Tuesday, 3 December 2024
TheStatesTimesStory

'โอปุสเดอี' คณะนักบวชแห่งกางเขนศักดิ์สิทธิ์ ผู้ดำเนินงานของพระเจ้า | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.75

หากใครที่เคยชมภาพยนตร์ เรื่อง The Da Vinci Code ซึ่งดัดแปลงมาจากนวนิยายของ แดน บราวน์ จะมีการกล่าวถึงองค์กรหนึ่งที่เรียกว่า Opus Dei ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า ‘งานของพระเจ้า’ หรือ ‘คณะสงฆ์แห่งกางเขนศักดิ์สิทธิ์’ เป็นองค์กรคาทอลิก ก่อตั้งขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือ อุดหนุน สนับสนุน ส่งเสริม คณะผู้เผยแผ่คำสอนของพระเยซูเจ้าของคริสตจักรและโบสถ์ 

ก่อนหน้านี้ Opus Dei ไม่ค่อยมีใครสนใจมากนัก จนกระทั่งแดน บราวน์ ได้นำมาเดินเรื่องในหนังสือ The Da Vinci Code ที่กล่าวถึงนักบวชบำเพ็ญทุกกริยา ซึ่งความจริงแล้วองค์กรนี้ไม่มีการประกอบพิธีกรรมหรือคลั่งศาสนาแต่อย่างใด เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ขององค์กร เป็นสามัญชนที่ชื่อในพระคริสต์และพร้อมที่จะเผยแผ่ความรักของพระองค์ออกไปในวงกว้างเท่านั้น

.

.

รู้จักโรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนพระราชทานแห่งแรกของประเทศไทย | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.76

“สถานที่การศึกษาสร้างให้แล้วนะ อย่าให้ผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติมาทำลาย ให้ช่วยกันรักษา” พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ‘โรงเรียนร่มเกล้า’ บ้านหนองแคน ต.หนองแคน อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร

โรงเรียนร่มเกล้า คือ โรงเรียนแห่งแรกที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 92,063 บาท ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 ด้วยเล็งเห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวถูกระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาแผ่อิทธิพลครอบงำชาวบ้าน และชักจูงเยาวชนเข้าร่วมจำนวนมาก

พระองค์ท่าน ทรงตระหนักว่า การขาดการศึกษาเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ประชาชนถูกระบอบคอมมิวนิสต์ครอบงำได้ง่ายขึ้น หนทางแก้ไขคือต้องให้ปัญญาแก่ประชาชน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จึงเกิดเป็นโรงเรียนจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และได้มอบการศึกษาให้กับชาวบ้านมาจนถึงทุกวันนี้

.

.

'129 ปี วิกฤตการณ์ ร.ศ.112' ร.5 ทรงไถ่บ้านเมืองจากนักล่าอาณานิคม | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.77

เหตุการณ์ ร.ศ. 112 ตรงกับปีพ.ศ. 2436 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สร้างรอยร้าวให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างสยาม - ฝรั่งเศส มากที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง 

นึกภาพตามเหตุการณ์ ณ วันนั้น คนที่อยู่ในเหตุการณ์จะเจ็บปวดเพียงใด โดยเฉพาะพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ที่ถูกฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้สยามยอมยกดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับตนเอง จนเกิดเหตุการณ์ยุทธนาวีที่ปากน้ำเจ้าพระยา และทางฝรั่งเศสก็ใช้เหตุการณ์นี้ บีบให้สยามจ่ายค่าเสียหาย จนต้องนำเงินถุงแดง ซึ่งเป็นเหรียญทองรูปนกอินทรีย์ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเก็บไว้ เอามาไถ่บ้านไถ่เมือง ทำให้เราไม่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของนักล่าอาณานิคม แม้จะต้องเฉือนดินแดนบางส่วนไปก็ตาม

.

.

ฝนหลวงของในหลวง ร.9 หยาดน้ำจากฟ้าที่ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.78

"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."

