Saturday, 15 March 2025
Info

ส่องโควตา ‘คณะรัฐมนตรี’ รัฐบาลเศรษฐา

มาดูโควตา ‘คณะรัฐมนตรี’ หาก ‘เศรษฐา ทวีสิน’ แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย ได้นั่งเก้าอี้ ‘นายกรัฐมนตรีคนที่ 30’ เมื่อคำนวณจากจำนวน สส. ของแต่ละพรรคแล้ว พรรคเพื่อไทยจะได้เป็นเจ้ากระทรวงทั้งสิ้น 8 กระทรวง และได้ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วย และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ อีก 9 ตำแหน่ง ส่วนพรรคอื่น ๆ ก็ได้เก้าอี้ลดหลั่นกันไปตามจำนวน สส. ที่แต่ละพรรคมี ส่วนใครจะได้นั่งประจำกระทรวงไหน ก็ต้องรอลุ้นกันต่อไป…

สรุป 20 ไทม์ไลน์ 'ทักษิณ ชินวัตร' ประกาศกลับประเทศไทย

“กลับแน่ๆ กลับจริง กลับในปีนี้แหละ” 

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา คนไทยทั้งประเทศได้รับรู้เจตนาของ ‘นายทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกฯ ที่สื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ว่า “อยากกลับบ้าน” เต็มทน แต่หลายครั้งก็ไม่ได้กลับมาจริง ๆ แต่วันนี้…22 ส.ค. 66 นายทักษิณ ได้เดินทางกลับประเทศไทย ซึ่งเป็นการกลับบ้านในรอบ 17 ปี หลังอาศัยอยู่ในต่างประเทศเนิ่นนานหลายปี

วันนี้ THE STATES TIMES ได้สรุปไทม์ไลน์ที่นายทักษิณเคยประกาศกลับบ้านเกิด มาดูกันว่าเกิดขึ้นมาแล้วกี่ครั้ง…

ส่อง 10 นโยบายเด่น ‘เพื่อไทย’ ภายใต้รัฐบาล ‘เศรษฐา ทวีสิน’

พรรคเพื่อไทยหาเสียงภายใต้วลีฮิต ‘คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน’ โดยเสนอนโยบายเพื่อประชาชนคนไทยออกมามากมาย จนกระทั่งวันนี้ (22 ส.ค. 66) มติสภาฯ โหวตเลือก ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นั่งตำแหน่งนายกฯ คนที่ 30 ของไทย ทำให้ประชาชนทั้งประเทศหันกลับไปไล่ดูนโยบายของพรรคเพื่อไทย พร้อมทั้งตั้งตารอว่า จะมีนโยบายใดบ้างที่จะถูกนำมาสานต่อให้เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน

วันนี้ THE STATES TIMES ได้รวบรวบ 10 นโยบายเด่นของพรรคเพื่อไทยที่ ‘คิด’ และ ‘ทำ’ เพื่อพี่น้องประชาชน ส่วนจะมีนโยบายไหนบ้างมาดูกัน…

ทศวรรษแห่งความมั่งคั่ง!! ไทยถือครอง ‘ทองคำ’ เพิ่ม 60.20%

ประเทศไทยซื้อทองคำเข้าทุนสำรองระหว่างประเทศ เพิ่มมากที่สุดในเอเชียในรอบ 10 ปี โดยเพิ่มจาก 152.41 ต้นในปี 2556 มาอยู่ที่ 244.16 ตันในสิ้นปี 2565 โดยทุนสำรองที่เป็นทองคำเพิ่มขึ้นถึง 60.20% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ถ้าคุณมีเงิน ‘ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท’ และสามารถใช้จ่ายอะไรตามใจตัวเองก็ได้ คุณอยากจะแลกเปลี่ยนเป็นอะไรกันบ้าง!! ✨💰

ถ้าคุณมีเงิน ‘ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท’ และสามารถใช้จ่ายอะไรตามใจตัวเองก็ได้ คุณอยากจะแลกเปลี่ยนเป็นอะไรกันบ้าง!! ✨💰
 

ส่องผลงานแบงก์พาณิชย์ไทย ไตรมาส 2/66 สินเชื่อหดตัว 0.4%

🔎ผลงานธนาคารพาณิชย์ไทยครึ่งปีแรกยังแข็งแกร่ง!!

ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยภาพรวมธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 2 ปี 2566 พบว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง ขณะที่สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.4 จากการทยอยชำระคืนหนี้ของภาคธุรกิจ รวมถึงภาครัฐ หลังมีการขยายตัวต่อเนื่องเพื่อเสริมสภาพคล่องในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะการชำระคืนสินเชื่อ SMEs และ Soft loan วงเงิน 138,000 ล้านบาท 

ขณะที่ธนาคารพาณิชย์บริหารจัดการคุณภาพหนี้และให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่องด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ ส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (non-performing (oan: NPL หรือ stage 3) ไตรมาส 2 ปี 2566 ลดลงมาอยู่ที่ 492,300 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ร้อยละ 2.67

4 ปัจฉิมบท 'นายกรัฐมนตรีไทย' ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวาระยาวนานที่สุด

ทุกจุดเริ่มต้นของหนังทุกเรื่อง ซีรีส์ทุกภาค ย่อมต้องมีฉากจบ ส่วนจะจบสวยงาม หรือจบแบบให้ตั้งคำถามต่อก็อยู่ที่แต่ละแพลตเรื่อง

...แต่ฉากทัศน์การเมืองไทยมากกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา มีฉากจบที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะกับตัวละครอย่าง ‘นายกรัฐมนตรี’ ของไทย ที่ฉากจบสุดท้ายมักจะลงเอยจากการกระทำของตน ซึ่งจะกำหนดทิศทางอนาคตหลังพ้นเก้าอี้นายกรัฐมนตรีให้เดินต่อไปแบบใด

...และนี่คือ 4 นายกรัฐมนตรีไทยที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด ภายใต้ฉากจบที่แตกต่างกันไป ที่ THE STATES TIMES อยากนำมาบอกเล่า ส่วนจะมีใครบ้าง และแต่ละท่านมีซีนจบแตกต่างกันอย่างไร ไปรับชมกัน!!

9 เรื่องดีๆ เกิดได้!! ภายใต้ 9 ปี 'รัฐบาลพลเอกประยุทธ์'

ตลอดระยะเวลา 9 ปี ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย เป็นช่วงเวลา 9 ปีที่ได้ทำงานเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอน เป็น 9 ปีที่ได้ใช้สติปัญญา ทุ่มเททุกศักยภาพและกำลังความสามารถ สานพลังจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน รวมทั้งเชิดชูสถาบันอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย และเป็น 9 ปีของประเทศไทยที่ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด มีความเจริญก้าวหน้าในหลายด้านทัดเทียมนานาอารยประเทศ และพร้อมยกระดับไปสู่ประเทศชั้นนำของโลก ในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยเหตุผลสำคัญได้แก่

1. เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมี ‘ยุทธศาสตร์ชาติ’ ระยะยาว 20 ปี เพื่อเป็นเข็มทิศนำทางและกรอบแนวคิดในการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ให้เกิดความต่อเนื่อง เป็นเป้าหมายให้ทุกภาคส่วนได้ทำงานร่วมกัน ขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกระดับ 

2. มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมครั้งยิ่งใหญ่ ในทุกระบบ ทั้งทางถนน ทางราง ทางทะเล และทางอากาศ รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต ยกบทบาทของประเทศจากความโดดเด่นทางภูมิรัฐศาสตร์ ให้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ ด้านการบิน ด้านการขนส่งสินค้า ด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ

3. มีความพร้อมเรื่อง ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ และ ‘เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม’ โดยมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล และ 5G ที่โดดเด่นในภูมิภาค เป็นที่ดึงดูดการลงทุนบริษัทชั้นนำของโลกหลายราย ซึ่งจะส่งเสริมบทบาทให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้าน 5G - Data center - Cloud services ที่สำคัญในภูมิภาค มีการใช้ประโยชน์ของประชาชนในชีวิตประจำวัน การศึกษาหาความรู้ การประกอบอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตนและสร้างรายได้ที่สูงขึ้นของคนทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพ  

