Wednesday, 19 March 2025
Econbiz

กกพ. แจงเสร็จสิ้นหน้าที่รับซื้อไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 แล้ว พร้อมเห็นชอบตาม กพช. เบรกลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

(22 ม.ค. 68) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เห็นควรปฏิบัติตามมติ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เบรกทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 แม้จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก 72 ราย รวม 2,145.40 เมกะวัตต์ ไปแล้วก็ตาม พร้อมแจ้งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ว่าได้ปฏิบัติการเปิดรับซื้อไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 ตามหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว หลังจากนี้ 3 การไฟฟ้าต้องรอนโยบายภาครัฐสั่งการลงนามสัญญา PPA ถึงจะเดินหน้าต่อได้  

แหล่งข่าวกระทรวงพลังงาน เปิดเผยกรณีเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2567 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติให้ชะลอโครงการไฟฟ้าสีเขียว เฟส 2 หรือ “โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด สำหรับปี 2565 – 2573” ปริมาณรวม 3,668.5 เมกะวัตต์ โดยเป็นการชะลอการลงนามสัญญากับ 3 การไฟฟ้าไว้ก่อน เพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมทั้งมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ไปหารือกับ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อพิจารณาด้านข้อกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของ กพช. รวมทั้งให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กพช. พิจารณาแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว และให้ฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งให้ กกพ. และ 3 การไฟฟ้า ทราบมติ กพช. ต่อไป

โดยล่าสุดทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ประชุมพิจารณาเห็นควรให้ปฏิบัติตามมติ กพช. โดยให้ชะลอการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมโครงการฯ กับการไฟฟ้าออกไปก่อนจนกว่าทางภาครัฐจะสั่งการลงมาใหม่

อย่างไรก็ตาม กกพ. ได้แจ้งไปยังสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในฐานะเลขานุการ กพช. ว่า ทาง กกพ. ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการเปิดรับซื้อไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 เสร็จสิ้นกระบวนการตาม มติ กพช. ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว ส่วนกระบวนการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) เป็นกระบวนการที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.),การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จะไปดำเนินการต่อตามมติ กพช. และนโยบายภาครัฐต่อไป

สำหรับการเปิดรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว รอบ 2 จำนวน 3,668.5 เมกะวัตต์ ได้แบ่งเป็น รอบรับซื้อไฟฟ้า 2,180 เมกะวัตต์ สำหรับผู้ที่ผ่านคุณสมบัติการรับซื้อไฟฟ้าสีเขียวแล้ว แต่ไม่ผ่านเข้าร่วมโครงการในรอบแรก ซึ่งจะได้รับการพิจารณาก่อน (ในส่วนนี้กระทรวงพลังงานให้ชะลอไว้ก่อน เพื่อทำการตรวจสอบให้ถูกต้องตามกฎหมาย) ส่วนรอบรับซื้อไฟฟ้าที่เหลืออีก 1,488.5 เมกะวัตต์ ขณะนี้ยังไม่ได้ประกาศเปิดรับซื้อไฟฟ้าในส่วนนี้แต่อย่างใด

ทั้งนี้ย้อนไปในวันที่ 25 พ.ย. 2567 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ออกมาแถลงข่าวถึงการให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว รอบ 2 ว่า กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบด้านกฎหมายในการเปิดรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว รอบ 2 จำนวน 2,180 เมกะวัตต์ ว่าจะดำเนินการได้หรือไม่ เนื่องจากตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่ผ่านมา ได้เปิดรับซื้อไฟฟ้าสีเขียวรอบแรกประมาณ 5,000 เมกะวัตต์ ไปแล้ว แต่ต่อมาพบว่ายังมีผู้ผลิตที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการอีกหลายราย จึงทำการเปิดรับซื้อรอบ 2 ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่ตัวเองจะเข้ามาบริหารงาน 

ดังนั้นจึงต้องดำเนินการตรวจสอบทางกฎหมายก่อนว่า การเปิดรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว 2,180 เมกะวัตต์ ที่กำหนดให้เฉพาะกลุ่มผู้ที่ผ่านคุณสมบัติแล้วแต่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการไฟฟ้าสีเขียวในรอบแรก จะได้รับการพิจารณาก่อนนั้น จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่

ต่อมาในวันที่ 16 ธ.ค. 2567 ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ยังคงดำเนินการตามมติ กพช. เดิม โดยออกประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบ กกพ. ว่าด้วย “การจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567” โดยมีผู้ผ่านเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 72 ราย

โดยแบ่งเป็น 1. ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม 8 ราย รวมกำลังผลิต 565.40 เมกะวัตต์  2.ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวน 64 ราย รวม 1,580 เมกะวัตต์  หรือรวมปริมาณทั้งสิ้น 2,145.40 เมกะวัตต์

ดังนั้นล่าสุดเมื่อ 25 ธ.ค. 2567 ที่ กพช. ได้มีมติให้ชะลอการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไว้ก่อน จึงส่งผลให้กระบวนการรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว เฟส 2 ต้องถูกระงับไว้ก่อนด้วย เพื่อรอการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ต่อไป

‘ดร.หิมาลัย’ แจงปม ‘พีระพันธุ์’ เร่งลดค่าน้ำมัน-ค่าไฟ หวังดึงนักลงทุนกลับไทย ย้ำ! ลดค่าไฟต่ำกว่า 4 บาท คิดไว้อยู่แล้ว

เร่งเดินหน้าเพื่อเศรษฐกิจไทย ‘หิมาลัย’ แจงปม ‘พีระพันธุ์’ เร่งลดค่าน้ำมัน-ค่าไฟ เหตุหวังดึงนักลงทุนกลับไทย 

