Sunday, 19 May 2024
NewsFeed

คำต่อคำ 'ส.ศิวรักษ์-ศ.ดร.ไชยันต์' ถกประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุค 2475 การพูดคุยอย่างมีอารยะ ภายใต้ 'ข้อเท็จจริง-เหตุผลทางวิชาการ'

(6 พ.ค.67) หลังจากที่ภาพยนตร์แอนิเมชัน 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ (2475 Dawn of Revolution) ได้เปิดให้รับชมมาพักใหญ่ ก็ได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้น จนเกิดกระแสทั้งชื่นชมและวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง โดยหนึ่งในผู้วิจารณ์ คือ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ได้ทำการวิจารณ์ แอนิเมชัน 2475 อย่างรุนแรงโดยไม่มีเชิงอรรถอ้างอิง ส่วนใหญ่เป็นความเห็นส่วนตัวของอาจารย์สุลักษณ์เอง 

จนกระทั่ง ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสไปร่วมพูดคุยและสอบถามกับ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวลักษณ์ โดยมีเอกสารหลักฐานอ้างอิงจำนวนมากไปยืนยันในข้อสนทนาครั้งนี้

ล่าสุดยูทูบช่อง ‘Dhanadis - ธนดิศ’ ได้มีการเผยแพร่คลิปการสนทนาระหว่าง อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ในหัวข้อ 'วิวาทะประชาธิปไตย : รัชกาลที่ 7 กับ ปรีดี' เพื่อถกเถียง-แลกเปลี่ยนมุมมองที่สอดคล้องกับเรื่องราวในหนังผ่านคลิปความยาวกว่า 40 นาที ซึ่งมีเนื้อหา ดังนี้....

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: สวัสดีครับท่านอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ วันนี้ผมรู้สึกยินดีมากที่อาจารย์อนุญาตให้ผมและทีมงานเข้ามาบันทึกภาพและก็พูดคุยสนทนากับท่านอาจารย์ ในวันนี้ที่มาคุยกับอาจารย์นอกจากจะมากราบสวัสดีปีใหม่ไทย มีคําถามนะครับ สืบเนื่องมาจากที่อาจารย์ให้สัมภาษณ์กับทีมงานธนดิศ เกี่ยวกับเรื่อง แอนิเมชัน 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ แล้วก็เห็นอาจารย์ได้มีความเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่พระปกเกล้าฯ กําลังจะพระราชทานนั้น อาจารย์บอกว่ามีแต่เขียนไว้ให้มีนายกรัฐมนตรีเท่านั้น

แล้วตอนหลังผมก็โต้แย้งไปว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ นายเรมอนด์ สตีเวน ร่างร่วมกับพระยาศรีวิสารวาจา มันมีรายละเอียดมากกว่าแค่นายกรัฐมนตรี มันมีทั้งการพูดถึงสภา คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง รายละเอียดก็มีเยอะ ทีนี้ผมก็เลยไม่ทราบว่า ที่อาจารย์บอกว่า เอ๊ะ!! มีแต่เฉพาะนายกรัฐมนตรีเนี่ย มันคืออะไร

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: อันนี้คือผมพูดโดยสรุปนะครับ เพราะแน่นอนว่ารัฐธรรมนูญคงจะมีรายละเอียดมากกว่านั้น แต่โดยเนื้อหาสาระ อํานาจนั้นไปอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ อํานาจไม่ได้อยู่ที่ราษฎรเลย แม้กระทั่งการตั้งสภาองคมนตรีที่กําหนดเลือกให้มี 3 ปัญญาชนเข้าไปเกี่ยวข้อง ก็ปรากฏว่ามีแต่ขุนนางแทบทั้งนั้นเลย ... 3 ปัญญาชนมีสองคน เป็นพ่อค้าแต่ก็เป็นพระยาทั้งคู่ พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด-นายเลิศ) แกเป็นพระยาเหมือนกัน และแม้กระนั้นท่านสิทธิพร ก็เป็นกรรมการองคมนตรีสภาองคมนตรี

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: อาจารย์บอกว่าร่างรัฐธรรมนูญ อํานาจไม่ได้เป็นของประชาชนเลย แต่ว่าร่างฉบับนั้น มันมีให้สิทธิ์แก่ประชาชนในการเลือกตั้ง สส. ประเภทหนึ่ง คือ ในร่างรัฐธรรมนูญของพระยาศรีวิสารเขาจะบอกสภามี 2 แบบ แบบที่ 1 คือแบบแต่งตั้ง และ 2 แบบเลือกตั้ง โดยแบบเลือกตั้งนั้นในร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ได้กําหนดให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง อันนี้ก็ถือว่ายังให้อํานาจแก่ประชาชนนะครับ 

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ก็ใช่นะครับที่จริงเนี่ย ท่านต้องการจะให้เลือก สภาเทศบาลก่อน แล้วตอนนั้นก็รู้สึกจะดูฮ่องกงเป็นตัวอย่าง ก็ดูในหลวงจะดูที่เมืองขึ้น ดูที่อินเดีย, พม่า, ฮ่องกง ไม่อยากให้แพ้พวกเมืองขึ้น อยากจะออกมา ก็พูดกันอย่างไม่เกรงใจก็ไม่มีอะไรก้าวหน้ามากนัก แต่ท่านก็ตั้งใจนะครับอยากจะให้มันอย่างน้อยมีทีท่าเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แม้กระทั่งพวกเจ้านายผู้ใหญ่โดยเฉพาะสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ท่านคัดค้านมากเลย

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: อ่อ!! ก็แปลว่าร่างรัฐธรรมนูญก็มีเชื้อประชาธิปไตยอยู่บ้าง คือ ให้เลือกตั้ง ทีนี้ประเด็นที่บอกว่าสภาองคมนตรีที่อาจารย์บอกว่าไม่สามารถถวายคําแนะนําได้ แต่ที่ผมไปดูในเอกสารที่ นายเบนจามิน เอ.บัทสัน เขาไปค้นมา มันก็เป็นอย่างที่อาจารย์ว่านะครับ มันมีข้อถกเถียงว่าตกลงแล้วจะให้สภาองคมนตรีอยู่ในสถานะของ Consultative หรือ Advisory นะครับ คือถ้าเป็นแบบหนึ่งก็จะไม่มีไม่มีสิทธิ์ที่จะถวายคําแนะนําเลยแล้วแต่ว่าท่านจะขอเมื่อไหร่ แต่นี่หลังจากประชุมหารือถกเถียงกันแล้วปรากฏว่า เสียงข้างมากบอกว่า ให้สภาคมนตรี สามารถถวายคําแนะนําได้โดยที่กษัตริย์ไม่ต้องริเริ่มถาม แต่ว่าจะต้องได้เสียงของสมาชิกสภาองคมนตรี คือ ต้องโหวตกันก่อนเพราะฉะนั้นตรงนี้แปลว่าสภามนตรีมีสิทธิ์ถวายคําแนะนําหรือแม้กษัตริย์ไม่ได้ขอ ก็แปลว่าอันนี้คือ มีสิทธิ์ แต่ว่าเราต้องลงเสียง

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: มีแนวโน้มนะ รัชกาลที่ 7 ท่านก็มีแนวโน้ม ที่จะทําประชาธิปไตย ไม่ใช่น้อย

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: ประเด็นอีกประเด็นนึงที่อาจารย์ให้สัมภาษณ์ กับกรมขุนชัยนาทนเรนทร ในฐานะรับรองรัฐประหาร อันนี้อาจารย์บอกว่าหลัง 2475 รังเกียจเจ้ามาก แล้วก็มีเจ้าจํานวนหนึ่งหนีไป แต่ทีนี้ในบันทึกของนายพันโททหารฝรั่งเศสที่อยู่ในเหตุการณ์สมัยนั้น เขาบันทึกส่งไปที่กระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศสว่ากรมพระนครสวรรค์ถูกเชิญให้ออกไป คือไม่ได้หนี แต่ถูกเชิญให้ออก

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: เพราะว่าเมื่อตกลงกับพระปกเกล้าฯ ว่าเสด็จกลับมาแล้ว ทางคณะผู้ก่อการก็ยินดีปล่อยเจ้านายที่ขังเอาไว้ โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ แต่ว่าสมเด็จกรมพระนครสวรรค์เขาไม่ยอมปล่อย เพราะว่าท่านมีอํานาจมาก ท่านเคยเป็นแม่ทัพบกแม่ทัพเรือว่าการมหาดไทย ทุกคนกลัวท่านกันหมด ทํายังไงถึงจะให้ท่านไปได้ รัชกาลที่ 7 ท่านก็บอกอยากจะไปอยู่ต่างประเทศ ตกลงเท่าที่ผมทราบมา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ติดต่อหม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ โดยหม่อมเจ้าถาวรนี้ก็เป็นน้องเมียสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ และก็เป็นเพื่อนกับพระยามโนฯ ก็เลยกระซิบบอกพระยามโนฯ โดยหม่อมเจ้าถาวรบอกว่า ไอ้พวกก่อการเนี่ยมันหิว ต้องให้อะไรมันมั่ง ไม่ให้มันไม่ไปหรอก อันนี้ที่ผมได้ยินมานะครับ ท่านก็รับสั่งว่า ท่านรับใช้บ้านเมืองมาขนาดนี้แล้ว ยังจะเอาอะไรจากท่านอีกในเมื่อจะให้ไปอยู่ต่างประเทศ ท่านก็เอาเงินไปใช้งั้นก็เอาบ้านไปก็แล้วกัน

