Friday, 16 May 2025
Econbiz

โละขายยกล็อต!!!! ‘การเคหะฯ’ ชง ‘ครม.’ เคาะขาย ‘บ้านเอื้ออาทร’ ยกล็อต หาเงินล้างหนี้เฉียด 2 หมื่นล้าน หลังแบกมานานกว่า 15 ปี 

โละขายบ้านเอื้ออาทร ยกล็อต หาเงินล้างหนี้ ‘15 ปี’ เกือบ 2 หมื่นล. เคหะขอครม.อนุมัติ

เมื่อวันที่ (6 มี.ค.66) ที่ผ่านมา นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมาว่า กคช.มีแผนจะนำโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ยังคงเหลือ 18,000-19,000 ยูนิต เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ขายยกล็อตให้กับเอกชนและหน่วยงานรัฐที่สนใจในราคายูนิตละ 400,000 แสนบาท รวมเป็นเงินประมาณ 7,600 ล้านบาท เพื่อปิดฉากบ้านเอื้ออาทรหลังกคช.ต้องแบกรับภาระหนี้เงินกู้มากว่า 15 ปี โดยวันที่ 9 มีนาคมจะเสนอเรื่องให้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กคช.พิจารณาอนุมัติ หากได้รับการเห็นชอบจะเสนอครม.อนุมัติวันที่ 14 มีนาคมนี้ เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้เงินกู้โครงการบ้านเอื้ออาทรยังมีอยู่ประมาณ 19,000 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนพฤษภาคมนี้ประมาณ 2,000 ล้านบาทและในเดือสิงหาคมอีก 2,000 ล้านบาท

“หากไม่มีเอกชนหรือส่วนราชการสนใจ กคช.จะให้บริษัทเคหะสุขประชา จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทลูกของ กคช.ใช้สิทธิเข้าไปซื้อยกล็อต เพื่อนำมาปรับปรุงใหม่ให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเช่า 1,500 บาทต่อเดือนและซื้อในราคาถูก ในราคาประมาณ 400,000-450,000 บาทต่อยูนิต หากเสนอโครงการเข้าครม. ไม่ทันรัฐบาลชุดนี้ ต้องเสนอรัฐบาลชุดใหม่อนุมัติต่อไป กคช.ต้องหาเงินก้อนมาชำระหนี้ และต้องกู้เงินเพิ่ม”นายทวีพงษ์ กล่าว

หนี้สร้างอนาคต!! 'อัษฎางค์' กางตัวเลข หนี้สาธารณะไทย 10.5 ล้านล้านบาท 80% คือ เงินลงทุน สร้างผลตอบแทนต่อชาติในระยะยาว

(9 มี.ค.66) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับความจริงเรื่อง 'หนี้สาธารณะของไทย' ระบุว่า...

หนี้สาธารณะของไทยเราเพิ่มขึ้น 10.5 ล้านล้านบาทนั้น ความจริง 80% คือ เงินที่นำมาใช้ในการลงทุน ซึ่งเป็นหนี้ที่ให้ผลตอบแทน ทั้งระบบคมนาคมขนส่งและชดเชยงบประมาณขาดดุล

ที่สำคัญคือ ครึ่งหนึ่งของยอด 10.5 ล้านล้านบาทนั้นเป็นหนี้ที่เกิดมาตั้งแต่ปี 40 ซึ่งเป็นหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและในเวลาต่อมาก็คือ หนี้จากโครงการจำนำข้าว 

ปีนั้นใครเป็นรัฐบาลและใครเป็นคนสร้างหนี้นี้เอาไว้ ถ้าไม่ใช่พี่น้องตระกูลชาชิน แล้วใครเป็นคนเข้ามาแก้ไข ทำให้เศรษฐกิจไทยเงยหัวขึ้นและกำลังเนื้อหอมในหมู่นักลงทุนต่างชาติ ถ้าไม่ใช่ลุงๆ

เติบโตต่อเนื่อง!! ‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! อัญมณี-เครื่องประดับไทย ส่งออกพุ่งเกือบ 50% จ่อดัน ภาคอุตสาหกรรมฯ คาด ปี 66 โตเพิ่มอีก 10 - 15%

(9 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานจาก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถึงมูลค่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย ปี 2565 ชื่นชมเป็นอีกอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการเติบโตที่สูง มีตัวเลขการส่งออกเป็นอันดับที่ 3 ของไทย โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2566 การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย จะสามารถเติบโตได้อีกถึง 10 - 15%

นายอนุชา กล่าวว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย เป็นอุตสาหกรรมที่มียอดการส่งออกสูงสุด เป็นอันดับที่ 3 ของไทย โดยจากสถิติช่วงเดือน มกราคม-ธันวาคม 2565 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ มีมูลค่าการส่งออกถึง 15,057.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการขยายตัวกว่า 49.82% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ซึ่งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ, เครื่องประดับทอง, เพชรเจียระไน, เครื่องประดับเงิน, พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน โดยมีตลาดการส่งออกที่สำคัญ (ไม่รวมการส่งออกทองคำ) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, อินเดีย, ฮ่องกง, เยอรมนี, สหราชอาณาจักร, สิงคโปร์, สวิตเซอร์แลนด์, เบลเยียม, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และญี่ปุ่น ตามลำดับ