เมื่อวันที่ (22 ม.ค. 68) ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ผู้อำนวยการพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้โพสต์คลิปวิดีโอ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวอธิบายถึงสาเหตุที่นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กำลังเร่งดำเนินนโยบาย “รื้อ ลด ปลด สร้างพลังงานไทย” โดยเฉพาะการลดราคาด้านพลังงานลงหลายประเภท ทั้งราคาน้ำมันและค่าไฟว่า ก่อนอื่นต้องบอกว่าการพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ คือ สิ่งสำคัญของประเทศไทยในทุกวันนี้ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังเดินหน้าต่อไปได้ แต่ทุกวันนี้นักลงทุนต่างชาติกลับถอนตัวการลงทุนในไทยออกไป ทั้งที่ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของไทยก็มีความเพียบพร้อมและตอบโจทย์ โดยสาเหตุสำคัญเกิดจาก 2 ประการหลัก ๆ ประกอบด้วย

ประการแรก คือ เรื่องต้นทุนการขนส่ง ที่การขนส่งมีต้นทุนหลัก ๆ คือน้ำมัน ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันเบนซินของไทยอยู่ที่ประมาณลิตรละ 40.35 บาท แตกต่างจากเวียดนามและมาเลเซีย ที่ราคาอยู่ที่ลิตรละ 36.42 บาท และ 15.31 บาท ตามลำดับ ส่วนน้ำมันดีเซลของไทยอยู่ที่ลิตรละประมาณ 30.94 บาท ส่วนเวียดนามและมาเลเซีย ราคาอยู่ที่ลิตรละประมาณ 30.28 บาท และ 16.69 บาท ตามลำดับ เช่นนี้จะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันในไทยแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นเหตุให้นักลงทุนถอนการลงทุนในไทยแล้วย้ายไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านแทน

ประการต่อมา คือ เรื่องค่าไฟ ค่าไฟในไทยช่วงปลายปี 67 ราคาหน่วยละ 4.18 บาท ส่วนช่วงระหว่างม.ค.- เม.ย. 68 ราคาหน่วยละ 4.15 บาทซึ่งแพงกว่าเวียดนามและมาเลเซียที่ค่าไฟอยู่ที่หน่วยละ 3.57 บาท และ 1.80 บาท ปัจจัยนี้ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ เพราะการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก

ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้นายพีระพันธุ์ เร่งรื้อโครงสร้างราคาน้ำมันควบคู่ไปกับการลดราคาน้ำมัน และหาทางลดค่าไฟฟ้าในไทยลง โดยหวังลดค่าไฟให้เหลือต่ำกว่าหน่วยละ 4 บาท เพื่อหวังดึงนักลงทุนต่างชาติกลับเข้าไทย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทยให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งตนเองก็ขอบคุณรัฐบาลที่สนับสนุนแนวคิดของนายพีระพันธุ์ ด้วย

ดร.หิมาลัย ระบุด้วยว่า นายพีระพันธุ์ เคยย้ำว่า การเข้ามาทำงานในฐานะฝ่ายบริหาร ในตำแหน่งรัฐมนตรี จะต้องทำงานทุกวินาทีให้ดีที่สุด

“นายพีระพันธุ์ เคยบอกว่า ได้เข้ามาทำงานเพื่อประเทศแล้วต้องพยายามทำงานให้เต็มที่ ทำงานทุกวินาที ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก” ดร.หิมาลัย ระบุ

รร.ไอแอท รีเจนซี่ ชวนดื่มด่ำกับผลงานศิลปินระดับโลก ‘มาริโอ อวาติ’ จากคอลเล็กชันส่วนตัวของ ‘มิเชล โบบอต’ อดีตทูตประจำยูเนสโก

กลับมาอีกครั้งกับประสบการณ์ศิลปะระดับโลก “มาริโอ อวาติ” กับนิทรรศการ “Mario Avati : Peaceful Beauty” ที่จะชวนสัมผัสการเดินทางสู่โลกแห่งความสงบและความงาม ณ โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท 

เมื่อวันที่ (15 ม.ค. 68) โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท ได้จัดงานเปิดประสบการณ์ศิลปะระดับโลกอีกครั้งกับนิทรรศการ "Mario Avati: Peaceful Beauty" นำเสนอผลงานต้นฉบับอันทรงคุณค่าของศิลปินชาวฝรั่งเศสชื่อดัง มาริโอ อวาติ(Mario Avati) จากคอลเล็กชันส่วนตัวของท่านทูตมิเชล โบบอต (Ambassador Michel Bohbot) อดีตนักการทูตประจำองค์การยูเนสโกและนักสะสมชาวฝรั่งเศส นับเป็นนิทรรศการครั้งที่สามที่โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท จัดแสดงผลงานศิลปะร่วมกับท่านทูตโบบอต เพื่อส่งเสริมวงการ ศิลปะและสร้างพื้นที่แสดงผลงานอันทรงคุณค่า นิทรรศการแห่งนี้จึงมอบประสบการณ์ทางศิลปะที่ลึกซึ้งและใกล้ชิดกับผลงานต้นฉบับของ ศิลปินอย่างไม่เคยมีมาก่อน

มาริโอ อวาติ ศิลปินชาวฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียงระดับโลก เป็นที่รู้จักในฐานะปรมาจารย์ด้านเทคนิคเมซโซทินท์ (Mezzotint) เทคนิคการพิมพ์ภาพในกลุ่มภาพพิมพ์ลึก (Intaglio) ที่มีจุดเด่นคือการสร้างแสงและเงาอย่างละเอียด ทำให้ได้ภาพที่มีความนุ่มนวลและสมจริง ซึ่งเขาได้นำเทคนิคนี้มาพัฒนาให้โดดเด่นยิ่งขึ้นผ่านการเพิ่มสีสันและอารมณ์ลึกซึ้ง ผลงานของอวาติมีเอกลักษณ์ในการเปลี่ยนวัตถุธรรมดา เช่น ผลไม้ หรือสัตว์ ให้กลายเป็นศิลปะที่ทรงคุณค่าผ่านการใช้แสง เงา และรูปทรงที่งดงาม ผลงานของเขาจึงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ในฐานะศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนถึงความสงบ ความงาม และการครุ่นคิดผ่านมุมมองที่ลึกซึ้ง อย่างมีเอกลักษณ์ 

