Wednesday, 9 July 2025
NewsFeed

แพทย์เผย ‘ลุงชวน’ อาการดีขึ้น แต่ให้นอน รพ.ต่ออีกระยะ

หลังจากเมื่อวาน (28 มิ.ย.65) นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยอาการมีไข้ หนาวสั่น 

ล่าสุดมีอาการดีขึ้นแล้ว แต่แพทย์ยังให้นอนพักอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีอีกสักระยะ จนกว่าไข้จะลด และแข็งแรงขึ้น หลังจากวานนี้ (28มิ.ย.65) นายชวน เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยอาการมีไข้ หนาวสั่น โดยได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ผลการตรวจเป็นลบ ไม่พบเชื้อ
 

‘ครู’ วอน ‘ภาครัฐ’ ขึ้นค่าอาหารกลางวันเด็ก ชี้!! ควรเป็น 30 บาทต่อคนต่อวัน ถึงจะเพียงพอ

ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน
รวมไปถึงโครงการอาหารกลางวันของน้อง ๆ นักเรียน อย่างเช่น ที่โรงเรียนวัดหุบกระทิง ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี กำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้

>> อาหารยังอร่อย แต่ "หมู" น้อยลง
ด.ญ.พิมพ์ชนก ประเสริฐ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่าว่า ตนและเพื่อน ๆ ชื่นชอบแกงเขียวหวาน หนึ่งในเมนูอาหารกลางวันของโรงเรียนมากเป็นพิเศษ ด้วยมีรสชาติอร่อย นอกจากนี้ยังมี ยำหมูยอ ผัดกะเพราไข่ดาว ยำวุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ กระเพาะปลา เป็นต้น

แต่ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้โรงเรียนต้องปรับเปลี่ยนเมนูอาหาร เมนูที่มีส่วนผสมของหมูก็จะลดปริมาณ และนำเนื้อไก่ รวมไปถึงเนื้อสัตว์ชนิดอื่นมาทดแทน เพื่อให้ยังคงทำอาหารให้กับนักเรียนทุกคนได้อย่างเพียงพอ ซึ่งเข้าใจ แต่หากเป็นไปได้ ก็อยากให้ข้าวของถูกลงเพื่อที่โรงเรียนจะได้มีงบจัดซื้ออาหารให้กับนักเรียนได้รับประทานอย่างเช่นในอดีต

>> รัฐจัดงบเพิ่ม 5% จาก 20 บาท เป็น 21 บาท ต่อหัว!
ขณะที่ ดร.สุนันทา ปานณรงค์ ผอ.โรงเรียน เปิดเผยว่า โรงเรียนวัดหุบกระทิง เป็นโรงเรียนขยายโอกาส เปิดการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย ไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 490 คน แบ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย 56 คน ประถมศึกษา 1-6 จำนวน 310 คน และมัธยมศึกษา 1-3 จำนวน 124 คน

แม้ว่าปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีจะมีมติเห็นชอบให้มีการปรับค่าอาหารกลางวันของนักเรียนตั้งแต่ ชั้นปฐมวัย - ประถมศึกษา 6 เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 5 จากอัตราเดิมที่ 20 บาท/คน/วัน มาเป็น 21 บาท/คน/วัน โดยยึดหลักตาม Thai School Lunch ทว่างบประมาณในอัตราดังกล่าว ทางโรงเรียนยอมรับว่าไม่เพียงพอกับสถานการณ์ปัจจุบัน

'อัษฎางค์' ถาม!! หากการกราบไหว้ คือ ความไม่เท่าเทียม แล้ว 'ธนาธร' ก้มกราบไหว้-บูชาขอพร เรียกว่าอะไร?

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค’ ระบุว่า…

“การกราบไหว้ เป็นวัฒนธรรมการแสดงท่าทางที่อ่อนน้อมถ่อมตน มิใช่เรื่องความเท่าเทียมกันหรือเป็นระบบไพร่ทาส”

ถ้ากล่าวหาว่า การกราบไหว้คือ “ความไม่เท่าเทียมกันหรือเป็นระบบไพร่ทาส”

ภาพในหลวงก้มกราบพระสงฆ์ คืออะไร?
พระสันตะปาปาก้มลงจูบเท้าชาวบ้าน คืออะไร?

