Saturday, 10 May 2025
Lite

20 เมษายน พ.ศ.2454 วันคล้ายวันเกิด ‘ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช’ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของไทย

20 เมษายน พ.ศ. 2454 วันเกิด พล.ต. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ ปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย 

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2454 ในเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เป็นโอรสของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) เป็นน้องชายของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช (อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของไทย) เรียนมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 

จากนั้นไปเรียนต่อวิชาปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และการเมือง จากวิทยาลัยควีนส์ (The Queen’s College) มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด กลับมารับราชการที่กรมสรรพากร และกระทรวงการคลัง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เข้าเป็นทหาร ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตรีในปี 2531

'สมรักษ์ คำสิงห์' ชายผู้ชูพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ร.9 เหนือหัว พร้อมพาเพลงชาติไทยดังกระหึ่มโอลิมปิกที่แอตแลนตา

(19 เม.ย.66) จากเพจ 'ความเห็นของผม' ได้โพสต์ข้อความถึงความเป็นมาของ 'พี่บาส' สมรักษ์ คำสิงห์ ระบุว่า...

เผื่อเด็กรุ่นหลังที่ตามข่าว #เบสท์รักษ์วนีย์ อาจจะไม่รู้รายละเอียดว่า สมรักษ์ คำสิงห์ เป็นใครมาจากไหน 

โพสต์นี้จึงขอเขียนวีรกรรมของตำนานยอดฝีมือนักมวยสากลสมัครเล่นคนนี้พอสังเขป...

สมรักษ์ คำสิงห์ เกิดในครอบครัวที่ยากจนที่จังหวัดขอนแก่น เขาฝึกชกมวยไทยมาตั้งแต่เด็ก และขึ้นสังเวียนชกครั้งแรกตอนอายุ 7 ขวบ โดยใช้ขื่อในวงการมวยไทยว่า พิมพ์อรัญเล็ก ศิษย์อรัญ

ต่อมาเมื่ออายุ 12 ปี เขาเริ่มเบนเข็มมาสู่วงการมวยสากลสมัครเล่น โดย สมรักษ์ คำสิงห์ ปรากฏตัวในเวที 'โอลิมปิกเกมส์' ครั้งแรกเมื่ออายุ 19 ปี ที่ โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 25 เมืองบาร์เซโลน่า ปี 1992 เขาขึ้นชกในรุ่นเฟเธอร์เวท ผลคือ ตกรอบที่สอง

แม้จะไปได้เพียงแค่รอบสอง แต่เด็กอายุ 19 ปี ที่แพ้ในโอลิมปิก มันไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมานั่งเสียใจ เพราะเขายังมีเวลาที่จะเขียนประวัติศาสตร์ 

และหลังจากนี้ สมรักษ์ คำสิงห์ ก็เริ่มเขียนมัน

เขาเริ่มเรียกความสนใจจากผู้คนได้เป็นครั้งแรก เมื่อเขาเป็นหนึ่งในสองนักกีฬาไทยที่ได้เหรียญทองจากการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 ที่ ฮิโรชิม่า ในปี 1994 ร่วมกับ 'ฉลามนุก' รัฐพงศ์ ศิริสานนท์ จากกีฬาว่ายน้ำ

2 ปีต่อมาหลังจากได้เหรียญทองเอเชียนเกมส์ เขาก็ไปโอลิมปิกเป็นครั้งที่ 2 ที่แอตแลนต้า (1996)

ด้วยสภาพร่างกายที่สดเต็มพิกัดในวัย 23 บวกกับประสบการณ์ที่เคยแพ้มาแล้วในครั้งก่อน และความมั่นใจจากเหรียญทองเอเชียนเกมส์ ทำให้ในรุ่นเฟเธอร์เวท กล้าพูดได้ว่า นาทีนั้น สมรักษ์ คำสิงห์ ‘เจอใครก็ได้’ แม้ว่ามันจะเป็นเวทีโอลิมปิก แม้ว่ามันจะมีพยัคฆ์หนุ่มคะนองอย่าง ฟลอยด์ เมเวเธอร์ จูเนียร์ อยู่ในพิกัดเดียวกันก็ตาม

สมรักษ์เอาชนะคู่ต่อสู้คนแล้วคนเล่า เข้ารอบลึกขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่ง ...

