Tuesday, 30 April 2024
Info

อัปเดต ไทม์ไลน์ 'เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5'

สายเที่ยวห้ามพลาด!! เราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 เริ่มเปิดให้ลงทะเบียนแล้ว โดยรัฐบาลจะช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายโรงแรม/ที่พัก 40% จำนวน 560,000 สิทธิ์ (ห้อง/คืน) เข้าพักได้ 10 มี.ค.ถึง 30 เม.ย.นี้

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ 14.6 ล้านคน เริ่มใช้สิทธิ 1 เม.ย. 66 ประกาศผลเริ่มยืนยันตัวตน 1 มี.ค.66

ชาวบ้านเฮ!!
ครม. เห็นชอบรายงานการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ลงทะเบียน โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และประชารัฐสวัสดิการใหม่ ให้แก่ผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 14.6 ล้านราย เริ่มกระบวนการยืนยันตัวตน 1 มีนาคม 66

คณะรัฐมนตรี วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เห็นชอบรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ลงทะเบียน โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และกรอบระยะเวลาดำเนินโครงการฯ พร้อมทั้งอนุมัติงบกลาง จำนวน 9,140.35 ล้านบาท ให้กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม นำมาสมทบกับเงินกองทุน ฯ ในการดำเนินการจัดสรรประชารัฐสวัสดิการใหม่ เช่น วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคจากร้านธงฟ้าประชารัฐ จำนวน 300 บาท/คน/เดือน วงเงินค่าเดินทางระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาท/คน/เดือน เป็นต้น

รายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโครงการ ฯ ปี 2565 มีรายละเอียด ดังนี้

1. ผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโครงการ ฯ ปี 2565 ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 14,596,820 ราย ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 5,050,421 ราย ซึ่งผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ อาทิ มีรายได้เกิน 100,000 บาท/ปี มีบัญชีเงินฝากเกิน 100,000 บาท มีบัตรเครดิต มีวงเงินกู้บ้าน/รถ เป็นต้น

‘คนไทย’ เกินครึ่ง เชื่อ!! ลุงตู่ VS ลุงป้อม ไม่ แตกกัน

แม้ 2 พรรคใหญ่ อย่าง 'พลังประชารัฐ' และ 'รวมไทยสร้างชาติ' จาก 2 ป. พี่น้อง 'ป้อม-ตู่' จะเริ่มออกมาเรียกคะแนนเรียกคะแนนเสียง และฟาดฟันกันด้วยนโยบายเคลมบลัฟแบบไม่ไว้หน้ากัน จนสะท้อนภาพรอยร้าวในความสัมพันธ์ของคู่พี่น้องให้ประชาชนสัมผัสได้ชัดขึ้น แต่หากย้อนดูโพลเมื่อวันที่ 29 ม.ค.66 ก็เชื่อว่านี่น่าจะยังเป็นเพียงความดุเดือดทางการเมือง ที่ท้ายสุด อาจจะเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์แยกกันเดิน ร่วมกันตี หลังการเลือกตั้งนี้จบลง ก็เป็นไปได้

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในวันนั้นได้เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง 'พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ปะทะ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)' ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 23-25 มกราคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแข่งขันทางการเมืองระหว่าง รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กับ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) 

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
 

ไทยเนื้อหอม!! 5 อันดับต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด (ม.ค. 66)

1. ญี่ปุ่น 14 ราย (ร้อยละ 27) เงินลงทุน 3,588 ล้านบาท
2. สิงคโปร์ 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 410 ล้านบาท
3. สหรัฐอเมริกา 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 9 ล้านบาท
4. สหราชอาณาจักร 5 ราย (ร้อยละ 10) เงินลงทุน 98 ล้านบาท
5. จีน 3 ราย (ร้อยละ 6) เงินลงทุน 548 ล้านบาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตัวเลขการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เดือนมกราคม ปี 2566 ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 52 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 22 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 30 ราย เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,129 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 298 คน

1. ญี่ปุ่น 14 ราย (ร้อยละ 27) เงินลงทุน 3,588 ล้านบาท
2. สิงคโปร์ 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 410 ล้านบาท
3. สหรัฐอเมริกา 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 9 ล้านบาท
4. สหราชอาณาจักร 5 ราย (ร้อยละ 10) เงินลงทุน 98 ล้านบาท
5. จีน 3 ราย (ร้อยละ 6) เงินลงทุน 548 ล้านบาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตัวเลขการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เดือนมกราคม ปี 2566 ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 52 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 22 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 30 ราย เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,129 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 298 คน

กระทรวง อว. ปลดล็อกอีก 2 หลักสูตรแซนด์บ็อก พร้อมผลิต วิศวกรคอมพิวเตอร์ & บุคลากรธุรกิจการบิน ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ

เมื่อปี 2565 เราได้รับข่าวดีคณะทำงานในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา ได้อนุมัติ 4 หลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ ตอบสนองการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) ซึ่งก้าวข้ามขีดจำกัดของการจัดการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานเดิม เพื่อจัดการศึกษารูปแบบใหม่ สร้างนวัตกรรมการอุดมศึกษา มุ่งเน้นผลิตคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคการผลิต (Demand Driven) และเท่าทันความต้องการของประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ โดยทั้ง 4 หลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ นั้น คือ

1.) หลักสูตรการผลิตและพัฒนากำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์
นำโดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยอีก 6 แห่ง และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สถาบันพระบรมราชชนก ตั้งเป้าผลิตกำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์ ระดับผู้ประกอบโรคศิลปะ จำนวน 15,000 คน ภายใน 10 ปี

2.) หลักสูตรการผลิตบุคลากร High-tech Entrepreneur
นำโดย International School of Management (ISM) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ Harbour.Space University ประเทศสเปน หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (Thaichamber) และบริษัทต่างๆ ตั้งเป้าผลิตกำลังคนที่มีความรู้ขั้นแนวหน้า (frontier knowledge) ด้านเทคโนโลยี จำนวน 400 คน ภายใน 7 ปี

3.) หลักสูตรการผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล
นำโดยมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล และสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยอีก 6 แห่ง ตั้งเป้าผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล 1,880 คน ภายใน 8 ปี

4.) หลักสูตรการผลิตกําลังคนศักยภาพสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และแนวคิดเชิงนวัตกรรม
นำโดยวิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชวิทย์) สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และสถาบันอุดมศึกษา ตั้งเป้าผลิตกําลังคนทักษะสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์ และแนวคิดเชิงนวัตกรรม 175 คน ภายใน 9 ปี โดยรวมแล้วจะสร้างบุคลากรที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศในด้านต่างๆ ได้ทั้งสิ้นกว่า 17,455 คน

จนกระทั่ง ล่าสุดในปี 2566 นี้ กระทรวง อว.ปลดล็อกอีก 2 หลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ ได้แก่

5.) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งเป้าผลิตกำลังคนในกลุ่มวิศวกรคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล 1,200 คน

6.) หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบินนานาชาติ โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ตะวันออก เพิ่มการผลิตกำลังคนในกลุ่มพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top