นายอนุชา กล่าวว่า มูลค่าตลาดการส่งออกของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมส่งออกทองคำ) ทุกตลาดมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแตกต่างกันไป โดยจุดเด่นของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย อยู่ที่การออกแบบลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นงานฝีมือที่ต้องอาศัยความปราณีต ในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างมาก

นอกจากนี้ จากข้อมูลในปี 2565 ได้มีผู้ประกอบการด้านอัญมณีและเครื่องประดับไทย เป็นจำนวนกว่า 12,892 ราย เพิ่มขึ้นกว่า 2.41% ซึ่งแสดงถึงการเติบโต ของภาคอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ

‘อลงกรณ์’ ชู 8 ลมใต้ปีก สร้างโอกาสการค้าของไทย ดึงเม็ดเงินอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง กว่า 10 ล้านลบ.

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวในโอกาสบรรยายพิเศษในหัวข้อ 'ศักยภาพและโอกาสการค้าการลงทุนของไทยในจีน-ตะวันออกกลางและอาเซียน' ในงานสัมมนาธุรกิจ & Business Talk ณ ห้องอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น ชั้น 4 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพ วันนี้ ว่า ปลายปี 2565 ไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุม APEC ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและมีผลต่อเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างมากรวมถึงการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย ในรอบ 30 ปี ถือเป็น”ลมส่งท้ายถึง ปีนี้จะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติของไทย ทางด้านการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวของไทยเริ่มต้นปีด้วยข่าวดีเมื่อจีนเริ่มผ่อนคลายนโยบายการควบคุมโควิดและเปิดประเทศในเดือนมกราคม

ทั้งนี้ภาคการเกษตรของไทยถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดแนวทางนโยบายขับเคลื่อนภาคเกษตรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทย ภายใต้วิสัยทัศน์เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในประเทศ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรม องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทยโดยศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ทั้ง 77 จังหวัด และศูนย์ความเป็นเลิศ AIC 23 ศูนย์ ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของการยกระดับอัพเกรดการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 และยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตบนความร่วมมือระหว่าง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ

สำหรับโอกาสการค้าการลงทุน ของไทยในจีน-ตะวันออกกลาง และอาเซียน ประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพสูงโดยใช้จุดแข็งของไทยที่ขอเรียกว่า '8 ลมใต้ปีก' จะช่วยผลักดันโอกาสของไทยและหุ้นส่วนเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้สำเร็จ ได้แก่

1.) การฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุดิอาระเบีย 
สร้างระเบียงเศรษฐกิจใหม่(New Economic Corridor)ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียและอาเซียนและตะวันออกกลาง

2.) รถไฟลาว-จีน เชื่อมไทย เชื่อมโลก 
การพัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมการขนส่งการค้า และการลงทุนของไทยไปยังตลาดทุกมณฑลในจีน อาเซียนตะวันออกกลาง เอเซียกลาง ยุโรป และอังกฤษเพราะการขนส่งสินค้าจะเร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง โดยเฉพาะอีสานเกตเวย์ และท่าเรือหวุ่งอ๋าง 

3.) 'ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค' (RCEP) 
เขตการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าไทยเหลือศูนย์ทันทีเกือบ 30,000 รายการ ใน 14 ประเทศที่ร่วมเป็น FTA Partner ของ RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยมีสมาชิก 15 ประเทศรวมทั้งจีน และประเทศอาเซียนซึ่งรองนายกฯ.จุรินทร์เป็นประธานการประชุมตั้งแต่ต้นจนบรรลุข้อตกลงRCEP

4.) มินิ-เอฟทีเอ ( Mini-FTA)
เป็นกลยุทธ์ใหม่เพิ่มโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนเปิดตลาดเมืองรองในประเทศต่างๆปูทางสร้างโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยรัฐมนตรีพาณิชย์เดินหน้าเชื่อมสัมพันธ์กับเมืองต่างๆในหลายประเทศเช่น ไห่หนาน กานซู และเสิ่นเจิ้นของจีน เมืองโคฟุของญี่ปุ่น เมืองเตลังกานาของอินเดีย และปูซานของเกาหลีใต้ เป็นต้น

5.) FTAและการเปิดเจรจา FTA รอบใหม่ 
ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วถึง 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ทำให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นจุดหมายการลงทุนและการค้า รวมทั้งการเปิดเจรจาFTAกับสหภาพยุโรป อังกฤษ EFTAและUAE

6.) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
เป็นอีกปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าการลงทุนในการสร้างศักยภาพเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น  โครงการรถไฟสี่รางทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการทางหลวงระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)

7.) ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่ช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรง (FDI) จากต่างประเทศ ล่าสุดทางการตั้งเป้าหมายลงทุนใน EEC ระยะที่ 2 ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะแรกที่ตั้งเป้าไว้ 1.7 ล้านล้านบาท (2561-2564) 