นี่คือพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร ในภาคอีสาน เมื่อปีพ.ศ. 2498 ซึ่งพระองค์ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และการเกษตร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงกรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรและนักประดิษฐ์เข้าเฝ้าฯ แล้วพระราชทานแนวความคิดนั้นแก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล นำไปทดลองต่อยอด

จนถึงปี พ.ศ. 2512 คณะปฏิบัติการฝนหลวง จึงได้ทดลองจริงเป็นครั้งแรก บริเวณเหนือวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และได้ทดลองต่อมาอีกหลายครั้งจนประสบความสําเร็จ

เล่าเรื่องจีนกับไต้หวัน ทำไม? ถึงต้อง One China | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.80

ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความขัดแย้งระหว่าง จีนและไต้หวัน มีมาอย่างต่อเนื่อง เพราะ ‘จีน’ ไม่นับ ‘ไต้หวัน’ เป็นประเทศ ส่วน ‘ไต้หวัน’ เอง ก็ไม่นับตัวเองว่า เป็นส่วนหนึ่งของ ‘จีน’ เช่นกัน

ขณะเดียวกัน ‘จีน’ พยายามที่จะผนึกแดน ‘ไต้หวัน’ รวมเป็นจีนเดียว เพราะจีนถือว่า ไต้หวัน เป็นดินแดนปกครองตัวเองในลักษณะมณฑลที่แยกออกไป สุดท้ายแล้วก็จะกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของจีนอีกครั้ง แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังทำไม่สำเร็จ และในช่วงที่ผ่านมาก็มีสถานการณ์ความขัดแย้งมาอย่างต่อเนื่อง

กระทั่งมาคุกรุ่นอย่างหนักอีกครั้ง เมื่อ ‘แนนซี เพโลซี’ ประธานสภาผู้แทนราษฎร สหรัฐฯ มาเยือนไต้หวันเมื่อไม่กี่วันก่อน แน่นอนว่าย่อมสร้างความไม่พอใจให้กับทางฝ่ายจีนอย่างยิ่ง และตอบโต้ด้วยการประกาศซ้อมรบด้วยขีปนาวุธจริงรอบ ๆ เกาะไต้หวันทันที ทำให้สถานการณ์ยิ่งตึงเครียดหนักขึ้นไปอีก ส่อจะเกิดความร้าวฉานครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี

ส่วนการแบ่งแยกระหว่างจีนและไต้หวันเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงมูลเหตุความขัดแย้งต่าง ๆ ติดตามกันได้กับ The States Times Story ได้เลย

.

.

'ศิลปาชีพ' 90 พรรษา 'แม่ของแผ่นดิน' นำอาชีพสู่พสกนิกรไทย | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.81

วันที่ 12 สิงหาคม นอกจากจะเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พสกนิกรชาวไทยล้วนรู้จักกันดีในนาม ‘วันแม่แห่งชาติ’ 

แต่รู้หรือไม่ว่าวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี ยังเป็น ‘วันผ้าไทยแห่งชาติ’ เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงสนับสนุนให้เกิดมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ที่พระองค์ได้เริ่มต้นด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนที่มีฐานะยากจนแต่มีความสามารถในการทอผ้าที่สวยงามได้มีอาชีพเลี้ยงปากท้อง ก่อนที่จะขยายไปสู่งานฝีมือด้านอื่นๆ ผ่านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมถึงโครงการในศูนย์ศิลปาชีพที่มีมากกว่า 200 โครงการในปัจจุบัน

.

.

'สวดภาณยักษ์' พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย เสริมมงคลชีวิต | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.82

การสวดภาณยักษ์ เป็นพิธีที่ความเชื่อกันว่า เป็นพิธีที่สามารถขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และปกป้องคุ้มครองผู้สวดและผู้สดับให้อยู่สุขสวัสดี เนื้อความที่นำมาสวดนั้นมาจากอาฏานาฏิยสูตร ซึ่งมีเนื้อหาว่า ด้วยรักษาในอาฏานาฏานคร บรรยายถึงเหตุการณ์การณ์เข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา และผู้ดูแลปกครองยักษ์ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ และนาค

พิธีกรรมสวดภาณยักษ์ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยเป็นพิธีหลวง เพื่อการขับไล่ภูตผีที่ไม่ดีให้กับบ้านเมือง แต่ปัจจุบันพิธีหลวงไม่ได้จัดแล้ว แต่ยังมีบางพื้นที่ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดยังคงมีการจัดพิธีสวดภาณยักษ์อยู่  

.

.

