Friday, 29 March 2024
International

โอกาสสำหรับคนอยากเรียนต่อจีน!! ขอเชิญร่วมงาน OPEN DAY Online แนะนำทุนการศึกษาจีนและยื่นขอทุนผ่านชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนจี๋เหม่ยแห่งประเทศไทย

งาน OPEN DAY วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2021

????รอบเช้า 08.30 - 11.00 น.

????รอบบ่าย 13.00 - 15.30 น.

(2 รอบ เหมือนกัน เลือกเข้าเวลาใดเวลาหนึ่งได้)

????ช่องทาง ออนไลน์ ผ่านแอพ VooV Meeting 藤讯会议 https://bit.ly/3hDxH6w ????

ลงทะเบียนร่วมกิจกรรม OPEN DAY ฟรี

https://forms.gle/wMYPwa7Nu8zgwTPo9

ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง **19 กุมภาพันธ์ 2021**

แนะนำทุนการศึกษาจีน ตั้งแต่ ระดับ ม.ปลาย/ปวช./ปวส./ป.ตรี/ป.โท/ป.เอก จากหลากหลายสถานศึกษา โดยมีทุนการศึกษาเฉินเจียเกิง เป็นทุนหลัก ตามด้วย ทุนมณฑล / ทุนมหาวิทยาลัย /ทุนรัฐบาลจีน / ทุนสถาบันขงจี๊อ / ฯลฯ

มีทุนให้สำหรับทั้ง ผู้ที่มีผลสอบ HSK และ ผู้ไม่มีพื้นฐานภาษาจีน (ไม่มีผลสอบ HSK)

ติดตามข่าวสารและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โอเพนแชท "ศูนย์แนะแนวทุนจีน ชมรมศิษย์เก่าฯจี๋เหม่ย 教育辅导中心" โปรดแตะลิงก์ด้านล่างเพื่อเข้าร่วมโอเพนแชทนี้

https://line.me/ti/g2/rPxjj9Q2hZwO5Gh-cyO3cA?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default


ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจในโครงการต่างๆ ที่จัดโดยชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนจี๋เหม่ยแห่งประเทศไทย

รักภาษาอะไร?! บอกรักยังไงให้แฟนงง 7 ภาษาบอกรักจากทั่วโลก

วาเลนไทน์ทั้งที ก็ต้องมีโมเมนต์หวานเอาใจคนมีความรักกันสักหน่อย แต่จะให้บอก ‘ฉันรักคุณ’ แบบธรรมดาก็อาจจะเชยไป วันนี้เรามีภาษาบอกรักแบบอินเตอร์ส่งตรงจากประเทศต่าง ๆ มาฝาก บอกเลยว่าคัดมาแต่ภาษาแปลก ๆ รีบไปฝึกออกเสียงให้ดี แล้วพุ่งไปบอกคนที่คุณรักในวันวาเลนไทน์นี้ได้เลยยยย

สหราชอาณาจักรยังเปิดประตูรับนักศึกษาต่างชาติ ย้ำนักเรียนต่างชาติมีสิทธิได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยปีนี้เพิ่มทุนให้เปล่าสำหรับนักศึกษาปริญญาโทของไทยเป็น 28 ทุน ชี้ปีก่อนมีนักเรียนไทยราว 30% เลื่อนการเรียนต่อ แต่ยังคงมุ่งมั่นเข้าเรียนที่ ‘อังกฤษ’

สถานการณ์ COVID-19 ป่วนวงการการศึกษาเช่นกัน เนื่องจากนักเรียน-นักศึกษาอาจไม่สบายใจที่จะเข้าเรียนต่อในต่างประเทศตามแผนที่ได้วางไว้

อเล็กซานดรา แมคเคนซี อัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ชี้แจงถึงสถานการณ์ที่อังกฤษซึ่งยังคงเปิดประตูต้อนรับนักเรียนต่างชาติ ปัจจุบัน นักเรียน - นักศึกษาที่ยังคงศึกษาอยู่ โดยอยู่ในภาคเรียนฤดูใบไม้ผลิปี 2020/21 มีการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ล็อกดาวน์ คือเน้นเรียนออนไลน์เกือบทั้งหมด ยกเว้นคลาสที่จำเป็นต้องใช้ห้องปฏิบัติการเท่านั้น

ส่วนในภาคเรียนฤดูใบไม้ร่วง 2021/22 ที่กำลังจะเริ่มต้นในเดือนกันยายนนี้ อเล็กซานดรากล่าวว่า อังกฤษมีการเตรียมแผนไว้ทั้งการเรียนแบบปกติในห้องเรียน และการเรียนแบบออนไลน์ โดยจะปรับใช้ตามสถานการณ์ แต่จากแนวโน้มที่อังกฤษเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่มีการฉีดวัคซีนแล้ว ทำให้คาดว่าจะเป็นการเรียนแบบผสมผสานออฟไลน์-ออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าคุณภาพการศึกษาที่อังกฤษยังคงคุณภาพระดับโลกเช่นเดิม

