Monday, 29 April 2024
SMEDBank

SME D Bank ผนึก บสย. จับคู่ กู้พร้อมค้ำ วงเงิน 2 พันล้านบาท เติมทุนเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยว

บสย. - SME D Bank ผนึกความร่วมมือ จับคู่ กู้พร้อมค้ำ “สินเชื่อ SMEs Re-Start” วงเงิน 2,000  ล้านบาท เร่งเติมทุนเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เดินหน้าเติมทุนสนับสนุนเอสเอ็มอีท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) ผ่านมาตรการทางการเงิน “สินเชื่อ SMEs Re-Start” วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท จับมือ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ขยายโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน สามารถกู้พร้อมค้ำ ช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่อง 

เช่น โรงแรม ร้านอาหาร บริษัทนำเที่ยว ร้านขายของที่ระลึก ฯลฯ รวมถึงเอสเอ็มอีทุกประเภทที่เป็นคู่ค้ากับกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว เข้าถึงแหล่งเงินทุนนำไปเสริมสภาพคล่อง ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ หรือสำรองเป็นค่าใช้จ่าย ช่วยยกระดับกิจการ รองรับกำลังซื้อนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติที่จะกลับมา สนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฟื้นตัวตามนโยบายภาครัฐ  

SME D Bank ผนึก กนอ. หนุน SMEs ในนิคมฯ ‘เติมทุน - พัฒนา’ ธุรกิจสีเขียว ก้าวสู่ BCG Model 

นายโมกุล โปษยะพิสิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย ส่งเสริมผู้ประกอบการสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) 

โดย SME D Bank ร่วมกับ นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในฐานะประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจการส่งเสริมมาตรการสนับสนุนทางการเงิน เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

SME D Bank เติมวงเงิน 'สินเชื่อ 3D' อีก 4 พันล้าน หนุนผู้ประกอบการขยายโอกาสรับเปิดประเทศ

SME D Bank อัดฉีดวงเงิน “สินเชื่อ 3D” เพิ่มอีก 4,000 ล้านบาท รวมเป็น 19,000 ล้านบาท หนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน เดินหน้าธุรกิจได้เต็มที่ รับกำลังซื้อที่จะเพิ่มขึ้นจากนโยบายเปิดประเทศ แถมขยายหลักเกณฑ์ เปิดกว้างกู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หากหลักประกันไม่พอ สามารถใช้ บสย. ค้ำประกันได้

น.ส.นารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า ทางธนาคาร เดินหน้าสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนขานรับนโยบายเปิดประเทศของรัฐบาล โดยเพิ่มวงเงิน “สินเชื่อ 3D” อีก 4,000 ล้านบาท จากเดิมที่ตั้งไว้ 15,000 ล้านบาท รวมเป็น 19,000 ล้านบาท รวมถึงขยายเกณฑ์เปิดกว้าง กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หากหลักประกันไม่พอสามารถใช้ บสย. ค้ำประกันได้

สำหรับ “สินเชื่อ 3D” ครอบคลุมทุกความต้องการของทุกกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี วงเงินกู้สูงสุดถึง 50 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4.5% ต่อปี ผ่อนนานสูงสุด 10 ปี ประกอบด้วย...

SME D Bank ผนึก 'รัฐ-เอกชน' เปิดตัว ‘SME D Coach’ ส่งกูรูธุรกิจยกระดับผู้ประกอบการจบครบในจุดเดียว

#ธพว. เปิดตัว ‘SME D Coach’ จับมือภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ส่ง '#กูรูมืออาชีพ' ให้คำปรึกษา เชื่อมโยงการสนับสนุนจบครบในจุดเดียว 

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  เปิดตัวโครงการ 'SME D Coach' ภายใต้ 'ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจครบวงจร' หรือ SME D Care Center จับมือพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ประมาณ 30 หน่วยงาน ส่ง 'โค้ชมืออาชีพ' ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา พร้อมเชื่อมโยงการสนับสนุนครบวงจรในจุดเดียว ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีคำตอบ สามารถยกระดับ เพิ่มศักยภาพ เดินหน้าเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน 

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank มอบหมาย นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะกรรมการธนาคาร กล่าวในการเปิด โครงการ 'SME D Coach' ว่า การดำเนินธุรกิจ ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำเป็นต้องเรียนรู้ มุ่งเพิ่มศักยภาพอยู่เสมอ และปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย และมีนโยบายเปิดประเทศ หากเอสเอ็มอีมีความพร้อม จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะช่วยพลิกฟื้นธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และต่อยอดสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน 

