Sunday, 20 April 2025
SMEDBank

SME D Bank ทุ่ม 500 ล้าน เปิดตัว ‘Micro OK’ สินเชื่อใหม่หนุน SMEs เข้าถึงเงินทุน

SME D Bank คลอดสินเชื่อใหม่ ‘Micro OK’ วงเงินรวม 500 ล้านบาท เพิ่มโอกาสผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายย่อยเข้าถึงแหล่งทุน โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน วงเงินสูงสุด 500,000 บาทต่อราย เปิดรับคำขอกู้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 ธ.ค. 66 

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า SME D Bank ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย เดินหน้าทำงานเชิงรุก  พัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ และกระบวนการอำนวยสินเชื่อ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการเงินให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่ม Micro ที่มีศักยภาพเข้าถึงเงินทุนได้ง่าย รวดเร็ว ผ่านสินเชื่อใหม่ ‘Micro OK’ วงเงินรวม 500 ล้านบาท แจ้งความประสงค์ได้ง่ายด้วยระบบออนไลน์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งลงทุน ขยาย ปรับปรุง ปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจการ หรือหมุนเวียนเสริมสภาพคล่อง ช่วยต่อยอดยกระดับธุรกิจเดินหน้าไม่มีสะดุด  

จุดเด่นสินเชื่อ ‘Micro OK’ เปิดกว้างให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่ม Micro (รายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี) ที่มีศักยภาพทุกกลุ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นภาคผลิต ภาคค้าปลีกค้าส่ง และภาคบริการ ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล วงเงินกู้สูงสุด 500,000 บาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 1.29% ต่อเดือน (MLR +8% ต่อปี) ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 5 ปี ที่สำคัญ ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เปิดรับคำขอกู้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2566 หรือเมื่อเต็มวงเงินโครงการ

อีกทั้ง พัฒนากระบวนการอำนวยสินเชื่อ ช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่าย รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา โดยแจ้งความประสงค์ผ่านออนไลน์ และพิจารณาคุณสมบัติด้วยระบบ Credit Scoring มีขั้นตอน ได้แก่ 

1. สแกน QR Code ในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ หรือคลิกผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ของ SME D Bank เช่น เว็บไซต์ www.smebank.co.th หรือ LINE Official Account : SME Development Bank เป็นต้น 

2. กรอกรายละเอียดเบื้องต้น เช่น ข้อมูลการดำเนินธุรกิจ วงเงินที่ต้องการกู้ เป็นต้น 

3. เจ้าหน้าที่ธนาคารจะติดต่อกลับ เพื่อนัดหมายเข้าเยี่ยมสถานประกอบการ และพิจารณาอนุมัติสินเชื่อต่อไป หรือกรณีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะแนะนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนาผู้ประกอบการ ช่วยเตรียมความพร้อม เพื่อพาเข้าถึงแหล่งทุนได้ในอนาคตต่อไป 

ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการสินเชื่อ ‘Micro OK’ และบริการด้านการพัฒนา สามารถแจ้งความประสงค์ได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของ SME D Bank เช่น เว็บไซต์ www.smebank.co.th, LINE Official Account : SME Development Bank และสาขาของ SME D Bank ทั่วประเทศ เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1357

‘SME D Bank’ มอบ ‘ทุนการศึกษา-อุปกรณ์กีฬา’ ให้นร. รร.วัดป่าระกำ พร้อมบริจาคแผงโซล่ารูฟท็อป ติดบนหลังคา ช่วยวัดประหยัดค่าใช้จ่าย

(13 พ.ย.66) นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ร่วมขับเคลื่อนองค์กร ตามแนวทาง ESG ได้แก่ การดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social) และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance) ควบคู่การดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) จัดกิจกรรมมอบทุนการศึกษาและอุปกรณ์กีฬา ให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดป่าระกำ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดอัฑฒศาสนาราม จ.นครศรีธรรมราช ช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัวและการดําเนินชีวิต เพื่อให้นักเรียนได้ใช้จ่ายในชีวิตประจําวัน