สำหรับข้อกังวลของนักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข อเล็กซานดราชี้แจงว่า นักเรียนนักศึกษาที่ได้วีซ่าเพื่อศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ จะอยู่ในระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ของอังกฤษโดยอัตโนมัติ ทำให้นักเรียนต่างชาติทุกคนมีสิทธิได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ตามลำดับความจำเป็นก่อนหลัง รวมถึงได้รับการตรวจ COVID-19 กรณีที่มีความเสี่ยง

นอกจากจะยืนยันเพื่อคลายข้อกังวลด้านสุขภาพและการรับเข้าเรียน เธอยังเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับวีซ่าด้วยว่า สำหรับนักศึกษาที่จบระดับชั้นปริญญาโทและปริญญาเอกแล้วต้องการทำงานต่อในสหราชอาณาจักร ยังคงขอวีซ่าที่เรียกว่า The Graduate Route ได้เช่นเดิม คือบัณฑิตป.โทสามารถใช้เวลาหางานได้ 2 ปีหลังเรียนจบ และบัณฑิตป.เอกสามารถหางานทำได้ถึง 3 ปี

ด้าน อุไรวรรณ สะโมลี หัวหน้าฝ่ายบริการการศึกษาต่อสหราชอาณาจักร บริติช เคานซิล ประเทศไทย กล่าวถึงความพิเศษของทุนจากบริติช เคานซิลคือ The Great Scholarships ปี 2021 มีการเพิ่มจำนวนทุนเป็น 28 ทุนจากสถาบันการศึกษา 22 แห่ง ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วที่มีเพียง 9 ทุนเท่านั้น

โดยทุนทั้งหมดจัดสรรให้กับนักเรียนไทยที่ต้องการศึกษาต่อปริญญาโทที่อังกฤษ มีหลากหลายสาขาวิชาที่ให้ทุนมูลค่าต่อทุนขั้นต่ำ 10,000 ปอนด์ (ประมาณ 4 แสนบาท) ซึ่งครอบคลุมค่าเล่าเรียนทั้งหมดได้ และเป็นทุนให้เปล่าอีกด้วย (https://www.britishcouncil.or.th/study-uk/great-scholarships)

นอกจากนี้ยังมีทุน Women in STEM เป็นทุนที่ให้แบบเต็มจำนวนรวมทั้งค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก และตั๋วเดินทางไปกลับ แก่ผู้หญิงที่ต้องการเรียนปริญญาโทในสาขาวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม หรือคณิตศาสตร์สำหรับประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไม่รวมสิงคโปร์และบรูไน) ได้รับจัดสรรทั้งหมด 15 ทุน ปีนี้เปิดสาขาที่อนุญาตขอทุน คือ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและโลกร้อน, วิทยาศาสตร์ชีวิตและสุขภาพ และ เกษตรกรรม (https://www.britishcouncil.org/study-work-abroad/in-uk/scholarship-women-stem?_ga=2.125457545.263787490.1613449442-1351125984.1613449442)

ในแง่สถิติการเข้าเรียนต่อต่างประเทศของนักเรียนไทย ภาคการศึกษาปี 2561/62 อยู่ที่ 15,457 คน ในจำนวนนี้เลือกเรียนต่อที่ "สหราชอาณาจักร" มากเป็นอันดับ 1 คิดเป็น 45% รองมาอันดับ 2 คือ "สหรัฐอเมริกา" 35% และอันดับ 3 คือ "ออสเตรเลีย" 16%

สาขาวิชาที่นักเรียนไทยนิยมมากที่สุดที่อังกฤษ (เฉพาะระดับปริญญาตรีขึ้นไป) ยังคงเป็น "บริหารธุรกิจ" ซึ่งคิดเป็น 60% ของนักเรียนทั้งหมดเพราะเป็นสาขาที่มีแหล่งงานรองรับมากในไทย ตามด้วยสาขา "กฎหมาย" ซึ่งมาแรงขึ้นมากโดยมีสัดส่วน 10% ที่เหลือเป็นสาขาวิศวกรรมและเทคโนโลยี 6% สาขาสังคมศาสตร์ 5% และ สาขาการออกแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 3%

ดังที่เห็นว่าสถิติดังกล่าวเป็นข้อมูลปี 2561/62 ก่อนจะเกิดสถานการณ์ COVID-19 ขึ้น อุไรวรรณกล่าวว่า เมื่อปีก่อนหลังเกิดโรคระบาด บริติช เคานซิลมีการจัดสำรวจเมื่อเดือนเมษายน 2563 พบว่านักเรียนเกือบ 30% มีความกังวลที่จะเข้าเรียนต่อต่างประเทศ และตัดสินใจจะเลื่อนแผนการศึกษาต่อออกไปก่อน

อย่างไรก็ตาม หลังพูดคุยกับนักเรียนพบว่า ส่วนใหญ่ยังคงมุ่งมั่นที่จะเข้าเรียนที่ประเทศอังกฤษมากกว่าจะเปลี่ยนทิศทางไปยังประเทศอื่น และเชื่อว่าแนวโน้มปัจจัยบวกจากวัคซีน COVID-19 น่าจะจูงใจให้นักเรียนที่เลื่อนแผนออกไป กลับมาศึกษาต่อกันในปีนี้


