Saturday, 10 May 2025
Lite

๒ เมษายน วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหารและพนักงาน สำนักข่าวออนไลน์ THE STATES TIMES

2 เมษายน – วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ พร้อมทั้งประทานคำแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ และมีพระนามที่ข้าราชบริพารเรียกทั่วไปว่า ทูลกระหม่อมน้อย

พระองค์ทรงเริ่มเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา ภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อ พ.ศ. 2501 จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใน พ.ศ. 2515 ทรงสอบไล่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในแผนกศิลปะด้วยคะแนนสูงสุดของประเทศ จากนั้น พระองค์ทรงสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ทรงเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในประเทศ จนกระทั่ง พ.ศ. 2520 พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.98 

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบำเพ็ญพระองค์ให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง โดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในภูมิภาคต่างๆ อยู่เสมอ และทรงช่วยเหลือกิจการโครงการตามพระราชดำริทุกโครงการ พร้อมทรงรับพระบรมราโชบายมาทรงดำเนินการสนองพระเดชพระคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในด้านต่างๆ

นอกจากพระราชกรณียกิจหลากสาขา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์เป็นที่ประจักษ์ พระองค์ทรงประพันธ์และแปลหนังสือมากมาย รวมทั้งหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน โดยทรงใช้พระนามแฝงหลายชื่อ อาทิ แว่นแก้ว ที่ทรงใช้เมื่อ พ.ศ. 2521 ในหนังสือพระราชนิพนธ์สำหรับเด็ก ได้แก่ แก้วจอมซน แก้วจอมแก่น และขบวนการนกกางเขน

3 เมษายน พ.ศ. 1893 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีของไทย

วันนี้ เมื่อ 673 ปีก่อน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีของไทย 

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีของไทย ในพ.ศ. 1893 'กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา' ตั้งอยู่บริเวณ หนองโสน (บึงพระราม) บนเกาะเมืองอยุธยา ซึ่งมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก โดยมีเมืองละโว้ เมืองสุพรรณบุรี เมืองอโยธยา ร่วมมือสร้างความเจริญรุ่งเรือง ทั้งด้านการเมือง การปกครอง สังคมเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี และความสัมพันธ์กับต่างประเทศ 

ทั้งนี้ ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีคนไทยตั้งบ้านเมืองมาก่อน เช่น เมืองละโว้ เมืองสุพรรณบุรี เมืองอโยธยา เมืองเพชรบุรี และเมืองอื่น ๆ อีกมาก 

‘ตุ๊ก ดวงตา’ โพสต์ เหตุผู้กำกับสั่งให้ลบรอยสัก เจ้าตัวถึงกับงง เผย ไม่ได้สัก แต่เป็นเส้นเลือดที่คล้ายตัวเลข งานนี้แฟนคลับแห่ตีหวย

‘ตุ๊ก ดวงตา’ ถึงกับงง โดนสั่งลบรอยสัก ปรากฏเป็นเส้นเลือดคล้ายตัวเลขคอหวยพากันส่อง

(3 เม.ย. 66) เรียกว่าถูกใจคอหวย เมื่อนักแสดงรุ่นใหญ่ ตุ๊ก ดวงตา ตุงคะมณี ออกมาโพสต์ภาพหลังถ่ายปิดกล้องละครเรื่อง ดวงใจเทวพรหม ตอนใจพิสุทธิ์ ก็ถูกผู้กำกับสั่งให้ลบรอยสักที่คอแต่ทำเอาเจ้าตัวถึงกับงงเพราะตัวเธอเองไม่ได้สักอะไรไว้ที่คอ แต่ดันเป็นรอยเส้นเลือดขอดที่ปรากฏคล้ายตัวเลข โดยตุ๊กได้เขียนข้อความเล่าว่า
‘เมื่อวานไปปิดกล้อง ดวงใจเทวพรหม

