Tuesday, 14 May 2024
DSI

DSI แจ้งข้อกล่าวหา อดีตผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์สโมสรรถไฟ จำกัด กับพวก รวม 18 คน ฐานความผิดฟอกเงิน และสมคบกันฟอกเงิน

ตามที่ นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะรองอธิบดีที่กำกับดูแล มอบหมายให้ ศูนย์ป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินทางอาญา ดำเนินการกับผู้กระทำความผิดทางอาญาในทุกมิติ กรณีพบการทุจริตนำเงินออกจากบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์สโมสรรถไฟ จำกัด ไปเปลี่ยนสภาพแห่งตัวทรัพย์ เพื่อซุกซ่อน ปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สิน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิด หรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มา หรือได้มา ครอบครอง หรือใช้ทรัพย์สินโดยรู้ในขณะที่ได้มา อันเป็นเหตุในการเข้าทำการตรวจยึด/อายัดทรัพย์สิน 

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2564 และได้ใช้อำนาจตามมาตรา 24 (5) พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ 
พ.ศ. 2547 ในการอายัดทรัพย์สินไว้แล้วรวม 189 รายการ มูลค่าประมาณ 300 ล้านบาท ดังที่ได้เสนอข่าว
ต่อสาธารณชนไปแล้วนั้น

ในวันนี้ (วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2564) เวลา 10.30 น. พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะรองอธิบดีที่กำกับดูแล ได้มอบหมายให้ นายธวัชชัย รัตนปรีชาชัย รองผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทางอาญา หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน นายพงษ์ธวัช อ่วมสำอางค์ ผู้อำนวยการส่วนคดีฟอกเงินทางอาญา 3 และคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่ 21/2564 แจ้งข้อกล่าวหากับอดีตผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์สโมสรรถไฟ จำกัด กับพวก รวม 18 ราย ในความผิดฐาน “ร่วมกันฟอกเงิน” และ/หรือ “ฟอกเงิน” ตามมาตรา 5 ประกอบมาตรา 83 และความผิดฐาน “สมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน” ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

อธิบดี DSI ลุยอายัดโรงงานและทรัพย์สิน บ.วิเศษปาล์มฯ มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 65 นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย ร.ต.อ สุรวุฒิ  รังไสย์ ผู้อำนวยการกองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ต.ท.จักรกฤษณ์ วิเศษเขตการณ์ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการพิเศษ และคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เข้าตรวจค้นเป้าหมายโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.กระบี่ สาขาคลองท่อม พร้อมอายัดทรัพย์สิน ในคดีพิเศษที่ 215/2565 กรณี การทุจริตและยักยอกทรัพย์ในชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด ซึ่งทำให้มีผู้ที่ได้รับผลกระทบประมาณ 20,000 ครัวเรือน มีมูลค่าความเสียหายโดยรวมจำนวนไม่กว่า 1,000 ล้านบาท

สืบเนื่องจากที่ นายสมศักดิ์  เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 กรณีชุมนุมสหกรณ์เกิดปัญหาการบริหารจัดการชุมนุม ผู้บริหารมีการทุจริตและส่งผลให้ชุมนุมสหกรณ์เสียหายต่อสมาชิกเป็นวงกว้าง จึงได้มอบนโยบายให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พิจารณานำเรื่องกรณีการทุจริตดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการคดีพิเศษรับเป็นคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และมอบหมายให้กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ดำเนินการสืบสวนสอบสวนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมี นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 2 สำนักงานการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด นายสุนทรา พลไตร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมายฟอกเงิน สำนักงาน ป.ป.ง. เป็นที่ปรึกษาคดีพิเศษ มีการบูรณาการร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ และสหกรณ์จังหวัดกระบี่ 

 

รมต.ยุติธรรม มอบเงินให้ญาติเสียชีวิตไฟไหม้ผับ Mountain B 19 ราย 2,090,000 บาท และร้องขอ DSI ช่วยเหลือในคดีเพื่อความเป็นธรรม