ประวัติศาสตร์ถูกเขียนอีกครั้ง เมื่อเขาเป็นนักมวยสากลสมัครเล่นคนที่สองในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ได้เข้ามาถึงรอบชิงชนะเลิศในกีฬามวยสากลสมัครเล่น ต่อจาก ทวี อัมพรมหา ที่ได้เหรียญเงินจากโอลิมปิกเกมส์ ที่ ลอสแอลเจลิส ในปี 2527

หรือโอลิมปิกที่สหรัฐอเมริกา จะถูกโฉลกกับนักชกไทยจริงๆ...

ในรอบชิงเหรียญทอง สมรักษ์ คำสิงห์ ต้องเจอกับนักมวยยอดฝีมือจากบัลแกเรีย ที่เอาชนะโคตรมวยอนาคตไกลอย่าง ฟลอยด์ เมเวเธอร์ จูเนียร์ มาในรอบรองชนะเลิศ

และในที่สุด ...

4 สิงหาคม 1996 ประวัติศาสตร์ได้ถูกบันทึกเอาไว้ว่า สมรักษ์ คำสิงห์ นักมวยจากแดนสยาม สามารถเอาชนะ เซราฟิม โทโดรอฟ คู่ชกจากบัลแกเรียได้อย่างหมดจด

เขาทำสำเร็จ เขาคว้าเหรียญทองให้กับทัพนักกีฬาไทยในโอลิมปิกได้เป็นครั้งแรก..!!!!

ละรุนแรงต่อ 'สตรีเพศ' ให้สมเกียรติเยี่ยง 'สุภาพบุรุษ'  ทิ้งกมลสันดานชั่วในร่าง 'บุรุษ' เตือนตนว่าอย่าหาทำ

เมื่อส่วนแรกพระคัมภีร์ หรือส่วนปฐมกาลเขียนไว้ว่า...

"...พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาให้คล้ายพระองค์ ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง" ทำให้นักวิชาการผู้ศึกษาไบเบิลหลายคนตั้งคำถาม "หรือพระเจ้าเองมีทั้งความเป็นชายและหญิงอยู่ในตัว?"

หากพระเจ้าได้สร้างมนุษย์ผู้ชายคนแรกขึ้นจากดิน ซึ่งนั้นก็คือ 'อดัม' และต่อมาก็ได้ใช้กระดูกซี่โครงของอดัมสร้าง 'อีฟ' นั่นจึงหมายความว่าทั้ง 'บุรุษ' และ 'สตรี' เคยเป็นหนึ่งเนื้อนาบุญเดียวกันมาก่อนใช่หรือไม่?

เรื่องดังกล่าวสอดคล้องต้องกันกับความเชื่อทางพุทธศาสนาที่สังฆอริยเจ้า 'พระพรหมคุณาภรณ์' (ป.อ. ปยุตฺโต) เคยเทศนาไว้ "...ตามหลักพุทธศาสนาถือว่า แต่ละคนเกิดเป็นหญิงบ้าง เป็นชายบ้าง หมุนเวียนไป แล้วแต่กรรมของตน ในแง่นี้ทุกคนเป็นมนุษย์ จึงไม่มีอะไรต่างกัน เพราะฉะนั้น ทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชายจึงมีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมเช่นเดียวกัน ส่วนการที่เรามามองแยกเป็นผู้หญิง เป็นผู้ชายนี้ เป็นการมองในช่วงเวลาสั้นๆ ระยะหนึ่งๆ หรือเฉพาะหน้า แต่ความจริงแต่ละคนก็มีทั้งความเป็นหญิงและความเป็นชาย ที่จะเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ"

เมื่อเป็นเช่นนั้นจริง ปัจจุบันใยบุรุษจึงตั้งตนเป็นใหญ่ในโลก!!

