Tuesday, 17 September 2024
Info

เรียนสาขาไหนดี? จบมา มีงานทำ แถม ‘รายได้สูง’

(26 เม.ย. 67) ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก ‘Sompob Pordi’ โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ‘เรียนอะไรได้ตังค์เยอะสุด?’ โดยระบุว่า…

โพสต์ที่แชร์มาเป็นของฝรั่ง ในบ้านเขา ปริญญาตรีที่ทำงานได้เงินมากที่สุด 3 สาขา คือ วิศวะคอมพิวเตอร์ ($80,000/ปี) วิศวะเคมี และคอมพิวเตอร์ซายเอนซ์ ($75,000 /ปี) โดยผู้ที่เรียนจบสามสาขานี้จะมีรายได้สูงกว่าผู้ที่เรียนจบสาขาสังคมสองเท่า

ใน 16 สาขาที่ทำเงินสูงสุด เกือบทั้งหมดเป็นวิศวกรรมศาสตร์ แทรกด้วย คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เภสัชศาสตร์ การเงิน วิเคราะห์ธุรกิจ

ส่วนสาขาวิชาที่รายได้ต่ำสุดก็ยังเป็นพวก liberal art หรือสายสังคม ประเภท มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์, เทววิทยา และ สาขาที่เกี่ยวกับการแสดง

ทั้งหมดนี้เป็นของฝรั่ง แต่ในความเป็นจริง ไม่ว่าจะฝรั่ง จีน แขก ไทย ก็ไม่ต่างกันแต่อย่างใด

เพราะเหตุนี้ หากประเทศเล็ก ๆ จน ๆ อย่างเราไม่ต้องการเป็นประเทศเล็ก ๆ จน ๆ ตลอดไป ก็ควรรีบปิดคณะ/มหาวิทยาลัยสายสังคมทิ้งซัก 90% ของปัจจุบัน แล้วเอางบประมาณ ทรัพยากร มาทุ่มให้กับสายอื่นที่มีประโยชน์ ที่คุณค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า รวมทั้งสายอาชีวะด้วย

ถ้าทำตามนี้ นอกจากประเทศจะมีความสามารถ มีศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ประชากรที่ฉลาดเท่ากับควาย ที่มีค่าแรงขั้นต่ำเป็นเป้าหมายในชีวิต ที่มีความฝันจะเป็นกาฝากสังคม เกาะกินสวัสดิการ จะลดลงด้วย

ทำไม? น้ำมันในไทยถึง ‘แพง’

เคยสงสัยไหม ทำไมราคา ‘น้ำมัน’ ในไทยถึง ‘แพง’ วันนี้ THE STATES TIMES มีคำตอบ!!

เหตุที่ทำให้น้ำมันในไทยมีราคาแพง มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ค่าขนส่ง ภาษีต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศเรียกเก็บ และ ค่าการกลั่น นั่นเอง

ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่ ‘ไทย’ ที่เจอปัญหาน้ำมันแพง แต่หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกก็เจอปัญหานี้เช่นกัน อีกทั้งประเทศไทยไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน จึงไม่อาจเลี่ยงความผันผวนในตลาดโลก ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ยากจะควบคุม

🔎รู้จัก 'บ.ทุนธนชาต' กลุ่มธุรกิจการเงินไทยที่เน้นเติบโตอย่างยั่งยืน✨️

ถ้าพูดถึง ‘กลุ่มธนชาต’ หรือที่มีชื่อเต็ม ๆ ว่า บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) และชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ TCAP คนส่วนใหญ่อาจจะนึกถึงธนาคารธนชาต ที่มีสีส้มสดใส เป็นสัญลักษณ์ให้คนได้จดจำ แต่ปัจจุบัน ธนชาต ได้เปลี่ยนเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือ TTB ไปแล้ว ภายหลังจากมีการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต

ก่อนที่จะมาเป็น ‘ทุนธนชาต’ ในวันนี้ เส้นทางธุรกิจขององค์กรได้เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อปี 2523 โดยนายบันเทิง ตันติวิท (ประธานกรรมการ) และนายศุภเดช หมู่ศิริเลิศ ได้เข้าไปฟื้นฟู แคปปิตอลทรัสต์ ซึ่งพัฒนามาจากลี กวง มิ้ง บริษัทส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยเปลี่ยนมาเป็น ‘บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนชาต’ ซึ่งได้ผ่านร้อนผ่านหนาวและวิกฤตทางเศรษฐกิจมาหลายครั้ง โดยเฉพาะวิกฤตปี 2540 จนสามารถขยายธุรกิจ จนยกระดับเป็นกลุ่มธุรกิจการเงินชั้นนำของประเทศ และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางอย่างเช่นในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี ธุรกิจของกลุ่มธนชาตนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่ธุรกิจการเงินเท่านั้น แต่มีการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย โดยรูปแบบการดำเนินธุรกิจเน้นการลงทุนและเป็นบริษัทแม่ (Holding Company) ที่เข้าไปลงทุนในกิจการต่าง ๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นอย่างมั่นคงในระยะยาว

🔴ธุรกิจของกลุ่มธนชาต มีอะไรบ้าง?

อย่างที่เกริ่นไปว่า ‘กลุ่มธนชาต’ ดำเนินธุรกิจแบบ Holding Company จึงมีธุรกิจที่เข้าไปลงทุนหลากหลาย ตัวอย่างเช่น...

👉กลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์ 
ดำเนินธุรกิจโดย บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ แบบ ก (Full License) และธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาทางการลงทุน การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน การเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ เป็นต้น

👉 กลุ่มธุรกิจประกัน ประกอบด้วย...
บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้บริการประกันภัย โดยครอบคลุมถึงการรับประกันวินาศภัย ได้แก่ การประกันภัยรถยนต์ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยเบ็ดเตล็ด

👉 ธุรกิจการลงทุน
📌 บริษัท ที ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ให้บริการรับประกันชีวิตรายบุคคล ประกันชีวิตกลุ่ม ซึ่งเป็นหลักประกันด้านการออมเงิน ให้ความคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ

📌 บริษัท ที เอ็ม โบรคเกอร์ จำกัด ประกอบธุรกิจในการเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันชีวิต รวมถึงเป็นผู้แนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ในการเป็นนายหน้าประกันภัยหรือตัวแทนประกันภัย

📌 บริษัท เอ็ม ที เซอร์วิส 2016 จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการงานด้าน Back Office และ Business Support แก่เอ็มบีเค ไลฟ์ และทีเอ็ม โบรคเกอร์

👉 กลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ประกอบด้วย...
📌 บริษัทบริหารสินทรัพย์ เอ็น เอฟ เอส จำกัด รับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินในกลุ่มธนชาตและสถาบันการเงินอื่นมาบริหาร

📌 บริษัทบริหารสินทรัพย์ แม๊กซ์ จำกัด รับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินอื่นมาบริหาร

📌 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที เอส จำกัด รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากธนาคารนครหลวงไทยและธนาคาร ธนชาต ทั้งสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และทรัพย์สินรอการขายมาบริหาร 

👉 กลุ่มธุรกิจลิสซิ่ง ประกอบด้วย...
📌 บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ให้บริการสินเชื่อเพื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อสัญญาเช่าทางการเงิน โดยมุ่งเน้นในตลาดรถยนต์ทั้งใหม่และเก่า ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ได้แก่ รถกระบะ รถแท็กซี่ รถหัวลาก และรถบรรทุก เป็นต้น

📌 บริษัท อาร์ทีเอ็น อินชัวร์รันส์ โบรกเกอร์ จำกัด ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันชีวิตโดยให้บริการแก่ลูกค้าของราชธานีลิสซิ่งเป็นหลัก

👉 กลุ่มธุรกิจลงทุน ประกอบด้วย...
📌 บริษัท ธนชาต เอสพีวี 1 จำกัด จัดตั้งขึ้นเพื่อเข้าซื้อหุ้นราชธานีลิสซิ่งจากธนาคารธนชาต ตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจ

📌 บริษัท ธนชาต เอสพีวี 2 จำกัด จัดตั้งขึ้นเพื่อเข้าซื้อหุ้นบริษัทอื่นๆ จากธนาคารธนชาต ตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยบริษัทที่รับโอนมา เป็นกลุ่มบริษัทที่จะไม่มีการประกอบกิจการใหม่ และจะดำเนินการเลิกบริษัทและชำระบัญชีในที่สุด

นอกจากธุรกิจทางด้านการเงิน ซึ่งเป็นธุรกิจที่กลุ่มธนชาตมีความแข็งแกร่งและสร้างผลตอบแทนที่เติบโตมาอย่างต่อเนื่องแล้ว กลุ่มธนชาต ยังมีการลงทุนในธุรกิจแขนงอื่นๆ ด้วย เช่น บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) (MBK) ที่ถือหุ้นอยู่ประมาณ 20% ซึ่ง MBK ถือเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศ มีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายทั้ง ธุรกิจศูนย์การค้า ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว ธุรกิจอาหาร ธุรกิจการเงิน ธุรกิจกอล์ฟ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจอื่น ๆ 

และที่น่าสนใจ MBK คือผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดราว 48% ในบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้นำในธุรกิจศูนย์การค้าที่เรียกได้ว่าเป็นระดับแลนด์มาร์กของประเทศไม่ว่าจะเป็น ไอคอนสยาม, สยามพารากอน, สยามดิสคัฟเวอรี, สยามเซ็นเตอร์, และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ซึ่งมีข่าวว่ากำลังจะ IPO เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ในเร็ว ๆ นี้อีกด้วย

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า กลุ่มธนชาต ไม่เพียงแต่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจการเงินเท่านั้น แต่ยังกระจายการลงทุนเข้าไปในธุรกิจที่หลากหลาย จากจุดเริ่มต้นเป็นเพียงบริษัทหลักทรัพย์ แต่ผ่านมา 44 ปี ได้แผ่กิ่งก้านขยายการลงทุนเข้าไปยังธุรกิจต่าง ๆ มากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กลุ่มธนชาตกลายเป็นองค์กรที่มีเครือข่ายธุรกิจใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเป็นองค์กรมีความชัดเจนด้านการดำเนินธุรกิจและเดินตามวิสัยทัศน์ที่ว่า 'เป็นบริษัทการลงทุนชั้นนำในธุรกิจหลากหลาย เป็นที่ยอมรับทั่วไป ในด้านความมั่นคง ยั่งยืน และมีผลตอบแทนที่ดี' อย่างแท้จริง

‘ก.พลังงาน’ ไฟเขียว!! ตรึง ‘ดีเซล-ไฟฟ้า-ก๊าซหุงต้ม’ ถึงสิงหาคม 67

(7 พ.ค. 67) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำเสนอ 3 มาตรการ เพื่อช่วยเหลือประชาชน และลดภาระค่าครองชีพ ประกอบด้วย 

1. การตรึงราคาน้ำมันดีเซล ไม่ให้เกิน 33 บาท/ลิตร ระยะเวลาดำเนินการ 20 เม.ย. - 31 ก.ค. 2567
2. การขยายระยะเวลาการตรึงราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม 423 บาท ต่อถัง 15 กิโลกรัมไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 

3. การลดค่าไฟที่ 19.05 สตางค์ จาก 4.18 บาท เป็น 3.99 บาทต่อหน่วย สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ในงวดเดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม 2567

“ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันราคาพลังงานเกือบทุกชนิดมีความผันผวนในระดับสูง เกิดจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งกระทรวงพลังงานภายใต้การนำของผมได้พยายามที่จะช่วยเหลือประชาชน ลดภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งในส่วนของน้ำมัน รัฐบาลได้กำหนดเพดานไว้ที่ 33 บาทต่อลิตร เนื่องจากสถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้อุดหนุนติดลบกว่าแสนล้านบาทแล้ว หากไม่อุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลที่แท้จริงจะอยู่ที่ 34 - 35 บาทต่อลิตร และอาจจะมีการปรับเพดานหากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น แต่ราคาขายปลีกในไทยก็จะปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป

ทั้งนี้ ทั้ง 3 มาตรการที่เสนอเข้าคณะรัฐมนตรีและได้รับการเห็นชอบในวันนี้ ถือว่า เป็นมาตรการช่วยเหลือในระยะสั้น ตามหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผมได้เตรียมรื้อระบบราคาพลังงานใหม่ ซึ่งผมกำลังเร่งดำเนินการอยู่ คาดว่าจะยกร่างกฎหมายใหม่ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้ภายในปีนี้ คนไทยจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงราคาพลังงานที่มีความยุติธรรม สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และจะเป็นการปรับรูปแบบพลังงานของประเทศที่จะมีความยั่งยืนต่อไปในอนาคตด้วย” นายพีระพันธุ์ กล่าว

เหตุผลที่ต้องขยับราคาดีเซลขึ้นอีก 50 สตางค์ต่อลิตร

กบน. ขยับราคาดีเซลขึ้นอีก 50 สตางค์ต่อลิตร ช่วยสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ ที่ยังติดลบกว่าแสนล้านบาท โดยลดการชดเชยดีเซลลงจาก 3.08 บาทต่อลิตร เป็น 2.58 บาทต่อลิตร เพื่อให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่ายประเภทน้ำมันดีเซลลดลงประมาณวันละ 35.42 ล้านบาท จากวันละ 216.99 ล้านบาท เป็น 181.57 ล้านบาท

(10 พ.ค. 67) นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ได้พิจารณาสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว เห็นว่ายังมีรายจ่ายต่อวันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในขณะนี้ยังมีความผันผวนต่อเนื่องจากสถานการณ์ด้านสงคราม และเศรษฐกิจ กบน. จึงมีมติลดอัตราเงินชดเชยประเภทน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 จาก 3.08 บาท/ลิตร เป็น 2.58 บาท/ลิตร เพื่อให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่ายประเภทน้ำมันดีเซลลดลงประมาณวันละ 35.42 ล้านบาท จากวันละ 216.99 ล้านบาท เป็น 181.57 ล้านบาท การลดอัตราเงินชดเชยกองทุนน้ำมันประเภทดีเซลในครั้งนี้ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลปรับขึ้น 0.50 บาท/ลิตร เป็น 31.44 บาท/ลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป 

ทั้งนี้ การพิจารณาดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ที่เห็นชอบมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแก่ประชาชน โดยวางกรอบการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 33 บาท/ลิตร ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน ถึง 31 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเป็นมาตรการต่อเนื่องจากมาตรการเดิมที่สิ้นสุดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศ และการดำเนินการนี้เป็นไปตามมติ กบน. เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 ที่เห็นชอบในหลักการให้ปรับอัตราเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทน้ำมันดีเซลเพื่อให้ราคาขายปลีกเกินกว่า 30 บาทต่อลิตรได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม กบน.จะพิจารณาลดการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลแบบค่อยเป็นค่อยไปให้เป็นไปตามช่วงเวลาและจังหวะที่เหมาะสม เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศไม่ให้ผันผวนมากจนเกินไป และให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนให้น้อยที่สุด  

สำหรับฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสุทธิ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2567 ติดลบอยู่ 109,186 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 61,640 ล้านบาท ส่วนบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 47,546 ล้านบาท

ต้นทุน ‘ราคาขายปลีกน้ำมัน’ ภายในประเทศไทย มีอะไรบ้าง ❔⛽

ในภาวะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไทยที่สูงขึ้นตามไปด้วย ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า โครงสร้างราคาน้ำมันขายปลีกในแต่ละประเทศ ‘ไม่เหมือนกัน’ 

สำหรับประเทศไทยราคาน้ำมันขายปลีกหน้าปั๊มน้ำมันนั้น ผ่านผู้เกี่ยวข้องถึง 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ ต้นทุนเนื้อน้ำมัน, ภาษี, เงินกองทุน และค่าการตลาด เพราะฉะนั้น ราคาน้ำมัน 1 ลิตร ที่ขายในหน้าปั๊ม จึงประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้

