Sunday, 5 May 2024
G7

‘จีน’ ฟาด!! G7 ควรใส่ใจปัญหาของตน หยุดบังคับชาติอื่นคว่ำบาตรตามคำสั่ง

ไม่นานมานี้ กลุ่มมหาอำนาจ G7 ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐฯ, อังกฤษ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี และญี่ปุ่น ได้ออกมากดดันให้ ‘รัฐบาลจีน’ ให้แสดงท่าทีกระตุ้นให้รัสเซียยุติสงครามในยูเครน และยุติความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการทหารกับรัสเซีย รวมทั้งเรียกร้องให้จีนต้องสนับสนุนเอกราชและอิสรภาพของยูเครนด้วย

ทันทีที่ G7 แสดงท่าทีดังกล่าว ฟากรัฐบาลจีน ก็ได้ออกมาตอบโต้ท่าทีดังกล่าวทันที โดย จ้าว ลี่เจี้ยน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ (16 พ.ค.65) ที่ผ่านมาว่า…

กลุ่ม G7 ควรจะหยุดความพยายามในการบีบบังคับให้ชาติอื่นคว่ำบาตรตามคำสั่งของตน และควรหันไปสนใจปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศของตนเอง มากกว่าที่จะเข้าไปแทรกแซงประเทศอื่นให้ทำตามคำสั่ง

G7 ทุ่ม 6 แสนล้านฯ ล่อประเทศกำลังพัฒนาเข้าซบ ด้านอเมริกันชน เซ็ง!! สนแต่คนนอก ไม่แคร์คนใน

การประชุมกลุ่ม G7 ในประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ (26 มิถุนายน 2022) ที่ผ่านมา ประชุมสุดยอดผู้นำ G7 ครั้งที่ 48 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ (26-28 มิถุนายน 2022) ที่เมือง Schloss Elmau แคว้นบาวาเรีย ในเยอรมัน ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, แคนาดา, ญี่ปุ่น และอิตาลี ได้มีข้อตกลงร่วมกันว่า…

ทางกลุ่ม G7 จะทุ่มเงินให้กับประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งคาดว่าเป็นการปล่อยกู้ ไม่ใช่การกุศล แต่เพื่อการลงทุน โดยหวังจะดึงความนิยมให้ประเทศเหล่านั้นหันมาหาซบ G7 และมองข้ามโครงการ Belt and Road หรือ เส้นทางสายไหมใหม่ของจีน ผ่านโครงการยักษ์อย่าง The Partnership for Global Infrastructure and Investment เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศกำลังพัฒนา ที่จะทุ่มงบประมาณลงในโครงการนี้ถึง 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยการประชุมย่อยในครั้งนี้ น่าสนใจที่ทางฟาก สหรัฐฯ ในฐานะผู้นำกลุ่ม ประกาศจะทุ่มเงินกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 7 ล้านล้านบาทภายใน 5 ปี เพื่อการนี้โดยเฉพาะด้วย

ถึงกระนั้น ก็มีคำถามว่า แล้วสหรัฐฯ จะไปหาเงินจำนวนมากขนาดนั้นมาจากไหน ทางด้านทำเนียบขาวจึงได้ตอบว่า “จะเป็นการตั้งเงินงบประมาณจากรัฐบาลกลาง ประกอบกับการขอความร่วมมือจากกองทุนและธนาคารต่างๆ ไปจนถึงความร่วมมือจากภาคเอกชนยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา”

ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ ได้มีโครงการนำร่องที่ให้เงิน 2 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท) แก่ประเทศแองโกลา โดยเป็นการรวมเงินจากกระทรวงพานิชย์, ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งสหรัฐอเมริกา และกองทุนภาคเอกชนที่เข้าไปลงทุนในแอฟริกา

NATO เตรียมสยายปีก รุกคืบ 'เอเชีย-แปซิฟิก' ดึง 4 ชาติเอเชีย ร่วมเกมกดดันอิทธิพลจีน

ถัดจากการงานประชุมสุดยอดผู้นำ G-7 ที่เยอรมัน ก็จะถึงคราวงานประชุมประจำปีของเหล่าสมาชิก NATO ต่อในทันที ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในวันที่ (29-30 มิถุนายน 2022) ที่กรุงแมดริด ประเทศสเปน

ประเด็นที่สำคัญในปีนี้ หนีไม่พ้นปัญหาการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ที่ผู้นำกลุ่มอย่างสหรัฐอเมริกา ต้องการเห็นการแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบรรดาชาติสมาชิก NATO ที่จะสนับสนุนฝ่ายยูเครนอย่างเต็มกำลังที่จะต่อสู้กับรัสเซีย

