Monday, 26 May 2025
NewsFeed

CEO กุลพรภัสร์ สร้างเศรษฐกิจชุมชน คว้ารางวัล ISB Award

(16 ก.ย. 67) บริษัท ดับเบิ้ล พี แลนด์ นิคมอุตสาหกรรมบลูเทคซิตี้ สร้างเศรษฐกิจชุมชน ดันโครงการทุ่งสมุนไพรป่าชายเลน สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น คว้ารางวัล ISB Award จาก การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จัดโครงการยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม สู่เกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กนอ. ในปี 2567 เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการธุรกิจที่มีศักยภาพ คำนึงถึงความสมดุลเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าสู่การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคมตามมาตรฐานสากล

โดยบริษัท ดับเบิ้ล พี แลนด์ จำกัด (Double P Land) ภายใต้การบริหารงานของ นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานบริหารนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทราบลูเทคซิตี้ ที่ได้ดำเนินโครงการ "ทุ่งสมุนไพรป่าชายเลน" มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนในพื้นที่รอบข้างได้นำความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปราชญ์ชุมชน มายกระดับพืชในท้องถิ่นให้เกิดมูลค่าเพิ่ม แก่ 3 วิสาหกิจชุมชน สร้างอาชีพกว่า 120 คน ปลูกต้นไม้เพิ่ม 15,000 ต้น จนได้รับการยอมรับว่าเป็นโครงการที่สร้างความยั่งยืนของการพัฒนาสังคม ชุมชน อาชีพ ได้อย่างแท้จริง

สำหรับโครงการดังกล่าว ได้ผ่านเกณฑ์การตรวจรับรองการประเมินผลของ กนอ. ที่ขึ้นทะเบียนเป็น I-EA-T Sustainable Business List 2024 พร้อมรับมอบประกาศนียบัตรในงาน ISB  Forum & Awards 2024

ทั้งนี้ ซีอีโอ กุลพรภัสร์ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า เรามุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม เพิ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อวิถีชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทยทุกคน ให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างมีความสุขและยั่งยืน

สมุทรปราการ - AOT ระดมกำลังช่วยเหลือผู้ประสบภัย จัดทีมจิตอาสาดูแลครบวงจร

(17 ก.ย. 67) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) ระดมเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) เร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยน้ำท่วมแบบฉับพลัน ประกอบด้วย เด็ก คนชรา ผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงผู้พิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในบริเวณชุมชนโดยรอบท่าอากาศยานและพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัด

นาวาอากาศตรี สมชนก เทียมเทียบรัตน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พร้อมกำชับให้ทีมจิตอาสาทุกคนดูแลความปลอดภัยของตนเองและของผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นสำคัญ ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง ซึ่งที่ผ่านมาพนักงาน ทชร.ได้ร่วมกันลงพื้นที่เข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยด้วยการนำเรือกู้ภัยทางน้ำเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมออกจากพื้นที่ การนำรถบรรทุกน้ำ (น้ำสะอาด) เข้าไปแจกจ่ายชุมชนโดยรอบ ตลอดจนการแจกจ่ายน้ำดื่มให้แก่ผู้ประสบภัย โดยกำลังพลจิตอาสาของ ทชร. ประกอบด้วย พนักงานส่วนดับเพลิงและกู้ภัย ส่วนบำรุงรักษา รวมทั้งส่วนรักษาความปลอดภัย

ทั้งนี้ AOT มุ่งสู่การดำเนินการและการจัดการท่าอากาศยานที่ดีระดับโลก รวมทั้งดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้แนวคิดการเป็นสนามบินที่เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของชุมชน (Corporate Citizenship Airport)

คิว-ข่าวสมุทรปราการ รายงาน

กระจ่าง!! เหตุใด ‘หน่วย SEAL’ ต้องฝึกโหดและหนัก

(17 ก.ย. 67) ครั้งหนึ่ง พ.อ.นายแพทย์ ภาคย์ โลหารชุน หรือ 'หมอภาคย์' นายแพทย์ใหญ่ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี จบหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม (มนุษย์กบ) SEAL/UDT รุ่นที่ 34 เคยให้มุมมองในช่วงหนึ่งของ Woody Live เมื่อปี 2562 เกี่ยวกับการฝึกหนักของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หรือที่ทั่วไปเรียก ซีล (SEAL) หรือ 'มนุษย์กบ' ซึ่งเป็นหน่วยรบพิเศษ สังกัดกองเรือยุทธการ ของกองทัพเรือไทย ที่ฝึกหนักที่สุดในบรรดาหน่วยรบพิเศษของทุกเหล่าทัพไทย ว่า...

