Wednesday, 9 July 2025
Econbiz

เคาะมาตรฐาน “เห็ดหอมแห้ง-ปาล์ม-ข้าว” เตรียมประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป

นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อดำเนินการประกาศ เป็นมาตรฐานทั่วไปของประเทศต่อไป จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่

1.เห็ดหอมแห้ง

2.การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับปาล์มน้ำมัน

3.การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าวและโรงปรับปรุงสภาพข้าว

4.หลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี และ

5.ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวทางการนำไปใช้ 

“ขณะนี้อยู่ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ทั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการระบาดของโรคลัมปี สกิน จากเชื้อไวรัสในโค-กระบือ ซึ่งเมื่อผ่านช่วงเวลานี้ไป มาตรฐานสินค้าเกษตรจะมีความสำคัญมากขึ้น จึงได้กำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการกำหนดมาตรฐานให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพื่อมุ่งยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค”

นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบกิจการเกี่ยวกับสินค้าเกษตร โดยมีสาระสำคัญ คือ  

1. ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบกิจการเกี่ยวกับสินค้าเกษตร พ.ศ. 2552  เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการสามารถเข้าใจได้ง่าย และไม่เกิดความสับสน 

2. กำหนดค่าธรรมเนียม ดังนี้ ใบอนุญาตตามมาตรา 20 ได้แก่ บุคคลธรรมดา ฉบับละ 100 บาท นิติบุคคล ฉบับละ 1,000 บาท ใบอนุญาตตามมาตรา 33 ฉบับละ 5,000 บาท และการต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา 20 กรณีนิติบุคคล (500 บาท) หรือใบอนุญาตตามมาตรา 33 (2,500 บาท) ครั้งละกึ่งหนึ่ง ของคาธรรมเนียมใบอนุญาตนั้น 

3. ยกเว้นค่าธรรมเนียม ได้แก่ ใบแทนใบอนุญาตตามมาตรา 20 (ฉบับเดิม 50 บาท) ใบแทนใบอนุญาตตามมาตรา 33 (ฉบับเดิม 50 บาท) และการต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา 20 กรณีบุคคลธรรมดา (ฉบับเดิม 50 บาท)

“มาคาเลียส” (Makalius) สตาร์ทอัพธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์ชั้นนำของประเทศไทย แนะนโยบายภาครัฐ เตรียมเปิดประเทศไทยรับนักท่องเที่ยวภายใน 120 วัน ทำได้แต่ควรทำอย่างรอบครอบ และมีมาตรการที่เข้มงวดในการตรวจสอบดูแล

นางสาวณีรนุช ไตรจักร์วนิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาคาเลียส ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “จากการที่รัฐบาลได้แถลงการณ์ถึงการตั้งเป้าเอาไว้ว่าประเทศไทยจะต้องเปิดประเทศทั้งประเทศให้ได้ภายใน 120 วัน นับจากวันนี้ (16 มิถุนายน) ส่วนเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญๆ หากพร้อมได้เร็วกว่าก็ควรทยอยเปิดให้ได้เร็วกว่านั้น นักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนครบโดสเรียบร้อยแล้ว ควรเดินทางเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว และไม่ต้องมีเงื่อนไขข้อห้ามที่สร้างความยากลำบาก รวมทั้งคนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศ หากเป็นคนที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว ก็ควรที่จะสามารถเดินทางกลับเข้าประเทศของตัวเองได้โดยไม่ต้องกักตัวเช่นเดียวกัน

โดยบริษัทฯ เข้าใจเป็นอย่างดีว่าธุรกิจท่องเที่ยว ถือเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้หลักให้กับประเทศไทย แต่ทั้งนี้การเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวต้องทำอย่างรอบครอบ และพิจารณาให้รอบด้าน เพราะหากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขึ้นอีกจะกลายเป็นสึนามิการท่องเที่ยวลูกที่ 4 ของประเทศไทย กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจะเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และจะเกิดอาฟเตอร์ช็อคตามมาต่อกลุ่มธุรกิจอื่นๆ 

ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลต้องคำนึงคือ “การดูแลคนในก่อนรับคนนอก” ด้วยการจัดสรรวัคซีนให้เพียงพอและเร่งการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมร้อยละ 70% ของจำนวนประชากรประเทศไทยเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ลดการแพร่ระบาดและการเสียชีวิต และควรมีระบบการตรวจคัดกรองโรคอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการตรวจได้จำนวนมาก เพื่อนำมาใช้ตรวจคัดกรองนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย รวมถึงนโยบายการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อนำไปฟื้นฟูธุรกิจให้พร้อมรับมือกับการเปิดประเทศ พร้อมทั้งจัดทำแผนบูรณาการด้านการท่องเที่ยวด้วยการร่วมมือและผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมไปถึงกลุ่มชุมชน เพื่อร่วมกันสร้างแผนแม่บทด้านการท่องเที่ยว การกำหนดแนวทางการแก้ไข ดูแล และป้องกัน หากเกิดวิกฤตขึ้นอีกครั้ง 

นางสาวณีรนุช กล่าวต่อว่า “ทางด้านผู้ประกอบการก็ต้องเตรียมธุรกิจให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการสนับสนุนและช่วยเหลือให้บุคลากรในองค์กรเข้ารับวัคซีนอย่างครบถ้วน พร้อมทั้งควบคุมมาตรฐานด้านสุขอนามัยอย่างในการให้บริการอย่างเข้มงวด ทั้งการทำความสะอาด การรักษาระยะห่าง การจัดเตรียมที่นั่งแบบส่วนตัว รวมถึงการเร่งนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในการเช็คอิน การสั่งอาหาร การเรียกพนักงาน ใช้เพื่อลดการสัมผัสและเพิ่มมูลค่าให้กับบริการ เป็นต้น  

