Tuesday, 30 April 2024
Info

เมืองไทยเปลี่ยนไป 'ลืมตา-มองไทย' แบบรอบทิศ

(16 ก.พ.66) เปลวสีเงิน ได้นำเสนอบทความ ในหัวข้อ 'สโลแกนใหม่' เพื่อไทย โดยมีเนื้อหาดังนี้…

เช้าวาน...
ลุ้นซะปวดกระเพาะปัสสาวะ กลัวสภานัด ‘ด่าฟรี’ ส่งท้ายจะล่ม
แต่ก็ ‘ครบองค์ประชุม’ ไปแบบต้องลุ้นอย่างว่านั่นแหละ!
พิธีกรรม ‘ด่านายกฯ ฟรี’ ก็ดำเนินการไปได้
ท่ามกลางจำนวน ส.ส.ที่เหลือกะร่อย-กะหริบ จนผีกลัวผีสภาหลอก

เหตุที่ ‘ไม่ล่ม’
เพราะงาน ‘ด่านายกฯ ฟรี’ (๑๕-๑๖ ก.พ.๖๖) นี้ ฝ่ายค้าน-เพื่อไทย เป็นเจ้าภาพ จึงมาเสียบบัตรกันครบ

ส่วนเหตุที่ล่มเป็นประจำ
เพราะฝ่ายรัฐบาลเป็นเจ้าภาพประชุมผ่านร่างกฎหมาย ฝ่ายค้านไม่ช่วยงาน คือมา...แต่ไม่เสียบบัตรเป็นองค์ประชุมบวกกับ ส.ส.ฝ่ายเจ้าภาพ ‘สันหลังยาว’

สภาก็เลย ‘ล่มสร้างสถิติ’!

ผมก็ฟังบ้าง-ไม่ได้ฟังบ้าง เพราะรู้อยู่ ญัตติอภิปรายทั่วไป เป็นญัตติ ‘ตีหัวเข้าบ้าน’ ของฝ่ายค้าน เสริมการหาเสียง แบบมีโทรทัศน์ถ่ายทอดให้ฟรี

เท่าที่ฟัง ฝ่ายค้านก็แผ่นเสียงตกร่องอยู่ ๓-๔ ประเด็นเดิมๆ โดยไม่ลืมตาดูโลกว่า ประเด็นที่พูดกับจริงที่เป็นวันนี้

มันตรงกันมั้ย?

เอาแต่ ‘อคติ-คิดแค้น’ เป็นตัวตั้ง

แล้วก็ด้อยค่านายกฯ ไปเรื่อย หลายเรื่อง รัฐบาลทำจนเห็นทนโท่ตำตา แต่ฝ่ายค้านก็ยังหลับหู-หลับตาพูด ‘สวนทาง’ กับข้อเท็จจริงที่รัฐบาล ‘แก้ไข-พัฒนา’ แม้แต่คนพิการตายังรู้
แต่พวก ‘พิการใจ’ ทั้งไม่รู้ และไม่เห็น น่าสมเพชจัง!

มันก็เลยกลายเป็นว่า ที่ด่าหวังประจานรัฐบาล มันย้อนกลับประจานฝ่ายค้านซะเอง
ทั้งเรื่องที่ว่า ๘ ปี รัฐบาลทำเศรษฐกิจพัง, ประชาชนจะอดตาย, ประเทศล้าหลัง ไม่มีการพัฒนา, การท่องเที่ยว-เทคโนโลยีสื่อสารเฮงซวย และ ฯลฯ

ผมฟังจน ‘หูจำ’ ได้เองว่า ประเด็นที่ยกมาด้อยค่ารัฐบาล ๘ ปี จาก ๒๕๕๗-๒๕๖๖ ฝ่ายค้านก็ด่าเรื่องเหล่านี้ ก๊อปปี้เดิมๆ
เปิดกะโหลก ลืมตา แล้วรูดซิป ให้เรียบร้อย จากนั้น มองประเทศไทยไปรอบๆ ซิครับ

ถ้าจะให้ดี ไปหาภาพเก่าๆ ของประเทศไทย ทั้งเหนือ-ใต้-ออก-ตก-อีสาน-กลาง และกรุงเทพฯ ในด้านการพัฒนา
โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและด้านโทรคมนาคม มาเปรียบเทียบกันดู
จะเห็น ‘ประเทศไทย’ ถอดรูป จากก่อนปี ๕๗ ที่เพื่อไทยเป็นรัฐบาล ‘โกงจำนำข้าว’ จนแทบไม่ได้
เผลอๆ บางคนอาจถาม....’นี่ ที่ไหนเนี่ย?’ ด้วยซ้ำ

