Thursday, 15 May 2025
PoliticsQUIZ

‘นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์’ ซัดปมคำถามบริษัทสยาม-ไบโอไซน์ ผูกขาดการผลิตวัคซีนโควิด เป็นเจตนาดิสเครดิตรัฐบาล ของคนบางกลุ่ม ระบุหากมีข้อสงสัย สามารถเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงได้อยู่แล้ว

นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ (Jetn Sirathranont)’ ระบุว่า นักการเมืองบางคนและบางพรรคซึ่งตั้งตัวเป็นศัตรู กับนายกฯ กำลังออกมา discreditรัฐบาล โดยการพุ่งเป้าไปที่บริษัทสยาม-ไบโอซายน์ ถามถึงความเหมาะสม การผูกขาดในการผลิตวัคซีน คุณภาพวัคซีน รวมถึงราคาที่จ่าย โดยไม่พยายามศึกษาหาข้อมูล ทั้งที่ตัวเองมีอำนาจเรียกหน่วยงานต่างๆมาชี้แจงได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นบริษัท, สถาบันวัคซีนแห่งชาติ หรือกรมควบคุมโรค

บริษัทสยาม-ไบโอซายน์ เป็นของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่ถือหุ้น100%เงินลงทุน 5,000 ลบ.จัดตั้งขึ้นด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของรัชกาลที่9 ที่ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีความมั่นคงทางยาและชีววัตถุ ตั้งขึ้นมาตั้งแต่พ.ศ.2552 ไม่ได้มีจุดประสงค์แสวงหากำไร มีผลงานผลิตยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง(Erythropoietin)ที่ประเทศไทยต้องจ่ายเงินจำนวนมหาศาลนำเข้ายาจากต่างประเทศมาใช้ในผู้ป่วยที่ฟอกไตเช่นเดียวกับยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว(Peg-Filgrastim),ยารักษามะเร็ง,Covid test kit,น้ำยาRT-PCR,FentanylหรือMidazolam

บริษัท Oxford-Astra Zeneca ติดต่อมาแม้จะไม่เคยผลิตวัคซีนมาก่อน แต่เนื่องจากบริษัทได้มาตรฐานการผลิตยาระดับGMO PIC/S(หลักเกณฑ์และข้อกำหนดอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านการตรวจประเมินยาแห่งสหภาพยุโรปPharmaceutical Inspection Co-Operation Scheme)มาตรฐานสากลที่AstraZenecaใช้ยึดถือในการก่อสร้างโรงงานผลิต และควบคุมการผลิตในทุกขั้นตอน

จึงเห็นด้วยที่จะให้บริษัทสยาม-ไบโอซายน์ปรับสายการผลิตมาผลิตวัคซีนดังกล่าว ซึ่งเมื่อปรับปรุงเรียบร้อย จะสามารถผลิตวัคซีน Oxford-Astra Zeneca ได้ปีละ 200 ล้านโดส โดยการเลี้ยงตัว cell จนได้วัตถุดิบในเวลา120วัน ซึ่งบริษัทได้ปรับปรุงจนเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ 16ธ.ค.ที่ผ่านมา ข้อดีคือสามารถจำหน่ายส่วนที่ผลิตเกิน ให้กับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน และเป็นรากฐานความมั่นคงวัคซีนของประเทศต่อไปรวมทั้งช่วยเพิ่มศักยภาพบริษัทนอกเหนือจากความสามารถในการผลิตยาและชีววัตถุอื่นๆได้ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำอยู่แล้วข้อสำคัญสามารถดึงนักวิทยาศาสตร์ระดับหัวกะทิกลับจากตปท.มาทำงานในกระเทศได้ โดยเฉพาะผู้ที่รับทุนปริญญาโท ปริญญาเอกมากมายที่เรียนจบไม่ยอมกลับมาเพราะหางานทำที่เหมาะสมในประเทศไม่ได้


ที่มา : เพจ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ (Jetn Sirathranont)

‘วรรณวิภา’ ส.ส.ก้าวไกล อัดมาตรการรัฐบาลไม่เคยช่วยผู้ประกันตน ม.33 - ชี้กว่า 11 ล้านคนสู้เองตามยถากรรม ซ้ำยังโดนกรีดเลือดเฉือนเนื้อนำเงินสะสมในประกันสังคมมาเยียวยาตัวเอง

น.ส.วรรณวิภา ไม้สน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนจากวิกฤตโควิด -19 ในรอบแรกรัฐบาลไม่เคยถอดบทเรียนเลยจากการแก้ปัญหาเยียวยาประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานในระบบ คนที่ใช้ประกันสังคมมาตรา 33 ซึ่งไม่เคยได้รับเงินเยียวยาจากรัฐเลยแม้แต่บาทเดียว

มิหนำซ้ำ รัฐบาลชุดนี้ยังออกมาตรการมาเพื่อให้แรงงานกรีดเลือดเฉือนเนื้อเอาเงินสะสมในประกันสังคมของตนเองเพื่อมาเยียวยาตัวเองอีก เปิดโอกาสให้นายจ้างที่มีกำลังพอไม่มีผลกระทบมากนัก ฉวยโอกาสไม่ใช้มาตรา 75 คือสั่งหยุดแล้วจ่ายค่าจ้าง 75% แต่หันไปใช้ตามกฎกระทรวงที่ให้จ่าย 62% แทน

