Saturday, 5 July 2025
NewsFeed

ดัชนี้ผลผลิตอุตสาหกรรม พุ่ง 8 เดือนติด คาดขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง จากอานิสงส์ส่งออกโต

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2565  ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ส่งผลให้ MPI 4 เดือนแรกปี 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.37 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน ส่งผลให้ MPI ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต 4 เดือนแรกอยู่ที่ระดับ 64.63 หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศคลี่คลายลงจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ ตามลำดับ ส่งผลให้การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมทางการเกษตร  

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศมีแนวโน้มคลี่คลาย ประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตประจำวันและบริโภคได้ตามปกติมากขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว สะท้อนได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อ ภาคการส่งออกทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถังและอากาศยาน) เดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 4.98 ในขณะที่สถานการณ์ความไม่สงบของรัสเซียและยูเครนได้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาพลังงานและค่าขนส่ง ด้านภาพรวมสถานการณ์เงินเฟ้อเริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเดือนเมษายนขยายตัวที่ร้อยละ 11.4 เร่งตัวขึ้นจากเดือนมีนาคมขยายตัวที่ร้อยละ 10.4
 

‘ชลน่าน’ ติง รัฐบาล จัดงบปี 66 วางยารบ.ใหม่ ลั่น!! โหวตคว่ำ ประชาชนเดือดร้อนน้อยกว่า

(31 พ.ค.65) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ว่า พรรคเพื่อไทยให้ความสำคัญและเตรียมพร้อมอย่างดียิ่ง การอภิปรายในแต่ละวันจะมีการแบ่งคนรับผิดชอบตามโจทย์ที่เราได้ตั้งไว้ และจะเจาะไปในประเด็นที่มีความผิดพลาดล้มเหลว โดยจะใช้คำว่ารัฐบาลหมดสภาพ หรือสิ้นสภาพต่อด้วยงบสิ้นหวัง ดังนั้นการอภิปรายวันแรก 7 ชั่วโมงกว่า ส่วนวันที่สองพรรคเพื่อไทยได้เตรียมความพร้อมผู้อภิปรายเกี่ยวกับการจัดงบประมาณโดยเฉพาะทางตันของงบประมาณปี 2566 และตามด้วยงบสิ้นหวังต่อ เนื่องจากมีรายการที่จะต้องพิจารณาเป็นจำนวนมาก โดยมีผู้อภิปรายประมาณ 30 คน 

ส่วนการอภิปรายวันที่สาม จะมุ่งเน้นไปที่งบส่อโกงและเติมด้วยงบสิ้นหวัง โดยผู้อภิปรายจะทำงานในลักษณะต่อเนื่อง แม้การอภิปรายจะมีการสลับกับฝ่ายรัฐบาลก็ตาม โดยให้ผู้อภิปรายในประเด็นเดียวกันอภิปรายติดต่อกัน ซึ่งทั้งหมดเป็นเหตุและผลที่พรรคฝ่ายค้านมีมติร่วมกันว่าเราไม่รับร่างงบประมาณฉบับนี้ โดยตนในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้เริ่มอภิปรายคนแรกเพื่อให้เห็นภาพรวมว่าเหตุใดจึงไม่รับร่างดังกล่าว และพรรคร่วมฝ่ายค้านมีมติเรียบร้อยแล้วว่าไม่รับร่างฉบับนี้ ซึ่งไม่รวมกับ ส.ส.ของพรรคเศรษฐกิจไทย เพราะเขาไม่ได้อยู่ในพรรคร่วมฝ่ายค้าน 
 

‘นักวิจัย’ ชี้!! 4 อารยธรรมอันตรายนอกโลก มีโอกาส 0.0014% ที่จะบุกรุกรานมนุษย์

สตีเฟน ฮอว์กิง นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักจักรวาลวิทยาชื่อดัง เคยกล่าวไว้ว่า การส่งข้อความจากโลกสู่ห้วงอวกาศอาจทำให้อารยธรรมมนุษย์ถูกทำลายได้ “หากมนุษย์ต่างดาวมาเยือนโลก ผมคิดว่าผลลัพธ์คงจะพอๆ กับตอนที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสลงจอดในอเมริกาครั้งแรก ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีนักสำหรับชนพื้นเมืองอเมริกัน”

