Thursday, 3 April 2025
IO

‘อดีตทหารมะกัน’ แฉ!! กลุ่มรับเงิน ‘NED’ ในไทย ทำ IO ใส่ร้ายผู้อื่น แนะ!! จัดการตามมาตรฐานสหรัฐฯ

จากกรณีที่มีการถกเถียงกันในประเด็นทางการเมืองต่างๆ นานา โดยในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มีกลุ่มการเมืองที่กล่าวโจมตี หรือ Name Calling ผู้อื่นและสื่อที่เห็นต่างจากพวกตนเอง ว่าเป็น 'IO รัฐ' (ไอโอรัฐ) ทั้งๆ ที่กลุ่มประชาชนและสื่อที่เห็นต่างนั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการใส่ร้ายผู้อื่นและไม่เป็นประโยชน์ต่อการพูดคุยดีเบตประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการหาเสียงกันอย่างเข้มข้น

แต่ทางด้านของนายไบรอัน เบอร์เลติก (Brian Berletic) อดีตทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ ผู้ผันตัวมาเป็นสื่อมวลชนนักคิดนักเขียนชาวอเมริกัน ที่คนไทยเคยรู้จักในนามปากกา ‘โทนี คาร์ตาลัคซี’ (Tony Cartalucci) ซึ่งคอยตีแผ่และเปิดโปงเบื้องลึกเบื้องหลังในหลายประเด็น ทั้งการเมืองไทยและการเมืองต่างประเทศ โดยเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 อดีตทหารอเมริกันท่านนี้ ได้ทวีตข้อความที่มีสาระสำคัญว่า...

“องค์กร National Endowment for Democracy (NED) ของสหรัฐฯ ได้สร้างองค์กรจำนวนมาก ที่คอยทำปฏิบัติการ IO (Influence Operations) ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงในประเทศไทยด้วย แต่เมื่อรัฐบาลไทยพยายามหยุดยั้งการกระทำเช่นนี้ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กลับโวยวายเรื่อง 'เสรีภาพในการพูด' (Free Speech)”

ทวีตดังกล่าวของนายไบรอัน เป็นข้อความที่รีทวีตต่อมาจากทวีตข้อความของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ที่อ้างว่าทางการสหรัฐฯ ได้จับกุมตัวและดำเนินคดีประชาชนชาวอเมริกันและเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองรัสเซีย ที่แอบสมรู้ร่วมคิดในการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายรัสเซีย และสมรู้ร่วมคิดในการแทรกแซงการเลือกตั้งของสหรัฐฯ

‘บุญระดม’ แฉ!! ‘ก้าวไกล’ จัดตั้งทีม IO เชียร์ตัวเอง ชี้!! มีกลุ่มลับคอยสั่งการเหยียบหมื่นคนทั่วประเทศ

เมื่อไม่นานมานี้ ‘บุญระดม จิตรดอน’ นักข่าวการเมืองอาวุโสชื่อดัง ได้ออกมาทำการแฉพรรคก้าวไกล ในเรื่องของขบวนการ IO พร้อมระบุว่า

แฉแหลก!! พรรคก้าวไกลจัดตั้งทีม iO ทั่วประเทศเหยียบหมื่นคน มีทั้งรูปแบบจัดคีย์เวิร์ดให้ copy & paste เมนต์เชียร์ก้าวไกลในเพจดังๆ มากันทีเป็นฝูง ๆ ระดมกระหน่ำคอมเมนต์ไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งการคอมเมนต์รูปหัวใจสีส้ม พร้อมระบุเบอร์พรรคก้าวไกล ทำให้พรรคก้าวไกลดูเป็นกระแสของสังคม เพจดารา เพจข่าว ไม่เว้นแม้แต่เพจ sex แปะหมด!!

อีกทั้งยังมีการทำโพสต์ในรูปแบบของการเชียร์ก้าวไกล และโจมตีพรรคเพื่อไทย รูปแบบจัดตั้งหน้าม้าไปนั่งส่งเสียงเชียร์เวลาคนของก้าวไกลไปดีเบตก็มี และเมื่อมีคนมาแหกนายพิมธา ว่าเป็น ‘เด็กเลี้ยงแกะ’ กลุ่มไอโอพวกนี้ก็จะมาช่วยกันระดมรีพอร์ต

โดยกลุ่ม IO นี้ มีนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เป็นหัวหน้าทีม เขาจึงอภิปรายคล่องปรี๊ดว่า กองทัพและรัฐบาลจ้าง IO ให้ทำงานแบบไหน เพราะสิ่งที่คุณวิโรจน์พูด คือสิ่งที่คุณวิโรจน์ทำ พรรคที่มี IO มากเป็นอันดับ 1 คือ พรรคก้าวไกล

