Wednesday, 14 May 2025
Econbiz

รมว.อุตสาหกรรม ชี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวหลังการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 หลังพบดัชนีอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 2564 หดตัวลงเล็กน้อย 1.08% แต่ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า การผลิตในอุตสาหกรรมหลักกลับมาขยายตัว อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) และรายการพิเศษ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ขยายตัวร้อยละ 6.94 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัว เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์ยาง (ถุงมือยาง) เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ สอดรับกับตัวเลขการผลิตที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

โดยอุตสาหกรรมรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05 เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 และอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ตามลำดับ เนื่องจากความเชื่อมั่นในการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้บริการแก่ประชาชน ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น โครงการคนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เราชนะ และโครงการเรารักกัน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้อย่างหมุนเวียน รวมถึงเศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในหลายประเทศ ทำให้ความเชื่อมั่นในการผลิตและการบริโภคดีขึ้น

ด้านนายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกุมภาพันธ์ 2564 หดตัวเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 1.08 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน ก.พ.64 อยู่ที่ระดับร้อยละ 65.08 ลดลงจากเดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับร้อยละ 66.60 เนื่องจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ทำให้ภาครัฐออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโดยกำหนดพื้นที่ควบคุม แม้ในเดือนนี้จะมีการผ่อนคลายบางส่วนแล้ว แต่ยังส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลงบ้างเล็กน้อย

นายทองชัย กล่าวต่อว่า เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการคนละครึ่ง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เราชนะ และโครงการเรารักกัน เป็นต้น อีกทั้งการผ่อนคลายมาตรการควบคุมในบางพื้นที่ ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และพร้อมเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวเร็วกว่าแผนเดิมจากไตรมาส 4 ขยับมาเป็นไตรมาส 3 และมีแผนนำร่องในเดือนเมษายน โดยจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดแรก จะส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมหลักที่ยังคงขยายตัวดีในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

น้ำตาล ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.85 จากปริมาณอ้อยที่เข้าหีบมีมากกว่าปีก่อน 52.77 รวมถึงโรงงานที่ปิดหีบแล้วบางส่วนมีการละลายน้ำตาลดิบเป็นน้ำตาลทรายอย่างต่อเนื่อง

ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.30 จาก ความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ยังมีความต้องการต่อเนื่อง

รถยนต์และเครื่องยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.97 จากรถบรรทุกปิคอัพ และเครื่องยนต์ดีเซล ที่มีคำสั่งซื้อทยอยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้ง ผู้ผลิตมีการผลิตรถรุ่นใหม่ ๆ

เม็ดพลาสติก ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.43 จากความต้องการที่ขยายตัวในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ทั้งบรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์ ประกอบกับปีก่อนมีผู้ผลิตหลายรายหยุดซ่อมบำรุงตามรอบการซ่อมบำรุง

เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.04 การเร่งผลิตเพื่อขายทำกำไรในช่วงที่ยังมีภาวะขาดแคลนสินค้า (Short Supply) และผลิตรองรับความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ รวมทั้งความต้องการจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมรถยนต์


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

โฆษกรัฐบาล ยืนยัน รัฐบาล คงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ 7% ต่อ ย้ำชัด ยังไม่คิดปรับเพิ่ม ซ้ำเติมความเดือดร้อนประชาชนช่วงวิกฤติ

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันรัฐบาลยังไม่มีแนวคิดในการปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมคงเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ปีนี้ที่ร้อยละ 4

ทั้งนี้ ประเทศไทย ได้กำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ไว้ที่ร้อยละ 10 ตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบภาษีการค้ามาเป็นระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อปี 2535 แต่ได้มีการบรรเทาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีจะออกพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือร้อยละ 7 เป็นระยะๆ จะมีเพียงก็แต่เพียงในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 เท่านั้น ที่มีการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10

โดย คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ให้คงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีที่เข้าลักษณะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับรายการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564 เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ซึ่งอัตราส่วน 1 ใน 9 ของภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะถูกโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในแต่ละประเทศมีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่แตกต่างกันไป อาทิ อินโดนีเซีย เวียดนาม และญี่ปุ่นจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่อัตราร้อยละ 10 สิงคโปร์จัดเก็บที่ร้อยละ 7 มาเลเซียจัดเก็บที่ร้อยละ 6 ซึ่งไทยมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้อยละ 7 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจ ไม่เป็นภาระแก่ประชาชนเกินจำเป็น และช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย ร่วมมือกรมขนส่งทางบกและผู้จำหน่ายรถยนต์มาสด้าทั่วประเทศ ผุดโครงการ “ตรวจรถฟรี ขับขี่ปลอดภัยเทศกาลสงกรานต์ 2564” ชวนลูกค้ามาสด้ามาตรวจเช็กสภาพรถฟรี 20 รายการ เริ่มวันนี้ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2564