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ (19 ส.ค. 65) ที่ห้องประชุมศาลาเอนกประ สงค์เทศบาลเมืองบ้านสวน ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เดินทางเข้ามอบเงินช่วยเหลือจากทางส่วนของภาครัฐ ให้กับญาติผู้เสียชีวิต จากเหตุเพลิงไหม้ Mountain B  อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา จำนวน 19 รายๆ ละ 110,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,090,000 บาท 

ต่อมาทาง ทนายรณรงค์ แก้วเพชร ได้นำญาติผู้เสียชีวิต เข้าร้องขอความเป็นธรรมต่อ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เนื่องจากผ่านมา 10 วัน ยังไม่ได้รับความช่วยจากทางเจ้าของผับเท่าที่ควร พร้อมทั้งกลัวว่าจะเป็นมวยล้มต้มคนดู ไม่ทำตามคำที่พูดไว้หากผ่านไปเป็นเวลานาน เรื่องก็อาจจะเงียบหาย และต้องการให้คดีนี้เป็นคดีพิเศษ ให้ DSI เข้ามารับคดีนี้ ไปตรวจสอบ

DSI จับมือ ปปง. ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน 'เน้นยึดทรัพย์อาชญากรข้ามชาติ'

ตามที่ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้มอบหมายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการตัดวงจรการกระทำผิดโดยมุ่งเน้นให้ดำเนินการยึดและอายัดทรัพย์สินของกลุ่มเครือข่ายผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และอาชญากรรมที่เป็นภัยร้ายแรง มิให้มีศักยภาพในการกระทำผิดอีก ตามความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันการแพร่กระจายยาเสพติด อันเป็นหลักประกันให้กับประชาคมโลก และสร้างความเชื่อมั่นต่อการบังคับใช้กฎหมายให้ครอบคลุมทุกด้านอย่างยั่งยืน นั้น

วานนี้ (วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2565) ที่สำนักงาน ปปง. นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย ร้อยตำรวจเอก ปิยะ รักสกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และคณะ เข้าพบ นายเทพสุ บวรโชติดารา รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะ เพื่อหารือในความร่วมมือการปฏิบัติการเชิงบูรณาในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 3 ด้าน คือ ด้านการป้องกัน ด้านปราบปราม และด้านการพัฒนา ภายใต้ภารกิจหลัก ดังนี้ 

1. ภารกิจด้านการตรวจสอบ วิเคราะห์เส้นทางการเงิน สำนักงาน ปปง. จะสนับสนุนข้อมูล เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ในการสืบสวน สอบสวน หรือสืบสวนขยายผลเครือข่ายการกระทำผิดตาม พรบ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 โดยจะร่วมกันพัฒนาหลักสูตรเฉพาะสำหรับการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานทั้งสองด้วย
2. ภารกิจด้านการสอบสวน ด้านสำนักงาน ปปง. จะดำเนินการนำข้อมูลสำนวนคดีที่มีหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่มีมูลค่าตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป และ ที่ส่งเรื่องให้อัยการพิจารณาเพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือชดใช้คืนแก่ผู้เสียหายแทนการสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน และที่ปรากฎพยานหลักฐานที่เชื่อได้ว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ที่มีลักษณะตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) (ก)-(จ) แห่ง พรบ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 โดยทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ จะส่งมอบสำนวนคดีพิเศษ ทรัพย์สิน (หากมี) ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ให้สำนักงาน ปปง. ดำเนินการตาม พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 
3. ภารกิจด้านการสืบสวนหาข้อมูล และทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ จะให้การสนับสนุนด้านการสืบสวนหาข้อมูล ข่าวสาร และของบุคคลหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน หรือความผิดฐานฟอกเงิน ตามที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ปปง.

DSI ปูพรมค้น 41 จุด ก๊วนลักลอบใช้กระแสไฟฟ้า ขุดเงินดิจิทัลเลี่ยงภาษี ทำรัฐสูญรายได้กว่า 500 ลบ.