ที่มา: https://positioningmag.com/1319555

พลาดไม่ได้! เจาะลึกทุนการศึกษาจีน จากสัมมนาออนไลน์ Way Forward 2021 ครั้งที่ 1 เผยรายละเอียดทุนการศึกษาในจีน เอกสารสำคัญสมัครทุน รายชื่อมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน

ทุนการศึกษาในจีน️

• ทุนรัฐบาลจีน (CSC)

• ทุนรัฐบาลท้องถิ่น (CPGS)

• ทุนขงจื่อ (CIS)

• ทุนด้านวิทยาศาสตร์ ANSO

• ทุนหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRS)

• ทุนเส้นทางสายไหม (CGS-SRSP)

• ทุนรัฐบาลฯ สำนักงานก.พ.

• ทุนองค์กรภาครัฐและเอกชนไทย

เอกสารสำคัญสมัครทุน

• ใบสมัครทุน

• ผลสอบวัดระดับภาษา (HSK, HSKK, TOELF อื่น ๆ)

• สำเนาปริญญาบัตร (Degree Certificate)

• สำเนาใบรายงานผลการศึกษา (Transcript)

• สำเนาพลาสปอร์ต

• Study Plan / Research Plan

• Recommendation Letter 3 ฉบับ

• ใบรับรองสุขภาพ

• Resume / CV

• Cover Letter (แจ้งความประสงค์พร้อม Contact ของเรา)

มหาวิทยาลัยชั้นนำในจีน

C9 LEAGUE กลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ 9 แห่งของจีน ที่รัฐบาลอัดฉีดงบประมาณเป็นพิเศษ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษาและวิจัยสู่ระดับนานาชาติ

1.) Tsinghua University

2.) Peking University

3.) Shanghai Jiao Tong University

4.) Fudan University

5.) Zhejiang University

6.) University of Science and Technology of China

7.) Harbin Institute of Technology

8.) Nanjing University

9.) Xi'an Jiaotong University

โครงการซวงอีหลิว (双一流) นโยบายขับเคลื่อนการศึกษาของจีน ต่อยอดมาจาก โครงการ 211 / โครงการ 985

• มหาวิทยาลัยชั้นนำ 42 แห่ง

• หลักสูตรชั้นนำ 98 แห่ง

ค้นหา ’รายชื่อมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน’ และ ’รายชื่อหลักสูตรชั้นนำของจีน’ ได้ที่ วารสารวิทย์ไมตรีไทย-จีน ฉบับเดือนต.ค. 2563 “เส้นทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของจีน” www.stsbeijing.org/contents/2169

ช่องทางติดตามข่าวทุน

กลุ่ม FB : Thai CSC, CIS Scholarship, แนะแนวเข้าชิงหวา และอื่น ๆ

เพจ FB : วิทย์ไมตรีไทยจีน ฝ่ายวิทยาศาสตร์ฯ สอท.ปักกิ่ง, Thai Ph.D. in China, ที่ทำการมหาวิทยาลัยจีนประจำประเทศไทย และอื่น ๆ

การสัมมนาออนไลน์ Way Forward 2021 ครั้งที่ 1

วิทยากร อ.ดร.ธีรติร์ บรรเทิง (ต้น)

รับชมย้อนหลัง : https://youtu.be/3fBHtz6HpoE

—————————————————

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม)

www.stsbeijing.org


ที่มา: https://www.facebook.com/107367570908663/posts/266921991619886/?sfnsn=mo

ฝ่ายวิชาการวิทยาลัยจี๋เหม่ย ประเทศจีน ชื่นชมเด็กไทยนักเรียนทุนเฉินเจียเกิง หลังใช้วันหยุดช่วงปิดเทอมทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรร่วมกับ The Study Times สำนักข่าวเพื่อการศึกษาออนไลน์ของไทย แบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาในประเทศจีน ระบุข้อความว่า…

การเล่าเรื่องราวด้วยภาษาจีนที่ดีและทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวอันเป็นมิตร

เบื้องหลังการถ่ายทำ

ในช่วงปิดเทอมแรก (ฤดูหนาว) ปี 2021 นักเรียนชาวต่างชาติ(ไทย) ทุนรุ่น19 (น.ส.พิชามญชุ์ เกื้อมา李莲雾)、(น.ส.ลภัสนันท์ นันทกุล 陈丽)、(น.ส.ภัควดี นิธิสหกุล陈悦榕) และ(น.ส.บุญา เถกิงสุขวัฒนา 罗亮亮) ได้เข้าร่วมในการฝึกงาน ด้านการออกอากาศข่าวการศึกษา ของสื่อท้องถิ่นของประเทศไทย “The Study Times”

ในระหว่างการฝึกงาน นักเรียนทั้ง 4 คนได้อวยพรวันปีใหม่จีน ให้กับผู้ชมทางบัญชี Tik Tok ของ The Study Times และแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาในประเทศจีน ด้วยภาษาจีนที่คล่องแคล่ว และ ด้วยมารยาทที่เอื้อเฟื้อ นักเรียนทั้งสี่คนได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์อันมีเสน่ห์ของนักเรียน ทุนเฉินเจียเกิง(ผู้ให้ทุน) อย่างเต็มที่และภาคภูมิใจ

