Tuesday, 18 March 2025
Info

‘สิ่งที่ควรทำ - ไม่ควรทำ’ เมื่อเกิดเหตุระทึกขวัญ ช่วยหยุดการเลียนแบบ - ลดผลกระทบทางจิตใจเหยื่อ

เมื่อเกิดเหตุระทึกขวัญ หรือเหตุการณ์น่าสะเทือนใจในสังคม สิ่งที่ตามมาคือการกระจายข่าวออกไปในวงกว้างทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ ข้อดีคือทำให้คนหมู่มากรับรู้และระวังตัวยิ่งขึ้น แต่ข้อเสียก็คือบางครั้งอาจจะเป็นการกระจายข้อมูลที่มากเกินขอบเขต และส่งผลเสีย มากกว่าผลดี

วันนี้ THE STATES TIMES ได้รวบรวม ‘สิ่งที่ควรทำ - ไม่ควรทำ’ เมื่อเกิดเหตุระทึกขวัญ เพื่อจะช่วยหยุดพฤติกรรมเลียนแบบ และลดผลกระทบทางจิตใจของเหยื่อ จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน!!

‘ไทย’ ครองแชมป์!! ‘พลเรือน’ ครอบครอง ‘ปืน’  มากสุดในอาเซียน

ชวนย้อนดูสถิติ ไทยครองแชมป์ ‘พลเรือนครอบครองปืน’ มากที่สุดในอาเซียน

การครอบครอบครองปืนในไทยกว่า 10.3 ล้านกระบอก มากเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน และอยู่อันดับที่ 13 ของโลก และพบว่า ปืนที่ครอบครองอยู่ เป็นปืนที่มีทะเบียน 7 ล้านกระบอก และปืนไม่มีทะเบียน 6 ล้านกระบอก และสัดส่วนการครอบครองปืน คือ ประชาชน 100 คน มีปืน 15 คน

BRICS มหาอำนาจน้ำมันใหม่ กดดัน 'ดอลลาร์' สูญค่า!!

‘BRICS’ ได้กลายเป็นมหาอํานาจด้านน้ำมันอย่างเป็นทางการของโลกแล้ว ทำให้ตอนนี้ ‘ดอลลาร์สหรัฐ’ ต้องสะดุ้งสะเทือน เพราะว่าตําแหน่งของความเป็น reserve currency (สกุลเงินสำรอง) กําลังสั่นคลอน

ปัจจุบันประเทศที่ผลิตน้ำมันได้มากที่สุดในโลกก็คือ สหรัฐอเมริกา ผลิตได้ 20 เปอร์เซ็นต์ของโลก ส่วนในกลุ่มประเทศ G7 ก็มีแคนาดาผลิตได้ 6 เปอร์เซ็นต์ของโลก ทำให้ 2 ประเทศนี้รวมกัน 26 เปอร์เซ็นต์

ทางด้าน BRICS สมาชิกดั้งเดิม ได้แก่ รัสเซีย จีน บราซิล โดย 3 ประเทศนี้ผลิตรวมกันได้ 27 เปอร์เซ็นต์ และตอนนี้ได้รับสมาชิกเข้ามาใหม่ นําโดยซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน แค่เฉพาะซาอุดีอาระเบีย ก็คือผลิตได้ 12 เปอร์เซ็นต์ อาหรับเอมิเรตส์ 4% อิหร่าน 4% รวมกันผลิตได้ 20 เปอร์เซ็นต์

ดังนั้นถ้า BRICS ดั้งเดิมรวมกับสมาชิกใหม่ จะผลิตน้ำมันได้ถึง 47 เปอร์เซ็นต์ของโลก เกือบครึ่งหนึ่งของโลก ทำให้ BRICS มีอํานาจในการตั้งราคา กําหนดปริมาณการผลิตน้ำมันทั้งหมด

ซึ่งสิ่งนี้สะเทือน reserve currency ของดอลลาร์สหรัฐ ยังไง?