นายชาญชัย ตระการอุดมสุข ประธานบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ความปลอดภัยในการเดินทางบนท้องถนนนับเป็นสิ่งที่มาสด้าตระหนัก และให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลสำคัญ ๆ ที่ประชาชนจำเป็นต้องเดินทางกลับภูมิลำเนา และใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก

"เรามีความห่วงใยและขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพื่อยกระดับความปลอดภัยของพี่น้องชาวไทยทุกคนให้เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ ผ่านโครงการ “ตรวจรถฟรี ขับขี่ปลอดภัยเทศกาลสงกรานต์ 2564” โดยมาสด้าพร้อมให้การบริการตรวจเช็กสภาพรถฟรี 20 รายการ พร้อมมอบส่วนลดและเครดิตเงินคืนกับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ รวมถึงมอบข้อเสนอพิเศษต่างๆ มากมาย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เดินทางทุกคนได้เตรียมความพร้อมทั้งรถทั้งคนขับ เพื่อเดินทางอย่างปลอดภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์"

สำหรับรายการตรวจเช็กสภาพฟรี 20 รายการ ประกอบด้วย การตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องและความสกปรกของน้ำมันเครื่อง, ตรวจสภาพยาง, ตรวจระดับน้ำหม้อน้ำ หม้อพักน้ำ พร้อมฝาปิดหม้อน้ำ, ตรวจสภาพการทำงานของไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณ, ตรวจสอบระบบไฟชาร์จ, ตรวจสภาพสายพานและความตึงของสายพานพร้อมปรับตั้ง, ตรวจสอบท่อยางหม้อน้ำและรอบรั่ว, ตรวจสอบน้ำมันเบรกและน้ำมันคลัตช์, ตรวจสอบคลัตช์, ตรวจสอบระดับน้ำมันกลั่นในแบตเตอรี่ ขั้วแบตเตอรี่, ตรวจระดับน้ำล้างกระจก, ตรวจสอบอุปกรณ์ปัดน้ำฝน, ตรวจสภาพการรั่วซึมของน้ำมันในห้องเครื่องยนต์, ตรวจสอบเบรก, ตรวจสอบเบรกมือ, ตรวจสอบไส้กรองอากาศ, ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องยนต์, ตรวจเข็มขัดนิรภัย, ตรวจสอบระบบส่งกำลัง ระบบบังคับเลี้ยวและระบบกรองน้ำหนัก และตรวจสอบระดับก๊าซไอเสีย

ลูกค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการ “ตรวจรถฟรี ขับขี่ปลอดภัยเทศกาลสงกรานต์ 2564” สามารถลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์โดยกดเพิ่มเพื่อนกับมาสด้าผ่านทาง Mazda Official LINE Account @MazdaThailand เพื่อรับคูปองตรวจเช็กฟรี 20 รายการ และนำมาใช้บริการได้ที่ศูนย์บริการมาสด้าทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2564 สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการมาสด้าหรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่มาสด้าสปีดไลน์ 02-030-5666


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

รุกตลาดฮาลาล ! จุรินทร์ จับมือ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เข้มพาณิชย์ 6 มาตรการประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นสินค้าฮาลาล รุกตลาดโลกเพื่อส่งออกเป็นผล

1 เมษายน 2564 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้สนับสนุนโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19นั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งการกระทรวงพาณิชย์โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จัดประชุมหารือร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อหารือรายละเอียดโครงการและแนวทางการดำเนินงานร่วมกันให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป

นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับนโยบายช่วยประชาชนทุกส่วนอย่างทั่วถึง ล่าสุดได้ข้อสรุปที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คือ 

1.)ให้ประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นสินค้าฮาลาลของไทยโดยแบ่งเป็นสองกลุ่มเป้าหมาย คือ องค์กรศาสนาและหน่วยงานของต่างประเทศกับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ 

