Tuesday, 20 May 2025
Econbiz

‘สุริยะ’ ชูนโยบาย BCG ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด ผ่านเวทีประชุมเอเปคด้านมาตรฐานอุตสาหกรรม

กระทรวงอุตฯ ชูนโยบาย BCG โชว์ศักยภาพเจ้าภาพการประชุมเอเปคด้านมาตรฐาน จับมือ 21 เขตเศรษฐกิจเอเปค พลิกฟื้นเศรษฐกิจโลกหลังโควิด-19

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) หรือ เอเปค 2022 ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565 พร้อมแสดงจุดยืนและบทบาทของไทยในเวทีการค้าโลก เพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือด้านต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ตามแนวคิด “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ “Open. Connect. Balance.”  

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานและการรับรองของเอเปค (Sub-Committee on Standards and Conformance: SCSC) ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม SCSC ครั้งที่ 2/2565 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 18 - 20 สิงหาคม 2565  ที่ผ่านมา ณ โรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่ และผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ สมอ. ได้ผลักดันภารกิจสำคัญเพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาล 4 ด้าน ได้แก่ 1.) การพัฒนาและผลักดันกิจกรรมด้านมาตรฐานและการรับรองเกี่ยวกับ BCG Model 2.) สนับสนุนและส่งเสริมแนวทางใหม่ เพื่อให้ฟื้นตัวจากโควิด-19 และฟื้นฟูการค้าและการลงทุน 3.) ส่งเสริมด้านนวัตกรรมและดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนตลาดและเชื่อมโยงสู่สากล และ 4.) สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการค้าให้ผู้ประกอบการรายย่อย (MSMEs)  โดยมีผู้แทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน จีนฮ่องกง นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย จีนไทเป ชิลี เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี เปรู รัสเซีย และเวียดนาม เข้าร่วมประชุมกว่า 80 คน ภายใต้หัวข้อ "Open. Connect. Balance." หรือ "เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล" ผ่านแนวคิด โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) 

นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมในครั้งนี้มุ่งผลลัพธ์ที่สำคัญ ได้แก่ (1) การปรับมาตรฐานให้สอดคล้องกันกับมาตรฐานระหว่างประเทศโดยมุ่งเน้นมาตรฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (2) การจัดกิจกรรม/การประชุมเชิงปฏิบัติการ/การสัมมนาเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19 และ BCG Model เช่น แนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ การส่งเสริมความโปร่งใสในการออกกฎระเบียบ การออกใบรับรองดิจิทัล และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น

'รัฐบาล' ปลื้ม!! ท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุ 4 ล้านคน

ข่าวดี!! ต่างชาติแห่เที่ยวไทย พุ่งเกิน 4 ล้านคน เชื่อสิ้นปี 65 ดึงนักท่องเที่ยวเข้าไทย 10 ล้านคน หลังเพิ่มวันพำนักต่างชาติ ช่วยทำรายได้เข้าประเทศเพิ่ม 

(25 ส.ค. 65) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าการเดินทางเข้าประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี 2565 ว่า ขณะนี้จำนวนมากกว่า 4 ล้านคน นับเป็นสัญญาณเชิงบวก สะท้อนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทยเป็นผลสืบเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงรุกของรัฐบาล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณาหาแนวทางกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 10 ล้านคน ในปีนี้ 

นายอนุชา กล่าวว่า ข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 16 สิงหาคม 2565 อยู่ที่ 4,015,504 คน และคาดการณ์ว่าภายในเดือนส.ค.นี้ จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยสะสม 4.5 ล้านคน โดย5 อันดับแรก ได้แก่ มาเลเซีย อินเดีย สปป.ลาว สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร

นายอนุชา กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มีนโยบายที่สอดคล้องกันเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว โดยขยายระยะเวลาการพำนักของผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง และเพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ดังนี้...

‘SME D Bank’ ออก E-Book หนุนเอสเอ็มอีภาคกลาง โปรดี๊ดีมีครบ ทั้ง พัก! เที่ยว! ช้อป! แบบจัดเต็ม

ธพว.หนุนเอสเอ็มอีท่องเที่ยว เพิ่มรายได้ ขยายตลาด ฟื้นฟูธุรกิจ ออก E-Book “โปรดี๊ดี เอสเอ็มอีทั่วไทย” ล่าสุดกับโซนพื้นที่ภาคกลาง จัดเต็ม ลดราคา พัก! เที่ยว! ช้อป!

