Monday, 6 May 2024
Contributor

'ทำมากกว่าพูด' โดย ‘หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี’ ผู้ร่วมก่อตั้ง 'ต้องรอด' | Contributor EP.21

จากแรงบันดาลใจของผู้ที่ได้สัมผัสห้วงเวลาแห่งความเป็นและความตายมาด้วยตัวเอง รวมถึงยังได้สูญเสียคนรอบกายที่ต้องมลายด้วยมหันตภัยเชื้อร้ายนี้

ปลุกกระตุ้นให้เขา 'หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล' หนึ่งในอาสาสมัครและผู้ร่วมก่อตั้ง 'ต้องรอด' โดยกลุ่ม Up for Thai ตัดสินใจที่จะเข้ามาเป็นอีกฟันเฟืองสำคัญของสังคมไทย ในการช่วยเหลือทุกภาคส่วน ทั้งบุคลากรด่านหน้า หาเตียงให้คนไข้ สนับสนุนด้านอาหารแก่ผู้ข้องเกี่ยว

และอีกหลากภารกิจ “เพื่อพาคนไทยผ่านวิกฤตโควิดนี้ไปด้วยกัน” เท่าที่จะทำได้ในแบบที่...

'ทำ' มากกว่า 'พูด'

.

.

.


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
- ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
- รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
- สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
- แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

Fake is Real ก้าวผ่าน...ปากเหวแห่ง ‘ความบิดเบือน’ | Contributor EP.22

ต้องยอมรับว่า ทุกวันนี้ เฟกนิวส์ หรือ ข่าวเท็จ/ข่าวปลอม ที่ว่อนอยู่ทั่วสังคมไทย โดยเฉพาะในโลกโซเชียล สร้างความสับสนต่อคนไทยจำนวนไม่น้อย

งานนี้ คือ งานยากที่คนในรัฐบาลดูเหมือนจะตั้งรับได้ช้า จนต้องดึงภาคสังคมที่มีความชำนาญการมาช่วยจัดการ ซึ่งก็เริ่มเห็นว่าในช่วงหลังมีผู้ช่วย ที่ออกมาแก้ต่างเฟกนิวส์สุดบิดเบือนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการคลี่คลายความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในเมืองไทย 

ในวันนี้ Contributor พามาคุยกับ…

‘ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต’ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)

หนึ่งในผู้ที่คอยสื่อสารและสร้างความเข้าใจกับประชาชน ตั้งแต่ การชี้แจงข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับข้อมูลที่ควรต้องเชื่ออย่างรวดเร็ว

เพื่อให้คนในสังคมไทยไม่ตกหล่ม ‘โลกบิดเบือน’ ในยุคข่าวเท็จสะเทือน ‘ความจริง’ จนบางคนมองเป็น ‘ข่าวจริง’

Fake is Real
ก้าวผ่าน...ปากเหวแห่ง ‘ความบิดเบือน’

ผู้นำนครพนม…ประชาชนพึ่งได้!! | Contributor EP.23

‘ครูแก้ว - ศุภชัย โพธิ์สุ’ 
ผู้นำนครพนม…ประชาชนพึ่งได้!!

ศุภชัย โพธิ์สุ หรือ ‘ครูแก้ว’ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทยคนที่ 2 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม แกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน พรรคภูมิใจไทย คั่วแชมป์ ส.ส. หลายสมัยแห่งนครพนม

จากเด็กกำพร้า ลูกชาวนา สู่ชายคาเสนาบดีแห่งประเทศไทย ภายใต้บทบาทของการเป็น ส.ส. และรองประธานสภาฯ ที่ไม่เคยคิดว่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัว ไม่ใช่ความภูมิใจส่วนบุคคล แต่เป็นของพี่น้องชาวนครพนม ที่ตนต้องพร้อมแบกรับความหน้าที่ในการเป็นที่พึ่งแบบทุ่มสุดตัว 

- นึกถึง จังหวัดนครพนม 
- นึกถึง พระธาตุพนม ที่ใครมาเยือนนครพนมแล้วต้องไปไหว้พระธาตุกันสักครั้งในชีวิต 
- นึกถึง ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีที่ชาวนครพนมภาคภูมิใจ ยึดถือกันมานานตั้งแต่โบราณ
- และ ‘ครูแก้ว’ ศุภชัย โพธิ์สุ คนดีศรีโคตรบูรณ์ นักการเมืองผู้เป็นที่รักของคนในพื้นที่ ที่พึ่งของชาวนครพนมตลอดหลาย 10 ปี ที่ Contributor EP. นี้ จะชวนไปพูดคุยกัน