8.) ฐานการค้าการลงทุนใหม่ 18 กลุ่มจังหวัด
กระทรวงเกษตรฯ.และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมมือกันเดินหน้าโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารเพื่อกระจายการลงทุนกระจายฐานเศรษฐกิจใน18กลุ่มจังหวัดครอบคลุม77 จังหวัดจะมีนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างประเทศจากจีน อาเซียน ตะวันออกกลางและอีกหลายประเทศมาร่วมลงทุนในโครงการนี้เช่น นิคมอุตสาหกรรมเมืองอุดรฯ.ในกลุ่มอีสานตอนบน และโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์ในกลุ่มภาคกลางตอนล่าง ปัจจุบันโลกกำบังเผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารและราคาอาการแพง

อยากเป็นเถ้าแก่ต้องรู้!! 5 กลยุทธ์พื้นฐาน คว้าโอกาสทางธุรกิจ

1.การแข่งขันด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
2.การแข่งขันด้วยความแตกต่าง
3.การแข่งขันด้วยต้นทุนและตลาดเป้าหมายจะแคบลง
4.การแข่งขันที่มุ่งเน้นคุณค่าให้ลูกค้าเหนื่อกว่าคู่แข่ง
5.การแข่งขันด้วยต้นทุนผสมกับความแตกต่าง


ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 

9 ขั้นตอนธุรกิจสตาร์ทอัพ ปั้นสินค้าออกสู่ตลาด

>> PRELAUNCH เตรียมพร้อมก่อนนำสินค้าออกสู่ตลาด
-ตั้งเป้าหมายที่ถูกต้อง
-ทำความเข้าใจลูกค้าและึุณค่าของสินค้า
-เริ่มต้นในตลาดที่เหมาะสม
.
>> PRODUCT LAUNCH STRATEGY กลยุทธ์การนำสินค้าออกสู่ตลาด
-ใช้เครื่องมือและช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
-สื่อสารถึงลูกค้าด้วย STORYTELLING
-ทำให้กลุ่มเป้าหมานสนใจทดลองสินค้า
.
>> AFTER LAUNCH PRODUCT WITH GROWTH MARKETING เร่งการเติบโตด้วยตลาด
-เก็บ FEEDBACK เพื่อนำมาปรับปรุง
- สินค้าเริ่มตอบโจทย์ตลาด วัดจาก ORGANIC GROWTH 
-เร่งการเติบโตด้วย GROWTH MARKETING


ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 

คนมีรายรับต้องรู้!! ลดหย่อนภาษีปี 2565 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง? มีเงื่อนไข่อย่างไร?

คนมีรายรับต้องรู้!!  ลดหย่อนภาษีปี 2565 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง? มีเงื่อนไขอย่างไร?

SMEs โตอย่าง ‘ยั่งยืน’ ได้จริง ง่ายๆ ด้วยหลัก ABC

A = Act
to Reduce Harm
เริ่มที่ไม่สร้างผลกระทบทางลบกับใคร เริ่มง่ายๆ กับพนักงาน

B = Benefit
to Stakeholder
ตามด้วยหาทางสร้างสิ่งดีๆ ให้กับลูกค้า คู่ค้า และทุกคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

C = Contribute
Solution
ขยายผลด้วยการลงมือทำอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่งมอบสู่คนรุ่นต่อไป

ที่มา: ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

8 เทรนด์คว้าโอกาสธุรกิจบนโลกยุคใหม่


- Global Knowledge Society โลกแห่งการเรียนรู้และโอกาสใหม่ๆ
- Digital Age โอกาสเกิดขึ้นทุกที่ทุกเวลา
- Connectivity เชื่อมต่อถึงกันง่ายขึ้น
- Urbanization สังคมเมืองขยายตัว โอกาสยิ่งเติบโต
- New Generation โอกาสจากคนรุ่นใหม่
- Womenomics ผู้หญิงเปี่ยมด้วยพลังและโอกาส
- Aging Society คนวัยเก๋าคือโอกาสและอนาคต
- World Friendly รักษ์โลกสร้างโอกาส

ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

อยากเป็น SMEs สีเขียว เริ่มต้นจากการ ‘ทิ้ง’ How to ทิ้ง? .. แค่แยก = ลด

-ขยะย่อยสลายได้
นำไปผลิตเป็นพลังงาน

-ขยะรีไซเคิล
นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง

-ขยะอันตราย
นำไปกำจัดให้ถูกวิธี เพื่อไม่ให้รั่วซึมลงแหล่งน้ำหรือชั้นผิวดิน

-ขยะทั่วไป
นำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ตามความเหมาะสมของแต่ละชุมชน

SMEs ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีได้โดยไม่ต้องลงทุน เริ่มต้นที่การแยกขยะในสำนักงาน และสำหรับสถานประกอบการ ขยะรีไซเคิลอาจไม่ใช่ขยะอีกต่อไป หลายกิจการมีรายได้จากการรีไซเคิลสิ่งที่เคยเห็นว่าเป็นขยะ

#THESTATESTIMES
#EconBiz
#GoodsVoice 
#NewsFeed
#ทำธุรกิจ
#ธุรกิจ
#ธุรกิจยุคใหม่
#แยกขยะ
#ขยะ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top