แม้นายธนาธร จะเคยกล่าวว่า “ผมไม่เชื่อว่าการกราบไหว้บูชา จะนำมาซึ่งความสำเร็จ” 

'สุริยะ' ชี้!! ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน 5 โต 7.46% คาด!! ศก.ภาคอุตฯ ขยายตัวอีกหลังจีนคลายล็อกดาวน์

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2565  ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.46 เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวหลังผ่อนคลายมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยว โดยสะท้อนได้จากอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.97 ชี้ภาคการผลิตรับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากการล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญของจีน สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาด!! การขาดแคลนวัตถุดิบเป็นผลกระทบระยะสั้น ส่วนภาคการผลิตจะขยายตัวหลังประเทศจีนเริ่มคลายล็อกดาวน์

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศคลี่คลายลงและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการอ่อนค่าของเงินบาทช่วยสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัว สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 7.46 โดยสะท้อนได้จากอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.97 ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมช่วง 5 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 0.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต 5 เดือนแรกอยู่ที่ระดับ 64.11 ทั้งนี้จำเป็นต้องจับตาดูสถานการณ์การล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญของจีนที่ทำให้เกิดปัญหา Supply shortage โดยเฉพาะการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดการณ์ว่าการขาดแคลนวัตถุดิบเป็นผลกระทบระยะสั้น ภาคการผลิตขยายตัวอีกครั้งหลังประเทศจีนเริ่มคลายล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา 

ด้านนางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2565 ปรับตัวลดลงที่ร้อยละ 2.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญของจีน ทำให้เกิดปัญหา Supply shortage โดยเฉพาะการขาดแคลน เซมิคอนดักเตอร์เพื่อใช้เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์และสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ โดยจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งในเดือนหน้าหลังประเทศจีนเริ่มคลายล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญ ในขณะที่การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องหลังจากภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้ประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตประจำวันและบริโภคได้ตามปกติมากขึ้น การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว สะท้อนได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อภาคการส่งออกทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก  ด้านสถานการณ์ความไม่สงบของรัสเซียและยูเครนมีผลให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาพลังงานและค่าขนส่ง ขณะเดียวกันภาพรวมสถานการณ์เงินเฟ้อเริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมขยายตัวที่ร้อยละ 11.8 เร่งตัวขึ้นจากเดือนเมษายนขยายตัวที่ร้อยละ 11.4

‘บิ๊กตู่’ ลั่น อยากลดราคาน้ำมันจะตายอยู่แล้ว ติดเป็นปัญหาทั้งโลก

(29 มิ.ย.65) ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จ.เชียงใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิด FTI EXPO 2022 : SHAPING FUTURE INDUSTRIES FOR STRONGER THAILAND โดยกล่าวตอนหนึ่งถึงวิกฤตพลังงานว่า…

วันนี้ปัญหาราคาพลังงาน ค่าขนส่งแพงขึ้น เพราะน้ำมันราคาแพงขึ้น ซึ่งเราซื้อเขามาและต้องผ่านกลไกต่าง ๆ อยู่แล้ว ทั้งหมดมีข้อบังคับและระเบียบเยอะแยะไปหมดและมีมาตรฐาน อีกทั้งนอกจากวันนี้พลังงานสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ก็มีปัญหาเงินเฟ้ออีก ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินการคลังของต่างประเทศด้วย

‘เจี๊ยบ’ จี้รัฐทบทวนแนวทางเยี่ยมผู้ต้องขังใหม่ หลังคนนอกรู้ช้า กรณีพยายามฆ่าตัวตายในคุก

กลุ่มเยี่ยมเพื่อนในเรือนจำ ยื่นหนังสือผ่าน ‘เจี๊ยบ อมรัตน์’ และ ส.ส.ก้าวไกล ร่วมตรวจสอบความโปร่งใสของกรมราชทัณฑ์ หลังเกิดกรณีนักกิจกรรมพยายามฆ่าตัวตายเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมจี้คืนสิทธิการประกันตัวให้ผู้ต้องขัง

อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล รับหนังสือจาก กลุ่มเยี่ยมเพื่อนในเรือนจำ ที่มาเรียกร้องให้ตรวจสอบความโปร่งใสของกรมราชทัณฑ์และกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในเรือนจำในกรณีต่าง ๆ 

