Thursday, 15 May 2025
Lite

ใครก็อยากสาด 'ดาราไทย' ที่ด้อมอยากสาดน้ำด้วย แห่งปี 65

ใกล้ถึงเทศกาลวันสงกรานต์ ที่ใครหลายๆ คิดถึง ในปี 2565 ทางกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็น เรื่อง ความคิดถึง วันวาน สงกรานต์ โดยดาราคนบันเทิง ที่คนอยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย อันดับหนึ่งฝ่ายหญิง ยังเป็น อั้ม พัชราภา ขณะที่ฝ่ายชาย เป็น ณเดชน์ คูกิมิยะ

โดยผลสำรวจ 5 อันดับแรก ฝ่ายหญิง ประกอบด้วย

อันดับ 1 ซุปตาร์ตัวแม่ ‘อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ’ 21.3%
อันดับ 2 ‘เบลล่า ราณี แคมเปน’ 10.6%
อันดับ 3 ‘ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์’ 10.1%
อันดับ 4 ‘ลิซ่า ลลิษา มโนบาล’ 5.1%
อันดับ 5 ‘ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์’ 4.5%

5 คดี 'ที่ดิน' หลุมดำชีวิตนักการเมือง  

✨ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  
•คดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก 
•โทษจำคุก 2 ปี (หนีคดีไปต่างประเทศ)

✨วัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย
•คดีทุจริตจัดซื้อที่ดิน อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ 
•โทษจำคุก 10 ปี (หนีคดีไปต่างประเทศ)

✨ยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตรองนายกฯ และอดีต รมว.มหาดไทย
•ใช้อำนาจโดยมิชอบ เพิกถอนคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน เพื่อช่วยเหลือบริษัท อัลไพน์ เรียลเอสเตท จำกัด และผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
•โทษจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา

วันนี้เมื่อ 56 ปีก่อน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเรือใบข้ามอ่าวไทย ด้วยลำพังพระองค์เอง จากพระราชวังไกลกังวล ไปยังหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

‘การแล่นใบ’ นับเป็นหนึ่งในพระอัจฉริยภาพอันเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงโปรดกีฬาเรือใบเป็นพิเศษ ทั้งยังทรงมีพระปรีชาสามารถในการต่อเรือใบและการทรงเรือใบเป็นอย่างยิ่ง

ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2509 ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการทรงเรือใบของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นอกจากที่เราจะได้ประจักษ์ผ่านการแข่งขันกีฬาเรือใบที่พระองค์ทรงเข้าร่วมหลายต่อหลายครั้งแล้ว 

ในวันนี้พระองค์ได้ทรงเรือใบประเภทโอเค ชื่อ "เวคา" เสด็จพระราชดำเนินจากพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ข้ามอ่าวไทยไปยังหาดเตยงาม ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รวมระยะทางประมาณ 60 ไมล์ทะเล หรือ 97 กิโลเมตร
 

แก่นแห่ง Soft Power ไม่ใช่แค่สร้าง 'ความนิยม-การเผยแพร่เสน่ห์วัฒนธรรม' แต่ 'ทั้งสอง' ต้องเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power

ดร.ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ นักวิจัยด้านอุตสาหกรรมบันเทิงระหว่างประเทศ วัฒนธรรม และความมั่นคงร่วมสมัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กเกี่ยวกับกระแส Soft Power ในขณะนี้ไว้ ว่า...

