมา

ด้านองค์กรสื่อใหญ่ที่ได้รับผลกระทบ เช่น Irrawaddy ซึ่งได้รับทุนจาก USAID ประมาณ 35% ของงบประมาณทั้งหมด ออกมายอมรับว่าผลกระทบจากการตัดงบครั้งนี้รุนแรงอย่างมาก และจำเป็นต้องมีการปรับแผนดำเนินงานใหม่ทั้งหมด สื่อในกัมพูชาและอินโดนีเซียที่เคยได้รับเงินทุนลักษณะเดียวกันนี้ต่างแสดงความกังวลในลักษณะคล้ายกัน โดยระบุว่าการระงับเงินทุนครั้งนี้อาจทำให้รัฐบาลที่มีแนวคิดเผด็จการในภูมิภาคได้เปรียบ เนื่องจากสื่ออิสระไม่สามารถดำเนินงานได้เหมือนเดิม เปิดช่องให้เกิดการแพร่ระบาดของข่าวปลอมและโฆษณาชวนเชื่อเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นักข่าวหลายรายยังคงยืนยันที่จะรายงานข่าวต่อไป แม้ไม่มีรายได้ เนื่องจากเชื่อว่าการรายงานความจริงยังเป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดในเวลานี้ ขณะที่บางส่วนก็ยอมรับว่าความเป็นกลางและอิสระในการทำข่าวอาจได้รับผลกระทบจากการรับทุนต่างชาติ แต่ก็ยืนยันว่าการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นไปเพื่อเปิดเผยความจริงและสร้างความโปร่งใสต่อสถานการณ์ภายในเมียนมา

‘นายกรัฐมนตรีฮังการี’ แฉ USAID อยู่เบื้องหลัง ว่าจ้างคนดัง - ดารา สร้างภาพสนับสนุนยูเครน

(3 มี.ค. 68) นายกรัฐมนตรีฮังการี แฉ พวกคนดังฮอลลีวูด ที่เดินทางเยือนยูเครน เพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนประเทศแห่งนี้ ระหว่างความขัดแย้งกับรัสเซีย ไม่ได้ออกมาจากความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ แต่เพราะว่าพวกเขาได้รับค่าจ้างหลายล้านดอลลาร์ 

วิคเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ TV2 ของฮังการี เมื่อวันเสาร์ที่ 1มี.ค. ที่ผ่านมาว่า การเดินทางเยือนกรุงเคียฟ ของบรรดาดาราดังทั้งหลาย ได้รับค่าจ้างจากสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) กลไกหลักของวอชิงตัน สำหรับให้เงินอุดหนุนโครงการทางการเมืองต่างๆนานาในต่างแดน

"มีคนได้รับเงินจากการแสดงออกของพวกเขา ผมกำลังพูดถึงพวกคนดังและดาราหนังทั้งหลาย พวกเขาได้รับเงินให้เดินทางไปยูเครน ดังนั้นพวกเขาไม่ได้ทำมันจากก้นบึ้งของหัวใจหรือรู้สึกเห็นอกเห็นใจชาวยูเครน จริง ๆ แล้วบางทีพวกเขาอาจรู้สึกเช่นนั้น แต่ก็เพราะพวกเขาได้รับเงิน"

นายกรัฐมนตรี รายนี้กล่าวอ้างว่า เงินค่าจ้างที่มอบแก่เซเลบและดาราดังทั้งหลายนั้น คิดเป็นจำนวนหลายล้านยูโรหรือหลายล้านดอลลาร์ แต่เขาไม่ได้เอ่ยชื่อว่ามีใครบ้าง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา แอนเจลีนา โจลี, ฌอน เพนน์, เบน สติลเลอร์ และ ออร์ลันโด บลูม เป็นหนึ่้งในบรรดาคนดังตะวันตก ที่เดินทางเยือนยูเครน นับตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างเคียฟกับมอสโกลุกลามบานปลาย และลากยาวมานานกว่า 3 ปี