ทางด้านนักท่องเที่ยวเองก็ยังคงต้องให้ความร่วมมือรักษาสุขอนามัยกับส่วนรวมตามกฎของแต่ละสถานที่ที่ไปท่องเที่ยว ถึงแม้ว่าจะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบตามจำนวน แต่ก็ยังคงต้องสวมหน้ากากอนามัย พร้อมทั้งฉีดพ้นสเปร์แอลกอฮอล์หลังสัมผัสหรือจับสิ่งของสาธารณะต่างๆ 

‘จุรินทร์’ ออนทัวร์อีสาน ลุยแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร มอบเช็ค-แจกโฉนดคืนเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟู

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี

นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายไชยยศ จิรเมธากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และคณะได้มาพิธีมอบเช็คชําระหนี้และมอบโฉนดที่ดินของกองทุนฟื้นฟูเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้แก่เกษตรกรจังหวัดอุดรธานี ณ ศูนย์ประชุมมลฑาทิพย์ฮอลล์ อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งนายนายจุรินทร์ เป็นประธาน 

นายจุรินทร์ กล่าวว่า กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยรัฐบาลชวน 2 (สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี) และผู้ที่มีส่วนในการเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูคนหนึ่งคือตนร่วมด้วยซึ่งกองทุนฯ ดำเนินงานกิจกรรมสำคัญ 2 เรื่อง

1.) เพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้สินให้กับพี่น้องเกษตรกร ไปช่วยรับซื้อหนี้หรือรับซื้อทรัพย์สินที่ถูกยึดจากการเป็นหนี้คืน แล้วมาผ่อนคืนกับกองทุนฯ ช่วยให้เกษตรกรไม่สูญเสียที่ดินทำกิน

2.) ช่วยฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของเกษตรกร 

ในช่วงปีกว่าที่ตนเข้ามามีการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาปัญหาของพี่น้องเกษตรกรเช่น

1.) มีสำนักงานครบเกือบทุกจังหวัดและมีการตั้งคณะอนุกรรมการประจำจังหวัดครบทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งเกษตรกรจะได้รับการดูแลทั่วถึงทั้ง 76 จังหวัด

2.) แก้ไขปัญหาหนี้บุคคลค้ำที่เมื่อก่อนเข้าไปจัดการไม่ได้ มีการแก้ไขกฎหมายให้ซื้อหนี้บุคคลค้ำได้ ส่วนใหญ่เป็นหนี้รายย่อยไม่เกิน 200,000 บาทต่อราย มีจำนวนหลาย 38,000 รายที่ขึ้นทะเบียน

3.) หนี้ที่เกิน 2.5 ล้านบาท สามารถขยายเพดานช่วยเหลือจาก 2.5 ล้านบาทเป็นไม่เกิน 5 ล้านบาท

4.) จัดเงินงบประมาณเพื่อฟื้นฟูอาชีพและคุณภาพชีวิต เตรียมไว้ 340 ล้านบาท และสำหรับจังหวัดอุดรธานี 7,500,000 บาทในการช่วยฟื้นฟูอาชีพให้กับเกษตรกรชาวอุดรจำนวน 200 คน 15 โครงการ และช่วยจัดซื้อหนี้ของเกษตรกรจำนวน 5 รายเป็นหนี้สหกรณ์ 2 สหกรณ์เป็นเงิน 5,600,000 บาท และคืนโฉนดออกใบประกาศนียบัตรรับรองให้กับเกษตรกรที่เป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูและชำระหนี้หมดแล้วจำนวน 30 ราย 

“ขอแสดงความยินดีกับพี่น้องเกษตรกรทุกคนและขอมอบนโยบายให้กับอนุกรรมการจังหวัดและสำนักงานกองทุนฟื้นฟูจังหวัดได้เร่งรัดดำเนินการตามนโยบายของคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ตนเป็นประธาน ที่สำคัญขอให้เอาใจใส่และลงลึกในการเข้าไปช่วยเหลือแก้ปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูเกษตรกรอย่างแท้จริงรวมทั้งให้ความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ที่เข้ามาเป็นอีกภาคส่วนหนึ่งที่จับมือกับกองทุนฟื้นฟูในการช่วยฟื้นฟูเกษตรกรโดยใช้ระบบการตลาดช่วยแก้ปัญหา” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว

รายงานข่าวสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ระบุว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์กำกับดูแลในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นคนมีความตั้งใจและใส่ใจในการกำกับดูแลเป็นอย่างมากซึ่งการมอบเช็คชำระหนี้และมอบโฉนดที่ดินคืนให้แก่เกษตรกรสมาชิกกองทุนมีทั่วประเทศและนายจุรินทร์เร่งรัดกำกับนโยบายเพื่อช่วยเกษตรกรให้เร็วที่สุดเป้าหมายคือ ‘ทำได้ไว ทำได้จริง’

จากกรณีคดีเลี่ยงภาษีนำเข้ารถโตโยต้า พรีอุส ที่มีปัญหาเลี่ยงภาษีเป็นเงินมหาศาล 11,000 ล้านบาท และมีการกล่าวหาบิ๊กตุลาการรับสิบบนช่วยล้มคดีให้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นั้น ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ได้รายงานว่า...

จากกรณีคดีเลี่ยงภาษีนำเข้ารถโตโยต้า พรีอุส ที่มีปัญหาเลี่ยงภาษีเป็นเงินมหาศาล 11,000 ล้านบาท และมีการกล่าวหาบิ๊กตุลาการรับสิบบนช่วยล้มคดีให้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นั้น ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ได้รายงานว่า

"...เว็บไซต์ taxnotes ยังได้รายงานต่อไปว่า การเปิดเผยข้อมูลความเป็นไปได้ว่าจะมีการให้สินบนในเว็บไซต์ LAW360 นั้น แท้จริงแล้วเกิดขึ้นหลังจากที่มีการฟ้องร้องกันระหว่างบริษัทที่ชื่อว่าไฮร์คอนเซล (HC2) ที่ถูกว่าจ้างมาจากบริษัทวิลเมอร์เฮลอีกต่อหนึ่ง เพื่อให้ดำเนินการสอบสวนภายในให้กับบริษัทโตโยต้ากับนายแอนดรูว์ เดลานีย์..."