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME D Bank ได้รวบรวมร้านอาหาร โรงแรม และร้านขายของฝาก เพื่อสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีในโซนพื้นที่ภาคกลาง ในรูปแบบ E-book โดยระบุว่า 

ใกล้วันหยุดแล้ว ไปเที่ยวกัน 
มีโปรเด็ด จาก SMEs ธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม ร้านขายของฝาก ฯลฯ  ในพื้นที่ภาคกลาง มามอบให้ จัดเต็ม ลดราคา พัก! เที่ยว! ช้อป! แบบจัดเต็ม

'สนธิรัตน์' ผุด 'สารคามโมเดล' ผลักดันเศรษฐกิจฐานราก “แก้หนี้ เพิ่มทุน สร้างรายได้เพิ่ม”

'สนธิรัตน์' ลั่น พร้อมผลักดัน พ.ร.บ.ส่งเสริมระบบสวัสดิการชุมชน-ผลักดันเศรษฐกิจฐานราก แก้หนี้ เพิ่มทุน สร้างรายได้เพิ่ม ดัน สภาองค์กรชุมชน-องค์กรสวัสดิการชุมชน เป็นหัวหอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ชม คนสารคามมีศักยภาพ พร้อมนำร่องเป็นสารคามโมเดล มั่นใจ ยกระดับคุณภาพชีวิตฐานรากอยู่ดี กินดี

วันที่ (26 ส.ค. 2565) ที่โรงแรมพิมานอินน์ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย (สอท.) พร้อมด้วยนายสุพล ฟองงาม รองหัวหน้าพรรค และประธานภาคอีสาน นายบุญส่ง ชเลธร รองเลขาธิการพรรค นางทิพย์พาพร ตันติสุนทร กรรมการบริหารพรรค นายสุทธิชัย จรูญเนตร รองประธานภาคอีสาน และว่าที่ผู้แสดงเจตจำนงเป็นผู้สมัคร สส. ภาคอีสาน จากจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อุดรธานี และมหาสารคาม ร่วมพบปะแกนนำจากสภาองค์กรชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน วิสาหกิจชุมชน ในระดับอำเภอ จำนวนกว่า 150 คน ในเวทีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเพื่ออนาคตไทย 

โดยนายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ตนมาในฐานะคนที่ทำเรื่องเศรษฐกิจฐานรากมาก่อน ภายใต้ปรัชญาใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ที่ผ่านมาไม่เคยทิ้งเรื่องเศรษฐกิจฐานรากไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหน ถือเป็นหัวใจการทำงานหลักของตน ซึ่งมองว่าที่ผ่านมาการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ของกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ สิ่งที่กลุ่มทำถือเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งความเข้มแข็งของชุมชนเกิดจากคนในชุมชนพึ่งพาตนเอง ขณะที่องค์กรสวัสดิการชุมชนที่ผ่านมาช่วยตัวเองอย่างเดียว เคยมีการร้องขอให้ออกพ.ร.บ.ส่งเสริมระบบสวัสดิการชุมชนมา 16 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้า 

“อย่ามองว่าผมเป็นนักการเมือง เพราะตัวพรรคการเมืองเองจะไม่มีความหมาย หากไม่จับมือทำงานกับพี่น้องประชาชนจริง ๆ ผมตั้งใจมาหาวิธีทำงานร่วมกับท่าน ขอมาทำงานร่วมกัน มารับฟังว่าพี่น้องประชาชนอยากได้อะไรจริง ๆ เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมระบบสวัสดิการชุมชน ถ้าหากอยากได้จริง ผม และพรรคสร้างอนาคตไทย พร้อมที่จะขับเคลื่อนไปกับพวกท่าน โดยผมจะเสนอเป็นหนึ่งในนโยบายพรรค เพื่อทำให้พ.ร.บ.นี้เกิดขึ้นได้จริง”

นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ตนมา จ.มหาสารคาม เพราะประชาชนที่นี่เข้มแข็งมาก ดังนั้นเราต้องเริ่มจากจุดที่เข้มแข็ง สร้างให้เป็นโมเดลเพื่อขยายไปสู่จังหวัดอื่น ๆ แม้ว่าจะทำได้ไม่ทั้งหมดในช่วงเวลานี้ แต่หลังจากที่ขับเคลื่อนจนได้พ.ร.บ.แล้ว ตนมั่นใจว่า จะสามารถจะผลักดันให้เกิดขึ้นทั่วประเทศได้ ตนเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะใช้สารคามโมเดลเป็นตัวตั้งของกองทุนสวัสดิการชุมชน 

นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า เรื่องเศรษฐกิจฐานราก ถือเป็นหนึ่งในนโยบาย 5 สร้างของพรรค ความเข้มแข็งชุมชนคือหัวใจสำคัญของประเทศ การสร้างเศรษฐกิจฐานรากของพรรค จะทำควบคู่กับไปใน 3 ด้าน คือการแก้หนี้ เพิ่มทุน สร้างรายได้เพิ่ม ภายใต้แนวคิดขับเคลื่อนกลุ่มที่มีศักยภาพ 10-50 คน โดยขณะนี้ได้เริ่มนำร่องแล้วในพื้นที่ จ.มหาสารคาม ในกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าว ซึ่งประสบปัญหาในเรื่องราคาตกต่ำ โดยเข้าไปช่วยในการลดต้นทุนการผลิต และผลักดันราคาขายให้มากกว่าท้องตลาด 0.50 สตางค์ – 1 บาทต่อกิโลกรัม โดยร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์ (ธกส.) กลุ่มรถเกี่ยวข้าวในพื้นที่ ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้ ตนจะเข้าไปพูดคุยกับกลุ่มชาวนาที่ได้นำร่องไว้ และจะขยายโครงการนี้ไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ในประเทศต่อไป 

รัฐผนึก 'SME D Bank - SAM' แก้หนี้ SME หวังฟื้นการจ้างงาน - เศรษฐกิจขยายตัว

เมื่อวันที่ (29 ส.ค. 65) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่นโยบายรัฐบาลมุ่งส่งเสริมและดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงสภาพคล่อง และที่มีปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (NPLs) ให้ฟื้นกลับมาเดินหน้าทางธุรกิจต่อได้ ทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank และ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือทางธุรกิจในรูปแบบหน่วยงานรัฐกับหน่วยงานรัฐ (G To G) เป้าหมายเพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มหนี้ด้อยคุณภาพ ให้สามารถกลับมาพลิกฟื้น อยู่รอด และเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าว ถือเป็นเป็นครั้งแรกของภาครัฐที่ร่วมบูรณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เป็นหนี้อย่างยาวนาน โดยจะนำร่องช่วยกลุ่มหนี้ด้อยคุณภาพที่มีหลักประกันที่เกิดขึ้นก่อนปี 2558 เงินต้นรวม ประมาณ 8,000 ล้านบาท และเมื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านกระบวนการแก้ปัญหาต่าง ๆ จาก บสส. แล้ว ทาง ธพว. พร้อมต่อยอดผ่านกระบวนการด้านการเงิน และการพัฒนา ในโครงการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ ลดวงเงินผ่อนชำระเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ และเติมทุนใหม่เสริมสภาพคล่อง นำไปใช้บริหารจัดการธุรกิจ ซื้อวัตถุดิบ เพิ่มกำลังการผลิต หรือสร้างมาตรฐาน

BEAUTY รีเฟรชแบรนด์ GINO McCRAY ปล่อยแคมเปญ ‘LOOKS at ME ลุคไหนก็ใช่เรา’ เอาใจสาวทุกสไตล์

BEAUTY เดินหน้าปรับภาพลักษณ์แบรนด์ GINO McCRAY บุกตลาดสาวทุกเจเนอเรชัน จับมือพันธมิตรทางธุรกิจ EVEANDBOY ขยายช่องทางจำหน่ายแบบ Shop in Shop พร้อมลุยตลาดต่างประเทศ อาทิ จีน ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย อินเดีย และอินโดนีเซีย ในรูปแบบ Product Distribution ภายในปีนี้ เปิดตัว Brand Ambassador นักแสดงสาวชื่อดัง ‘บัว - นลินทิพย์’ ส่งแคมเปญ ‘LOOKS at ME’ สร้างปรากฎการณ์ความสวยหลากสไตล์กับกลุ่มลูกค้า