เดิมทีสหรัฐฯ เคยมีข้อตกลงกับซาอุดีอาระเบีย เมื่อปี 1971 ว่าจะต้องขายน้ำมันให้สหรัฐอเมริกา และทั่วโลก โดยใช้เงิน ‘ดอลลาร์’ เท่านั้น โดยมีเงื่อนไขแลกเปลี่ยนกันว่า สหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือด้านการทหาร อาวุธ แปลว่าถ้าใครอยากจะได้น้ำมันก็จะต้องมีเงินดอลลาร์ไว้ในมือ

ซึ่งความต้องการที่แท้จริงของคน คือต้องการน้ำมัน ไม่ใช่ดอลลาร์ จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่คนจําเป็นจะต้องมีดอลลาร์เป็นสกุลเงินสํารองระหว่างประเทศ เหมือนดูจากแนวโน้มในช่วงนี้แล้ว เงินดอลลาร์สหรัฐฯ กำลังหมดความสำคัญลงเรื่อย ๆ

เหตุผลที่สนับสนุนเรื่องนี้คือ ปัจจุบันซาอุดีอาระเบีย ไม่ได้อยากจะพึ่งพาดอลลาร์แล้ว โดยเลือกทิ้งบอนด์ของสหรัฐฯ อย่างมีนัยสำคัญ และเริ่มทำมาแล้วตั้งแต่ปี 2020 หรือ 3 ปีมาแล้ว และที่สําคัญประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย ซื้อน้ำมันจาก UAE ด้วยเงินรูปี โดยซื้อมากถึง 1 ล้านบาร์เรล ส่วนจีนซื้อน้ำมันจากรัสเซียเป็นเงินหยวนอยู่แล้ว

และรายงานจากบลูมเบิร์กได้ระบุว่ายังมีอีก 24 ประเทศทั่วโลกที่อยากจะเข้าเป็นสมาชิกของ BRICS ซึ่งหนึ่งในนั้นมี ‘ประเทศไทย’ ด้วย

ข้อควรรู้!! ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย ‘รถไฟฟ้าสายสีแดง - สีม่วง’ อ่วม!! ขาดทุนหนัก 7 ล้าน / วัน

รัฐบาลมีนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย โดยจะเปิดให้บริการ 2 สายก่อน คือสายสีแดงและสายสีม่วง มาดูกันว่าในปัจจุบันรถไฟฟ้าทั้งสองสายนี้ขนผู้โดยสารวันละเท่าไหร่ มีรายได้มากน้อยเพียงใด สายสีแดงหรือสายสีม่วงขาดทุนมากกว่า?

1. รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นการลงทุนทั้งหมดโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีเส้นทางจากบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร และจากบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งหมด 41 กิโลเมตร ค่าโดยสารในปัจจุบัน 12-42 บาท 

จากข้อมูลการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 พบว่า

(1) ผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน 19,611 คน
(2) รายได้เฉลี่ยต่อวัน 0.59 ล้านบาท
(3) ค่าจ้างบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาต่อวัน 1.31 ล้านบาท
(4) ขาดทุนเฉลี่ยต่อวัน 0.72 ล้านบาท

2. รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงเป็นการลงทุนทั้งหมดโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีเส้นทางจากเตาปูน-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร ค่าโดยสารในปัจจุบัน 17-42 บาท 

จากข้อมูลการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 พบว่า

(1) ผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน 56,255 คน
(2) รายได้เฉลี่ยต่อวัน 1.41 ล้านบาท
(3) ค่าจ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาต่อวัน 7.39 ล้านบาท
(4) ขาดทุนเฉลี่ยต่อวัน 5.98 ล้านบาท

3. ในปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงขาดทุนรวมกันวันละเกือบ 7 ล้านบาท! รถไฟฟ้าสายสีแดงขาดทุนวันละ 0.72 ล้านบาท ในขณะที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงขาดทุนมากกว่า โดยขาดทุนถึงวันละ 5.98 ล้านบาท รวมทั้งสองสายขาดทุนวันละ 6.7 ล้านบาท

4. ถ้าเก็บ 20 บาท ตลอดสาย จะขาดทุนหนักขึ้น!!
รมว.คมนาคม บอกว่าจะเร่งผลักดันรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เฉพาะสายสีแดงและสายสีม่วงเป็นสายนำร่องให้ได้ภายใน 3 เดือน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2567 ให้ผู้โดยสาร กรณีนี้หากผู้โดยสารจ่าย 20 บาท เพื่อใช้สายสีแดง (หรือสายสีม่วง) เมื่อเปลี่ยนไปใช้สายสีอื่นจะต้องจ่ายค่าโดยสารเพิ่มขึ้นตามอัตราค่าโดยสารของสายนั้น ๆ 