DSI เปิดยุทธการปราบโกงสายฟ้าฟาด (ปฏิบัติการ Electrical Shock) ปูพรมค้น 41 จุด ลักลอบใช้กระแสไฟฟ้าและใช้เครื่องขุดเงินดิจิทัลเลี่ยงภาษีในเหมืองขุดบิตคอยท์ รัฐสูญรายได้กว่า 500 ล้านบาท

(30 พ.ย. 65) ณ หน้าอาคารกรมสอบสวนคดีพิเศษ ถนนแจ้งวัฒนะ, นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พันตำรวจตรียุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และพันตำรวจตรี วรณันศรีล้ำ ผู้อำนวยการกองบริหารคดีพิเศษ/โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ปล่อยแถวเจ้าหน้าที่ เพื่อเปิดยุทธการปราบโกงสายฟ้าฟาด หรือปฏิบัติการ ‘Electrical Shock’ โดยมีพันตำรวจโท เฉลิมชนม์ อุณหเสรี รองผู้อำนวยการกองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ รักษาการผู้อำนวยการกองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ และนายชวภณ สินพูนภักดิ์ ผู้อำนวยการส่วนคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ 2 สนธิกำลังร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กรมศุลกากร การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดปฏิบัติการ ‘Electrical Shock’ เข้าตรวจค้นอาคารพาณิชย์ต้องสงสัยลักกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นจุดทำเหมืองขุดเงินดิจิทัล จำนวน 41 จุด ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ปีละกว่า 500 ล้านบาท 

กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจาก กรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับคำร้องเรียน การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี  มีการลักลอบตั้งเหมืองขุดเงินดิจิทัลโดยเฉพาะบิทคอยน์โดยผิดกฎหมาย มีการนำเครื่องมือที่ใช้ในการขุดบิทคอยน์มาจากต่างประเทศ และมีการลักลอบใช้กระแสไฟฟ้า ทำให้ประเทศได้รับความเสียหาย อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงมอบหมายให้กองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศเป็นหน่วยงานรับผิดชอบสืบสวน โดยมีการประสานงานกับการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมทั้งกรมศุลกากร จนพบจุดต้องสงสัยมากกระจายตัวในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งการทำเหมืองขุดบิทคอยน์ดังกล่าวจะใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณมากขนาดเทียบเท่ากับโรงงานอุตสาหกรรม แต่มีการลักลอบต่อไฟตรง โดยไม่ผ่านมิเตอร์วัดไฟ อันเป็นการลักกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา และอาจมีความผิดอาญาอื่นที่เกี่ยวข้องอีกหลายฐานความผิด ซึ่งกองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ได้ดำเนินการสืบสวนจนพบกลุ่มนายทุนที่มีพฤติการณ์จัดหาอาคารพาณิชย์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลกว่า 41 แห่ง เช่าไว้เพื่อใช้เป็นจุดวางเครื่องขุดเงินดิจิทัล โดยแต่ละอาคารจะวางเครื่องขุดเงินดิจิทัล จุดละประมาณ 100 เครื่อง มีการลักลอบต่อไฟตรงเข้าตัวอาคาร โดยไม่ผ่านมิเตอร์วัดไฟ ทำให้เสียค่าไฟฟ้าต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างมาก จากที่ต้องเสียค่าไฟฟ้าประมาณเดือนละ 500,000 บาทต่อแห่ง แต่มีการจ่ายค่าไฟจริงเพียงแห่งละประมาณ 300 - 2,000 บาทเท่านั้น ทำให้การไฟฟ้านครหลวงเสียหายกว่า 20 ล้านบาทต่อเดือน หรือปีละเกือบ 300 ล้านบาท   

ดังนั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงได้ขออนุมัติหมายค้นจากศาลอาญาเพื่อเข้าค้นอาคารพาณิชย์ต้องสงสัย จำนวน 41 แห่ง เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานการลักไฟฟ้า เพื่อกล่าวโทษดำเนินคดีอาญา และร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ยึดเครื่องขุดเงินดิจิทัลกว่า 2,000 ตัว มูลค่ารวมกว่า 400 ล้านบาท ไว้เพื่อตรวจสอบ รวมทั้งตรวจสอบกับกรมศุลกากรว่ามีการนำเข้าราชอาณาจักรไทย โดยผ่านพิธีการทางศุลกากร โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหากเข้าข่ายการกระทำความผิดที่เป็นคดีพิเศษก็จะได้รับคดีดังกล่าวไว้ทำการสอบสวนต่อไป