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: จะเป็นไปได้ไหมครับว่าคณะราษฎร ก็เกรงกลัวอํานาจอิทธิพลของกรมพระนครสวรรค์ ก็เลยคล้ายๆ อยากเนรเทศให้ออกไป ท่านไม่ได้หนีออกไป

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: เชิญเสด็จไป

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: อาจารย์ครับอันนี้มีผู้ติดตามประวัติศาสตร์การเมืองไทยฝากคําถามผมมา อยากให้กราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า อาจารย์มีความเห็นอย่างไรนะครับ ก็อาจจะไม่ต้องตอบทุกข้อก็ได้ ว่า...หากรัฐธรรมนูญที่รัชกาลที่ 7 จะพระราชทานไม่ใช่ประชาธิปไตย เพราะมีแต่เรื่องนายกรัฐมนตรี แล้วสิ่งที่เทียนวรรณเรียกร้องจะเป็นประชาธิปไตยอย่างไรในเมื่อไม่เคยพูดถึงการให้มีกฎหมายสูงสุดปกครองประเทศ เรียกร้องแต่สภา แต่ไม่ได้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ก็รู้เรื่องอังกฤษอยู่บ้างเพราะประเทศอังกฤษ ก็ไม่มีรัฐธรรมนูญ

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: จึงจะกล่าวในแง่มุมที่ปรีดี ผิดพลาด ท่านปรีดีทราบถึงความผิดพลาดหรือเลวร้ายมิได้ทําให้เราเข้าใจ

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ท่านพูดเองเลยนะครับ เรื่องข้อผิดพลาดของท่าน ท่านบอกตอนนั้นเนี่ยท่านยังไม่มีประสบการณ์พอ คิดในทางทฤษฎีมากไปแล้วที่ผิดพลาดสําคัญในแง่ของบ้านเมืองก็คือการเสนอ ปกเหลืองนะครับ ผมเข้าใจพระปกเกล้าฯ เขาไม่ได้อ่านหรอก พระยามโนฯ อ่านแล้วอ้างทําบันทึกสมุดปกขาวโต้ตอบ ปกเหลืองพูดกันตรงไปตรงมาตามแบบประชาธิปไตยเนี่ยผิดนะครับ เพราะในหลวงจะเขียนต้องมีผู้รับสนองพระราชโองการครับ แต่อันนี้คุณมโนฯ ก็อ้าง ในหลวงเขียน แล้วเขียนถึงขนาดว่า ไอ้ความคิดของหลวงประดิษฐ์เนี่ยเอามาจากสตาลิน ผมก็เชื่อว่าในหลวงเองก็ไม่เคยอ่านงานสตาลินแต่ว่าก็ถูกโจมตีมาก อันนี้เป็นจุดเด่นจุดด้อยสําคัญของอาจารย์ปรีดี เพราะท่านเห็นว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นประชาชนได้เสรีภาพแล้ว แต่ช่องว่างระหว่างคนรวยคนจน มากเหลือเกิน อยากจะให้คนรวยคนจนลดช่องว่างออกมา เพราะฉะนั้นก็รื้อให้มีรัฐสวัสดิการเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น 

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: ครับ แต่ว่ารัฐสวัสดิการเนี่ยในปี 1932 มันยังไม่ได้เกิดขึ้นในโลกนี้ 

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ยังครับ อังกฤษเกิด มี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: สวีเดนเนี่ยในปี 1932 ซึ่งเป็นรัฐสวัสดิการตามความเข้าใจในปัจจุบัน ทีนี้ประเด็นคือว่า ถ้าอาจารย์จะเอาความคิดเรื่องรัฐสวัสดิการของท่านปรีดี มาอธิบายเหตุผลเกี่ยวกับ เค้าโครงเศรษฐกิจ แต่จริงๆ แล้วเค้าโครงเศรษฐกิจนี้ มันมีลักษณะที่คล้ายๆ กับการที่รัฐเข้าไปจัดการควบคุมปัจจัยการผลิตหรือที่ดินคือ มันจะเหมือนของสตาลินทุกอย่าง เพียงแต่ว่าต่างกันตรงที่ว่า ของสตาลินไม่ได้บังคับซื้อ เพราะฉะนั้นก่อนหน้าที่อาจารย์ปรีดีเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจในปี 2476 มันน่าจะไปเหมือนในแนวคิดสังคมนิยมคอมมิวนิสต์มากกว่า ที่จะเป็นรัฐสวัสดิการรึเปล่า 

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ผมว่าอาจารย์ปรีดีมีแนวโน้มทางสังคมนิยมแน่นอนครับ แต่ไอ้คอมมิวนิสต์ไม่เป็นแน่ คณะกรรมาธิการก็จะมี 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษครับ แล้วก็มีผู้เชี่ยวชาญฝรั่งเศส ท่านซักใช้ไล่เรียนต่างๆ ข้อเขียนต่างๆ สรุปว่าอาจารย์ปรีดีไม่ใช่คอมมิวนิสต์

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง ผมก็อ่านไปเยอะ อาจารย์ก็มีความรู้เบื้องต้นหรือความรู้ที่ให้ภาพรวมเกี่ยวกับข่าวมากพอสมควรนะครับ คือถ้าคณะกรรมการที่ตรวจสอบ เค้าโครงเศรษฐกิจของปรีดีเนี่ย แน่นอนถ้าเอาคอมมิวนิสต์ ของคาร์ล มาซ์ก เป็นตัวตั้ง เค้าโครงเศรษฐกิจไม่เป็นคอมมิวนิสต์หรอกครับ เพราะว่าคอมมิวนิสต์มันจะต้องผ่านพัฒนาการนะครับในประวัติศาสตร์ ต้องผ่านขั้นตอนสังคมนิยมก่อน เพราะฉะนั้นถ้าเอาเกณฑ์คอมมิวนิสต์มาจับเค้าโครงเศรษฐกิจหรือเอาเกณฑ์คอมมิวนิสต์มาจับการเปลี่ยนแปลง ในรัสเซียในจีนหรือแม้กระทั่งทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีประเทศไหนเป็นคอมมิวนิสต์ แต่สังคมนิยมเนี่ยมันเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะไปสู่คอมมิวนิสต์ เพราะฉะนั้น ถ้าใช้คําว่าคอมมิวนิสต์ ตัวท่านปรีดีเองท่านก็บอกเขาไม่ได้เป็น มันไม่มีใครเป็นนะ แต่ว่ามันเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะนําไปสู่คอมมิวนิสต์ได้

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ผมก็เห็นด้วยในเรื่องนี้

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: ครับผมกราบขอบพระคุณอาจารย์ครับ อาจารย์เข้าใจว่า พระยามโนฯ เป็นคนเขียนไอ้สมุดปกขาวใช่ไหม

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ผมเข้าใจว่าอย่างงั้นนะครับ

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: ผมได้ไปเช็กเยอะเลย เพราะว่าต้นฉบับหาไม่เจอ ว่าเป็นลายมือใคร มันไม่มีจริงๆ ทีนี้ผมก็เลยไปถามนะครับ ถามคนที่เป็น ทายาทของสายรัชกาลที่ 7 คือ สายพระนางอําไพครับ ท่านก็ให้เหตุผลดีนะครับ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีบอกว่า ในขณะที่สมุดปกขาวออกมาหรือพระบรมราชวินิจฉัยออกมาและอ้างชื่อท่านเนี่ย ถ้าท่านไม่ได้เห็นด้วย ท่านก็คงต้องแย้งออกมาแล้ว และสํานวนเนี่ยเป็นสํานวนที่บอกว่าเป็นสํานวนรัชกาลที่ 7 ผมก็เลยไม่ทราบว่านี่คือความเห็นอีกฝั่งนึงที่บอกว่าน่าจะเป็นพระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 7 จริงๆ หรือพื้นฐานของผู้คนนะครับ คือ ผมอ่านหลายจุดแล้ว ก็พบว่าท่านมีความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์นะครับ แต่ถามว่าท่านจะเขียนเองได้ไหม พระองค์พระราชวินิจฉัย ถ้าเชื่อมโยงกับฐานอันนั้น มีความเป็นไปได้ที่ท่านจะเขียนสมุดปกขาวเอง แต่อันนี้อาจารย์ได้สรุปไปแล้ว ที่ผมก็ยอมรับนะครับว่าเนื่องจากมันไม่มีหลักฐานเราก็ต้องถือว่าเป็นการตีความได้ แต่กระนั้นก็ตามใครจะเขียนสมุดปกขาวก็แล้วแต่ อาจารย์คิดว่าเหตุผลหรือข้อโต้แย้งในสมุดปกขาวมีน้ำหนักไหมครับ