ประเด็นตรวจสอบกรณีเว็บไซต์ LAW360 ซึ่งเป็นเว็บไซต์รายงานข่าวและวิเคราะห์ด้านกฎหมายในสหรัฐอเมริกา ออกมาเผยแพร่ข้อมูลลับกรณีบริษัท โตโยต้า คอร์ปฯ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่น รายงานต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) รวมถึงกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ (DOJ) เมื่อ เม.ย. 2563 ว่า มีความเป็นไปได้ว่าบริษัทลูกแห่งหนึ่งของโตโยต้าในไทย อาจกระทำการละเมิดกฎหมายต่อต้านการติดสินบน (Anti-Bribery Laws) ของสหรัฐฯ โดย LAW360 มีการกล่าวอ้างผลการสอบสวนพาดพิงถึงบุคลากร อดีตผู้พิพากษาระดับสูงในศาลฎีกา ผู้พิพากษาในศาลฎีกา สำนักงานกฎหมาย และบุคคลที่เกี่ยวข้องในแวดวงกระบวนการยุติธรรมไทยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีการจ่ายสินบน ที่อยู่ระหว่างการสอบสวนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในขณะนี้นั้น 
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข้อมูลเชิงลึกในต่างประเทศไปแล้วว่า นายแอนดรูว์ เดลานีย์ อดีตทนายความจากสำนักกฎหมายบิ๊กลอว์ (Big Law) ที่เคยทำงานในฐานะทีมงานที่ถูกว่าจ้างและกำกับดูแลจากบริษัทวิลเมอร์เฮล ให้ดำเนินการสอบสวนภายในบริษัทโตโยต้า ได้ออกมาเปิดโปงว่า นายไมเคิล โพซาด้า หนึ่งในที่ปรึกษาด้านกฎหมายของประธานาธิบดีโจ ไบเด้น ผู้ที่เคยเป็นอดีตทนายความของบริษัทวิลเมอร์เฮลนั้นมีพฤติกรรมการปกปิดการกระทำอันไม่ถูกกฎหมายของบริษัทโตโยต้าในประเทศไทย และมีการฟ้องร้องเป็นคดีความที่ศาลแขวงรัฐฟลอริดา โดยนายไมเคิล โพซาดา ถูกเรียกตัวมาให้การเมื่อวันที่ 16 ก.พ. ที่ผ่านมา และมีรายงานว่าอดีตนักกฎหมายคนอื่นที่ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ทำเนียบขาวนั้นก็ถูกเรียกตัวมาให้ปากคำต่อหน้าศาลแขวงรัฐฟลอริดาเช่นกัน  

ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สืบค้นฐานข้อมูลในต่างประเทศ พบรายงานข่าวที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้เพิ่มเติม มีเนื้อหาเชื่อมโยงกับคดีความการเลิกจ้างนายแอนดรูว์ เดลานีย์ อดีตทนายความจากสำนักกฎหมายบิ๊กลอว์ (Big Law) ที่เคยทำงานในฐานะทีมงานที่ถูกว่าจ้างและกำกับดูแลจากบริษัทวิลเมอร์เฮล ให้ดำเนินการสอบสวนภายในบริษัทโตโยต้า บนเว็บไซต์ taxnotes.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์การรายงานข่าวด้านกฎหมายของสหรัฐอเมริกา 
รายงานข่าวชิ้นนี้ เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 เม.ย. มีชื่อว่า “บริษัทโตโยต้าที่ถูกต้องสงสัยว่ามีการให้สินบนในประเทศไทย จากคำกล่าวอ้างของนักกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกา” (Toyota Caught Up in Thai Bribery Claims Made by U.S. Lawyer)  

เนื้อหารายงานในช่วงแรก มีการกล่าวอ้างถึงข่าวลงวันที่ 5 เม.ย. ว่านายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม ได้ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่าจะมีการดำเนินการตรวจสอบในข้อครหาสินบนที่ปรากฎทางเว็บไซต์ LAW360 เมื่อช่วงวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่ง ณ เวลานั้น ยังไม่ปรากฎข้อมูลว่า มีการจ่ายสินบนให้กับใครบ้าง

เว็บไซค์ taxnotes ยังได้รายงานต่อไปว่า การเปิดเผยข้อมูลความเป็นไปได้ว่าจะมีการให้สินบนในเว็บไซต์ LAW360 นั้น แท้จริงแล้วเกิดขึ้นหลังจากที่มีการฟ้องร้องกันระหว่างบริษัทที่ชื่อว่าไฮร์คอนเซล (HC2) ที่ถูกว่าจ้างมาจากบริษัทวิลเมอร์เฮลอีกต่อหนึ่ง เพื่อให้ดำเนินการสอบสวนภายในให้กับบริษัทโตโยต้ากับนายแอนดรูว์ เดลานีย์

โดยย้อนไปในเดือน ก.ย. 2562 บริษัท HC2 ได้มีการว่าจ้างนายแอนดรูว์ เดลานีย์ ทนายความที่สามารถแปลภาษาไทยได้ให้มาทำงานตรวจสอบเอกสารที่สำนักงานในนครนิวยอร์ก    

อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงเดือน มี.ค. 2563 นายเดลานีย์ส่งอีเมลไปหาบริษัท HC2 และบริษัทสำนักกฎหมาย (ไม่ระบุชื่อ) แห่งหนึ่ง ซึ่งเนื้อหาในอีเมลนั้นเป็นการบ่นถึงสภาพการณ์ว่าเพื่อนร่วมงานของเขามีอาการคล้ายกับเป็นหวัด เขาจึงขอให้ทำงานทางไกล หรือทำงานที่บ้านแทน แต่ปรากฏว่าทาง HC2 ตอบกลับมาว่าไม่สามารถให้ทำงานทางไกลได้ และลูกค้าของบริษัท HC2 ก็ได้มีการระงับโครงการการตรวจสอบเอกสารแล้ว หลังจากนั้นไม่นานนายเดลานีย์และเพื่อนร่วมงานของเขาก็ถูกเลิกจ้าง

ต่อมาในช่วงเดือน เม.ย. 2563 บริษัท HC2 ได้มีการยื่นฟ้องคดี (1:20-cv-3178-LJL) ที่ศาลแขวงสหรัฐสำหรับเขตทางตอนใต้ของนิวยอร์ก
โดยกล่าวหาว่านายเดลานีย์ซึ่งมีความไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับการระงับโครงการ และการที่เขาถูกเลิกจ้าง นั้นมี “พฤติกรรมการสร้างข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ” 

ข้อมูลสรุปคดีระหว่างบริษัท HC2 กับนายแอนดรูว์ เดลานีย์ (อ้างอิงข้อมูลจากเว็บ CASETEXT.COM) โดยในการยื่นฟ้องคดีนั้น  บริษัท HC2 ระบุว่า นายเดลานีย์ได้กล่าวหาว่าบริษัทที่ทำหน้าที่จัดหาบุคลากรด้านกฎหมายได้มีการสมคบคิดกับบริษัทสำนักกฎหมายแห่งหนึ่ง และบริษัทลูกค้า เพื่อที่จะดำเนินการเลิกจ้างนายเดลานีย์ 

ขณะที่ นายเดลานีย์ได้มีการส่งจดหมายไปถึงบริษัทสำนักกฎหมายที่รับงานให้กับบริษัทลูกค้าเมื่อวันที่ 13 เม.ย. 2563

ในจดหมายมีการเรียกร้องเงินจำนวนทั้งสิ้น 450,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (14,017,500 บาท) และนายเดลานีย์ยังได้ข่มขู่ว่าจะมีการฟ้องร้องและเปิดโปงข้อมูลลับถ้าหากยังไม่ได้รับเงินจำนวนที่เรียกร้องในวันถัดมา  

เมื่อมีการปฏิเสธการจ่ายเงิน นายเดลานีย์จึงได้ฟ้องร้องต่อบริษัทของลูกค้าในชื่อของ จอห์นโด ที่ศาลรัฐฟลอริดา 

ต่อมาวันที่ 31 ส.ค. 2563 ทนายความของนายเดลานีย์ได้มีการยื่นบันทึกทางกฎหมายเพื่อคัดค้านต่อกรณีที่บริษัท HC2 ได้เรียกร้องให้ยกคำร้องที่นายเดลานีย์ที่โต้แย้งต่อการฟ้องร้องของบริษัท 

หน้าเว็บไซต์บริษัทไฮร์คอนเซล หรือ HC2 ผู้จ้างให้นายแอนดรูว์ เดลานีย์เข้ามามีส่วนในการแปลเอกสารภาษาไทย

นายเดลานีย์ ระบุว่า บริษัท HC2 นั้นมีพฤติกรรมเป็นตัวแทนและนายหน้าให้กับทั้งบริษัทโตโยต้าและบริษัทวิลเมอร์เฮล และยังกล่าวหาอีกว่าบริษัทจัดหาบุคลากร (HC2) ได้มีการเปิดโปงเขาในฐานะจอห์นโดฝ่ายโจทก์ยื่นฟ้องคดีที่รัฐฟลอริดา    

ทนายความของนายเดลานีย์ ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับคำกล่าวอ้างก่อนหน้านี้ไปยังศาลว่า “กระบวนการทบทวนเอกสารที่กำลังจะสิ้นสุดลงและการจัดเก็บฐานข้อมูลเอกสารซึ่งอยู่ ณ ที่ทำการของบริษัทโตโยต้าที่ประเทศญี่ปุ่น ก็เพื่อจะมีการควบคุมเบ็ดเสร็จ และกระบวนการสอบสวนในประเด็นอันมีความเสี่ยงสูงว่าจะมีพฤติกรรมการทุจริตเกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงระยะเวลานานหลายปี การสืบสวนดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นถึงมีกิจกรรมการทุจริตและความเสี่ยงทางการเงิน ต่อบุคลลที่ดำรงตำแหน่งระดับสูงในสถานประกอบการประเทศไทย”

ทนายความของนายเดลานีย์ กล่าวด้วยว่า ในช่วงเดือน พ.ย. 2562 นั้นนายเดลานีย์ยังได้รับอีเมลอันน่าสงสัยฉบับหนึ่งที่ส่งมายังอีเมลส่วนตัว ซึ่งที่มาของอีเมลก็มาจากทนายความทางด้านภาษีที่ค่อนข้างจะมีอิทธิพลรายหนึ่ง ระบุว่าผลประโยชน์ทางอาชีพของทนายคนนี้กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงจากการสอบสวนดังกล่าวนี้ (ระบุว่าเป็น “อีเมลไทย”)

จากข้อมูลในกระบวนการพิจารณาคดีแสดงให้เห็นว่าอีเมลไทยฉบับดังกล่าวนั้นถูกส่งมาถึงนายเดลานีย์เป็นระยะเวลาหนึ่งวันหลังจากที่โตโยต้าได้ตัดสินใจอย่างปุบปับว่าจะกลับมาผลิตรถยนต์พรีอุสในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง

และการส่งอีเมลดังกล่าวยังเป็นข้อบ่งชี้ว่ามีประเด็นเกี่ยวกับทั้งการล็อบบี้ การให้สินบนเกิดขึ้น โดยคาดการณ์กันว่าสำนักงานกฎหมายผู้ส่งอีเมลมาถึงนายเดลานีย์นั้น ต้องการให้นายเดลานีย์ได้ช่วยเหลือในการทวงถามติดตามค่าธรรมเนียม และค่าจ้างบริการ ที่ยังคงค้างจ่ายต่อสำนักงานกฎหมายแห่งนี้เป็นเงินมูลค่าหลายล้านบาท