ห้องนักเรียนต่างชาติรุ่น 2019 เป็นห้องเรียนรุ่นที่3 ของโรงเรียนซึ่งประกอบด้วยนักเรียนต่างชาติ จากประเทศไทย เวียดนาม ลาว และอินโดนีเซีย นับเป็นการพัฒนาครั้งประวัติศาสตร์ในการก้าวสู่ความเป็นสากลของโรงเรียน เราเฝ้ารอคอยการประสบความสำเร็จของนักเรียนชาวต่างชาติ ได้เล่าเรื่องราวของจีนในประเทศของตนในอนาคต และทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวสารที่ดีและเป็นมิตร

ผู้แปล น.ส.พิชามญชุ์ เกื้อมา 李莲雾


ที่มา https://mp.weixin.qq.com/s/lPLm4m7LSDrQ-vRy_qvyag

เปิดเส้นทางการศึกษาของประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา เตรียมอุดมศึกษา ถึงระดับอุดมศึกษา

ระบบการศึกษาของมาเลเซีย

1.) ระดับก่อนประถมศึกษา

การศึกษาภาคบังคับของมาเลเซียเริ่มเมื่อนักเรียน อายุประมาณ 7 ปี มาเลเซียจึงไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการเรียนระดับก่อนประถมศึกษา

โรงเรียนอนุบาลในมาเลเซียเป็นโรงเรียนเอกชน ส่วนมากมีที่ตั้งอยู่ในชุมชนเมือง สําหรับกลุ่มผู้ปกครองที่มีฐานะทางการเงินที่ดีและต้องการส่งเสริมพัฒนาการของบุตรก่อนเข้าโรงเรียนประถม

2.) ระดับประถมศึกษา

มีระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ระดับ Year 1 (Tahun 1) ถึง Year 6 (Tahun 6) แม้จะมีการสอบภายในทุกภาคเรียน แต่นักเรียนสามารถเลื่อนระดับไปเรียนในปีถัดไปได้เลย แม้จะสอบได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ (แต่ละปีมี 2 ภาคเรียน ภาคที่ 1 เดือน ม.ค.- พ.ค. 20 สัปดาห์ และภาคที่ 2 เดือน มิ.ย.- พ.ย. 22 สัปดาห์ มีหยุด 4 ครั้ง ระหว่างภาคและกลางภาค รวม 10 สัปดาห์)

การศึกษาของรัฐแบ่ง ร.ร. ออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

(1) National schools (Sekolah Kebangsaan: “SK”) ใช้ภาษามาเลเซียเป็นสื่อหลักในการเรียนการสอน

(2) National-type schools หรือ Vernacular schools (Sekolah Jenis Kebangsaan: “SJK”) ใช้ ภาษาอื่นเป็นสื่อหลักในการเรียนการสอน ปัจจุบันคงเหลือเพียงโรงเรียนที่ใช้ภาษาจีนกลางในระบบการเขียนแบบ simplified “SJK (C)” และที่ใช้ภาษาทมิฬ “SJK (T)” ในอดีตเคยมีโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาปัญจาบเป็นสื่อการเรียนการสอนด้วย แต่ปัจจุบันไม่มี

3.) ระดับมัธยมศึกษา

มีระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ระดับ Form I (Tingkatan 1) จนถึง Form V (Tingkatan 5) แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่มัธยมศึกษาตอนต้น (Forms I-III) และตอนปลาย (Forms IV-V) โดยทั่วไป นักเรียนสามารถเลื่อนระดับได้ทุกปี แม้ว่าจะสอบได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์

รัฐบาลมาเลเซียกําหนดให้การเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาทั้งหมด (ไม่รวมวิชาภาษา) ใช้ภาษามาเลเซียเป็นภาษาหลัก

4.) ระดับเตรียมอุดมศึกษา

นักเรียนมาเลเซียที่ประสงค์จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐสามารถเลือกศึกษาในระดับเตรียมอุดมศึกษาได้ 2 แนวทางได้แก่

(1) ศึกษาต่อในระดับ Form VI เป็นเวลา 1.5 ปี เพื่อสอบประกาศนียบัตร Sijil Tinggi Persekolahan Malaysia (“STPM” - เดิม เรียกว่า Higher School Certificate) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับระบบการสอบ Advanced GCEs ของอังกฤษ นักเรียนสามารถลงเรียนและสอบได้ไม่เกิน 5 วิชา ซึ่งมหาวิทยาลัยของรัฐส่วนใหญ่มักกําหนดให้วิชา General Studies เป็นหนึ่งในวิชาบังคับสําหรับการเข้าศึกษาต่อ ทั้งนี้ นักเรียนสามารถเลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษได้ด้วย