อธิบดี DSI บูรณาการความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ คืนผืนป่าต้นน้ำน่าน 300 ไร่

เมื่อวานนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565) นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นประธานโครงการร่วมแรง ร่วมใจ เพื่อฟื้นฟูต้นน้ำอย่างมีส่วนร่วม ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา บ้านปางยาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 แพร่ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้จัดการโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงลุ่มน้ำน่าน ปลัดอาวุโสอำเภอปัว ร่วมโครงการฯ  

สืบเนื่องจากการเกิดปัญหาด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบาย 'ยุติธรรมสร้างสุข' ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2562 เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน กรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงได้นำแนวคิดจากนโยบายดังกล่าว มาพิจารณาแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน ด้วยการบูรณาการแก้ไขปัญหากับหน่วยงานทุกภาคส่วน  

DSI ลงพื้นที่สอบการสร้างรีสอร์ตรุกป่า ที่ดินและลำน้ำสาธารณะ ในพื้นที่ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน

(วันที่ 14 ธันวาคม 2565) เวลา 14.00 น. นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ  มอบหมายให้ ร้อยตำรวจเอก ปิยะ รักสกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ สั่งการให้ นายวรพจน์  ไม้หอม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองปฏิบัติการคดีพิเศษภาค นายไกรศรี สว่างศรี ผู้อำนวยการส่วนแผนที่และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษเขตพื้นที่ 5 บูรณาการร่วมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเขตพื้นที่ 5 (ปปท.เขต 5) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน ฝ่ายปกครองอำเภอบ่อเกลือ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่13 สำนักงานที่ดินจังหวัดน่าน เจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดน่าน (กอ.รมน.จว.น่าน) เจ้าหน้าที่สถานีตำรวจภูธรบ่อเกลือ  สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาแพร่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา และเครือข่ายภาคประชาชนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI Station Nan) ลงพื้นที่บ้านสว้าเหนือ หมู่ที่ 3 ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน กรณี ประชาชนร้องขอให้ตรวจสอบโดยอ้างว่าได้รับความเดือดร้อนจากการที่มีผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ บุกรุกเข้าครอบครองที่ป่า บุกรุกที่สาธารณะและเปลี่ยนแปลงเส้นทางลำน้ำว้า การถมที่ดินริมน้ำ ขยายพื้นที่ทับลำน้ำ หวงกันพื้นที่ริมน้ำไว้เป็นของตนเอง จนทำลายแหล่งพันธุ์ปลา ทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิม รวมทั้งปิดทางเดินสาธารณะเข้าออกหมู่บ้าน ทำให้ประชาชนในพื้นที่เดือดร้อนไม่สามารถใช้ลำน้ำได้อย่างปกติ  

จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า พื้นที่บริเวณดังกล่าวไม่มีเอกสารสิทธิ์ มีการแบ่งพื้นที่ให้เช่าสร้างรีสอร์ต จำนวน 2 แห่ง สร้างโรงเรือนที่พักส่วนตัวและที่พักคนงาน บริเวณก่อสร้างอยู่ใกล้กับฝายชลประทาน ทำให้เสี่ยงต่อการพังทลายในช่วงน้ำหลากอย่างมาก มีการใช้แรงงานต่างด้าวขนหินมาสร้างเนินดิน เพื่อเจตนาให้เป็นที่งอกมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเส้นทางลำน้ำว้า ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาแพร่ นอกจากนี้ ได้มีประชาชนในพื้นที่และผู้ครอบครองพื้นที่เดิม เข้าให้ข้อมูลประกอบพยานหลักฐานยืนยันแนวเขตว่ามีการล่วงล้ำลำน้ำ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 และยังพบว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวไม่มีเอกสารสิทธิ์ จึงอาจจะเป็นพื้นที่ป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 อีกด้วย ซึ่งหากผู้ใดบุกรุกอาจจะเป็นความผิดฐานบุกรุกป่า การก่อสร้างโรงเรือน และการประกอบกิจการโรงแรมไม่พบว่ามีการขออนุญาตตามกฎหมาย

