Friday, 19 April 2024
MYANMAR

กรุงย่างกุ้ง สหภาพเมียนมา คือเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงประเทศมานานแสนนานหลายชั่วอายุคน ในอดีตกรุงย่างกุ้งคือศุนย์กลางที่คนในภูมิภาคต้องไปหาหมอเนื่องจากเป็นศูนย์การแพทย์ที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ย่างกุ้งคือศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคในหลายด้าน แม่น้ำย่างกุ้ง แม่น้ำ Hlaing โอบล้อมนครย่างกุ้งแห่งนี้และมีท่าเรือสำคัญที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปถึงยุโรป เช่นสกอตแลนด์ หรือ อัมสเตอร์ดัมส์ของเนเธอร์แลนด์ ทำให้ความเจริญของย่างกุ้งเมื่อ 60 ปีก่อนมีสูงมาก

ท่านผู้อ่านไม่ต้องสงสัยกันนะครับว่ายาหม่อง ก็กำเนิดจากเมียนมานี่แหละ ถึงได้เรียกขานว่ายาหม่องกัน โดยมีจุดเริ่มต้นจาก Tiger Hill ที่ผลิตยาหม่องตราเสือมาให้เราได้ใช้กันมานาน ถามว่า Tiger Hill อยู่ที่ไหน คำตอบก็คือตรงบริเวนห้องอาหารของโรงแรม Chatrium ในนครย่างกุ้งนี่หละครับ

ในยุคสมัยของท่านลีกวนยู อดีตผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของสิงคโปร์ ซึ่งถูกมาเลเซียเตะออกมาตั้งประเทศก็ใช้ตัวอย่างการสร้างชาติจากการมาดูเมียนมาหรือพม่าในสมัยนั้นหละครับ เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างบ้านแปลงเมือง ยุคสมัยนี้กลับกันครับ รัฐบาลเมียนมาต้องวิ่งกลับไปดูต้นแบบของสิงคโปร์ซะแล้ว และสิงคโปร์ก็ร่างพิมพ์เขียวให้เมียนมาได้ใช้เป็นแบบแผนต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม

จุดพลุเรียกน้ำย่อยกันไว้อย่างนี้หละครับ แล้วค่อยกลับมาดูกันในตอนหน้าว่า ปี 2020 เกิดอะไรบ้างในเมียนมา และอะไรจะเป็นภาพสำหรับปี 2021 ให้เราได้ติดตามกันต่อไป เจซูทินบาเด ขอบคุณที่ติดตามนะครับ อยากฟังเรื่องใดในอาเซียน แจ้งกันเข้ามานะครับ


จิรวัฒน์

ผู้บุกเบิกการตลาด อินโดจีน พม่า อาเซียนให้บริษัทยักษ์ใหญ่ ตั้งแต่ยุคที่อาเซียนยังไม่ได้รวมตัวกัน เอาประสบการณ์ตรงมาเล่าแบ่งปัน ในวันที่โควิด - 19 ล็อคประตูเพื่อนบ้าน เรายิ่งต้องทำงานหนักมากขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงของเมียนมาในปี 2020

คอลัมน์ AEC ภาคปฏิบัติ

ในช่วงเวลาที่เรามีการพูดถึงการแพร่ระบาดกันมากของโควิด-19 ในประเทศไทย โดยพุ่งประเด็นไปที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานชาวเมียนมาที่ทำงาน ณ ตลาดกุ้งในจังหวัดสมุทรสาครนั้น จะว่าไปแล้ว ปี 2020 ก็เป็นปีที่มีความตื่นเต้นไม่น้อยในเมียนมา