นอกจากนั้น ธนาคารได้รับเกียรติจาก นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานสักขีพยานรับมอบกิตติมศักดิ์ จาก บริษัท ไพร์ม โรด เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ PRIME ผู้นำธุรกิจด้านนวัตกรรมพลังงานทดแทนครบวงจร หน่วยงานพันธมิตรของ SME D Bank ร่วมบริจาคและติดตั้งแผงโซล่ารูฟท็อป บนหลังคากุฏิอนุสรณ์พระครูนิโครธจรรยานุยุต (พ่อท่านมุ่ย) เพื่อสร้างประโยชน์ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้งานภายในวัด ช่วยให้วัดประหยัดค่าใช้จ่าย โดยธนาคารและประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ยังได้ร่วมกันทำความสะอาดโดยรอบบริเวณวัด เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สืบทอดประเพณีอันดีงามที่มีมาแต่โบราณ ก่อให้เกิดความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาให้วัฒนาถาวร รวมทั้งสนับสนุนวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้พระธรรมวินัย เป็นศูนย์รวมของประชาชนในการจัดพิธีวันสำคัญต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาสืบไป ณ วัดป่าระกําเหนือ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566

SME D Bank สร้างนิวไฮ ปี 66 พาเอสเอ็มอีถึงแหล่งทุนทะลุ 7 หมื่นล้านบาท ชูธง ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ 4 ปี ดันเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจกว่า 1 ล้านล้านบาท

SME D Bank แถลงผลสำเร็จปี 2566 สร้างสถิติใหม่รอบด้าน สูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งธนาคาร เผยพาเอสเอ็มอีถึงแหล่งทุนกว่า 7.06 หมื่นล้านบาท และตลอด 4 ปี กว่า 2.3 แสนล้านบาท สร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 1 ล้านล้านบาท พัฒนาเสริมแกร่งกว่า 7.5 หมื่นราย รักษาการจ้างงานได้กว่า 7.5 แสนราย  ขณะที่บริหาร NPL มีประสิทธิภาพ เหลือต่ำสุดในรอบ 22 ปี ประกาศปี 2567 ยกระดับสู่ยุคดิจิทัลโดยสมบูรณ์ คิกออฟใช้ระบบ CBS พร้อมแพลตฟอร์ม DX มั่นใจเดินหน้าไร้รอยต่อ  

(9 ก.พ. 67) นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวถึงผลการดำเนินงานของธนาคาร ปี 2566 และภาพรวมตลอด 4 ปี (2563-2566) ว่า จากจุดยืนการเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่พร้อมเคียงข้างส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้เติบโตยั่งยืน ด้วยแนวทาง 'เติมทุนคู่พัฒนา' ประกอบกับความมุ่งมั่น ทุ่มเทของคณะกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานที่รวมพลังเป็น ONE Team ส่งผลให้ปี 2566 ที่ผ่านมา  SME D Bank สร้างสถิติใหม่สูงสุด (New High) นับตั้งแต่ก่อตั้งธนาคารมาใน 22 ปี สามารถพาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุนกว่า 70,695 ล้านบาท และยังเป็นการสร้าง New High ต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน (2563-2566) อีกทั้ง ช่วยสร้างประโยชน์เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยกว่า 323,780  ล้านบาท รักษาการจ้างงานประมาณ 123,200 ราย นอกจากนั้นช่วยพัฒนาเสริมแกร่งธุรกิจอีกกว่า 24,000 ราย

ทั้งนี้ ตลอดช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2563-2566) ซึ่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์โควิด-19  SME D Bank ช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ให้สามารถประคับประคองธุรกิจ และข้ามผ่านช่วงเวลายากลำบากไปให้ได้ โดยเติมทุนช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 231,250 ล้านบาท ก่อให้เกิดประโยชน์สร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 1 ล้านล้านบาท และช่วยรักษาการจ้างงานได้ประมาณ 752,345 ราย ควบคู่กับช่วยพัฒนาเสริมศักยภาพ ให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวและกลับมาฟื้นธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อบรม สัมมนา ช่วยขยายตลาด ยกระดับมาตรฐาน สนับสนุนเข้าถึงนวัตกรรม พาจับคู่เพิ่มช่องทางขายในและต่างประเทศ เป็นต้น มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าร่วมและได้รับประโยชน์มากกว่า 75,000 ราย 