ซึ่งสอดคล้องกับที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ได้ออกมาแฉเมื่อปีก่อนโน้นว่า พรรคอนาคตใหม่ หรือ พรรคก้าวไกลในปัจจุบัน มี IO ปั่นกระแสให้มากเป็นอันดับ 2 รองจากกองทัพ

ผลโพลที่พุ่งกะทันหันเกินครึ่ง ข่าวว่าก็มาจากยุทธการ IO ปั่นเกือบหมื่น accounts นี่แหละค่ะ
 

หลากโซเชียลรุมขุดบอสเคยออกรายการโหนกระแส ‘หนุ่ม กรรชัย’ ไม่ตระหนก ชี้แจงแล้วก่อนเรื่องแดง

(16 ต.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ใน Social Media หลายช่องทางได้มีการเผยแพร่คลิปความยาวขนาดสั้น และข้อความ ในทำนองเดียวกันว่า 

รายการโหนกระแสที่มีนายกรรชัย กำเนิดพลอย หรือ 'หนุ่ม กรรชัย' เป็นพิธีกร ได้มีการโฆษณาคอร์สการตลาดออนไลน์ของหนึ่งในสมาชิก 'The iCon Group' โดยมีบางคอมเมนต์เชื่อมโยงไปว่าอาจจะเป็นหนึ่งในเครือข่าย

โดยผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่าเมื่อ 9 ต.ค. 67 นายกรรชัย กำเนิดพลอย ได้เคยกล่าวในรายการ ‘เที่ยงวัน ทันเหตุการณ์’ ว่า

“บางคนเคยมาออกรายการโหนกระแส ระดับบอสด้วย ในช่วงขาย 3 นาทีท้ายรายการ อย่าให้บอกเลยว่าใคร และเคยมาขายคอร์สออนไลน์ ตอนแรกก็ไม่รู้คิดว่า เขาสอนออนไลน์ทั่วไป ๆ ให้คนศึกษา แต่มาทราบภายหลังว่าคอร์สลักษณะนี้จะมีการขายของในนั้นด้วย หลังจากนั้นตนจึงยกเลิกงานนี้ไปทั้งหมด บอกไปว่าไม่เอางานแบบนี้”

นอกจากนี้เพจ Drama-Addict ยังได้โพสต์แจ้งในข่าวเรื่องนี้อีกว่า 

“เฮียหนุ่มเล่า ในรายการ บอสคนนึง เคยมาออกโฆษณาโหนกระแสมาขายคอร์สสอนยิงแอด 99 บาท อะไรเทือกนั้น เฮียหนุ่มเพิ่งมารู้ตอนดิไอคอนว่าคนเดียวกันกับบอสของดิไอคอน

อันนี้จ่าเป็นพยาน เพราะ กูคือคนแจ้งเฮียหนุ่มเอง ถถถถถถถ ว่ามีคนไปออกโหนกระแสขายคอรสยิงแอด แต่เอาไปโฆษณาแปลก ๆ ในเฟซ เลยไปแจ้งเฮีย เฮียแกพอรู้ก็สั่งหยุดรับโฆษณาจากพวกนั้น ลบคลิป และห้ามเอาเฮียแกไปอ้างอิงอีกเด็ดขาด

แต่เพิ่งรู้ไม่กี่วันนี้ ว่าหลังจากนั้นแม่งไปเข้ากับดิไอคอน ถถถถถ”

IO ไม่ใช่เครื่องมือไล่ล่าใครแต่ใช้เพื่อความมั่นคง ป้องกันกลุ่มแบ่งแยกชาติแฝงตัวในคราบนักการเมือง

ทำไมกองทัพจึงต้องมี IO: เมื่อพฤติกรรมของนักการเมืองบางคนเปิดช่องให้แนวคิดแบ่งแยกชาติฝังราก

เสียงวิจารณ์ว่ากองทัพไทยใช้งบประมาณในปฏิบัติการข่าวสาร (IO) เพื่อโจมตีนักการเมืองฝ่ายค้านนั้นมีมานาน และยิ่งดังขึ้นเมื่อคุณอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ออกมาแสดงตนว่าเป็น 'เหยื่อ IO' ด้วยวาทกรรมแรงกล้าในทุกเวทีทั้งในและนอกสภา

แต่แทนที่จะหยุดเพียงคำถามว่า “ทำไมทหารต้องทำ IO” เราควรถามกลับว่า “อะไร” คือเหตุผลที่ทำให้บางพรรคการเมืองกลายเป็นเป้าหมายของการเฝ้าระวังทางความมั่นคง