ค่าที่ว่า กายภาพประเทศไทย ได้รับการพัฒนาแทบทุกด้านจน ‘เช้งวับ’ ยิ่งกว่าไปทำศัลยกรรมหน้ามาจากเกาหลีซะอีก!
จะเอาด้านไหนก่อนล่ะ เอาเฉพาะที่ ‘โลก’ เขาเห็นและเขายอมรับก็แล้วกัน เผื่อ "คนใจบอด" จะเปิดใจรู้บ้าง

ด้านการเงินนะ
ไทยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นอันดับ ๒ ของอาเซียน อันดับ ๑๖ ของโลก ดูเฉพาะด้านอาเซียนก็แล้วกัน

๑.สิงคโปร์ ๓๘๘,๒๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ
๒.ไทย ๒๑๖,๖๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ
๓.อินโดนีเซีย ๑๓๗,๒๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ
๔.มาเลเซีย ๑๑๔,๖๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ
๕..ฟิลิปปินส์ ๙๖,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ

๕ อันดับ พอเป็นสังเขป .......
เพื่อไทยเอียงหูมาใกล้ๆ ปากผมหน่อยซิ จะกระซิบอะไรให้ฟัง แล้วอย่าไปบอกใครนะ

‘รัฐบาลประยุทธ์’ กู้ชาติ-กู้เศรษฐกิจ จนไทยเรารวย ถึงขั้น IMF เตรียมขอกู้ ตั้งเพดานไว้ตั้ง ๑๔,๑๔๗ ล้านบาทแน่ะ

เอ้า...ไปดูด้านเศรษฐกิจบ้าง จากผลสำรวจของต่างชาติ
‘เอียน แพสโค’ ประธานบริหาร ‘แกรนท์ ธอนตัน ประเทศไทย’ มีผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในประเทศไทย ครึ่งหลังของปี ๖๕

โดยสำรวจธุรกิจขนาดกลางทั่วโลก พบว่า…
‘ธุรกิจไทย’ เป็นผู้นำของโลกด้านสถานภาพทางธุรกิจและเป็นครั้งแรกในรอบ ๕ ปี ที่สภาพธุรกิจของประเทศไทย

มี ‘ปัจจัยบวก’ แซงหน้าประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่งในกลุ่มที่เป็นฐานการลงทุน เช่น เวียดนาม สิงคโปร์

ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจที่เคยไปลงทุนในประเทศเหล่านั้น ย้ายกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
เพราะมีจุดแข็งในเรื่อง ‘โครงสร้างพื้นฐาน’ ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการลงทุน และการอยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

พูดถึงรถยนต์.....
ไทยเป็นแชมป์อาเซียน ‘ส่งออกรถยนต์’ ทั้งเก๋ง ทั้งกระบะ อันดับ ๑ สูงถึง ๑,๘๘๓,๕๑๕ คัน, อินโดฯ อันดับสอง ๑.๔ ล้านคัน และมาเลย์ อันดับสาม ๗ แสนกว่าคัน และ...อ้อ ส่งออกของไทย ปี ๖๕ นำเงินเข้าประเทศ ๙.๙ ล้านล้านบาท สูงเป็นประวัติการณ์

รู้แล้ว อย่าเฉิ่ม หลับตาอภิปราย ‘รัฐบาลประยุทธ์บริหารไม่เป็น โง่ ทำเศรษฐกิจประเทศพังฉิบหาย’ อีกล่ะ อายเค้า!
แล้วดันคุย นายกฯ ประยุทธ์ ‘ลอกนโยบาย’ เพื่อไทยไปทำ สะเหล่อดกจริงๆ

นโยบายเพื่อไทย ‘เพิ่งคลอด’ มดลูกยังไม่ทันกลับเข้าอู่ด้วยซ้ำ แล้วพูดได้ไงว่า นายกฯ ลอกนโยบายไปทำ
ถ้าลอกปุ๊บวันนี้-ติดปั๊บพรุ่งนี้ นั่นมันไม่ใช่การทำงานด้านบริหาร-พัฒนาประเทศแล้วละ โม้ไปเรื่อย

เอ้า....ดูอีกสถิติ ที่ว่า ๘ ปี มีแต่ล้มเหลวทุกด้านนั่นน่ะ ข่าวจาก ‘กรุงเทพธุรกิจ’ หลายวันก่อน
ไทยติดอันดับ ๑๐ ประเทศที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในเอเชีย อันดับ ๓ ในอาเซียน รองจากสิงคโปร์และอินโดนีเซีย

ตัวชี้วัดที่แข็งแกร่งของไทยคือ.....
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ อยู่ในอันดับที่ ๗
เป็นผลมาจากการเข้าร่วมซัพพลายเชนในภูมิภาคและมีความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนที่แข็งแกร่งกับประเทศที่ติดอันดับในดัชนีอิทธิพลเอเชีย