หลังผ่านพ้นยุคหิน โลกโบราณถูกปกครองโดยนักรบ (กษัตริย์) ตามกลไกธรรมชาติซึ่งผู้แข็งแรงกว่าย่อมมีอำนาจดูแล ปกป้อง ผู้ด้อยกว่า ซึ่งในที่นี้ก็คือ สตรี (และเด็ก) นั่นเอง จึงไม่อาจพูดได้เต็มปากว่าบุรุษยุคโน้นข่มเหงสตรี เพียงแต่เพศมีความสำคัญต่างกัน ชายออกรบ ล่า แสวงหาอาหาร (ความมั่นคง) ส่วนหญิงก็ดำรงบทบาทระดับสังคมย่อยลงมา อาทิ ดูแลบ้านช่องและกิจการภายในยามผู้นำออกศึกทุกกรณี

คาดว่าค่านิยมดูแคลนสตรีเพศเริ่มต้นมาจากการบิดเบือนคำสอนตามพระคัมภีร์ต่างๆ หลายกรรมหลากวาระ หวังสร้างความวุ่นวายเพื่อแย่งชิงอำนาจ แม้ในพระไตรปิฎกก็มีเป็นต้น "...ขึ้นชื่อว่าหญิงในโลกนี้ไม่น่ายินดี เพราะหญิงเหล่านั้นไม่มีเขตแดน มีแต่ความกำหนัด คึกคะนอง ไม่มีเลือก เหมือนกับไฟที่ไหม้ทุกสิ่งทุกอย่าง" ตรงข้ามกับความจริงจากพระพุทธโอษฐ์

21 เมษายน พ.ศ. 2325 วันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งที่ 4 ของสยาม

วันนี้ เมื่อ 241 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พร้อมมีพระราชพิธีฝังเสาพระหลักเมืองกรุงเทพมหานคร 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง 'พระราชวังหลวง' ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศ และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ โดยการก่อสร้างพระราชวังหลวงเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนครเมื่อพุทธศักราช 2325

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน ปีพุทธศักราช 2325 เวลา 06.54 นาฬิกา

‘เจ้านิโคร’ หมาจรเดินตามพระธุดงค์ไทย จากอินเดีย เดินทางไกลเกือบพันกิโลเมตร ก่อนลาจากไม่หวนคืน

(21 เม.ย.66) จากกรณีโซเชียลให้ความสนใจเหตุการเสียชีวิตของสุนัขตัวหนึ่ง ที่ชื่อเจ้านิโคร วิ่งตามคณะพระธุดงค์ไทยที่ประเทศอินเดีย ไล่กลับยังไงก็ไม่ยอม จนทางพระสงฆ์ท่านมีความเมตตา ตัดสินใจรับเลี้ยงและนำกลับมาอยู่วัดที่ประเทศไทยด้วย 
.
ต่อมาเกิดเรื่องเศร้า เมื่อเจ้านิโครเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยวริมถนน ที่จังหวัดมหาสารคาม เพราะแอบเดินตามหลวงตามาบิณฑบาต เกิดพลัดหลง เดินเร่ร่อนจากสุรินทร์ไปถึงมหาสารคาม
.
ล่าสุดเพจ วัดหนองบัว - เวือดตระเปียงโชค เปิดประวัติเจ้านิโคร ถึงเส้นทางพรหมลิขิตที่ทำให้มาเจอกับคณะพระธุดงค์ไทย ในระหว่างอยู่ที่อินเดีย ดังต่อไปนี้
.
ประวัติชีวิตนิโคร ... ตอนที่ ๑ เช้าวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เป็นปกติที่พระธุดงค์ตื่นเช้า ตี ๓ เก็บเต็นท์และบริขาร
.
เตรียมออกเดินจากเขตเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นวัดที่พระเจ้าสุทโธทนะ ถวายพระพุทธองค์เมื่อครั้งเสด็จนิวัติเมืองของพุทธบิดา ... และเป็นวัดที่บรรพชาสามเณรราหุลอีกด้วย ... นิโคร เริ่มตามเรามาตั้งแต่จุดนี้
.
นิโครธาราม - ลุมพินี (ประสูติ) - ชายแดนโสเนาลี-กุสินารา (ปรินิพพาน) - แม่น้ำอโนมาเสาอโศกคู่ -มหาสถูปเลารียา - เสาอโศกนันดานการ์ -เสาอโศกอเรราช - มหาสถูปเกสรียา – เมืองไวสาลี - สถานที่ปลงอายุสังขาร - เมืองปัตตนะ - วัดอโศการาม สังคายนาครั้งที่ 3 - วิกรมศิลา - นาลันทา - ราชคฤห์ - เขาคิชกูฏ - ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (คยา) (สถานที่ตรัสรู้)