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: อันนี้มันอยู่ที่คนอ่านนะครับ ถ้าคุณอยู่ฝ่ายขวา คุณจะเห็นว่า สมุดปกเหลืองเป็นคอมมิวนิสต์แท้ๆ เลย แต่ถ้าคุณมีใจเป็นกลางคุณก็จะเห็นว่า ของอาจารย์ปรีดีเนี่ย ก็เป็นสังคมนิยมแบบอ่อนๆ เท่านั้นเอง เพราะคนที่เห็นด้วยกับอาจารย์ปรีดีในคณะกรรมาธิการ ก็คือหม่อมเจ้าสกลนะครับ หม่อมเจ้าสกลวรวรรณที่ เป็นพี่ของพระองค์ท่านเลย ท่านสกลเห็นด้วยเต็มที่เลยครับ ชัดเจน 

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: ที่อาจารย์พูดเมื่อกี้เนี่ย ที่บอกว่ามันแล้วแต่มุมมองพวกเขา ถ้าคนที่เป็นขวาก็จะมองว่าเป็นซ้าย คําว่าขวาของอาจารย์หมายถึงอะไร

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: คือพวกนี้ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง กลัวจะถูกริบที่ดิน ทั้งๆ ที่เขาเขียนชัดเจนว่าเขาจะขอซื้อที่ดินเท่านั้นเอง

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: ทีนี้ขวาที่ไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจอย่างเช่น พระยาทรงสุรเดช ท่านก็บอกว่าถ้าอยากจะให้รัฐเข้าไปทํานาเอง ทําไมต้องไปบังคับซื้อที่ดิน เพราะว่าที่ดินเนี่ยออกเยอะแยะ ที่เป็นที่ดินว่างเปล่า แล้วคนว่างงานก็เยอะแยะ ทําไมไม่ใช้ที่ดินที่ว่างเปล่าและคนว่างงานให้มาทํางานให้กับรัฐตามนโยบายของหลวงประดิษฐ์หรือท่านปรีดี...พระยาทรงเนี่ยจะเรียกว่าเป็นแนวที่ไม่ต้องการให้รัฐบังคับ จะเป็นเสรีนิยมเลยไหม

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: เจ้าคุณทรงฯ พูดตรงไปตรงมานะครับ ความรู้ทางทางเศรษฐศาสตร์นะท่านมีน้อยมาก ท่านรู้ชัดเจนคือเรื่องทหารเท่านั้นเอง แล้วไอ้ที่มาออกความเห็นเนี่ยก็เข้าใจว่า ถูกคุณมโนเป่าหูมา ผมเข้าใจว่าอย่างงั้นมากกว่า เพราะท่านไม่เคยรู้เรื่องเศรษฐกิจ

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: ทีนี้ที่อาจารย์บอกว่าหม่อมเจ้าสกลท่านเห็นด้วยกับเค้าโครงอันนี้ แต่ที่ผมได้ไปอ่านในรายงานการประชุมของคณะอนุกรรมาธิการหรือสมัยนั้นเค้าเรียกว่าคณะกรรมาธิการที่ประชุมเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2475 คือในนั้นหม่อมเจ้าสกล แกจะมีความเห็นคือ มันเป็นบันทึกไง ผมก็ไม่ได้ว่าเขาสรุปกันยังไงนะครับ มีบันทึกมีบางครั้งเนี่ยก็เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะเห็นด้วยกับบันทึกของโปรเฟสเซอร์ซิมเมอร์แมน ซิมเมอร์แมนคือใคร คือศาสตราจารย์ทางด้านสังคมวิทยาที่รัฐบาลพระปกเกล้าฯ ได้จ้างมาเพื่อให้สํารวจสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านเมืองไทยนะครับ เพราะฉะนั้นถ้าหม่อมเจ้าสกลแกเห็นด้วยกับซิมเมอร์แมนเนี่ย ก็แปลว่าแกก็เห็นด้วยกับพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งอาจารย์จะสรุปว่าผมหม่อมเจ้าสกลเห็นด้วยกับท่านปรีดีทั้งหมด มันก็ไม่ชัดเหมือนกันนะ...ทีนี้ถามว่าท่านปรีดีเอง ท่านได้เคยมีงานวิจัยหรือไปสํารวจความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปเหมือนกับที่โปรเฟสเซอร์ซิมเมอร์แมนได้ลงไปไหม

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ปรีดีนั้นเป็นลูกชาวนานะครับ แล้วพ่อท่านก็ถูกเอาเปรียบมาจากเรื่องที่ดินครับ ท่านก็เลยเห็นมาว่า ส่วนมากชาวไร่ชาวนาถูกเอาเปรียบมาก

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: อาจารย์ เคยอ่านงานของโปรเฟสเซอร์ซิมเมอร์แมนไหมครับ

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ไม่ได้อ่าน

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: คือในช่วงที่ โปรเฟซเซอร์ซิลเมอร์แมน แกสํารวจสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยในชนบทเสร็จแล้ว แกก็ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือ ทีนี้โปรเฟสเซอร์บันเนอร์หรืออะไรเนี่ยผมจําชื่อไม่ได้ แต่ว่าผมได้เขียนไปในเฟซบุ๊ก และแกได้เอางานวิจัยของโปรเฟสเซอร์ซิมเมอร์แมนมาตรวจสอบในฐานะนักวิชาการ ก็ปรากฏว่าในรายงานของโปรเฟซเซอร์ซิมเมอร์แมน เขาตระหนักถึงสิ่งที่อาจารย์พูดเมื่อกี้นี้เลยคือ เขากลัวมากเลยว่าเวลาเขาไปลงพื้นที่เนี่ยก็จะมีพวกข้าราชการคอยเอาผักชีมาให้โรยหน้าอะไรอย่างเงี้ยนะครับคือ ระวังตัวมาก พยายามที่จะระวังตัว เพราะว่าในแง่ของระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ก็รู้อยู่แล้วว่า จะต้องระวังไม่ให้ไอ้สิ่งที่เป็นข้อมูล ที่มันไม่ใช่ข้อมูลแท้ มันมีผลต่อเขา ซึ่งเขาก็ระวังอยู่นะครับ แล้วก็จะได้มาดูว่าตกลงแล้วไอ้สภาพการณ์หรือข้อสรุปที่เสนอพระปกเกล้าฯ แล้วกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในเหตุผลข้อโต้แย้งของสมุดปกขาวต่อปกเหลืองเนี่ยมันฟังขึ้นแค่ไหน นะครับ อันนี้ก็น่าจะเป็นความเจริญของวงการวิชาการนะครับ อาจารย์เห็นด้วยมั้ยครับว่าพระยาทรงฯ เสนอว่าอย่าไปบังคับซื้อที่ดินชาวไร่ชาวนาเลย แล้วก็อย่าไปบังคับชาวนาให้มาเป็นข้าราชการชาวไร่ทํานาให้กับรัฐบาลเลย แต่ว่าให้ไปเอาที่ดินรกร้าง เอาคนว่างงานมาทํา จะได้ทําให้เค้าโครงเศรษฐกิจของขุนหลวง ดําเนินไปได้โดยไม่ต้องไปบังคับซื้อที่ดิน

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ผมเชื่อว่าอาจารย์ปรีดี เค้าคิดแบบนั้นนะครับ ที่ดินก็จะใช้ที่ดินที่ว่างเปล่า ที่มันมีเจ้าของก่อนครับ ที่เหล่านี้ไม่เพียงพอแล้วค่อยค่อยขอซื้อจากชาวไร่ 

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: ชาวนาเค้าจะขายให้ครับ และเค้าจะซื้อด้วยราคานิติธรรม ซึ่งอันนี้มีการพูดจริงครับ เพราะว่าในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี ถ้าผมจําไม่ผิดวันที่ 28 มีนาคม 2475 หลังจากพระยาทรงฯ เสนอความคิดว่าขุนหลวง อย่าไปบังคับซื้อเลย ใช้ที่ดินว่างเปล่าดีกว่า ท่านก็เห็นด้วยครับ ท่านปรีดีก็เห็นด้วย แล้วมาโต้แย้งกันในประเด็นในเรื่องแบบว่า พักหนี้ เพราะว่ามีคนเสนอให้พักหนี้ประนอมหนี้นะครับ แต่แล้วอาจารย์ปรีดีไม่เห็นด้วย ที่ประชุมวันนั้นก็รายงานการประชุมก็ปิดไป อาจารย์ทราบมั้ยครับว่าตอนหลังได้มีการพยายามเอาเค้าโครงเศรษฐกิจเนี่ยไปเสนอในสภาผู้แทนราษฎรอีกทีนึง อันนี้ผมไม่รู้เรื่อง หลังจากที่คณะรัฐมนตรี ลงมติไม่รับนโยบายของอาจารย์ปรีดี แต่ไปรับนโยบายเศรษฐกิจของพระยามโนฯ หลังที่เกิดกบฏวรเดชแล้ว เค้าบอกท่านปรีดีเป็นอีกอีกท่านหนึ่งที่หนุนกฎหมายพิเศษ กฎหมายศาลพิเศษ การออกกฎหมายศาลพิเศษนี้ ถือว่าทําลายประชาธิปไตยหรือไม่