เปิดใจ 'พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา' | CONTRIBUTOR EP.27

นายพงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ศิลปินศิลปาธร สาขาดนตรีปี พ.ศ.2560 ผู้ริเริ่มโครงการบทเพลงเทิดพระเกียรติ "คีตามาลัยเทิดไท้พระพันปี" เปิดใจเล่าถึงที่มา และ เบื้องหลัง กว่าจะเป็น 10 บทเพลงทรงคุณค่า ที่ถ่ายทอดเรื่องราวอันซาบซึ้งประทับใจ และเป็นที่จดจำของปวงชนชาวไทยเกี่ยวกับพระองค์ท่าน

ผู้พิทักษ์ ‘สันติ’ ราษฎร์ พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ | CONTRIBUTOR EP.28

ค่านิยม ‘ท้าทาย’ กฎหมายของคนในยุคนี้ ยุคที่ใคร ‘แหก’ กฎได้มากเท่าไร ก็จะยิ่งยกย่องกันแบบผิดๆ ว่า 'เจ๋ง' และดูเก่งในสายตากลุ่มก้อนความคิดเดียวกัน ... เริ่มลุกลาม!!

แต่เมื่อ 'กฎหมาย' คือ กฎที่คนส่วนใหญ่ ทำตาม!!

ผู้ใด 'ท้าทาย' ก็ต้องพร้อมรับผิดชอบในทุกการกระทำ

และนี่คือเรื่องราวของอีกหนึ่งผู้บังคับใช้กฎหมาย ที่อยากฝากบอกถึง 'นักแหกกฎ' ให้ปลดความคิดสุดระห่ำออกไปจากระบบคิด และจงเชื่อเถอะว่าชีวิตของพวกคุณจะไม่มีวันถูกหล่อเลี้ยงได้อย่างยั่งยืนผ่านคำยกย่องผิดๆ

พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี 

ผู้พิทักษ์ ‘สันติ’ ราษฎร์

'พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผบช.กมค.' ชี้!! พรบ.ไกล่เกลี่ย 62 สัมฤทธิ์ผล ไม่ถึงปี ไกล่เกลี่ยได้ 1,528 คดี ลดรายจ่าย ปชช.ร่วมร้อยล้าน

จากรายการ CONTRIBUTOR ออกอากาศทาง THE STATES TIMES เมื่อวันที่ 22 ก.ย.66 ได้พูดคุยกับ พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี (กมค.) ในสาระสำคัญของบทบาท ผู้พิทักษ์ 'สันติ' ราษฎร์ โดยมีเนื้อหาช่วงหนึ่งได้กล่าวถึงผลสัมฤทธิ์ของ พรบ.ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ปี 2562 ที่ พล.ต.ท.ไตรรงค์ และ กมค. ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันให้เกิดการบังคับใช้นั้น ได้สร้างประโยชน์ต่อสังคมไทยในช่วงเวลาแค่ไม่ถึง 1 ปีได้อย่างมาก ว่า…

“สำหรับ พรบ.ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางสำนักงานกฎหมายและคดี รับหน้าที่เป็นฝ่ายเลขา ตัวกฎหมายระบุว่า มีความผิดทางอาญาบางประเภทสามารถยุติได้ในชั้นการไกล่เกลี่ย ไม่ว่าจะเป็นไกล่เกลี่ยในชั้นสอบสวน หรือโดยผู้ไกล่เกลี่ยในภาคประชาชน ซึ่งในเรื่องนี้ทาง ผบ.ตร. (พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์) ได้ยกขึ้นมาเป็นนโยบายประจำปี 2566 เลย โดยกำหนดให้สถานีตำรวจทั่วประเทศ จะต้องดำเนินการให้มีการไกล่เกลี่ยในงานสอบสวน ให้ครบทุกสถานี และพยายามจัดตั้งให้มีศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนให้ครบทั่วประเทศ 1,483 สถานี”