ดร.พีระพงษ์  กิติเวชโภคาวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) (BEAUTY) ผู้ดำเนินธุรกิจจำหน่ายปลีกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและบำรุงผิวภายใต้แนวคิด Live a Beautiful Life เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ ‘GINO McCRAY’ (จีโน่ แม็คเครย์) กลุ่มผลิตภัณฑ์เมคอัพภายใต้การบริหารของ BEAUTY ให้มีความหรูหรา เรียบง่าย แต่คงความเป็นมืออาชีพด้านความงาม วาง Brand Positioning ให้เป็นเมคอัพชิ้นพิเศษ ที่ราคาจับต้องได้ หาซื้อง่าย โดดเด่นด้วยคุณภาพ มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในวงกว้าง

โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของ GINO McCRAY เป็นทั้งผู้บริโภคทั่วไป และผู้บริโภคที่มีความเป็นมืออาชีพด้านความงามและการแต่งหน้า สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ เพื่อครีเอทลุคของตนเองได้ทุกวัน หลากหลายสไตล์  ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

ขณะเดียวกันยังได้ปรับรูปแบบช่องทางการจำหน่ายของ GINO McCRAY ใหม่ โดยร่วมมือกับพันธมิตรบิวตี้มัลติแบรนด์สโตร์ชั้นนำ EVEANDBOY เปิดร้านในรูปแบบ Shop in Shop แห่งแรก ที่สาขา เมกาบางนา วางกลยุทธ์การตลาดในรูปแบบ Business Partner สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก และขยายช่องทางการขายสู่ตลาดแมส ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้าขยายสาขารูปแบบ Shop in Shop ร่วมกับร้านอีฟแอนด์บอย จำนวน 18 สาขา และร้านบิวตี้ บุฟเฟต์ ทั้ง 50 สาขา ทั่วประเทศภายในปีนี้ และมีแผนขยายตลาดสู่ต่างประเทศ อาทิ  จีน ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย อินเดีย และอินโดนีเซีย ในรูปแบบ Product Distribution เพื่อมุ่งเน้นกระจายผลิตภัณฑ์คุณภาพดี ราคาจับต้องได้ เข้าสู่พื้นที่ต่างๆ ของแต่ละประเทศ

‘สุริยะ’ ชี้!! บอร์ด สมอ. ดีเดย์ 1 ม.ค.67 คุมมลพิษยานยนต์ ตามมาตรฐานยูโร 5

บอร์ด สมอ. เห็นชอบให้บังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 คุมมลพิษรถบรรทุก, รถบัส, รถกระบะ และรถยนต์เล็ก ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน มีผล 1 มกราคม 2567 มุ่งแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และรักษาสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายรัฐบาล

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) หรือบอร์ด สมอ. ประจำเดือนสิงหาคม 2565 ว่า บอร์ด สมอ. ได้มีมติเห็นชอบให้ สมอ. ควบคุมรถบรรทุก, รถบัส, รถกระบะ และรถยนต์เล็ก ทุกรุ่นทุกคัน ต้องได้มาตรฐานยูโร 5 โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เพื่อควบคุมปริมาณสารมลพิษที่ปล่อยออกมา ไม่ให้เกินเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อประชาชน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมที่ได้ขานรับนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ ได้กำชับให้ สมอ. เร่งรัดกำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมปริมาณสารมลพิษจากยานยนต์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันได้กำหนดมาตรฐานแล้วจำนวน 34 มาตรฐาน อาทิ รถยนต์ขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน รถมอเตอร์ไซค์ การทดสอบสารมลพิษจากเครื่องยนต์ และมลพิษทางเสียงที่เกิดจากรถยนต์ตั้งแต่ 4 ล้อขึ้นไปเป็นต้น

นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรฐานยูโร 5 นี้จะควบคุมปริมาณสารมลพิษที่ปล่อยออกมา ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน และปริมาณสารมลพิษอนุภาคหรือฝุ่นจากเครื่องยนต์ โดยมีระบบวินิจฉัยอุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษ ซึ่งเป็นระบบที่จะแจ้งผู้ขับขี่ในกรณีที่อุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษทำงานผิดปกติ รวมทั้งมีข้อกำหนดเรื่องความทนทานของอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์ที่ผ่านการใช้งานไประยะเวลาหนึ่งแล้ว ยังคงสามารถควบคุมมลพิษตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานได้

‘สุริยะ’ เผย 5 อุตสาหกรรม รับอานิสงส์เปิดปท. ดันดัชนีผลผลิตอุตฯ ก.ค. ขยายตัว 6.37%

อก. เผย MPI เดือนกรกฎาคม 2565 ขยายตัวร้อยละ 6.37 อานิสงส์จากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ด้านส่งออกสินค้าอุตฯ ขยายตัวต่อเนื่องเดือนที่ 20

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่าเป้าและช่วยหนุนการบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง มีคำสั่งซื้อและมีการเพิ่มการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกรกฎาคม 2565 อยู่ที่ 95.71 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับภาพรวม MPI ใน 7 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัว ร้อยละ 1.23 และอัตราการใช้กำลัง การผลิต 7 เดือนแรก อยู่ที่ระดับ 63.42 ทั้งนี้ คาดว่า MPI ในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารของไทยที่ขยายตัวท่ามกลางวิกฤตความมั่นคงทางอาหารของโลก

นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกรกฎาคม 2565 ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 6.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 61.01 จากการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ อุตสาหกรรมหลักกลับมาขยายตัว ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตและปูนซีเมนต์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน สะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว อีกทั้งภาคการท่องเที่ยวช่วยฟื้นการบริโภคภายในประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีการปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวจากเดิม 6 ล้านคน เป็น 8 ล้านคน ในปีนี้ รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อภาคการส่งออกทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ และอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศที่การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) เดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 0.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 ติดต่อกัน 

นอกจากนี้ ภาพรวมสถานการณ์เงินเฟ้อที่ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม แต่มีทิศทางชะลอตัวลง สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมขยายตัวที่ร้อยละ 10.5 ชะลอตัวลงจากเดือนมิถุนายนขยายตัวที่ร้อยละ 12.9

สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณเฝ้าระวัง โดย สศอ. ใช้เครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (The Early Warning System Industry Economics : EWS-IE) สศอ. จึงคาดการณ์จากดัชนีชี้นำสถานการณ์การผลิตโลก (PMI) ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยใน 1-2 เดือนข้างหน้า ปัจจัยภายในประเทศยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อุปสงค์ในประเทศทยอยฟื้นตัว ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวและปลดล็อกมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัจจัยต่างประเทศเริ่มส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ประเทศคู่ค้าอยู่ในภาวะไม่ปกติ ส่งผลให้คำสั่งซื้อชะลอตัวลง ทั้งนี้ ต้องจับตาดูสถานการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงยืดเยื้อ ส่งผลต่อราคาพลังงานและวัตถุดิบ สภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย รวมถึงปัญหาข้อพิพาททางการเมืองระหว่างประเทศ

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตส่งผลบวกในเดือนกรกฎาคม 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

‘บางจาก’ ร่วมทุนตั้งบริษัทผลิตน้ำมันเครื่องบิน จากน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้ว คาดลงทุน 1 หมื่นลบ.

บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น, บมจ. บีบีจีไอ และ บริษัท ธนโชค ออยล์ ไลท์ ร่วมจัดตั้ง บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF) เตรียมผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน จากน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้ว คาดลงทุน 8 พันถึง 1 หมื่นล้านบาท

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า บางจากฯ , บีบีจีไอ และ ธนโชค ออยล์ ไลท์ ลงนามข้อตกลง ร่วมทุนจัดตั้งบริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF) ด้วยงบลงทุน 8,000-10,000 ล้านบาท ในสัดส่วนการลงทุน 51% , 20%และ 29% ตามลำดับ เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ SAF (Sustainable Aviation Fuel) จากน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหาร (Used Cooking Oil) เป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย 