นอกจากนั้น ดูแลลูกค้าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ผ่านมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน (ฟ้า-ส้ม) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กว่า 83,520 ราย วงเงินรวมกว่า 145,240 ล้านบาท อีกทั้ง สามารถบริหารจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อย่างมีประสิทธิภาพ ลงลด 4 ปีติดต่อกัน เหลือเลข 1 หลัก 2 ปีซ้อน โดยปี 2566 ลดเหลือประมาณ 8,690 ล้านบาท คิดเป็น 8.3% ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 22 ปี 

"ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา SME D Bank เพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับการทำงาน อีกทั้ง พัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อตอบความต้องการ ปรับปรุงหลักเกณฑ์อนุมัติสินเชื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์จริง ควบคู่กับสร้าง DNA แห่งการเป็น ‘นักพัฒนา’ หรือ DEVELOPER ในหัวใจของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกคน เพื่อจะพาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน" นางสาวนารถนารี กล่าว

สำหรับปี 2567 การทำงานของ SME D Bank ยกระดับไปอีกขั้น นำระบบดิจิทัลใหม่ หรือ Core Banking System (CBS) ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 2 ปี มาใช้งานอย่างเป็นทางการ สามารถให้บริการทางการเงินแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ครบวงจร ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย นอกจากนั้น ยังมีแพลตฟอร์ม DX (Development Excellent) ที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในเดือนมีนาคม 2567 ซึ่งเป็นระบบพัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะ สร้างสังคมของการเรียนรู้ e-Learning ศึกษาได้ด้วยตัวเอง 24 ชม. สามารถปรึกษาโค้ชมืออาชีพแบบตัวต่อตัว รวมถึง ยังช่วยเพิ่มช่องทางขยายตลาด นอกจากนั้น ยังนำหลัก ESG (การดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social) และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance) มาขับเคลื่อนในทุกมิติขององค์กร สร้างความเชื่อมั่น โปร่งใส ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างคุณค่าแก่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 

นางสาวนารถนารี กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า แม้ในวันที่ 1 มีนาคม 2567 นี้ จะครบวาระการทำงาน 4 ปี ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ แต่ด้วยรากฐานมั่นคงขององค์กร อีกทั้ง ทีมผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ล้วนเป็นบุคลากรภายในที่ร่วมผลักดันยกระดับองค์กรมาด้วยกัน และยังอยู่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรต่อเนื่อง ทำให้การทำงานทุกด้านของ SME D Bank สามารถเดินหน้าได้ดีอย่างไร้รอยต่อ และเชื่อมั่นว่า SME D Bank พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างทั่วถึง และมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างประโยชน์ความมั่นคงและยั่งยืนแก่ประชาชน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยตลอดไป

‘SME D Bank’ เปิดตัว ‘จักรยานยนต์ไฟฟ้า’ พร้อมสถานีแบตเตอรี่ ใช้รับ-ส่งเอกสาร หนุนขับเคลื่อนองค์กรสีเขียวสู่ ‘Net Zero 2065

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 67 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ ‘SME D Bank’ ขับเคลื่อนองค์กรตามแนวทางแห่งความยั่งยืน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ด้วยการเปิดตัว ‘โครงการจักรยานยนต์ไฟฟ้า ธพว. EV.BCG’ โดยรถจักรยานยนต์ทั้งหมด ที่ใช้รับและส่งเอกสารของธนาคารทุกคันจะเป็น ‘รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า’

โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ธรรมชาติ ลดมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยดูแลสุขภาพของประชาชน สนับสนุน ‘เป้าหมาย Net Zero 2065’ สู่การเติบโตที่ยั่งยืนของประเทศไทยในเวทีโลก 

ไม่เพียงเท่านี้ SME D Bank ยังดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอื่นๆ  ต่อเนื่อง เช่น ติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้แสงสว่างในพื้นที่จอดรถอาคารสำนักงานใหญ่, ลดการใช้กระดาษ รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมือด้านความยั่งยืนของบุคลากรทั้งองค์กร

‘รมว.ปุ้ย’ มอบนโยบาย ‘รื้อ ลด ปลด สร้าง’ ขับเคลื่อน SMEs ไทย ฟาก ‘SME D Bank’ ขานรับ ชู ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ วงเงินกู้สูงสุด 50 ลบ.