4. มีการกำหนด 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต รวมทั้งมีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตส่งเสริมเศรษฐกิจเพื่อกิจการพิเศษ ทั้งด้านการแพทย์ ด้านนวัตกรรม ด้านดิจิทัล เป็นต้น ที่เป็นแหล่งบ่มเพาะแรงงานทักษะสูง-แรงงานแห่งอนาคต รวมถึงเกษตรอัจฉริยะ เพื่อตอบสนองตลาดแรงงานในอนาคต และการพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21

5. สร้างกลไกในการบริการจัดการทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ได้แก่ ‘น้ำ’ ออกกฎหมายน้ำฉบับแรกของประเทศ มีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) บูรณาการหน่วยงานน้ำในทุกระดับ ‘ดิน’ ตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) และจัดทำแผนที่ One Map เพื่อแก้ปัญหาที่ดินทับซ้อนมาหลายสิบปี รวมทั้งจัดสรรที่ดินทำกินให้กับผู้ยากไร้-เกษตรกร ‘ป่า’ ออกกฎหมายป่าชุมชน ไม้มีค่า และตลาดคาร์บอนเครดิต เพื่อส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ

6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น ส่งเสริมสวัสดิการกลุ่มเปราะบางทั้งเด็ก-ผู้สูงอายุ-ผู้พิการ ส่งเสริมบทบาทกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กองทุนยุติธรรม และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการยกระดับศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ด้วยการศึกษา รองรับความท้าทายใหม่ๆ ของโลกในอนาคต

7. ปฏิรูปกฎหมายไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และดึงดูดการลงทุนเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ รวมทั้งแก้ไขและบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถแก้ไขวิกฤตชาติได้ในหลายเรื่อง เช่น ปลดธงแดง ICAO และแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย IUU สร้างความเชื่อมั่นประเทศไทยในเวทีโลก 

8. ประยุกต์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในระบบราชการไทย เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ประชาชนและเอกชน ที่เข้าถึงง่าย - สะดวก - โปร่งใส เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ช่วยให้การจ่ายเงินช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางตรงเป้าหมาย เต็มเม็ดเต็มหน่วย ตรวจสอบได้ และ UCEP สายด่วน 1669 บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ฟรีทุกสิทธิ์ ทุกโรงพยาบาล เป็นต้น

9. สร้างความสัมพันธ์ทั่วโลก ทั้งในรูปแบบทวิภาคี-พหุภาคี และเขตการค้าเสรี (FTA) รวมทั้งรื้อฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย เพื่อขยายความร่วมมือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และตลาดการค้าระหว่างกัน 

ทั้งนี้ การเดินทางของประเทศไทยในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้ราบรื่น หรือง่ายดาย ยังคงมีวิกฤตโควิด วิกฤตความขัดแย้งในโลก ที่ส่งผลกระทบด้านราคาพลังงาน ค่าครองชีพ และเงินเฟ้อจนถึงในปัจจุบัน แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทย ช่วยให้เราฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ และฟื้นตัวมาได้ ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ยังคงผันผวน

ต้องขอบคุณพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคน เพื่อนข้าราชการ และทุกภาคส่วน ที่ได้เสียสละและอดทนในทุกสถานการณ์ที่ผ่านมา เพื่อให้ส่วนรวม สังคม และประเทศชาติ กลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง ทั้งนี้ประเทศไทยนับจากวันนี้เป็นต้นไป จะไม่ได้เริ่มนับที่ 1 อีกต่อไป หากทุกอย่างที่พลเอกประยุทธ์ ได้สร้างมานั้นได้รับการต่อยอด ก็จะทำให้ประเทศไทยเดินทางเข้าสู่ ‘เส้นชัย’ ได้เร็ววันยิ่งขึ้น

ย้อน 12 ผลงานเด่น ในยุค ‘รัฐบาล คสช.’