หนึ่งในคำตอบนั้นคือพฤติกรรมของบุคคลในพรรคเดียวกับคุณอมรัตน์ — นั่นคือ รอมฎอน ปันจอ สส.ผู้มีบทบาทชัดเจนในการสนับสนุนงานวิจัยเรื่อง 'สานฝันปาตานีโดยไม่ใช้ความรุนแรง' ซึ่งเผยแพร่แนวคิดเอกราชปาตานีอย่างเป็นระบบ

รอมฎอน ปันจอ เคยเป็นบรรณาธิการเว็บไซต์ Deep South Watch และมีบทบาทอย่างชัดเจนในการสนับสนุนงานวิจัยเรื่อง “สานฝันปาตานีโดยไม่ใช้ความรุนแรง” ที่เนื้อหาภายในมีลักษณะส่งเสริมแนวคิดเอกราชปาตานีอย่างเป็นระบบ

เขานำผลสำรวจความคิดเห็นของคนในพื้นที่ 1,000 คนที่ 'ยอมรับว่าต้องการเอกราช' มานำเสนอผ่านสื่อ และเรียกงานวิจัยชิ้นนี้ว่า 'สุดพีค' พร้อมเสนอว่า รัฐไทยควรยุติความพยายามในการทำให้คนปาตานีละทิ้งความฝันเรื่องเอกราช และควร 'เปิดพื้นที่' ให้แนวทางแบ่งแยกดินแดนได้อภิปรายอย่างเปิดเผยในทางการเมือง

สิ่งที่น่าตกใจกว่านั้นคือ ผู้ช่วยวิจัยของงานชิ้นนี้ล้วนเป็นสมาชิกของเครือข่าย The Patani และ PerMas ซึ่งเป็นกลุ่มที่รณรงค์เรื่อง สิทธิในการกำหนดใจตนเอง และมีความเกี่ยวข้องกับองค์กรต่างชาติที่เคยผลักดันการแบ่งแยกดินแดนในอดีต

เมื่อบุคคลที่มีสถานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สนับสนุนงานลักษณะนี้ และพรรคการเมืองต้นสังกัดของเขากลับไม่มีท่าทีชี้แจง หรือควบคุมอย่างเป็นรูปธรรม สิ่งที่เกิดขึ้นจึงไม่อาจมองว่าเป็นการกระทำส่วนตัว หากแต่เป็น 'การยินยอมโดยพฤตินัย' ของพรรคทั้งพรรค

นี่คือเหตุผลว่าเหตุใดกองทัพ และหน่วยงานความมั่นคงจึงต้องจับตาพรรคการเมืองนี้อย่างใกล้ชิด

IO จึงไม่ใช่เครื่องมือไล่ล่าใคร แต่เป็นเครื่องมือสร้างการรับรู้ข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้เห็นอีกด้านหนึ่ง — ด้านที่ซ่อนอยู่หลังงานวิจัย วาทกรรมสิทธิ และการเคลื่อนไหวใต้ดินของขบวนการที่ไม่เคารพอธิปไตย

การมี IO จึงไม่ใช่เรื่องผิด เพราะทุกประเทศในโลกต่างมีกลไกเช่นนี้เพื่อป้องกันภัยเงียบ เพียงแต่เขารู้ว่า 'ข้อมูลด้านความมั่นคง' ไม่ใช่สิ่งที่จะเปิดเผยต่อสาธารณชนหรือปล่อยให้ต่างชาติเข้าถึงอย่างเสรี

การอภิปรายเรื่องความมั่นคงในรัฐสภาเปิด เป็นเรื่องที่อาจกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว รัฐบาลและฝ่ายการเมืองมีวุฒิภาวะพอที่จะจำกัดการพูดเรื่องความมั่นคงไว้เฉพาะในการประชุมลับของกรรมาธิการหรือหน่วยงานความมั่นคงเท่านั้น

ประเทศไทยเองก็ไม่ต่างกัน หากยังปล่อยให้แนวคิดแบ่งแยกแฝงตัวผ่านช่องทางประชาธิปไตยแบบเสรีไร้ขอบเขต โดยไม่มี IO คอยสกัดกั้นและให้ข้อมูลแก่ประชาชน สังคมไทยก็อาจตื่นรู้ไม่ทัน ก่อนที่โครงสร้างของชาติจะถูกกัดกร่อนไปทีละชั้น

หน่วยบัญชาการทหารไซเบอร์ หน่วยรบที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสงครามสมัยใหม่