4 เมษายน ของทุกปี เป็นวัน ‘ภาพยนตร์แห่งชาติ’ ร่วมตระหนักถึงคุณค่าของภาพยนตร์ไทย

วันภาพยนตร์แห่งชาติตรงกับวันที่ 4 เมษายนของทุกปี เป็นวันที่กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯได้พระราชทานขึ้น เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของภาพยนตร์ไทย

วันที่ 4 เมษายน ของทุกปี เป็นวันภาพยนตร์แห่งชาติ ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระราชทาน เพื่อให้ชาวไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ และคุณค่าของภาพยนตร์ไทย เพราะภาพยนตร์ถือเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมบ้านเราได้ดีที่สุด

๕ เมษายน วันคล้ายวันประสูติ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ณ โรงพยาบาลมองชัวซีส์ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นพระโสทรเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนจิตรลดา ก่อนจะเสด็จไปประทับ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีจนสำเร็จ ณ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เมืองเคมบริดจ์ สหรัฐอเมริกา ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ชีวเคมี (Bachelor of Science Degree in Bio-Chemistry) จากนั้น ทรงเข้ารับการศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (Statistics and Public Health) จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท

มองความสุขหลังพ้นกำแพงเรือนจำของ 'หมอวิสุทธิ์'  เมื่อ 'การเจริญสติ' สำคัญกว่าวิชาความรู้เสียอีก

(5 เม.ย.66) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงพระรูปหนึ่ง ที่อดีตคนไทยรู้จักในชื่อ 'หมอวิสุทธิ์' ความว่า... 

บทความจาก #พระอาจารย์ไพศาลวิสาโล ได้กล่าวว่า พวกเราอาจจะเคยได้ยินชื่อ 'หมอวิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ' ซึ่งเคยถูกพิพากษาประหารชีวิต เพราะโดนข้อหาฆ่าภรรยา

หมอวิสุทธิ์เป็นศาสตราจารย์ ทางการแพทย์ที่จุฬาฯ เก่งมากในเรื่องของการทำเด็กหลอดแก้ว เป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย มีฐานะดี แต่ชีวิตที่รุ่งโรจน์ ต้องพลิกผันตกต่ำ กลายเป็นนักโทษประหาร เพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาด มีปัญหาความรักและแก้ปัญหาง่ายๆ ด้วยการ ฆ่าภรรยา

ภายหลังได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษ ตอนนี้จึงออกมาจากคุกได้ เพราะโทษเบาบาง

เมื่อไม่นานมานี้ ท่านได้ให้สัมภาษณ์สื่อไว้อย่างน่าสนใจมาก โดยเผยชีวิตเบื้องหลัง กำแพงเรือนจำกับชีวิตใหม่ หลังก้าวผ่านคำว่านักโทษประหาร สู่การเรียนรู้ชีวิต จากโรงเรียนแห่งใหม่ที่ถูกเรียกว่า 'เรือนจำ'

เมื่อได้ลองทบทวนตัวเองอย่างจริงจัง ก็ทำให้เขาได้รู้ว่า ชีวิตก่อนหน้านี้ ตัวของเขาเป็นคนที่ประมาท ปล่อยให้ความโลภและความโกรธเข้าครอบงำ จนไร้อิสระ ปล่อยให้อิทธิพลของลาภยศ คำสรรเสริญ เข้ามามีอำนาจเหนือตนเอง

แต่ในตอนนี้ หลังจากที่ได้ทบทวนตัวเอง แม้ว่าจะต้องเสียสิ่งต่างๆ ไปมากมาย แต่เขากลับรู้สึกว่า ตอนนี้เขาได้เรียนรู้ตัวเองมากขึ้น ได้มองโลกในอีกมุมมองหนึ่ง มีการเจริญเติบโตของจิตวิญญาณ และมีความสุขจากการให้

เข้าใจคำว่าจิตอาสามากขึ้น...