โดยครึ่งปีแรก ในช่วงเวลาที่มีการระบาดของโควิด-19 ในหลาย ๆ ประเทศ  เมียนมาเองกลับเป็นชาติที่มีอัตราการติดเชื้อที่ค่อนข้างต่ำ และอยู่ในอัตราที่น้อยกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำไป   เหตุการณ์เริ่มมาพลิกผันในช่วงไตรมาสที่สามของปีที่การระบาดเริ่มเพิ่มจำนวนสูงขึ้นจากการติดเชื้อมาจากการเดินทางระหว่างพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศมายังนครย่างกุ้ง และขยายไปเมืองอื่น ๆ ในระยะต่อมา

ปีที่ผ่านมา ไทยเราติดอันดับ 4 ในการเป็นผู้นำเงินไปลงทุนในเมียนมา โดยที่ผู้ลงทุนมากที่สุดได้แก่ สิงคโปร์  ตามด้วยจีน  และฮ่องกง ที่มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนมาลงทุนกันมาก กลับกันในปีนี้ ไทยเรากลับไม่ติดในTop 5 ของการลงทุน แต่กลับมีอังกฤษและญี่ปุ่นสอดแทรกเข้ามาในฐานะผู้ลงทุนรายใหญ่ในเมียนมาตามลำดับ 

เมียนมา เป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของธุรกิจสูงขึ้นทุกปี โดยรัฐบาลมองการเพิ่มขนาดของGDP ให้โตได้เท่าตัวภายในปี 2029 รัฐบาลเองได้วาง 10 กลยุทธ์ 76 แผนปฏิบัติการภายใต้ชื่อ CERP (COVID19 Economic Relief Plan) โดยใช้ Digital economy เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อน (Digital Trading เติบโตถึง 183% ในเมียนมา โตเป็นลำดับ 7 ในอาเซียน)

นอกเหนือจากการวางรากฐานทางการเงิน และอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ การปรับโครงสร้างเรื่องแรงงาน   การจัดการด้านครัวเรือน ประชากรศาสตร์  และให้ความสำคัญด้านระบบสาธารณสุข ปัจจุบัน เมียนมามีเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านสาธารณสุขอยู่เพียง 130,000 คน มีหมอ 35,000 คน  พยาบาล 35,000 คน  หมอฟัน 12,000 คน และอื่น ๆ อีกไม่มาก

ซึ่งจะต้องเร่งเพิ่มปริมาณให้มีจำนวนมากขึ้นกว่านี้ ล่าสุดเมียนมาได้อัดฉีดเงินเข้าระบบสาธารณสุข โดยทำให้ยอดเงินลงทุนด้านสาธารณสุขปรับมาอยู่ที่ระดับ 5USD ต่อประชากรหนึ่งคน  และนอกจากนี้รัฐบาลยังได้อนุมัติในการกู้เงินเพื่อนำมาซื้อวัคซีนป้องกันโรคระบาด COVID-19 ไว้อีกระดับหนึ่ง  

ท่านผู้อ่านครับ ระบบโรงพยาบาลและสาธารณสุขในเมียนมายังค่อนข้างล้าหลัง และผู้คนต้องออกมารักษากันนอกประเทศปีหนึ่งถึง 250,000 คนโดยประมาณ ซึ่งเราจะพบว่า 56% ที่มาตรวจรักษาในประเทศไทย จนโรงพยาบาลเอกชนเราต้องรับชาวเมียนมา มาเป็นเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกและไปเปิดสำนักงานตัวแทนกันถึงเมียนมาในหลากหลายเมือง

ตอนต่อไปจะกลับมาพูดถึงการเติบโตของเศรษฐกิจในหมวดอื่น ๆ กันต่อครับ


จิรวัฒน์

ผู้บุกเบิกการตลาด อินโดจีน พม่า อาเซียนให้บริษัทยักษ์ใหญ่ ตั้งแต่ยุคที่อาเซียนยังไม่ได้รวมตัวกัน เอาประสบการณ์ตรงมาเล่าแบ่งปัน ในวันที่โควิด - 19 ล็อคประตูเพื่อนบ้าน เรายิ่งต้องทำงานหนักมากขึ้น

