Sunday, 18 May 2025
Econbiz

'อลงกรณ์' ชงฟรุ้ทบอร์ดเห็นชอบโครงการจัดตั้ง มหานครผลไม้ (Fruit Metropolis) และ กองทุนผลไม้แห่งชาติ เพื่อยกระดับจันทบุรีและภาคตะวันออกเป็นฮับผลไม้โลก

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานศึกษาโครงการมหานครผลไม้ และการขนส่งผลไม้ผ่านสนามบินจันทบุรี เปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานการประชุม คณะทำงานศึกษาโครงการมหานครผลไม้ และการขนส่งผลไม้ผ่านสนามบินจันทบุรี ว่า คณะทำงานฯ.จะเสนอฟรุ้ทบอร์ด (Fruit Board) พิจารณาเห็นชอบพิมพ์เขียวแนวทางการพัฒนาโครงการจัดตั้งมหานครผลไม้ (Fruit Metropolis Blueprint) และหลักการแห่งร่างกฎหมายกองทุนผลไม้แห่งชาติ (National Fruit Fund)รวมทั้งแนวทางการพัฒนาสนามบินจันทบุรีในการประชุมฟรุ้ทบอร์ดครั้งต่อไปคาดว่าเป็นปลายเดือนหน้าหรือต้นเดือนมกราคมเพื่อยกระดับจันทบุรี ภาคตะวันออกเป็นฮับผลไม้โลกในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำการผลิตและส่งออกผลไม้และผลิตภัณฑ์ผลไม้ของโลกโดยปีที่ผ่านมาสามารถส่งออกสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 2 แสนล้านบาท 

โครงการมหานครผลไม้มุ่งต่อยอดการพัฒนาจากฐานศักยภาพปัจจุบันของจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราดและจังหวัดอื่นๆในภาคตะวันออกเชื่อมโยงกับศักยภาพของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก(Eastern Economic Corridor)โดยจะจัดตั้งบนพื้นที่ของรัฐในอำเภอนายายอามและอำเภอท่าใหม่ของจังหวัดจันทบุรีพร้อมกับการพัฒนาสนามบินจันทบุรีเป็นสนามบินพาณิชย์
โดยโครงการมหานครผลไม้ประกอบไปด้วยการแบ่งโซนพื้นที่และองค์ประกอบสำคัญเช่น
1.ศูนย์บริหารจัดการผลไม้ครบวงจร 
2.ศูนย์ธุรกิจ แสดงสินค้าและการประชุม
3. ศูนย์การค้าอีคอมเมิร์ซและการประมูลออนไลน์
4.ศูนย์แปรรูปผลไม้
5.ศูนย์โลจิสติกส์ การขนส่งและคลังสินค้า
6.ศูนย์รวบรวมคัดแยกและบรรจุผลไม้สด
7. ศูนย์ห้องเย็น(Cold Chain Center)
8.ศูนย์ปฎิบัติการแล็ปกลาง
9.ศูนย์ตรวจรับรองคุณภาพผลไม้
10.ศูนย์วิจัยและพัฒนาโดยสถาบันผลไม้(Fruit Academy)จัดตั้งภายใต้ระบบAIC(ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม-Agritech and Innovation Center)

นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า การบริหารจัดการจะใช้รูปแบบPPPและการลงทุนของภาคเอกชนเป็นหลักเน้นการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เกษตรมูลค่าสูงโดย ต่อยอดและเชื่อมโยงเสริมศักยภาพปัจจุบันของตลาดผลไม้และระบบการค้าการส่งออกที่มีอยู่เดิมเพิ่มในส่วนที่ขาดมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางผลไม้ของโลก รวมทั้งการสร้างแพลตฟอร์มเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการและภาคเกษตรกรชาวสวนผลไม้ภายในประเทศและต่างประเทศที่เป็นตลาดสำคัญเช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ฮ่องกง อาเซียน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ดูไบ ซาอุดีอาระเบีย เนเธอร์แลนด์และอียู ฯลฯ ในรูปแบบคล้ายคลึง FKIIของญี่ปุ่นและโมเดลFood Valleyของเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ในฐานะประธานกรกอ.จะนำโครงการมหานครผลไม้เข้าสู่การพิจารณาของการประชุมคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)ครั้งหน้าเพื่อเชิญชวนผู้ประกอบการโรงงานกลุ่มคลัสเตอร์แปรรูปผลไม้และเวชสำอางค์ที่สนใจมาลงทุน