การเก็บ 20 บาท ตลอดสาย แต่ไม่สามารถใช้ข้ามสายได้ จะไม่ทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาก และจะสร้างความไม่พอใจให้กับผู้โดยสารที่ในปัจจุบันจ่ายค่าโดยสารต่ำกว่า 20 บาท โดยเฉพาะผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งจ่ายเริ่มต้นเพียง 12 บาท เท่านั้น

เมื่อมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นไม่มาก รายได้จากค่าโดยสารก็จะต่ำกว่าเดิม เป็นผลให้รถไฟฟ้าทั้งสองสายขาดทุนหนักขึ้น

5. สรุป
เห็นด้วยกับการทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง แต่ก่อนเริ่มใช้ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย รมว.คมนาคม จะต้องรู้ว่ารัฐจะต้องสูญเสียรายได้ไปเท่าไหร่? คุ้มหรือไม่กับประโยชน์ที่จะได้รับจากการมีผู้ใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น? และที่สำคัญจะมีผู้ใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นกี่คน?

เปิด 6 เหตุผล!! 99 นักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ ค้าน!! แจกเงินดิจิทัล 10,000

เปิด 6 เหตุผล!! จากนักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์จำนวน 99 คน ที่ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านและเรียกร้องให้ รัฐบาลยกเลิก 'นโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาท' เพราะเป็นนโยบายที่ ‘ได้ไม่คุ้มเสีย'

ภารกิจ 5 ด้าน THEOS-2 ‘ขึ้นไปสู่อวกาศเพื่ออะไร??’

บันทึกประวัติศาสตร์ไทยส่งดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ ดาวเทียมไทย THEOS2 ขึ้นสู่ห้วงอวกาศได้สำเร็จเวลา 08.36 น. วันที่ 9 ต.ค.66 จากปล่อยจากฐาน ที่ ท่าอวกาศยานเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้

สำหรับ ‘THEOS-2’ เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติความละเอียดสูง ‘ฝืมือคนไทย’

มีประโยชน์สำคัญดังนึ้...

1. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ปริมาณพื้นที่ป่าที่เคยมีและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าที่เกิดขึ้นว่ามีการลดลงหรือเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ในพื้นที่ไหนบ้าง และประเทศไทยควรมีแนวทางในการบริหารจัดการอย่างไรเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

2. ด้านการจัดการภัยพิบัติ เพื่อส่งข้อมูลให้กับหน่วยงานที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังภัยพิบัติต่างๆ อาทิ ไฟป่า น้ำท่วม น้ำแล้ง และ PM 2.5 สามารถวางแผนความช่วยเหลือต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทันต่อสถานการณ์และทันท่วงที

3. ด้านการจัดการเกษตร เพื่อติดตามและคาดการณ์การปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อคาดการณ์ผลผลิตและราคาพืชผล รวมถึงการวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของพืช เพื่อการใส่ปุ๋ยที่แม่นยำ หรือการแก้ปัญหาการระบาดของแมลงและโรคพืช เป็นต้น

4. ด้านการแบ่งปันข้อมูล โดยประเทศไทยจะเป็นเจ้าของข้อมูล ที่แบ่งปันกันได้ทั้งในแวดวงวิชาการ แวดวงธุรกิจ และความมั่นคง ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์แค่ภาครัฐเท่านั้นแต่ยังรวมถึงภาคเอกชนและผู้ประกอบการเทคโนโลยีอวกาศทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

5. ด้านการพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนไทยที่สนใจในด้านวิทยาศาสตร์และอยากทำงานสายวิทยาศาสตร์ โดย GISDA ได้วางแผนระยะยาว เรื่องการส่งเสริมบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

สินค้า GI ไทยตัวไหน? ได้รับการขึ้นทะเบียนในต่างประเทศแล้วบ้าง?

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังคงเดินหน้าส่งเสริมสินค้า GI ไทยขึ้นทะเบียน GI ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการ GI สร้างรายได้ให้กับชุมชนและรายได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป

'สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา' สร้างประโยชน์อะไร ให้ชาวอยุธยาได้บ้าง

ชวนส่อง!! ประโยชน์ 3 ด้าน จาก ‘สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา’ 🚅💨 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้พี่น้องชาวอยุธยาได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย!! 🇹🇭✨💵

'ไทย-อิสราเอล' ค้าขายอะไรกันบ้าง?