(11 มี.ค. 67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐ ภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการคลัง ว่า ได้มอบนโยบายการทำงานแก่คณะกรรมการ และคณะผู้บริหาร SME D Bank ให้เดินหน้าสนับสนุนเอสเอ็มอีกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง สอดคล้องกับ Thailand Vision ที่ตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจใน 8 ด้าน ได้แก่ การท่องเที่ยว การแพทย์-สุขภาพ อาหาร การบิน การขนส่ง ยานยนต์อนาคต ดิจิทัล และการเงิน โดยให้บริการด้านการพัฒนาควบคู่กับการให้สินเชื่อ พร้อมเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายพันธมิตรภายในและภายนอกกระทรวงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ขอให้ SME D Bank นำแนวทาง ‘รื้อ-ลด-ปลด-สร้าง’ มายกระดับขั้นตอนการทำงาน หมายถึง รื้อ ลด และปลด สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอี พร้อมกับสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอี เช่น การพัฒนาศูนย์ One Stop Service สำหรับให้บริการกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในทุกกระบวนการ และมุ่งสู่การเป็น Digital Banking โดยสมบูรณ์ 

นอกจากนี้ ธนาคารจะต้องใช้ประโยชน์จากข้อมูล Data Warehouse และระบบ Core Banking System (CBS) ที่ธนาคารพัฒนาขึ้น เพื่อนำไปวิเคราะห์ วิจัย และประมวลผลให้ได้ข้อมูลเชิงลึก (SME Insight) สำหรับกำหนดเป็นนโยบายสนับสนุนเอสเอ็มอีต่อไป

นอกจากนั้น SME D Bank ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐ จะต้องวางภาพลักษณ์องค์กรเป็น Professional Banking มีวัฒนธรรมการทำงานที่โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นมืออาชีพ

“ดิฉันมั่นใจในศักยภาพของ SME D Bank และยินดีที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของ SME D Bank ในทุกมิติ เพื่อให้ SME D Bank เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล สามารถช่วยเหลือและเพิ่มศักยภาพแก่เอสเอ็มอีไทย ซึ่งจะสร้างประโยชน์ ก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ ประชาชนมีรายได้ คุณภาพชีวิตดีขึ้น ส่งต่อประโยชน์ไปยังทุกภาคส่วน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ประเทศไทยเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว

นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และประธานกรรมการ SME D Bank กล่าวว่า SME D Bank พร้อมขานรับดำเนินการตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผ่านกระบวนการ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ช่วยเอสเอ็มอีเติบโตอย่างเข้มแข็ง โดยด้าน ‘การเงิน’ จัดเตรียมผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่มเอสเอ็มอี วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท 

นอกจากนั้น ยังเป็นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ ผ่อนนานพิเศษสูงสุด 15 ปี และปลอดชำระเงินต้นสูงสุด 24 เดือน ช่วยลดภาระทางการเงิน อีกทั้ง ใช้กลไกบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) สนับสนุนกลุ่มที่ไม่มีหลักประกันให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ ขณะเดียวกัน พิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง 

ทั้งนี้ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา SME D Bank ดูแลช่วยเหลือเอสเอ็มอีอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง สามารถพาเข้าถึงแหล่งเงินทุนกว่า 231,250 ล้านบาท ก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยกว่า 1 ล้านล้านบาท และช่วยรักษาการจ้างงานได้กว่า 752,345 ราย ควบคู่กับช่วยพัฒนาเสริมศักยภาพเอสเอ็มอีกว่า 75,000 ราย อีกทั้ง ช่วยเหลือผ่านมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน (ฟ้า-ส้ม) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กว่า 83,520 ราย วงเงินรวมกว่า 145,240 ล้านบาท

ส่วนด้าน ‘การพัฒนา’ ยกระดับศักยภาพเอสเอ็มอี ผ่านโครงการ SME D Coach ที่เชื่อมโยงการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 50 แห่งมาไว้ในจุดเดียว เน้นเติมความรู้ใน 6 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1.การตลาด 2.มาตรฐาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ 3.เทคโนโลยีและนวัตกรรม 4.การเงิน เขียนแผนธุรกิจ บัญชี ภาษี 5.การผลิต และ 6.บ่มเพาะเตรียมพร้อมเข้าสู่แหล่งทุน 