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: อันนี้ผมไม่ทราบ พูดตรงไปตรงมาว่าท่าน เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย อันนี้ผมไม่ทราบ

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: ครับและท่านก็ไม่ได้ขัดขวาง

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ผมไม่รู้เรื่องนี้ครับ ข้อด้อยของท่านปรีดีมีเพียงเล็กน้อย หนึ่งไอ้เรื่องสมุดปกเหลืองเนี่ยมันทําเร็วเกินไป สองเรื่องกรณีสวรรคตเนี่ยท่านใช้หลักรัฐศาสตร์ไม่ใช้หลักนิติศาสตร์ แล้วท่านถ้าท่านใช้หลักนิติศาสตร์คดีนี้เรียบร้อยสบายเลย ผิดพลาดเรื่องสวรรคตประมาณหมองูตายเพราะงู สิ่งที่ท่านผิดพลาดอีก ก็คือสิ่งที่เรียก กบฏวังหลวงทหารเรือ หักหลังท่านด้วยทหารเรือก็วางแผนร่วมจะร่วมแต่ว่า ท่านก็พลาดไป

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: เอ๊ะ!! ทําไมเมื่อกี้ที่อาจารย์บอกว่าในกรณีสวรรคต ถ้าท่านปรีดีเอาคน 7 คนสอบสวนตามกระบวนการกฎหมายก็จะจบละ แต่ว่าไปใช้หลักรัฐศาสตร์ใช่ไหม แล้วอาจารย์บอกว่ากรมชัยนาทเนี่ยส่ายหน้านี้หมายความว่าไม่อยากให้ไปแยกสอบ ข้อมูลอะไรที่อาจารย์ไปอ่านแล้วบอกว่ากรมชัยนาทไม่เห็นด้วย

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: เรื่องนี้อาจารย์ปรีดีเขียนไว้ชัดเจนเลยนะครับ เพราะว่ามันหลายอย่างพูดมันชัดเจนนะ น่าสังเกตเพราะสมเด็จพระราชชนนี ท่านเป็นพยาบาลมา ท่านก็รู้ว่ามันมี วิสามัญกรรมเกิดขึ้น ไปแตะต้องศพไม่ได้เลย ไอ้อะไรหลักฐานต่างๆ เก็บไว้นี่ท่านสั่งเลย ให้ไปฝังให้เปลี่ยนอะไรต่างๆ เนี่ยแสดงว่ามันมีอะไรที่มันไม่โปร่งใสเกี่ยวข้องอยู่ชัดเจน

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: เดี๋ยวประเด็นนี้เดี๋ยวผมค่อยไปค้นคว้าแล้วก็มากราบเรียนอาจารย์ทีหลังนะครับ เออเรื่องพระยาทรงสุรเดช กับความขัดแย้งกับท่านปรีดีเนี่ยอาจารย์คิดว่าเริ่มเมื่อไหร่

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ผมว่าคุณทรงท่านไม่มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์นะครับ แต่ตอนหลังเนี่ย คุณทรงเริ่มไม่ไว้ใจคุณพหลอะไรพวกนี้แล้วจริงๆ พหลมากับหลวงพิบูลย์อะไรท่านก็แหวกออกมา ก็เลยเป็นเหตุ

>> ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร: ในบันทึกของคุณประยูรภมรมนตรีนี่นะครับชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้าเขาบอกว่าพระยาทรงกับหลวงประดิษฐ์นี้แตกกัน 3 วันหลังที่เปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่แกนนําคณะราษฏรนําร่างรัฐธรรมนูญไปทูลเกล้าถวายพระปกเกล้าเนี่ย แล้วพระปกเกล้า พิจารณาแล้วก็เห็นว่ามันเป็นอะไรที่คล้ายกับทําไมต้องใช้คําว่า กรรมการราษฎร อะไรประมาณนี้ ทีนี้ พระองค์ ก็เลยถามพระยาทรงฯ ว่าท่านได้อ่านไอ้รัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือเปล่า พระยาทรงฯ ก็บอกว่า ไม่ได้อ่านนะครับ แล้วพระปกเกล้าฯ ก็ถามคุณประยูร คุณประยูรก็บอกว่าไม่ได้อ่าน แล้วถ้าในบันทึกของคุณประยูรก็บอกว่าพระปกเกล้าเสียใจนะครับ และคุณประยูรก็บันทึกว่าพระยาทรงฯ โกรธหลวงประดิษฐ์มาก ที่ร่างรัฐธรรมนูญออกมาแบบนี้ แล้วเขาก็บอกตั้งแต่วันนั้นมาเนี่ยคือแตกกันเด็ดขาด คุณต้องฟังหูไว้หูนะครับเพราะคุณประยูรคนนี้ 

>> อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์: เป็นคนสําคัญมาก ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองสําเร็จ ก็เพราะคุณประยูร ที่คณะราษฏรพัง ก็พระคุณประยูร เมื่อก่อนตอนอยู่วังบางขุนพรหม ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ก็หลงเขา ให้เขาเป็นคนเก่งคนหนึ่งเช่นเดียวกัน ไปบนฐานะให้เจ้าคุณมโนทุกๆ เช้าเลย ก็คือเวลาเขาเข้าใครเนี่ยประจบใครเนี่ยหลงทั้งหมดทุกคน แต่ก่อนเนี่ยเค้าก็อยู่วังบางพ้งพรหมทูลกระหม่อมบริภัทรก็หลงเขาให้เขาเขาเป็นคนเก่งหนึ่ง ก็เช่นเดียวกันครับ เขาเป็นคนหลายๆ เล่ห์หลายมุม

‘อ.สุวินัย’ โพสต์เฟซฟาด ‘โน้ส อุดม’ ที่พูดสนุกปาก ‘เรื่องความพอเพียง’ ย้ำ!! ขอเดินตาม ‘วิถีแห่งชีวิตศักดิ์สิทธิ์’ ที่พ่อหลวง ร.9 ได้ทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง 

(6 พ.ค.67) รองศาสตราจารย์ ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับกรณีที่ โน้ส อุดม แต้พานิช ได้ขึ้นเดี่ยวไมโครโฟน พูดถึงเรื่องของความพอเพียง อย่างผิดความหมายที่แท้จริง โดยได้ระบุว่า ...

หนทางพิสูจน์ม้า เวลาพิสูจน์อุดม

ทุกครั้งที่มึงหรือกูพิมพ์อะไร พูดอะไรในโซเชียล นั่นหมายถึงทั้งมึงและกูพร้อมแล้วที่จะให้คนอื่นเห็นสติปัญญาของมึงและของกู ได้เห็นธาตุแท้สันดานที่แท้จริงของตัวมึงและตัวกู

กูไม่ขอเป็น ‘คนรุ่นเก่า’ ที่หิวแสงและมุ่งเกาะกระแสคนรุ่นใหม่เพื่อเอาใจ...อย่างมึง

กูไม่ขอเป็น 'ทาสของความโลภ' ที่เที่ยวป่าวประกาศว่าตัวเองเป็น "คนไม่รู้จักพอ" แถมยังมาแซะหลักการเศรษฐกิจพอเพียง...อย่างมึง.

กูขอแสวงหา "ความรุ่มรวยทางจิตวิญญาณ" แทนที่จะแสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุ ผ่านการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายและพอเพียงโดยเต็มใจ

โดยไม่ตกเป็นทาสเงิน รวมทั้งทาสของโลกธรรม 8 ทั้งปวง...อย่างมึง 

กูกับมึงต่างกันตรงนี้ ทั้งในความเป็นมนุษย์และความเป็นลูกผู้ชาย ...