จากรูปภาพที่เขาได้วาดในเรือนจำว่า ตัวของเขานั้น ก็เปรียบเหมือนธุลีเล็กๆ ในโลกใบใหญ่ ไม่ได้ยิ่งใหญ่หรือสลักสำคัญอะไร หากเราหาความสุขได้ จากการที่ตัวเองเป็นเพียงฝุ่นผง ความสุขนั้นก็จะอยู่กับเราอย่างยั่งยืน

เมื่อก่อนเป็นคนมีอัตตา คิดว่าควบคุมทุกอย่างได้ ทำให้โกรธง่าย แต่ตอนนี้ตัวเองเป็นเพียงฝุ่นเล็กๆ ก็ไม่จำเป็นต้องโกรธใครแล้ว...

เมื่อมองย้อนกลับไป เขาไม่ได้ตำหนิตัวเอง และกลับรู้สึกว่า เข้าใจความคิดอ่าน ของภรรยามากขึ้น ตัวเองไม่ติดใจอะไรแล้ว ไม่โกรธแค้นขุ่นเคือง รู้สึกให้อภัยภรรยา ให้อภัยแก่ตัวเอง และก็อยากให้ภรรยาอภัยให้เช่นกัน

อุทาหรณ์ที่หมอวิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ ได้เรียนรู้จากโรงเรียนชีวิตแห่งนี้ก็คือ มนุษย์เราควรจะต้องระมัดระวัง ในการใช้ชีวิต ไม่ประมาท

ต้องรู้จักฝึกจิตตั้งแต่อายุน้อย ไม่จำเป็นต้องรอให้อายุมากแล้วจึงเข้าวัด ควรฝึกจิตอย่าประมาทให้กิเลส ความโลภ โกรธ หลง ครอบงำจิตใจ เพราะเมื่อไหร่ที่เราถูกครอบงำ เราก็ทำผิดพลาดได้

หากมองย้อนชีวิตที่ผ่านมาแล้ว เสียดายที่ทุ่มเทกับงานการ จนละเลยเรื่องการปฏิบัติธรรม แต่ก่อนในหัวมีแต่งาน ตำรา งานวิชาการ

6 เมษายน ของทุกปี ‘วันจักรี’ รำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

ในวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี นับว่าเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของประเทศไทยซึ่งตรงกับ ‘วันจักรี’ โดยความเป็นมาเริ่มต้นจากในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย มาจนทุกวันนี้

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูป พระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ ( ร.1 - 4 ) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาทเป็นต้น

ในรัชกาลที่ 6 โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง 4 ( ร.1 - 4 ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ 6 โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ 6 เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรดฯ ให้เรียกวันที่ 6 เมษายนว่า ‘วันจักรี’

วันที่ระลึกมหาจักรี หรือที่เรียกกันโดยย่อว่าวันจักรีนั้น สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชดำริว่าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีทรงหล่อพระบรมรูปลักษณะเหมือนพระองค์จริงฉลองพระองค์แบบไทย ณ โรงหล่อหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (บริเวณศาลาสหทัยสมาคมในปัจจุบัน) เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปฐมบรมราชบุพการี แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เชิญพระบรมรูปทั้ง 4 รัชกาลนั้น ประดิษฐานเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ สำหรับถวายบังคมสักการะในงานพระราชพิธีฉัตรมงคลและพระราชพิธีพระชนมพรรษา 

ครั้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบราชสันติวงศ์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกนาถ จากต่างประเทศ แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานร่วมกับพระบรมรูปทั้ง 4 รัชกาลนั้น ต่อมาทรงพระราชดำริว่าพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทยังไม่เหมาะสมที่จะมีงานถวายบังคมสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงพระพุทธปรางค์ปราสาทในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชทั้ง 5 รัชกาล 