'แชร์ลูกโซ่' สู่ 'แชร์ฟอเร็กซ์' อุทาหรณ์ของคนอยากมี | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.83

แชร์ลูกโซ่...ภัยทางการเงินที่ไม่เคยห่างหายจากสังคมไทย ตราบใดที่คนยังมีความโลภ อยากมีอยากได้ ยิ่งมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งทำให้คนโดนหลอกได้ง่ายและขยายวงกว้างมากขึ้น

แชร์ลูกโซ่ที่หลอกลวงคนลงทุนที่เคยโด่งดังในอดีตอย่าง ‘แชร์แม่ชม้อย’ ที่โด่งดังเมื่อกว่า 30 ปีก่อน ที่ว่ากันว่ามีมูลค่าความเสียหายมหาศาลในยุคนั้น แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ความโลภก็ยังบังตามีคนตกเป็นเหยื่อขบวนการแชร์ลูกโซ่มามิได้ขาด อย่างล่าสุดกับแชร์ Forex-3D ที่มีคนตกเป็นเหยื่อนับหมื่นคน มูลค่าความเสียหายหลายหมื่นล้านบาท 

เราจะสังเกตและจับไต๋แชร์ลูกโซ่ได้อย่างไร ไปติดตามกับ The States Times Story ใน EP. นี้กันเลย

เล่าเรื่องเมือง เล่าเรื่องคน 'นครพนม' | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.84

‘นครพนม’ ศูนย์กลางอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ เมืองที่เต็มไปด้วยตำนาน และพระธาตุพนมที่ศักดิ์สิทธิ์ 

จังหวัดนครพนม จังหวัดเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่มีทิวทัศน์งดงาม เมืองที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าอันน่าทึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ ครั้งอดีตเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์อันรุ่งเรือง เดิมตัวมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้าย ของลำน้ำโขง (ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับอำเภอพระธาตุพนมในปัจจุบัน กระทั่งได้ย้ายมาอยู่

กระทั่ง พ.ศ. 2280 พระธรรมราชา เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้โยกย้ายเมืองจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาตั้งบนฝั่งขวาแม่น้ำโขง หรือฝั่งไทย เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือ เรียกเมืองใหม่ว่า ‘เมืองนคร’ จนมาถึง พ.ศ. 2333 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองนครได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงพระราชทานนามใหม่ ว่า ‘นครพนม’

เนื่องจาก มีองค์ ‘พระธาตุพนม’ เป็นเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ และเป็นศูนย์รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาวนั่นเอง 

นครพนม นอกจากเป็นจังหวัดที่มีทิวทัศน์งดงามแล้ว ยังมีประเพณีไหลเรือไฟที่ยิ่งใหญ่ตระการตาของขบวนไหลเรือไฟที่จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงออกพรรษา หากมีโอกาสควรไปชมสักครั้งในชีวิต

นักการเมืองยื่นปลา พระราชายื่นเบ็ด ให้ที่ดินทำกินและความรู้ ไม่ใช่เงินทอง | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.85

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “นักการเมืองยื่นปลา พระราชายื่นเบ็ด” ซึ่งเกิดจากการที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จไปเห็นเกษตรหลายพื้นที่พบว่าการทำกินยากลำบาก ถูกเอารัดเอาเปรียบการเช่าที่ดินเป็นปัญหายาวนาน พระองค์จึงได้ริเริ่มการเกษตร ตั้งแต่ปี 2518

ทั้งนี้ ที่ดินที่พระราชทานให้นั้น เป็นการให้กรรมสิทธิ์ทำกินแก่เกษตรกรชั่วลูกชั่วหลาน ตราบใดที่ยังดำรงชีพด้วยการเป็นเกษตรกร ซึ่งเป็นพระบรมราโชบาย ที่ต้องการให้พสกนิกรมีอาชีพทำมาหากินอย่างมีความพอเพียง มีความสุข อาจไม่ร่ำรวย แต่ก็มีอาชีพมีรายได้เลี้ยงครอบครัว

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานที่ดินของสํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในพื้นที่ 8 จังหวัด เป็นจํานวนกว่า 50,000 ไร่ ขณะที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 พระองค์ยังคงสืบสานการมอบที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นเดียวกัน

.

.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top