หลายคนมองว่าทำไมหน่วย SEAL ถึงต้องฝึกโหดหรือฝึกหนักอะไรขนาดนั้น 

ผมได้เรียนรู้ด้วยตัวเองเลยว่า ทำไมเราต้องฝึกมาขนาดนั้น

เพราะการฝึกหนัก ทำให้เรามีความพร้อม

พร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ที่มันหนักหนาสาหัส ที่ไม่คาดคิดมาก่อน แต่เราก็ต้องทำ เพราะมันเป็นภารกิจ

นี่คือเป้าหมายของการฝึกหนักครับ

ตัวอย่าง เช่น ภารกิจ ถ้ำหลวง ที่ผ่านมา การดำน้ำทุกห้วงเวลา มีภาวะเสี่ยงกับชีวิตได้ตลอด

เสี่ยงที่จะสูญเสีย เสี่ยงที่จะเสียชีวิต

ความกลัว มีแน่ กลัวว่าจะตายหรือเปล่า มีแน่ มันแว่บขึ้นมาในหัวตลอด

แต่เราไม่หันหลัง เพราะนี่คือผลลัพธ์จากการฝึกของหน่วยซีล

‘สหรัฐฯ’ แจกทุนเรียนฟรี หลักสูตรพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ เพิ่มขีดความสามารถอุตฯ ชิปเวียดนามให้แกร่งสุดในภูมิภาค

อุตสาหกรรมด้านเซมิคอนดักเตอร์ของเวียดนามกำลังถูก ‘ติดปีก’ ด้วยแรงสนับสนุนอย่างดีจากชาติมหาอำนาจอย่าง ‘สหรัฐอเมริกา’ ด้วยการให้นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญในเวียดนามได้เรียนหลักสูตรเฉพาะทางด้านการพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ฟรี เพื่อนำความรู้มาพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนด้านนวัตกรรมภายใต้ชื่อ ‘Innovation and Technology Security International Program’ (ITSI) เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 1 ปี ของแผนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ และเวียดนามที่ได้เซ็นไว้เมื่อเดือนกันยายน 2566 ที่ผ่านมา

หลักสูตรด้านเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ เป็นของมหาวิทยาลัย Arizona State University จัดการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญสายตรงจากของสถาบันผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยหลักสูตรประกอบด้วยวิชาต่าง ๆ เช่น คุณสมบัติของเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูง วัสดุเซมิคอนดักเตอร์ วิธีการประกอบ และผลิตไมโครชิปอิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆ โดยจะให้สิทธิ์เรียนฟรีเฉพาะประเทศที่รัฐบาลกำหนดเท่านั้น ซึ่งตอนนี้มีอยู่เพียง 8 ประเทศ ได้แก่ คอสตาริกา อินเดีย อินโดนีเซีย เคนยา เม็กซิโก ปานามา ฟิลิปปินส์ และ ล่าสุด เวียดนาม

เป้าหมายของโครงการนี้ เพื่อกระจายความรู้ และขยายขีดความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ให้กับประเทศพันธมิตรที่ได้รับเลือกจากรัฐบาลสหรัฐฯ

หลักสูตรเปิดรับสมัครทั้งนักศึกษา อาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญที่สนใจด้านอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเดตอร์ และจะได้ใบประกาศนียบัตรด้านเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์หลังจบหลักสูตรด้วย 