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าในการพัฒนาและปรับปรุงสนามบินท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และเห็นว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นสนามบินพาณิชย์เพื่อการขนส่ง การค้าและการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดนอกเขตอีอีซี.โดยช่วงแรกจะใช้สนามบินอู่ตะเภา สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิและสนามบินจังหวัดตราดไปพลางก่อนโดยจะมีหนังสือขอการสนับสนุนจากกระทรวงคมนาคมรวมทั้งการขยายระบบรางมายังโครงการมหานครผลไม้ด้วย

ทูตอังกฤษ เชิญ ‘กรณ์’ ถก Gov Tech ชี้!! แนวคิดชาติพัฒนากล้ามาถูกทาง

(2 ธ.ค. 65) นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวว่า วานนี้ (1 ธันวาคม 2565) ตนและทีมพรรคชาติพัฒนากล้า ประกอบด้วยนายวรนัยน์ วาณิชกะ ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค, นายเทมส์ ไกรทัศน์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ภูเก็ต, นายธาม สมุทรานนท์ ว่าที่ผู้สมัครกรุงเทพฯ และนางสาวณัฏฐิมา วิชญภิญโญ กรรมการนโยบายพรรค ได้รับเชิญให้ร่วมรับประทานอาหารเที่ยงกับ H.E.Mr.Mark Gooding เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย และคณะ 

“เราได้คุยกันหลายเรื่อง โดยเรื่องที่เราแลกเปลี่ยนกันเป็นหลักก็ไม่พ้นเรื่อง เศรษฐกิจ, สิ่งแวดล้อม และ เทคโนโลยี ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนี้คล้ายจะคนละประเด็น แต่แท้จริงแล้วเกี่ยวพันกันอย่างมาก ขาดเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ ไม่สมดุลก็ไม่ได้ ดังนั้นนโยบายเศรษฐกิจสำหรับวันนี้ต้องคิดให้ครบมิติ”

นายกรณ์ กล่าวอีกว่า “เราได้พูดถึงประเด็นการสร้างความเปลี่ยนแปลงของประเทศ ที่ปัจจัยสำคัญในวันนี้คือเรื่อง ‘เทคโนโลยี’ โดยเฉพาะ Gov Tech หรือ Digital Government ที่อังกฤษทำมาหลายปีจนสำเร็จ มีการทรานสฟอร์ม ให้บริการประชาชนบนดิจิทัลแพลตฟอร์มสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยเริ่มจากการรวบทุกเว็บไซต์ของทุกหน่วยงานรัฐมาไว้ที่เว็บเดียวคือ gov.uk

ปตท. มอบรางวัล การประกวดการพัฒนา - รณรงค์ใช้ ‘หญ้าแฝก’ เพื่อเป็นแบบอย่างการอนุรักษ์ดิน-น้ำอย่างยั่งยืน

ปตท. จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2563 - 2565

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 12 (ประจำปี 2563 - 2565) ภายใต้แนวคิด ‘รักษ์น้ำ ป่า ดิน ด้วยแฝกองค์ภูมินทร์ ฟื้นถิ่น ยั่งยืน’ ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรร่วมจัด ได้แก่ มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) กรมพัฒนาที่ดิน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อส่งเสริมการขยายผลการปลูกหญ้าแฝกให้เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างยั่งยืน

การจัดการประกวดครั้งนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานโล่รางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการประกวด ส่วนผู้ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศและรางวัลชมเชยได้รับโล่พร้อมรับเกียรติบัตรจากองค์กรร่วมจัด โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 58 ผลงาน ซึ่งแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภทผลงาน คือ

'เจ้าสัวซีพี' การันตี ปีหน้าโอกาสดีเศรษฐกิจไทย อยู่ที่รัฐบาลจะคว้าไว้ได้มากน้อยแค่ไหน

‘เจ้าสัวธนินท์’ ลั่น เศรษฐกิจไทยปีหน้า ดีกว่าปีนี้แน่ แต่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล พร้อมเผยสเปกผู้นำที่จะพาชาติไปข้างหน้าได้ ต้องเป็นคนกล้า กล้าทำ กล้าตัดสินใจ

ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้กล่าวเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ว่า เศรษฐกิจไทยปีหน้า ดีกว่าปีนี้แน่นอน โควิดได้กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่จะดีแค่ไหน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ที่จะหาโอกาสในการดึงดูดทั่วโลกเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