นายเดลานีย์ได้กล่าวอ้างต่อไปว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของเขานั้นถูกไปใช้อย่างไม่ถูกต้องในการล่วงละเมิดข้อผูกพันด้านการรักษาความลับที่บริษัท HC2 มีต่อลูกค้าของบริษัท  

“นี่เป็นเพราะว่าบริษัทโตโยต้าซึ่งต้องการที่จะทำธุรกิจที่มีความทุจริตต่อไปในประเทศไทย กำลังจะหาหนทางที่จะขจัดการสืบสวนนี้ออกไป โดยในที่สุดแล้ว พวกเขาก็ประสบความสำเร็จ” ทนายความของนายเดลานีย์กล่าวกับศาลและกล่าวต่อไปด้วยว่า “หนทางเดียวที่บุคคลเหล่านี้ในประเทศไทยจะได้รับรู้เกี่ยวกับงานทบทวนเอกสารของนายเดลานีย์นั้นก็เปิดโปง เปิดเผยข้อมูลจากมันเอง

ทั้งนี้ นายเดลานีย์ซึ่งเป็นคนไทยมีความตั้งใจว่าจะกลับประเทศไทย และไม่ต้องการที่จะให้เรื่องที่เขาเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลอันเป็นที่ถกเถียงกันอยู่นั้น ถูกรับรู้จากที่ประเทศไทยเอง”

ต่อมาในวันที่ 18 ธ.ค. 2563 นายลูอิส ลิมาน ผู้พิพากษาได้มีการยกเลิกคำโต้แย้งของนายเดลานีย์ และในวันที่ 9 ก.พ. บริษัท HC2 ก็ได้แจ้งข้อมูลให้กับผู้พิพากษาลิมานให้รับทราบว่านายเดลานีย์ยื่นฟ้องให้ตัวเองเป็นบุคคลล้มละลายในช่วงเดือน ธ.ค. 2563 พอมาถึงช่วงวันที่ 22 ก.พ. ผู้พิพากษาลิมานก็ได้ชะลอคดีระหว่าง HC2 ที่ร้องต่อนายเดลานีย์เอาไว้ก่อน เนื่องจากรอผลคำร้องการยื่นล้มละลายดังกล่าว 

ส่วนทางบริษัทโตโยต้า สำนักกฎหมายวิลเมอร์เฮล ก็ปฏิเสธที่ให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่นเดียวกับทนายความของนายเดลานีย์ที่รัฐนิวยอร์ก และที่รัฐฟลอริดาก็ปฏิเสธจะให้ความเห็นเช่นกัน    

(สิ้นสุดบทความของเว็บไซต์ taxnotes ที่ลงวันที่ 21 เม.ย. 2564)

สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า ได้ตรวจสอบข้อมูลบนเว็บไซต์ taxnotes เพิ่มเติม พบว่ามีรายงานอีกหนึ่งชิ้นลงวันที่ 4 พ.ค. 2564  โดยเว็บไซต์ taxnotes ได้ไปสัมภาษณ์กับนายแอนดรูว์ เดลานีย์ โดยตรงเกี่ยวกับเนื้อหารายงานของเว็บไซต์ที่เผยแพร่เมื่อวันที่  21 เม.ย. 2564 ดังกล่าว 
โดยนายเดลานีย์กล่าวว่า

“ผมปฏิเสธหลักฐานในบทความของคุณ (“บริษัทโตโยต้าที่ถูกต้องสงสัยว่ามีการให้สินบนในประเทศไทย จากคำกล่าวอ้างของนักกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกา” ลงวันที่ 21 เม.ย.) จากเท่าที่ผมได้รับรู้มา ไม่มีการให้สินบน หรือการประพฤติโดยมิชอบ โดยผู้พิพากษาไทยคนไหน หรือว่าทนายไทยคนไหนอันเกี่ยวข้องกับคดีรถพรีอุสเกิดขึ้น มันไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ นี่เป็นความพยายามที่จะด้อยค่ากระบวนการตุลาการและทนายในประเทศไทย ผมไม่เกี่ยวข้องใดๆทั้งสินเกี่ยวกับแถลงการณ์อันเป็นเท็จที่ถูกจัดทำโดยบริษัทโตโยต้าหรือบริษัทวิลเมอร์เฮล ผมไม่ใช่ลูกจ้างของพวกเขา และผมไม่เห็นด้วยกับพวกเขา”   

(สิ้นสุดบทความของเว็บไซต์ taxnotes ที่ลงวันที่ 4 พ.ค. 2564)


 
ทั้งหมดนี้ คือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดีการจ่ายสินบนของบริษัทโตโยต้า ในต่างประเทศที่สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบพบล่าสุด ซึ่งมีหลายประเด็นที่จะต้องติดตามกันต่อไป อาทิ สิ่งที่นายแอนดรูว์ เดลานีย์กล่าวอ้างมานั้นเป็นความจริงหรือไม่ พฤติกรรมการทุจริตของบริษัทโตโยต้าที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีที่รัฐนิวยอร์กมีรายละเอียดอย่างไร และบริษัทโตโยต้ากับบริษัทวิลเมอร์เฮลอาศัยหลักฐานอะไร ถึงได้มีการกล่าวหาว่าทางบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ว่ามีการจ่ายสินบนให้กับผู้พิพากษาไทยตามที่ปรากฎเป็นข่าว  

เพื่อให้เรื่องนี้ปรากฎความจริงชัดเจนโดยเร็วที่สุด    

เรียบเรียงจาก : https://www.taxnotes.com/entities/organization/wilmer-cutler-pickering-hale-and-dorr-llp?id=19hl
ที่มา : https://www.isranews.org/article/isranews/99449-Toyotatta05.html


