Friday, 29 March 2024
THESTATESTIMESPodcast

“พระพิฆเนศ” มหาเทพแห่งความดีงาม | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.35

“คเณศจตุรถี” นับเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการบูชา “พระพิฆเนศ” ในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 และวันแรม 4 ค่ำ เดือน 10 ถือเป็นวันกำเนิดของพระพิฆเนศ เชื่อกันว่าจะเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์เพื่อประทานพรอันประเสริฐสูงสุดแก่ผู้ศรัทธา เทศกาลนี้มีการจัดพิธีกรรมบูชาและการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วอินเดียและทั่วโลก มีการจัดสร้างเทวรูปพระพิฆเนศขนาดใหญ่โตมโหฬาร เพื่อเข้าพิธีบูชา จากนั้นจะแห่องค์เทวรูปไปทั่วเมืองและมุ่งหน้าไปสู่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สายต่าง ๆ ผู้คนออกมาชมการแห่องค์เทวรูปนับร้อยนับพันองค์ ผู้ศรัทธาทุกคนแต่งชุดส่าหรีสีสันสวยงาม ขบวนแห่จะไปสิ้นสุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำสรัสวตี แล้วทำพิธีลอยเทวรูปลงสู่แม่น้ำ

.

.


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก???? https://lin.ee/vfTXud9

“ศิลป์ พีระศรี” ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.36

ศาสตราจารย์ “ศิลป์ พีระศรี” บุรุษผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย" เป็นบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร (ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย) เป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้สร้างความเป็นปึกแผ่นแก่วงการศิลปะไทย ให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ชีวิต ผลงาน และแนวคิดของท่านนอกจากจะคงค่าในตัวเองแล้ว ยังสะท้อนภาพหลายประการถึงอุปสรรคของการพัฒนาศิลปะในยุคที่ท่านยังมีชีวิตอยู่

.

.

“พระยากัลยาณไมตรี” กับร่างรัฐธรรมนูญสมัย ร.7 | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.37

“พระยากัลยาณไมตรี” เผยแพร่ในฐานข้อมูลของสถาบันพระปกเกล้า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้ในประเทศ โดยผู้มีส่วนช่วยร่างรัฐธรรมนูญคือ พระยากัลยาณไมตรี หรือ ฟรานซิส บี. แซร์ ที่ปรึกษาทางกฎหมายชาวอเมริกัน ผู้อยู่ในคณะเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับชาติตะวันตกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยรัฐธรรมนูญที่พระยากัลยาณไมตรีร่างนั้นมีเพียง 12 มาตรา แต่ไม่ได้มีการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้...

เปิด​ 2​ ประวัติศาสตร์​ พิพิธภัณฑ์แห่งแรก​ 'โลก​ - ไทย' ​| The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.38

หากเราจะหาแหล่งความรู้เพื่อค้นคว้าหาเรื่องราวในอดีตสักเรื่อง นอกจากห้องสมุดแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คน ก็คงจะต้องคำนึงถึง “พิพิธภัณฑ์” สถานที่ที่เก็บรวบรวม และจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์หรือในอดีต ทั้งศิลปะ วัฒนธรรม หรือความรู้อื่น ๆ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้ได้เข้ามาชมหรือพบเห็น ซึ่งเทียบเท่าได้กับคำว่าแหล่งเรียนรู้เลยก็ว่าได้ 

“หมอเจ้าฟ้า” พระบิดาแห่งแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ​| The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.39

“หมอเจ้าฟ้า” หรือ หมอน้อย เป็นคำที่ชาวเชียงใหม่ใช้เรียก “สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก” ด้วยความรักและเทิดทูนในพระเมตตากรุณา ที่ทรงมีต่อผู้ป่วยทุกชั้นวรรณะ มุ่งแต่จะรักษาผู้ป่วยโดยไม่ยึดติดในอิสริยยศอันสูงศักดิ์แต่อย่างใด ก่อนที่จะเสด็จนิวัติประเทศไทยใน พ.ศ. 2471 พระองค์จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางด้านการแพทย์หลายประการ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงอุทิศเพื่อชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวล้านนาจึงพร้อมใจกัน ถวายพระสมัญญานามว่า “หมอเจ้าฟ้า” แด่พระองค์ท่าน

เรื่องน่ารู้ก่อนไปดู “James Bond" ​| The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.40

“เจมส์ บอนด์” (James Bond) เป็นสายลับของหน่วยข่าวกรองลับของอังกฤษ ชื่อของ “เจมส์ บอนด์” ฟังดูแล้วอาจเรียบง่าย แต่ในความเรียบง่ายนั้นกลับไม่ธรรมดา เพราะเขาคือตัวละครที่ ‘เอียน เฟลมมิ่ง’ สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1953 โดยให้ตัวละครสมมติ “เจมส์ บอนด์” ทำงานใน Mi6 มีรหัสประจำตัวคือ 007 และมีใบอนุญาตสังหารคนแบบไม่ผิดกฎหมาย นี่คือสิ่งแปลกใหม่เกิดขึ้นกับตัวเจมส์บอนด์...ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวละครศูนย์กลางสำหรับผลงานของ ‘เอียน เฟลมมิ่ง’

"ลัทธิโยเร” ชวนเชื่อ - แบ่งชนชั้น - สละเงินขึ้นสวรรค์ ​| The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.41

“ลัทธิโยเร” กำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี 2478 แต่หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ช่วงประมาณปี 2490 ทำให้ “ลัทธิโยเร” เริ่มมีแนวทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากนั้นระหว่างปี 2490 - 2520 ประเทศญี่ปุ่นได้มีลัทธิเกิดใหม่อีกมากมายแต่ถูกกีดกัน ซึ่ง “ลัทธิโยเรเอง” ก็เป็นหนึ่งในนั้น...

"ตำราทำกับข้าวฝรั่ง” สมัยรัชกาลที่ ๕ | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.42

"ตำราทำกับข้าวฝรั่ง" เป็นพระราชนิพนธ์แปลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นตำราทำกับข้าวฝรั่ง ที่เป็นระบบเล่มแรกของไทย มีการแปลจากภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส 

โดยพระราชนิพนธ์เล่มนี้ นอกจากจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจทั้งด้านอาหารและด้านวรรณกรรมแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถอย่างล้ำลึกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในด้านโภชนาการ และการปรุงอาหารได้อย่างประจักษ์ชัดอีกด้วย

'ไบซิเกิ้ล' จักรวาล 2 ล้อ สู่สมัย ร.5 | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.43

วัฒนธรรมหรือนวัตกรรมจากตะวันตกอย่างหนึ่งที่เข้ามาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวสยามคือ “จักรยาน” สันนิษฐานว่าจักรยานเข้าสู่สยามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 โดยคณะมิชชันนารีเป็นผู้นำเข้ามา แต่จักรยานเป็นที่แพร่หลายกลายเป็นที่ฮือฮาในราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ช่วงราวปีพ.ศ. 2442 หรือ ร.ศ. 118 โดยเรียกกันว่า “รถไบซิเกิ้ล”

จาก “บุคคลัภย์” สู่ “ไทยพาณิชย์” | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.44

สถาบันการเงินแห่งแรกของชาวสยามนั้น ถือกำเนิดขึ้นในนาม "บุคคลัภย์" (Book Club) โดย ‘พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย’ ซึ่งขณะนั้นทรง ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวง พระคลังมหาสมบัติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ที่จะให้มีสถาบันการเงินของสยาม เป็นฐานรองรับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการเงิน ปัจจุบันคือ “ธนาคารไทยพาณิชย์”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top