หลังจากนี้ทุกอย่างจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว เพราะอย่างน้อยสถานีรถไฟ สนามบิน ท่าเรือต่าง ๆ ไม่ได้ถูกทำลายเหมือนสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ทั่วโลกประสบกับปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการเมือง น้ำท่วม อากาศ แต่กลายเป็นว่า เป็นประโยชน์กับประเทศไทย เพราะทั่วโลกหันกลับมามองอาเซียน และไทย ที่เป็นศูนย์กลาง

“โอกาสมาแล้ว แต่ก็อยู่ที่รัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นชุดเดิมหรือชุดใหม่ว่าจะช่วยทำอย่างไร ให้คว้าโอกาสตรงนี้ไว้ได้ ออกเงื่อนไขต่าง ๆ ดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุน” ธนินท์ กล่าว

ก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลได้มีการออกเงื่อนไขดึงดูดต่างชาติให้เข้ามาลงทุน โดยอนุญาตให้ซื้อที่ดินในประเทศไทยได้นั้น ประธานอาวุโส CP มองว่า เป็นการสร้างประโยชน์เพราะต่างชาติเอาเงินมาลงทุน ซึ่งดีกว่าการท่องเที่ยวที่มาแล้วกลับ ซึ่งเป็นการเดินทางระยะสั้น แต่นี่เป็นการมาลงทุน มาสร้างงาน สร้างเงิน เพราะอย่างไรก็ตามเขาซื้อแล้วก็นำกลับบ้านเขาไปไม่ได้ เพราะซื้อที่ดินซื้อบ้านปักหลักอาศัย

นอกจากนี้ยังควรที่จะดึงดูดกลุ่มสตาร์ตอัปจากทั่วโลกให้เข้ามาอยู่ที่ประเทศไทยด้วย โดยมองว่ารัฐบาลควรที่จะปลดล็อก ผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ ให้เข้ามาง่ายขึ้น เพราะจะทำให้ประเทศไทยมีคนเก่งจากทั่วโลกมาอาศัยอยู่ มาใช้ชีวิตในเมืองไทย พร้อมทั้งสร้างงาน สร้างผลกำไรให้กับประเทศไทย ซึ่งการเข้ามานั้นไม่ได้เป็นการแย่งงานคนไทย เพราะงานต่าง ๆ เหล่านี้ประเทศไทยยังขาดคนที่เข้ามาช่วยทำด้วย อีกทั้งยังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอีก แต่ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล

‘ฟรุ้ทบอร์ด’ แจ้ง ‘รถไฟจีน-ลาว’ ขนลำไยไทย 20 ตู้ ผ่านด่านรถไฟโมฮ่านสำเร็จเป็นขบวนปฐมฤกษ์

ข่าวดีประเทศไทย!! ‘ฟรุ้ทบอร์ด’ แจ้งรถไฟจีน-ลาวขนลำไยไทยล็อตแรก 20 ตู้ผ่านด่านรถไฟโมฮ่านสำเร็จเป็นขบวนปฐมฤกษ์

(2 ธ.ค. 65) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) เปิดเผยเกี่ยวกับความคืบหน้าการเปิดบริการด่านรถไฟโมฮ่าน เพื่อขนส่งผลไม้ไทยด้วยขบวนรถไฟจีน-ลาว ว่า วันนี้รถไฟจีน-ลาวขนลำไยไทยล็อตแรก 20 ตู้ผ่านด่านรถไฟโมฮ่านสำเร็จเป็นปฐมฤกษ์วันนี้

ซาอุฯ ทุ่มลงทุนไทย 3 แสนล้านบาทปีหน้า เจาะ 'ท่องเที่ยว-เมดิคัลแคร์-น้ำมัน-ปิโตรเคมี'

ซาอุดีอาระเบีย ระดมลงทุนในไทย ทุ่มปีเดียว 3 แสนล้านบาท เจาะธุรกิจท่องเที่ยว เมดิคัล แคร์ น้ำมัน และปิโตรเคมี พร้อมมั่นใจนโยบายสร้างไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์อีวีในภูมิภาคอาเซียนสำเร็จแน่นอน

นายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.หรืออีอีซี) เผยผลการหารือร่วมกับทางรัฐบาลและภาคเอกชนของซาอุดีอาระเบีย ว่าในปี 2566 ปีเดียว จะมีการลงทุนขนานใหญ่จากซาอุดีอาระเบียมายังประเทศไทยสูงถึง 300,000 ล้านบาท โดยแจ้งว่า มีความประสงค์จะลงทุนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมเมดิคัล แคร์ อุตสาหกรรมน้ำมัน และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายส่วนใหญ่ของซาอุดีอาระเบียอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

ก่อนหน้านี้อีอีซีเคยเสนอว่าจะช่วยดึงการลงทุนของประเทศ จากเป้าหมายที่ควรมีการลงทุนปีละ 600,000 ล้านบาท ทางอีอีซีจะช่วยให้มีการลงทุนในพื้นที่ให้ได้ 400,000 ล้านบาท ซึ่งในปี 2566 ไม่ต้องกังวลแล้วเพราะซาอุดีอาระเบียประเทศเดียวก็ลงทุน 300,000 ล้านบาทแล้ว และส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อีอีซี อย่างไรก็ตาม ทางซาอุดีอาระเบียแจ้งขอให้ธุรกิจของไทยไปลงทุนที่ประเทศซาอุดีอาระเบียบ้าง โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัย

อีกทั้งตอนนี้เราสามารถมั่นใจได้แล้วว่าไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างแน่นอน เห็นได้จากการที่ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ได้เลือกไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์สันดาปหรือรถยนต์ใช้น้ำมันอยู่แล้วปีละ 2 ล้านคัน ไทยจึงเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และมีบุคลากรด้านยานยนต์พร้อม ทำให้ประเทศไทยสามารถปรับตัวมาเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้เร็วที่สุด จนคนเกิดความสนใจกันทั่วประเทศ

‘Air Canada’ บินตรง ‘แวนคูเวอร์ - สุวรรณภูมิ’ ด้าน ‘ททท.’ ต้อนรับอย่างอบอุ่น - คึกคัก

(3 พ.ย. 65) นายศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ เที่ยวบิน AC065 ถือเป็นเที่ยวบินปฐมฤกษ์ของสายการบิน Air Canada ในเส้นทางบินตรงจากเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ถึงกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ซึ่งเที่ยวบินตรงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อการพลิกฟื้นความสำเร็จด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว (Ease of Travelling) จากภูมิภาคอเมริกาเหนือ 

ทำให้เห็นว่าการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยสะดวกและง่ายกว่าที่เคย โดยเส้นทางบินดังกล่าวเป็นการขยายเส้นทางบินระหว่างประเทศ เปิดเส้นทางบินตรงจากทวีปอเมริกาเหนือสู่ประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นครั้งแรก ซึ่งจะให้บริการ 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ด้วยเครื่องบินแบบโบอิ้ง 787 ความจุโดยสาร 298 ที่นั่งต่อเที่ยวบิน ออกเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และอาทิตย์ 

โชว์ผลงานมือปราบทุเรียนอ่อน!! 3 ปี ‘ชลธี’ จับทุเรียนอ่อนได้เพียงพันกว่าลูก แต่ไม่เคยจับทุเรียนสวมสิทธิ์แม้แต่รายเดียว

กรณีปรากฎข่าวครึกโครมเรื่องการโยกย้ายนายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสวพ.6 กรมวิชาการ เจ้าของฉายามือปราบทุเรียนอ่อนว่าเป็นการโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมและจะเกิดผลกระทบต่อการปราบปรามทุเรียนอ่อนทุเรียนสวมสิทธิ์นั้น 

วันนี้มีรายงานข่าวจากกรมวิชาการเป็นรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ของนายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสวพ.6 กรมวิชาการเกษตรและหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยในรายงานสรุปว่า นายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสวพ.6 ไม่ปรากฏผลงานด้านการจับกุมดำเนินคดีทุเรียนสวมสิทธิ์ระหว่างปี 2563-2565 และไม่ปรากฏผลงานด้านการจับกุมดำเนินคดีทุเรียนอ่อนระหว่างปี 2563-2564 มีผลงานเพียงจับกุมดำเนินคดีทุเรียนอ่อนในปี 2565 จำนวน 3 คดี โดยอายัตของกลางเพียง 1,694 ลูกเท่านั้นหรือ 5 ตันเศษจากปริมาณการส่งออกระหว่าง 1 ก.พ. - 5 มิ.ย. 2565 มีปริมาณ 433,809.92 ตัน