เจฟฟรีย์ กอส หัวหน้านักวิจัยของโครงการ ITSI แห่งมหาวิทยาลัยแอริโซนา สเตท กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ จะเปิดโอกาสที่ยิ่งใหญ่ให้กับนักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญชาวเวียดนาม ได้การเข้าถึงหลักสูตรด้านเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ชั้นสูง ที่จะส่งให้เวียดนามมีโอกาสเติบโตขึ้นมาเป็นผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมนี้ได้ในอนาคต 

เช่นเดียวกันกับ มาร์ค แนปเปอร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำเวียดนาม ที่ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของโครงการนี้ว่า เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของเวียดนาม ที่จะเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ และยังส่งเสริมความร่วมมือที่ยั่งยืนระหว่างทั้งสหรัฐฯ และเวียดนามในระยะยาว 

ด้าน เหงียน ชี ดุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน ก็รับลูกต่อจากสหรัฐฯ ด้วยการตกลงที่จะผลักดันให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เป็นเสาหลักในความร่วมมือระหว่างเวียดนาม และ สหรัฐฯ อีกทั้งยังกล่าวชื่นชมความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ที่จะสนับสนุนเวียดนามในการสร้างระบบนิเวศเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งจะช่วยฝึกอบรมวิศวกรหลายหมื่นคน ป้อนสู่ตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ

ก่อนหน้าที่จะมีข้อตกลงความร่วมมือกับสหรัฐฯ เวียดนามก็มี ศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติ (NIC) อยู่แล้วภายใต้การดูแลของกระทรวงการวางแผนและการลงทุน ที่จัดโครงการฝึกอบรมด้านเซมิคอนดักเตอร์ร่วมกับบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น Qorvo, Cadence, Google, Siemens, Samsung และ FPT 

มาวันนี้ สหรัฐอเมริกาหอบลมใต้ปีกมาหนุนเวียดนามอย่างเต็มตัว ช่วยแบ่งปันองค์ความรู้ให้ รวมถึงขยายโอกาสในการลงทุนร่วมในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ร่วมกับเวียดนามในอนาคตด้วย จึงไม่เกินจริงที่จะกล่าวว่า ‘เวียดนาม’ จะกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวในด้านเศรษฐกิจ และศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในภูมิภาคนี้ ด้วยวิสัยทัศน์ และความทะเยอทะยานอย่างถึงที่สุดของรัฐบาลเวียดนามนั่นเอง

'ลิซ่า' อัด 'ประชาธิปัตย์' กระอักเลือดกลางสภา ไร้เงา สส.ปชป.ใช้สิทธิ์พาดพิง ชี้แจงข้อเท็จจริง

ผมไม่ใช่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ แต่มีพรรคพวกเพื่อนฝูงอยู่ในประชาธิปัตย์จำนวนมาก ทั้งนิพนธ์ บุญญามณี, สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล, สมชาย โล่สถาพรพิพิธ เหล่านี้เป็นต้น ไม่อยากนับ เทพไท เสนพงศ์ ที่ทุกวันนี้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ก็ยังไม่ชัดว่า อนาคตจะเดินไปทางไหน 'ส้ม' หรือ 'ฟ้า' หรือ 'น้ำเงิน'

แต่บอกตามตรงว่า 'เจ็บลึก' หรือเจ็บแสบเข้าไปในทรวง แม้ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์กับคำอภิปรายของ 'ลิซ่า' นางสาวภคมน หนุนอนันต์ สส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ซึ่งเป็นคนถิ่นฐานบ้านเดิมอยู่พัทลุง ลุกขึ้นอภิปรายในฐานะที่เป็นคนใต้คนหนึ่ง เมื่อวันที่13 กันยายน ที่ผ่านมา