อมรัตน์ กล่าวว่า ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ กมธ.ภายในวันนี้ (29 มิ.ย.) เหตุการณ์ทำร้ายตัวเองของนักกิจกรรมทางการเมืองมีลักษณะปิดข่าวจากกรมราชทัณฑ์ โดยเหตุการณ์เกิดตั้งแต่วันศุกร์ (24 มิ.ย.) แต่โลกภายนอกกว่าจะรู้เรื่องคือวันจันทร์ หากเกิดรุนแรงมากกว่านี้ ใครจะสามารถช่วยได้ทัน จึงขอให้กรมราชทัณฑ์และกระบวนการยุติธรรมทบทวนแนวทาง เรื่องการกำหนดคนเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในดุลพินิจของอธิบดีกรมราชทัณฑ์สามารถทำได้ แต่ที่ผ่านมามีการใช้ข้ออ้างเรื่องโควิดในการจำกัดการเข้าเยี่ยม ตอนนี้สถานการณ์คลี่คลายและกำลังกลายเป็นโรคประจำถิ่น กฎเกณฑ์ จึงควรผ่อนคลายได้ อย่าให้โลกประณามไปมากกว่านี้ว่า ประเทศไทยมีการนำกฎหมายอาญา ม.112 และระเบียบเรือนจำมาใช้ เพื่อเป็นเครื่องมือจัดการนักกิจกรรมทางการเมืองและผู้เห็นต่าง

“สภาแห่งนี้ ใช้งบสร้างกว่า 2 หมื่นล้านบาท เป็นสภาของประชาชน ทุกคนต้องเข้ามาใช้ได้ และควรใช้พื้นที่แห่งนี้พูดคุยกัน ไม่ใช่พอมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในสังคมแล้วต้องเรียกเข้าไปคุยในกระทรวงกลาโหม ประเด็นที่จะนำเข้าไปใน กมธ. คือ เรื่องสิทธิในการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังที่ถูกจำกัด เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรง กรมราชทัณฑ์อ้างโควิด และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในการจำกัดจำนวนเยี่ยม เป็นการทำให้ผู้ต้องขังที่ยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่เกิดความเครียดและทำร้ายตัวเองหรือไม่ จะต้องมีการตรวจสอบในเรื่องนี้”

'ชัชชาติ' ชื่นชมคนกวาดขยะ ช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัย แนะ!! คัดเลือกพนักงานดีเด่นทุกอาทิตย์

'ผู้ว่าฯ กทม.' เผยพนักงานฝ่ายรักษาความสะอาด เป็นหัวใจสำคัญของ กทม. ชี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยการดูแลเมืองให้ปลอดภัย พร้อมดูแลสวัสดิการให้เหมาะสม

(29 มิ.ย. 65) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อม และหัวหน้าฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะสำนักงานเขต ครั้งที่ 1/2565 โดยมี นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าฯกทม., นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม., นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกทม., นายเฉลิมพล โชตินุชิต รองปลัดกทม., ผู้บริหารกทม., ผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อม และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม โดยประชุมผ่านระบบทางไกล

สำหรับระเบียบวาระการประชุมมีเรื่องเพื่อทราบ 2 เรื่อง คือ 1. การขับเคลื่อนนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม 2. เป้าหมายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวตามโครงการ Green Bangkok 2030 

ส่วนเรื่องเพื่อพิจารณา มี 4 เรื่อง ได้แก่ 
1. นโยบายปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง
2. แนวทางการดำเนินโครงการตามนโยบายสวน 15 นาทีทั่วกรุง 
3. การพัฒนาแนวทางการเก็บขนมูลฝอย เพื่อสภาพแวดล้อมเมืองที่ดี จุดคัดแยกขยะถูกสุขอนามัย ไม่มีขยะตกค้าง 
4. การจัดตั้งจุดรับพลาสติกรีไซเคิล และขยะกำพร้าส่งคืนสู่ระบบหมุนเวียนใช้ประโยชน์ 'แยกเพื่อให้พี่ไม้กวาด'

นายชัชชาติ กล่าวว่า ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ เป็นหัวใจสำคัญของกรุงเทพมหานคร ที่จะดูแลประชาชน เวลาลงพื้นที่จะพบพนักงานกวาดตลอด ต้องดูแลพนักงานทั้งในส่วนของลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ ความมั่นคงในชีวิต ที่ได้ยินบ่อยคือ เป็นลูกจ้างชั่วคราวมา 10 ปีแล้วยังไม่ได้บรรจุ ต้องดูเรื่องความเป็นธรรมให้ดี ผลงานของพนักงานรักษาความสะอาดมีผลต่อผลงานของ กทม. พวกเขาคือโซ่ที่เชื่อมระหว่าง กทม. กับประชาชน ถ้าโซ่ที่เชื่อมนี้อ่อนแอ สุดท้ายเราก็ไม่สามารถดีกว่าโซ่ข้อนี้ไปได้ หัวหน้าฝ่ายต้องให้ความเมตตากับลูกน้องและปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