ทั้งนี้เป็นรายงานและตารางแสดงผลการปฏิบัติราชการป้องกันและปราบปรามทุเรียนสวมสิทธิ์และทุเรียนอ่อนระหว่างปี 2563-2565 ของหน่วยงานสำคัญ 3 หน่วย ได้แก่ สวพ.6 ด่านตรวจโรคพืชจันทบุรีและด่านศุลกากรจันทบุรีซึ่งปรากฏรายงานดังนี้

“…รายงานการจับกุมดำเนินคดีทุเรียนสวมสิทธิ์และทุเรียนอ่อนในพื้นที่ภาคตะวันออก

1. ทุเรียน สวมสิทธิ์   
ปี 2563 ด่านตรวจพืชจันทบุรีจัมกุมร่วมกับด่านศุลกากรจันทบุรีดำเนินคดีศุลกากร (จับที่หน้าด่านนำเข้า)
ปี 2564 ด่านตรวจพืชจันทบุรีจับกุมส่งดำเนินคดีที่โรงพักสภอ.เมืองจันทบุรี (จับที่โรงคัดบรรจุ)
ปี 2565 ลงบันทึกประจำวันไว้ที่ สภอ.ท่าใหม่ รวม 3 ครั้ง 
หมายเหตุ ; ระหว่างปี 2563-2565 
ไม่มีคดีของสวพ. 6

2. ทุเรียนอ่อน 
ปี 2565 ดำเนินคดี 3 คดี อายัดทุเรียน 1,694 ลูก น้ำหนักรวม 5,306 กก ดำเนินการ โดยสวพ. 6
หมายเหตุ : 
1. ระหว่าง ปี 2563-2564 ไม่มีคดีทุเรียนอ่อนดำเนินการโดยสวพ.6
2. สวพ.6 มีหน้าที่ตรวจสอบทุเรียนอ่อนโดยตรงหน่วยเดียวและตรวจทุเรียนอ่อนทุเรียนสวมสิทธิ์ก่อนปิดตู้เพื่อส่งออกหรือเคลื่อนย้ายทุเรียนออกจากสถานประกอบการ (ล้ง)

จากผลงานการปฏิบัติงานของนายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสวพ.6 ดังกล่าวทำให้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรต้องลงไปจันทบุรีด้วยตัวเอง เพื่อเร่งรัดการทำงานปราบปรามทุเรียนอ่อนทุเรียนสวมสิทธิ์และในวันที่ 14 มีนาคม 2565 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้แถลงข่าวร่วมกับนายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กรณีการจับกุมและดำเนินคดีตัดทุเรียนไม่ได้คุณภาพ (อ่อน) เพื่อการส่งออกที่สถานีตำรวจภูธรท่าใหม่ ซึ่งได้รับแจ้งเบาะแสจากพลเมืองดีมีล้งทุเรียนแห่งหนึ่งตั้งอยู่ที่อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี มีการรับซื้อทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) เพื่อนำส่งออกไปจำหน่ายที่ประเทศจีน และเป็นทุเรียนจากสวนและล้งที่สวพ.6 ออกใบรับรอง GAP และ GMP

‘สุชาติ’ ยินดี ‘ลูกจ้างฟอร์ด ระยอง’ ได้รับโบนัส ปลื้มใจ!! ที่ช่วยให้ผ่านพ้นโควิด-19 มาได้

เมื่อวานนี้ (3 ธ.ค. 65) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่สื่อมวลชนเผยแพร่ข่าวผู้ใช้ TikTok รายหนึ่ง โพสต์คลิปวิดีโอ ขณะพนักงานกำลังยืนฟังเจ้าหน้าที่โรงงานฟอร์ด ระยอง ประกาศโบนัสประจำปี 2565 6.35 เดือน เงินพิเศษ 2.5 หมื่น ขึ้นเงินเดือน 4% จนทำให้พนักงานเฮลั่น ว่า ผมขอแสดงความยินดีกับพนักงานโรงงานฟอร์ด ระยอง ทุกคนที่ได้รับโบนัสและเงินพิเศษต่าง ๆ เพิ่มในครั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงแรงงานเองผมต้องขอขอบคุณผู้บริหารบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ ประเทศไทย ที่ระยองด้วยที่ประกาศโบนัสให้พนักงาน ซึ่งเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่พนักงานและสถานประกอบการได้ดูแลพี่น้องผู้ใช้แรงงานเป็นอย่างดี 