แม้ว่าการรบที่เกิดในปัจจุบันที่เราท่านได้เห็นกันตามสื่อต่าง ๆ ยังคงเป็นการรบด้วยกำลังทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สมรภูมิที่มองไม่เห็นและมีการต่อสู้กันอย่างดุเดือดไม่แพ้กันเลยก็คือ 'สมรภูมิไซเบอร์' ซึ่งสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้นยังที่การสู้รบที่เป็น 'สงครามไซเบอร์' อีกด้วย 

สงครามไซเบอร์ระหว่างรัสเซียและยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของการเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียและยูเครนตั้งแต่ “การปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรี หรือการปฏิวัติไมดาน หรือการปฏิวัติยูเครน” ซึ่งเกิดขึ้นในยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2014 โดย Uroburos อาวุธไซเบอร์ของรัสเซียซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 2005 อย่างไรก็ตาม การโจมตีระบบสารสนเทศเป็นครั้งแรกต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนของยูเครนถูกบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นระหว่างการประท้วงครั้งใหญ่ในปี 2013 

ปฏิบัติการ Armagedon (เป็นการสะกดคำว่า Armageddon ผิดโดยตั้งใจ) ซึ่งเป็นปฏิบัติการจารกรรมทางไซเบอร์อย่างเป็นระบบของรัสเซียต่อระบบสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ หน่วยบังคับใช้กฎหมาย และหน่วยงานป้องกันประเทศของยูเครน ได้เริ่มต้นขึ้นในปี 2013 โดยรัสเซียเชื่อว่าจะเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนปฏิบัติการในสนามรบได้ ระหว่างปี 2013 และ 2014 ระบบสารสนเทศบางส่วนของหน่วยงานของรัฐบาลยูเครนได้รับผลกระทบจากไวรัสคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อว่า Snake หรือ Uroborus หรือ Turla 

ในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2014 ขณะที่กองทหารรัสเซียเข้าสู่ไครเมียศูนย์สื่อสารและสายเคเบิลไฟเบอร์ออปติกของยูเครนถูกโจมตีและถูกแทรกแซงรบกววนสัญญาณทำให้การเชื่อมต่อระหว่างคาบสมุทรและแผ่นดินใหญ่ยูเครนถูกตัดขาด นอกจากนี้ เว็บไซต์ของรัฐบาลยูเครน ข่าว และโซเชียลมีเดียก็ถูกปิดหรือตกเป็นเป้าหมายในการโจมตี ขณะที่โทรศัพท์มือถือของสมาชิกรัฐสภาของยูเครนหลายคนถูกแฮ็ก หรือรบกวนสัญญาณ ผู้เชี่ยวชาญของยูเครนจึงได้ระบุถึงจุดเริ่มต้นของสงครามไซเบอร์กับรัสเซีย บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เริ่มบันทึกจำนวนการโจมตีทางไซเบอร์ในระบบสารสนเทศของยูเครนที่เพิ่มขึ้น 

เหยื่อของการโจมตีทางไซเบอร์ของรัสเซีย ได้แก่ หน่วยงานของรัฐบาลยูเครน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา หน่วยงานด้านการป้องกันประเทศ องค์กรด้านการป้องกันประเทศ และองค์กรทางการเมืองระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค สถาบันวิจัย สื่อมวลชน และนักต่อต้านรัฐบาล ในปี 2015 นักวิจัยได้ระบุกลุ่มแฮกเกอร์ชาวรัสเซียสองกลุ่มที่เคลื่อนไหวในสงครามไซเบอร์ระหว่างรัสเซียและยูเครน ได้แก่ กลุ่มที่เรียกว่า APT29 (Cozy Bear, Cozy Duke) และ APT28 (Sofacy Group, Tsar Team, Pawn Storm, Fancy Bear) และตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการพิเศษทางทหารต่อยูเครน รัสเซียได้ทำการโจมตีทางไซเบอร์ต่อบริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม Starlink ที่ยูเครนใช้งานเรื่อยมาจนทุกวันนี้

ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา พรรคประชาชนได้แฉเอกสารลับที่เกี่ยวข้องกับ “ปฏิบัติการ IO หรือ ปฏิบัติการการข้อมูลข่าวสาร” โดยพยายามตีความให้สังคมไทยเห็นว่า “กองทัพกำลังคุกคามประชาชน ล้ำเส้นประชาธิปไตย และควรถูกจำกัดบทบาทให้เหลือแค่ ‘ยามเฝ้าประตู’ เท่านั้น” แต่เรื่องพรรคประชาชนที่เปิดเผยนั้นกลับไม่ได้ทำให้กองทัพดูน่ากลัวแต่อย่างใด และทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยได้เห็นว่า “กองทัพไทยมีศักยภาพเชิงลึกในการเฝ้าระวังภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ทั้งในมิติของข้อมูล ข่าวสาร” และมีขีดความสามารถในการควบคุมทิศทาง “การรับรู้” ซึ่งนั่นก็คือ “การทำสงครามอย่างมีพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) อย่างเต็มรูปแบบ (พุทธิพิสัยเป็นเรื่องของการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับ สติปัญญา ความรู้ ความคิด หรือพฤติกรรมทางด้านสมองที่ทำให้มีความเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแสดงถึงความสามารถทางด้านสติปัญญา) 