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

รัฐเร่งแก้หนี้ประชาชน โรงรับจำนำรัฐ นำร่องลดดอกเบี้ยผู้ถือบัตรคนจน

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ห่วงใยสถานการณ์หนี้ภาคประชาชน ซึ่งเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน และถูกซ้ำเติมด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19  ประชาชนบางกลุ่มขาดรายได้ จนทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง จึงสั่งการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งกำหนดแนวทางช่วยบรรเทาภาระหนี้ประชาชน 

ทั้งนี้ ตามข้อสั่งการนายกฯ หลายหน่วยงานได้ร่วมกันออกมาตรการแก้ปัญหามาระยะหนึ่งแล้ว อาทิ มหกรรมไกล่เกลียหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นความร่วมมือระหว่างทางธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานศาลยุติธรรม และกรมบังคับคดี ซึ่งประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก มีสินเชื่อที่ขอรับความช่วยเหลือแล้ว กว่า 7 แสนบัญชี เข้าเงื่อนไขได้รับการช่วยเหลือประมาณ 30% ผู้ที่สนใจยังสามารถขอไกล่เกลี่ยหนี้ฯ ได้ถึงวันที่ 30 มิ.ย.นี้ 

อีกทั้งยังมีมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์ เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานศาลยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พร้อมกับผู้ให้บริการ 12 แห่ง โดยผู้เช่าซื้อสามารถเจรจาปรับลดวงเงินรายเดือน ยืดหนี้ ลดดอกเบี้ย หรือพักหนี้ได้หากจำเป็น นับตั้งแต่เริ่ม เมื่อ 1 มิ.ย. มีจำนวนผู้เช่าซื้อสนใจลงทะเบียนแล้ว 13,450 คัน และจะเปิดให้เข้าร่วมมหกรรมฯถึงวันที่ 31 ก.ค.นี้ สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูล ได้ที่ 1213 ของธนาคารแห่งประเทศไทย

รวมทั้ง สถานธนานุเคราะห์ (สธค.) หรือโรงรับจำนำของรัฐ ทั้ง 40 แห่ง ได้ออกมาตรการช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระรายจ่ายดอกเบี้ย ร่วมฝ่าวิกฤติโควิด-19 แล้ว เป็นการจัดโปรโมชั่น “จ่ายคนละครึ่ง” ลดดอกเบี้ย 50%  แก่ผู้มาใช้บริการที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วงเงินจำนำไม่เกิน 5,000 บาท เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 จำกัด 1 คน 1 สิทธิ์ ต่อ 1 รอบตั๋วจำนำ โดยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ สามารถส่งดอกเบี้ยที่ ณ สาขา หรือผ่านร้าน 7-11 หรือกรุงไทย NEXT ได้ 

“นายกฯ มอบหมายคณะทำงาน ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ หรือ ศบศ. ที่มีรองนายกรัฐมนตรี สุพัฒนพงศ์ พันธ์มีเชาว์ เป็นผู้รับผิดชอบ โดยเน้นการขับเคลื่อน 3 เรื่องควบคู่กัน คือ การให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชน การกำกับดูแลเจ้าหนี้เพื่อให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม และการปรับโครงสร้างหนี้และการไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สิน ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติจะประกอบด้วยมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาว อาทิ การใกล่เกลี่ยหนี้สินลดการดำเนินคดี เช่น หนี้กยศ. หนี้สหกรณ์ การปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ อาทิ สหกรณ์ สินเชื่อรายย่อย PICO และ NANO การส่งเสริมการแข่งขันให้ดอกเบี้ยถูกลง การเพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุน ซึ่งความคืบหน้าการแก้ปัญหาจะมีการรายงานให้ท่านนายกทราบอย่างต่อเนื่อง”

รัฐบาล แก้หนี้ประชาชน ให้ 40 โรงจำนำของรัฐ ออกมาตรการลดภาระดอกเบี้ย จัดโปรฯ จ่ายคนละครึ่ง- 1รน 1สิทธิ์ ต่อ 1 ตั๋วจำนำ

ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห่วงใยสถานการณ์หนี้ภาคประชาชน ซึ่งเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน และถูกซ้ำเติมด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ประชาชนบางกลุ่มขาดรายได้ จนทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง จึงสั่งการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งกำหนดแนวทางช่วยบรรเทาภาระหนี้ประชาชน โดยข้อมูลจากกรมบังคับคดีรายงานว่า ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 (ต.ค. 63-เม.ย. 64) มีคดีแพ่งเข้าสู่การบังคับคดีจำนวน 138,997 คดี คดีส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น 80-90% เป็นหนี้ครัวเรือน คือหนี้บัตรเครดิต เช่าซื้อรถ รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม คดีที่เข้ามาสู่การบังคับคดีนั้นส่วนใหญ่ปัญหาเริ่มเกิดขึ้นมาก่อนการระบาดของโควิด-19

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ตามข้อสั่งการนายกฯ หลายหน่วยงานได้ร่วมกันออกมาตรการแก้ปัญหามาระยะหนึ่งแล้ว อาทิ มหกรรมไกล่เกลียหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นความร่วมมือระหว่างทางธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานศาลยุติธรรม และกรมบังคับคดี ซึ่งประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก มีสินเชื่อที่ขอรับความช่วยเหลือแล้ว กว่า 7 แสนบัญชี เข้าเงื่อนไขได้รับการช่วยเหลือประมาณ 30% ผู้ที่สนใจยังสามารถขอไกล่เกลี่ยหนี้ฯได้ถึงวันที่ 30 มิ.ย.นี้ และยังมี มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์ เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานศาลยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พร้อมกับผู้ให้บริการ 12 แห่ง โดยผู้เช่าซื้อสามารถเจรจาปรับลดวงเงินรายเดือน ยืดหนี้ ลดดอกเบี้ย หรือพักหนี้ได้หากจำเป็น นับตั้งแต่เริ่ม เมื่อ 1 มิ.ย. มีจำนวนผู้เช่าซื้อสนใจลงทะเบียนแล้ว 13,450 คัน และจะเปิดให้เข้าร่วมมหกรรมฯถึงวันที่ 31 ก.ค.นี้ สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูล ได้ที่ 1213 ของธนาคารแห่งประเทศไทย