นิทรรศการ Mario Avati : Peaceful Beauty แห่งนี้จึงจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงศิลปินผู้ล่วงลับ ผ่านการนำผลงานศิลปะของอวาติมาจัดแสดง ไม่ว่าจะเป็น ผลงานภาพพิมพ์ ภาพวาด งานแกะสลัก รูปปั้น จดหมาย และหนังสือชีวประวัติและผลงานของเขา โดยผลงานทุกชิ้นเป็น ผลงานต้นฉบับจริงจากคอลเลกชันสะสมส่วนตัวของท่านทูตมิเชล โบบอต นักสะสมชาวฝรั่งเศสผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ผลงานของ Avati และเป็นเพื่อนสนิทของศิลปินมายาวนานกว่า 45 ปีผลงานบางชิ้นที่นำมาจัดแสดงภายในนิทรรศการจึงเป็นผลงานที่ทำขึ้นเป็นพิเศษ สำหรับมอบให้เพื่อนสนิทเป็นที่ระลึก มีเพียงชิ้นเดียว และไม่สามารถหาดูที่ไหนได้ สะท้อนให้เห็นถึงมิตรภาพและความไว้วางใจอันลึกซึ้ง ระหว่างทั้งสอง 

“ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้นำผลงานอันทรงคุณค่าของศิลปิน มาริโอ อวาติมาจัดแสดง ณ โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท ผลงานของเขาน าเสนอมุมมองอันละเอียดอ่อน เชื้อเชิญผู้ชมให้ดื่มด่ำกับจักรวาลแห่งบทกวีภาพอันงดงามและบริสุทธิ์ ซึ่งถ่ายทอดความงาม จากสิ่งธรรมดาในชีวิตประจำวัน ด้วยการเล่นแสงเงา สีสัน รูปทรง และการเคลื่อนไหวอย่างประณีต จนกลายเป็นงานศิลปะที่ทรงคุณค่า เหนือกาลเวลา ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานเหล่านี้จะสร้างแรงบันดาลใจและนำความสงบสุขมาสู่ผู้ชมทุกท่านที่ได้มีโอกาสเข้ามาเยี่ยมชม” กล่าวโดยท่านทูตมิเชล โบบอต เจ้าของคอลเลกชันที่ถูกน ามาจัดแสดงในครั้งนี้ 

แซมมี่ คาโรลุส ผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท ยังได้กล่าวความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการในครั้ง นี้ว่า “ทางโรงแรมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งและขอขอบพระคุณท่านทูต มิเชล โบบอต อย่างสุดซึ้งอีกครั้งที่เลือกโรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท เป็นสถานที่จัดนิทรรศการสุดพิเศษนี้ ด้วยความมุ่งมั่นในการสนับสนุนงานศิลปะและการแบ่งปันผลงานระดับโลก นิทรรศการครั้งนี้ไม่เพียงเป็นเฉลิมฉลองผลงานของศิลปิน มาริโอ อวาติแต่ยังสะท้อนผลกระทบอันยั่งยืนที่เขามีต่อโลกศิลปะและภาพพิมพ์” สำหรับท่านที่สนใจมาร่วมสัมผัสผลงานศิลปะอันทรงคุณค่าจากศิลปินระดับโลก สามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 เมษายน 2568 บริเวณล็อบบี้ของโรงแรมไฮแอท รีเจนซี่กรุงเทพฯ สุขุมวิท โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สาหรับผู้ที่สนใจมาร่วมสัมผัสผลงานศิลปะอันทรงคุณค่าจากศิลปินระดับโลก สามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 เมษายน 2568 บริเวณล็อบบี้ของโรงแรมไฮแอท รีเจนซี่กรุงเทพฯ สุขุมวิท โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

กองทุนดีอี BDE ลงพื้นที่อุบลฯ จัดกิจกรรม CSR พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง สร้างสรรค์กำแพงวัดสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ของเยาวชนรุ่นใหม่

(23 ม.ค. 68) กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) จัดกิจกรรมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility: CSR) ภายใต้ชื่องาน “DEF ร่วมสร้างกำแพงความรู้สู่ชุมชน” ณ วัดสวนสวรรค์ ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบริหารเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) เป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาววรรณศิริ พัวศิริ ผู้อำนวยการกองบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (BDE) และดร. ศิริมาเมธ์วดี ศิรธนิตรา นายกเทศมนตรีเมืองพิบูลมังสาหาร ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน  และประชาชนในพื้นที่ ร่วมในพิธีเปิดงาน

นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบริหารเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการ ดีอี กล่าวว่า กองทุนดีอีเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ BDE ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจัดสรรเงินทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุนสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการสาธารณะและไม่เป็นการแสวงหากำไร พร้อมกันนี้ในส่วนของบทบาทของการสร้างประโยชน์ต่อสังคม ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่กองทุนฯ ให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน

สำหรับการดำเนินกิจกรรม ในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นของกองทุนฯ ในการทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีความรับผิดชอบ และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสังคม การจัดกิจกรรมในวันนี้จึงถือเป็นหนึ่งในความตั้งใจของกองทุนฯ ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกพร้อมทั้งสร้างคุณค่าแก่ชุมชนและสังคมในระยะยาว

“ผมขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของกองทุนฯ รวมถึงอาสาสมัครทุกคนที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนจนกิจกรรมครั้งนี้  เกิดขึ้นได้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กิจกรรมในวันนี้จะสร้างประโยชน์และแรงบันดาลใจให้แก่ทุกท่าน ช่วยสานต่อเป้าหมายของกองทุนฯ ในการขับเคลื่อนที่ประเทศไปสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ มีความยั่งยืน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” 

และร่วมมอบสิ่งของจำเป็นทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภคให้แก่วัดสวนสวรรค์ ซึ่งคาดหวังว่ากิจกรรมทั้งหมดนี้จะสร้างประโยชน์ในเชิงบวกทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้กับชุมชนในพื้นที่แห่งนี้

DIPROM โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ บุกเชียงใหม่ ผุดกิจกรรมยกระดับอัตลักษณ์เซรามิกล้านนา หนุนซอฟต์พาวเวอร์ไทย

