Wednesday, 7 May 2025
CoolLife

7 มิถุนายน พ.ศ.2564 รัฐบาลประกาศ วันดีเดย์ ‘ฉีดวัคซีน’ ปูพรมฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วประเทศ

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นวันดีเดย์ที่รัฐบาล ประกาศฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชนทั่วประเทศ

ภายหลังจากที่ทั่วโลกได้เผชิญกับโรคระบาดโควิด-19 ที่ตรวจพบตั้งแต่ปลายปี 2562 ก่อนที่บริษัทผู้ผลิตยา จะสามารถคิดค้นวัคซีนป้องกันสำเร็จ ในอีก 1 ปีถัดมา

ขณะที่ประเทศไทย นับเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่ได้จัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาฉีดให้ประชาชน เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด และลดอัตราการเสียชีวิต 

8 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันทะเลโลก ‘World Ocean Day’ เพื่อตระหนักและอนุรักษ์ทะเลให้สวยงาม

รู้หรือไม่? วันที่ 8 มิถุนายน ของทุกปี คือ วันทะเลโลก (World Oceans Day)

วันทะเลโลก หรือ วันมหาสมุทรโลก (World Ocean Day) ได้กำหนดขึ้นในคราวการประชุมสุดยอดระดับประเทศผู้นำว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UN Conference on Environment and Development: UNCEN) หรือการประชุม Earth Summit ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อปี 2535 โดยประเทศสมาชิกกว่า 178 ประเทศ รวมตัวกันเพื่อเผยแพร่ความรู้และรณรงค์ส่งต่อไปยังประชาชนทั่วโลกผ่านเครือข่ายต่างๆ ที่มีอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก พร้อมกับจัดกิจกรรมร่วมกับองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกช่วยกันปกป้องและรักษาทะเล โดยหลังจากนั้นมีการเฉลิมฉลองอย่างไม่เป็นทางการมาทุกปี

จนกระทั่งปี 2551 องค์การสหประชาชาติ จึงกำหนดให้วันที่ 8 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันทะเลโลก โดยเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 2552 ซึ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ร่วมกันจัดกิจกรรมในการดูแลรักษาทะเลและมหาสมุทรอย่างพร้อมเพรียง เพื่อเฉลิมฉลองและเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนทั้งโลกหันมาใส่ใจ ร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล 

๙ มิถุนายน วันอานันทมหิดล วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘)

วันอานันทมหิดล ตรงกับวันที่ ๙ มิถุนายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘ ด้วยความสำนึกในพระเมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ได้สร้างคุณูปการต่อวงการแพทย์และการศึกษา จึงถือเอาวันที่ ๙ มิถุนายนของทุก ๆ ปี เป็นวันอานันทมหิดล เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ทรงพระราชสมภพ  เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมือง ไฮเดเบอร์ก ประเทศเยอรมณี  ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒ ใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ได้ทรงศึกษาจากต่างประเทศและได้เสด็จนิวัตเมืองไทย  ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ จึงมีการลงมติเห็นชอบอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์สืบราชสันติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยทรงพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล” เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ 

ซึ่งขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง ๙ พรรษา จึงต้องทรงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อทำการบริหารแผ่นดินแทนจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะในระหว่างการศึกษาที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ได้เสด็จนิวัตเมืองไทย เพื่อกลับมาเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฏร เมื่อพระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา ทรงเสด็จนิวัตเมืองไทยอีกครั้ง  ด้วยทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายในฐานะประมุขของประเทศ ระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ในพระนคร เมื่อคราวเสด็จนิวัติเมืองไทยครั้งที่ ๒ นั้น พระองค์เสด็จสวรรคต เนื่องจากถูกพระแสงปืน ณ พระแท่นบรรทมในพระที่นั่งบรมพิมาน เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙หลังจากเสวยราชสมบัติอยู่เป็น เวลา ๑๒ ปี