ทั้งนี้ บริษัท BSGF จะเริ่มดำเนินธุรกิจด้วยการก่อสร้างหน่วยผลิต SAF จากน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหาร (Used Cooking Oil) ภายในบริเวณโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการได้ ช่วงปลายปี ค.ศ. 2024 (พ.ศ.2567 ) ด้วยกำลังการผลิตเริ่มต้น 1 ล้านลิตรต่อวัน เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนที่อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกสามารถนำมาใช้ทดแทนได้ทันทีโดยไม่ส่งผลต่อเครื่องยนต์ ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมการบินลงได้ประมาณ 80,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (เทียบกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเชื้อเพลิงการบินในปัจจุบัน) 

“BSGF พร้อมขยายเพิ่มกำลังการผลิตรองรับความต้องการใช้ SAF ในอนาคต ตามแนวโน้มความต้องการใช้ SAF ทั่วโลก สอดคล้องกับข้อกำหนดในสหภาพยุโรปที่กำหนดสัดส่วนการผสม SAF ในน้ำมันอากาศยานที่จะบินเข้าสู่สนามบินในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (จากการลงมติของสมาชิกสภายุโรป เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กำหนดไว้ที่ 2% ในปีค.ศ. 2025 และเพิ่มขึ้นเป็น 6%, 37% และ 85% ในปีค.ศ. 2030, 2040 และ 2050 ตามลำดับ) และสอดคล้องกับมาตรการขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) และสมาคมการบินระหว่างประเทศ (International Air Transport Association: IATA) ที่ให้การสนับสนุน เพื่อให้อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2593” นายชัยวัฒน์ กล่าว

นายธนวัฒน์ ลินจงสุบงกช กรรมการผู้จัดการบริษัท ธนโชค ออยล์ ไลท์ จำกัด กล่าวว่า บริษัท ธนโชคฯ มีความมั่นใจในการร่วมทุนครั้งนี้ ปัจจุบัน ธนโชคฯ มีความเชี่ยวชาญในการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันใช้แล้ว โดยมีการลงพื้นที่จัดเก็บในชุมชน ป้องกันการนำกลับไปใช้ซ้ำหรือระบายทิ้งลงในพื้นที่สาธารณะหรือแหล่งน้ำต่าง ๆ โดยในปัจจุบัน กลุ่มธนโชคฯ มีเครือข่ายการเก็บรวบรวมน้ำมันใช้แล้วครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยศักยภาพการจัดเก็บและรวบรวมน้ำมันใช้แล้วประมาณ 17 ล้านลิตรต่อเดือน และสามารถเก็บเพิ่มร่วมกับบางจากฯให้ได้ 1 ล้านลิตร/วัน และจะยายพื้นที่รับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้วทั้งผ่านเครือขายของบริษัทและของปั๊มบางจากฯ รวมเป็นกว่า 2 พันจุด รวมทั้งบางจากฯก็เตรียมแผนแจกกระป๋องเพื่อให้ประชาชนนำน้ำมันพืชใช้แล้วมาจำหน่ายคืนที่ปั๊ม โดยน้ำมันใช้แล้วจะมีราคาถูกว่าน้ำมันปาล์มดิบ (ซีพีโอประมาณ 2 บาท/ลิตร โดยวันนี้ราคาซีพีโอ 34.50 บาท/ลิตร ราคาน้ำมันใช้แล้วอยู่ที่ประมาณ 32-33 บาท/ลิตร

เข้าใกล้เส้นชัย!! INTERLINK เฟ้นหาผู้มีทักษะชั้นเยี่ยมประจำกรุงเทพฯ และปริมณฑล บนเวทีระดับประเทศ

(31 ส.ค. 65) คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ กล่าวเปิดการแข่งขัน “โครงการสุดยอดทักษะสายสัญญาณ และเน็ตเวิร์ก ปีที่ 10 (Cabling & Networking Contest#10)” เฟ้นหาผู้เข้ารอบของกรุงเทพฯ โดยผู้ชนะจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และถ้วยรางวัล พร้อมเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 400,000 บาท ซึ่งการแข่งขันใกล้ถึงฝั่งของการค้นหาผู้มีทักษะชั้นเยี่ยมระดับภูมิภาค และยังคงเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top