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ DIPROM โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เชิญชวนผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจเข้าร่วมชม 'นิทรรศการแสดงผลงานกิจกรรมยกระดับอัตลักษณ์เซรามิกล้านนาด้วยทุนทางวัฒนธรรม' ภายใต้โครงการยกระดับฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Creative LANNA Forward) เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการผลิตเซรามิกในเชิงวัฒนธรรมล้านนา โดยผลงานที่นำมาแสดงนั้นเป็นผลจากกิจกรรม ซึ่งมีศิลปินและช่างฝีมือจากชุมชนต่างๆ ทั่วภาคเหนือของประเทศไทยเข้าร่วม โดยมีการนำเทคนิคการผลิตเซรามิกแบบดั้งเดิมมาผสมผสานกับแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นในรูปแบบที่ร่วมสมัย โดยกำหนดจัดกิจกรรมขึ้น ในวันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2568 ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.00 น. ณ นิมมาน คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ภายในงานจะได้พบกับกิจกรรม เสวนาวิชาการงานอัตลักษณ์เซรามิก เข้าร่วมนิทรรศการแสดงผลงาน อัตลักษณ์เซรามิกล้านนา ประกวดต้นแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกล้านนา กิจกรรมการทำเทียนหอม กิจกรรมการเพ้นท์สีจานเซรามิก กิจกรรมสาธิตการปั้นแป้นหมุนขึ้นงานเซรามิก เป็นต้น

ทั้งนี้ นิทรรศการแสดงผลงานกิจกรรมยกระดับอัตลักษณ์เซรามิกล้านนาด้วยทุนทางวัฒนธรรม ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะเซรามิกล้านนา แต่ยังเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปหันมาสนใจเรียนรู้และอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของชุมชนในพื้นที่ ผ่านทุนทางวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน พร้อมทั้งสร้างโอกาสให้แก่ชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในท้องถิ่นอีกด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสำรองที่นั่งเข้าร่วมงานได้ที่

https://docs.google.com/forms/d/1mfWGN7dcFMdfw81Ib_ggq2NfSuUUFZCWiASqm-vb0Sc/preview  

'ประชัย เลี่ยวไพรัตน์' จี้แบงก์ชาติเลิกอุ้มธนาคารพาณิชย์ แนะลดดอกเบี้ยเพิ่มสภาพคล่องช่วยเหลือประชาชน

เมื่อวันที่ (23 ม.ค. 68) นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงสถานการณ์เศรษฐกิจว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นที่ว่าเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มธนาคารหรือไม่ ? โดยขณะนี้ได้ออกพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทยมากกว่า 8 ล้านล้านบาท เพื่อช่วยดูดสภาพคล่อง 8 ล้านล้านบาทออกจากตลาด ทำให้ธนาคารไม่ต้องปล่อยกู้ในดอกเบี้ยถูกให้กับประชาชนคนไทย แต่กลับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อขูดรีดประชาชนคนไทย จนกระทั่งขณะนี้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเป็น 16 ล้านล้านบาทและเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 1.2 ล้านล้านบาท และกำลังจะเพิ่มเป็น 4 ล้านล้านบาท

ทำให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยถูกมองว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่ไม่ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทให้อยู่ในระดับที่ทำให้ต้นทุนสินค้าสู้กับคู่แข่งต่างชาติได้ ทั้งๆ ที่เรามี technology ดีกว่าหรือทัดเทียมกับคู่แข่งต่างชาติ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย จีนหรือเกาหลีใต้ โดยอ้างว่าปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงตามกลไกตลาดของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งที่วิญญูชนรู้ว่ามีการปั่นค่าเงินบาทโดยผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กและกลุ่มธนาคาร กล่าวคือท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีความรู้สูงส่งยิ่งกว่าวิญญูชนผู้ทำหน้าที่ของการเป็นผู้ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนให้มันเป็นไปในทางที่เป็นประโยชน์กับประเทศไทย สารภาพว่าท่านปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาดโดยไม่ดูแล แต่ปล่อยให้อยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กและธนาคาร ปั่นราคาตลาดให้มันแข็งขึ้น อย่างเช่น การปล่อยให้การฟิกเงินดอลลาร์ ให้มี Discount ที่ 3 สตางค์ต่อเดือนต่อดอลลาร์ ก็แปลว่าเขาจะทำให้เงินบาทแข็งขึ้น 3 สตางค์ต่อดอลลาร์ทุกๆ เดือน แล้วอย่างนี้จะเรียกว่าเป็นไปตามการกลไกการตลาดเสรีได้อย่างไร

นายประชัย กล่าวว่า การปั่นอัตราแลกเปลี่ยนให้เงินบาทมีค่าแข็งขึ้น ทำให้ต้นทุนสินค้าของไทยสูงกว่าคู่แข่ง เราไม่สามารถส่งออกสินค้าไปแข่งกับต่างประเทศได้ ทำให้การส่งออกลดลงในขณะเดียวกันทำให้สินค้าต่างประเทศมีต้นทุนถูกกว่าเข้ามาตีตลาดภายในประเทศ ทั้งๆ ที่เราไม่มีความจำเป็นต้องนำเข้ายกเว้นน้ำมันดิบ วัตถุดิบบางชนิดและเครื่องจักรบางชนิด ทำให้โรงงานต่างๆ ต้องลดกำลังผลิตหรือปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งขณะนี้โรงงานกำลังจะปิดหมดอยู่แล้ว มีผลทำให้คนงานตกงานมากมาย ไม่มีเงินที่จะจับจ่ายใช้สอยและใช้หนี้ที่ก่อเอาไว้ เนื่องจากธนาคารรับเงินฝากที่ 2% กว่า แต่ว่าปล่อยกู้ในดอกเบี้ยมหาโหดที่ 6 ถึง 8% และยังมีหน้าไม่ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่ธนาคารไม่ชอบขี้หน้า และต้องมีการจ่ายใต้โต๊ะในการที่จะให้เงินกู้ ทำให้ธนาคารปล่อยกู้ไม่ออก มีเงินเหลืออยู่ในธนาคารมากมาย จึงถูกครหาว่าเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มธนาคาร โดยการออกพันธบัตรเพื่อไปดูดซับสภาพคล่องพวกนี้เอามาเก็บไว้ในธนาคารประเทศไทย

