Tuesday, 10 December 2024
TheStatesTimesStory

ย้อนรอยความขัดแย้ง ‘คณะราษฎร’ | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.45

“ปรีดี พนมยงค์” แกนนำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ‘ระบอบประชาธิปไตย’ ได้รับการยกย่องว่าเป็นมันสมองของคณะราษฎร โดยเป็นผู้ร่างคำประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 และพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย

“พระปรีชากลการ” ขุนนางแห่งสยาม | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.46

“พระปรีชากลการ” ขุนนางชาวไทย สมรสกับสตรีลูกครึ่งอังกฤษ ชื่อ ‘แฟนนี่ น็อกซ์’ ท่านถูกกล่าวหาว่า ฆ่าคนตายและทารุณกรรมแก่คนไทยที่เมืองกบินทร์บุรี ‘โทมัส ยอร์ช น็อกซ์’ ผู้เป็นพ่อตา ซึ่งเป็นกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย จึงได้ข่มขู่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และสมุหพระกลาโหม ว่าจะนำเรือรบอังกฤษมาข่มขู่ให้ปล่อยลูกเขยของตน แต่กลับไม่สำเร็จ และปิดท้ายด้วยการประหารพระปรีชากลการในที่สุด... 

ตำนานภาพยนตร์ ‘The Legend of 1900’ | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.47

ชีวิตของเด็กชายที่เกิดในปี 1900 บนเรือเดินสมุทร ถูกทิ้งเอาไว้บนหลังเปียโน ณ ชั้นโดยสารชั้นหนึ่ง และมีคนงานผิวดำขึ้นไปพบเจอเข้าโดยบังเอิญ เด็กทารกถูกนำมาเลี้ยงอย่างลับ ๆ และตั้งชื่อสุดเก๋ ที่มีคำพ่วงท้ายว่า 1900 ให้เข้ากับการเริ่มต้นศตวรรษใหม่พอดี เขาเติบโตมาอย่างไม่มีตัวตน ไม่มีการแจ้งเกิด ชีวิตของ 1900 เดินทางไปกับเรือครั้งแล้วครั้งเล่า กระทั่งเมื่อเด็กชายผู้นี้เริ่มรู้จักกับเสียงดนตรี…

‘จักรพรรดิราชวงศ์ชิง’ กับ ‘ประเพณีการมี Sex’ อันแสนลำบาก!! ​| The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.48

เราคงเคยได้ดูหนังจีนย้อนยุค ได้เห็นฮ่องเต้มีนางสนมเป็นสิบ เป็นร้อย หากคิดในใจคงต้องสำราญ บานตะไทแน่ ๆ !! แต่หากลองฟังเรื่องราวตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์เรื่องนี้ที่จะกล่าวถึง แล้วลองมาคิดตามกันว่า สำราญจริงไหม ? บอกเลยว่าน่าจะกระอักกระอ่วนเป็นแน่...

‘ลาว’ ว่าด้วยเรื่อง ‘ไทยอีสาน’!! | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.49

“ลักษณะการปกครองแต่เดิม นิยมให้เป็นอย่างประเทศราชาธิราช อันมีเมืองคนต่างชาติต่างภาษาเป็นเมืองขึ้นอยู่ในพระราชอาณาเขต จึงถือว่าเมืองชายพระราชอาณาเขตมณฑลนั้นเป็นเมืองลาว และเรียกชาวเมืองซึ่งอันที่จริงเป็นชนชาติไทยว่า “ลาว” แต่ลักษณะการปกครองอย่างนั้นพ้นเวลาอันควรแล้ว ถ้าคงไว้จะกลับให้โทษแก่บ้านเมือง จึงทรงพระราชดำริให้แก้ไขลักษณะการปกครองเปลี่ยนเป็นอย่างพระราชอาณาเขต ประเทศไทยรวมกัน…”

.

.

“บู๊ตึ๊ง” ถิ่นวิทยายุทธ!! ดาบมังกรหยก | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน EP.50

ในเรื่องดาบมังกรหยก “บู๊ตึ๊ง” เริ่มมาจากหลวงจีนในวัดเส้าหลิน ชื่อว่า “จางซานฟง” เดิมมีชื่อว่า “เตียกุนป้อ” เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์ “กั๊กเอี้ยง” ซึ่งมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ ก่อนเปลี่ยนชื่อตนเองเป็น “เตียซำฮง” ก่อตั้งสำนักชื่อว่า “สำนักบู๊ตึ๊ง” โดยรับศิษย์รุ่นแรก 7 คน ซึ่งเป็นที่มีชื่อเสียงในยุทธภพมาก ชาวยุทธต่างขนานนามว่า 7 กระบี่บู๊ตึ๊ง หรือ 7 จอมยุทธบู๊ตึ๊ง วิชาที่โด่ดเด่นคือ วิชากระบี่และมวย โดยมีวรยุทธบางชุดของเส้าหลิน บางชุดดัดแปลง และมียอดวิชาของสำนักคือ กระบี่ไท่เก๊ก และมวยไท่เก๊ก

.

.

รัชกาลที่ 3 เจ้าสัวผู้สร้างมรดก | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน EP.51

“เงินถุงแดง” เป็นเงินที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงได้จากการค้าสำเภาส่วนพระองค์เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ นอกจากจะถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถใช้ในการแผ่นดินแล้ว ทรงเก็บหอมรอมริบเงินที่ได้จากการค้าส่วนพระองค์ไว้เป็นจำนวนมากโดยเก็บใส่ "ถุงผ้าสีแดง" ไว้ข้างพระแท่นที่บรรทม จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “เงินพระคลังข้างที่” คำว่า “พระคลังข้างที่” ทรงพระราชทานเป็นทุนสำรองให้แก่แผ่นดินสำหรับใช้ในยามบ้านเมืองอยู่ในภาวะคับขันในเวลาต่อมา…

.

.

‘วัดบวรนิเวศวิหาร’ พระอารามหลวงชั้นเอก | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.52

“วัดบวรนิเวศวิหาร” หรือ “วัดบวรนิเวศวิหารราชวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และเป็นวัดประจำ 2 รัชกาลของกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9 เดิมชื่อ “วัดใหม่” ตั้งอยู่ใกล้กับ “วัดรังษีสุทธาวาส” แต่แล้วก็ได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกัน โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ ในรัชกาลที่ 3 มีการทำนุบำรุง บูรณะปฏิสังขรณ์วัดเรื่อยมา จนถึงสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ทรงมาประทับ และก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย รวมถึงบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างเสริมถาวรวัตถุไว้มากมาย

.

.

‘วัดเทพธิดาราม’ และ ‘วัดราชนัดดาราม’ | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน EP.53

“วัดเทพธิดารามวรวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2379 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ซึ่งเป็นพระราชธิดาที่ทรงพระเมตตาและโปรดปรานเป็นอย่างยิ่ง สร้างสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2382 และ “วัดราชนัดดารามวรวิหาร” เป็นพระอารามชั้นตรีชนิดวรวิหารเช่นเดียวกัน โดยรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีบรมราชเทวี จึงทรงพระราชทานนามว่าวัดราชนัดดาราม เมื่อปี พ.ศ. 2386

.

.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน EP.54

“สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี” เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ท่านรอบรู้แตกฉานใน พระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติ ความเป็นเลิศในการเทศนา ได้รับการยกย่องสรรเสริญในสติปัญญาและ ปฏิญาณโวหารที่ฉลาดหลักแหลม เปี่ยมด้วยจิตเมตตากรุณาแก่ผู้ตกยาก มีอัธยาศัย มักน้อย และสันโดษ

.

.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top