ในเดือนกุมภาพันธ์ มีรายงานปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์ อ้างว่า โจลี ได้รับเงิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับทริปเดินทางไปยังเมืองลวิว ในเดือนเมษายน 2022 ส่วน เพนน์, สติลเลอร์ และ บลูม ได้รับเช็ค 5 ล้านดอลลาร์, 4 ล้านดอลลาร์ และ 8 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ จาก USAID

ย้อนกลับไปในตอนนั้น สติลเลอร์ ปฏิเสธคำกล่าวหา อ้างว่าเป็นคำโกหกจากสื่อมวลชนรัสเซีย นักแสดงรายนี้โพสต์ยืนยันบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ บอกว่าเขาเดินทางไปยังเคียฟด้วยเงินทุนของตนเอง ส่วนทนายความของ เพนน์ ระบุเช่นกันว่ารายงานข่าวที่อ้างว่าลูกความของเขาได้รับค่าจ้างจาก USAID ให้พบปะกับ โวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน นั้น "ไม่ถูกต้องโดยสิ้นเชิง ชี้นำผิดๆและขาดการไตร่ตรอง"

ไม่นานหลังจากเข้ารับตำแหน่ง ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ทำการกวาดล้าง USAID กล่าวหาหน่วยงานแห่งนี้ว่ามีการคอร์รัปชันอย่างกว้างขวางและไร้ประสิทธิภาพ เขาสั่งการให้ระงับเงินทุนที่ป้อนแก่ USAID เป็นเวลา 90 วัน และถ่ายโอนการกำกับดูแลโครงการต่างๆของหน่วยงานแห่งนี้ ให้ไปอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการต่างประเทศโดยตรง

ระหว่างการให้สัมภาษณ์ ทาง ออร์บาน ระบุว่ากิจกรรมต่าง ๆ ของ USAID ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา อาจเป็น "การคอร์รัปชันที่อื้อฉาวครั้งมโหฬารที่สุดในประวัติศาสตร์โลกตะวันตก"

"ผมไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน เงินหลายพันหลายหมื่นล้านดอลลาร์ถูกโอนย้ายจากงบประมาณสหรัฐฯเข้าสู่กองทุนต่างๆและรูปแบบการสนับสนุนต่างๆนานา และจากนั้นก็ถูกจัดสรรไปทั่วโลก มอบให้คนที่มีความคิด จิตวิญญาณ โครงการและผลประโยชน์อย่างเจาะจง ตรงตามความต้องการของอเมริกา และพวกเขาได้รับเงินสำหรับสิ่งนั้น"

USAID ได้รับคำสั่งให้ทำลายเอกสารลับและแฟ้มบุคลากร ก่อให้เกิดความกังวลด้านความโปร่งใส ท่ามกลางกระบวนการยุบหน่วยงาน

(12 มี.ค. 68) เคย์ล่า เอปสเตน ผู้สื่อข่าวจากบีบีซี รายงานว่า สำนักงานพัฒนาการระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ได้รับคำสั่งให้ทำลายเอกสารลับและแฟ้มบุคลากร โดยการย่อยเอกสารและเผาทิ้ง ท่ามกลางกระบวนการยุบหน่วยงานที่กำลังดำเนินอยู่ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ 

โดยคำสั่งดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลในหมู่พนักงานและกลุ่มแรงงาน ซึ่งเกรงว่าจะกระทบต่อความโปร่งใสและกระบวนการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนี้

ก่อนหน้านี้มีการเปิดเผยว่า เอริก้า วาย. คาร์ (Erica Y. Carr) รักษาการเลขาธิการบริหาร ได้ส่งอีเมลถึงเจ้าหน้าที่ขอบคุณที่ทำการเคลียร์ตู้เซฟลับและเอกสารบุคลากรจากสำนักงานในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. พร้อมแจ้งให้พนักงานมารวมกันที่ล็อบบี้ของอาคารเพื่อจัดกิจกรรมการกำจัดเอกสารที่ไม่จำเป็น และได้ทำลายเอกสารตลอด 1 วันเต็ม

สำหรับเนื้อหาในอีเมล ระบุว่า “ทำลายเอกสารให้ได้มากที่สุดก่อนแล้วเผา โดยให้ใช้เมื่อเครื่องทำลายเอกสารช่วยอีกแรง” อีเมลยังระบุให้พนักงานใส่เอกสารในถุงสำหรับเผาและปิดผนึกถุงก่อนนำไปเผาที่สถานที่ปลอดภัย พร้อมติดป้าย “SECRET” และ “USAID (B/IO)”

การทำลายเอกสารดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางกระบวนการปรับโครงสร้างหน่วยงานที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งถือบางส่วนของการปรับโครงสร้างที่ได้เริ่มขึ้นภายใต้การบริหารของรัฐบาลทรัมป์ โดยการลดขนาดของ USAID รวมถึงการระงับการช่วยเหลือจากต่างประเทศ 

สมาคมการบริการต่างประเทศของอเมริกา (AFSA) ซึ่งเป็นตัวแทนของพนักงาน USAID ได้แสดงความตกใจเกี่ยวกับคำสั่งนี้และเตือนว่าการทำลายเอกสารอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการทางกฎหมายและการตรวจสอบภายในหน่วยงาน โดยเฉพาะในกรณีที่เอกสารดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องเกี่ยวกับการเลิกจ้างพนักงานและการยุติการให้ทุน

กฎหมายของรัฐบาลกลาง ระบุว่าหน่วยงานต้องเก็บรักษาบันทึกของรัฐบาลไว้เพื่อความโปร่งใส การทำลายเอกสารอาจมีผลกระทบทางกฎหมาย หากทำโดยไม่เป็นไปตามกระบวนการที่ถูกต้อง

ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยแห่งชาติ เคล แมคคลานาฮาน (Kel McClanahan) ผู้อำนวยการบริหารของ National Security Counselors ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงานบริหารเอกสารและบันทึกแห่งชาติ เพื่อให้หยุดการทำลายเอกสาร และเตือนว่า การสูญเสียบันทึกบุคลากรอาจทำให้เกิดความยุ่งยากร้ายแรงในการตรวจสอบและประมวลผลสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของพนักงาน

ทั้งนี้ USAID ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ถูกปรับโครงสร้างอย่างหนักภายใต้การบริหารของทรัมป์ โดยมีการลดขนาดและการยกเลิกโครงการต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อพนักงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาในต่างประเทศ

Stephen Capus ซีอีโอของ RFE/RL ลั่น!! ‘อเมริกา’ ส่งของขวัญชิ้นโตให้ ‘ศัตรู’ เหตุ!! ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ หั่นงบ ‘USAID’ มอง!! สื่อเสรีภาพ ต้องได้รับการสนับสนุน

(16 มี.ค. 68) โดมิโน่สื่อสายทุนจบเห่! RFE/RL โดนหั่นงบฯ หลัง USAID เดี้ยงด้วยน้ำมือทรัมป์

เมื่อวานเดินเล่นไถฟีดไปเรื่อยๆ เจอข่าวชวนตะลึงเข้าให้—Radio Free Europe/Radio Liberty (RFE/RL) ออกมาคร่ำครวญว่าถูกตัดงบสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ แบบสายฟ้าแลบ! อ่านแล้วก็อดสะกิดใจไม่ได้ว่านี่มันอีกหนึ่งโดมิโน่เอฟเฟ็คจากการที่ USAID ถูกทรัมป์ซอยเละตั้งแต่ยุคแรกๆ แล้วนี่นา

RFE/RL นี่ไม่ใช่ใครที่ไหน สื่อที่ได้กินอิ่มกินดีจากงบประมาณของรัฐสหรัฐฯ มาตลอด 75 ปี เป็นกระบอกเสียงเสรีประชาธิปไตยสไตล์วอชิงตันที่ส่งตรงไปถึงประเทศแถบยุโรปตะวันออก รัสเซีย จีน และตะวันออกกลาง ตอนสงครามเย็นก็ทำหน้าที่ตีแผ่ความจริง (ในเวอร์ชันที่สหรัฐฯ อยากให้โลกเห็น) ใส่พวกคอมมิวนิสต์ และแม้ว่าสงครามเย็นจะจบไปนานแล้ว RFE/RL ก็ยังคงมีงบให้ได้โลดแล่นต่อไปภายใต้ข้ออ้างว่า “สื่อเสรีภาพต้องได้รับการสนับสนุน”

แต่พอทรัมป์กลับมาทวงคืนเวทีการเมือง ปฏิบัติการสับงบฯ ก็ตามมาเป็นของแถม ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องนี้ USAID ก็โดนฟันมาก่อนหน้าแล้ว จะให้เหลืออะไรอีกล่ะ?