โดย ธปท.ไม่ได้ประโยชน์แต่เสียดอกเบี้ยให้กลุ่มธนาคาร ทั้งๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีความจำเป็นต้องออกพันธบัตรเลยเพราะธนาคารแห่งประเทศไทยมีความสามารถที่จะออกบัตรเองได้ ถ้ามีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินบาทจำนวนนี้ เพราะว่าธนาคารแห่งประเทศไทย มีเงินสำรองเงินตราต่างประเทศ ทองคำและ พันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน อยู่ในมือมากกว่า 250,000 ล้านเหรียญ สามารถค้ำประกันการออกบัตรได้มากกว่า 8 ล้านล้านบาท ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหนี้พันธบัตรอยู่ในขณะนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกไปเพื่อดูดซับเงินบาทในท้องตลาดเพื่อช่วยกลุ่มธนาคารไม่ต้อง เก็บสภาพคล่องส่วนเกินนี้ไว้โดยไม่ได้รับ ดอกเบี้ยเลย สาเหตุเป็นเพราะธนาคารต้องการปล่อยกู้ดอกเบี้ยมหาโหด 5-8% ขึ้นไป ทั้งๆ ที่เงินฝากอยู่ที่ 2% กว่าเท่านั้นเอง ทำให้เงินเหลืออยู่ในธนาคารมากมาย แต่สภาพคล่องในตลาด หายไปหมด ด้วยความช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย กลุ่มธนาคารจึงทำกำไรมหาศาลโดยไม่เห็นแก่ความเดือดร้อนของประชาชน

"ถ้า ธปท.ไม่ช่วยเหลือกลุ่มธนาคารก็ต้องลดดอกเบี้ยเพิ่มสภาพคล่องเพิ่มการว่าจ้างแรงงานลดต้นทุนการผลิตการค้าการส่งออกหนี้ครัวเรือน ลดความเดือดร้อนของประชาชน" นายประชัย กล่าว

‘เอกนัฏ‘ ลุยต่อแบบสุดซอย สั่งปิดกิจการ 3 บริษัท พร้อมฟัน 5 ข้อหาหนัก ลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์

'เอกนัฏ' เมินถูกตั้งค่าหัว สั่งขยายผลจับกุม-ขยายผล รง.กำจัดกากอุตฯเถื่อน อ.พนมสารคาม ฐานร่วมกันเคลื่อนย้ายทำลายของกลาง ลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ฟัน 5 ข้อหาหนัก พร้อมสั่งระงับกิจการรวม 3 บริษัทที่ตั้งในพื้นที่เดียวกัน 

(24 ม.ค.68) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ทีมตรวจการสุดซอย กระทรวงอุตสาหกรรม นำโดย น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงาน รมว.อุตสาหกรรม, นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม, กรมโรงงานอุตสาหกรรม, สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา (สอจ.ฉะเชิงเทรา) และเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ร่วมกันขยายผลดำเนินคดีกับ บริษัท ชุน ยิป อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ฐานลักลอบเคลื่อนย้ายและทำลายของกลางที่ถูกยึดอายัดจาก บริษัท ที แอนด์ ที เวสท์ แมเนจเม้นท์ 2017 จำกัด จ.ปราจีนบุรี ที่ถูกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปทส. และ สอจ.ปราจีนบุรี แกะรอยจากรถบรรทุกที่ออกจาก บริษัท ที แอนด์ ที เวสท์ แมเนจเม้นท์ 2017 จำกัด เมื่อวันที่ 5 ม.ค.68 ที่มีการนำของกลางที่ถูกยึดอายัดไปยัง บริษัท ชุน ยิป อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด โดยไม่ได้รับอนุญาต 

รมว.อุตสาหกรรม กล่าวอีกว่า บริษัท ชุน ยิป อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่ กรมศุลกากร ตรวจพบการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 10 ตู้คอนเทนเนอร์ บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ที่ บริษัท อีอีอี เทรดดิ้ง จำกัด เป็นผู้นำเข้า และเมื่อขยายผลก็พบว่า บริษัท อีอีอี เทรดดิ้ง จำกัด ตั้งอยู่ในพื้นที่ของบริษัท ชุน ยิป อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ที่ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ด้วย ซึ่งปรากฏว่า บริษัท ชุน ยิป อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด แบ่งพื้นที่ให้ บริษัท อีอีอี เทรดดิ้ง จำกัด เช่าเพื่อตั้งโรงาน โดยไม่ได้ขออนุญาตและแจ้ง สอจ.ฉะเชิงเทรา ทราบ 

“เมื่อเข้าตรวจค้น บริษัท ชุน ยิป อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ตามมาตรการสุดซอย เบื้องต้นพบการกระทำผิดใน 5 ข้อหา ตั้งแต่ 1.ครอบครองวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาต, 2.ตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต, 3.ประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต, 4.ฝ่าฝืนกฎกระทรวงเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย และประกาศกระทรวงเกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และ 5.เคลื่อนย้ายหรือทำลายของกลางที่ถูกยึดอายัดไว้ในคดี” นายเอกนัฏ ระบุ 

นายเอกนัฏ กล่าวด้วยว่า บริษัท ชุน ยิป อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด มีพฤติกรรมกระทำผิดร้ายแรงหลายข้อหา รวมทั้งฝ่าฝืนคำสั่ง มาตรา 37 ตามพระราชบัญญัติโรงงาน (พ.ร.บ.โรงงาน) ที่ สอจ.ฉะเชิงเทรา สั่งให้ระงับการประกอบกิจการไว้ก่อนหน้านี้ จึงได้ยกระดับออกคำสั่งตามมาตรา 39 และแจ้งความดำเนินคดี รวมถึงข้อหารับซื้อของโจร โดยสามารถจับกุมผู้กระทำผิดสัญชาติจีนได้ 2 ราย รายหนึ่งเป็นผู้ดูแลบริษัท ชุน ยิป อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ส่วนอีกรายเป็นในส่วนของบริษัท อีอีอี เทรดดิ้ง จำกัด 