เอกสารดังกล่าวทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยได้เห็นในอีกแง่มุมว่า “กองทัพไทยไม่ได้ล้าหลัง แต่กลับมีความเข้าใจในบริบทของโลกสมัยใหม่มากกว่าที่สังคมไทยคิด!” โดยเอกสารนั้นได้ระบุว่า “กลุ่มเป้าหมายของการเฝ้าระวังส่วนหนึ่งคือ กลุ่มนักการเมือง นักเคลื่อนไหว และเครือข่ายที่รับทุนสนับสนุนจากองค์กรต่างชาติ เช่น USAID และ NED (องค์กรที่มีบทบาทแทรกแซงนโยบายภายในของประเทศต่าง ๆ มาแล้วทั่วโลก และเคยถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าใช้ประชาธิปไตยเป็นข้ออ้างในการบ่อนทำลายความมั่นคงของรัฐในประเทศที่เห็นต่างหรือขั้วตรงข้ามมาแล้ว) และกองทัพไทยไม่ได้แค่ใช้ปฏิบัติการ “IO” เพื่อทำงานแบบเก่าและโบราณ เช่น การส่งข้อความปลุกใจ แต่ปรากฏว่าเป็นการทำงานอย่างเป็นระบบ มีกลไกที่ทำงานเป็นโครงข่าย มี Node มีความเชื่อมโยง มีระบบติดตามพฤติกรรม และมีการวิเคราะห์ปฏิกิริยาในเชิงจิตวิทยา

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นการตอกย้ำว่า “ทหารไทยในยุคปัจจุบันเข้าใจดีว่า โลกไม่ได้รบกันแค่ในสนามรบ แต่รบกันในหัวสมองประชาชน และรบด้วยการมี “พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)” การอภิปรายของพรรคประชาชนในกรณีนี้จึงทำให้สังคมไทยได้ตระหนักว่า เมื่อสงครามสมัยใหม่สู้รบด้วยข้อมูล และใช้ความคิดลวง เพื่อทำให้คนไทยสับสนและหมดศรัทธาในสถาบันหลักของชาติ ดังนั้นจึงสมควรอย่างยิ่งที่กองทัพไทยจะต้องมี “หน่วยรบไซเบอร์” อย่างเป็นทางการ เป็นหน่วยปฏิบัติการหลักที่มีโครงสร้างชัดเจนและสามารถปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพต่าง ๆ ทั้ง กองทัพบก-กองทัพเรือ-กองทัพอากาศ-สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ได้ 

หลายฝ่ายได้มีการเสนอให้ตั้ง 'กองทัพไซเบอร์' เป็นเหล่าทัพใหม่ แต่อันที่จริงแล้ว 'หน่วยรบไซเบอร์' ของกองทัพไทยควรจะเป็นหน่วยปฏิบัติการภายใต้กองบัญชาการกองทัพไทย ในลักษณะและโครงสร้างที่มีความคล้ายคลึงกับหน่วยงานที่มีอยู่ เช่น “หน่วยบัญชาหารทหารพัฒนา” เนื่องจากการตั้งเหล่าทัพใหม่นั้นต้องใช้เวลาทั้งการศึกษา เตรียมการ และจัดตั้ง ค่อนข้างยาวนาน และต้องใช้งบประมาณอีกมหาศาล ดังนั้นการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ภายใต้กองบัญชาการกองทัพไทย น่าจะเป็นทางเลือกที่มีความเหมาะสมและรวดเร็วกว่า จึงขอใช้โอกาสนี้ให้กองทัพไทยได้จัดตั้ง 'หน่วยบัญชาการทหารไซเบอร์' โดยเร็วที่สุด เพื่อให้กองทัพไทยมีความพร้อมและสามารถรับมือกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ทุกรูปแบบและทุกมิติ เพราะ “ความมั่นคงของชาติบ้านเมือง” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการธำรงและรักษาไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตยของชาติบ้านเมือง

“แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ ศัตรูกล้ามาประจัน จะอาจสู้ริปูสลาย” 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top