การเยียวยาไม่ครอบคลุมคนที่เพิ่งได้งานทำยังไม่ถึง 6 เดือน หลายคนไม่ได้ถูกเลิกจ้างแต่ถูกลดชั่วโมงการทำงานทำให้สูญเสียรายได้ นายจ้างหลายที่ไม่ส่งข้อมูลในการหยุดงานของลูกจ้างก็ทำให้ไม่ได้รับเงินเยียวยาเข้าไปอีกจนทำให้ตกหล่นซ้ำซ้อน และทำให้เงินประกันสังคมที่เป็นสวัสดิการเดียวของแรงงานรั่วไหลจำนวนมหาศาล

น.ส.วรรณวิภา กล่าวว่า ล่าสุด มติ ครม.ได้ออกมาตรการเยียวยาโควิด 19 ระลอก 2 เราชนะ พร้อมอธิบายถึงกลุ่มเป้าหมาย 31.1 ล้านคน ซึ่งรวมถึงกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้ลงทะเบียนคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน โดยต้องนำไปใช้ผ่านระบบเพื่อชำระค่าสินค้า เครื่องดื่ม อาหาร และบริการต่าง ๆ ไม่สามารถเบิกเป็นเงินสดได้

เกณฑ์การรับเงินเยียวยาดูจะยุ่งยากมากขึ้นมากกว่ารอบแรก มาตรการนี้กลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิ เราชนะ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ผู้มีรายได้สูง และลูกจ้างที่อยู่ในฐานระบบประกันสังคมมาตรา 33 อีกจำนวน 11 ล้านคน ขนาดข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างรัฐ ยังมีคำสั่งให้พิจารณาเยียวยาเหมือนโครงการเราชนะ

"หากพิจารณาแล้ว ประชาชนทุกคนล้วนแล้วแต่มีผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น ที่น่าตั้งคำถามมากที่สุดคงหนีไม่พ้นผู้ประกันตนในระบบมาตรา 33 จำนวน 11 ล้านคน ที่โดนมองข้ามไร้การเยียวยาครั้งแล้วครั้งเล่า ถูกปัดความรับผิดชอบจากรัฐบาลให้เป็นไปตามเงื่อนไขของประกันสังคมซึ่งก็เป็นเงินของพวกเขาเองทั้งนั้น

สุดท้ายแล้วต่อให้โดนบังคับลาออก ลดชั่วโมงการทำงาน ลดเงินเดือน มีปัญหาก็ไปฟ้องร้องกับนายจ้างกันเองตามยถากรรม ทั้ง ๆ ที่หลายธุรกิจได้ทยอยล้มหายตายจากลดลงไปเรื่อย ๆ แต่รัฐก็เลือกที่จะมองข้ามการเยียวยากลุ่มคนเหล่านี้ ดิฉันยังคงยืนยันว่าการเยียวยาควรเป็นการเยียวยาแบบถ้วนหน้า ไม่ควรแบ่งแยกประชาชน เพราะประชาชนไม่ใช่ภาระทางการคลังแต่อย่างใด โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ไทยชนะ เราชนะ แต่ที่แน่ ๆ ประชาชนไม่เคยแพ้ราบคาบ" น.ส.วรรณวิภา กล่าว

สถานการณ์ COVID-19 ประเทศไทยและอาเซียน (20 มกราคม พ.ศ. 2564)

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน โดยประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 59 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 12,653 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 รวมยอดผู้เสียชีวิต 71 ราย รักษาหายเพิ่ม 265 ราย รวมผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 9,621 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 2,961 ราย
ทั้งนี้ ผู้ป่วยรายใหม่ 59 ราย เป็น ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จากไอร์แลนด์ 1 ราย ,ปากีสถาน 1 ราย ,สหรัฐอเมริกา 2 ราย ,มาเลเซีย 1 ราย ,ญี่ปุ่น 1 ราย ,อินเดีย 1 ราย ,เยอรมนี 1 ราย
ผู้ป่วยรายใหม่ จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ จำนวน 28 ราย
ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 23 ราย
ขณะเดียวกันสถานการณ์ COVID-19 ของประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการอัพเดทดังนี้
ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 174 ราย รักษาหายแล้ว 169 ราย เสียชีวิต 3 ราย
ประเทศกัมพูชา ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 448 ราย รักษาหายแล้ว 392 ราย  ไม่มียอดผู้เสียชีวิต
ประเทศอินโดนีเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 9.27 แสน ราย รักษาหายแล้ว 7.54  แสน เสียชีวิต 26,590 ราย
ประเทศลาว ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 41 ราย รักษาหายแล้ว 41 ราย ไม่มียอดผู้เสียชีวิต
ประเทศมาเลเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.65 แสน ราย รักษาหายแล้ว 1.25 แสน ราย เสียชีวิต 619 ราย
ประเทศพม่า ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.35 แสน ราย รักษาหายแล้ว 1.19 แสน ราย เสียชีวิต 2,986 ราย
ประเทศฟิลิปปินส์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 5.04 แสน ราย รักษาหายแล้ว 4.66 แสน ราย เสียชีวิต 9,978 ราย
ประเทศสิงคโปร์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 59,157 ราย รักษาหายแล้ว 58,894 ราย เสียชีวิต 29 ราย
ประเทศเวียดนาม ยอดรวมติดเชื้อ 1,540 ราย รักษาหายแล้ว 1,402 ราย เสียชีวิต 35 ราย
 

รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ ร้องนายกฯ ประชาชนจำเป็นต้องใช้เงิน จี้เปลี่ยนการเยียวยาเป็นเงินสด ชี้ เหตุผลของรัฐบาลเหมือนอยู่คนละโลกกับความจริง แนะปรับวงเงินแบงก์ชาติ 9 แสนล้าน ช่วย SMEs ให้รอด

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รมว.กลาโหม และ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ได้ออกมาตรการเยียวยา เราชนะ ผ่าน ครม. ให้เยียวยาประชาชน เดือนละ 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน แล้วนั้น

นอกจากจำนวนเงินจะน้อยไป เพราะแค่วันละ 117 บาท เท่านั้น และระยะเวลาสั้นไปเพราะไม่น่าจะควบคุมสถานการณ์และกลับมาเป็นปกติได้ใน 2 เดือนแน่ แล้วรัฐบาลยังกำหนดว่า จะไม่จ่ายเป็นเงินสดแต่จะจ่ายเข้าบัญชีและเบิกเงินสดไม่ได้ นำไปใช้จ่ายได้แบบโครงการคนละครึ่งเท่านั้น ซึ่งสร้างความไม่พอใจกับประชาชนเป็นจำนวนมาก

เพราะในภาวะที่ลำบากกันอย่างมากนี้ ประชาชนมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดในหลายกรณี ดังนั้นจึงอยากให้พลเอกประยุทธ์ได้เร่งปรับเปลี่ยนการจ่ายเยียวยาให้กับประชาชนให้เป็นเงินสดเพื่อบรรเทาความลำบากของประชาชน

นายพิชัย กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ข้ออ้างของรัฐบาลฟังแล้วเหมือนอยู่คนละโลกกับความเป็นจริงที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนกันอย่างมาก การที่ไม่ให้เบิกเงินสดโดยอ้างว่า กลัวประชาชนจะไปซื้อ ลอตเตอรี่ เหล้า บุหรี่ บ้าง กลัวไวรัสโควิด จะติดมากับเงินสดบ้าง กลัวจะไปใช้จ่ายเอื้อประโยชน์กิจการของเจ้าสัวบ้าง (ซึ่งเรื่องที่เอื้อประโยชน์จำนวนมากกลับไม่พูดถึง) อีกทั้งยังจะจ่ายสัปดาห์ละ 1,000 บาท ติดต่อกัน 7 สัปดาห์ กลัวว่า ประชาชนจะใช้เงินหมดเร็ว ซึ่งคิดเหมือนประชาชนไม่มีปัญญาจะบริหารจัดการตัวเองได้

นอกจากนี้ แทนที่จะแจกประชาชนที่กำลังลำบากอย่างทั่วถึง กลับต้องให้ลงทะเบียนผ่านมือถืออีก โดยประชาชนจำนวนมาก ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ พอถูกถามเรื่องนี้ รัฐบาลกลับบอกว่า จะมีการติดต่อบริษัทให้มาจำหน่ายโทรศัพท์มือถือให้ในราคาพิเศษ ให้กับคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือสามารถซื้อเพื่อลงทะเบียนเข้าโครงการได้ ซึ่งต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อซื้อมือถือที่หลายคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจจะไม่มีความจำเป็นต้องใช้ และยังต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นแบบไม่สมเหตุสมผล

รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า โดยทั้งหมดนี้ ดูเหมือนรัฐบาลกำลังสับสน ทั้งที่คณะทำงานเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยได้เตือนรัฐบาลแล้วว่าให้คิดให้ดี คิดให้ครบกรอบ ก่อนที่จะออกมาตรการ อย่าทำแบบ “ทราบแล้วเปลี่ยน” ที่ต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางหลายหนเพราะถูกตำหนิมาโดยตลอด

แต่อย่างไรก็ดี เรื่องนี้อยากให้รัฐบาลเร่งเปลี่ยนแปลงเป็นการจ่ายเป็นเงินสด เพื่อให้ช่วยประชาชนได้ตรงตามความจำเป็นของประชาชนมากกว่า โดยที่รัฐบาลก็ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้อยู่แล้ว ไม่เข้าใจใจว่าจะไปกำหนดให้ประชาชนยุ่งยากเพิ่มขึ้นทำไม กลายเป็นรัฐบาลที่แจกเงินประชาชนแต่กลับโดนประชาชนด่ามาตลอด

นายพิชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ การที่รัฐบาลและ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการปล่อยกู้ช่วยเหลือ ธุรกิจ SMEs ให้สะดวกขึ้นง่ายขึ้น ในวงเงิน 5 แสนล้านบาท ที่ปล่อยไปได้เพียง แสนกว่าล้านบาทเท่านั้น แต่ยังมีธุรกิจ SMEs อีกเป็นจำนวนมากยังต้องการความช่วยเหลือ นับเป็นเรื่องที่ดี และอยากให้เร่งดำเนินการ และอยากให้มีการเพิ่มวงเงินช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เพิ่มเติมหากจำเป็น

โดยอยากให้รัฐบาลได้ปรึกษากับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการเปลี่ยนวงเงิน 4 แสนล้านเดิม ที่วางแผนจะซื้อพันธบัตรของเอกชน แต่ตอนนี้เชื่อว่าคงยกเลิกแผนการซื้อพันธบัตรของเอกชนนี้ไปแล้วเพราะถูกคนคัดค้านกันมาก ได้ปรับเปลี่ยนวงเงิน 4 แสนล้านบาทดังกล่าวมาเป็นการช่วยเหลือธุรกิจ SMEs แทน ซึ่งเชื่อว่าธุรกิจ SMEs จำนวนมากยังต้องการความช่วยเหลือ ที่จะประคองตัวให้ผ่านภาวะวิกฤตินี้ไปได้ และจะสามารถฟื้นกลับมาได้อีกครั้งหลังจากเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นกลับมาได้