น.ส.รัชดา กล่าวว่า รวมทั้ง สถานธนานุเคราะห์ (สธค.) หรือโรงรับจำนำของรัฐ ทั้ง 40 แห่ง ได้ออกมาตรการช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระรายจ่ายดอกเบี้ย ร่วมฝ่าวิกฤติโควิด-19 แล้ว เป็นการจัดโปรโมชั่น “จ่ายคนละครึ่ง” ลดดอกเบี้ย 50% แก่ผู้มาใช้บริการที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วงเงินจำนำไม่เกิน 5,000 บาท  เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 จำกัด 1 คน 1 สิทธิ์ ต่อ 1 รอบตั๋วจำนำ โดยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ สามารถส่งดอกเบี้ยที่ ณ สาขา หรือผ่านร้าน 7-11 หรือกรุงไทย NEXT ได้ 

“นายกฯ มีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนให้เบ็ดเสร็จ โดยมอบหมายคณะทำงาน ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรี สุพัฒนพงศ์ พันธ์มีเชาว์ เป็นผู้รับผิดชอบ โดยเน้นการขับเคลื่อน 3 เรื่องควบคู่กัน คือ การให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชน การกำกับดูแลเจ้าหนี้เพื่อให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม และการปรับโครงสร้างหนี้และการไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สิน ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติจะประกอบด้วยมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาว อาทิ การใกล่เกลี่ยหนี้สินลดการดำเนินคดี เช่น หนี้กยศ. หนี้สหกรณ์ การปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ อาทิ สหกรณ์ สินเชื่อรายย่อยPICO และ NANO การส่งเสริมการแข่งขันให้ดอกเบี้ยถูกลง การเพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุน เป็นต้น ซึ่งความคืบหน้าการแก้ปัญหาจะมีการรายงานให้ท่านนายกทราบอย่างต่อเนื่อง” น.ส.รัชดา กล่าว

IMD ประกาศขีดความสามารถแข่งขันไทยดีขึ้น 1 อันดับ 

“ธีรนันท์ ศรีหงส์” ประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) เปิดเผยผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยสถาบันการจัดการนานาชาติ หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 64 ว่า ประเทศไทยมีอันดับที่ดีขึ้น 1 อันดับจากปีก่อน มาอยู่ในอันดับที่ 28 จาก 64 เขตเศรษฐกิจในปีนี้ โดยผลจากวิกฤตการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาถึงปีนี้ ทำให้คะแนนสุทธิเฉลี่ยของทั้ง 64 เขตเศรษฐกิจลดลงจาก 71.82 ในปี 63 เหลือเพียง 63.99 จากคะแนนเต็ม 100 ในปี 64 ขณะที่ประเทศไทยยังคงมีคะแนนสุทธิในปีนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยอยู่ที่ 72.52 โดยลดลงเล็กน้อยจาก 75.39 ในปี 63 

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาผลการจัดอันดับของไทยในปัจจัยหลัก 4 ด้าน พบว่ามีผลการจัดอันดับดีขึ้น 3 ด้านเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน คือ ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ ดีขึ้น 3 อันดับ จากอันดับที่ 23 มาอยู่ที่อันดับ 20 ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจดีขึ้น 2 อันดับ จากอันดับที่ 23 มาอยู่ที่อันดับ 21 และด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดีขึ้น 1 อันดับ จากอันดับที่ 44 มาอยู่ที่อันดับ 43 

ขณะที่ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับลดลงถึง 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 21 โดยประเด็นสำคัญมาจากด้านการค้าระหว่างประเทศที่มีอันดับลดลงจากอันดับที่ 5 เป็นอันดับที่ 21 ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกภาคบริการที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลักมีอันดับลดลงค่อนข้างมากจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19

ด้านภาพรวมในระดับโลก เขตเศรษฐกิจที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุด 5 อันดับแรกในปีนี้ อันดับ 1 สวิตเซอร์แลนด์ อันดับ 2 สวีเดน อันดับ 3 เดนมาร์ก อันดับ 4 เนเธอร์แลนด์ และอันดับ 5 สิงคโปร์
 

ชาติยุโรปคงความแข็งแกร่งดันสิงคโปร์ร่วงจากอันดับ 1 ด้านไต้หวันติดท็อป 10 ครั้งแรก

สถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development : IMD) จากสวิสเซอร์แลนด์ เผยผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก (World Competitiveness Rankings) ประจำปี 2021 พบว่าประเทศไทยขยับขึ้น 1 อันดับจากปีก่อนมาอยู่ที่อันดับ 28 จาก 64 เขตเศรษฐกิจในปีนี้

IMD ระบุว่าอันดับที่เพิ่มขึ้นของไทยเป็นผลมาจากการปรับปรุงในหลายด้าน อาทิ ตัวชี้วัดตลาดแรงงาน การเพิ่มขึ้นของกำลังแรงงาน ตลอดจนมีข้อสังเกตเชิงบวกอื่นๆ ในด้านการเงินสาธารณะ เช่น การขาดดุลของงบประมาณยังคงต่ำกว่า 5% และมีการแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งรวมถึงผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่สิงคโปร์ซึ่งเคยครองแชมป์ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน ร่วงลงมาอยู่อันดับที่ 5 เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดจนการขาดดุลของงบประมาณและหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น