“สอจ.ฉะเชิงเทรา ได้ออกคำสั่งตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน ระงับการประกอบกิจการโรงงานทั้งหมดของบริษัท ชุน ยิป อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท อีอีอี เทรดดิ้ง จำกัด รวมไปถึง บริษัท ตงไท้ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด รวมทั้งสิ้น 21 ฉบับ“ รมว.อุตสาหกรรม กล่าว 

รายงานข่าวแจ้งว่า นายเอกนัฏ เพิ่งเปิดเผยในระหว่างการตอบกระทู้ถามสดในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 23 ม.ค.68 ว่า จากนโยบายตรวจจับ และดำเนินคดีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะการจัดการปัญหากากอุตสาหกรรม ตลอดจนการลักลอบนำเข้าและผลิตสินค้าด้อยคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ทำให้ถูกตั้งค่าหัว 300 ล้านบาท เพื่อให้เปลี่ยนตัว รมว.อุตสาหกรรม

'รองนายกฯ ประเสริฐ' เผยผลสำเร็จ เข้าร่วมการประชุม WEF 2025 เดินหน้าเทคโนโลยีแห่งอนาคต ยกระดับเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัลไทย

(24 ม.ค.68) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum (WEF) 2025 ร่วมกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะ ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในระหว่างวันที่ 20-24 มกราคม 2568 ว่า การประชุม WEF 2025 ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้ธีม 'Collaboration for the Intelligent Age' ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพผ่านการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศในยุคดิจิทัลที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้นำทางการเมือง นักธุรกิจชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ และผู้มีวิสัยทัศน์จากทั่วโลกเข้าร่วม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหารือแนวทางการเปลี่ยนแปลงผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning), และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ในช่วงวันที่ 21 – 22 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมหารือทวิภาคีกับ H.E. Abdullah AlSwaha รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศของซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ บริษัท Cisco Systems, AstraZeneca, Salesforce, META, Google และ AWS รวมทั้งได้มีการหารือกับ World Bank’s Global Director for Water ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

สำหรับประเด็นสำคัญในการหารือทวิภาคีกับบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ (1) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในหลากหลายมิติ , (2) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย , (3) การยกระดับทักษะด้านดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ , (4) ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ , (5) การพัฒนาระบบไอทีของหน่วยงานภาครัฐผ่านนโยบาย Cloud First Policy , (6) การส่งเสริมการลงทุนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล , (7) การส่งเสริม digital literacy ของหน่วยงานรัฐและของประชาชน , (8) การพัฒนาขีดความสามารถของ SMEs ไทย รวมถึงการสนับสนุน digital startups ให้เข้าถึงตลาดระหว่างประเทศ , (9) การส่งเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ของไทยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต , (10) การพัฒนาทักษะแรงงานด้านดิจิทัล , (11) การเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล , (12) แนวทางการทำงานเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ และ (13) มาตรฐานชุมชนและเครื่องมือความปลอดภัยในการใช้งานแพลตฟอร์ม

ขณะที่ในวันที่ 23 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ Meeting of the Jobs Champion ซึ่งเป็นการประชุมเสวนาผู้นำ (Leaders Dialogue Meeting) ที่มีผู้บริหารระดับสูงจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และผู้นำระดับสูงจาก'รองนายกฯ ประเสริฐ' เผยผลสำเร็จ เข้าร่วมการประชุม WEF 2025 เดินหน้าเทคโนโลยีแห่งอนาคต ยกระดับเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัลไทย

วันที่ 24 มกราคม 2568 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum (WEF) 2025 ร่วมกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะ ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในระหว่างวันที่ 20-24 มกราคม 2568 ว่า การประชุม WEF 2025 ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้ธีม 'Collaboration for the Intelligent Age' ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพผ่านการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศในยุคดิจิทัลที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้นำทางการเมือง นักธุรกิจชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ และผู้มีวิสัยทัศน์จากทั่วโลกเข้าร่วม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหารือแนวทางการเปลี่ยนแปลงผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning), และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ในช่วงวันที่ 21 – 22 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมหารือทวิภาคีกับ H.E. Abdullah AlSwaha รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศของซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ บริษัท Cisco Systems, AstraZeneca, Salesforce, META, Google และ AWS รวมทั้งได้มีการหารือกับ World Bank’s Global Director for Water ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

สำหรับประเด็นสำคัญในการหารือทวิภาคีกับบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ (1) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในหลากหลายมิติ , (2) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย , (3) การยกระดับทักษะด้านดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ , (4) ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ , (5) การพัฒนาระบบไอทีของหน่วยงานภาครัฐผ่านนโยบาย Cloud First Policy , (6) การส่งเสริมการลงทุนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล , (7) การส่งเสริม digital literacy ของหน่วยงานรัฐและของประชาชน , (8) การพัฒนาขีดความสามารถของ SMEs ไทย รวมถึงการสนับสนุน digital startups ให้เข้าถึงตลาดระหว่างประเทศ , (9) การส่งเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ของไทยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต , (10) การพัฒนาทักษะแรงงานด้านดิจิทัล , (11) การเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล , (12) แนวทางการทำงานเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ และ (13) มาตรฐานชุมชนและเครื่องมือความปลอดภัยในการใช้งานแพลตฟอร์ม

ขณะที่ในวันที่ 23 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ Meeting of the Jobs Champion ซึ่งเป็นการประชุมเสวนาผู้นำ (Leaders Dialogue Meeting) ที่มีผู้บริหารระดับสูงจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และผู้นำระดับสูงจากทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคประชาชน เข้าร่วมหารือประเด็นระดับโลกที่สำคัญ โดยมีการรายงานผลการวิจัยใหม่เรื่อง 'อนาคตของงาน' ที่กล่าวถึงผลกระทบของ AI ต่องานและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อทุกคน

นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมสำคัญ 'Thailand Reception' ซึ่งเป็นงานเลี้ยงต้อนรับอาหารกลางวัน ระหว่างผู้นำประเทศต่างๆ และนายกรัฐมนตรีประเทศไทย โดยมีการนำเสนออาหารไทยและการเฉลิมฉลองวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ และการต้อนรับอันอบอุ่นของประเทศไทย ในธีม Nourishing the Future for ALL เน้นเรื่องอาหารและศักยภาพของประเทศไทย โดยนำเสนอวัฒนธรรมและความเป็นไทย ผ่านอาหารไทย เพื่อส่งเสริม Soft Power และศักยภาพของประเทศไทยในฐานะ 'ครัวของโลก'

“สำหรับในวันที่ 24 มกราคม 2568 ผมจะเข้าร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA และการเสวนาของนายกรัฐมนตรี ในหัวข้อ 'Not Losing Sight of Soft Power' ที่จะกล่าวถึงการสร้างแรงกระเพื่อมในวัฒนธรรมสมัยนิยม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ได้รับการกระตุ้นโดยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมทั้งเข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อ Country Strategy Dialogue on Thailand โดยท่านนายกจะกล่าวถึงจุดแข็งของประเทศไทยโดยรวม ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร การใช้เทคโนโลยีด้านเกษตร และการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล” นายประเสริฐ กล่าว

ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคประชาชน เข้าร่วมหารือประเด็นระดับโลกที่สำคัญ โดยมีการรายงานผลการวิจัยใหม่เรื่อง 'อนาคตของงาน' ที่กล่าวถึงผลกระทบของ AI ต่องานและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อทุกคน

นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมสำคัญ 'Thailand Reception' ซึ่งเป็นงานเลี้ยงต้อนรับอาหารกลางวัน ระหว่างผู้นำประเทศต่างๆ และนายกรัฐมนตรีประเทศไทย โดยมีการนำเสนออาหารไทยและการเฉลิมฉลองวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ และการต้อนรับอันอบอุ่นของประเทศไทย ในธีม Nourishing the Future for ALL เน้นเรื่องอาหารและศักยภาพของประเทศไทย โดยนำเสนอวัฒนธรรมและความเป็นไทย ผ่านอาหารไทย เพื่อส่งเสริม Soft Power และศักยภาพของประเทศไทยในฐานะ “ครัวของโลก” 

“สำหรับในวันที่ 24 มกราคม 2568 ผมจะเข้าร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA และการเสวนาของนายกรัฐมนตรี ในหัวข้อ 'Not Losing Sight of Soft Power' ที่จะกล่าวถึงการสร้างแรงกระเพื่อมในวัฒนธรรมสมัยนิยม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ได้รับการกระตุ้นโดยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมทั้งเข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อ Country Strategy Dialogue on Thailand โดยท่านนายกจะกล่าวถึงจุดแข็งของประเทศไทยโดยรวม ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร การใช้เทคโนโลยีด้านเกษตร และการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล” นายประเสริฐ กล่าว

กกพ. เตรียมส่งหนังสือถึงภาครัฐภายใน ม.ค. 2568 นี้ หวังให้ทบทวนโครงการ Adder กดค่าไฟฟ้าลงได้ 17 สต./หน่วย

(24 ม.ค.68) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยืนยัน จะส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีพลังงานและ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ภายในเดือน ม.ค. 2568 นี้ เสนอให้ทบทวนเงื่อนไขสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าของกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า SPP และ VSPP ที่ได้รับเงินส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) และ เงินสนับสนุนตามต้นทุนที่แท้จริง (FiT) เหตุกลุ่มนี้คุ้มทุนและได้ค่าตอบแทนนานพอสมควรแล้ว ปัจจุบันต้นทุนค่าไฟฟ้าถูกลง แต่รัฐยังสนับสนุนในอัตราสูง ส่งผลกระทบค่าไฟฟ้าโดยรวม ชี้หากปรับเงื่อนไขได้ จะช่วยลดค่าไฟฟ้าประชาชนลงได้ 17 สตางค์ต่อหน่วย หรือประหยัดได้ 33,150 ล้านบาท

นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ภายในเดือน ม.ค. 2568 นี้ เพื่อเสนอทางเลือกให้ภาครัฐทบทวนและปรับปรุงเงื่อนไข การสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าทั้งในรูปแบบ 'การให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder)' และ 'การสนับสนุนตามต้นทุนที่แท้จริง (FiT)' ของกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) เพื่อให้การอุดหนุนสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และทำให้ค่าไฟฟ้าสามารถปรับลดลงได้ทันทีประมาณ 17 สตางค์ต่อหน่วย จากค่าไฟฟ้าในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 4.15 บาทต่อหน่วย

“นโยบายเกี่ยวกับการลดค่าไฟฟ้านั้น ทาง กกพ. เห็นว่าควรหารือกับทุกฝ่าย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ใครเสียเปรียบใคร แต่เวลานี้ต้องหยิบเรื่องทั้งหมดขึ้นมามอง กกพ. เป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งที่พยายามนำเสนอมุมมองเพื่อให้ภาครัฐได้คิดทบทวนในเรื่องนี้ แต่เรื่องการตัดสินใจและนำไปสู่การปฏิบัติ เป็นเรื่องของฝ่ายนโยบายที่ต้องหารือให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย”

อย่างไรก็ตามหากมีการเจรจากับผู้ผลิตไฟฟ้าเกิดขึ้น มองว่าควรเจรจากันบนความเข้าใจที่ตรงกันและเห็นถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง ไม่ได้เห็นถึงผลประโยชน์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และหากการเจรจาสามารถตกลงกันได้ถือเป็นเรื่องที่ดีกับประเทศ ไม่ได้เป็นการไปทำลายบรรยากาศความเชื่อมั่นด้านการลงทุนที่ทำกับภาครัฐแต่อย่างใด

ทั้งนี้ นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรีประกาศนโยบายจะลดค่าไฟฟ้าของประเทศลงให้เหลือ 3.70 บาทต่อหน่วย เมื่อ 7 ม.ค. 2568 ส่งผลให้ กกพ. ในฐานะผู้กำกับดูแลราคาพลังงาน ได้ตรวจสอบต้นทุนค่าไฟฟ้าที่จะสามารถลดลงได้ และพบว่า มาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าแบบให้ Adder และ FiT ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กลายเป็นภาระค่าไฟฟ้าประชาชนอยู่ 17 สตางค์ต่อหน่วย