ทั้งนี้ต้องเลือกด้วยว่าธุรกิจไหนสามารถจะฟื้นได้ โดยรัฐอาจจะต้องเข้าไปรับผิดชอบในหนี้เสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เชื่อว่าคงไม่มากนักหากเศรษฐกิจฟื้นกลับมา และ สามารถเลือกSMEs ที่จะไปรอดให้ดี นอกจากนี้รัฐบาลน่าจะต้องมีโครงการการรักษาการจ้างงานควบคู่กับการช่วยเหลือด้วย เพื่อป้องกันคนจะตกงานเป็นจำนวนมาก ในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เช่นนี้ โดยรัฐบาลอาจจะสนับสนุนการจ้างงานบางส่วน

"ในภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ทรุดหนักเช่นนี้ และยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นได้ รัฐบาลจะต้องเปิดใจรับฟังความเห็นทุกทางเพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขการบริหารประเทศของรัฐบาล อย่ามีอคติคิดว่าจะเป็นการตำหนิ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลต้องยอมรับก่อนว่าการบริหารของรัฐบาลล้มเหลวมาโดยตลอด กรอบคิดของรัฐบาลมีปัญหา หากมองย้อนหลังด้วยใจเป็นธรรม จะพบว่าทุกเรื่องที่ผมได้เตือนมาเป็นความจริงมาโดยตลอดและเป็นไปตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ หากรัฐบาลจะเปิดใจรับฟังและนำไปปรับปรุงน่าจะช่วยได้มาก ซึ่งตอนนี้ก็ควรจะนึกได้แล้วเละควรฟังคำแนะนำของทุกฝ่ายมากขึ้น ก่อนประเทศจะย่ำแย่ไปกว่านี้" นายพิชัย กล่าว

‘หมอวรงค์’ ประกาศตั้งพรรค "ไทยภักดี" รวบรวมเครือข่ายผู้จงรักภักดี มีภารกิจสำคัญปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ให้ถูกรังแกจากผู้ไม่หวังดี ประกาศสู้กับพรรคก้าวไกล กลุ่มก้าวหน้า และม็อบสามนิ้ว

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม แถลงข่าวการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ชื่อพรรคไทยภักดี ผ่านเพจ ไทยภักดี ประเทศไทย และเพจ Warong Dechgitvigrom มีเป้าหมายเพื่อพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องด้วยที่ผ่านมา มีกลุ่มคนไม่หวังดีต้องการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่องพร้อมส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อไปทุกพื้นที่ทุกเขตทั่วประเทศ

นพ.วรงค์ เปิดเผยว่า การเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ ชื่อพรรคไทยภักดี วันนี้ เกิดขึ้น 5 เดือนหลังจากที่เปิดตัว "กลุ่มไทยภักดี" เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2563 ซึ่งจุดประสงค์กลุ่มขณะนั้น เพื่อเป็นองค์กรกลางในการรวบรวมประชาชนผู้ภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

"การรวมเป็นกลุ่มไม่เพียงพอ จุดยืนเราชัดเจน เราจะสู้กับ 3 กลุ่มนี้ เราจะสู้กับพรรคก้าวไกล กลุ่มก้าวหน้า ม็อบสามนิ้ว นี่คือจุดยืนที่ชัดเจนของการประกาศจัดตั้งพรรคไทยภักดี" นพ.วรงค์กล่าว

ทั้งนี้ การจัดตั้งพรรคอยู่บนพื้นที่ฐานความเชื่อว่า สังคมไทยจะดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุขต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์ ร่วมกับนักการเมืองที่มีคุณธรรม แม้เราจะมีสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่นักการเมืองไม่มีคุณธรรม ประเทศชาติก็วุ่นวาย

นพ.วรงค์ กล่าวว่าพรรคไทยภักดีมีเป้าหมายไม่ต่างจากกลุ่มไทยภักดี คือ การใช้กฎหมายรวมทั้งกฎหมายอาญามาตรา 112 ดำเนินคดีกับผู้จาบจ้วงสถาบันกษัตริย์ และนำความจริงบอกกับประชาชน ซึ่งเจตนาของการตั้งพรรคการเมืองเพื่อต้องการมีเครือข่ายให้ครอบคลุมไปทั่วประเทศ เนื่องจากหากต่อสู้ในนามกลุ่มแม้จะคล่องตัวแต่มีข้อจำกัด

พรรคไทยภักดีตั้งใจจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในทุกเขตทั่วประเทศในการเลือกตั้งครั้งหน้า โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนดำเนินการจัดตั้งพรรคการเมืองกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งยังต้องใช้ระยะเวลาหลายเดือน

สำหรับโครงสร้างของพรรคไทยภักดี นพ.วรงค์ จะยังเป็นรักษาการหัวหน้าพรรค จนกว่าจะมีการประชุมใหญ่อย่างเป็นทางการ และขอไม่เปิดเผยรายชื่อว่าที่กรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) พรรค ในตอนนี้ แต่ยืนยันว่าประกอบไปด้วยบุคคลมากหน้าหลายตา

ทันทีที่ ‘กลุ่มไทยภักดี’ ของ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ได้จัดตั้งพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ก็ได้โพสต์ข้อความลงบนทวิตเตอร์ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณี ‘กลุ่มไทยภักดี’ ตั้งพรรคการเมืองทันที

“การตั้งพรรคโดยชูเรื่องปกป้องสถาบันกษัตริย์ ไม่ว่าหวังดีต่อสถาบันฯ หรืออ้างเพื่อทำลายผู้อื่น แต่ทั้งหมด คือ การนำสถาบันฯ เข้ามาอยู่ใน ‘แดนทางการเมือง’ หากประชาชนเลือกพรรคนั้นน้อย จะหมายความอย่างไร?