ทั้งนี้ SME D Bank ยังดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล แก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบให้แก่ประชาชนและเอสเอ็มอี โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กลุ่มรหัส 21 (วงเงินสินเชื่อรวมไม่เกิน 10 ล้านบาท และเป็น NPL ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2566) ผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น พักชำระหนี้เงินต้น 1 ปี อีกทั้ง ระหว่างพักชำระเงินต้นจะได้ลดดอกเบี้ย 1% ต่อปี 

นอกจากนั้น ยกดอกเบี้ยผิดนัดให้ทั้งหมด และหากปิดบัญชี ลดดอกเบี้ยค้างให้ 100% เป็นต้น สามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 มิถุนายน 2568 ณ สาขา SME D Bank ที่ใช้บริการสินเชื่อ

สำหรับปีนี้ (2567) SME D Bank ยังเดินหน้ากระบวนการ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ พร้อมยกระดับนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาให้บริการเอสเอ็มอีได้คลอบคลุม และกว้างขวางยิ่งขึ้น ได้แก่ ระบบ Core Banking System (CBS) ที่สามารถให้บริการทางการเงินได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง และแพลตฟอร์ม DX (Development Excellent) ระบบพัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะ สร้างสังคมของการเรียนรู้ e-Learning ศึกษาได้ด้วยตัวเอง 24 ชม. ช่วยเติมศักยภาพให้เอสเอ็มอีสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

‘บางจากฯ’ ผนึกกำลัง SME D BANK เสริมแกร่ง SME เติมทุนคู่พัฒนา สร้างโอกาสธุรกิจในปั๊มน้ำมันบางจาก

(23 เม.ย.67) นายปริญญา กิตติการุญจิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจค้าปลีก บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางจากรีเทล จำกัด, นายวรากร โกศลพิศิษฐ์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และรองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจการตลาด บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ BSRC, นายโมกุล โปษยะพิสิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ และ นายนิพนธ์ ยุทธนาระวีศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME D Bank ร่วมเปิดงานสัมมนา ‘SME D Bank เสริมแกร่งเติมทุน สร้างโอกาสธุรกิจในปั๊มน้ำมันบางจาก’ เสริมความรู้ด้านธุรกิจและช่องทางแหล่งเงินทุน เสริมศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจกลางและขนาดย่อมให้แข็งแกร่ง ต่อยอดธุรกิจได้อย่างมั่นคง 

โดยงานนี้ จัดขึ้นภายใต้บริษัท บางจากฯ บริษัท บางจากศรีราชา จำกัด (มหาชน) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โดยมีผู้ประกอบการสถานีบริการบางจาก ผู้บริหารและวิทยากรจากทั้ง 3 หน่วยงาน เข้าร่วม ณ ห้องประชุมปันสุข 1-2 สำนักงานใหญ่บริษัท บางจากฯ อาคาร M Tower เมื่อเร็ว ๆ นี้

สำหรับงานสัมมนา ‘SME D Bank เสริมแกร่งเติมทุน สร้างโอกาสธุรกิจในปั้มน้ำมันบางจาก’ จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในสถานีบริการบางจาก ผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าและ ซัพพลายเชน (Supply Chain) หรือผู้สนใจจะลงทุนเปิดร้านในสถานีบริการบางจาก ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ และคำปรึกษาเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการธุรกิจจาก SME D Bank เพื่อประโยชน์ในการต่อยอดธุรกิจเสริมในสถานีบริการ ให้สามารถตอบรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าทุกวัยตามแนวคิด Greenovative Destination for Intergeneration ของบางจากฯ ที่ไม่เพียงให้บริการน้ำมันคุณภาพสูง แต่ยังมีบริการเสริมที่หลากหลาย ครบครัน สามารถเติมเต็มและสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าพึงพอใจสูงสุด 

ก่อนหน้านี้ บางจากฯ ได้ร่วมกับ SME D Bank ในการจับคู่คู่ค้าที่มีความสนใจเช่าพื้นที่ในสถานีบริการบางจาก ทำให้ ได้กลุ่มลูกค้า SME ที่ทำธุรกิจ แต่ยังขาดทำเลพื้นที่เช่า มาร่วมทำธุรกิจในสถานีบริการบางจากเพิ่มเติมไปบ้างแล้ว

