Monday, 29 April 2024
THESTATESTIMESPodcast

'129 ปี วิกฤตการณ์ ร.ศ.112' ร.5 ทรงไถ่บ้านเมืองจากนักล่าอาณานิคม | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.77

เหตุการณ์ ร.ศ. 112 ตรงกับปีพ.ศ. 2436 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สร้างรอยร้าวให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างสยาม - ฝรั่งเศส มากที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง 

นึกภาพตามเหตุการณ์ ณ วันนั้น คนที่อยู่ในเหตุการณ์จะเจ็บปวดเพียงใด โดยเฉพาะพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ที่ถูกฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้สยามยอมยกดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับตนเอง จนเกิดเหตุการณ์ยุทธนาวีที่ปากน้ำเจ้าพระยา และทางฝรั่งเศสก็ใช้เหตุการณ์นี้ บีบให้สยามจ่ายค่าเสียหาย จนต้องนำเงินถุงแดง ซึ่งเป็นเหรียญทองรูปนกอินทรีย์ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเก็บไว้ เอามาไถ่บ้านไถ่เมือง ทำให้เราไม่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของนักล่าอาณานิคม แม้จะต้องเฉือนดินแดนบางส่วนไปก็ตาม

.

.

ฝนหลวงของในหลวง ร.9 หยาดน้ำจากฟ้าที่ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.78

"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."

นี่คือพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร ในภาคอีสาน เมื่อปีพ.ศ. 2498 ซึ่งพระองค์ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และการเกษตร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงกรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรและนักประดิษฐ์เข้าเฝ้าฯ แล้วพระราชทานแนวความคิดนั้นแก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล นำไปทดลองต่อยอด

จนถึงปี พ.ศ. 2512 คณะปฏิบัติการฝนหลวง จึงได้ทดลองจริงเป็นครั้งแรก บริเวณเหนือวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และได้ทดลองต่อมาอีกหลายครั้งจนประสบความสําเร็จ

น้อมสดุดีพระราชกรณียกิจ'พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว' | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.79

“เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” พระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒

แน่นอนว่า ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ ได้ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจเพื่อปวงชนชาวไทย ทั้งบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพสกนิกรของพระองค์โดยมิได้ขาด ตามที่พระองค์ได้ตั้งพระปณิธานไว้

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2565 ครบ 70 พรรษา ‘The States Times Story’ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อปวงชนชาวไทย ขอนำพระราชกรณียกิจบางส่วนมานำเสนอให้ทุกคนได้ฟังกันอีกครั้ง

.

.
 

มรดก | รู้ LAW FOR LIFE EP.11

มรดก
รู้ Law For Life เกิด แก่ เจ็บ ตาย รวมปฐมบทกฎหมายง่ายๆ สำหรับคนไทย

.

.

เล่าเรื่องจีนกับไต้หวัน ทำไม? ถึงต้อง One China | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.80

ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความขัดแย้งระหว่าง จีนและไต้หวัน มีมาอย่างต่อเนื่อง เพราะ ‘จีน’ ไม่นับ ‘ไต้หวัน’ เป็นประเทศ ส่วน ‘ไต้หวัน’ เอง ก็ไม่นับตัวเองว่า เป็นส่วนหนึ่งของ ‘จีน’ เช่นกัน

ขณะเดียวกัน ‘จีน’ พยายามที่จะผนึกแดน ‘ไต้หวัน’ รวมเป็นจีนเดียว เพราะจีนถือว่า ไต้หวัน เป็นดินแดนปกครองตัวเองในลักษณะมณฑลที่แยกออกไป สุดท้ายแล้วก็จะกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของจีนอีกครั้ง แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังทำไม่สำเร็จ และในช่วงที่ผ่านมาก็มีสถานการณ์ความขัดแย้งมาอย่างต่อเนื่อง

กระทั่งมาคุกรุ่นอย่างหนักอีกครั้ง เมื่อ ‘แนนซี เพโลซี’ ประธานสภาผู้แทนราษฎร สหรัฐฯ มาเยือนไต้หวันเมื่อไม่กี่วันก่อน แน่นอนว่าย่อมสร้างความไม่พอใจให้กับทางฝ่ายจีนอย่างยิ่ง และตอบโต้ด้วยการประกาศซ้อมรบด้วยขีปนาวุธจริงรอบ ๆ เกาะไต้หวันทันที ทำให้สถานการณ์ยิ่งตึงเครียดหนักขึ้นไปอีก ส่อจะเกิดความร้าวฉานครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี

ส่วนการแบ่งแยกระหว่างจีนและไต้หวันเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงมูลเหตุความขัดแย้งต่าง ๆ ติดตามกันได้กับ The States Times Story ได้เลย

.

.

'ศิลปาชีพ' 90 พรรษา 'แม่ของแผ่นดิน' นำอาชีพสู่พสกนิกรไทย | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.81

วันที่ 12 สิงหาคม นอกจากจะเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พสกนิกรชาวไทยล้วนรู้จักกันดีในนาม ‘วันแม่แห่งชาติ’ 

แต่รู้หรือไม่ว่าวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี ยังเป็น ‘วันผ้าไทยแห่งชาติ’ เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงสนับสนุนให้เกิดมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ที่พระองค์ได้เริ่มต้นด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนที่มีฐานะยากจนแต่มีความสามารถในการทอผ้าที่สวยงามได้มีอาชีพเลี้ยงปากท้อง ก่อนที่จะขยายไปสู่งานฝีมือด้านอื่นๆ ผ่านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมถึงโครงการในศูนย์ศิลปาชีพที่มีมากกว่า 200 โครงการในปัจจุบัน

.

.


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top