เนื้อหาการอภิปรายตอนหนึ่ง ลิซ่าได้กล่าวพาดพิงถึงพรรคการเมืองหนึ่ง โดยไม่ระบุชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองใด แต่คนที่ฟังการอภิปรายก็สามารถรับรู้ได้ว่า หมายถึงพรรคการเมืองเก่าแก่อย่างประชาธิปัตย์ เพราะลิซ่าได้กล่าวถึงพรรคการเมืองน้องใหม่ล่าสุดเข้าร่วมรัฐบาลและเป็นพรรคการเมืองที่เคยเป็นคู่ต่อสู้กับระบอบทักษิณ และพรรคเพื่อไทยมาเป็นเวลาร่วม 20 ปี ได้ชวนคนภาคใต้ร่วมการต่อสู้กับระบอบทักษิณ แต่มาวันนี้ได้ละทิ้งอุดมการณ์ที่เคยมี ไปร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ซึ่งไม่ได้อยู่ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล แต่เป็นเพียงพรรคพลอยรัฐบาล ความหมายก็คือ ขออาศัยชายคาของพรรคเพื่อไทย เพื่อขอเป็นพรรคร่วมรัฐบาลด้วย

แหม…มันเจ็บในทรวง เจ็บเข้ากระดองใจกับคำว่า 'พลอยร่วม' ไม่รู้ว่าคนพรรคประชาธิปัตย์คิดอย่างไร แต่บางคนอาจจะกระอักเลือด เช่น ชวน หลีกภัย, บัญญัติ บรรทัดฐาน และแฟนคลับสายผู้อาวุโส

ตอนท้าย ลิซ่า ได้ขอบคุณพรรคเพื่อไทยที่ทำให้คนภาคใต้หูตาสว่างขึ้น และการเลือกตั้งในครั้งหน้า คนไทยทั้งประเทศและคนภาคใต้จะเลือกพรรคการเมืองที่มีสัจจะวาจา ตรงไปตรงมา หรือเลือกพรรคที่เอาประชาชนมาบังหน้า หรือพรรคสับปลับกลับไปกลับมา ก็ไม่รู้หมายถึงพรรคการเมืองไทย แต่น่าจะไม่ใช่ประชาธิปัตย์

ผมไม่ทราบว่าคนที่อยู่ในพรรคประชาธิปัตย์ปัจจุบัน และได้โหวตให้พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลจะรู้สึกอย่างไรบ้าง เพราะในที่ประชุมรัฐสภาไม่มีสส.พรรคประชาธิปัตย์คนใด ลุกขึ้นใช้สิทธิ์พาดพิง อภิปราย ชี้แจงข้อเท็จจริง และตอบโต้ลิซ่าเลย หรือเพราะว่าลิซ่าพูดความจริงจนจุกอก ไม่สามารถหาเหตุผลมาชี้แจงได้

คนในพรรคประชาธิปัตย์จะเจ็บจะปวดหรือไม่ ไม่ทราบ แต่เราในฐานะคนนอก มันรับไม่ได้จนแทบกระอักเลือดตาย

'กรณ์' ให้มุมมอง #เงินสดคือหนี้ หลังกลายเป็นไวรัลแพร่สะพัด ชี้!! 'ค่าเงิน' แม้ลดลงจากสภาวะเงินเฟ้อ แต่ก็มิใช่การเป็นหนี้ใคร

เมื่อวานนี้ (16 ก.ย. 67) นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

ผมไม่รู้เจตนาของผู้โพสต์ แต่ข้อดีของโพสต์ไวรัล '#เงินสดคือหนี้' คือ การฉุดให้คนคิดเรื่องเงิน เรื่องหนี้ เรื่องเงินเฟ้อ เรื่องการลงทุน เรื่อง compound interest ฯลฯ

ซึ่งจริง ๆ จะเรียกเงินสดเป็นหนี้มันไม่ถูกอยู่แล้ว อย่างเก่งคือ การถือเงินสดคือ การสูญเสียโอกาส ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเราเป็นหนี้ใคร

หากมีคน 100 คนเห็นโพสต์ไวรัลนี้ แล้วมี 80 คนงง ๆ แล้วก็ไถผ่านไป (พร้อมด่าอยู่ในใจ) แต่มี 20 คนที่หยุดคิด และจาก 20 คน มีสัก 2 คนที่มีคำตอบให้ตัวเองในเรื่องค่าของเงินที่จะลดลงจากสภาวะเงินเฟ้อ (ถ้าเราถือมันไว้เฉย ๆ) และความจำเป็นที่จะต้องแปลงเงินสดเป็นอย่างอื่นที่มีผลตอบแทน (เช่นเงินฝาก พันธบัตร หรือเงินลงทุน)...แค่นี้โพสต์นี้ผมถือว่าทำประโยชน์แล้ว!