ด้าน คุณสถิรยุทธ แสงสุวรรณ รองประธานฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ออโต อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือฟอร์ด มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา แม้ว่าบริษัทจะประสบปัญหาโควิดเช่นกัน แต่ยังมีข้อดีที่รัฐบาลและกระทรวงแรงงานได้ออกมาตรการต่าง ๆ มาช่วยเหลือนายจ้างและภาคแรงงานในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการลดเงินสมทบ เยียวยานายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 โครงการแฟคทอรี่ แซนด์บ็อกซ์ เปิดจุดตรวจโควิด จัดหาฉีดวัคซีนมาฉีดให้กับพนักงาน ซึ่งพนักงานกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ได้รับวัคซีนโควิด จนทำให้บริษัทเกิดความมั่นคงด้านแรงงาน พนักงานไม่เป็นโควิด สามารถมาทำงานได้ตามปกติ 

กาฬสินธุ์ตลาดไหมแพรวาสุดเฟื่องส่งต่อรุ่นใหม่ขายออนไลน์ยอดพุ่ง

บรรยากาศการจำหน่ายผ้าไหมแพรวา ราชินีแห่งไหม และผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมแพรวาทอมือบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ยังเฟื่องฟูและลื่นไหล ผู้ประกอบการยุคบุกเบิกยังดำเนินกิจการต่อเนื่อง ขณะที่หลายรายส่งไม้ต่อให้ลูกหลานสืบสาน เป็นมรดกตกทอดทางภูมิปัญญาล้ำค่า จำหน่ายทั้งหน้าร้านและทางออนไลน์ รายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 4 ล้านบาท

(6 ธ.ค. 65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการจำหน่ายผ้าไหมแพรวา ราชินีแห่งไหม และผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมแพรวา ที่ได้จากการทอด้วยมือชาวผู้ไทบ้านโพน ต.โพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ยังได้รับความนิยมจากลูกค้าใกล้ไกลไม่เสื่อมคลาย ซึ่งพบว่าในทุก ๆ วัน มีทั้งเดินทางมาเลือกซื้อด้วยตนเอง และติดต่อซื้อขายทางออนไลน์ โดยผู้ประกอบการรายใหญ่ 8 ราย ได้เปิดช่องทางการตลาดผ่านโซเชียลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เฟซบุค กลุ่มไลน์ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังระบุว่ายอดจำหน่ายสูงกว่าขายหน้าร้านหลายเท่าตัว รายได้รวมวันละ 1 แสนถึง 1 แสน 5 หมื่นบาท หรือเดือนละ 3 ล้านถึง 4 ล้าน 5 แสนบาท

นางสาวอุมาพร ลามุล อายุ 31 ปี เจ้าของร้านมรดกภูไท เลขที่ 149 หมู่ 2 บ้านโพน ต.โพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า เดิมครอบครัวตนเปิดร้านขายอุปกรณ์และสินค้าทางการเกษตร ควบคู่กับปลูกพุทราและผลไม้ ต่อมาเห็นตลาดผ้าไหมแพรวาเฟื่องฟูมาก ประกอบกับตนเป็นคนรุ่นใหม่ จึงมีแนวคิดว่าผ้าไหมแพรวา ต้องไม่ใช่แค่ผ้าซิ่นหรือสไบ ผ้าไหมแพรวาต้องไปไกลกว่านี้ ตลาดต้องกว้างไกลกว่าที่ผ่านมา ทุกเพศ ทุกวัย สามารถตัดเย็บเป็นเดรสสูท หรือเสื้อผ้าสวมใส่ได้ทุกโอกาส ในปี 2561 จึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการค้าขายมาจำหน่ายผ้าไหมแพรวา รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมแพรวา เพียงระยะเวลา 4 ปี ประสบผลสำเร็จทั้งยอดขาย จำหน่ายทั้งหน้าร้านและทางออนไลน์ สามารถพูดได้ว่าถึงแม้ที่ผ่านมาสภาพเศรษฐกิจจะอย่างไร หรือประสบสถานการณ์โควิด-19 ยังไง แต่การค้าขายผ้าไหมแพรวาไม่กระทบ ยังไปได้เรื่อย ๆ ภูมิใจที่ผ้าไหมแพรวา สามารถสร้างอาชีพและรายได้สู่ชุมชน ไม่ต่างจากเปลี่ยนอาชีพจากไร่นาสู่ผ้าทอ ทำให้ชาวบ้านโพนมีรายได้ยั่งยืน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top