๑๐ อันดับประเทศที่ ‘ทรงอิทธิพลที่สุด’ ในเอเชีย

๑.สหรัฐ ๒.จีน ๓.ญี่ปุ่น ๔.อินเดีย ๕.รัสเซีย ๖.ออสเตรเลีย
๗.เกาหลีใต้ ๘.สิงคโปร์ ๙.อินโดนีเซีย และ ๑๐.ไทย

ความสำเร็จรับมือโควิด-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

เกียรติยศและรางวัลแห่งความสำเร็จ : เกิดจากความร่วมมือของคนไทยทั้งประเทศ ที่รัฐบาลนี้ นำมาสู่ประชาชนชาวไทย คือ ‘การสร้างโอกาสในวิกฤต’ 

โดย ‘ปีแรก’ ของการระบาด ประเทศไทยถือว่าเป็นอันดับ 2 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเชีย ที่สามารถฟื้นตัวจากโควิดได้ดี เป็นอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเชีย ที่มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับโรคระบาดและด้านสุขภาพได้ดีที่สุด อีกทั้งไทยเป็นอันดับ 5 ของโลก ที่มีความมั่นคงทางสุขภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เลือกประเทศไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศจากทั่วโลก และเป็นประเทศเดียวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการดำเนินโครงการกลไกทบทวนการเตรียมความพร้อม กรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health and Preparedness Review : UHPR) และถอดบทเรียนความสำเร็จการรับมือวิกฤตโควิด

นอกจากนี้...ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการของ ‘ศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่’ (ASEAN Centre for Public Health Emergencies and Emerging Diseases : ACPHEED) ที่ส่งเสริมโอกาสให้ประเทศไทยเป็น ‘ศูนย์กลางทางการแพทย์และสาธารณสุข’ (Medical Hub) แห่งหนึ่งในโลก และไปไกลได้กว่านั้น คือ เป็นตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ในอนาคต

การนำพาบ้านเมืองฝ่าวิกฤตต่าง ๆ ดึงพลังความสามัคคีของคนในชาติ จนสามารถเอาชนะ ‘สงครามโควิด’ ได้อย่างงดงาม จนนานาชาติต่างชื่นชม แน่นอนว่าการท่องเที่ยวในปี 64 หลัง ‘เปิดประเทศ’ อย่างเป็นระบบ นักท่องเที่ยวต่างชาติไหลกลับเข้าประเทศตามเป้า 10 ล้านคน ตั้งแต่ยังไม่ครบปี 

ในขณะที่หลายประเทศยังซบเซา เศรษฐกิจโลกยังถดถอย แต่ก็มั่นใจว่าปีหน้า 2566 จะมีชาวต่างชาติมาเยือนไทย ไม่น้อยกว่า 23.5 ล้านคน มองเห็นสร้างรายได้จากกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึง 1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งยังไม่นับรวมชาวจีนที่ยังคงปิดประเทศ

'ซาอุดีอาระเบีย' ปักหมุด EEC ลงทุนในไทยร่วม 3 แสนล้านบาท!!

สำหรับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ราชอาณาจักร ‘ไทย-ซาอุดีอาระเบีย’ ที่ห่างหายมานานกว่า 32 ปี ได้สำเร็จนั้น ส่งผลในทางบวกที่ประชาชนทั้ง 2 ประเทศต่างรอคอย และชาวโลกก็เฝ้าติดตามเช่นกัน ในที่สุดความหวังที่มีมาอย่างยาวนานถึง 14 รัฐบาล ก็เกิดขึ้นจริงในปี 2565 มีการแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit) 

โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 25 ม.ค.65 และเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เสด็จเยือนไทย เมื่อวันที่ 18 พ.ย.65 

2 เหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์นี้นำมาสู่การยกระดับความร่วมมือเบื้องต้นที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ด้านพลังงาน, ด้านการท่องเที่ยว และด้านการค้า-การลงทุน

ชวนต่างด้าวซื้อที่ดินในไทย กลยุทธ์ ‘ยิงปืนนัดเดียว’ ได้นก 2 ตัว

‘ต่างด้าวซื้อที่ดิน’ มาตรการเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง เป็นมาตรการกระตุ้นชั่วคราว ระยะ 5 ปี เพื่อจูงใจกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ มีความมั่งคั่งสูง และกลุ่มผู้มีทักษะสูง-ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ โดยตั้งเป้าไว้ที่ 1 ล้านคน ให้มาเป็นผู้พำนักระยะยาวในประเทศไทย สามารถถือครองที่ดินได้ ไม่เกินคนละ 1 ไร่ เพื่ออยู่อาศัยในพื้นที่ที่กำหนดให้เท่านั้น 

ทั้งนี้ ก็มีเงื่อนไขด้วยว่าจะต้องนำเงินมาลงทุนในธุรกิจ หรือกิจการที่กำหนด ไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี ถือเป็นการ ‘ยิงปืนนัดเดียว ได้นก 2 ตัว’ คือ 