2.) จัดสัมมนาผู้ประกอบการไทยด้านสินค้าฮาลาลโดยเชิญผู้แทนจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการไทยเกี่ยวกับการเจาะตลาดประเทศมุสลิมอย่างถูกต้อง 

3.) จัดส่วนแสดงสินค้าฮาลาลในงานแสดงสินค้า THAIFEX-Anuga Asia ในงานปีนี้และปีต่อไปโดยเน้นโซนสินค้าฮาลาลในนิทรรศการออกมาให้ชัดเจนมากขึ้นโดยจะใช้พี่น้องมุสลิมเป็นผู้ให้ข้อมูลรายละเอียดสินค้าในส่วนจัดแสดงดังกล่าวเพื่อความน่าเชื่อถือ 

4.) จับคู่ผู้ซื้อ - ผู้ขายเจรจาการค้าสินค้าฮาลาลออนไลน์โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะมีจัดกิจกรรมทั้งประเทศมุสลิมที่เป็นตลาดเป้าหมายและประเทศที่ไม่ใช่แต่มีประชากรมุสลิมเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะให้ทางคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถส่งชื่อสมาชิกและร่วมเชิญผู้ส่งออกเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศจะติดต่อผู้นำเข้ากลุ่มเป้าหมายเจรจาการค้าให้ต่อไป 

5.) สนับสนุนค่าธรรมเนียมในการรับรองฮาลาลของผู้ประกอบการส่งออกสินค้าร้านไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 จะได้มีการประสานข้อมูลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมหลักเกณฑ์และให้การสนับสนุนตามระเบียบต่อไป 

6.) การจัดกิจกรรมเดินทางของคณะผู้บริหารระดับสูงเยือนและเจรจาการค้าต่างประเทศให้มีตัวแทนจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมคณะด้วย

"รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้ความสนใจและใส่ใจนโยบายเป็นอย่างยิ่งจึงให้ติดตามการดูแลประชาชนตามนโยบายให้ครบทุกภาคส่วนและกำชับให้ฝ่ายราชการนั้นใส่ใจกำกับติดตามให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางนโยบาย ดังนั้น ในเรื่องความร่วมมือในการส่งเสริมตลาดสินค้าฮาลาลซึ่งเป็นนโยบายส่งออกสำคัญของกระทรวงพาณิชย์อยู่แล้ว เป็นเป้าหมายการส่งออกที่กำหนดพันธกิจปี 2564 ด้วยหากมีผู้ใดสนใจสามารถประสานงานที่ สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ต่อไป “

“เทมส์” พรรคกล้าภูเก็ต ขอประชาชนเข้ารับวัคซีน ฟื้นท่องเที่ยวภูเก็ต ดัน “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” รับนักท่องเที่ยวไม่ต้องกักตัว ให้เกิดขึ้นได้จริง 1 ก.ค.นี้ เสนอรัฐร่วมมือเอกชนรณรงค์ให้คนเห็นความสำคัญในการฉีดวัคซีน

นายเทมส์ ไกรทัศน์ สมาชิกพรรคกล้า และเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ต กล่าวหลังเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยขอให้ประชาชนมั่นใจและเข้ารับการฉีดวัคซีนช่วยกันทำให้โมเดล “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” นำร่องเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัวเกิดขึ้นได้จริงในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 นี้ แต่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของพี่น้องประชาชน ตามแผนการฉีดวัคซีนที่ภาครัฐตั้งไว้ที่ 100,000 โดสภายในเดือนเมษายนนี้, อีก 300,000 ในเดือนพฤษภาคม, 260,000 โดสในเดือนมิถุนายน และเดือน ก.ค. อีก 260,000 โดส รวมเป็นทั้งสิ้น 920,000 โดส จึงจะมีความมั่นใจมากพอเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้โดยไม่ต้องมีการกักตัว

นายเทมส์ กล่าวว่า ทราบว่าบางพื้นที่ที่ได้รับการกระจายวัคซีน แต่การฉีดวัคซีนได้ไม่ตามเป้า ซึ่งภูเก็ตจะเป็นเช่นนั้นไม่ได้ เพราะภูเก็ตเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากที่สุด รายได้ของภูเก็ตเกือบทั้งหมดขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยว เมื่อรัฐบาลให้โอกาสภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่อง ก็ต้องช่วยกันฟื้นการท่องเที่ยวให้ได้มากที่สุด