ด้านประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างอินโดนีเซียขยับขึ้น 3 อันดับมาอยู่ที่ 37 และมาเลเซียขยับขึ้น 2 อันดับมาอยู่ที่ 25

โดยในปีนี้ไต้หวันติดท็อป 10 เป็นครั้งแรกขึ้นมาอยู่อันดับที่ 8 ตามหลังฮ่องกงซึ่งอยู่อันดับที่ 7 มาติดๆ สำหรับจีนขยับขึ้นถึง 4 อันดับมาอยู่ที่ 16 ส่วนคู่แข่งอย่างสหรัฐยังคงอันดับ 10 เท่าเดิม

ด้านชาติยุโรปคงความแข็งแกร่งด้วยการครอง 4 อันดับแรกของโลกโดยสวิสเซอร์แลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ตามลำดับ

ทั้งนี้ ผลจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาถึงปีนี้ ทำให้คะแนนสุทธิเฉลี่ยของทั้ง 64 เขตเศรษฐกิจลดลงจาก 71.82 จากคะแนนเต็ม 100 ในปี 2020 เหลือเพียง 63.99 ในปี 2021 ในขณะที่ในปีนี้ประเทศไทยยังคงมีคะแนนสุทธิสูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยอยู่ที่ 72.52 ลดลงเล็กน้อยจาก 75.39 ในปีก่อน

 

ที่มา: https://www.posttoday.com/world/655841


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

รมว.สุชาติ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ฟื้นฟูคนงานฯ ภาค 4 ขอนแก่น มอบนโยบายและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ และผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานประจำภาค 4 ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมี นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายประทีป ทรงลำยอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวในโอกาสเดินทางมาประชุมเพื่อตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่และผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานประจำภาค 4 จังหวัดขอนแก่น ว่า กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการดูแลผู้ประกันตนอย่างใกล้ชิดในทุกๆ ด้าน เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณี แม้ลูกจ้าง/ผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือมีความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้น เราต้องดูแลอย่างใกล้ชิด จะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานขึ้น เพื่อให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 และผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 โดยหากมีการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญเสียอวัยวะ สามารถที่จะเข้ารับการฟื้นฟูฯ ได้เต็มตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้กลับไปมีชีวิตที่ดีเหมือนเดิม สามารถกลับเข้าทำงานในสถานประกอบการ ประกอบอาชีพอิสระ หรือดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม โดยจะให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบครบวงจร ทั้งในด้านอาชีพ ด้านจิตใจและสังคม 

ในโอกาสนี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เยี่ยมชมโครงการ โคก หนอง นา โมเดล ของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานประจำภาค 4 จังหวัดขอนแก่น ที่ให้ผู้ได้รับการฟื้นฟู ฝึกฝีมืออาชีพงานเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยใช้การปรับพื้นที่โคกเพื่อปลูกพืชใหญ่ พร้อมจุดเรียนรู้ 6 Step ขุดลอกหนองสระเดิมเพื่อสูบน้ำมาบนโคกโดยใช้พลังงานระบบแสงอาทิตย์ และการฝึกอาชีพโดยใช้พื้นที่นาปลูกข้าว ผัก พืชกินได้ ทั้งนี้ นายสุชาติ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานประจำภาค 4 จังหวัดขอนแก่น ที่ดูแลเอาใจใส่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมถึงการส่งเสริมการฝึกอาชีพ จนประสบความสำเร็จ และขอเป็นกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ และผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานทุกคน ให้มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ เพื่อเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่างๆ และพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการทำงานไม่แพ้คนปกติทั่วไป และตนพร้อมที่จะสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือการดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพในการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ลูกจ้างและผู้ประกันตน เพื่อจะกลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน เป็นกำลังของครอบครัวและประเทศชาติต่อไป

เคาะเปิด 4 เกาะรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ก.ค.นี้

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า หลังจากที่ประชุม ศบค. เห็นชอบหลักการเปิดฟื้นที่นำร่องรับนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต วันที่ 1 ก.ค. 2564 และจังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า) เริ่มวันที่ 15 ก.ค. 2564 มั่นใจว่าตอนนี้มีความพร้อม โดยแผนการดำเนินการทั้งหมดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ จะเสนอที่ประชุมครม. เห็นชอบในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ จากนั้นจึง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จากนั้นในวันที่ 25 มิ.ย.นี้ ตนเองจะลงพื้นที่ไปตรวจสอบความพร้อมขั้นสุดท้าย ก่อนที่นายกรัฐมนตรี และคณะจะเดินทางไปวันที่ 1 ก.ค.นี้ เพื่อไปต้อนรับนักท่องเที่ยวคนแรกที่เดินทางเข้ามาภูเก็ตด้วย

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาภูเก็ตในช่วงแรกน่าจะมีไม่มาก ประมาณเดือนละ 1-2 หมื่นคน แต่จะค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยหวังว่าภูเก็ตจะเป็นตัวอย่างให้กับหลายๆ พื้นที่นำร่องที่จะเปิดตามมาในช่วงเดือนส.ค. คือเกาะพีพี เกาะไหง และไร่เล ของจังหวัดกระบี่ 

เช่นเดียวกับเขาหลัก และเกาะยาว ในจังหวัดพังงา ส่วน ก.ย. จะมีพื้นที่อื่นๆ อีก 3 แห่ง คือ จังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุม อำเภอเมือง แม่ริม แม่แตง และดอยเต่า จะงหวัเชลบุรี ครอบคลุม เมืองพัทยา ใน 2 อำเภอ คือ บางละมุง และสัตหีบ และจังหวัดบุรีรัมย์ ครอบคลุมอพเภอเมือง และสนามช้างอารีนา เพื่อรับการแข่งขันโมโตจีพี และในช่วงเดือนต.ค. ซึ่งจะเปิดกรุงเทพฯ ชะอำ และหัวหิน ต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top