กูขีดเส้นแบ่งกับมึงตรงนี้ชัดเจนว่ากูกับมึงเป็นมนุษย์คนละสายพันธุ์กัน
เพราะกูไม่เคยเอาเรื่องของผู้หญิงที่เคยคบหาออกมาแฉบนเวทีการแสดงเพื่อให้เป็นเรื่องตลก หรือเป็นเหยื่อของเสียงหัวเราะอย่างที่มึงทำอย่างหน้าตาเฉย

คนที่ชื่นชอบมึง เชียร์มึง เป็นแฟนคลับของมึง ก็คงมีสันดานไม่ต่างกันเท่าไรหรอก 

‘เงิน’ สำหรับกู ต้องเป็นแค่เครื่องมืออย่างหนึ่งในการใช้ชีวิตของกูเท่านั้น

‘เวลา’ สำหรับกู ต้องมีไว้สำหรับทำหน้าที่ให้ถูกต้อง ในฐานะที่เป็น ‘ผู้ให้’ กับเพื่อฝึกฝนตนเองในสรรพวิชาต่างๆ เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่แท้ให้ถึงขีดสุดแห่งศักยภาพเท่านั้น

‘ความตาย’ สำหรับกู มันก็แค่การได้หยุดพักชั่วคราวจากการอาสาลงมาเกิด เพื่อสืบสานปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ชาติแล้วชาติเล่าเท่านั้น

นี่คือ ‘วิถีแห่งชีวิตศักดิ์สิทธิ์’ ที่พ่อหลวง ร. 9 ของกูได้ใช้ชีวิตทั้งชีวิตของท่านทำให้ดูเป็น ‘แบบอย่าง’ ให้ได้รู้ ได้เห็น ได้เจริญรอยตาม ‘วิถีชีวิตศักดิ์สิทธิ์’ แบบนี้แหละจึงจะสามารถตอบโจทย์วิกฤตสังคมของประเทศนี้ที่กำลังหลงทางและถูกจูงจมูกให้เดินลงเหวโดยพวกนักการเมืองได้จริง

เนื่องเพราะ ‘ชีวิตศักดิ์สิทธิ์’ เช่นนี้พึ่งพาเงินตรา อำนาจ ตำแหน่งหัวโขนใดๆ น้อยเหลือเกิน 

มันแทบไม่มีความจำเป็นด้วยซ้ำ เพราะ ‘ชีวิตศักดิ์สิทธิ์’ เป็นเรื่องของการยินยอมเลือกใช้ชีวิตอย่างสมถะ เรียบง่ายและพอเพียงโดยเต็มใจ

เพื่อมีชีวิตอยู่อย่างแข็งแรง อย่างรุ่มรวยทางจิตวิญญาณและทางปัญญาตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิตตนเท่านั้น

‘อ.เดชา’ โพสต์เฟซกรณี ‘เดี่ยวสเปเชียล’ ชี้ ‘บูลลี่’ ผู้อื่น มอง!! ‘โน้ส’ ‘ไม่แก่แต่ก็ดัดยาก’ ไปไกลเกินกว่าจะเตือน

(6 พ.ค.67) อ.เดชา ศิริภัทร (หมอเดชา) เจ้าของสูตรน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Deycha Siripatra เกี่ยวกับกรณี เดี่ยวสเปเชียล ของ โน้ส อุดม แต้พานิช โดยได้ระบุว่า

ได้อ่านข่าวเรื่อง ‘เดี่ยวสเปเชียล โน้ส อุดม’ ใน Netflix ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ‘ความพอเพียง’
โดยโยงกับพฤติกรรมของดาราและอินฟลูเอนท์เซอร์บางคน ที่ลงมือทำ ‘เกษตรพอเพียง’
รวมทั้งท่าทีของคุณ โน้ส เกี่ยวกับเรื่องนี้ ด้วยคำพูดว่า "กูเป็นคนไม่รู้จักพอ" ก็รู้สึกปลง
คือต้องทำใจแล้วว่า คุณ โน้ส ไปไกล เกินกว่าจะเตือนสติด้วยเหตุผล หรือข้อเท็จจริงใดๆ
เข้ากับภาษิตที่ว่า "ไม้แก่ ดัดยาก" เพราะคุณโน้สนั้น แม้อายุยังไม่มาก แต่ก็ ดัดยากแล้ว

การแสดงเดี่ยว หรือทอล์คโชว์ของคุณโน้ส นั้น มีผู้ติดตาม เพราะมีความตลก 
เป็นการตลก ที่มีการใช้คำพูดเป็นหลัก มีผู้วิเคราะห์ว่า เป็นคำพูดประเภท Bully ผู้อื่น
คล้ายๆกับรรดา ตลกคาเฟ่ ที่ใช้วิธีการตลก ด้วยการทำร้ายผู้อื่น (เช่นใช้ถาดฟาดหัว)
ตัวอย่างการ ตลกแบบ Bully (ด้อยค่า) ผู้อื่นของคุณ โน้ส คือ ‘เอา รปภ.มาขับเครื่องบิน’
ซึ่งก็คือ การ Bully (ด้อยค่า) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นั่นเอง

มาคราวนี้ คุณ โน้ส Bully (ด้อยค่า) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และผู้ดำเนินตามปรัชญาฯ
และประกาศตัวอย่างชัดเจนว่า "กูเป็นคนไม่รู้จักพอ" (แสดงความต่อต้านอย่างหยาบคาย)
คงพูดอย่างไม่อ้อมค้อมว่า คุณ โน้ส ไม่เข้าใจ ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ เลยแม้แต่น้อย
เช่นเข้าใจว่า พอเพียง คือรู้จักการบริหารทรัพยากร ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เป็นต้น

ในขณะที่ ความหมายตามพระราชดำรัส ร.9 คือ "... ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะตัวเอง"
ยังไม่ต้องกล่าวถึง ต้นกำเนิดของ ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’" ว่ามาจาก ‘มรรค’
จึงเป็นทางสายกลาง ที่มุ่งไปสู่ความพ้นทุกข์ โดยเน้นที่ข้อสัมมาอาชีวะ ที่พอดี
หรืออีกชื่อคือ เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ ที่มิใช่มุ่งความร่ำรวย หรือไม่รู้จักพอ (โลภ)

จึงไม่แปลก ที่คนจำพวก ไม่รู้จักพอ อย่างคุณ โน้ส จะไม่เข้าใจ เศรษฐกิจพอเพียง
ไม่แปลกที่คุณ โน้ส จะเข้าใจและเชื่อ เศรษฐกิจแบบ ‘ชิตังเม โป้ง รวย’ ของวัดธรรมกาย
และเชื่อว่า เมื่อรวยแล้ว ไม่ต้องปฏิบัติธรรม ก็ใช้เงินซื้อตั๋วไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้ง่ายๆ
ผมจึงรู้สึกปลง และทำใจกับพฤติกรรมของคุณ โน้ส ได้ ตั้งนานแล้ว

โรงแรมฮ่องกงชาร์จเพิ่มทุกเม็ด 'สบู่-แปรง-ยาสีฟัน'  ตามกฎหมายใหม่ฮ่องกง 'แบนพลาสติกใช้แล้วทิ้ง'

นักท่องเที่ยวจีนโวยหนัก เมื่อโรงแรมในฮ่องกงยกเลิกนโยบายแจกอุปกรณ์ ของใช้ในห้องน้ำฟรีให้กับแขกที่เข้าพัก ไม่เว้นแม้แต่โรงแรมระดับ 5 ดาว หากลูกค้าจำเป็นต้องใช้ 'แปรงสีฟัน - ยาสีฟัน - สบู่ - แชมพู' และอื่นๆ ที่โรงแรมเคยเตรียมไว้ให้เป็นชุดเซตเล็กๆ อย่างที่เราคุ้นเคยกัน ต่อไปนี้จะไม่มีอีกแล้ว ต้องจ่ายเพิ่มเท่านั้น 

โดยทางโรงแรมในฮ่องกงให้เหตุผลว่า จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายใหม่ Product Eco-responsibility Bill กฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องระเบียบข้อบังคับการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ที่เพิ่งผ่านสภาฮ่องกงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา

ซึ่งในกฎหมายฉบับล่าสุดนี้ระบุว่า ไม่อนุญาตให้โรงแรมและเกสต์เฮาส์จัดหาอุปกรณ์อาบน้ำแบบใช้แล้วทิ้ง และน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกในห้องพักแบบฟรีๆ อีกต่อไป 

นอกจากนี้ ยังห้ามผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบ Oxo (กลุ่มพลาสติกที่ย่อยสลายเร็ว) ยกตัวอย่างเช่น แปรงสีฟัน, ยาสีฟันแบบหลอด, หมวกอาบน้ำ, มีดโกนหนวด, หวี, สำลีปั่นหู, กระดาษชำระที่มาในห่อพลาสติก, แชมพู-ยาสระผม แบบขวดเล็ก, หรือแม้แต่น้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติก ก็จำเป็นต้องงดให้บริการ 

บางโรงแรมเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกอื่น เช่น น้ำบรรจุขวดแก้ว หรือ แปรงสีฟันที่ทำจากเตรียมไว้ให้แขก แต่นอกเหนือจากนี้ ลูกค้าที่ไม่ได้เตรียมของใช้ส่วนตัวมา ต้องซื้อเพิ่มเท่านั้น ซึ่งแต่ละโรงแรมก็มีเรทราคาของใช้ที่แตกต่างกันไป 

อาทิ โรงแรมหรูระดับ 5 ดาวอย่าง Hyatt กำหนดราคา หมวกอาบน้ำ 3 ชิ้น HK$15, ยาสีฟัน 1 หลอด HK$15, ชุดโกนหนวด HK$15 หรือหวีที่มาในราคา HK$30 (1 เหรียญฮ่องกง = 4.70 บาท) 