ดังนั้น ธพว. ที่มีภารกิจหลักในการพัฒนาเอสเอ็มอีไทย จึงบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ประมาณ 30 หน่วยงาน ดำเนินโครงการ 'SME D Coach' ซึ่งอยู่ภายใต้ 'ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจครบวงจร' หรือ SME D Care Center โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นบริการให้คำปรึกษาและแนะนำธุรกิจจากทีมโค้ชมืออาชีพที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทั้งด้านวิชาการและประสบการณ์จริง ประกอบด้วยบุคลากรของ ธพว. หรือเรียกว่า 'D Coach' ควบคู่กับ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานพันธมิตร และอดีตผู้บริหารองค์กรชั้นนำระดับประเทศ หรือเรียกว่า 'Master Coach' มาทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำธุรกิจอย่างครบวงจร ช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมองเห็นจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง เกิดการพัฒนา สามารถยกระดับธุรกิจ ปรับตัวก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ได้ทันท่วงที 

ด้าน นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวเสริมว่า จุดเด่นของโครงการดังกล่าว คือ การเชื่อมโยงนำศักยภาพเด่นของแต่ละหน่วยงานพันธมิตร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา มาบูรณาการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างเป็นระบบ ครบถ้วนในจุดเดียว สามารถให้คำปรึกษาตั้งแต่อยากจะเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือต้องการคำปรึกษาเชิงลึกเฉพาะด้าน 

นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการให้บริการที่สะดวกสบาย สามารถแจ้งความประสงค์เข้ารับคำปรึกษาได้เหมาะกับความสะดวกของตัวเอง โดยเลือกได้ทั้งหัวข้อที่ต้องการรับคำปรึกษา เลือกโค้ช เลือกช่วงเวลา  เลือกวิธีรับคำปรึกษาผ่าน Onsite (ณ สำนักงานใหญ่ ธพว.) หรือ Online และเลือกขอรับคำปรึกษาได้ทั้งแบบตัวต่อตัว หรือเป็นกลุ่ม 

'ธพว.' ผนึก 'ภาครัฐ-เอกชน' ร่วมลงนาม MOU ‘แปลงเครื่องจักรเป็นทุน’ หนุน SMEs เข้าถึงแหล่งทุน เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร รับ BCG Model

'ธพว.' ผนึก 'ภาครัฐ-เอกชน' ร่วมลงนาม MOU ‘แปลงเครื่องจักรเป็นทุน’ หนุน SMEs เข้าถึงแหล่งทุน เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร รับ BCG Model

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 'โครงการแปลงเครื่องจักรเป็นทุนเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน' ที่มีนายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เข้าร่วมลงนาม 

🔎ส่อง 8 กลยุทธ์เด็ด พัฒนาสินค้าใหม่ ให้โดนใจลูกค้า❤ ✨

🔎ส่อง 8 กลยุทธ์เด็ด พัฒนาสินค้าใหม่ ให้โดนใจลูกค้า❤ ✨

1.) ประโยชน์ใช้สอย
2.) ความสวยงาม
3.) คุณภาพของผลิตภัณฑ์
4.) ราคาขายและต้นทุนการผลิต
5.) ความปลอดภัยในการใช้งาน
6.) ความแข็งแรงทนทาน
7.) การบำรุงรักษา 
8.) การบริการ

📌ผู้ประกอบการต้องรู้!! ✨ 9 กลยุทธ์ยกระดับแบรนด์ ต่อยอดธุรกิจสู่การเติบโต

📌ผู้ประกอบต้องรู้!! ✨ 9 กลยุทธ์ยกระดับแบรนด์ ต่อยอดธุรกิจสู่การเติบโต

1.) Product Improvitization เป็นการพัฒนาปรับปรุงสินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า
2.) Untapped market การหากลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ และกลุ่มตลาดใหม่
3.) Associate Storyline สร้างเรื่องราวเชื่อมโยงกับลูกค้า สร้างความแตกต่างและจุดยืนของแบรนด์
4.) Collaboration การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์ผ่านการร่วมมือทางด้านธุรกิจ
5.) Distribution and Technology Transformation การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น
6.) 6. Differentiation with Product and Process Innovation การสร้างความแตกต่างด้วยนวัตกรรมหรือการพัฒนาสินค้าใหม่
7.) Price Point การวิเคราะห์ราคาที่เหมาะสม
8.) Redefining Brand Identity ยกระดับคุณค่าและประสบการณ์ของลูกค้าผ่านแบรนด์ สร้างความประทับใจ
9.) Rename พิจารณาการเปลี่ยนชื่อแบรนด์