โดยได้พระราชทานนามใหม่ว่า ปราสาทพระเทพบิดร โดยทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งได้ประดิษฐานพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงมีพระเดชพระคุณต่อประเทศ เมื่อมีโอกาสก็ควรแสดงความเชิดชูและระลึกถึง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีเชิญพระบรมรูปจากพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทมาประดิษฐานที่ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2461 อันเป็นดิถีคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จกรีธาทัพถึงพระนคร ได้รับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุพระกรัณฑ์ทองคำลงยาราชาวดีซึ่งบรรจุพระบรมทนต์ (ฟัน) พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ลง ณ เบื้องสูงของพระเศียรพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาลครั้นถึงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2461 (สมัยนั้นขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน) 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง ประกาศพระบรมราชโองการให้มีการกราบ ถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเป็นการ ประจำปีกำหนดใน วันที่ 6 เมษายน เป็นประเพณีสืบไป ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีทรงหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โรงหล่อกรมศิลปากร ครั้นตกแต่งพระบรมรูปเรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดการพระราชพิธีประดิษฐาน พระบรมรูปที่ปราสาทพระเทพบิดร โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมทนต์พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธยและดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา แล้วทรงบรรจุที่เบื้องสูงของพระเศียรพระบรมรูป เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2470 

ว่าด้วย 'โรคกลัวสังคม' ปมปัญหาที่พบบ่อยใน 'เด็ก-วัยรุ่น' หยุดได้!! แค่เลิกขยายความ ‘ขี้อาย’ จนกลายเป็นความ ‘กลัว’

วันก่อนเห็นโพสต์ของคุณแข นักแสดงชื่อดัง ผ่านบัญชีเฟซบุ๊ก 'รัศมีแข Rusameekae' พออ่านจบแล้วก็เกิดอารมณ์หลากหลายต่าง ๆ นานา ซึ่งส่วนใหญ่ออกไปทางเข้าใจ แลระคนเห็นใจในสิ่งที่น้องแขต้องเผชิญครั้งวัยเด็ก โดยเนื้อหานั้น เธอว่าแบบนี้...

“ขอบพระคุณเพื่อน ๆ แม่ ๆ และคุณพ่อที่มีลูกในวงการมาก เพราะเด็ก ๆ ทุกคนที่แขเจอ ทำให้แขมีความสุขมาก ๆ ครับ แขเคยโดนเรื่องร้าย ๆ มาตั้งแต่เด็กครับ ทั้งถูกทำร้าย ถูกรังเกียจจากสีผิว เลยทําให้แขมีอาการซึ่งยังเป็นอยู่ครับ ขอเรียกว่าโรค ‘ไม่รังเกียจเราเหรอ’ แขจะ panic ทุกครั้ง เมื่อมีคนมาจับตัว มากอด หรือจับมือ จะมีคำถามขึ้นมาตลอดว่า ‘เค้าไม่รังเกียจเราใช่ไหม?’ โดยเฉพาะเวลาเจอลูกของเพื่อน ๆ หรือคนรู้จัก 

"แข panic ครับ กลัวว่าเค้าจะไม่รังเกียจเราใช่ไหม ถ้าจะคุยจะเล่นกับลูกของเค้า ซึ่งทุก ๆ คนก็ยินดีให้เล่นกับลุงแข แล้วเมื่อไหร่ก็ตามที่แขได้อุ้มได้เล่นกับเด็ก ๆ ลึก ๆ แขจะร้องไห้ตลอดครับ เพราะเวลาเด็ก ๆ ยิ้มให้แข แขเหมือนเราไม่ได้เป็นตัวน่ารังเกียจครับ แล้วเด็ก ๆ ที่แขได้มีโอกาสเจอ ช่วยทำให้แขใจชื้นมาก ๆ ครับ แขรู้สึกเหมือนเราเป็นมนุษย์คนหนึ่งจริง ๆ ครับ สัญญาครับว่าจะเป็นลุงแขที่ดีที่สุดเพื่อหลาน ๆ ครับ”

ลักษณะอาการที่คุณแขเรียกว่า ‘ไม่รังเกียจเราเหรอ?’ น่าจะคล้ายกับ ‘โรคกังวลต่อการเข้าสังคม’ หรือ ‘Social Anxiety in Children & Adolescents’ โดยต้องขอย้ำว่าผู้เขียนมิได้เป็นแม้เศษเสี้ยวผู้เชี่ยวชาญที่กล้าบังอาจวินิจฉัยโรค และคุณรัศมีแขเองก็อาจไม่ได้อยู่ในข่ายนี้ เพียงแต่อยากยกเธอเป็นต้นธารแห่งการแบ่งปันความรู้สึกเท่านั้น