แต่สำหรับโรงแรมราคาประหยัดทั่วไปที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมกันนั้น ลูกค้าต้องซื้อเพิ่มทุกไอเทมไม่เว้นแม้แต่น้ำดื่มในห้อง ที่มาในราคาต่อชิ้น ชิ้นละ HK$ 5 - 10 ที่ทำให้นักเที่ยวจีนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่ไม่ใช่เรื่องของการรักษ์โลกแล้ว แต่เป็นธุรกิจชัดๆ 

นักท่องเที่ยวจีนรายหนึ่งบ่นผ่านสื่อโซเชียลจีนว่า นโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อมแบบใด มาชาร์จราคาของใช้กับลูกค้าที่เมื่อก่อนเป็นบริการฟรีของทางโรงแรมอยู่แล้ว และมีหลายคนที่มองว่า เป็นการอ้างเรื่องสิ่งแวดล้อมบังหน้าเพื่อหากำไร เพราะราคาห้องพักก็ไม่ได้ถูกลง แต่ลูกค้าต้องมาเสียค่าใช้จ่ายยุบยับเพิ่มอีกแม้แต่ค่ายาสีฟัน

ด้านโฆษกกรมพิทักษ์สิ่งแวดล้อม แสดงความเห็นผ่านสื่อว่า ทางฮ่องกงจำเป็นต้องออกกฎหมายฉบับนี้เพื่อลดปริมาณพาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง แล้วเข้าใจว่าข้อบังคับฉบับใหม่อาจไม่ถูกใจทุกคน ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะไม่เป็นปัญหาเลยถ้านักท่องเที่ยวเตรียมของใช้ส่วนตัวมาเอง  

ส่วนคำร้องเรียนเกี่ยวกับการชาร์ตราคาของใช้ในห้องน้ำของทางโรงแรมนั้น ทางโฆษกของกรมพิทักษ์สิ่งแวดล้อมกล่าวว่า กฎหมายระบุเพียงว่า ห้ามโรงแรมแจกผลิตภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วทิ้งแก่ลูกค้าเท่านั้น แต่ไม่ได้ระบุเรื่องการชาร์ตราคาของใช้เพิ่มของทางโรงแรม ดังนั้นทางโรงแรมจะตั้งราคาเท่าไหร่ หรือชาร์ตสิ่งของใดเพิ่ม ก็เป็นดุลยพินิจของผู้บริหารแต่ละโรงแรมเอง ไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายใหม่ฉบับนี้ 

และย้ำว่า นโยบายเรื่องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเริ่มมีมาแล้วทั่วโลก และการแบนผลิตภัณฑ์พลาสติกในอุตสาหกรรมโรงแรมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการโรงแรมในฮ่องกงควรให้ข้อมูลกับแขกผู้มาพักล่วงหน้า เพื่อให้เข้าใจถึงข้อห้ามการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกของทางฮ่องกง 

แต่ในอีกด้านหนึ่ง 'แคสเปอร์ จุย อิง-เว่ย' ผู้อำนวยการสมาพันธ์ผู้ประกอบการโรงแรมฮ่องกง กล่าวว่า ทางโรงแรมจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายฮ่องกงก็จริง แต่ก็อยากให้รัฐบาลฮ่องกงช่วยประชาสัมพันธ์เรื่องกฎหมายใหม่ แก่นักเดินทางด้วย แทนที่จะฝากหน้าที่ไว้กับผู้ประกอบการโรงแรมเพียงฝ่ายเดียว

ด้าน เพอร์รี อิว พัค-หลง ผู้แลกฎหมายด้านการท่องเที่ยว กล่าวว่าตอนนี้ยังเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการโรงแรมปรับตัวให้เข้ากับกฎหมายแล้ว และเชื่อว่าหลายโรงแรมกำลังมองหาสิ่งของ และ บรรจุภัณฑ์ทางเลือก ที่ไม่ใช่พลาสติก ที่มีราคาเทียบเท่ากับสินค้าเดิม อย่างยาสีฟันหลอด หรือ มีดโกนหนวด ที่ตอนนี้ยังหาค่อนข้างยาก 

แต่เชื่อว่าสามารถหาผลิตภัณฑ์อื่นที่ทดแทนพลาสติกได้ในอีกไม่นาน เพื่อบริการลูกค้าได้ฟรีเหมือนเดิม เพราะต้องยอมรับว่ากฎหมายใหม่มีผล กระทบกับการท่องเที่ยวฮ่องกงจริง จากกระแสความไม่พอใจของนักท่องเที่ยว ที่กระจายเต็มโซเชียลจีนอยู่ในขณะนี้ 

เพราะการรักษ์โลก ต้องแลกกับความไม่สะดวกสบายบ้าง แต่ถ้าจะให้ดี ควรมีโปรโมชันให้ลูกค้าหน่อยก็น่าจะดี เพราะไหนๆ โรงแรมก็ประหยัดต้นทุนค่า สบู่ แชมพู ยาสีฟัน และของใช้จุกจิก ที่เคยแจกให้ฟรีไปแล้ว ก็น่าจะคืนกำไรให้ลูกค้าหน่อย เสียงบ่นก็จะน้อยลงได้เอง 

‘ดร.เสรี’ ชี้ ‘ไทย’ สิ้นสุดความร้อนแรงแล้ว  เตรียมรับฝน ตั้งแต่วันนี้!! อุณหภูมิลดลงทุกพื้นที่

(6 พ.ค.67) รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหาร Futuretales LAB, MQDC และผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ออกมาไขคำตอบ ผ่านโพสต์บนเพจ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เรื่อง ‘Climate promise 2025 สัญญาสภาพภูมิอากาศ 2568’ อาจจะทำให้คนไทยเจ็บตัวบ้างไม่มากก็น้อย ทางออกของโลก และหนึ่งเดียวของไทยคืออะไร ?

ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 67 เราจะสิ้นสุดความร้อนแรงทั่วประเทศแล้ว โดยสัปดาห์นี้ พื้นที่ที่มีโอกาส 50-80% ยังคงมีอุณหภูมิสูง > 40°C จะเป็นพื้นที่ในภาคกลาง ได้แก่ จ.สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐมชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง นครสววรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร และสุโขทัย ส่วนพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี จ. นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และสระแก้ว แต่ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม อุณหภูมิจะลดลงตามลำดับ (ยังคงร้อนอยู่นะครับ) ในบางพื้นที่เริ่มมีฝนตกประมาณ 10-20 mm ต่อวันให้ได้รับความชุ่มชื้นบ้างโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ พอผ่อนคลายความร้อนได้มากน่ะครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้รับเชิญไปพูด แลกเปลี่ยนเรียนรู้หลายเวทีเช่น สถานทูตเนเธอร์แลนด์ (Amphibious transformation by design) การไฟฟ้านครหลวง (โลกเดือด) สำนักข่าวกรอง (การจัดการภัยพิบัติจาก Climate change) เพื่อชี้ให้ทุกหน่วยได้ตระหนักว่า เรากำลังเผชิญกับวิกฤติสภาพอากาศรุนแรงทั่วโลก คนไทยทั่วทุกภูมิภาคเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นอกเหนือจากผลกระทบต่อสุขภาพ ผลผลิตภาคเกษตรเสียหายรุนแรง โดย GDP ภาคการเกษตรสาขาพืช -6.4% (ทุเรียนสุกเร็วไม่หวานเสียหาย 30-40% มะพร้าวไม่ติดลูกเสียหาย 90% องุ่นให้ผล และน้ำน้อยเสียหาย 70% เป็นต้น) โลกจะไปอย่างไรต่อ ? คนไทยจะอยู่กันอย่างไร ? ภาคธุรกิจจะปรับตัวอย่างไร ? ภาครัฐจะมียุทธศาสตร์อะไร ?