คำพูดของฮอว์กิง มักถูกใช้เพื่อกีดกันการดำเนินงานของ METI (Messaging Extraterrestrial Intelligence) องค์กรวิจัยไม่แสวงหาผลกำไรที่สร้างและส่งข้อความระหว่างดวงดาวเพื่อสื่อสารกับอารยธรรมนอกโลก

ขณะที่งานวิจัยชิ้นใหม่ๆ กำลังพยายามพิจารณาว่าจริงๆ แล้วการพยายามติดต่อกับอารยธรรมต่างดาวนั้นอันตรายแค่ไหน? บนอวกาศอาจมีอารยธรรมมนุษย์ต่างดาวที่ชั่วร้ายอยู่หรือไม่? และมีโอกาสไหมที่ข้อความจากโลกจะถูกส่งไปยังอารยธรรมมนุษย์ต่างดาวที่ชั่วร้าย?

ตามการประมาณการของ เกลาดีโอ มักโกเน นักดาราศาสตร์ SETI ชาวอิตาลีเชื่อว่าอาจมีอารยธรรมมากถึง 15,758 อารยธรรมในทางช้างเผือก

กกต.รับรอง ‘ชัชชาติ’ เป็นผู้ว่าฯ กทม.แล้ว หลังคนกรุงเทคะแนนท่วมท้นกว่า 1.38 ล้านเสียง

ที่ประชุม กกต.ประกาศรับรอง ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ให้เป็นผู้ว่าฯ กทม คนที่ 17 แล้ว หลังได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนน 1,386,215 คะแนน  

วันนี้ (31 พ.ค.65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นประธานการประชุมกกต. ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom Cloud Meeting ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาผลคะแนนการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) และสมาชิกกรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 หลังการประชุมวานนี้ สำนักงานกกต. เสนอความเห็นต่อที่ประชุมว่ากรณีที่นายชัชชาติ ถูกร้องเรียนเรื่องป้ายหาเสียงอาจเข้าข่ายทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม จึงควรตรวจสอบเพื่อให้เกิดความรอบคอบ

โดยมีรายงานว่า การประชุมกกต.วันนี้ ที่ประชุมมีมติรับรองนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครหมายเลข 8 ในนามอิสระ ซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ด้วยคะแนน 1,386,215 คะแนน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
 

‘บิ๊กตู่’ ลั่น ประเทศชาติจะหยุดพัฒนาไม่ได้ ยก 10 เป้าหมาย ผลักดันพ.ร.บ.งบฯ ปี 66

‘บิ๊กตู่’ ย้ำพ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 66 มุ่งขับเคลื่อนและพลิกโฉมประเทศ วางรากฐานการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้มีผลเป็นรูปธรรม บรรลุวิสัยทัศน์ในการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน

เพจเฟซบุ๊ก ‘ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha’ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม โพสต์ข้อความ ว่า ...

พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักทุกท่านครับ

ช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 2 มิ.ย.65 นี้ ผมและคณะรัฐมนตรี รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคน มีภารกิจสำคัญร่วมกัน ในการช่วยกันผลักดัน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ซึ่งทุกท่านทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน แก้ปัญหาต่างๆ ให้กับพี่น้องประชาชน และวางรากฐานการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้มีผลเป็นรูปธรรม บรรลุวิสัยทัศน์ในการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืนให้กับบ้านเมืองของเรา

การจัดทำงบประมาณครั้งนี้ มุ่งเน้นให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เข้มแข็ง มีเสถียรภาพ โดยรัฐบาลได้พิจารณาปัจจัยรอบด้านจากภายในและภายนอกประเทศ ทั้งการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดที่มีแนวโน้มผ่อนคลายลง และการบริหารจัดการผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน โดยงบประมาณนี้ จะนำไปขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ในการดูแลพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งผมขอยกตัวอย่างตามกลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรมสำคัญ ในปีงบประมาณหน้าได้อย่างน้อย 10 ประการดังนี้

1. กลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ: (1) มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการศึกษา เพื่อรองรับโลกดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 (2) ส่งเสริมการเติบโตอย่างสมวัย เช่น การสนับสนุนนม และอาหารกลางวันให้เด็กวัยเรียน 5.04 ล้านคน (3) ลดภาระผู้ปกครอง โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 9.68 ล้านคน (4) สร้างความเท่าเทียม เช่น ช่วยเหลือเด็กผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส 2.68 ล้านคน ผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ (5) พัฒนานักกีฬาของชาติ ตั้งแต่ระดับเยาวชน เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬาอาชีพ ไม่น้อยกว่า 30,000 คน เป็นต้น  

2. กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบาง ที่เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง: (1) สนับสนุนเบี้ยเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี 2.5 ล้านคน (2) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 11.03 ล้านคน (3) เบี้ยยังชีพคนพิการ 2.09 ล้านคน (4) เสริมสร้างทักษะอาชีพเพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้ 12,000 คน (5) ส่งเสริมการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะสำหรับคนพิการ 20,000 คน (6) พัฒนาศักยภาพคนไร้ที่พึ่งและคนขอทาน 98,930 คน และ (7) สร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย เช่น บ้านพอเพียง 25,000 ครัวเรือน บ้านมั่นคง 3,750 ครัวเรือน และอาคารเช่าอีก 1,087 หน่วย 

3. กลุ่มพี่น้องเกษตรกร ที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ: เราจะให้ความสำคัญสูงสุดในการยกระดับภาคเกษตรกรรมสู่ "เกษตรอัจฉริยะ" (Smart Farmer) โดย (1) สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ และส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง 7.92 ล้านครัวเรือน (2) การถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่และเกษตรอัจฉริยะใน 40 ชุมชน (3) บริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) จำนวน  71,540 ไร่ (4) ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเข้าสู่ระบบมาตรฐานความปลอดภัย 240,500 แห่ง (5) ส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ 3,023 แปลง 201,000 ไร่ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องช่วยแก้ปัญหาพื้นฐานของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย เช่น การมอบสิทธิในที่ดินทำกิน 20,000 ราย และการลดดอกเบี้ยเพื่อการเกษตร 353,400 ราย
 

‘เจษฎา’ แซะ 'จักรทิพย์' โพสต์วิธีแก้น้ำท่วมกรุง หรือว่าเตรียมความพร้อมสำหรับเลือกตั้งใหม่

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ แชร์โพสต์เฟซบุ๊กของ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งโพสต์ข้อความ “หาที่ให้น้ำอยู่ หาทางให้น้ำไป ปัญหาน้ำท่วม ผมจะใช้ระบบ AI วัดระดับปริมาณน้ำ และมี Application แจ้งเตือน”

โดย รศ.ดร.เจษฎา ระบุว่า “อยู่ๆ คุณจักรทิพย์ ก็ออกมาโปรโมตแนวคิดแก้ปัญหา กทม.ใหญ่เลย หลังจากจบการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไปแล้ว หรือว่าเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งใหม่ครับ”


ที่มา: https://mgronline.com/uptodate/detail/9650000051640

‘พิธา’ เปรียบงบ 66 เหมือน ‘ช้างป่วยที่เต้นระบำไม่ได้’ ยัน!! ควรทำให้ดี เพื่อชี้ชะตาไทยใน 10 ปีข้างหน้า

(31 พ.ค.65) พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในฐานะหัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงินงบประมาณ 3,185,000 ล้านบาท ว่า ครั้งนี้คือ การอภิปรายงบประมาณครั้งสุดท้ายของการจัดสรรงบประมาณ โดยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งงบประมาณคือภาพสะท้อนว่า ประเทศของเราให้ความสำคัญกับอะไร ทุ่มทรัพยากรลงทุนไปกับเรื่องไหน และจากการลงทุนในวันนี้ อนาคตของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร

“พรรคก้าวไกลให้ความสำคัญกับการจัดทำงบประมาณอย่างมาก เรานำเทคโนโลยีมาใช้แปลงเล่มงบประมาณ 2 ลัง 20,000 หน้า ให้กลายเป็นไฟล์ CSV เพื่อง่ายต่อการนำข้อมูลมาใช้ เราใช้การมีส่วนร่วมจากประชาชนมาร่วมกันวิเคราะห์ มีตั้งแต่ข้าราชการไปจนถึงน้อง ม.5 ที่มาช่วยกันถอดงบตั้งแต่ในด้านการศึกษา สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ทำให้พบว่าประเทศไทยนี้เป็นประเทศเจ้ายศเจ้าอย่าง เป็นประเทศแห่งการประชุม หากลองใส่ keyword ลงไปในไฟล์ คำว่า ‘รับรอง’ ขึ้นมา 380 ล้านบาท ใส่คำว่า ‘เบี้ยประชุม’ ขึ้นมา 940 ล้านบาท ใส่คำว่า ‘สัมมนา’ ขึ้นมา 4,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศไทยยังเป็นรัฐของผู้รับเหมาด้วย ซึ่งสะท้อนจากงบก่อสร้างที่มีอยู่ในงบประมาณหลายแสนล้านบาท”

พิธา ยังย้ำว่า ปีนี้คือจุดตัดสำคัญและเป็นปีแห่งการฟื้นฟู เพราะวิกฤต Covid ทั่วโลกกำลังคลี่คลาย เราเพิ่งมีการเลือกตั้งที่กรุงเทพมหานครที่ทำให้ประชาชนมีความหวังผ่านการเลือกตั้ง และที่สำคัญก็คือกำลังจะครบ 8 ปีการดำรงค์ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่อาจจะทำให้ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกต่อไป การจัดงบประมาณในปีนี้ จึงมีความสำคัญมาก ต้องมียุทธศาสตร์มากกว่าปกติ ต้องสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ในการฟื้นฟูประเทศ เพราะถ้าเราจัดได้ดีประเทศก็จะไปได้ดีในอีก 10 ปีข้างหน้า แต่ถ้าเราไม่ปรับตัวอีกหลังจากทศวรรษที่สูญหายเพราะการมีผู้นำประเทศอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ และระบอบ คสช. แล้วยังจัดงบประมาณแบบเดิมๆ ความหายนะที่เกิดขึ้นกับประชาชนจะตามมาและลูกหลานอนาคตก็จะพัฒนาไม่ได้

พิธา กล่าวต่อไปว่า ภาพรวมของงบประมาณปี 66 เป็นเหมือน ‘ช้างป่วยที่เต้นระบำไม่ได้’ ในขณะที่เรากำลังเจอสถานการณ์รายได้ผันผวน รายจ่ายแข็งตัว การกู้ที่จะมีต้นทุนมากขึ้น ในเรื่องของรายจ่าย ส่วนใหญ่ยังใช้งบไปเพื่อเป็นรายจ่ายบุคลากรที่สูงถึง 40% อีกส่วนเป็นงบที่เอาไว้ชำระหนี้ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นงบบุคลากร ใช้หนี้สาธารณะ ใช้หนี้นโยบาย หนี้ ธกส. สุดท้ายเหลือจริงๆ แค่ 1 ใน 3 เพื่อเอาไว้รับมือกับปัญหาปีต่อปีและความท้าทายในอนาคต

ต่อมา เรื่องรายได้ มีปัญหาว่าเก็บภาษีต่ำกว่าเป้า 2-3 แสนล้านบาท ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเค้าโครงเศรษฐกิจของเราเน้นแต่การท่องเที่ยวในเชิงปริมาณไม่ใช่เชิงคุณภาพ และเน้นอุตสาหกรรมส่งออกรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังไม่สามารถจัดเก็บรายได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะมีเศรษฐกิจที่อยู่นอกระบบการเก็บภาษีสูงถึง 40% และระบบภาษีแบบ 1 คนเลี้ยง 9 คน มีจำนวนผู้เสียภาษีเพียง 4 ล้านคนจากแรงงาน 40 ล้านคน

“เมื่อรายได้ผันผวนลดลงได้แต่รายจ่ายแข็งตัว ก็ต้องกู้มากขึ้น ซึ่งในขณะนี้มีวิกฤตเงินเฟ้อทั่วโลก ธนาคารกลางในประเทศพัฒนาแล้วต่างขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม ต่อไปนี้รัฐบาลก็ต้องกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น” พิธา ระบุ
 

ระบบขนส่งสาธารณะไทย บุคคลใดบ้างที่ได้รับการ ลดหย่อนค่าโดยสาร ?? 

บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด หรือ TSB ผู้นำระบบแพลตฟอร์มการให้บริการนวัตกรรมรถบัสพลังงานไฟฟ้า หรือ E-Bus จึงพัฒนารถบัสโดยสารพลังงานไฟฟ้า พร้อมแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสมัยใหม่ ภายใต้สโลแกน "เดินทางด้วยรอยยิ้ม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม" ลงทุนในระยะแรกกว่า 2 พันล้านบาท พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ และจัดซื้อรถบัสโดยสารไฟฟ้าพลังงานบริสุทธิ์ 100% ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มาให้บริการประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะมากถึง 2.72 ล้านคน โดยเปิดให้บริการเมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา

วันนี้มาเจาะลึกค่าบริการขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะรถเมล์ไฟฟ้าที่ถือว่าเป็นค่าครองชีพประชาชน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งสำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ได้กำหนดบุคคลที่ได้รับการลดหย่อนค่าโดยสารตามเงื่อนไข ดังนี้ 

“อลงกรณ์” เผย จีนปลดล็อกเซี่ยงไฮ้ 1มิ.ย. เปิดโอกาสส่งออกผลไม้และสินค้าเกษตรเพิ่ม ชี้อาจเป็นสัญญาณการปรับเปลี่ยนนโยบายซีโร่โควิดของรัฐบาลจีน

วันนี้ (31 พ.ค) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เขียนเฟซบุ๊กส่วนตัวอย่างน่าสนใจกรณีจีนประกาศปลดล็อกเมืองเซี่ยงไฮ้แบบไม่มีเงื่อนไขหลังจากล็อกดาวน์ปิดตายมาเป็นเวลานานพร้อมกับวิเคราะห์ว่าอาจเป็นสัญญาณการปรับเปลี่ยนนโยบายซีโร่โควิด (Zero Covid) ของรัฐบาลจีนที่ใช้มาเป็นเวลากว่า 2 ปีโดยมีข้อความดังนี้

“ข่าวดีวันนี้จากจีนครับ
ปลดล็อคเซี่ยงไฮ้ 100 %
อาจเป็นสัญญาณเปลี่ยนนโยบาย Zero Covid ของจีน

การส่งออกผลไม้และสินค้าเกษตรที่อั้นมาหลายเดือนจากปัญหาการขนส่งโลจิสติกส์ติดขัดและตลาดค้าปลีกค้าส่งในเมืองต่างๆของจีนปิดไปหลายร้อยแห่งโดยเฉพาะเมืองเศรษฐกิจและเมืองท่าใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ถูกล็อกดาวน์เป็นเดือน กระทบต่อการค้าระหว่างจีนกับโลกรวมทั้งประเทศไทย

"เชียงราย" แม่สายเมืองท่องเที่ยวสวยงามโครงการเคเบิ้ลไฟฟ้าใต้ดิน

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา นาย ณรงค์พล คิดอ่าน นายอำเภอแม่สายได้ให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมตัดเสาไฟฟ้าต้นแรกโครงการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าเป็นเคเบิ้ลใต้ดินจากหน้าด่านพรมแดนไทย-เมียนมา สะพานข้ามลำน้ำสายแห่งที่ 1

ไปจนถึงสี่แยกศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและเทศบาลตำบลแม่สายจัดขึ้น ณ.บริเวณหน้าด่านพรมแดนแห่งที่1โดยมีนาย ชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลแม่สาย นางสาว อุบล ใจวรรณะ นายกเทศมนตรีเทศบาลแม่สายมิตรภาพ พร้อมด้วยหัวหน้าหน่วยงานราชการ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top