🔍ส่อง 4 บริษัทยาในตลาดหุ้นไทย

ในช่วงปีที่ผ่านมา เราจะเห็นกระแสการรักสุขภาพ และการตระหนักรู้ด้านสุขภาพที่มากขึ้น ทั้งในหมู่คนไทยและต่างชาติ ที่สะท้อนออกมาให้เห็นผ่านเทรนด์การออกกำลังกาย อาหารเสริม รวมถึงยังมีการคิดค้นยาตัวใหม่ ๆ ที่ออกมา เพื่อรับมือโรคต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 

อย่างในประเทศไทย มูลค่าการใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ 6.0% ในปี 2567 จากการเป็นสังคมสูงอายุและความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนผู้ผลิตยาในไทยจะแบ่งออกเป็นองค์กรภาครัฐ และบริษัทยาภาคเอกชน ซึ่งการผลิตยาในไทย 90% จะถูกใช้ในประเทศ และอีก 10% จะเป็นการผลิตเพื่อส่งออก

และมูลค่าของตลาดยาทั่วโลกของปี 2024 อยู่ที่ราว ๆ 1,267 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 5.6% แบ่งสัดส่วนรายได้จากการผลิตยา แบ่งเป็นในอเมริกาเหนือ 40% ยุโรป 30% และเอเชียแปซิฟิก 23% 

วันนี้จะพาไปรู้จัก 4 บริษัทขายยาของไทยที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไทย และอีก 1 บริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดในโลกกัน จะมีบริษัทไหนบ้าง ไปดูกัน!!

จับตา ‘สรวงศ์’ เล็งคืนชีพ ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ แคมเปญแรงยุค 'ลุงตู่' หวังกระตุ้น 'ไทยเที่ยวไทย' กระตุ้นการจับจ่ายช่วงโลว์ซีซัน

เมื่อวานนี้ (16 ก.ย. 67) นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยภายหลังเข้าปฏิบัติหน้าที่ที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เป็นวันแรกว่า กระทรวงการท่องเที่ยวฯ มีไอเดียนำโครงการ 'เราเที่ยวด้วยกัน' กลับมาดูอีกครั้ง เพื่อเป็นหนึ่งในมาตรการส่งเสริมตลาดไทยเที่ยวไทย เพราะเป็นแคมเปญที่ช่วยกระตุ้นการจับจ่ายของนักท่องเที่ยว สร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการทุกระดับ แม้แต่ร้านอาหารขนาดเล็กก็ได้อานิสงส์ไปด้วย

"ต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแคมเปญลักษณะนี้อย่างละเอียดอีกครั้งว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง"

ก่อนหน้านี้ นายเทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม เดือน ส.ค. 2567 จัดทำโดย สมาคมฯ ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 19-30 ส.ค. มีผู้ตอบแบบสำรวจ 106 แห่ง พบว่า หนึ่งในมาตรการช่วยเหลือที่ผู้ประกอบการโรงแรมส่วนใหญ่ต้องการจากภาครัฐคือ มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวไทย

โดยเน้นกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว และเที่ยววันธรรมดา (วันอาทิตย์-วันพฤหัสบดี) กระตุ้นการท่องเที่ยวของลูกค้ากลุ่มประชุมและสัมมนามากขึ้น มีมาตรการเราเที่ยวด้วยกันเพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในช่วงโลว์ซีซัน รวมถึงประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทยให้กับลูกค้าต่างชาติอย่างต่อเนื่อง

‘พีระพันธุ์’ ถก ‘เอกนัฏ’ ประสานความร่วมมือ ‘พลังงาน-อุตสาหกรรม’ แก้ช่องโหว่กฎหมายเอื้อโซลาร์ทั่วถึง-ดันนิคมฯ SME ช่วยรายย่อย