“พนักงานฝ่ายรักษาความสะอาด เป็นเหมือนหูตาให้กับเรา ช่วยดูเรื่องต่างๆ ให้เรา อาจจะดูเรื่องทางม้าลายให้ปลอดภัย ดูแลในเรื่องของจุดที่มีปัญหา อยากให้มีการจัดอบรมเพิ่มเติมเรื่องเทคโนโลยีพวกเขา อย่างระบบ Traffy Fondue ให้กับพนักงานรักษาความสะอาดทุกคน เพื่อให้เขาช่วยแจ้งเหตุ เมื่อเขาแจ้งมาเชื่อว่าทุกจุดได้รับการแก้ไขทั้งหมด เพราะทุกที่ในกรุงเทพฯ ต้องมีคนกวาด หน้าที่ของเขาไม่ใช่แค่ทำความสะอาด แต่หมายถึงการเป็นหูเป็นตาในการดูแลเมือง” ผู้ว่าฯกทม. กล่าว

'ตุรเคีย' เปลี่ยนใจ พร้อมสนับสนุน 'ฟินแลนด์-สวีเดน' เข้าร่วม NATO

ผู้นำตุรเคีย-สวีเดน-ฟินแลนด์ ได้เซ็นข้อตกลงไตรภาคีร่วมกันในงานประชุมประจำปีของสมาชิก NATO ที่กรุงแมดริด ประเทศสเปนในวันนี้ ว่าตุรเคียพร้อมที่จะสนับสนุนการเป็นเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ของทั้งสวีเดน และ ฟินแลนด์แล้ว

หลังจากที่ผู้นำตุรเคีย ราเซป ไทยิป แอโดแกน เคยคัดค้านมาโดยตลอด ด้วยข้อกล่าวหาว่า ประเทศนอร์ดิกทั้ง 2 ชาติสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของตุรเคีย แต่วันนี้เขาเปลี่ยนใจ?

นายเซาลี นีนิสเตอ ประธานาธิบดีฟินแลนด์ ได้ออกมาประกาศยืนยันการสนับสนุนของรัฐบาลตุรเคีย เพื่อเปิดทางสู่การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ NATO ส่วนทางตุรเคียก็ออกแถลงการณ์ว่า ตุรเคียได้สิ่งที่ต้องการแล้ว ที่จะเป็นข้อได้เปรียบของฝ่ายตุรเคียในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้าย

ว่าแต่สิ่งที่ตุรเคีย "ต้องการ" คืออะไร? 

ก่อนหน้านี้ที่ฟินแลนด์ และสวีเดน แสดงเจตจำนงค์ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO เนื่องจากหวั่นเกรงภัยคุกคามของรัสเซีย ที่กำลังรุกรานยูเครน อีกทั้งยังข่มขู่ฟินแลนด์ และ สวีเดน หากคิดจะเข้ากลุ่ม NATO 

แต่การจะได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลัง NATO จะต้องได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกปัจจุบันอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งตุรเคียได้ออกมาคัดค้านอย่างหัวชนฝา และกล่าวหาว่าทั้งฟินแลนด์ และ สวีเดน สนับสนุน และให้ที่พักพิงแก่กลุ่มนักรบชาวเคิร์ด หรือกลุ่ม PKK ที่มีเป้าหมายแบ่งแยกดินแดนตุรเคียเพื่อสถาปนารัฐเคอร์ดิสถาน และได้ก่อความไม่สงบในยุโรปมานานหลายสิบปีจนถูกขึ้นทะเบียนเป็น กลุ่มก่อการร้าย

เหตุใดจึงตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้า ‘กลันตัน-มักกะสัน’ เหมือนชื่อรัฐของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

‘สถานีกลันตัน - สถานีมักกะสัน’ ชื่อนี้มีที่มาอย่างไร?