ตั้งใจจะโพสต์เรื่องนี้นานแล้ว ไม่ใช่เพราะเกิดกระแสอะไรบางอย่างแล้วโพสต์ตามกระแสครับ

soft power ไม่ใช่การสร้างความนิยม

soft power ไม่ใช่การเผยแพร่เสน่ห์วัฒนธรรม

แต่ทั้งความนิยมกับเสน่ห์วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของ soft power ซึ่งหมายถึงอำนาจการโน้มน้าวแบบหนึ่ง soft power มุ่งการสร้างเครือข่ายเพื่อผลประโยชน์ขนาดใหญ่

จะเข้าใจคำนี้ ต้องย้อนกลับไปดูคำอธิบายของ Nye แต่ถ้าจะรู้เท่าทันคำนี้ ต้องคิดให้ไกลกว่า Nye แม้ Nye เสนอคำอธิบายก็จริง แต่ไม่ใช่คนที่หาวิธีสร้าง soft power ตรงกันข้าม soft power ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติมานาน Nye เพียงเอ่ยมันในรูปทฤษฎีเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ (หมายถึงสหรัฐฯ) กระทั่งคำ soft power เองก็เป็น soft power อย่างหนึ่ง ด้วยทำให้สังคมโลกเข้าใจผิดว่า มันคืออำนาจแห่งความสร้างสรรค์ ทั้งที่จริงมันเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการเมืองโลก รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล เคยบอกว่า อย่าหลงทางกับคำว่า soft แต่ต้องสนใจคำว่า power เนื่องจากมันคือคำหลักเหมือนใน hard power ไม่ว่าจะ soft หรือ hard มันก็คือการทำให้อีกฝ่ายสมยอม

20 เมษายน ของทุกปี ตรงกับ ‘วันภาษาจีน’ เพื่อเฉลิมฉลองประเด็นเรื่องพหุภาษาและความหลากหลายทางวัฒนธรรม

หากพูดถึงภาษาในโลกใบนี้ที่มีมากมายหลายภาษา หนึ่งในภาษาที่มีความนิยมเป็นอย่างมาก และเรียกได้ว่าใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ‘ภาษาจีน’ ที่ผู้คนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเองต่างก็ให้ความสนใจและเลือกที่จะเรียน ‘ภาษาจีน’ เป็นภาษาที่สอง หรือภาษาที่สาม ไม่แพ้ภาษาอื่น ๆ กันเลยทีเดียว

โดยในวันที่ 20 เมษายน ของทุกปีตรงกับวันสำคัญวันหนึ่ง คือ ‘วันภาษาจีน’ โดยวันภาษาจีนริเริ่มขึ้นโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ในปี พ.ศ. 2553 เพื่อเฉลิมฉลองในประเด็นเรื่องพหุภาษาและความหลากหลายทางวัฒนธรรม 
 

วันนี้เมื่อ 240 ปีก่อน ตรงกับ ‘วันสถาปนากรุงเทพมหานครฯ’

วันนี้เมื่อ 240 ปีก่อน ตรงกับ ‘วันสถาปนากรุงเทพมหานครฯ’ นับแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรี มาที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

และจัดให้ตั้งการพระราชพิธียกเสาหลักเมืองสำหรับพระนครขึ้นเพื่อเป็นหลักชัยอันสำคัญ พระฤกษ์ยกเสาหลักเมืองกระทำในวันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 06.54 น. พระราชทานนามพระนครใหม่ว่า 

“กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” 
 

22 เมษายน ของทุกปี ตรงกับ ‘วันคุ้มครองโลก’ เพื่อปลุกจิตสำนึกปัญหาสิ่งแวดล้อม

วันคุ้มครองโลกถือกำเนิดในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2513 นักอนุรักษ์ธรรมชาติกลุ่มหนึ่งได้จัดให้มีการแสดงพลังครั้งใหญ่ เพื่อปลุกเร้าจิตสำนึกเกี่ยวกับปัญหา สิ่งแวดล้อม ซึ่งนับวันยิ่งถูกมนุษย์ทำลาย ในการแสดงพลังครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมกว่า 20 ล้านคน และปรากฏขึ้นตามเมืองใหญ่ๆ เกือบทั้งสหรัฐ 

หลังจากนั้นความห่วงใยปัญหาสภาพแวดล้อมของสหรัฐฯ ก็เพิ่มพูนขึ้น มีการออกกฎหมายควบคุมการกระทำที่สร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติ

สำหรับประเทศไทยเริ่มพูดถึงวันคุ้มครองโลกครั้งแรก เมื่อปี 2533 ถือเป็นการเริ่มต้นของสังคมไทย ยุคเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะหลังจากสืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง กระทำอัตวินิบาตกรรม โดยมีอาจารย์และนักศึกษาร่วมกัน 16 สถาบันได้จัดงาน วันคุ้มครองโลกขึ้นเพื่อรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญของป่าอนุรักษ์ และตระหนักถึงวิกฤตการณ์ ทำลายสัตว์ป่าและป่าไม้

‘ญี่ปุ่น’ พัฒนา 'ตะเกียบเสริมเค็ม' ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพ ลดโซเดียมก็อร่อยได้

หลังจากพัฒนาจอทีวีรับรสไปแล้ว นักวิจัยชาวญี่ปุ่นคนนี้ยังได้คิดค้นตะเกียบเสริมรสเค็ม หวังช่วยคนลดโซเดียม

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ศาสตราจารย์โฮเมอิ มิยาชิตะ จากมหาวิทยาลัยเมจิ ประเทศญี่ปุ่น ได้พัฒนาตะเกียบไฟฟ้าที่ช่วยเสริมรสชาติเค็ม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดการบริโภคโซเดียมแต่อาหารยังคงมีรสเค็มอยู่

ซึ่งนับว่าตอบโจทย์ชาวญี่ปุ่นที่มักบริโภคอาหารรสเค็ม โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่นบริโภคเกลือประมาณ 10 กรัมต่อวัน ซึ่งมากกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึง 2 เท่า

การบริโภคโซเดียมที่มากเกินไปเป็นสาเหตุหนึ่งของความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ เพื่อป้องกันโรคเหล่านี้จึงจำเป็นต้องลดปริมาณเกลือที่เราบริโภคลง แต่การทำเช่นนั้นทำให้เราต้องทนกินอาหารที่ไม่อร่อย หรือรสชาติไม่ถูกปาก

‘อุ๊ กรุงสยาม’ ยกพระเครื่องไทย อีกหนึ่ง Soft Power ต่างชาติตอบรับ สร้างมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทต่อปี

นายวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ หรือ ‘อุ๊ กรุงสยาม’ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านใหม่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึง ‘พระเครื่อง’ คือ Soft Power อีกอย่างของไทย ที่คนจีน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฮ่องกง สนใจและคนไทยจำนวนมากทั่วประเทศ มีมูลค่าการตลาดหลายหมื่นล้านบาทต่อปี

การสักยันต์ ฝรั่งชอบ แม้แต่แองเจลลิน่า โจลี่ ยังสักยันต์กับอาจารย์หนู

ฮ่องกง, จีน, มาเลย์, สิงคโปร์ มีศูนย์พระเครื่องไทยมานานหลายปีแล้ว

พระเกจิไทย รวมถึงฆราวาสที่ดูทรงแบบขลังๆ ไทย เดินสายไปทำมาหากินในต่างประเทศนำเงินเข้ามาปีละไม่น้อย

คนจีน มาไลฟ์สดขายพระผ่าน โซเชี่ยล ของจีน แล้วรับออเดอร์กันสดๆ รวมถึงพิธีปลุกเสกพระใหม่ ให้คนจีนได้ชมกันสดๆ พระใหม่วันนี้ ต้องทำโบรชัวร์ภาษาจีนกันแล้ว

คนจีน มาเปิดศูนย์พระเครื่องในไทยกันบนพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วานกันเป็นปี

23 เมษายน ค.ศ. 1616 สูญเสียยอดกวีเอกของโลก ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) เกิดเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้แน่ รู้แต่ว่าเขาได้รับศีลล้างบาปในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1564 ซึ่งตามธรรมเนียมในสมัยนั้นการรับศีลของทารกมักจะทำกัน 3 วันหลังการเกิด วันที่ 23 เมษายนจึงถูกถือเอาเป็นวันเกิดของเขา