รวมระยะทาง เดินตามพระธุดงค์ ประมาณ 985 กิโลเมตร ผ่านพุทธสถานมากมาย ขออนุโมทนาบุญกับ นิโคร.


ที่มา : https://www.naewna.com/likesara/725821

22 เมษายน ของทุกปี เป็นวัน 'คุ้มครองโลก' (Earth Day) ร่วมตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้ ทุกวันที่ 22 เมษายน เป็นวัน 'วันคุ้มครองโลก' เพื่อให้ผู้คนบนโลกตระหนักถึงการกระทำต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

22 เมษายน ของทุกปีเป็น 'วันคุ้มครองโลก' (Earth Day) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ United Nations Environment Program (UNEP) เพื่อให้ผู้คนบนโลกได้ตระหนักถึงการกระทำต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ ผู้ที่ริเริ่มแนวคิดนี้เป็นคนแรกคือ เกย์ลอร์ด เนลสัน สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา 

โดยในปี พ.ศ. 2505 เกย์ลอร์ด เนลสัน ได้ขอให้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ หยิบยกเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้เห็นด้วย จากนั้นได้ออกทัวร์ทั่วประเทศเป็นเวลา 5 วัน 11 รัฐในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2506 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่ม 'วันคุ้มครองโลก'

'พงศ์พรหม' มอง!! 'คนรุ่นก่อน' หวังดี แต่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ส่วนคนรุ่นใหม่ อยากเปลี่ยนแปลง อยากเจริญ แต่ไม่อยากเหนื่อย

(22 เม.ย.66) นายพงศ์พรหม ยามะรัต ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Pongprom Yamarat' ระบุว่า...

คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ Gen X ปลาย Y ต้น แทบทุกคนบ่นเหมือนกันว่า คนรุ่นเราแม่งเหนื่อย แต่สู้ เพราะอะไรไม่รู้ที่ทำให้ทัศนคติเราดี

อาจเพราะเราโตมาด้วยการขึ้นรถเมล์ แต่ก็มีมือถือใช้บ้าง โตด้วยการกินข้าวแกงข้างถนน แต่ก็รู้จัก Starbucks ที่เมืองนอก

มันทำให้เรานั่งรถบีเอ็มก็ได้ รถเมล์ก็ดี ทำให้เรารู้จักความพอเพียง แต่ก็ไม่ปฏิเสธการว่าก็อยากจะหาเงินพันล้าน เพราะเราก็ทะเยอทะยานพอที่จะบอกว่า เราก็ต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้สำเร็จด้วย

สิ่งที่คนรุ่นเราเจอปัญหามาก คือคนรุ่นก่อนเรา แม้จะน่ารัก แต่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงในโลกใบใหม่น้อยมาก เราจึงมักเจอคำพูดดีๆ แต่ขาดการปฏิบัติ ขาดการลงมือทำ ขาดการคิดนอกกรอบเพื่อการเปลี่ยนแปลง

เอาหละ!! งั้นคนรุ่นเราเปลี่ยนให้...