กลายเป็นข่าวใหญ่ เมื่ออิสราเอลถูกกลุ่มปาเลสไตน์ติดอาวุธหรือ ‘ฮามาส’ โจมตีแบบสายฟ้าแลบด้วยจรวดราว 5,000 ลูกและแรงงานไทยก็ถูกจับเป็นตัวประกันและเสียชีวิตหลายคน

แม้ตอนนี้อิสราเอลจะปิดล้อมฉนวนกาซาได้แล้ว แต่ความขัดแย้งยังคงเป็นฝุ่นตลบ ไม่จางหายโดยง่าย ‘ฮิซบอลเลาะห์’ ซึ่งเป็นกลุ่มมุสลิมชีอะห์ติดอาวุธในเลบานอน ใช้โอกาสชุลมุนนี้เข้าโจมตีทางตอนเหนือของอิสราเอล จนอิสราเอลต้องเร่งระดมพลทหารสำรองอีกกว่า 3 แสนนาย เพื่อรับศึกรอบประเทศ

ถ้าความขัดแย้งบานปลายไปมากกว่านี้ คำถามสำคัญคือ เศรษฐกิจไทยผูกติดกับอิสราเอลมากเพียงใด ไทยนำเข้าสินค้าอะไรจากอิสราเอลมากที่สุด ขณะเดียวกัน ไทยส่งออกอะไรไปอิสราเอลมากที่สุด เพื่อจะได้เตรียมรับมือผลกระทบในสินค้าเหล่านั้น

ข้อมูลจาก ‘กระทรวงพาณิชย์’ โดยร่วมมือกับกรมศุลกากร ระบุว่า ปี 2566 ตั้งแต่เดือน ม.ค - ส.ค. ไทยมีมูลค่าการค้ากับอิสราเอล 29,288 ล้านบาท โดยเป็นมูลค่าส่งออก 18,562 ล้านบาท และเป็นมูลค่านำเข้า 10,726 ล้านบาท ซึ่งไทยได้เปรียบดุลการค้าอิสราเอล 7,836 ล้านบาท อีกทั้งอิสราเอลนับเป็นคู่ค้าอันดับที่ 40 ของไทย

สำหรับสินค้าที่ไทยค้าขายกับอิสราเอล THE STATES TIMES ได้รวบรวมมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน!!

3 การเคลื่อนไหวใหญ่ของญี่ปุ่น ทวงคืนการเติบโตทางเศรษฐกิจ

👉การเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของญี่ปุ่น ก้าวสู่ยุคใหม่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ นั่นก็คือ การออกมาตรการล่าสุดภายใต้กฎหมายฉบับสำคัญที่มุ่งส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น มีด้วยกัน 3 ด้าน ได้แก่

1.เทคโนโลยีคลาวด์
รัฐบาลญี่ปุ่นได้สนับสนุนโครงการคลาวด์ ของ ‘SAKURA internet’ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้าน AI ของญี่ปุ่น รวมทั้งเร่งให้เกิดการวิจัยและพัฒนา generative AI และการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ภายในประเทศ

2.เซมิคอนดักเตอร์ 
รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจให้เงินทุนส่งเสริมอุตสาหกรรมชิปเซมิคอนดักเตอร์ 8 โครงการ รวมถึงเงินทุนสนับสนุนให้กับ ‘SHINKO Electric Industries’ สูงถึง 17.8 พันล้านเยน หรือประมาณ 4.4 พันล้านบาท เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับซัพพลายเชนด้านเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศที่ครอบคลุมอุปกรณ์การผลิต ชิ้นส่วนและส่วนประกอบ วัตถุดิบ ตลอดจนการเป็นฐานการผลิต

3.เครื่องจักรกลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม จำนวน 3 หมื่นล้านเยน หรือคิดเป็น 7.5 พันล้านบาท ภายใต้กฎหมายการส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นครั้งแรก ซึ่งมุ่งไปยังผู้ผลิตหลักของกลุ่มเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในญี่ปุ่น โดยรัฐบาลต้องการเสริมสร้างขีดความสามารถในการผลิตอุปกรณ์ควบคุมที่มีผลกับการพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม อุปกรณ์ควบคุมนี้จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับญี่ปุ่นซึ่งมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top