เชกสเปียร์เติบโตขึ้นในเมืองสแตรทฟอร์ดริมฝั่งเอวอน (Stratford-upon-Avon) วอร์วิกไชร์ (Warwickshire) ประเทศอังกฤษ รายละเอียดของชีวประวัติของเชกสเปียร์มีบันทึกไม่มากนักเนื่องจากเขามิใช่ชนชั้นสูง เรื่องราวในชีวิตช่วงแรกๆ ของเขาจึงมีแต่เพียงเรื่องที่ถูกบันทึกในเอกสารของทางการ เช่น การรับศีล และการแต่งงาน

พ่อของเขาจอห์น เชกสเปียร์ (John Shakespeare) ทำการค้าหลายอย่างและดูเหมือนจะมีปัญหาทางการเงินเป็นระยะ ขณะที่แม่ของเขาแมรี อาร์เดน แห่งวิล์มโคต (Mary Arden, of Wilmcote) มาจากครอบครัวเก่าแก่และเป็นทายาทที่จะได้รับมรดกเป็นที่ดินบางส่วน ทำให้เชื่อกันว่าการแต่งงานของทั้งคู่เป็นหนึ่งในความพยายามเพื่อยกฐานะของจอห์น เชกสเปียร์

เชื่อกันว่าเชกสเปียร์น่าจะเข้าเรียนในโรงเรียนไวยากรณ์ (Grammar School เป็นโรงเรียนสอนภาษาละตินและวรรณกรรมคลาสสิกในยุคกลาง ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นโรงเรียนระดับมัธยมของอังกฤษ) ในสแตรทฟอร์ด แต่ไม่ได้เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย

เมื่ออายุได้ 18 ปี เขาแต่งงานกับแอนน์ แฮทธาเวย์ หญิงซึ่งแก่กว่าเขา 8 ปี และตั้งท้องอยู่แล้วก่อนแต่งงานกับเขา หลังแต่งงานได้ 6 เดือนทั้งคู่ได้ลูกสาวคนแรกชื่อว่า ซูซานนา (Susanna) ในปี 1585 ทั้งคู่ได้ลูกแฝด แฮมเน็ต (Hamnet) และจูดิธ (Judith) ก่อนที่แฮมเน็ตลูกชายคนเดียวของครอบครัวเชกสเปียร์จะเสียชีวิตในอีก 11 ปีถัดมา

เชกสเปียร์เริ่มมีชื่อถูกอ้างถึงในฐานะนักเขียนในปี 1592 เมื่อเขาถูกวิจารณ์โดย โรเบิร์ต กรีน (Robert Greene) ผู้เป็นนักเขียนบทละครเช่นเดียวกับเชกสเปียร์ เชื่อกันว่าในขณะนั้นเชกสเปียร์ น่าจะเขียนเรื่องเฮนรีที่ 6 (Henry VI) ไปแล้ว 3 ตอน ในปี 1593 วีนัสแอนด์อดอนิส (Venus and Adonis) เป็นบทกวีชิ้นแรกของเชกสเปียร์ที่ถูกนำออกเผยแพร่ ซึ่งเป็นงานที่ทำขึ้นเพื่ออุทิศให้กับเฮนรี ไรโอเธสลีย์ ที่ 3 เอิร์ลแห่งเซาแธมป์ตัน (Henry Wriothesley, the 3rd earl of Southampton)

ในปี 1594 เชกสเปียร์ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะละครลอร์ดแชมเบอร์เลน (Lord Chamberlain’s Men) ซึ่งภายหลังกลายเป็นคณะละครในพระบรมราชูปถัมภ์ (King’s Men) เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 1 (James I) ขึ้นครองราชย์ ซึ่งเป็นคณะละครที่เชกสเปียร์ร่วมงานด้วยจนกระทั่งเขาเกษียณอายุ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top