ตอนนี้เราโตจนเป็นผู้บริหารตามองค์กรละ ไม่ก็เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้างละ 

เราเจอปัญหาเพิ่มเติมจากคนรุ่นใหม่ แทนที่เขาจะขยันกว่าเรา เพราะโอกาสเขามีมากกว่าเรา แต่กลายเป็นว่า...

'อยากเจริญ แต่ไม่อยากเหนื่อย'

ซึ่งวนกลับมาเรื่องเดิม ขาดการปฏิบัติ ขาดการลงมือทำ ขาดการคิดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง แถมท้อเร็ว ท้อง่าย ขาด Global mindset ที่มีในเด็กเวียดนาม, สิงคโปร์, จีน, อเมริกา, อังกฤษ, เยอรมนี

แต่กลับบ่นเก่งกว่า...
...ทำไมไทยไม่เจริญ
...ทำไมถนนเราไม่เรียบ
...ทำไมต้นไม้ไม่เยอะๆ แบบเมืองนอก
...ทำไมไม่มีเสื้อผ้าสวยๆ เยอะๆ

ผมมักเปรียบเทียบให้คน Gen X ปลาย Y ต้นฟัง ว่าคนอายุก่อนเกษียณวันนี้ ลงล่างไปจนอายุ 30 ต้น กำลังแบกภาระใหญ่ให้ประเทศไทย

เรามีคนรุ่นก่อนเราจำนวนไม่น้อยที่หวังดีต่อประเทศ แต่ไม่เข้าใจถึงการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง (คนดีๆ เก่งๆ ก็เยอะ ตรงนี้ต้องขออภัย)

เรามีคนรุ่นใหม่ที่อยากให้ประเทศดีอย่างเมืองนอก แต่ความอดทนไม่พอ เพราะไม่เข้าใจว่า “ไม่มีความสำเร็จใดบนโลกใบนี้ที่ได้มาโดยไม่ต้องเหนื่อย”

23 เมษายน พ.ศ. 2159 โลกสูญเสียยอดกวีเอก ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) เกิดเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้แน่ รู้แต่ว่าเขาได้รับศีลล้างบาปในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1564 ซึ่งตามธรรมเนียมในสมัยนั้นการรับศีลของทารกมักจะทำกัน 3 วันหลังการเกิด วันที่ 23 เมษายนจึงถูกถือเอาเป็นวันเกิดของเขา

เชกสเปียร์เติบโตขึ้นในเมืองสแตรทฟอร์ดริมฝั่งเอวอน (Stratford-upon-Avon) วอร์วิกไชร์ (Warwickshire) ประเทศอังกฤษ รายละเอียดของชีวประวัติของเชกสเปียร์มีบันทึกไม่มากนักเนื่องจากเขามิใช่ชนชั้นสูง เรื่องราวในชีวิตช่วงแรกๆ ของเขาจึงมีแต่เพียงเรื่องที่ถูกบันทึกในเอกสารของทางการ เช่น การรับศีล และการแต่งงาน

พ่อของเขาจอห์น เชกสเปียร์ (John Shakespeare) ทำการค้าหลายอย่างและดูเหมือนจะมีปัญหาทางการเงินเป็นระยะ ขณะที่แม่ของเขาแมรี อาร์เดน แห่งวิล์มโคต (Mary Arden, of Wilmcote) มาจากครอบครัวเก่าแก่และเป็นทายาทที่จะได้รับมรดกเป็นที่ดินบางส่วน ทำให้เชื่อกันว่าการแต่งงานของทั้งคู่เป็นหนึ่งในความพยายามเพื่อยกฐานะของจอห์น เชกสเปียร์

เชื่อกันว่าเชกสเปียร์น่าจะเข้าเรียนในโรงเรียนไวยากรณ์ (Grammar School เป็นโรงเรียนสอนภาษาละตินและวรรณกรรมคลาสสิกในยุคกลาง ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นโรงเรียนระดับมัธยมของอังกฤษ) ในสแตรทฟอร์ด แต่ไม่ได้เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย

เมื่ออายุได้ 18 ปี เขาแต่งงานกับแอนน์ แฮทธาเวย์ หญิงซึ่งแก่กว่าเขา 8 ปี และตั้งท้องอยู่แล้วก่อนแต่งงานกับเขา หลังแต่งงานได้ 6 เดือนทั้งคู่ได้ลูกสาวคนแรกชื่อว่า ซูซานนา (Susanna) ในปี 1585 ทั้งคู่ได้ลูกแฝด แฮมเน็ต (Hamnet) และจูดิธ (Judith) ก่อนที่แฮมเน็ตลูกชายคนเดียวของครอบครัวเชกสเปียร์จะเสียชีวิตในอีก 11 ปีถัดมา

เชกสเปียร์เริ่มมีชื่อถูกอ้างถึงในฐานะนักเขียนในปี 1592 เมื่อเขาถูกวิจารณ์โดย โรเบิร์ต กรีน (Robert Greene) ผู้เป็นนักเขียนบทละครเช่นเดียวกับเชกสเปียร์ เชื่อกันว่าในขณะนั้นเชกสเปียร์ น่าจะเขียนเรื่องเฮนรีที่ 6 (Henry VI) ไปแล้ว 3 ตอน ในปี 1593 วีนัสแอนด์อดอนิส (Venus and Adonis) เป็นบทกวีชิ้นแรกของเชกสเปียร์ที่ถูกนำออกเผยแพร่ ซึ่งเป็นงานที่ทำขึ้นเพื่ออุทิศให้กับเฮนรี ไรโอเธสลีย์ ที่ 3 เอิร์ลแห่งเซาแธมป์ตัน (Henry Wriothesley, the 3rd earl of Southampton)

ในปี 1594 เชกสเปียร์ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะละครลอร์ดแชมเบอร์เลน (Lord Chamberlain’s Men) ซึ่งภายหลังกลายเป็นคณะละครในพระบรมราชูปถัมภ์ (King’s Men) เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 1 (James I) ขึ้นครองราชย์ ซึ่งเป็นคณะละครที่เชกสเปียร์ร่วมงานด้วยจนกระทั่งเขาเกษียณอายุ

‘ลิซ่า BLACKPINK’ ศิลปินหญิงคนแรกของโลก มียอดวิวบนติ๊กต๊อกทะลุ 1 แสนล้านวิว!!

เมื่อวันที่ 22 เม.ย.66 ทวิตเตอร์ของ World Music Awards ได้ทวีตข้อความ ระบุว่า ‘ลิซ่า วงแบล็กพิงค์’ ได้กลายเป็นศิลปินหญิงคนแรกของโลก ที่มียอดวิวบนแอพพลิเคชั่นติ๊กต็อก ทะลุ 1 แสนล้านวิว จาก #LISA


ที่มา : https://www.matichon.co.th/entertainment/interstars/news_3939465
 

24 เมษายน ของทุกปี กำหนดเป็น 'วันเทศบาล' ระลึกถึงการกำเนิดการปกครองส่วนท้องถิ่น

กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้วันที่ 24 เมษายน ของทุกปีเป็น 'วันเทศบาล' เพื่อระลึกถึงความสำคัญของการก่อกำเนิดเทศบาล และเพื่อให้พนักงานเทศบาลตระหนักถึงความสำคัญในบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการประชาชน

ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของการก่อกำเนิดเทศบาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินของไทยใหม่ โดยจัดให้มีการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในรูปแบบสุขาภิบาล ที่สุขาภิบาลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2441 และได้ขยายการตั้งสุขาภิบาลออกไปในท้องถิ่นต่าง ๆ เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ต่อมา ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2475 จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 กำหนดให้เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น จึงได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2467 และเกิดรูปแบบของเทศบาลตั้งแต่นั้นมา

การเรียกชื่อของเทศบาลนั้นแตกต่างกันตามจำนวนประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้แก่


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top