การปกป้องสถาบันฯ ที่ถูก ต้องช่วยกันรักษาสถานะความเป็นกลางทางการเมืองของสถาบันฯ”

หลังจากข้อความจากนายปิยบุตรถูกโพสต์ขึ้นได้ไม่นาน ด้าน ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ‘ดร.นิว’ นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความบนฟซบุ๊ก Suphanat Aphinyan สวนกลับสิ่งที่นายปิยบุตรได้ดึงสถาบันฯ เข้ามาเกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวโดยทันที...

#เมื่อไหร่ปิยบุตรจะหยุดบิดเบือน

คนรกโลกและหนักแผ่นดินอย่างนายปิยบุตร ไม่ทำอะไรนอกจากบิดเบือนโจมตีให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ และคอยยุยงปลุกปั่นเพื่อปลุกม็อบล้มเจ้า ยัดเยียดความแตกแยกให้คนไทยทะเลาะกันเอง บั่นทอนความมั่นคงของประเทศชาติให้ระส่ำระสายไปวันๆ

สถาบันพระมหากษัตริย์ในต่างประเทศมีบทบาทในการบริหารราชการแผ่นดินมากกว่าประเทศไทยเสียอีก แต่นายปิยบุตรกลับไม่เคยพูดถึงเลยแม้แต่นิดเดียว

พระมหากษัตริย์ไทยเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งไม่ได้มีพระราชอำนาจ (Royal prerogative) อย่างที่มีปรากฏในรัฐธรรมนูญของประเทศอื่นๆ ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานการแนะนำ, การส่งเสริม และการตักเตือนแก่รัฐบาล ซึ่งตามรูปแบบปกติโดยทั่วไป นายกรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีจะต้องเข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรายงานการทำงาน และรับฟังคำปรึกษาแนะนำจากพระมหากษัตริย์เป็นประจำ (อังกฤษ, เบลเยียม, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์, สวีเดน, เดนมาร์ก, สเปน)

โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศนอร์เวย์ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศประชาธิปไตยอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีจะต้องเข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรายงานการทำงาน และรับฟังคำปรึกษาแนะนำจากพระมหากษัตริย์นอร์เวย์รวมถึงองค์รัชทายาทเป็นประจำทุกสัปดาห์ แต่คนไทยกลับไม่เคยเห็นภาพอะไรแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย อีกทั้งพระราชอำนาจและบทบาทสำคัญแบบนี้มักถูกบิดเบือนใส่ร้ายให้ดูเป็นเรื่องที่ผิดปกติและไม่เหมาะสมเสียด้วย ทั้งหมดเป็นเพราะลัทธิรัฐธรรมนูญตั้งแต่คณะราษฎรในอดีตเรื่อยมาจนถึงนายปิยบุตรในปัจจุบัน คอยยัดเยียดชุดความคิดบิดเบือน บั่นทอนความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ ลิดรอนพระราชอำนาจและบทบาทอันพึงมีตามปกติของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

สถาบันพระมหากษัตริย์ในต่างประเทศเขาก็มีรายได้และธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป สถาบันพระมหากษัตริย์เกือบทุกประเทศในโลกมีธุรกิจเป็นของตัวเองแทบทั้งสิ้น แล้วการที่สถาบันพระมหากษัตริย์ในแต่ละประเทศร่ำรวยไม่เท่ากันก็เป็นเพราะภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และพระราชวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกัน ในแง่นี้สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยดูเหมือนจะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างออกไป นั่นก็คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ช่วยเหลือประชาชน คอยบำบัดทุกข์บำรุงสุขและอยู่เคียงข้างประชาชนมาโดยตลอด แต่ด้วยเจตนาอันโสมมของนายปิยบุตร นายปิยบุตรจึงไม่เคยพูดถึงความดีของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยเลยแม้แต่นิดเดียว ตั้งแต่โบราณกาลนานมาตลอดจนถึงการสนับสนุนเครื่องมือทางการแพทย์จำนวนมากของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือประชาชนและรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด

นับได้ว่ามีเรื่องสำคัญอยู่ 2 เรื่องที่นายปิยบุตรไม่เคยพูดถึง 1.ความดีของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย 2. ความชั่วช้าสามานย์ของคณะราษฎร พฤติกรรมของนายปิยบุตรจึงมีแต่กัดเซาะบ่อนทำลายให้สถาบันพระมหากษัตริย์เหินห่างจากประชาชน ทั้งๆ ที่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นผู้วางรากฐานของชาติและระบอบประชาธิปไตยเพื่อประชาชนมาตั้งแต่ต้น

สิ่งที่ปิยบุตรทำมาทั้งหมดจึงเป็นไปเพื่อสร้างความแตกแยก บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติและประชาชน พยายามยัดเยียดทำให้พระมหากษัตริย์กลายเป็นนักโทษ ตลอดจนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ลงในที่สุด

ในเมื่อนายปิยบุตรถูกเปิดโปงซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาจนถึงขนาดนี้ แต่ก็ยังไม่หยุดสำรอกกำพืดชั่วๆ ออกมาอีก เมื่อพูดจากันดีๆ ด้วยหลักการและความจริงไม่รู้เรื่อง ถ้าเจอนายปิยบุตรที่ไหน ตบมันที่นั่นเลยดีไหมครับ?