อาการของโรคนี้ ‘นายแพทย์ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย’ จิตแพทย์แห่งโรงพยาบาลมนารมย์ เคยเขียนเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานไว้ว่า ‘ความกังวลต่อการเข้าสังคม’ หรือที่เรียกว่า ‘โรคกลัวสังคม’ (Social Phobia) นั้น พบเห็นได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองรู้สึกขัดอกขัดใจกับบุตรหลานของตนอย่างมากว่า ไม่กล้าแสดงออก หรือพ่อแม่อาจอับอายที่มีลูกขี้อาย โดยยิ่งพยายามผลักดันให้เด็ก ๆ เหล่านี้ ‘แสดงออก’ มากยิ่งขึ้น เช่น ส่งไปเต้นระบำขับร้องบนเวที (ที่มีคนดูเยอะ ๆ) สิ่งเหล่านี้นี่เองที่อาจยิ่งจะทำให้เด็กรู้สึกแย่กับตัวเองมากขึ้นที่ไม่อาจทำให้พ่อแม่พอใจได้

เริ่มจากความ ‘ขี้อาย’ จนกลายเป็นความ ‘กลัว’

ยิ่งคุณรัศมีแขเติบโตมาในสังคมที่ตนดูแปลกแยก ดังที่เคยเล่าออกทางสื่อบ่อย ๆ ว่า เธออาศัยอยู่ที่ยุโรป (สวีเดน) ด้วยผิวพรรณวรรณะ ประกอบกับความเป็น LGBTQ เข้าไปอีก องค์ประกอบความเป็น ‘แข’ จึงเริ่มต้นด้วยความ ‘อาย’ เป็นปฐม

เมื่อความกลัวต่อการถูกเฝ้ามอง (หรือประเมิน) จากคนอื่น เด็กวันวานเหล่านั้นก็จะเกิดความกลัวขึ้น โดยคิดว่าเขา (และเธอ) อาจทำหรือพูดอะไรที่ ‘เปิ่น - เชย - ผิด - งี่เง่า’ ต้องทำให้ตัวเองได้ ‘อาย’ ตกเป็นเป้าของการถูกวิพากษ์วิจารณ์

แถมคุณแขยังเคยโดนทำร้ายร่างกายด้วยอคติอันน่ารังเกียจอีก นั่นจึงเป็นเหตุที่ต้องตั้งคำถามเสมอมาว่า ‘ไม่รังเกียจเราเหรอ?’ แม้ทุกวันนี้เธอมีชื่อเสียงโด่งดังท่ามกลางคนรักใคร่แทบทั้งประเทศ ด้วยความเป็นพลเมืองระดับ ‘คุณภาพ’

ว่ากันตามจริงคนไทยอายุสี่สิบขึ้นวันนี้ล้วนผ่านประสบการณ์ถูก ‘บูลลี่’ (Bully) มามากบ้างน้อยบ้างตามแต่สภาพสังคมที่เติบโต ผู้เขียนเองก็เคย คนรอบข้างก็เคย โดยเราเองอยู่ในสถานะทั้งถูกบูลลี่และเป็นคนบูลลี่ (Abulligy) ด้วย ‘คำเหยียด’ ซึ่งแทบไม่มีผลต่อจิตใจแต่อย่างใด ต่างจากคนรุ่นปัจจุบัน

7 เมษายน พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี

วันนี้ เมื่อ 126 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เพื่อทอดพระเนตรการปกครองของอารยประเทศ รวมเวลา 7 เดือน

การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 การเสด็จประพาสแบบส่วนพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นการแสดงให้บรรดาประเทศมหาอำนาจในยุโรปเห็นว่าสยามมิได้ล้าหลังและป่าเถื่อน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top