HIGHWAY TO HELL วิเคราะห์ 'ถนนสายย่างกุ้ง-เนปิดอว์-มัณฑะเลย์' เหตุใด 587 กม.นี้ จึงมีแต่ 'อุบัติเหตุ' และ 'ความตาย'

เกิดอุบัติเหตุใหญ่เมื่อเช้าของวันที่ 4 มีนาคม เมื่อมีรถโดยสารระหว่างเมืองย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์ เกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์นี้นับ 10 รายและมีผู้เสียชีวิต 3 ราย โดยหนึ่งในผู้เสียชีวิตคืออดีตแชมป์มวยคาดเชือกของเมียนมานาม Shwe Du Wun  

วันนี้จึงมีเหตุให้เรามาทำความรู้จักกับถนนเส้นนี้กัน..

เส้นทางไฮเวย์ 'สายย่างกุ้ง-เนปิดอว์-มัณฑะเลย์' ได้ชื่อว่าเป็นถนนแห่งความตาย เพราะตั้งแต่ถนนเส้นนี้เปิดใช้มีคนต้องสังเวยชีวิตให้กับถนนเส้นนี้แล้วนับหลายร้อยศพและเกิดอุบัติเหตุบนถนนเส้นนี้นับร้อยๆ ครั้งต่อปี 

เส้นทางไฮเวย์ 'สายย่างกุ้ง-เนปิดอว์-มัณฑะเลย์' เส้นนี้ มีระยะทาง 587 กิโลเมตรนับจากหัวถนนที่นอกเมืองย่างกุ้ง ซึ่งเปิดใช้เมื่อธันวาคม 2010 โดยถนนเส้นนี้ทำการลดระยะเวลาการเดินทางไปยังมัณฑะเลย์จากเดิมที่ต้องใช้เวลาในการเดินทาง 13-15 ชั่วโมงให้เหลือเพียง 7-8 ชั่วโมงเท่านั้น  

ว่ากันว่าถนนเส้นทางนี้วางแผนการสร้างกันมาตั้งแต่ปี 1954 โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการ Naypyitaw ของรัฐบาล U Nu ต่อมาในปี 1959 ทางสหรัฐอเมริกาเข้ามาเสนอความช่วยเหลือด้านการสำรวจและวิศวกรรมทางหลวงเป็นจำนวนเงิน 750,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งการสำรวจได้เสร็จสิ้นในปี 1960 แต่เนื่องจากต้นทุนการสร้างที่สูง จึงทำให้รัฐบาลในตอนนั้นชะลอแผนการสร้างออกไปจนเมื่อเกิดการปฎิวัติในปี 1962 สหรัฐอเมริกาก็เริ่มจะถอยห่างออก 

จากนั้นแม้จะมีการสร้างมาเป็นระยะๆ แต่โครงการก็ขับเคลื่อนไปอย่าช้าๆ และหยุดชะงักเป็นช่วงๆ จนกระทั่งในปี 2005 จึงเริ่มมีการก่อสร้างอีกครั้งอย่างจริงจังจนสำเร็จและเปิดใช้ในช่วงสิ้นปี 2010 และเส้นนี้ยังมีการทำต่อเพิ่มเติมในเมืองย่อยๆ ของมัณฑะเลย์อีกในช่วง Saga-In ไป Tagundaing ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2011

ทว่า จากการสร้างถนนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายยุคสมัย ทำให้ถนนที่สร้างขึ้นมานี้ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น ถนนไม่รับโค้ง ทำให้รถที่วิ่งมาด้วยความเร็วส่วนใหญ่เกิดอุบัติเหตุหลุดโค้ง รวมถึงเรื่องอื่นๆ เช่น ไม่มีรั้วกั้นระหว่างทางหลวงกับชุมชนข้างเคียง ทำให้เกิดอุบัติเหตุอันที่เกี่ยวข้องกับคนและสัตว์เลี้ยงของชุมชนที่อยู่ข้างเคียงเรียงรายตามเส้นทางไฮเวย์ดังกล่าว  


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top