(17 ก.ย. 67) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการหารือกับนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน วานนี้ (16 ก.ย.67) ว่า รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมหารือการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรม ทำอย่างไรให้ประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ลดขั้นตอน สร้างความสะดวก คล่องตัวให้กับประชาชน 

ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมเป็นกำลังหลักที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากที่เราต้องส่งเสริม สร้างโอกาส ให้ความสะดวก เติมทุนหนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อยกระดับธุรกิจให้เติบโต สร้างงานสร้างรายได้ เพื่อให้สามารถเดินต่อและแข่งขันได้อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภาพรวมอีกด้วย 

รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ ยังกล่าวต่อว่า ยังมีแนวคิดที่จะทำนิคมอุตสาหกรรมเพื่อธุรกิจขนาดเล็กขึ้น (นิคมฯ SME) เพื่อช่วยลดต้นทุน สามารถส่งต่อวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมได้ ทำให้การสนับสนุนเอสเอ็มอีทำได้สะดวกขึ้น รวมทั้งการเร่งแก้กฎระเบียบ กฎหมาย เพื่อให้สอดรับกับการดำเนินงานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย 

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญในการผลักดันการใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานสีเขียว โดยได้มีการแก้กฎหมายในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ไม่เข้าข่ายโรงงานที่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน จากเดิมที่กำหนดว่าหากมีกำลังผลิตเกินกว่า 1 เมกะวัตต์ เข้าข่ายเป็นโรงงานต้องขอรับใบอนุญาต โดยการแก้กฎหมายดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันให้ทุกภาคส่วนใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อยกระดับพลังงานไทยให้มีความเสถียร ยั่งยืน เป็นพลังงานสะอาด และราคาถูก ตอบสนองกติกาสากล ทั้งนี้ คาดว่าการปลดล็อกกฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ภายในปี พ.ศ. 2567 

รมว.เอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงอุตสาหกรรม จะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัย ตอบโจทย์การประกอบการและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย โดยการปรับการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ ซึ่งจะมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน การเพิ่มโทษอาญา พร้อมวางแนวทางในการปรับกฎหมายและภารกิจเข้าสู่ภาครัฐดิจิทัล สร้าง Ease of Doing Business (ความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ) โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎหมายแก้ช่องโหว่ในการส่งเสริมการประกอบการที่ดี การมีระบบ Digital แบบ One Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนให้กับผู้ประกอบการ และการจัดตั้งกองทุนเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมสู่อนาคต สร้างความยั่งยืนและฟื้นฟูเยียวยาผลกระทบที่อาจเกิดจากการประกอบการ ให้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ถือเป็นการเพิ่มเครื่องมือหนึ่งในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม

‘ดร.กอบศักดิ์’ ชี้!! 'Strength from Bottom' จะเป็นทางออกให้ไทย สู้กับปัญหาความเหลื่อมล้ำ

(16 ก.ย. 67) ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก สรุปช่วงหนึ่งในงานสัมมนา 'Big Heart Big Impact สร้างโอกาสคนตัวเล็ก...Power of Partnership จับมือไว้ ไปด้วยกัน' ของสำนักข่าวไทยพับลิก้าในหัวข้อ 'คนจนลง ภาพลวงตาของไทย ทางออกคือ? Move Forward, Just Do It' ระบุว่า...

ประเทศไทยหลงทางมานาน!!!

ยิ่งพัฒนา ยิ่งเหลื่อมล้ำ

ชุมชนยิ่งอ่อนแอ มีแต่หนี้ 

ทุกคนเรียกร้อง จะเอา 'สวัสดิการถ้วนหน้า'

แต่รัฐมีงบไม่พอ

แนวทางใหม่ในการพัฒนา

New Paradigm ที่เรียกว่า 'Strength from Bottom'

จะเป็นทางออกให้ไทย 

อ่านเนื้อหาเต็มเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่ >> งานสัมมนา ThaiPublica https://thaipublica.org/2024/09/kobsak-pootrakool-unleashing-power-of-communities/ 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top