ส่วนเช้าวันที่ 3 เมษายนนี้ ที่ภูเก็ตนำร่องเปิดรับเที่ยวบินจากแฟรงก์เฟิร์ต รับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีผลตรวจเป็นลบ กักตัว 7 วัน ท่องเที่ยวในพื้นที่จำกัด นายเทมส์ กล่าวว่า เป็นสัญญาณว่ารัฐบาลเห็นศักยภาพภูเก็ต ซึ่งเป็นเรื่องดีที่ได้เห็นภาคเอกชนอำนวยความสะดวกสถานที่ให้ภาครัฐจัดบริการให้วัคซีนหลายพื้นที่ในจังหวัดภูเก็ต และดียิ่งขึ้นหากหน่วยงานรัฐ บริษัทห้างร้าน กิจการต่างๆ เร่งประชาสัมพันธ์ให้คนในพื้นที่หรือแรงงานในสังกัดเข้ารับวัคซีน เพื่อเศรษฐกิจชาวภูเก็ตจะได้กลับมาฟื้นอีกครั้ง

หอการค้าฯ ประเมินใช้จ่ายสงกรานต์ปีนี้เงียบเหงา

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า ได้สำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 64 กกลุ่มตัวอย่าง 1,256 คนทั่วประเทศ วันที่ 22-29 มีนาคม 2564 พบว่า การใช้จ่ายเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ยังไม่คึกคัก มีมูลค่าการใช้จ่าย 112,867 ล้านบาท แม้เพิ่มขึ้น 63.6% เมื่อเทียบกับปี 63 ที่มีการใช้จ่ายต่ำสุดเพียง 69,005 ล้านบาท เพราะเป็นมาจากการระบาดของโควิด-19 และงดจัดกิจกรรมสงกรานต์ 

“สงกรานต์ปีนี้ ยังไม่คึกคัก เพราะรัฐบาลประกาศงดกิจกรรมสาดน้ำ และประชาชนยังกังวลกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 กังวลกับอุบัติเหตุ และความปลอดภัยในการเดินทาง รวมถึงต้องการประหยัด มีหนี้สินเพิ่มขึ้น และรายได้ลดลง จึงใช้จ่ายน้อย โดยเมื่อเทียบกับปี 62 ลดลงมากถึง 16.9% อัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 56 ที่ขยายตัวสูงสุด 10.42% มูลค่า 114,119 ล้านบาท แต่หันไปวางแผนทำบุญ ทำอาหารอยู่กับบ้าน รดน้ำดำหัวและเยี่ยมญาติผู้ใหญ่มากขึ้น”  

ส่วนการเดินทาง ทั้งท่องเที่ยว และกลับภูมิลำเนา พบว่า เริ่มมีบรรยากาศการเดินทางมากขึ้น โดยผู้ตอบมากถึง 64.7% ตอบมีแผนเดินทาง แต่จะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวระยะสั้น 3-5 วัน เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ในหลายพื้นที่ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายเงิน ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการสนับสนุนจากรัฐบาล ทั้งโครงการเราชนะ ท่องเที่ยวคนละครึ่ง โดยมีมูลค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวเฉลี่ยคนละ 5,1800 บาท

"ชัยวุฒิ" ไหว้สิ่งศักสิทธิ์ ประจำกระทรวงดีอีเอสทำงานอย่างเป็นทางการวันแรก พร้อมมอบ 5 นโยบายผู้บริหารหน่วยงานกระทรวง กำชับ ทำงานให้เห็นผลเป็นรูปธรรม เน้นประโยชน์ถึงประชาชนโดยตรง ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ป้องกันภัยทางโซเชียล

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวภายหลังเข้าสักการะศาลท้าวมหาพรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงดีอีเอส ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) อย่างเป็นทางการ โดยมีคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเข้าร่วม ว่า 

งานที่จะทำก็คงเป็นงานตามนโยบายของกระทรวงดีอีเอสที่ดำเนินการอยู่แล้ว และมีสิ่งที่นายกรัฐมนตรีฝากมาให้ช่วยดำเนินการ ตนเองไม่ใช่นักเทคนิคและไม่ใช่นักกฎหมาย มีหลายสิ่งที่ไม่รู้ และรู้บางสิ่งที่ผู้บริหารอาจจะไม่รู้โดยเฉพาะเรื่องการเมือง จึงขอให้ทุกท่านช่วยกันทำงาน โดยพยายามให้ทุกอย่างลงไปถึงประชาชน เน้นการช่วยกันพัฒนาประเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้แข่งขันได้กับต่างประเทศ และมีสิ่งใดที่จะต้องการผลักดันก็ขอให้ส่งเสริมให้เป็นรูปธรรม ขอให้ทุกคนทำงานให้เต็มที่ ขอให้ทำเพื่อพี่น้องประชาชน และขอให้ทำทุกอย่างให้ถูกกฎหมาย ไม่อยากให้มีการฟ้องร้องหรือเกิดความเสียหายกับรัฐบาล