ล่าสุด UNDP ได้ออกแคมเปญ ‘Climate promise 2025 สัญญาสภาพภูมิอากาศ 2568’ Dr. Cassie Flynn ผู้อำนวยการด้าน Climate change, UNDP ได้กล่าวเมื่อวันที่ 23 เมษายน ที่ผ่านมาว่า โลกยังมีความหวัง โดยทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง (Ambition, Acceleration และ Inclusivity) ผมฟังดูแล้วรู้สึกเหนื่อย และเป็นกังวลในฐานะคณะทำงาน IPCC ว่าเราจะเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร ? ในขณะที่ประเทศร่ำรวย 10 % มีส่วนสำคัญในการปล่อย GHG 60 % แต่ประเทศกำลังพัฒนากว่า 60% มีสัดส่วนการปลดปล่อยไม่ถึง 10%

ภายใต้แรงกดดันของสังคมโลก สงครามการค้า (Below 1.5°C by 2025) ภาครัฐ ภาคเอกชน และคนไทยต้องเจ็บตัวกันไม่มากก็น้อยน่ะครับ กลุ่มเปราะบางจะเปราะบางมากขึ้น ค่าครองชีพจะเพิ่มขึ้น จากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้น จากราคาอาหาร และวัตถุดิบต่างๆ ในขณะที่รายได้ไม่ได้เพิ่มขึ้น รัฐบาลจำเป็นต้องปรับแผนยุทธศาสตร์ สร้างความได้เปรียบบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ เปลี่ยนวิกฤติทั่วโลกให้เป็นโอกาส “ครัวของโลก” เปลี่ยนผ่านประเทศด้วยนวัตกรรมการปรับตัวภาคเกษตรกรรม 

"ทริปยุโรปครั้งแรกในรอบ 5 ปี 'สี จิ้นผิง' เลือกไปเยือน 'ฮังการี' จอมหัวแข็งใน NATO + 'เซอร์เบีย' สุดซี้จีนพร้อมชนในย่านนั้นด้วย"

(6 พ.ค.67) รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจจีน จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

ทริปยุโรปครั้งแรกในรอบ 5 ปี 🇨🇳 #สีจิ้นผิง เลือกไปเยือน 🇭🇺 #ฮังการี จอมหัวแข็งใน NATO + 🇷🇸 #เซอร์เบีย สุดซี้จีนพร้อมชนในย่านนั้นด้วยค่า

ไปเยือนยุโรปครั้งแรกในรอบ 5 ปี  แม้จะแวะปารีส 🇫🇷เป็นจุดแรก ผู้นำจีนไม่ได้ไปช้อปปิ้งหรือไปโชว์แฟชั่นอะไรนะคะ 🤭 หากแต่ทริปนี้  เพื่อ Strategic Opportunities !! 

นอกจากฝรั่งเศส #สีจิ้นผิง เลือกที่จะไปคุย/เตรียมการอะไรกับผู้นำ #ฮังการี และผู้นำ #เซอร์เบีย  ตัวพ่อจอมหัวแข็งพร้อมชนทั้งสองชาติในยุโรปเลยค่า 😅 #ปีมังกรดุ 

คงเดาได้นะคะ งานนี้ใครจะหนาววววว 🤭 

https://www.atlanticcouncil.org/blogs/new-atlanticist/what-to-look-for-as-xi-jinping-visits-france-serbia-and-hungary/

คงจำได้นะคะ #ฮังการี เคยหัวแข็งยืนกรานไม่ยอมให้ #สวีเดน เข้า NATO  ในที่สุด  กว่าจะเคลียร์จบ สวีเดนลุ้นด้วยใจระทึกกว่าจะเข้าเป็นสมาชิก #NATO ได้ค่าาา

จอมซ่าส์พร้อมชนแบบฮังการี 🤭 จีนชอบจ้า 
https://www.reuters.com/world/europe/hungary-set-ratify-swedens-nato-accession-clearing-last-hurdle-2024-02-26/

‘อ.สมชัย’ ชี้ ‘แบงค์ชาติ’ วิจารณ์ได้ แต่คนพูดก็ต้องถูกวิจารณ์ ย้ำ!! ต้อง ‘มีพื้นฐานความรู้-ปราศจากอคติ-มีตรรกะของเหตุผล’ 

(6 พ.ค.67) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘สมชัย ศรีสุทธิยากร’ เกี่ยวกับการวิจารณ์การทำงานของ ‘ธนาคารแห่งประเทศไทย’ โดยได้ระบุว่า ...

แบงค์ชาติ วิจารณ์ได้

แบงค์ชาติ เป็นสถาบันที่มีหน้าที่กำกับนโยบายด้านการเงินของประเทศ ดูแลอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ปริมาณเงินในตลาด และอัตราแลกเปลี่ยน ทำงานดีก็ต้องชม ทำงานไม่เข้าท่าก็วิจารณ์ได้

แต่การวิจารณ์ แบงค์ชาติ ต้องอยู่บนพื้นฐานความรู้ ปราศจากอคติ และมีตรรกะของเหตุผล เช่น จะบอกว่าประเทศไทยมีหนี้สาธารณะเยอะ เพราะการไม่ลดดอกเบี้ยธนาคาร ดูจะเป็นการเชื่อมโยงของสิ่งห่างไกลเกินไป

หนี้สาธารณะ (Public Debt) นั้น มาจากกู้ยืมเงินของรัฐจากการทำงบประมาณขาดดุล ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้สาธารณะ 11.4 ล้านล้านบาท จะลดลงต่อเมื่อเราตั้งงบประมาณใช้คืนมากขึ้น กู้ใหม่ให้น้อยลง หรือกู้มาลงทุนเพื่อให้มีรายได้มาใช้คืนไม่ใช่กู้มาแจก

หนี้ครัวเรือน (Household debt) ของไทย คือ หนี้ของชาวบ้านที่ไปกู้ยืมสถาบันทางการเงิน เช่น ผ่อนบ้าน ซื้อรถ กู้ยืมมาเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 16.8 ล้านล้านบาท หากมีอัตราดอกเบี้ยสูง ย่อมผ่อนคืนยาก ส่งต้นได้น้อย ส่งเท่าไรก็ส่งได้แต่ดอก 

เพราะดอกเบี้ยเงินกู้แบงค์ ประมาณร้อยละ 7 ส่วนดอกเบี้ยนโยบายตอนนี้ ร้อยละ 2.5 

แบงค์ชาติ วิจารณ์ได้ครับ แต่คนวิจารณ์แบงค์ชาติด้วยตรรกะที่ตื้นเขิน ก็ย่อมถูกวิจารณ์ได้เช่นกัน

รัฐบาลทหารเมียนมา เปิดเกมถลกหน้าปรปักษ์รัฐ จัดกลยุทธ์แยก 'น้ำดี-น้ำเสีย' ที่ไทยควรรู้เท่าทัน

หากใครติดตามสถานการณ์ของเมียนมาจะเห็นว่า เมียนมาเริ่มทยอยประกาศอะไรต่างๆ นานา ที่สร้างความหวาดหวั่นให้แก่ประชาชนของเขา โดยเริ่มจาก...

1. การประกาศเกณฑ์ทหารทั่วประเทศโดยเกณฑ์ทหารทั้งชายและหญิงที่อายุ ระหว่าง 18-35 ปี

ประกาศนี้สร้างความตระหนกให้คนพม่าจำนวนมากถึงกับหลายครอบครัวในพม่าส่งลูกหลานไปเรียนต่างประเทศเพื่อเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร ในขณะเดียวกันคนที่ไม่ได้มีเงินมากพอที่จะส่งลูกไปเรียนต่างประเทศก็จ่ายเงินให้กับสัสดีเขตเพื่อขอเลื่อนการเรียกตัวบุตรหลานเขาเข้าประจำการและสุดท้ายคือ กลุ่มที่มีแนวคิดต่อต้านกองทัพหลายครอบครัวเลือกที่จะหนีไปประเทศเพื่อนบ้านผ่านช่องทางธรรมชาติ

2. ประกาศระงับการเดินทางของผู้ชายออกไปทำงานต่างประเทศ แม้ประกาศนี้ไม่มีการประกาศออกมาชัดเจน แต่ก็สร้างความตระหนกให้กับคนพม่าในระดับคนทำงานอยู่พอสมควร

3. การทำบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดแบบ UID หรือ Unique Identifier ซึ่งนำมาใช้แทนบัตรเดิมและบัตรนี้ ในอนาคตจะผูกพันกับการทำทุกอย่าง เช่น การทำพาสปอร์ต ซื้อตั๋วรถโดยสารระหว่างเมือง ฯลฯ และอาจจะรวมถึงนำมาใช้ในการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นด้วย เพื่อป้องกันการโกงตามต่างเมืองในหมู่บ้านที่ห่างไกลในชนบทของเมียนมาที่เคยผ่านมา

แน่นอนเรื่องบัตรสมาร์ทการ์ดนี้จะเป็นอีก 1 กลยุทธ์ในการแยก 'น้ำดี-น้ำเสีย' ของฝั่งรัฐบาลพม่า เพราะนอกจากจะใชังานด้านต่างๆ แล้วบัตร UID สามารถเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากรรมได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการตรวจสออบว่าใครคือ ปรปักษ์ของกลุ่มรัฐบาลทหารเมียนมา

กลุ่มเรียกร้องกำลังถูกบีบมาให้ถึงทางตันที่จะต้องเลือกให้เข้าร่วมและเคลียร์ตัวเองให้บริสุทธิ์หรือจะอยู่อย่างคนไร้สัญชาติคอยซ่อนตัวอยู่ในไทยและประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมา

ไทยเราควรจะเริ่มกระตือรือร้นได้แล้ว เพราะตอนนี้มีผู้คนจำนวนมากจากฝั่งเมียนมาหลั่งไหลเข้ามาไทย ซึ่งตอนนี้ฝั่งเมียนมาก็เปิดธุรกิจเข้าไทยโดยวิธี Fast Track แบบไม่ต้องแสดงใบจองที่พัก เงิน หรือตั๋วเดินทางกลับพร้อมเจ้าหน้าที่ไปรับตั้งแต่ Gate จนพาออกมาพ้นจุดตรวจผ่านคนเข้าเมืองประดุจผู้ถือบัตร Elite Card ในราคาเพียงหลักพัน