รัฐผนึก 'SME D Bank - SAM' แก้หนี้ SME หวังฟื้นการจ้างงาน - เศรษฐกิจขยายตัว

เมื่อวันที่ (29 ส.ค. 65) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่นโยบายรัฐบาลมุ่งส่งเสริมและดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงสภาพคล่อง และที่มีปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (NPLs) ให้ฟื้นกลับมาเดินหน้าทางธุรกิจต่อได้ ทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank และ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือทางธุรกิจในรูปแบบหน่วยงานรัฐกับหน่วยงานรัฐ (G To G) เป้าหมายเพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มหนี้ด้อยคุณภาพ ให้สามารถกลับมาพลิกฟื้น อยู่รอด และเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าว ถือเป็นเป็นครั้งแรกของภาครัฐที่ร่วมบูรณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เป็นหนี้อย่างยาวนาน โดยจะนำร่องช่วยกลุ่มหนี้ด้อยคุณภาพที่มีหลักประกันที่เกิดขึ้นก่อนปี 2558 เงินต้นรวม ประมาณ 8,000 ล้านบาท และเมื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านกระบวนการแก้ปัญหาต่าง ๆ จาก บสส. แล้ว ทาง ธพว. พร้อมต่อยอดผ่านกระบวนการด้านการเงิน และการพัฒนา ในโครงการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ ลดวงเงินผ่อนชำระเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ และเติมทุนใหม่เสริมสภาพคล่อง นำไปใช้บริหารจัดการธุรกิจ ซื้อวัตถุดิบ เพิ่มกำลังการผลิต หรือสร้างมาตรฐาน

‘SME D Bank’ เดินหน้าเติมทุนคู่พัฒนาวงการแฟรนไชส์ไทย อัดงบ 400 ลบ. ผุดสินเชื่อซื้อแฟรนไชส์ นำร่อง ‘Inthanin-Otteri’

‘SME D Bank’ ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย เดินหน้าส่งเสริมวงการธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อ วงเงิน 400 ลบ. เพื่อใช้ลงทุนซื้อแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐานโดดเด่น นำร่อง 2 แบรนด์ดัง ได้แก่ร้านกาแฟ ‘Inthanin’ และร้านสะดวกซัก ‘Otteri’ ควบคู่จัดโปรแกรมเสริมศักยภาพผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สร้างมาตรฐานแฟรนไชส์ และต่อยอดกิจการด้วยโมเดลแฟรนไชส์  

(10 ส.ค. 66) นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า โมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยกำลังได้รับความนิยมและขยายตัวต่อเนื่อง มีส่วนสำคัญช่วยสร้างโอกาสผู้ประกอบการรายใหม่ได้เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือผู้มีธุรกิจอยู่แล้วได้ต่อยอดธุรกิจด้วยโมเดลขายแฟรนไชส์ เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่อง ดังนั้น SME D Bank ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย จึงเปิดตัวโครงการสนับสนุนธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี : Franchisee) และผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์ : Franchisor) เข้าถึงบริการด้าน ‘การเงิน’ ควบคู่ด้าน ‘การพัฒนา’

สำหรับด้าน ‘การเงิน’ เปิดตัว ‘สินเชื่อแฟรนไชส์’ เพื่อเป็นเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการไปซื้อแฟรนไชส์ที่ผ่านความร่วมมือกับ SME D Bank เบื้องต้นนำร่องจับมือ 2 แฟรนไชส์ซอร์ชื่อดัง ได้แก่ บริษัท บางจาก รีเทล จำกัด เจ้าของแฟรนไชส์ ‘ร้านกาแฟอินทนิล’ (Inthanin Coffee) และบริษัท เค-เน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าของแฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก ‘อ๊อตเทริ วอชแอนด์ดราย’ (Otteri wash & dry) โดยเมื่อผู้ประกอบการที่ไปติดต่อขอซื้อแฟรนไชส์ ‘Inthanin’ หรือ ‘Otteri’ และผ่านการพิจารณาของแฟรนไชส์ซอร์แล้ว สามารถขอสินเชื่อจาก SME D Bank เพื่อใช้ลงทุนได้ โดยมีวงเงินเตรียมไว้บริการรวม 400 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น MLR -1% (ประมาณ 6.5%ต่อปี) วงเงินกู้ได้สูงสุดถึง 80% ของมูลค่าการลงทุน ระยะเวลากู้ยืมสูงสุด 7 ปี ปลอดชำระเงินต้นสูงสุด 6 เดือน เปิดรับคำขอกู้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 67 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินโครงการ แล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดจะถึงก่อน

ส่วนด้าน ‘การพัฒนา’ เดินหน้าปั้นแฟรนไชส์ซี ควบคู่ส่งเสริมแฟรนไชส์ซอร์ ตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น หลักสูตร ADVANCED CMF ติวเข้ม 5 วันเต็ม ภายในเดือน ส.ค. และ ก.ย. 66 มอบความรู้ด้านกลยุทธ์เขียนแผนธุรกิจเข้าถึงแหล่งทุน และการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ จัด ณ อาคาร SME Bank Tower 

อีกทั้ง ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดโปรแกรมเพิ่มศักยภาพธุรกิจ ให้คำปรึกษาในด้านต่าง ๆ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำโมเดลแฟรนไชส์ไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจ และยกระดับมาตรฐานแก่แฟรนไชส์ซอร์ เช่น ด้านกฎหมาย ภาษี มาตรฐานของสถานประกอบการ และเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแจ้งความประสงค์รับบริการ ‘สินเชื่อแฟรนไชส์’ และงานพัฒนาได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ www.smebank.co.th, LINE Official Account : SME Development Bank เป็นต้น รวมถึงสาขา SME D Bank ทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1357


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top