1. ต้นทุนเนื้อน้ำมัน (40-60%) คือ ต้นทุนราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตจากโรงกลั่น ผันผวนไปตามราคาน้ำมันในตลาดโลก

2. ภาษี (30-40%) มีการจัดเก็บ ดังนี้

🟠ภาษีสรรพสามิต จัดเก็บโดย กระทรวงการคลัง ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต นำมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศ

🟠ภาษีเทศบาล จัดเก็บโดย กระทรวงการคลัง ในอัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต มาตรา 150 และจัดส่งให้ กระทรวงมหาดไทย เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น

🟠ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บ 7% ของราคาขายส่งน้ำมันเชื้อเพลิง และจัดเก็บอีก 7% ของค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด

3. กองทุน (5-20%) มีการจัดเก็บ ดังนี้

🟠เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จัดเก็บตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไม่ให้เกิดความผันผวน

🟠เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จัดเก็บตามประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงาน

4. ค่าการตลาด (10-18%) คือ ส่วนที่เป็นต้นทุน ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันทั้งระบบ ตั้งแต่การจัดการคลังน้ำมัน การขนส่งน้ำมันมายังสถานีบริการ รวมถึงการให้บริการของสถานีบริการที่เติมน้ำมันแต่ละลิตรให้กับประชาชน

ดังนั้น จะเห็นได้ถึงโครงสร้างราคาน้ำมัน 1 ลิตรที่ขายในหน้าปั๊ม มีปัจจัยหลายตัวมาเกี่ยวข้อง เชื่อว่าทุกคนคงอยากใช้น้ำมันในราคาถูกที่สุดอยู่แล้ว แต่ก็ต้องมีความเข้าใจในราคาน้ำมัน และก็ไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่มีปัญหาน้ำมันแพง แต่หลาย ๆ ประเทศก็ประสบปัญหานี้ไม่แพ้กัน และด้วยประเทศไทยไม่ใช่ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเจอกับความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก 

เพราะฉะนั้น หากเราไม่มีเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองไว้ หากเกิดเหตุการณ์ที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นมาก ๆ เราก็จะไม่มีเงินสำรองเพื่อช่วยรักษาสมดุลของราคาน้ำมันในประเทศ จนอาจทำให้เกิดวิกฤตราคาน้ำมันก็เป็นได้

ส่อง 10 อันดับ คนชาติไหนเที่ยวญี่ปุ่นมากที่สุดในปี 2024 (4 เดือนแรก)

การท่องเที่ยวญี่ปุ่นบูมสุด ๆ ราวกับดอกซากุระที่กำลังเบ่งบาน และคาดว่าปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวจะทำลายสถิติเดิมในปี 2019 สร้างสถิติใหม่ ‘สูงสุดเป็นประวัติการณ์’ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เดินทางเข้าญี่ปุ่นเกินเดือนละ 3 ล้านคนติดต่อกันมา 2 เดือนแล้ว (มีนาคม-เมษายน)

ในเดือนมีนาคม 2024 มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางเข้าญี่ปุ่น 3.08 ล้านคน ทำสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้ารายเดือนที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ 

ส่วนในเดือนเมษายนมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางเข้าญี่ปุ่น 3.04 ล้านคน ซึ่งเป็นสถิติรายเดือนที่สูงเป็นอันดับ 2 ตลอดกาลรองจากเดือนมีนาคม

เมื่อรวม 4 เดือนแรกของปี 2024 เข้าด้วยกัน ก็ทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นแล้วรวมกว่า 11,601,200 คน และไม่ใช่เพียงจำนวนนักท่องเที่ยวเท่านั้นที่เพิ่มขึ้น แต่ Tourist Spending หรือยอดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้นด้วย

โดยใน 3 เดือนแรกของปีนี้ การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศในญี่ปุ่นมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.8 ล้านล้านเยน (ประมาณ 418,960 ล้านบาท) คิดเฉลี่ยเป็นประมาณ 210,000 เยน (ประมาณ 48,880 บาท) ต่อคนต่อทริป ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน

วันนี้ THE STATES TIMES ชวนมาดูข้อมูลว่านักท่องเที่ยวชาติไหน จากประเทศหรือดินแดนใดเข้าไปเที่ยวญี่ปุ่นมากที่สุด 10 อันดับแรกในปีนี้ (4 เดือนแรก) แน่นอนว่ามีไทยแน่ ๆ แต่จะอยู่อันดับไหน จำนวนเท่าไหร่ มาดูกัน!!