(2) ศึกษาในหลักสูตร Matriculation Programme ของสถาบัน ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาเป็นพิเศษโดยมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในลักษณะคล้าย Foundation Programme ซึ่งผลการสอบจะสามารถใช้ได้เฉพาะกับมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เท่านั้น

5.) ระดับอุดมศึกษา

หลักสูตรปริญญาตรีโดยทั่วไปมีระยะเวลา 3 หรือ 4 ปี ส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน หรือผสมผสานระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษามาเลเซีย ยกเว้นมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia: “UKM”) ซึ่งใช้ภาษามาเลเซียในการเรียนการสอนทั้งหมดในวิชาที่ไม่ใช่วิชาภาษาต่างประเทศ

มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนชั้นนํามักกําหนดใช้ผลการสอบ STPM (หรือ UEC ในมหาวิทยาลัยเอกชน) และคะแนนสอบ Malaysian University English Test (MUET) เป็นเกณฑ์ในการสมัครเข้าศึกษาต่อ และรับพิจารณาวุฒิการศึกษาจากต่างประเทศสําหรับนักศึกษาต่างชาติ โดยสำหรับประเทศไทยนั้น กําหนดให้นักเรียนต้องจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีคะแนนดีเพียงพอสําหรับการเข้ามหาวิทยาลัยไทยในระดับเดียวกัน (นักเรียนที่มีคะแนน O-NET/GAT/PAT ที่ดี หรือมีมหาวิทยาลัยไทยรองรับแล้ว อาจได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ) และมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ (IELTS หรือ TOEFL) ประกอบ

โดยภายหลังจากที่มหาวิทยาลัยตอบรับแล้ว นักศึกษาต่างชาติทั้งหมด จะต้องจัดส่งเอกสารทางการศึกษาทั้งหมดให้หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย คือ Education Malaysian Global Services Bhd. (“EMGS”) เป็นผู้ตรวจสอบหลักฐานก่อนจึงจะสามารถขอตรวจลงตรา (“วีซ่า”) ได้ หลักสูตรปริญญาโททั่วไปมีระยะเวลา 2 ปี และปริญญาเอก ประมาณ 4 - 5 ปี โดยทั่วไปใช้ปริญญาตรีและปริญญาโทเป็นวุฒิหลักในการสมัครตามลําดับ แต่มีรายละเอียดแตกต่างกันไป


ขอบคุณข้อมูลจาก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

ขอบคุณที่มา: https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3494320973985936&id=541186885966041

ชวนผู้ที่สนใจสมัครทุน Fulbright Thai Graduate Scholarship (TGS) ทุนให้เปล่าไม่ต้องใช้ทุน ไปเรียนต่อระดับปริญญาโท/เอก ที่สหรัฐอเมริกา มาฟัง Clubhouse พูดคุยถามตอบแบบสด ๆ กับศิษย์เก่าและนักเรียนทุนปัจจุบัน

จัดถึง 2 sessions พร้อมกับศิษย์เก่าและผู้รับทุนปัจจุบัน ทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ พูดคุยถามตอบแบบสบาย ๆ อย่างใกล้ชิด... ทุน Fulbright TGS สมัครอย่างไร ต้องเก่งขนาดไหน เขียน essays อย่างไรให้โดนใจกรรมการ เค้าสัมภาษณ์กันอย่างไร พบกับรุ่นพี่จากสาขาต่าง ๆ ได้ตามเวลานี้เลย

???? วันพฤหัสบดีที่ 25 ก.พ. เวลา 21.30 - 23.30 น. (ศิษย์เก่าระดับ ป.โท)

⭐️ คุณมนัสนันท์ ลีลาหงส์จุฑา MBA, MIT Sloan School of Management

⭐️ คุณพิณไพเราะ ธีรเนตร Law, Harvard University

⭐️ ดร.สวรส ธนาพรสังสุทธิ์ Education Technology, Columbia University

⭐️ คุณพัทธ์ธีรา ฉลาดมานะกุล International Development, Johns Hopkins SAIS

⭐️ คุณศุภวารี ภัทราวณิชย์ Program Officer ผู้ดูแลทุน Fulbright Thai Graduate Scholarhsip Program

https://www.joinclubhouse.com/event/xoLJNV6M

???? วันเสาร์ที่ 27 ก.พ. เวลา 22.00 - 23.30 น. (ศิษย์เก่าและผู้รับทุนปัจจุบันในอเมริกา ระดับ ป.โท และ ป.เอก)

⭐️ คุณเกวลิน รัตนโสภิณสวัสดิ์ MBA, Stanford Graduate School of Business

⭐️ คุณนันทินี ชุโนทัยสวัสดิ์ MBA, Tepper School of Business, Carnegie Mellon University

⭐️ พญ. ขวัญกมล เดชาติวงศ์ ณ อยุธญา Human Development and Psychology, Harvard Graduate School of Education

⭐️ คุณนวินดา อุปนันท์ Special Education, University of Washington (ป.เอก)