DSI จับตัว ‘ดาริล ยัง’ ผู้ต้องหาคดี Forex-3D

(16 ม.ค. 66) ชั้น 2 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธ์ (อาคารเอ) พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า เบื้องต้นได้รับรายงานจาก ร.ต.อ.วิษณุ ฉิมตระกูล ผู้อำนวยการกองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ ได้จับกุมตัวนายดาริล ยัง ผู้ต้องหาคดี Forex-3D ได้แล้วที่จังหวัดภูเก็ต แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดว่า จับกุมได้ที่ใดของจังหวัดภูเก็ต หรืออยู่ระหว่างการหลบหนีหรือไม่  

ทั้งนี้จะคุมตัวนายดาริล มาสอบสวนที่กรมสอบสวนคดีพิเศษภายในเย็นวันนี้ โดยจะมีการสอบปากคำ พิมพ์ลายนิ้วมือ และแจ้งข้อหา หากนายดาริล มีพฤติการณ์หลบหนีก็จะคัดค้านการประกันตัว และนำตัวไปฝากขังที่ศาล 

ผบ.ตร.สั่งพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เร่งตรวจสอบเจ้าหน้าที่ตำรวจและ DSI เรียกรับผลประโยชน์ กรณีค้นสถานรับรองจากสถานกงสุลนาอูรูประจำประเทศไทย

จากกรณีเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 65 เจ้าหน้าที่ตำรวจ 191 ร่วมกับเจ้าหน้าที่  DSI ได้เข้าตรวจสอบบ้านหลังหนึ่งในพื้นที่สน.ทุ่งมหาเมฆ ซึ่งมีการแอบอ้างว่าเป็นบ้านพักอดีตกงสุลนาอูรูประจำประเทศไทย แต่ภายในกลับมีคนจีนเข้าออกพลุกพล่าน หลังเข้าตรวจค้นตามหมายค้นของศาลแล้ว พบคนจีน 1 ราย พร้อมเงินสดจำนวน 2.5 ล้านบาท จึงได้ทำการตรวจยึดส่งพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ เพื่อทำการตรวจสอบ ต่อมาได้มีการร้องเรียนว่า มีเงินสดที่ได้จากการตรวจค้นหายไปจำนวนมาก และมีการเรียกรับผลประโยชน์แลกกับการช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวที่อยู่ในบ้านเพื่อแลกกับการไม่ถูกจับกุม กรณีดังกล่าว พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. จึงได้สั่งการให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว เนื่องจากเป็นกรณีเจ้าหน้าที่รัฐเรียกรับผลประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ในทางทุจริต เพื่อทำข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวให้กระจ่าง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ จึงได้สั่งการให้ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. เรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมและบุคคลที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวโดยด่วน รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ รวมรวมพยานหลักฐานประกอบตามกรณีดังกล่าว

จากการสืบสวนทราบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองกำกับการสายตรวจ และเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วยล่ามคนจีน ได้รับการประสานจากสถานกงสุลนาอูรูประจำประเทศไทยในกรณีที่ นายโอนาซิส ซานริค ดาเม่ อดีตกงสุลนาอูรุประจำประเทศไทย ได้เช่าบ้านหลังหนึ่งในพื้นที่ทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. แต่กลับมีชาวจีนเข้าออกบ้านหลังดังกล่าวจำนวนมาก จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ เจ้าหน้าที่จึงได้ขออนุมัติหมายค้นจากศาลเพื่อเข้าตรวจค้นบ้านหลังดังกล่าวในวันที่ 22 ธ.ค.65 ผลการตรวจค้นพบชาวจีน 2 คน พร้อมด้วยคนงานในบ้าน มีทั้งชาวไทย จีน และเมียนมาอีก 6 คน รวมทั้งพบสุราต่างประเทศ และบุหรี่ซิการ์จำนวนหนึ่ง และยังพบเงินสดไทยจำนวนประมาณ 8 ล้านบาท ซึ่งหนึ่งในชาวจีนดังกล่าวคือ นายเหมา เติ้ง เผิง เป็นผู้ต้องหาตามหมายแดงของตำรวจสากล ในกรณีเกี่ยวข้องกับแก๊งปลอมพาสปอร์ตสัญชาติหมู่เกาะมาแชลและประเทศนาอูรู แต่ทางเจ้าหน้าที่ได้มีการเรียกรับผลประโยชน์เพื่อแลกกับการปล่อยตัว โดยได้ให้ล่ามเป็นคนไปรับเงินจากตัวแทนของชาวจีนดังกล่าว ที่บริเวณปั๊มน้ำมันบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ จำนวนเงิน 4 ล้านบาท จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงได้ทำบันทึกตรวจยึดเงินสดจำนวนแค่ 2.5 ล้านบาท และส่งตัวน.ส.เซี่ยง หยาง ผู้ดูแลบ้านดังกล่าว พร้อมเงินที่ตรวจยึดให้พนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ ดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งถูกดำเนินคดีในกรณีไม่พกพาหนังสือเดินทาง ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 66 เจ้าหน้าที่สืบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานและขออนุมัติศาลออกหมายจับเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมของกองกำกับการสายตรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 16 ราย ประกอบด้วย

DSI วอน ปชช. อย่าพึ่งตัดสิน 'ซาร่า' เอี่ยว Forex​-​3D ส่วน 'แดริล ยัง' ต้องยื่นคำให้การภายในสิ้นเดือนนี้

(19 ม.ค. 66) อาคารกรมสอบสวนคดีพิเศษ ชั้น G ถ.แจ้งวัฒนะ กทม. พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย พ.ต.ท.พเยาว์ ทองเสน รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ, พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ, ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ, พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ พ.ต. อรรคริน ลัทธศักดิ์ศิริ ผอ.ส่วนคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ 3 ร่วมกันแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับคดี​ Forex​ -​3D

พ.ต. อรรคริน กล่าวว่า คดีแชร์ Forex-3D ซึ่งมีนายแดริล ยัง ผู้ต้องหารายสำคัญ ได้มีการสอบปากคำแล้ว เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ ส่วนในรายละเอียดทางคดี ผู้ต้องหาขอโอกาสในการส่งบันทึกถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษรชี้แจงภายใน 15 วัน ซึ่งเราได้กำหนดให้ยื่นคำให้การภายในวันที่ 31 มกราคมนี้ ส่วนการเดินทางเข้าประเทศไทยของผู้ต้องหาเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.65 นั้น ในส่วนนี้ได้สอบถามไปแล้ว แต่ผู้ต้องหายังไม่ได้ให้การ

ด้าน ผอ.เทคนิคฯ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า ข้อมูลที่ปรากฏว่าไม่ได้มีการบันทึกเข้าสู่ระบบของทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เนื่องจากมีปัญหาในเชิงเทคนิคเกี่ยวกับค่ารหัส ซึ่งตอนนี้ได้มีการปรับปรุงระบบของทั้งฝั่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลทุกอย่างจะอยู่ที่ ตม. เรียบร้อย จึงเห็นได้ว่าภายหลังจากวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ ตม. จึงจับกุมนายแดริล ยัง ได้ เพราะการปรับปรุงข้อมูลระบบที่รวดเร็วนี้

อีกทั้ง พ.ต. อรรคริน ยังกล่าวถึงบทบาทของนายแดริล ยัง ว่า มีบทบาทแบ่งหน้าที่กันทำกับผู้ต้องหารายอื่น ๆ ส่วนในรายละเอียดเพิ่มเติม ตนยังไม่ขอเปิดเผย เพราะเป็นความลับในสำนวน อย่างไรก็ตาม เส้นทางการเงินของนายแดริล ยัง ที่เชื่อมโยงถึงนายอภิรักษ์ โกฎธิ อดีตผู้บริหาร Forex-3D ก็ได้อยู่ในสำนวนเรียบร้อยแล้ว แต่ยืนยันว่าพนักงานสอบสวนมีพยานหลักฐานที่เชื่อมโยงได้ชัดเจน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top