10 มิถุนายน พ.ศ.2535 นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่สอง

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในช่วงปี พ.ศ.2535 ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และวันนี้เมื่อ 29 ปีก่อน นายอานันท์ ปันยารชุน ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่สอง หลังเหตุการณ์คลี่คลายลง

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรง ‘พฤษภาทมิฬ’ ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ทำให้พลเอก สุจินดา คราประยูร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคร่วมเสียงข้างมาก ณ ขณะนั้น ได้ร่วมกันสนับสนุนให้ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ณ ขณะนั้น ได้ตัดสินใจเสนอชื่อ นายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ แทน

นายอานันท์ ปันยารชุน จึงได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2535 ทั้งนี้นายอานันท์ยังได้จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจ โดยรัฐมนตรีส่วนใหญ่ เป็นรัฐมนตรีที่เคยดำรงตำแหน่งมาก่อน ในสมัยที่นายอานันท์ เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก

คอบอลชาวไทยเฮ!! 'โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ' ทุ่มร้อยล้าน คว้าสิทธิ์ 'ยูโร 2020' ยิงสดให้ชมครบทุกนัดแบบฟรี ๆ

เชียร์ยูโร Aerosoft เชียร์ยูโร ! เชียร์ยูโร Aerosoft เชียร์ยูโร ! เชียร์ยูโร Aerosoft เชียร์ยูโร ! 

เชื่อว่าหลายคนคงยังไม่ลืมเพลง 'เชียร์ยูโร Aerosoft 2020' อีกเพลงฮิตติดหูฉบับเร่งด่วน ที่ 'ณัฐภูมิ รัฐชยากร' เนรมิตขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งถูกนำมาใช้ประกอบกับลิขสิทธิ์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือยูโร 2020 กันไม่มากก็น้อย

โดยวันนี้เมื่อปีที่แล้ว คอบอลชาวไทยได้เฮ!! หลังแบรนด์ 'รองเท้าแอร์โร่ซอฟ' ทุ่ม 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คว้าลิขสิทธิ์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือยูโร 2020 ยิงสด NBT2HD SPORT ครบ 51 นัด โดยเริ่มคิกออฟคู่แรก อิตาลี VS ตุรกี ช่วงคืนวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2564

ย้อนกลับไปก่อนวันที่ 11 มิ.ย.64 มีคำถามกันหนาหูในหมู่คนไทยว่า จะมี 'ยูโร 2020' มาให้รับทางฟรีทีวีหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีการประกาศอย่างชัดเจนจากหน่วยงานใดๆ ว่าจะมีการนำลิขสิทธิ์สัญญาณการถ่ายทอดสด 'ฟุตบอลยูโร 2020' มาเผยแพร่ในช่วงนั้น

เหตุผลที่ทำให้เรื่องนี้ดูนิ่งๆ ไป เพราะต้องยอมรับว่า สถานการณ์ในตอนนั้น ทางภาครัฐบาลไม่สามารถนำงบภาษีที่เก็บจากประชาชนมาคืนความสุข ด้วยการไปร่วมประมูลซื้อลิขสิทธิ์มาถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ (ทีวีพูล) หรือผ่านช่องทางอื่นได้ ต้องเป็นช่องทีวีเอกชนเท่านั้น ถึงจะสามารถประมูลฟุตบอลยูโร มาถ่ายทอดสดให้คนไทยได้ดูกัน เพียงแต่ในช่วงที่ผ่านมาก็ยังไม่มีเอกชนรายใดขอซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาถ่ายทอด จนคนไทยส่วนใหญ่น่าจะไปหวังพึ่งลิงก์เถื่อนที่ดูไปสะดุดไป อย่างไร้อรรถรส

12 มิถุนายน ของทุกปี วันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กสากล ร่วมป้องกันและขจัดการใช้แรงงานเด็กที่เลวร้าย

12 มิถุนายนของทุกปี องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Orginazation: ILO) กำหนดให้เป็นวันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลก เริ่มตั้งแต่ปี 2542