⭐️ คุณรณกฤต โรจน์ยินดีเลิศ Museum Studies, University of the Arts

⭐️ คุณธนัช จตุภัทรฉัตร Computer Science, University of Southern California

⭐️ คุณธนาวุฒิ อนันท์พิริยากุล Computer Science, University of San Francisco

⭐️ น.สพ. วีรพงษ์ เหล่าเวชประสิทธ์ Comparative Biomedical Science (Marine Veterinary), University of Georgia (ป.เอก)

⭐️ คุณศุภวารี ภัทราวณิชย์ Program Officer ผู้ดูแลทุน Fulbright Thai Graduate Scholarhsip Program

(ป.ล. กำลังรอคอนเฟิร์ม guest speakers ป.เอก สายวิทย์ อีก 2-3 คน)

https://www.joinclubhouse.com/event/xkLdR


ที่มา: https://www.facebook.com/353795897307/posts/10158031776747308/

มหาวิทยาลัยเฮียวโก๊ะ ประเทศญี่ปุ่น มอบทุนการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาตรี ประจำปี 2564 ทั้งทุน 50% ระยะเวลา 4 ปี และเพิ่มทุนเต็มจำนวน 100% พร้อมตั๋วเครื่องบิน อีกจำนวน 8 ทุน

คุณสมบัติ 

1. เป็นนักเรียนโรงเรียนรัฐบาลสังกัด สพฐ. กำลังศึกษาชั้นม.6 ปีการศึกษา 2563 GPA ไม่ต่ำกว่า 3.00

2. มีความตั้งใจที่จะศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ภาค Business of Administration จนจบการศึกษา

3. มีความรู้ภาษาอังกฤษดี เกรดเฉลี่ยภาษาอังกฤษ 3.5 ขึ้นไป (แสดงผลคะแนน TOEFL,TOEIC , IELTS ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด) หากไม่มี ทาง สพฐ. หรือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษของโรงเรียน สามารถกรอกแบบฟอร์ม “Recommendation of English Proficiency” แนบเป็นหลักฐานได้

4. สามารถดูแลค่าใช้จ่าย อีก 50% ที่มหาวิทยาลัยไม่ครอบคลุม

การรับสมัคร

1. ขอรับใบสมัครด้วยตนเอง ที่ [email protected] (ขั้นตอนการสมัคร ตามเอกสารที่แนบ) ภายในวันที่ 19 มีนาคม 2564

2. ส่งเอกสารต้นฉบับของใบสมัครตัวจริงพร้อมเอกสารประกอบ ทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ EMS ให้ถึง สพฐ. ภายในวันที่ 19 มีนาคม 2564

"กลุ่มวิเทศสัมพันธ์ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 8 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ ถ.ราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

รายละเอียดเพิ่มเติม

https://www.obec.go.th/wp-content/uploads/2021/02/รายละเอียดทุนการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ-มหาวิทยาลัยเฮียวโก๊ะ-ประเทศญี่ปุ่น.pdf


ที่มา: https://www.obec.go.th/archives/391014

รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ประกาศเปิดพรมแดนต้อนรับรับนักศึกษาต่างชาติ รุ่นที่ 2 อีกจำนวน 1,000 คน สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและปริญญาโทให้สามารถเดินกลับเข้าประเทศนิวซีแลนด์เพื่อไปศึกษาต่อจนสำเร็จ

การประกาศเปิดพรมแดนต้อนรับนักศึกษาต่างชาติของนิวซีแลนด์ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 โดยเป็นการต่อยอดจากการประกาศครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมาที่ได้อนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติกลุ่มแรกสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาเอกและปริญญาโทจำนวน 250 คน สามารถเข้าสู่นิวซีแลนด์และศึกษาต่อได้ นับเป็นสัญญาณที่ดีและยังแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและการให้ความสำคัญยิ่งของรัฐบาลนิวซีแลนด์ต่อการศึกษานานาชาติและยังคงต้อนรับนักเรียนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง

นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติติดอันดับต้นๆ ของโลก และได้รับการยอมรับด้านระบบการศึกษาที่เหมาะแก่การเรียนรู้ในโลกปัจจุบัน โดยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ในการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่อนาคต จากประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก

จากการจัดอันดับของ Worldwide Educating for the Future Index 2019 โดย The Economist Intelligence Unit ทำให้นิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายปลายทางด้านการศึกษานานาชาติชั้นนำของโลกโดยในแต่ละปีมีนักเรียนนานาชาติกว่า 125,000 คนจากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก รวมถึงนักเรียนไทยในปี 2019 มีนักเรียนไทยศึกษาอยู่ในนิวซีแลนด์กว่า 3,000 คน

สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่มีสิทธิ์ใน 1,000 คน จะต้องเป็นผู้ที่ถือวีซ่าที่ถูกต้องสำหรับการศึกษาในปี 2020 และได้ศึกษาในนิวซีแลนด์ในปี 2019 หรือปี 2020 และจะกลับไปศึกษาต่อให้จบกับสถาบันการศึกษาเดิมของพวกเขาทั้งนี้นักศึกษาที่มีสิทธิ์จะได้รับการลงทะเบียนจากสถาบันระดับอุดมศึกษาหลายแห่งรวมถึงมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคสถาบันเทคโนโลยี

สถานศึกษาที่สอนด้วยภาษาเมารีและสถาบันการศึกษาเอกชนและจะสามารถเดินทางกลับไปนิวซีแลนด์ในช่วงเวลาที่สอดคล้องกับการจัดการสถานที่กักตัวที่ได้รับการดูแลภายใต้รัฐบาลนิวซีแลนด์อย่างเหมาะสมซึ่งสถาบันการศึกษาของนิวซีแลนด์จะเป็นผู้ระบุและเสนอชื่อนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ โดยนักศึกษาไม่ต้องดำเนินการด้วยตนเองทั้งนี้ทุกคนที่เดินทางกลับเข้านิวซีแลนด์จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพและความปลอดภัยของ COVID-19 รวมถึงการกักกันตัวเองและอยู่ในสถานที่กักตัวที่มีการจัดการอย่างดีเป็นเวลา 14 วัน

นิวซีแลนด์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่รับมือสู้โควิดดีที่สุดในโลก จากการสำรวจจัดอันดับจาก 98 ประเทศทั่วโลก (ใช้ข้อมูลถึงวัน 9 มกราคม 2564) โดยสถาบันโลวีซึ่งเป็นสถาบันวิชาการอิสระที่ทำการศึกษาวิจัยด้านการเมือง ยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ ตั้งอยู่ในนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย


ขอบคุณที่มา: ผู้หญิง - นิวซีแลนด์ เปิดพรมแดนรับนักเรียนต่างชาติ กลับเข้าประเทศรอบ 2 อีกราวพันคน (naewna.com)

การศึกษาเป็น 1 ในอุตสาหกรรมหลักของสิงคโปร์ที่มีแนวโน้มดีที่สุด เพราะเป็นประเทศที่มีความเป็นอินเตอร์สูง และมีความเอเชียอยู่ในตัว บวกกับมีการเรียนการสอนที่เป็นระเบียบ คนไทยและประเทศเพื่อนบ้านจึงนิยมไปเรียนที่นั่น

สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศแทบเอเชียที่ประสบความสำเร็จกับการเปลี่ยนตัวเอง จากประเทศด้อยพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยระหว่างปฏิวัติอุตสาหกรรม สิงคโปร์ก็ไม่ได้ทิ้งระบบการศึกษาของประเทศไว้ข้างหลัง พยายามพัฒนาการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน

ข้อมูลด้านการศึกษาที่น่าสนใจของสิงคโปร์สำหรับนักเรียนไทย ดังนี้

หนึ่งในอุตสาหกรรมทำเงินของประเทศ

ปัจจุบันระบบการศึกษาของสิงคโปร์ถือว่าดีระดับโลก ทั้งในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย พอ ๆ กับเกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง และฟินแลนด์ มหาวิทยาลัย 3 แห่งของสิงคโปร์อยู่ใน 500 อันดับ จากการจัดอันดับมหาลัยระดับโลกของ QS World University Rankings ประจำปี 2019 โดยอันดับสูงสุดคือ National University of Singapore (NUS) อยู่ในอันดับที่ 11 ถัดไปคือ Nanyang Technological University (NTU) อยู่ในอันดับที่ 12 และ Singapore Management University (SMU) อยู่ในอันดับที่ 500

นอกจากนั้น สิงค์โปรเป็นประเทศที่มีความเป็นอินเตอร์สูง เพราะประชากรในประเทศใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง มีระบบการเรียนการสอนที่เป็นระเบียบ เน้นการลงมือทำ ทั้งยังผสานความรู้และสไตล์การสอนของตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน รวมถึงมีหลักสูตรให้เลือกเรียนหลากหลาย ทั้งภาคภาษาอังกฤษ และภาษาจีน

ด้วยเหตุนี้สิงคโปร์จึงเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับนักศึกษาต่างชาติประมาณ 50,000 คนจากทั่วโลก (ตัวเลขล่าสุด 15 ก.พ. 2021 จากเว็บไซต์ The International Trade Administration, U.S. Department of Commerce) ส่วนใหญ่มาจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ ที่มีอายุระหว่าง 13 - 23 ปี ทำให้การศึกษาเป็น 1 ในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มดีที่สุดสำหรับประเทศนี้

ทำไมคนไทยชอบไปเรียนสิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นประเทศทีมีมาตรฐานการศึกษาสูง ใช้ภาษาอังกฤษและอยู่ใกล้ไทยมากที่สุด ซึ่งคำว่า “ใกลบ้าน” เป็นเหตุผลสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ผู้ปกครองไทยใช้ประกอบการตัดสินใจ เพราะเอื้อให้ไปหาบุตรหลานได้สะดวก ไม่ต้องขอวีซ่าเข้าประเทศ และอยู่ในสิงคโปร์ได้ 30 วัน

เด็กไทยที่ไปเรียนสิงคโปร์ส่วนใหญ่จะไปเรียนภาษาอังกฤษและภาษาจีนช่วงซัมเมอร์ รวมถึงเรียนระดับมัธยม และปริญญาตรี ตามลำดับ