สำหรับกรอบนโยบายในการขับเคลื่อนเบื้องต้นจะเน้นใน 5 เรื่องคือ

1.) การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างทั่วถึง แพร่หลาย เป็นธรรม ในทุกมิติ 

2.) การส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างแพร่หลาย ขจัดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ ส่งเสริมการพัฒนา e-service ภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนเข้ารับบริการภาครัฐได้โดยสะดวก รวดเร็ว ไม่จำกัดสถานที่ เช่น การร่วมกับสรรพากรในการออกมาตรการทางภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้ผู้ประกอบธุรกิจ, ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการอำนวยความสะดวกด้านใบอนุญาตทำงาน วีซ่า และการพักอาศัยสำหรับ digital talent (Visa and work permit for digital talent), การพัฒนาตลาดนวัตกรรมด้วยบัญชีนวัตกรรมดิจิทัล, การส่งเสริมให้เกิดระบบ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนในการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน (Digital Identification) เป็นต้น 

3.) จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก 5G การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และการสนับสนุนให้ประชาชนทุกพื้นที่ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ใน internet 

4.) การพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเข้าสู่โลกดิจิทัล (Trusted digital ecosystem) โดยเฉพาะเรื่อง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 

5.) การปกป้องคุ้มครองประชาชนจากการใช้ สื่อ social media และ internet ในทางมิชอบ


 

ปิดฉาก “คนละครึ่ง” คนกรุงมือเติบใช้สูงสุดยอดทะลุแสนล้าน

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการคนละครึ่ง ได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา จังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี สมุทรปราการ สงขลา และเชียงใหม่ ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศขยายตัวต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 6 เดือนตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ถึงไตรมาสแรกของปี 2564 ทำให้เกิดการหมุนเวียนของการผลิตและการค้าที่เกี่ยวเนื่อง ส่งให้โครงการคนละครึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง 

ส่วนผลการใช้จ่าย พบว่า มียอดการใช้จ่ายตลอดโครงการ 102,065 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 52,251 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 49,814 ล้านบาท โดยมีผู้ใช้สิทธิทั้งสิ้น 14,793,502 คน จากเป้าหมาย 15 ล้านคน ในจำนวนนี้มีการใช้จ่ายตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป จำนวน 13,653,565 คน หรือประมาณร้อยละ 92 ของผู้ใช้สิทธิทั้งหมด โดยมีคนใช้จ่ายครบ 3,500 บาท จำนวน 7,819,925 คน 

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้ตรวจพบการใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการคนละครึ่ง และได้มีการระงับการใช้แอปพลิเคชันและการจ่ายเงินร้านค้า รวมทั้งจัดส่งข้อมูลร้านค้าและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าวให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) เพื่อใช้ในการสืบสวนสอบสวนและดำเนินการทางกฎหมายแล้วทั้งสิ้น 749 ราย โดยมีการร้องทุกข์กล่าวโทษร้านค้าและประชาชนที่เกี่ยวข้องแล้ว 85 ราย ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการตรวจสอบของ สตช. และ ปอศ.

รถกระบะ 5 ยี่ห้อไหนเด็ดในงานมอเตอร์โชว์ 2021 | BizMAX EP.33

รถยนต์ ถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ในปัจจุบัน ทุกคนอาจจะจำเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการเดินทาง หรือ อาจจะเป็นของสะสมของใครหลาย ๆ คนก็เป็นได้ รถยนต์มีหลากหลายประเภทตามความเหมาะสมของบุคลิก ไลฟ์สไตล์ของคน อย่าง "รถกระบะ" ก็เป็นรถยนต์ประเภทหนึ่งที่ผู้คนใช้ในการบรรทุกของใช้ในการเดินทาง ด้วยความแข็งแรง และ เป็นรถสไตล์ลุย ๆ สามารถทนทุกสภาพท้องถนนได้อย่างดีเยี่ยม ในวันนี้ หยก THE STATES TIMES จะพาทุกท่านไปดู 5 ยี่ห้อรถกระบะสุดแกร่ง จะมีแบบไหนที่โดนใจทุกท่านบ้าง ไปดูกันเลย

.