ที่มา: เฟซบุ๊ก Suphanat Aphinyan

อ้างอิง:

https://www.express.co.uk/.../queen-elizabeth-ii-news...

https://thecrownchronicles.co.uk/.../queen-conducts.../

https://www.newmyroyals.com/.../king-carl-gustaf-and...

https://www.newmyroyals.com/.../king-willem-alexander-and...

https://www.royalcourt.no/artikkel.html?tid=30068

https://www.businessinsider.com/royal-family-net-worth...

https://brandinside.asia/private-bank-war-lgt-open.../

https://maroc.mom-rsf.org/.../owner/owner/show/royal-family/

‘กอ.รมน.’ ยืนยัน ไม่มีเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. อุ้ม ‘เยล’ การ์ดราษฎร ตามที่กล่าวอ้าง เจ้าหน้าที่ตำรวจเตรียมการเอาผิดในข้อหาแจ้งความเท็จเพื่อดำเนินคดีต่อไป

พล.ต. ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เปิดเผยถึงกรณีที่นายมงคล สันติเมธากุล หรือ เยล การ์ดราษฎร อ้างว่าถูกเจ้าหน้าที่จากกอ.รมน.อุ้มไปเมื่อวันที่ 17 ม.ค. ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ตามที่มีภาพข่าวปรากฏตามสื่อต่างๆนั้น ว่า

จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ตามจุดต่างๆ รวมทั้งตรวจสอบกล้องวงจรปิดเพื่อหาเบาะแสของกลุ่มบุคคลที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. ภายหลังการตรวจสอบกล้องวงจรปิดทั้งช่วงก่อนเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ รวมทั้งสอบสวนพยานบุคคลและพยานแวดล้อมโดยรอบ พบว่าสมาชิกกลุ่มการ์ด ที่อ้างว่าถูกกักตัวได้อยู่เพียงลำพังตลอดทั้งคืน จึงยืนยันได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีอยู่จริงตามที่ได้กล่าวอ้างแต่อย่างใด และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เตรียมการ เอาผิดในข้อหาแจ้งความเท็จเพื่อดำเนินคดีต่อไป

“กอ.รมน. ขอยืนยันอีกครั้งว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด จากการกล่าวหาข้างต้น” พล.ต.ธนาธิป กล่าว

ทั้งนี้ กอ.รมน. ขอประชาสัมพันธ์กับประชาชนที่ติดตามข่าวสาร โดยเฉพาะทางสื่อโซเชียล ขอให้มีการรับฟังอย่างรอบคอบในทุกๆด้าน ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด และอาจทำให้หน่วยงานรัฐ เกิดความเสียหาย และจะทำให้เกิดผลกระทบต่อตนเองในภายหลังได้

กรมการขนส่งทางราง เคาะค่าโดยสารรถไฟสายสีแดง ทั้ง 2 เส้น คือ สายตลิ่งชัน-บางซื่อ และสายบางซื่อ- รังสิต จะจัดเก็บค่าโดยสารในอัตรา 14 – 42 บาท โดยจะมีการนำเสนอคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย เห็นชอบต่อไป

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม ได้มีการประชุมเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงรังสิต-บางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือถึงกรณีการกำหนดอัตราค่าโดยสาร เบื้องต้น ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง ทั้ง 2 เส้น คือ สายตลิ่งชัน-บางซื่อ และสายบางซื่อ- รังสิต จะจัดเก็บค่าโดยสารในอัตรา 14 – 42 บาท ซึ่งขั้นตอนจากนี้ จะมีการนำเสนอคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เห็นชอบต่อไป

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า การกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟสายนี้ จะกำหนดอัตราแรกเข้าและอัตราค่าโดยสารต่อกิโลเมตร เพื่อให้ได้อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรมไม่เป็นภาระต่อประชาชน และไม่เป็นภาระหนี้สินต่อ รฟท. ในอนาคต

ทั้งนี้ในความคืบหน้าของโครงการนั้น กระทรวงคมนาคมจะเปิดทดลองการเดินรถเสมือนจริง ในเดือนมี.ค.2564 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้ รฟท. เตรียมความพร้อมรองรับ การเปิดทดลองการเดินรถเสมือนจริงในเดือนมี.ค.2564 และการเปิดทดลองให้บริการแบบไม่จัดเก็บค่าโดยสาร ในเดือนก.ค. –ต.ค.2564 และการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในเดือนพ.ย.2564

‘อ.นิด้า’ โพสต์เฟซบุ๊กเรียกสติคนรุ่นใหม่ อย่าหลงเชื่อรัฐบาล ‘ผูกขาด’ สั่งซื้อวัคซีนบ.สยามไบโอไซนส์ ซึ่งเป็นของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว พร้อมเผย ‘แอสตร้าฯ’ เลือก ‘สยามไบโอฯ’ ไม่ใช่รัฐจิ้มเอง

ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว Warat Karuchit ว่า...