ตอนนี้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าใน กทม. หลายสาย เช่น รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่มีชื่อสถานที่น่าสนใจสถานีหนึ่ง คือ ‘สถานีกลันตัน’ ที่มีชื่อสถานีดันไปเหมือนกับชื่อรัฐหนึ่งในมาเลเซีย นั่นคือ ‘รัฐกลันตัน’ หลายคนสงสัยว่าเป็นความบังเอิญหรือเปล่า ที่จริงไม่ได้เป็นความบังเอิญ แต่ชื่อ ‘สถานีกลันตัน’ กับ ‘รัฐกลันตัน’ มีความเกี่ยวข้องในแง่ประวัติศาสตร์จริง ๆ 

สยามในอดีตและปัจจุบันมีหลายชาติพันธุ์ และในกรุงเทพฯ เองก็มีหลายชุมชนของหลากหลายชาติพันธุ์ เช่น ชุมชนชาวญวน ชาวลาว ชาวเขมร ชาวโปรตุเกส ชาวมลายู ฯลฯ ที่จะพูดถึง คือ ‘ชุมชนชาวมลายู’ ซึ่งมาจากการเทครัวในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 - 3 แล้วมาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพฯ เช่น ชุมชนบ้านแขก ชุมชนมุสลิมมหานาค ชุมชนมุสลิมพระประแดง ชุมชนมุสลิมย่านรามคำแหง ชุมชนมุสลิมคลองแสนแสบ ฯลฯ 

ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 - 3 เกิดสงครามกับหัวเมืองมลายูขึ้นหลายครั้ง และเมื่อมีการทำสงครามสิ่งหนึ่งที่แถบอุษาคเนย์มักจะทำ คือ ‘การเทครัว (กวาดต้อนเชลยศึก)’ เพราะสมัยนั้นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด คือ ‘คน’ ช่วงเวลานั้นจึงมีการกวาดต้อนเชลยศึกชาวมลายูมายังกรุงเทพฯ และไม่ได้มาพร้อมกันแต่มาหลายรอบ

สมัยรัชกาลที่ 1 ปี 2329 กวาดต้อนเชลยศึกชาวปัตตานี (ปัจจุบันอยู่แถวแยกบ้านแขก และพระประแดง)
สมัยรัชกาลที่ 2 ปี 2364 กวาดต้อนเชลยศึกชาวปัตตานีและชาวไทรบุรี (เคดะห์) 
สมัยรัชกาลที่ 3 ปี 2381 กวาดต้อนเชลยศึกชาวกลันตัน ตรังกานู และหัวเมืองปักษ์ใต้อื่น ๆ

‘ชาวกลันตัน’ ที่ถูกกวาดต้อนมานี้ ไม่ได้มาจากเมืองกลันตันแต่อย่างใด แต่มาจากเมืองปัตตานี เพราะสมัยนั้นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองเมืองปัตตานี คือ ‘ราชวงศ์กลันตัน’ จึงมีชาวกลันตันที่อาศัยอยู่ในเมืองปัตตานีด้วย

'บิณฑ์-เอกพันธ์' เข้าช่วย 'โฆษิต นพคุณ' ชี้!! ลำบาก มีค่าครองชีพแค่เดือนละ 800

'บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์' เข้าช่วยเหลือ พร้อมแจ้งข่าวอดีตนักร้องดัง 'โฆษิต นพคุณ' ในวัย 82 ปี โดยบิณฑ์ให้รายละเอียดไว้ในเพจ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ของเขาว่า

บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ นักสังคมสงเคราะห์และนักแสดงชื่อดัง โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กระบุว่า..

"นักร้องในอดีตที่ทุกคนอาจจะลืมไปแล้ว"

สวัสดีครับเพื่อนๆ ครับ วันนี้ ผม และคุณ เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ ได้เข้าไปช่วยเหลือ นักร้องเก่าใน
อดีต ซึ่งมีผลงาน และบทเพลง ที่นักร้อง ในปัจจุบัน เอามาร้องใหม่หลายต่อหลายคน อย่าง
เช่น เพลง อย่าหลงบางกอก ลั่นทม อนิจจา และอีกหลายๆ เพลง ท่านผู้นั้นคือ “โฆษิต นพคุณ”

ปัจจุบันนี้ นักร้องท่านนี้ อายุ 82 ปี อาศัยอยู่ที่ จังหวัดราชบรี อำเภอ บ้านโป้ง ทุกวันนี้ มีรายได้
จากเงินค่าครองชีพ เดือนละ 800 บาท ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา 

เจอมรสุมโควิด ทำให้ไม่มีงานจากการร้องเพลง แต่ก็สามารถเอาชีวิตรอดมาจนถึงทุกวันนี้ ทุกวันนี้มีโรครุมเร้ามากมาย อยากได้กำลังใจจากมิตรรักแฟนเพลงทั้งในอดีต และปัจจุบัน อยากมีเงินสักก้อนนึง เอาไว้ดูแลตัวเอง ก่อนที่จะหมดลมหายใจเฮือกสุดท้าย ผมกับคุณเอกพันธ์ ได้ช่วยเหลือเบื้องต้น 20,000 บาท


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top