‘ธพว.’ (SME D Bank) แต่งตั้ง ‘พิชิต มิทราวงศ์’ ดำรงตำแหน่ง ‘กรรมการผู้จัดการ’ มีผล 4 มิ.ย.67

(29 พ.ค.67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank มีมติเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 อนุมัติแต่งตั้งให้ นายพิชิต มิทราวงศ์ เป็น ‘กรรมการผู้จัดการ’ โดยผ่านความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง เรียบร้อยแล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป

นายพิชิต มิทราวงศ์ ปัจจุบัน อายุ 57 ปี ถือเป็นผู้มีความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ด้วยคุณสมบัติและประสบการณ์ด้านบริหารงานสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มต้นจากการทำงานในธนาคารเอกชน กว่า 14 ปี ดูแลด้านการอำนวยสินเชื่อและเงินฝาก ก่อนจะร่วมงานกับ ธพว. ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน โดยเริ่มต้นในตำแหน่งผู้จัดการกลุ่มสินเชื่อนโยบาย กระทั่ง ปี 2564 ได้รับแต่งตั้งเป็น รองกรรมการผู้จัดการ รับผิดชอบ กลุ่มงานวิเคราะห์สินเชื่อและปฏิบัติการ และกำกับดูแลสำนักกรรมการผู้จัดการ อีกหน่วยงานหนึ่ง ก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการ ธพว.

ตลอดระยะเวลา 22 ปี ในการทำงานที่ ธพว. นายพิชิตมีส่วนสำคัญในการผลักดันงานต่าง ๆ ขององค์กรสำเร็จตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เข้าใจผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และเป็นแกนหลักจัดทำและบริหารโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐบาล เช่น โครงการสินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ของกระทรวงอุตสาหกรรม กรอบวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท และกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กรอบวงเงินรวม 5,000 ล้านบาท เป็นต้น

อีกทั้ง ในช่วงดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ สามารถบริหารจัดการหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้ง มีบทบาทสำคัญในการผลักดันระบบ Core Banking System (CBS) ของธนาคาร จนประสบความสำเร็จ

สำหรับด้านอบรมโดยสังเขป เช่น
- ปี 2565 หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 26 (ปปร.26) ของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

- ปี 2564 หลักสูตรโครงการสัมมนาผู้บริหารธนาคารและสถาบันการเงิน รุ่นที่ 30 สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย

- ปี 2561 หลักสูตรวิทยาการจัดการสำหรับผู้บริหารระดับสูง คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รุ่นที่ 1

‘รมว.ปุ้ย’ เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หนุนเอสเอ็มอีทั่วไทย บุกตลาดออนไลน์  กดไลค์!! SME D Bank ผนึก TikTok ลุยสอนไลฟ์ขายสินค้า ติดปีกธุรกิจโตก้าวกระโดด

(9 มิ.ย.67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน ‘Live commerce กับ TikToker ของแทร่’ Get Started With TikTok จัดโดย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กับ TikTok Thailand  ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ว่า  หนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในทุกมิติ ภายใต้แนวคิด ‘รื้อ ลด ปลด สร้าง’ หมายถึง รื้อ ลด ปลด สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการให้มากที่สุด และ ‘สร้าง’ สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ   ซึ่งการเติมความรู้ด้านทำตลาดที่ทันสมัยผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะใช้การไลฟ์ขายสินค้า หรือ Live commerce ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง    ถือเป็นการสร้างมิติใหม่ของการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะรายย่อยในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ให้สามารถคว้าโอกาส ผลักดันธุรกิจให้เติบโตก้าวกระโดด จากกำลังซื้อมหาศาลของลูกค้าทั่วโลก ทั้งในและต่างประเทศ นำไปสู่การต่อยอด สร้างงาน สร้างอาชีพ เป็นฟันเฟืองสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน  ขณะเดียวกัน ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งมั่นสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทยจากฐานราก 

นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ SME D Bank กล่าวว่า SME D Bank ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย มีความมุ่งมั่นสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ผ่านกระบวนการด้าน ‘การเงิน’ ควบคู่กับด้าน ‘การพัฒนา’  ซึ่งการจัดงาน  “Live commerce กับ TikToker ของแทร่” สร้างประโยชน์ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีศักยภาพสามารถจะขยายช่องทางการขายได้อย่างไร้พรมแดนและมีโอกาสสร้างรายได้มหาศาล ซึ่งปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีมูลค่าตลาดออนไลน์กว่า 700,000 ล้านบาท และมีเติบโตเฉลี่ยปีละ 25% ขณะที่ TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก

ที่ผ่านมา SME D Bank และ TikTok Thailand จับมือจัดกิจกรรมเติมความรู้ การทำตลาดออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาอย่างต่อเนื่อง กระจายในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ  สำหรับการจัดงาน ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ ที่รวบรวมคนดังบนโลกออนไลน์ในแพลตฟอร์ม TikTok  หรือ ‘TikToker’ ที่เป็นคนในพื้นที่ กว่า 15 ราย มียอดวิวรวมกันกว่า 10 ล้านวิว เช่น  ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม (Miss Thailand Universe 2007) ,  คิตตี้นาตาชา (ทองเพชรเอวSศัลย์), ช่างเถอะ พี่ปี้ เป็นต้น มาถ่ายทอดประสบการณ์ “Live สด ขายสินค้า” อีกทั้ง มีกิจกรรม Workshop แนะนำเทคนิคสร้างคอนเทนต์ให้โดนใจ ช่วยยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เข้าสู่การตลาดยุคดิจิทัล รวมทั้ง มีการออกบูธจำหน่ายสินค้าของดีประจำท้องถิ่นกว่า 30 ราย ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ควบคู่กับมีบริการพาเข้าถึงแหล่งทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ 

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมกิจกรรมเสริมศักยภาพธุรกิจจาก SME D Bank ได้ฟรี  รวมถึง ติดตามข่าวสารต่างๆ ได้ผ่านแพลตฟอร์ม DX by SME D Bank (dx.smebank.co.th)   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

‘SME D Bank’ ผนึก ‘ส.อ.ท.’ เปิดกล่องของขวัญเพื่อ SME ปี 2567 ช่วยเสริมสภาพคล่องผ่านสินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจกว่า 2 หมื่น ลบ.

(17 มิ.ย. 67) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเติบโตยั่งยืน ร่วมทัพมอบบริการ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ในงาน ‘เปิดกล่องของขวัญเพื่อ SME ปี 2567’ จัดโดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกของ ส.อ.ท. และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เข้าถึงแหล่งทุน อัตราดอกเบี้ยพิเศษ ที่เตรียมไว้รองรับ วงเงินรวมมากว่า  20,000 ล้านบาท ผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 15 ปี และปลอดชำระเงินต้นสูงสุด 12 เดือน ช่วยเสริมสภาพคล่อง ยกระดับธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน จัดครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง พฤศจิกายน 2567 

ไฮไลต์จาก SME D Bank ‘ด้านการเงิน’ ได้แก่ สินเชื่อ ‘Smile Biz ธุรกิจยิ้มได้’ ผ่อนปรนเงื่อนไขสุดพิเศษ ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ทำธุรกิจ 1 ปีก็กู้ได้ ดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 6.50% ต่อปี 

นอกจากนั้น ยังมีสินเชื่อ ‘SME Refinance’ อัตราดอกเบี้ยคงที่ ปีแรกเพียง 2.99% ต่อปี ช่วยลดต้นทุนการเงิน ผ่อนหนักเป็นเบา, สินเชื่อ ‘BCG Loan’ ยกระดับธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4.75% ต่อปี, สินเชื่อ ‘เสริมสภาพคล่องผู้รับเหมา’ สนับสนุนเข้าถึงงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาทต่อปี พร้อมรับแคมเปญพิเศษ สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่เคยใช้สินเชื่อของ SME D Bank มาก่อน เมื่อยื่นกู้สินเชื่อและใช้วงเงิน ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป รับ Cash Back ค่าวิเคราะห์โครงการ มูลค่าสูงสุด 5,000 บาท