คนจำนวนหนึ่ง ที่หลายคนเป็นคนรุ่นใหม่ ควรจะมีความรู้ หาข้อมูลเองได้ แต่กลับไปเชื่อข้อมูลที่มีคนพยายามปั่นตามๆกันว่า รัฐบาลผูกขาด สั่งซื้อวัคซีนกับ บ.สยามไบโอไซนส์ ซึ่งเป็นของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งๆที่ความจริงคือ

1. "คนขาย ไม่ได้เป็นสยามไบโอไซนส์" :  รัฐบาลสั่งซื้อวัคซีนจาก บ.แอสตร้า เซเนก้า ซึ่งก็ยังต้องสั่งตรงกับทางแอสตร้า จนกว่าบ.สยามไบโอไซนส์ จะผลิตเองได้

2. "แอสตร้า เซเนก้า เลือกสยามไบโอไซนส์เอง" : ไม่ใช่รัฐบาลเลือก รัฐบาลเสนอไปหลายแห่ง แต่ แอสตร้า เซเนก้า เลือกเพียงแห่งเดียว เพราะมีศักยภาพสูงพอจะผลิตได้ เนื่องจากสยามไบโอไซนส์ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเรื่องการผลิตวัคซีน

3. "ผลประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่ใช่ส่วนตัว" : อีกเหตุผลสำคัญที่แอสตร้า เซเนก้า เลือกสยามไบโอไซนส์ เพราะแม้ว่าเป็นบริษัทเอกชน แต่เป็นเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร ทำให้ขาดทุนมาตลอด แต่เป็นพระราชปณิธานของในหลวง ร.9 ที่จะสร้างรากฐานทางการแพทย์ โดยมีความคล่องตัวในการบริหารแบบเอกชน ไม่ต้องขึ้นกับนโยบายหรือผู้บริหารภาครัฐ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของ Oxford ผู้คิดค้นวัคซีน ว่าบริษัทที่ผลิตวัคซีนสูตรนี้ ต้องไม่ทำกำไร แต่ก็ไม่ขาดทุน  (No Profit, No Loss) คือต้องขายเท่าทุน เพื่อไม่ให้แพงเกินไป และบริษัทอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ Oxford ร่วมงานกับแอสตร้า เซเนก้า เพราะยอมรับหลักการนี้

ดังนั้นแม้ว่าในเฟสต่อๆไป เมื่อสยามไบโอไซนส์ผลิตวัคซีนเองได้แล้ว รัฐบาลจะสั่งต่อโดยตรงกับสยามไบโอไซนส์ ก็ยิ่งมีแต่ผลดี เพราะได้ราคาเดิม ไม่มีการโก่งราคาแน่นอน และสะดวกรวดเร็วเพราะผลิตในประเทศได้เอง รวมทั้งมีความมั่นคงยั่งยืนในอนาคตอีกด้วย เพราะกลายเป็นเราผลิตวัคซีนได้เองประเทศเดียวในอาเซียน นับเป็นโชคอย่างมหาศาลของคนไทยอย่างไม่รู้จะว่ายังไงอีกแล้ว

ส่วนเงินที่รัฐบาลอุดหนุนสยามไบโอไซนส์เพิ่มเติมห้าร้อยกว่าล้าน ก็ไม่ได้สูญเปล่า เพราะ 1. นำไปพัฒนาศักยภาพในการผลิตให้สูงยิ่งขึ้น รองรับเทคโนโลยีใหม่ในการผลิตวัคซีนนี้ 2. เงินก้อนนี้ ประชาชนไทยจะได้คืนมาในรูปแบบของวัคซีน ในราคาเท่าทุน เรียกว่ามีแต่ Win-Win

ส่วนใครที่มัวจับผิดเรื่องไม่ต้องมีดอกเบี้ย ผมว่าคุณก็ใจต่ำไปแล้ว อย่างที่บอกว่า เงินทุกบาทของบริษัทนี้ ก็นำมาพัฒนาและผลิตวัคซีนที่อาจช่วยคุณ พ่อแม่ ปู่ย่าตายายคุณได้ เป็นบริษัทไทยที่เราควรภาคภูมิใจและต้องเอาใจช่วยบริษัทนี้ ไม่ใช่หาเรื่องจับผิดด้วยอคติ

เรียกว่าสยามไบโอไซเอนซ์ สถานภาพอาจเป็นเอกชน แต่เป็นบริษัทเอกชนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ 100% ซึ่งในประเทศไทย (หรือแม้กระทั่งในอาเซียน) ก็คงมีเพียงบริษัทเดียวนี่แหละที่ทำแบบนี้ได้ คือทั้งมีศักยภาพสูงพอ และไม่แสวงหากำไร และนี่ก็เป็นพระวิสัยทัศน์ของคนบนฟ้า เป็นอีกหนึ่งในมรดกที่นับไม่ถ้วนที่พระองค์ทิ้งไว้ให้กับพวกเราทุกคน

ปล. แล้วถ้าจะกล่าวหาว่าสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้ประโยชน์จากดีลนี้ (ซึ่งไม่มีเลย) ลองกดหาข่าวดู แล้วจะทราบว่าตั้งแต่ครองราชย์มาไม่กี่ปี ในหลวงและพระราชินี ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อการแพทย์ไปแล้วหลายพันล้านบาท ทั้งหมดเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนไทยทั้งสิ้น