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกประเด็นที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ 'ภัยคุกคามจากการขยายอิทธิพลของจีนทางด้านฝั่งเอเชีย-แปซิฟิก' ที่กลุ่ม NATO แม้จะได้ชื่อว่าเป็นองค์การของฝั่งแอตแลนติกเหนือ ก็ไม่สามารถปล่อยไว้ได้

นั่นจึงทำให้ปีนี้ มีการเชิญชาติพันธมิตรของสหรัฐฯ ทางฝั่งแปซิฟิก ทั้ง ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ มาเข้าการประชุม NATO ด้วยเป็นครั้งแรก ซึ่งคาดเดาว่าจะมีหัวข้อการผลักดันให้เกิดเป็นพันธมิตรด้านการทหารร่วมกันทางฝั่งเอเชีย-แปซิฟิกเติมเข้ามา

เพราะเชื่อว่าได้ว่านาทีนี้ สหรัฐอเมริกา คงต้องการขยายฐานกองกำลัง NATO ลงมาทางย่านเอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้น แม้ว่าปัจจุบัน NATO จะได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มพันธมิตรด้านการทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีชาติสมาชิกถึง 30 ชาติ แต่เมื่อภูมิภาคด้านฝั่งเอเชีย-แปซิฟิก นั้น อยู่เกินอำนาจขอบเขตการดูแลของกองกำลัง NATO และกำลังเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของจีน นี่จึงเป็นเรื่องที่ปล่อยเฉยได้ยาก

ดังนั้นการขยายขอบเขต NATO ด้วยการดึงพันธมิตรของสหรัฐฯ ทางฝั่งเอเชีย-แปซิฟิก เข้ามาร่วมวงด้วย จึงเป็นประเด็นที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษในการประชุมประจำปีครั้งนี้แน่นอน

ฟากรัฐบาลจีน ก็ไม่อาจอยู่เฉย และออกมาคัดค้านการร่วมวงประชุม NATO ของ 4 ชาติในเขตเอเชีย-แปซิฟิกครั้งนี้ พร้อมทั้งตอบโต้ให้ NATO หยุดสร้างมโมคติเกี่ยวกับประเทศจีนที่ผิดๆ เพื่อยั่วยุให้เกิดการเผชิญหน้า และสงครามเย็นในภูมิภาคนี้เสียที และอย่ากระหายสงครามจนล้ำเส้นอธิปไตยของชาติอื่น เพราะเมื่อเกิดสงครามจริงๆ คนที่เดือดร้อนคือประชาชนนับล้าน อย่างที่เห็นตัวอย่างมาแล้วมากมาย

‘พงษ์ภาณุ’ อดีตปลัดคลังฯ ชี้ 1 มิถุนายนนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ อาจไม่มีเงินจ่ายข้าราชการ ชำระหนี้ และดอกเบี้ย

(28 พ.ค. 66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ให้มุมมองต่อเศรษฐกิจของโลก ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00-08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 66 โดยระบุว่า ...

‘วิกฤตเพดานหนี้’ (Debt Ceiling) ของสหรัฐฯ เดินมาถึงฉากสุดท้ายยังหาข้อยุติไม่ได้ หากไม่จบ 1 มิถุนายนนี้ รัฐบาลสหรัฐฯจะไม่เงินสดเพียงพอที่จะจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญข้าราชการ รวมทั้งชำระหนี้และดอกเบี้ยเงินกู้ที่ครบกำหนดได้

การผิดนัดชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้นหลังวันที่ 1 มิถุนายน ถือเป็นวิกฤตการเงินของโลกครั้งใหญ่ เพราะตลาด Treasury ถือเป็นตลาดสินทรัพย์ทางการเงินที่ใหญ่ที่สุด นักลงทุนทั่วโลก ทั้งรัฐและเอกชน ลงทุนในพันธบัตรัฐบาลสหรัฐ โดยเชื่อว่าเป็นตราสารการเงินที่ไม่มีความเสี่ยง แต่ที่สำคัญวิกฤตเพดานหนี้สะท้อนภาพฐานะการคลังของรัฐบาลทั่วโลกที่อ่อนแอและน่าเป็นห่วง รวมทั้งฐานะการคลังของรัฐบาลไทย ปัญหาการคลังที่สะสมมาเป็นเวลานาน ยังไม่ได้รับการแก้ไข รายจ่ายมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากสังคมสูงอายุและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