โดย เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2568 กกพ.ได้ออกมาแถลงรายละเอียดว่า หากมีการปรับปรุงราคารับซื้อไฟฟ้าในกลุ่ม Adder และ FiT ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เช่น ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ รับซื้อในอัตราค่าไฟฟ้าขายส่งหน่วยละ 3.1617 บาท บวกกับค่าส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) หน่วยละ 8 บาท (10 ปี) รวมแล้วเป็นค่าไฟฟ้าหน่วยละ 11.1617 บาท ซึ่งแพงกว่าอัตรารับซื้อที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) คำนวณไว้ในโครงการการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 และในส่วนเพิ่มเติม พ.ศ. 2567 หน่วยละ 2.1679 บาท หลายเท่าตัวหรือมีส่วนต่างหน่วยละ 8.9938 บาท หากนำส่วนต่างนี้ออกไปจากสูตรคำนวณค่าไฟฟ้า ก็จะทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงทันที และไม่กระทบต่อผู้ประกอบการด้วย 2 เหตุผลคือ

1. ผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าผ่านจุดคุ้มทุนแบบ Adder และได้รับค่าตอบแทนจากโครงการพอสมควร จึงควรปรับค่าไฟฟ้าให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงได้

2. การรับซื้อไฟฟ้าในอดีตหน่วยละ 11.1617 บาท เนื่องจากอุปกรณ์การผลิตไฟฟ้าจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์ยังมีต้นทุนสูง แต่ในปัจจุบันราคาอุปกรณ์ดังกล่าวลดลงมาก ราคาไฟฟ้าที่รัฐรับซื้อควรลดลงตามมาด้วยเช่นกัน หรือแม้โครงการผ่าน 10 ปีและเงินอุดหนุน 8 บาทหมดไปแล้ว แต่ราคารับซื้อก็ยังอยู่ที่ 3.1617 บาท ซึ่งแพงกว่าราคาที่ สนพ. คำนวณในปี 2565 ไว้ที่หน่วยละ 2.1679 บาท ซึ่งมีส่วนต่างเป็นเงินหน่วยละ 0.9938 บาท ถือเป็นกำไรที่ผู้ประกอบการไม่ควรได้รับ ประการสำคัญสัญญารับซื้อไฟฟ้าในกลุ่มนี้ระบุว่าให้ต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ หมายความว่า ไม่มีวันสิ้นสุดสัญญา หากไม่มีการปรับปรุงอัตราการรับซื้อไฟฟ้าให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ผู้ประกอบกิจการก็จะได้กำไรเกินควร อันเป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนโดยไม่มีวันสิ้นสุด

จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกรณีค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) งวดเดือน ม.ค. – เม.ย. 2568 ได้ระบุถึงค่าใช้จ่ายภาครัฐ (Policy Expense) จากการรับซื้อไฟฟ้าในกลุ่ม Adder และ FiT รวมอยู่ในค่าไฟฟ้าหน่วยละ 17 สตางค์ หากคณะรัฐมนตรี หรือ กพช. กำหนดนโยบายปรับค่าไฟฟ้ารับซื้อในส่วนนี้ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงได้ ก็จะลดค่าไฟฟ้าลงได้ทันที 17 สตางค์ หากค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4.15 บาท ก็จะลดลงเหลือหน่วยละ 3.89 บาท

จากประมาณการตลอดทั้งปี 2568 คาดว่าจะมีการใช้ไฟฟ้า 195,000 ล้านหน่วย หากลดได้หน่วยละ 17 สตางค์ ก็จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนได้ถึง 33,150 ล้านบาท

PEA แจงขายไฟฟ้าให้เมียนมาทำถูกขั้นตอน ลั่น งดจ่ายไฟฟ้าทันทีหากพบกระทำความผิดจริง

(24 ม.ค.68) PEA ชี้แจงการจำหน่ายไฟฟ้าให้ประเทศใกล้เคียง ทำถูกขั้นตอนตามความร่วมมือไทย-เมียนมา พร้อมงดจ่ายไฟฟ้าแนวตะเข็บชายแดน หากพบกระทำความผิดจริง

นายประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ชี้แจงว่า ปัจจุบันจ่ายกระแสไฟฟ้าให้สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จำนวน 5 จุด ในพื้นที่

1. บ้านเจดีย์สามองค์ - เมืองพญาตองซู รัฐมอญ
2. บ้านเหมืองแดง - เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน
3. สะพานมิตรภาพไทย – พม่า - เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน
4. สะพานมิตรภาพไทย – พม่า แห่งที่ 2 อ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง
5. บ้านห้วยม่วง - อ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง

ในปี 2566 สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทย ขอให้กระทรวงการต่างประเทศของไทยแจ้ง PEA ดำเนินการระงับการจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ 2 จุดที่บ้านวังผา อ.แม่ระมาด - บ.ก๊กโก๋ อ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง และบ้านแม่กุใหม่ท่าซุง - อ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สำหรับอีก 1 จุด ปี 2567 ในพื้นที่ อ.เชียงแสน - เมืองพงษ์ จ.ท่าขี้เหล็ก คู่สัญญาผิดนัดชำระค่าไฟฟ้า ทำให้ PEA ยกเลิกจุดซื้อขายไฟฟ้า ทั้ง 3 จุดดังกล่าวแล้ว

PEA มิได้นิ่งนอนใจในเรื่องดังกล่าว โดยดำเนินการประสานกับหน่วยงานความมั่นคงในไทยและเมียนมาอย่างใกล้ชิด และพร้อมดำเนินการงดจ่ายกระแสไฟฟ้า เพื่อมิให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และมิจฉาชีพ นำสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากผู้ให้บริการของไทยไปใช้ในการกระทำความผิดหรือสนับสนุนการกระทำผิดกฎหมาย ป้องกันมิให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ก่อให้เกิดความไม่สงบและอาชญากรรมข้ามชาติ ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ การพิจารณางดจ่ายกระแสไฟฟ้าของ PEA จะไม่กระทบกับผู้ใช้ไฟฟ้า และผู้ใช้บริการระบบสื่อสารทั่วไปภายในประเทศ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top