จากที่ได้ร่วมประชุมข้อตกลงร่วมกันระหว่างนานาประเทศ เพื่อให้ประเทศสมาชิกดำเนินการป้องกันและขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายให้หมดไปอย่างเร่งด่วน จนถึงขณะนี้มีประเทศสมาชิกร่วมลงนามแล้วจำนวน 178 ประเทศ
 

13 มิถุนายน 2535 สิ้น 'พุ่มพวง ดวงจันทร์' ราชินีลุกทุ่ง ผู้ขับกล่อมบทเพลงอมตะข้ามกาลเวลา

“เมื่อสุริยนย่ำสนธยา จะกลับบ้านนาตอนชื่อเสียงเรามี จะยากจะจน ถึงอดจะทนเต็มที่ นักร้องบ้านนอก คนนี้จะกล่อมน้องพี่ และแฟนเพลง…”

อีกท่อนจำข้ามกาลเวลาจากบทเพลง 'นักร้องบ้านนอก' ที่เชื่อว่าคนไทยในยุค 'เกิดทัน' ยังคงตราตรึงจิตอยู่ร่ำไป

หากบรรจบครบวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ก็จะเท่ากับ 30 ปี แห่งการจากไปของราชินีลูกทุ่ง 'พุ่มพวง ดวงจันทร์'

พุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 – 13 มิถุนายน 2535) ชื่อจริงว่า 'รำพึง จิตรหาญ' (ชื่อเล่น ผึ้ง) ผู้ชอบร้องเพลงเป็นชีวิตใจ และเธอก็เหมือนนักร้องคนอื่นที่ใช้เวทีประกวดร้องเพลงงานวัดเป็นหนทางเข้าสู่วงการ โดยใช้ชื่อว่า ผึ้ง สองพี่น้อง, ผึ้ง ณ ไร่อ้อย

พ.ศ. 2518 ขณะมีอายุได้ 15 พุ่มพวงร้องเพลง 'สาวสวนแตง' ของผ่องศรี วรนุช และชนะเลิศนักร้องฝ่ายหญิงที่งานวัดท่าเรือ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี รำพึง จิตรหาญ-พ่อของพุ่มพวง จึงพาเธอไปฝากเป็น 'หางเครื่อง' ในวงดนตรีของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ที่มาทำแสดงที่วัดท่ามะกาในเวลานั้น

ระหว่างที่อยู่วงดนตรีของไวพจน์ พุ่มพวงทดลองร้องเพลงหน้าเวที ครั้งแรกในงานประจำปี ที่ตลาดลำนารายณ์ อำเภอไชยบาดาลจังหวัดลพบุรี ต่อมาไวพจน์แต่งเพลง 'แก้วรอพี่' ให้พุ่มพวงร้องบันทึกเสียงเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า “น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ” และที่นี้อีกเช่นกันที่พุ่มพวงได้พบรักกับ ธีระพล แสนสุข-สามีคนแรกซึ่งเป็นนักดนตรีอยู่ในวง

ต่อมา รุ่ง โพธาราม-นักร้องรุ่นพี่ชักชวนให้แยกมาตั้งวงดนตรีเอง ด้วยการสนับสนุนของมนต์ เมืองเหนือ และมีการเปลี่ยนชื่อจาก น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ เป็น 'พุ่มพวง ดวงจันทร์' แต่กิจการวงดนตรีไม่ประสบความสำเร็จและต้องเลิกไปในที่สุด แต่พุ่มพวงไม่ถอดใจ เธอตั้งวงดนตรีอีกเป็นครั้งที่ 2 แต่ก็ขาดทุนจนเลิกกิจการไป พุ่มพวงจึงหันมาเป็นนักร้องประจำวงของ ศรเพชร ศรสุพรรณ และขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด

14 มิถุนายน พ.ศ. 2130 ‘พระเจ้าตาก’ เปิดยุทธการทุบหม้อข้าว นำทัพบุกตีเมืองจันทบูร

วันนี้เมื่อ 255 ปีก่อน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สั่งทุบหม้อข้าวก่อนบุกตีเมืองจันทบูร นับเป็นยุทธการที่ลือลั่นจวบจนถึงทุกวันนี้