ขณะที่รายได้ภาษีอากรชะงักงัน ส่งผลให้ขาดดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะสูงขึ้น ถือเป็นวาระสำคัญที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาดูแล การประชุมสุดยอด G7 ที่ Hiroshima ส่งสัญญาณเตือนจีนในเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจฝ่ายประชาธิปไตย การย้ายฐาน Supply Chain การบังคับขู่เข็ญทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการคุ้มครองเทคโนโลยีสำคัญ อาทิ อุตสาหกรรม Semiconductor ล้วนเป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องสดับตรับฟัง เพราะมีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศและนโยบายอุตสาหกรรมของรัฐบาลใหม่

ในด้านความมั่นคง การประชุมที่ Hiroshima ซึ่งเป็นเมืองแรกในโลกที่ถูกทำลายด้วยระเบิด Atomic Bomb ประกอบการมาร่วมของประธานาธิบดี Zelenskyy แห่ยูเครน ยังเป็นการส่งสัญญาณเตือนถึงรัสเซียที่ได้ขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ ถึงภัยร้ายแรงของสงครามที่รัสเซียจะต้องรับผิดชอบในฐานะอาชญากรสงครามอีกด้วย

‘BRICS’ รับสมาชิกใหม่ 6 ชาติ มี ‘ซาอุฯ-อิหร่าน’ ร่วมแจมด้วย หวังเปลี่ยนระเบียบโลก-ขึ้นแท่นมหาอำนาจใหม่ สู้โลกตะวันตก

(25 ส.ค. 66) บริกส์ (BRICS) กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เห็นพ้องกันในวันพฤหัสบดี (24 ส.ค.) อ้าแขนต้อนรับ ซาอุดีอาระเบีย, อิหร่าน, เอธิโอเปีย, อียิปต์, อาร์เจนตินา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้าเป็นรัฐสมาชิก ความเคลื่อนไหวที่มีเป้าหมายเร่งรัด ความพยายามผลักดันการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ที่พวกเขามองว่าเก่าเก็บล้าสมัยไปแล้ว

ในการตัดสินใจขยายขอบเขตของกลุ่ม ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปี บรรดาพวกผู้นำบริกส์ยังได้เปิดประตูสำหรับการรับสมาชิกใหม่เพิ่มเติมในอนาคต ในขณะที่ยังมีอีกหลายสิบประเทศที่ส่งเสียงแสดงความสนใจเข้าร่วมกลุ่ม ที่พวกเขาหวังว่าจะสามารถทำให้เกิดการแข่งขันกันในระดับโลกอย่างเป็นธรรมกับผู้เล่นทุกราย

การขยายขอบเขตเศรษฐกิจเพิ่มเติมเข้าสู่ BRICS ซึ่งปัจจุบันชาติสมาชิกประกอบด้วย จีน ชาติเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก บราซิล รัสเซีย อินเดีย และแอฟริกาใต้ ยังเป็นการยกระดับความทะเยอทะยานอย่างเปิดเผย ของทางกลุ่มในการก้าวเป็นแชมป์เปี้ยนแห่งโลกใต้

“นี่คือการขยายจำนวนสมาชิกครั้งประวัติศาสตร์” สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนกล่าว “มันแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบรรดาประเทศกลุ่มบริกส์ สำหรับความเป็นหนึ่งเดียวกันและความร่วมไม้ร่วมมือ กับบรรดาชาติกำลังพัฒนาในวงกว้าง”

6 ชาติว่าที่สมาชิกใหม่จะกลายมาเป็นรัฐสมาชิกกลุ่มบริกส์อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2024 จากการเปิดเผยของ ‘ซีริล รามาโฟซา’ ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ครั้งที่เขาเปิดเผยชื่อประเทศเหล่านี้ ระหว่างการประซัมมิตผู้นำกลุ่มบริกส์เป็นเวลา 3 วัน ที่เขาเป็นเจ้าภาพในเมืองโยฮันเนสเบิร์ก

“บริกส์ได้เริ่มต้นปฐมบทใหม่ในความพยายามสร้างโลกที่ยุติธรรม โลกที่อยู่ร่วมกันและเต็มไปด้วยความรุ่งเรือง” รามาโฟซากล่าว “เรามีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในขั้นแรกของกระบวนการขยายรับสมาชิก และขั้นอื่นๆ จะตามมาหลังจากนี้”

การเชิญประเทศต่างๆ เข้ากลุ่ม สะท้อนถึงความปรารถนาของรัฐสมาชิกกลุ่มบริกส์แต่ละชาติ ที่ต้องการดึงพันธมิตรของตนเองเข้าร่วมกลุ่ม