ภายหลังจาก ‘คณะรักษาความสงบแห่งชาติ’ หรือ คสช. อันมี ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เป็นหัวหน้าคณะ ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ในระยะเวลาต่อเนื่องกว่า 5 ปีก่อนจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2562 รัฐบาล คสช. ได้บริหารประเทศภายใต้วิสัยทัศน์ที่มุ่งสร้างความ ‘มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน’ โดยพยายามดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ไม่มีพรรคฝ่ายค้านในสภา และสามารถออกคำสั่งตามมาตรา 44 ได้ ทำให้รัฐบาลสามารถผลักดันนโยบายต่าง ๆ ออกมาได้มาก 

วันนี้ THE STATES TIMES จะพาย้อนดู 12 ผลงานรัฐบาล คสช. ที่เป็นประโยชน์และเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เช่น

1.จัดการปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และขาดการควบคุม (IUU) 
รัฐบาล คสช. สามารถแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วตามแรงกดดันของสหภาพยุโรป ทำให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าประมงไปสหภาพยุโรปได้ต่อเนื่อง พร้อมทั้งแสดงความมุ่งมั่นในการป้องกันและแก้ปัญหาการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ ปรับปรุงภาพลักษณ์ภาคการประมงของไทยให้ดียิ่งขึ้น

2.ทวงคืนผืนป่าจากนายทุนได้ โดยในปี 2559 สามารถทวงคืนผืนป่าจากนายทุนได้ 1.4 แสนไร่ และถือเป็นพันธกิจที่ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรพื้นที่ทำกินให้แก่ประชาชนด้วย

3.ประกาศแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างครบวงจร ตั้งแต่เจ้าหนี้และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยให้เจ้าหนี้ที่ปล่อยกู้นอกระบบจัดตั้งเป็นธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์)

4.ขจัดปัญหามาเฟีย ปราบปรามผู้มีอิทธิพลใช้อำนาจในทางผิดกฎหมาย กวาดล้างอาวุธสงคราม ปืน ระเบิด รวมถึงจับตาเครือข่ายและผู้ร่วมขบวนการทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง

5.ผลักดันระบบ ‘พร้อมเพย์’ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการชำระเงินและโอนเงินของประชาชน และเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

6.เดินหน้าจัดระเบียบสังคม จัดการหาบเร่แผงลอยผิดกฎหมาย ร้านค้าริมถนน ขึ้นทะเบียนวินจักรยานยนต์ และจัดระเบียบแรงงานข้ามชาติ

7.แก้ปัญหาข้าวค้างสต็อกจากโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้วิธีประมูลอย่างโปร่งใส ซึ่งช่วยลดภาระการขาดทุน และลดแรงกดดันราคาข้าวไทยให้อยู่ในระดับต่ำ

8.ปลดธงแดง ICAO ได้เป็นผลสำเร็จ ถอดชื่อประเทศไทยออกจากรายชื่อประเทศที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้านการบินพลเรือน

9.ประกาศปราบปรามการทุจริต-คอร์รัปชันในระบบราชการทุกระดับชั้น รัฐบาล คสช. รับโครงการสร้างมาตรฐานความโปร่งใสในระดับสากลอย่างน้อย 4 โครงการ มาใช้ในประเทศไทย  ซึ่งจะทำให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะและการตรวจสอบโดยประชาชน ได้แก่

- โครงการ ‘ข้อตกลงคุณธรรม’ (Integrity Pact) ซึ่งผลักดันโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) โดยถูกบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างฯ และถูกนำไปใช้กับโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่ประมูลและทำสัญญา

-โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST)

-โครงการรัฐบาลโปร่งใส (Open Government Partnership)

-โครงการความโปร่งใสในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (EITI)

10.ออกมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจน ช่วยเหลือทั้งการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้

11.ลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ ออก พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง ส่งเสริมการพัฒนา และดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve industries)

12.สานสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เดินทางเยือนสหราชอาณาจักร พบ ‘เทเรซา เมย์’ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในขณะนั้น 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top