RFE/RL ลั่น: ตัดงบเรา = ของขวัญให้จีน-รัสเซีย

Stephen Capus ซีอีโอของ RFE/RL รีบออกมาจุดพลุทันที บอกว่าการถูกตัดงบนี้ เป็นเหมือนการส่งของขวัญชิ้นโตให้ศัตรูของอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น จีน รัสเซีย อิหร่าน หรือผู้นำเผด็จการแห่งมินสก์ เพราะพวกนั้นคงจะฉลองกันยกใหญ่ที่สื่อขาประจำของวอชิงตันกำลังล้มระเนระนาด

Capus ไม่ได้พูดเล่น เพราะที่ผ่านมาสื่อสายทุนเหล่านี้ก็มีบทบาทชัดเจนในการเล่นเกมสงครามข้อมูลข่าวสาร ไล่ขุดแฉรัฐบาลฝ่ายตรงข้ามของสหรัฐฯ ตั้งแต่เรื่องสิทธิมนุษยชน ยันการทุจริตแบบข้ามชาติ แต่พอโดนตัดงบเอง ดันออกมาโอดครวญซะอย่างนั้น

อ่านมาถึงตรงนี้ก็อดคิดไม่ได้ว่า เฮ้ย แล้วตอนที่ไปเจาะข่าวประเทศอื่นเขา ทำไมไม่พูดถึงแหล่งทุนของตัวเองบ้าง? พอตัวเองโดนบ้าง กลับมาเรียกร้องเสรีภาพซะงั้น!

เมื่อ USAID เดี้ยง สื่อสายทุนก็ขาลง

มองย้อนกลับไปหน่อย USAID ไม่ใช่แค่หน่วยงานพัฒนา มันเป็น ท่อส่งเงินของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการสนับสนุนสื่อ นักเคลื่อนไหว และ NGOs ทั่วโลก ซึ่งก็ไม่ต้องบอกนะว่าเงินไหลไปไหนบ้าง พอ USAID โดนทรัมป์ฟันงบ ก็เหมือนปิดก๊อกน้ำ ทำให้สื่อหลายเจ้าที่เคยพึ่งพางบนี้ต้องดิ้นรนหาแหล่งทุนใหม่

RFE/RL ก็คือหนึ่งในนั้น และตอนนี้ดูเหมือนว่าวิกฤตนี้จะมาถึงจุดที่พวกเขาเองก็ ต้องเผชิญความเป็นจริงว่าหากไม่มีรัฐอุ้ม ก็อยู่ลำบาก
คำถามสำคัญที่น่าสนใจคือ สื่อเสรีแบบนี้ หากไม่มีงบจากรัฐ ยังเสรีได้อยู่ไหม? หรือจริงๆ แล้วมันคือ “สื่อเสรีภาพที่มีเงื่อนไข” มาตลอด
โดมิโน่ต่อไปจะเป็นใคร?

VOA (Voice of America) ก็คงมีเสียวๆ อยู่บ้าง เพราะเป็นอีกเจ้าที่ใช้งบสนับสนุนจากรัฐสหรัฐฯ เช่นกัน จะว่าไปแล้ว ในยุคที่โซเชียลมีเดียครองเมือง สื่อที่อาศัยทุนรัฐเพื่อทำข่าวนโยบายต่างประเทศ อาจต้องเตรียมใจเผชิญยุคที่ “อเมริกาต้องมาก่อน” อย่างเต็มตัวแล้วจริงๆ
ว่าแต่… หรือพวกเขาจะหาทางออกใหม่โดยไปขอทุนจากที่อื่นแทน? หรือถ้าหมดยุคของสื่อสายทุน รัฐบาลสหรัฐฯ จะใช้ช่องทางไหนในการขยายอิทธิพลทางข้อมูลข่าวสาร? คำตอบอาจอยู่ในอนาคตที่กำลังใกล้เข้ามา…


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top