‘ลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา’ ประธานาธิบดีบราซิล ล็อบบี้ให้นับรวมอาร์เจนตินา ประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนอียิปต์นั้นมีความใกล้ชิดทางการค้ากับรัสเซียและอินเดีย

ขณะเดียวกัน การเข้าร่วมของมหาอำนาจทางน้ำมันอย่างซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เน้นย้ำว่าพวกเขากำลังปลีกตัวออกจากวงโคจรของสหรัฐฯ และมีความทะเยอทะยานก้าวมาเป็นยักษ์ใหญ่ของโลก ด้วยสิทธิของตนเอง

รัสเซียและอิหร่าน มีเหตุผลร่วมกันในการดิ้นรนต่อสู้กับมาตรการคว่ำบาตร และการโดดเดี่ยวทางการทูตที่นำโดยสหรัฐฯ ในขณะที่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง 2 ชาติมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ตามหลังมอสโกเปิดฉากรุกรานยูเครน

“บริกส์ไม่ได้แข่งขันกับใคร” จากคำกล่าวในวันพฤหัสบดี (24 ส.ค.) ของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ซึ่งเข้าร่วมประชุมแบบทางไกล สืบเนื่องจากหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ ตามข้อกล่าวหาก่ออาชญากรรมสงคราม “แต่ชัดเจนว่า กระบวนการนี้ของการปรากฏขึ้นมาของระเบียบโลกใหม่ ยังคงถูกต่อต้านอย่างดุเดือด”

จีนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเอธิโอเปีย และการเข้าร่วมของประเทศแห่งนี้ยังเป็นการดำเนินการตามความปรารถนาของแอฟริกาใต้ ที่ประสงค์เห็นแอฟริกามีสิทธิ์มีเสียงมากยิ่งขึ้นในกิจการต่างๆ ของโลก

ด้วย ‘อันโตนิโอ กูเตอร์เรส’ เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ เข้าร่วมในการแถลงข่าวขยายจำนวนสมาชิกกลุ่มบริกส์ด้วยในวันพฤหัสบดี (24 ส.ค.) มันสะท้อนอิทธิพลที่มากขึ้นเรื่อยๆ ของกลุ่มนี้ ในขณะที่กูเตอร์เรส ส่งเสียงเห็นด้วยกับเสียงเรียกร้องมาช้านานของกลุ่มบริกส์ ที่อยากให้มีการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก

เหล่าสมาชิกกลุ่มบริกส์ มีเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างมากในแง่ของขนาด และบ่อยครั้งรัฐบาลของพวกเขามีเป้าหมายในนโยบายต่างประเทศแตกต่างกัน เหล่านี้เป็นปัจจัยแทรกซ้อนต่อโมเดลการตัดสินใจอย่างเป็นเอกฉันท์ของทางกลุ่ม

บริกส์ มีประชากรรวมกันคิดเป็น 40% ของประชากรโลก และมีเศรษฐกิจรวมกันคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของจีดีพีโลก อย่างไรก็ตาม ความแตกแยกภายในเป็นอุปสรรคขัดขวางความทะเยอทะยานของบริกส์มาช้านาน ที่ต้องการกลายมาเป็นผู้เล่นหลักในเวทีโลก

ยกตัวอย่างเช่น กรณีสมาชิกของกลุ่มเน้นย้ำความปรารถนาปลีกตัวเองออกจากดอลลาร์สหรัฐ แต่มันไม่เคยเป็นรูปธรรม ในขณะที่ ‘ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่’ (New Development Bank) ความสำเร็จที่เป็นรูปเป็นร่างที่สุดของพวกเขา เวลานี้กำลังประสบปัญหาในยามที่รัสเซีย ผู้ร่วมก่อตั้งกำลังเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตร

ประธานาธิบดีบราซิล ปฏิเสธความคิดที่ว่าทางกลุ่มกำลังหาทางเป็นคู่ขัดแย้งกับสหรัฐฯ และกลุ่ม 7 ชาติเศรษฐกิจชั้นนำของโลก (จี7) แต่ระหว่างออกเดินทางจากแอฟริกาใต้ในวันพฤหัสบดี (24 ส.ค.) เขาไม่เห็นจะมีประเด็นโต้เถียงใดๆ ในการดึงอิหร่าน คู่ปรับเก่าแก่ของสหรัฐฯ เข้าเป็นรัฐสมาชิก “เราไม่อาจปฏิเสธความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ของอิหร่านและประเทศอื่นๆ ที่จะเข้าร่วมกลุ่มบริกส์ สิ่งสำคัญไม่ใช่เรื่องบุคคลที่บริหาร แต่มันอยู่ที่ความสำคัญของประเทศนั้นๆ”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top