ถึงแม้ว่าค่าครองชีพในสิงคโปร์แทบจะสูงที่สุดในเอเชีย แต่ยังถูกกว่าไปเรียนในประเทศแทบตะวันตกมาก ยกตัวอย่าง ค่าเรียนภาษาอังกฤษช่วงซัมเมอร์ระยะเวลา 4 สัปดาห์ เริ่มที่ประมาณ 37,500 บาท ค่าเรียนภาษาจีนช่วงซัมเมอร์ระยะเวลา 4 สัปดาห์ เริ่มที่ประมาณ 52,500 บาท

ค่าเรียน ม.1 หากเป็นโรงเรียนรัฐบาล ค่าเรียนประมาณ 210,000 - 220,000 บาทต่อปี หากเป็นโรงเรียนเอกชนค่าเรียนอยู่ระหว่าง 400,000 - 500,000 บาทต่อปี

ส่วนค่าเรียนปริญญาตรีขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เลือก ยกตัวอย่างคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมแล้วประมาณ 320,000 บาทต่อปี และระดับปริญญาโท ประมาณ 450,000 บาทต่อปี

โควิด-19 ทำลายฝันไปเรียนนอก?

โควิด -19 ขัดขวางการเดินทางระหว่างประเทศ ทำให้นักเรียน-นักศึกษาจำนวนหลายคนที่สนใจไปเรียนที่สิงค์โปร์ตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาดต้องเลื่อนแผนออกไปก่อน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ตอนนี้เริ่มคลี่คลายและมีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากประเทศต่าง ๆ เริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชน

ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ได้ผ่อนปรนมาตรการเข้าประเทศสำหรับผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน แต่อาจมีขั้นตอนขั้นตอนเพิ่มเติมมากขึ้น เช่น การคัดกรองโควิด-19'
“เฉลิมศักดิ์ อธิปัญญาสฤษดิ์” ที่ปรึกษาการเรียนต่อประเทศสิงคโปร์ เรียนสิงคโปร์ดอทคอม ศูนย์แนะแนวศึกษาต่อสิงคโปร์ กล่าวว่า จำนวนนักเรียน-นักศึกษาไทยที่เดินทางไปสิงคโปร์ทั้งแบบไปเองและผ่านเอเย่นซี่ต่าง ๆ ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีประมาณปีละ 1 พันคน แต่ในปี 2563 มีเด็กที่มาขอคำปรึกษาน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด นักเรียนบางส่วนที่มีแผนจะไปเมื่อปี 2563 ก็เลื่อน และบางส่วนเรียนออนไลน์ไปก่อน พอสถานการณ์คลี่คลายถึงจะไป

“ตอนนี้สิงคโปร์เปิดอนุญาตให้นักเรียนไทย รวมถึงนักเรียนต่างชาติ ยื่นขอวีซ่านักเรียนเพื่อเข้าไปเรียนในสิงคโปร์ได้แล้ว โดยเพิ่งมาผ่อนปรนให้นักเรียนต่างชาติขอวีซ่าเข้าไปเรียนได้ตอนช่วงครึ่งหลังของปี 2563 แต่เป็นในลักษณะค่อย ๆ เพิ่มโควตา”

การขอวีซ่านักเรียนเพิ่มเงื่อนไขมากขึ้น เช่น พอผ่านขั้นตอนได้วีซ่าแล้ว ก่อนเดินทางเข้าสิงคโปร์ต้องตรวจโควิด-19 กับโรงพยาบาลในไทย และใบรับรองว่าไม่มีเชื้อโควิด-19 ต้องมีอายุไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนแสดงที่ด่านที่สนามบินในสิงคโปร์

จากนั้นตอนผ่านด่านแล้วทางสิงคโปร์จะตรวจเชื้ออีกรอบหนึ่ง แล้วเข้าสู่กระบวนการกักตัว 14 วัน ในที่พักที่ทางรัฐบาลสิงคโปร์จัดไว้ และเรียกเก็บเงินประมาณ 2,200 เหรียญสิงคโปร์ต่อคน (ประมาณ 5.5 หมื่นบาท) เพื่อเป็นค่าที่พัก + ค่าอาหาร + ค่า swab ตรวจโควิดอีก 2 ครั้งระหว่างถูกกักตัว และตรวจอีกรอบก่อนปล่อยตัวไปใช้ชีวิตในประเทศ

รัฐบาลสิงคโปร์ยังไม่ได้มีมาตรการจูงใจให้นักเรียนต่างชาติกลับมามากนัก เพราะอยากให้สถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้นก่อน จึงให้ความสำคัญกับเรื่องฉีดวัคซีนภายในประเทศมากกว่า ดังนั้น ถ้านักเรียน - นักศึกษาคนไหนต้องการไปเรียนในปีนี้ สถาบันการศึกษาในสิงคโปร์แนะนำให้ซื้อประกันเพื่อคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีติดโควิด-19 มีราคาตั้งแต่ 12-54 เหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 280 - 1,200 บาท)


ขอบคุณที่มา: https://www.prachachat.net/education/news-621745


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top