ที่มา: เฟซบุ๊ก Warat Karuchit

มติ ครม. ‘เราชนะ’ เมื่อวันก่อนนี้ สร้างข่าวดีสำหรับประชาชนที่เดือดร้อนจากวิกฤตไวรัสโควิด 19 ‘เราชนะ’ หรือจะ ‘ไทยชนะ’ นั้นหมายถึงคนไทยทุกกลุ่ม ทุกภาคส่วนต้องชนะไปด้วยกัน

มติ ครม. ‘เราชนะ’ เมื่อวานนี้สร้างข่าวดีสำหรับประชาชนที่เดือดร้อนจากวิกฤตไวรัสโควิด 19 ‘เราชนะ’ หรือจะ ‘ไทยชนะ’ นั้นหมายถึงคนไทยทุกกลุ่ม ทุกภาคส่วนต้องชนะไปด้วยกัน แต่ในวันนี้ยังเหลือประชาชนอีก 1 กลุ่มที่กำลังรอความช่วยเหลือจากภาครัฐคือ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ SME ที่เป็นรากฐานเศรษฐกิจของประเทศ

วทันยา วงษ์โอภาสี สส.พรรคพลังประชารัฐ เผยว่า “พ.ร.ก. สินเชื่อ ซอฟท์โลน 500,000 ล้านบาทที่สภาอนุมัติไปเพื่อช่วยเอสเอ็มอีเมื่อตอนเกิดโควิด 19 รอบแรก ครั้งนั้นเดียร์เองก็ได้มีโอกาสอภิปรายถึงปัญหาของเงื่อนไขที่ ธปท. ออกเงื่อนไขใน พ.ร.ก. ที่มีแนวโน้มไม่สามารถปฏิบัติได้จริง แต่ด้วยความเร่งด่วนของ ธปท. ที่ต้องแก้ปัญหาจากการแพร่ระบาดโควิดที่วันนั้นเราไม่ทันตั้งตัว และไม่เคยมีประสบการณ์จึงเข้าใจได้ถึงข้อจำกัดที่เกิดขึ้น ซึ่งวันนี้ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าจากวงเงินสินเชื่อ 500,000 ล้านบาทนั้นถูกนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยได้เพียง 123,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 24.6% เท่านั้นซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย

“ดังนั้นในวันนี้ที่เราเห็นถึงข้อจำกัดของผู้ประกอบการ SME ในการเข้าถึงสินเชื่อโครงการ จึงอยากเสนอให้ ธปท. และ กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวนมาตรการต่างๆ

1. ให้ยืดหยุ่นเพดานดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์นำมาปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการจากเดิมที่กำหนดไว้ 2% เพื่อสร้างแรงจูงใจที่เพียงพอให้ธนาคารพาณิชย์นำสินเชื่อจากโครงการมาปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการ

2. ใน พ.ร.ก. ฉบับเดิมมาตรา 10 ที่กำหนดให้สถาบันการเงินชำระคืนเงินกู้ให้ ธปท. พร้อมดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ได้รับเงินภายใน 2 ปี อาจเป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิดเกินไม่สะท้อนความจริง ดังนั้นระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์ต้องชำระคืนเงินกู้ให้ ธปท. ควรขยายระยะเวลาออกไปเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว

3. ให้พิจารณาการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆใหม่ให้สอดคล้องตามความจำเป็นจากเดิมที่ ธปท. มีคำสั่งให้งดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมทุกประเภท

4. ยกเลิกวงเงินที่ให้กู้ยืมจากเดิมที่กำหนดวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 20% ของมูลหนี้ที่ผู้ประกอบการมีอยู่กับธนาคารพาณิชย์ในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เพราะการกำหนดวงเงินกู้ดังกล่าวเป็นอุปสรรคทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถได้จำนวนเงินที่เพียงพอเพื่อมาพยุงธุรกิจของตนเอง

5. นอกจากนี้อีก 1 สาระสำคัญใน พรก. สินเชื่อซอฟท์โลน 500,000 ล้านบาทนั้นคือ มาตรการชะลอการชำระหนี้ ที่วันนี้ผู้ประกอบการต่างเรียกร้องให้ทบทวนถึงการพักชำระหนี้อย่างแท้จริง คือขอให้มีการพักชำระหนี้เดิมและระงับการคำนวณดอกเบี้ยในระหว่างที่พักชำระหนี้

อย่างไรก็ตามการปรับปรุง พ.ร.ก. นั้น ก็เป็นเพียงการบรรเทาปัญหาเบื้องต้นเพื่อช่วยให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น แต่ในความเป็นจริงคนที่เดือดร้อนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบตั้งแต่แรกเสียด้วยซ้ำ หรือหลายรายที่ธุรกิจเริ่มประสบปัญหาจากพิษไวรัสโควิด19 ในวันนี้ก็ไม่อยู่ในความสามารถที่จะกู้ธนาคารเพิ่ม และธนาคารเองก็ต่างรัดเข็มขัดในการปล่อยสินเชื่อ

ในวันนี้สิ่งสำคัญที่สุดที่ภาครัฐจะต้องเร่งแก้ปัญหาเพื่อเยียวยา คือการหามาตรการรูปแบบเครื่องมือทางการเงินทุกวิถีทาง เช่น การจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเข้าเงื่อนไขการขอสินเชื่อจากธนาคาร เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เดือดร้อนได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ SME ที่วันนี้เปรียบเสมือนรากฐานเศรษฐกิจของประเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการกว่า 5 ล้านราย ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 14 ล้านคน เพื่อที่สุดท้ายแล้วเราทุกคนจะชนะไปด้วยกัน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top