สุดท้ายนี้คงต้องฝากความหวังไว้กับรัฐบาลไทยที่จะกวดขันเรื่องคอร์รัปชันในประเทศ อันจะส่งผลต่อไทยในระยะยาว แต่จะเป็นไปได้หรือไม่ เมื่อนายทุนของพรรคท่านนายกรัฐมนตรียังเข้ามาไทยท่ามกลางความกังขาของคนไทยส่วนใหญ่ในแผ่นดิน

‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์’ ถาม ‘ธนาธร’ ฮั้วเลือกตั้ง คือการสร้างประชาธิปไตย ? ด้าน ‘สว.สมชาย’ ตั้งข้อสังเกต อาจผิดเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ

(6 พ.ค.67) อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก ‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค’ เรื่อง ฮั้วกระบวนการเลือกตั้ง คือการสร้างประชาธิปไตย จริงหรือ? ระบุว่า แกนนำคณะก้าวหน้าวิจารณ์ว่า ระบบเลือก สว. นี้ออกแบบมาเพื่อ ‘กีดกันประชาชนไม่ให้มีส่วนร่วม’ ซึ่งต่อมาธนาธรได้กล่าวว่าการทำให้ประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตย การเมืองไทยกลับสู่ภาวะปกติ ต้องเริ่มต้นที่การเลือก สว. หากมี สว. ประชาชนที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยเข้าไปดำรงตำแหน่งมากพอ ก็จะช่วยถอดสลักและแก้ปมที่พันกันได้

สำหรับคำจำกัดความของ ‘สว. ประชาชน’ ของคณะก้าวหน้าคือ คนธรรมดาที่ ‘ฝักใฝ่ประชาธิปไตย’ และลงสมัคร สว. โดยไม่รับเงินทองและอามิสสินจ้าง คนที่ลงสมัคร สว. มี 3 ประเภทคือ 

1.คนที่สมัครเพราะต้องการเป็น สว. จริง ๆ 

2.คนที่สมัครแบบเป็นก็ได้-ไม่เป็นก็ได้ 

3.คนที่สมัครเพราะต้องการเข้าไปโหวต 

ซึ่งคน 2 กลุ่มหลังอาจไม่จำเป็นต้องเข้าไปแสดงตัวในเว็บไซต์ หมายความว่า ธนาธร รณรงค์ให้ประชาชนที่สนับสนุนแนวคิดของเขาสมัครเพื่อเป็นโหวตเตอร์ ใช่หรือไม่

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เปิดแคมเปญ “สว. ประชาชน” รณรงค์ให้ประชาชนผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย ไปลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

สำหรับ สว. ชุดใหม่จะมาจากการ ‘เลือกกันเอง’ ในกลุ่มอาชีพ 20 กลุ่ม และ ‘เลือกไขว้กลุ่ม’ โดยผู้สมัครต้องผ่านการเลือก 3 ระดับ จากอำเภอ ขึ้นสู่จังหวัด และประเทศ  โดยเขาเคยให้สัมภาษณ์ในรายการ ‘คุยนอกจอ’ กับ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ว่า ต้องการยอดผู้สมัครอย่างน้อย 1 แสนคนเป็นตัวเลขเป้าหมาย หากทำได้ก็จะได้เสียงส่วนใหญ่ของ สว.

ซึ่งนายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา เรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบคณะบุคคล/ตัวแทนพรรคการเมือง ที่มีกระบวนการรณรงค์ให้ประชาชนสมัคร สว. โดยระบุว่า “เข้าข่ายฮั้วในกระบวนการเลือกกันเองของ สว.” เนื่องจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2560 และพระราชบัญญัติ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. พ.ศ. 2561 ต้องสมัครเพื่อเป็น สว. ไม่ใช่สมัครเพื่อเป็นโหวตเตอร์

สรุป ธนาธร คนที่ประกาศว่า “ถ้าประเทศไทยยังเดินไม่ถูกทาง ยังไม่เป็นประชาธิปไตย ยังหาผู้นำทางการเมืองที่เหมาะสมกว่าผมไม่ได้ ถ้าต้องทำ (เป็นแคนดิเดตนายกฯ) ก็ต้องทำ” อันหมายความว่า ธนาธรเท่านั้นที่จะมาเป็นผู้นำเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ถูกต้อง หรือไม่

แต่การรณรงค์ให้ประชาชนที่สนับสนุนแนวคิดของตน ลงสมัคร สว.โดยไม่ต้องหวังจะสมัครเพื่อเป็น สว. แต่สมัครไปเพื่อจะได้มีสิทธิ์โหวตคนที่ตนเองหรือพรรคพวกของตนเองให้ได้เป็น สว.  ซึ่งนายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ตั้งข้อสังเกตว่า จะถือว่าเป็นการเข้าข่ายฮั้วในกระบวนการเลือกกันเองของ สว.ซึ่งผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ หรือไม่

คนที่มีแนวคิดแบบนี้นะหรือที่ประกาศว่าจะมาสร้างประชาธิปไตยให้กับประเทศไทย และประกาศว่าประเทศไทยต้องมีผู้นำที่ชื่อ ธนาธร เท่านั้นถึงจะเป็นประชาธิปไตย

'เดนมาร์ก' จ่อให้หญิงสาวอายุ 15 ปีทําแท้งได้ โดยไม่ต้องมีความยินยอมจากผู้ปกครอง

รัฐบาลเดนมาร์กประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (3 พ.ค.67) ว่าจะอนุญาตให้หญิงสาวสามารถทําแท้งได้จนถึง 18 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ แทนที่จะเป็น 12 สัปดาห์ เป็นการเปลี่ยนแปลงกฎหมายด้านการทําแท้งครั้งแรกของประเทศในแถบนอร์ดิกเป็นเวลา 50 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ หญิงสาวอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจะมีสิทธิที่จะทําแท้งได้โดยไม่ต้องมีความยินยอมจากผู้ปกครอง รัฐบาลลดอายุขีดจํากัดให้เป็นไปตามอายุที่ยอมรับในการมีเพศสัมพันธ์ของประเทศ

“การเลือกว่าจะทําแท้งหรือไม่เป็นสถานการณ์ที่ยากลําบาก และฉันหวังว่าเด็กหญิงจะได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองของพวกเธอ แต่ถ้ามีความไม่ลงรอยกัน สุดท้ายแล้วต้องเป็นการตัดสินใจของเด็กหญิงเองว่าเธอต้องการเป็นแม่หรือไม่” มารี เบเยอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลและความเสมอภาคเพศ กล่าว

ในปัจจุบัน หญิงสาวอายุต่ำกว่า 18 ปีสามารถทําแท้งได้ แต่ต้องมีความยินยอมจากผู้ปกครอง

กฎหมายสุขภาพฉบับแก้ไขจะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายนของปีหน้า (2568)

เดนมาร์กเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ในยุโรปตะวันตกที่เสนอการทําแท้งโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในปี 1973 แต่ก็อนุญาตให้ทําแท้งได้จนถึง 12 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิเท่านั้น ปัจจุบันหญิงสาวในเดนมาร์กจะสามารถทําแท้งได้เป็นเวลานานกว่าประเทศใดๆ ในยุโรปส่วนใหญ่

ตามหน่วยงานข้อมูลสุขภาพแห่งชาติเดนมาร์ก จํานวนการทําแท้งที่เกิดขึ้นในประเทศไม่ได้เพิ่มขึ้นในช่วงหลัง ในปี 2565 มีการทําแท้งทางการแพทย์ 14,700 ราย เทียบกับ 14,500 รายในปี 2557 จํานวนสูงสุดเกิดขึ้นในปี 2518 เมื่อการทําแท้งได้รับการยอมรับว่าถูกต้องตามกฎหมาย มีจํานวน 27,900 ราย

เมตต์ เธียเซน สมาชิกรัฐสภาจากพรรคประชาชนเดนมาร์กซึ่งเป็นพรรคป็อปปูลิสต์ ได้แสดงความเสียใจต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวว่า “เป็นวันที่แย่มาก กฎหมายใหม่ที่แย่มาก” เธียเซนกล่าวกับสถานีวิทยุโทรทัศน์ดีอาร์ว่า “มีความสมดุลที่ละเอียดอ่อนระหว่างสิทธิของหญิงในร่างกายของตน แต่ก็มีสิทธิในชีวิตของวิญญาณที่อยู่ในครรภ์ของแม่ด้วย”

ในเดือนมีนาคม ประเทศฝรั่งเศสได้กลายเป็นประเทศแรกของโลกที่รับรองสิทธิในการทําแท้งไว้ในรัฐธรรมนูญ ทําให้ 'สิทธิในการทําแท้ง' ในฝรั่งเศสกลายเป็น 'ไม่สามารถถอนกลับได้'


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top