1.เกาหลีใต้ จำนวน 2,999,900 คน
2.ไต้หวัน จำนวน 1,938,600 คน
3.จีน จำนวน 1,861,600 คน
4.ฮ่องกง จำนวน 808,100 คน 
5.สหรัฐอเมริกา จำนวน 799,600 คน 

6.ไทย จำนวน 466,200 คน
7.ออสเตรเลีย จำนวน 333,700 คน 
8.ฟิลิปปินส์ จำนวน 269,300 คน 
9.เวียดนาม จำนวน 233,800 คน
10.มาเลเซีย จำนวน 180,200 คน 

ส่อง 10 ประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปี 2567

ปัจจุบันโลกใบนี้มีอยู่ 196 ประเทศ โดยแต่ละประเทศต่างมีเอกลักษณ์ทางภูมิศาสตร์, วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่ต่างกันไป แต่ในบรรดาประเทศเหล่านี้นั้น ประเทศที่ใหญ่ที่สุดตามพื้นที่มักจะมีความโดดเด่นในทางเศรษฐศาสตร์โลก รวมถึงบทบาททางภูมิศาสตร์ต่อโลกไม่น้อย และนี่คือประเทศระดับบิ๊กที่ว่า...

1. รัสเซีย ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปและเอเชีย ไม่เพียงแต่เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ยังเป็นผู้เล่นหลักในตลาดพลังงานโลก ด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันกว้างใหญ่ ที่รวมถึง น้ำมัน และ ก๊าซ นั่นเอง

2. แคนาดา อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ป่าไม้ขนาดใหญ่และทรัพยากรน้ำจืด มีความสำคัญอย่างมากในภาคพลังงานและวัสดุ 

3. สหรัฐอเมริกา ไม่ได้เป็นเพียงประเทศที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย ผ่านตลาดการเงินการซื้อขาย หุ้น, ดัชนี และ สินค้าโภคภัณฑ์

4. จีน มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลกและใหญ่เป็นอันดับสอง จีนเป็นศูนย์กลางของการซื้อขายในตลาดที่หลากหลาย ตั้งแต่โลหะอุตสาหกรรมไปจนถึงหุ้นเทคโนโลยี บริษัทจีนมีบทบาทอย่างมากในตลาดทุนทั่วโลกในปัจจุบัน

5. บราซิล อีกหนึ่งประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้ โดดเด่นด้วยสินค้าเกษตรที่ขึ้นชื่อ เช่น กาแฟ และ น้ำตาล รวมถึงยังโดดเด่นในด้านพลังงานหมุนเวียน ป่าฝนและแหล่งน้ำอันกว้างใหญ่

6. ออสเตรเลีย การส่งออกแร่ธาตุและทรัพยากรเป็นจุดแข็งที่สำคัญของออสเตรเลีย ทั้งแร่เหล็กและถ่านหิน และด้วยเศรษฐกิจในการเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้มีความแข็งแกร่งในตลาดตราสารทุนอีกด้วย

7. อินเดีย มีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ภายใต้การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีและบริการที่สำคัญใหม่ จนทำให้เกิดโอกาสมากมายทางการค้า ตั้งแต่หุ้นเทคโนโลยีไปจนถึงสินค้าเกษตร

8. อาร์เจนตินา โดดเด่นที่ภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถั่วเหลือง และการส่งออกเนื้อวัว

9. คาซัคสถาน อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ที่สนใจสินค้าโภคภัณฑ์พลังงาน รวมถึงน้ำมัน ยูเรเนียม และถ่านหิน

10. แอลจีเรีย อีกหนึ่งประเทศที่มีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในระดับแกนหลักของตลาดพลังงานที่มองข้ามไม่ได้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top