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2310 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ยกทัพ บุกตีเมืองจันทบูร และได้ปลุกขวัญกำลังใจเหล่าทหารด้วยการ ทุบหม้อข้าว หมายจะได้กินข้าวเช้าในเมืองจันทบูร หากตีเอาเมืองไม่ได้ ก็ให้ตายด้วยกันเสียให้หมด ถือว่าเป็นกลศึกที่ปลุกขวัญกำลังใจแก่ทหารกล้าเป็นอย่างมาก และเป็นยุทธวิธีอันลือลั่นมาจนถึงทุกวันนี้

จากเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือนเจ้าตากเดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้าบางกระจะ มุ่งยึดจันทบุรี เจ้าเมืองจันทบุรีไม่ยอมสวามิภักดิ์ เจ้าตากต้องการยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นที่มั่นเพื่อรวบรวมกำลังมาตีพม่า จึงสั่งทหารทุกคนว่า

"เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเสร็จแล้ว ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ ก็จะให้ได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว"

ในวันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2310 ครั้นถึงเวลา 19.00 น. เจ้าตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยและจีนลอบเข้าไปอยู่ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน จึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้ เมื่อเวลา 03.00 น. เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณพร้อมกับบอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกันส่วนเจ้าตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมืองจนทำให้บานประตูเมืองพังลง ทหารเจ้าตากจึงกรูกันเข้าเมืองได้ พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป ส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยังเมืองบันทายมาศ เจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 03.00 น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน

15 มิถุนายน พ.ศ.2505 ปราสาทเขาพระวิหาร ตกเป็นของกัมพูชา หลังศาลโลกตัดสินให้ไทยเป็นฝ่ายแพ้คดี

15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ครบ 60 ปี ไทยสูญเสียกรรมสิทธิ์ในปราสาทเขาพระวิหารให้กับกัมพูชา

15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลโลก หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ พิพากษาชี้ขาด คดีปราสาทเขาพระวิหาร ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศกัมพูชา 

ปราสาทหินแห่งนี้เป็นศิลปะขอม สร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ราวปี 1545-1593 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ของขอม ภาษาเขมรเรียกว่า "เปรี๊ยะ วิเฮียร์" (Phrea vihear) ตัวปราสาทสูง 657 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่บนทิวเขาพมนดงรักซึ่งกั้นระหว่างประเทศกัมพูชากับไทย ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศเหนือ ด้านหน้าและทางขึ้นอยู่ในเขตประเทศไทย แต่ตัวปราสาทส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกัมพูชา 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ค้นพบปราสาทแห่งนี้เมื่อปี 2442 แล้วทรงจารึกพระนามของพระองค์และปีที่ค้นพบไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า “118 สรรพสิทธิ์” เนื่องจากเขาพระวิหารตั้งอยู่ตรงรอยต่อของไทยกับกัมพูชา ซึ่งผลัดกันยึดครองดินแดนแถบนี้

ครบ 32 ทีม ลุยฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย ได้ 32 ทีมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลัง ‘คอสตาริกา’ หลังเฉือนชนะ นิวซีแลนด์ 1-0 กลายเป็นทีมสุดท้ายที่ได้ไปเล่นฟุตบอลโลก 2022 ในช่วงปลายปีนี้ที่ประเทศกาตาร์ ไปดูกันว่าทั้ง 32 ทีมในครั้งนี้มีใครบ้าง

สรุปรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์

กลุ่ม เอ : กาตาร์ (เจ้าภาพ), เอกวาดอร์, เซเนกัล และเนเธอร์แลนด์

กลุ่ม บี : อังกฤษ, อิหร่าน, สหรัฐอเมริกา และเวลส์

กลุ่มซี : อาร์เจนติน่า, ซาอุดีอาระเบีย, เม็กซิโก และโปแลนด์

กลุ่มดี : ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย, เดนมาร์ก และตูนิเซีย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top