(1) การยกระดับอุตสาหกรรมไทยในระยะยาว โดย ‘สมองไหลเข้าไทย’ เพื่อร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve ของไทย ด้วยการสอนงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างคน-สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในประเทศไทย 

(2) การใช้จ่าย-การลงทุน เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมหาศาล

‘บิ๊กตู่’ ยกระดับ Soft Power ไทย ดัน ‘16 เทศกาลไทย’ สู่เวทีสากล ดึงดูด นทท. สร้างรายได้ให้ชุมชน

(20 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มุ่งส่งเสริมฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน สร้างรายได้แก่ประชาชน ผ่านการคัดเลือกเทศกาลประเพณีทั่วประเทศที่โดดเด่น เพื่อยกระดับเทศกาลประเพณีไทย (Festival) ไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ 

กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินตามนโยบายรัฐบาล ขับเคลื่อน Soft Power ของไทยที่มีศักยภาพ 5F (Food, Fight, Film, Fashion, Festival) โดยแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการคัดเลือกเทศกาลประเพณีของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 16 ประเภท ซึ่งทั้ง 16 เทศกาลประเพณีที่ได้รับการคัดเลือก ล้วนมีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ แสดงออกถึงวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถนำมาพัฒนาต่อยอด ส่งเสริมการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และเผยแพร่ประเพณีของไทยให้เป็นที่รู้จัก ดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้แก่ชุมชนและประเทศชาติ

20 โปรเจกต์ หนุน EEC เดินหน้า ภายใต้ผู้นำที่ชื่อว่า ‘ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

โครงการ EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งมีอีกชื่อเป็นภาษาไทยว่า ‘โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก’ อีกหนึ่งความหวังใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยปัจจุบันมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเงื่อนไขในการเอื้อต่อการลงทุนแล้วหลายประการ

1. พัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา)
2. พัฒนารถไฟทางคู่ (ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย)
3. พัฒนาท่าเรือมาบตาพุด / ท่าเรือแหลมฉบัง เป็น ‘ประตูการค้า’ เชื่อมโยงกับประเทศในอาเซียน
4. พัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ หรือท่าเรือจุกเสม็ด รองรับนิคมอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวทางทะเล
5. ปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3

14 เรื่องดี๊ดีที่ ‘บิ๊กตู่’ มีให้ภาคตะวันตก ‘ถนน - ท่องเที่ยว - ปากท้อง’ ครบ!!

ไม่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ สำหรับภาคตะวันตก อันประกอบไปด้วยจังหวัด กาญจนบุรี, ตาก, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี และราชบุรี ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เร่งผลักดันโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน รวมถึงการยกระดับการท่องเที่ยวให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยตลอดช่วง 8 ปีที่ผ่านมานี้ มีหลากโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนแนวทางต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากมาย

>> จังหวัดกาญจนบุรี

1. Skywalk กาญจนบุรี แลนด์มาร์กแห่งใหม่ริมแม่น้ำแคว บนความสูง 12 เมตรจากพื้นถนน และความยาวของ Skywalk กาญจนบุรี อยู่ที่ 150 เมตร ตลอดริมแม่น้ำ ตัวพื้นของ Skywalk กาญจนบุรี ทำจากกระจกใสแข็งแรง ตลอดทางเดินสามารถมองเห็นแม่น้ำด้านล่าง

2. จัดระเบียบเรือนแพและปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำแคว เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

3. แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี 

4. โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี มีพื้นที่ผ่าน 3 จังหวัด คือ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม และ จ.กาญจนบุรี ระยะทาง 96.41 กิโลเมตร 

>> จังหวัดตาก

5. มอบสิทธิมอบสุขในที่ดินทำกิน หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 5 ป่า ประกอบด้วย ป่าช่องแคบและป่าแม่โกนเกน / ป่าแม่ละเมา / ป่าแม่สอด / ป่าท่าสองยาง และ ป่าแม่ระกา พร้อมทั้งมอบสมุดประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือกให้ทำกินในชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ในพื้นที่จังหวัดตาก ให้กับประชาชนในพื้นที่ป่าช่องแคบและป่าแม่โกนเกน จำนวน 1,231 เล่ม 

6. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ร่วมกันผลักดัน ให้ ‘ไม้กลายเป็นหิน’ ณ อุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย จังหวัดตาก ถูกบันทึกสถิติโลกว่าเป็น ‘ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก’ ลง Guinness World Records ได้สำเร็จ เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเยาวชน ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจด้านแหล่งธรณีวิทยาที่สำคัญในประเทศไทย

7. สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย หรือที่ชาวเมียนมาเรียกแม่น้ำตองยิ่น แห่งที่ 2 บริเวณฝั่งไทยที่บ้านวังตะเคียนใต้ หมู่ที่ 7 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top