.


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

นายกฯ ยึดหลัก “ป่าอยู่ได้ คนอยู่ดี” ดันเพิ่มป่า - เพิ่มเศรษฐกิจ จัดสรรที่ทำกินแล้วเกือบ 7 แสนไร่ ป่าชุมชนกว่า 6 ล้านไร่ 

วันที่ 2 เมษายน 2564 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความก้าวหน้าในการดูแลประชาชนให้มีพื้นที่ทำกินและยกระดับความเป็นอยู่ว่า ภายใต้การบริหารราชการของ พล.อ.ประยุทธ์ จัทน์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้เดินหน้าการพัฒนาที่ดินเพื่อประชาชนมีที่อยู่อาศัยและที่ทำกินอย่างมั่นคง อีกทั้งมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่า โดยยึดหลัก “ป่าอยู่ได้ คนอยู่ดี” ซึ่งรัฐบางได้ริเริ่มนโยบายใหม่ที่ครอบคลุมหลายมิติ ดังเห็นได้จาก การแก้ไขกฎหมาย พระราชบัญญัติป่าชุมชน ช่วยไม่ให้ชาวบ้านที่เก็บของป่ามาขายต้องถูกจับเหมือนในอดีต และให้อำนาจชาวบ้านในชุมชนในการตัดสินใจดูแลและใช้ประโยชน์จากป่าไม้ของชุมชนตัวเอง ณ ปัจจุบัน มีการประกาศจัดตั้งป่าชุมชนไปแล้ว 11,327 ป่าชุมชน พื้นที่ 6.29 ล้านไร่ และมีแผนการจัดตั้งป่าชุมชนใหม่ในปี 2564 อีก 300 ป่าชุมชน 

มากไปกว่านั้น รัฐบาลยังได้ ปลดล็อก พระราชบัญญัติป่าไม้ อนุญาตให้ประชาชนปลูกไม้หวงห้าม 158 ชนิดในพื้นที่ของตัวเอง โดยไม่ถือเป็นไม้หวงห้ามอีกต่อไป ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลยังได้เปิดให้ลงทะเบียน “ปลูกไม้มีค่า” กับกรมป่าไม้ ถ้าปลูกในที่ดินของตัวเอง มีเอกสารสิทธิถูกต้อง ก็สามารถทำไม้ ตัด แปรรูป ส่งออก หรืออื่น ๆ ได้ แต่ถ้าขึ้นอยู่ในป่า ยังถือเป็น “ไม้หวงห้าม” ปัจจุบันนี้ประชาชนปลูกไม้มีค่าและลงทะเบียนกับกรมป่าไม้แล้ว 7 หมื่นกว่าราย เนื้อที่รวม ล้านกว่าไร่ โดยมีโครงการคู่ขนานไปด้วย คือ ประชาชนสามารถนำไม้มีค่า ที่กำหนดไว้ 58 ชนิด (เช่น สัก ประดู่ พะยูง เต็ง มะค่าโมง เป็นต้น) ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรได้อีกด้วย

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรีต้องการให้ประชาชนมี่ที่อยู่อาศัยและที่ทำกินอย่างมั่นคง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น กลไกภาครัฐจึงต้องขับเคลื่อนในทิศทางที่ส่งเสริมโอกาสแก่ประชาชน ลดความขัดแย้ง ไม่ขัดกฎหมาย แนวคิด “ป่าอยู่ได้ คนอยู่ดี” จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐและประชาชน ทั้งนี้ แม้จะพบปัญหาเรื่องการใช้ที่ดินซ้ำซ้อนอยู่ในบางพื้นที่ ในภาพรวมของการดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้ชุมชนให้สามารถอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ / ป่าชายเลน / ที่สปก. / ที่ราชพัสดุ / ที่สาธารณะประโยชน์ นับตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน จัดสรรให้แล้ว 60,419 ราย 74,612 แปลง คิดเป็นพื้นที่ 665,000 ไร่ และไม่ใช่เพียงแค่นั้น รัฐบาลยังได้ดำเนินการอย่างบูรณาการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงน้ำ ไฟฟ้า และถนน รวมถึงส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่เหมาะสม เช่น การปลูกต้นไม้ในพื้นที่เป็นอาชีพเสริม เพื่อชุมชนมีรายได้เพี่มจากโครงการคาร์บอนเครดิตอีกด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top