ขณะเดียวกัน ยังมอบบริการ ‘ด้านการพัฒนา’ เสริมแกร่งธุรกิจครบวงจร ผ่านแพลตฟอร์ม ‘DX by SME D Bank’ (dx.smebank.co.th) ซึ่งบูรณาการการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษากว่า 50 แห่ง มาไว้ในจุดเดียว ให้บริการฟรี มีฟีเจอร์สำคัญ เช่น Business Health Check ระบบตรวจประเมินสุขภาพธุรกิจ, E-Learning รวบรวมหลักสูตรความรู้สำคัญ ช่วยเพิ่มศักยภาพการประกอบธุรกิจ เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองตลอด 24 ชม., SME D Coach ที่ปรึกษาและให้คำแนะนำธุรกิจจากโค้ชมืออาชีพ, SME D Activity ระบบจองเข้าร่วมกิจกรรมเติมความรู้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี, SME D Market ขยายตลาดด้วย E-marketplace และจับคู่ธุรกิจ อีกทั้ง ยังมี SME D Privilege สิทธิประโยชน์พิเศษอื่น ๆ ให้อีกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

‘รมว.ปุ้ย-SME D Bank' ผนึกพันธมิตร 'ภาครัฐ-มหาวิทยาลัย' ปั้นผู้ประกอบการยุคใหม่เปี่ยมศักยภาพ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 

เมื่อวานนี้ (19 มิ.ย.67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานและสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) 'ส่งเสริมและยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs พร้อมเข้าสู่แหล่งทุนควบคู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน' ระหว่างธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ กับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดย ดร.ปณิตา ชินวัตร รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA โดย ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการสำนักงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี และ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดย ดร.สุพัตรา จันทนะศิริ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ณ อาคารปฏิบัติการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 

รมว.พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับสร้างผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ สามารถปรับตัวตามเทรนด์โลกปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังเตรียมพร้อมเข้าถึงแหล่งทุนได้ด้วย สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งมั่นส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีศักยภาพ ผลักดันเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพราะเมื่อมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นรากฐาน จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่ง รวมกันเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางแห่งอุตสาหกรรมเป้าหมาย สร้างอนาคตที่สดใสและยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ IGNITE THAILAND  

“กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานภายใต้กำกับ มุ่งเน้นสร้างประโยชน์แก่ภาคธุรกิจและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้วยแนวคิด 'รื้อ ลด ปลด สร้าง' หมายถึง 'รื้อ ลด ปลด' สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการให้มากที่สุด ควบคู่กับ 'สร้างสิ่งใหม่ๆ' ที่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะการสร้าง 'ความรู้' เพราะเมื่อมีความรู้แล้ว จะทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ และใช้ทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญไม่ว่าจะมีวิกฤตใด ๆ เกิดขึ้นอีกในอนาคต ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย จะปรับตัว ก้าวตามทัน สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างเข้มแข็งและเติบโตอย่างต่อเนื่อง” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว

ด้านนายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า SME D Bank พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หรือผู้ที่ต้องการเริ่มทำธุรกิจให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น ซึ่งความร่วมมือระหว่างธนาคารกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งภาครัฐและสถาบันการศึกษาในครั้งนี้ จะนำความเชี่ยวชาญและศักยภาพของแต่ละหน่วยงาน มาเชื่อมโยงให้การสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยครบวงจรอย่างไร้รอยต่อ เพื่อยกระดับสร้างผู้ประกอบการเอสเอ็มอียุคใหม่สู่การเป็น Smart SMEs ตั้งแต่การเติมความรู้ด้านการเงิน หรือ Financial Literacy ทักษะการบริหารธุรกิจ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่อยอดธุรกิจ และการเตรียมพร้อมเข้าสู่แหล่งทุน 

ทั้งนี้ เมื่อผู้ประกอบการมีความพร้อมแล้ว และต้องการเงินทุน สามารถเข้าถึงแหล่งทุนจาก SME D Bank ที่มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อไว้รองรับ ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท ควบคู่กับได้รับการพัฒนา ผ่านแพลตฟอร์ม 'DX by SME D Bank' (dx.smebank.co.th) ช่วยผู้ประกอบการต่อยอดยกระดับธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนั้น ยังได้รับการสนับสนุนผ่านมาตรการภาครัฐต่าง ๆ ที่จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มโอกาส ขยายตลาดและผลักดันเข้าถึงนวัตกรรมสมัยใหม่ด้วย 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top