พล.ต.ท.ไตรรงค์ ระบุว่า “ตอนนี้จัดตั้งเฟสแรกในเรื่อง การจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยในงานสอบสวน เพราะว่ากฎหมายบังคับให้งานสอบสวน ทุก ๆ หน่วยงาน จะต้องให้มีการไกล่เกลี่ยได้ในคดีความผิดอาญาบางประเภท สมัยก่อน ไม่มีกฎหมายให้อำนาจ ก็ไกล่เกลี่ยไม่ได้ หรืออาจจะต้องไปถึงขึ้นชั้นศาล แต่ปัจจุบัน พรบ.ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ที่ออกมาตั้งแต่ปี 2562 แต่พร้อมบังคับใช้จริงก็ต่อเมื่อมีผู้ไกล่เกลี่ยตามกฎหมาย มีการอบรม การขับเคลื่อนอย่างเต็มที่ มีการเทรนนิ่งใหม่ มีการทำความเข้าใจใหม่ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้ ทำให้พี่น้องประชาชนประหยัดเวลา ลดภาระค่าใช้จ่ายในกระบวนการยุติธรรม และถ้าเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยตั้งแต่ต้น จะไม่มีประวัติ ไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือเลย ถ้าทั้งผู้เสียหายและผู้ต้องหาในคดีอาญา ประสงค์เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยตั้งแต่ต้น ก่อนที่จะมีการแจ้งข้อกล่าวหา ถ้าไกล่เกลี่ยสำเร็จ ยุติปัญหา ก็จะไม่เกิดเป็นคดีเลย”

พล.ต.ท.ไตรรงค์ เปิดเผยต่อว่า “หลังจากที่เรามีการขับเคลื่อน พรบ.ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีคดีเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยในสถานีตำรวจรวมทั้งสิ้น 2,139 คดี ไกล่เกลี่ยและยุติไป 1,528 คดี หรือคิดเป็น 71% ดังนั้นท่าน ผบ.ตร. (พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์) ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท. นิรันดร เหลื่อมศรี ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นประธานคณะขับเคลื่อน โดยมีทาง กบค. เป็นเลขา ก็จะพยายามขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรมให้มากกว่านี้ขึ้นไปอีก”

“แต่แค่ช่วงเวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ ม.ค. 66 - ปัจจุบัน สามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จไปแล้ว 1,528 คดี ลดภาระ ค่าใช้จ่ายของพี่น้องประชาชน ไปแล้วกว่าร้อยล้านบาท แต่หากพูดถึงเรื่องคุณค่าทางจิตใจ ความสมานฉันท์ของสังคม ประเมินค่าไม่ได้ เรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่องที่ทางสำนักงานกฎหมายและคดี มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการนี้” พล.ต.ท.ไตรรงค์ กล่าวทิ้งท้าย

รับชมสัมภาษณ์เต็มได้ที่: https://www.youtube.com/watch?v=175HCRBK-hk 

ถึงเวลาสร้าง ‘ไทย’ ให้เติบใหญ่ในยุคดิจิทัล l รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก

ความ ‘เท่า’ ที่ยากจะ ‘เทียม’ หากระบบการศึกษาไทยยังย่ำอยู่กับที่และทิศทางไทยยังคงหลงอยู่กับนโยบาย

ประชานิยมที่คอยกระตุกกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงแค่ครั้งคราว

กลับกันประเทศไทย ในวันที่เริ่มตั้งตัว ต้องหาทางตั้งทรงแบบยกแผงต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะผลักดันอนาคตชาติเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในทุกภาคส่วนระบบการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา และอื่นๆ ให้เกิดรากอันแข็งแกร่ง เพื่อเป็นฐานรองรับให้ ‘คนในชาติ’ กลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ

Contributor EP นี้ ขอกระตุกมุมคิดคนไทยให้ร่วมมองความเจริญแห่งอนาคตที่ถูกทิศผ่านมุมคิดของ... 
รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA ที่ขอเป็นตัวแทนพูดดังๆ ถึงทุกภาคส่วน ว่า…

ถึงเวลาแล้วที่ ‘ประเทศไทย’ ต้องปฏิรูป!!

‘รศ.ดร.ดนุวัศ’ แนะ!! 6 หนทาง พลิกไทยโตยั่งยืน ยัน!! แนวคิดแจกเงินหมดคลัง ไม่ช่วยคนไทยรวย

จากรายการ CONTRIBUTOR EP.29 ออนแอร์ผ่านช่องทาง THE STATES TIMES เมื่อวันที่ 6 พ.ย.66 ได้เปิดเผยถึงแนวทางปฏิรูปประเทศไทยต่อจากนี้ ซึ่งจะมีผลลัพธ์อันดีต่อการเติมเงินลงไปในกระเป๋าคนไทยได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังส่งผลไปถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่เติบโตได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ผ่านมุมมองของ รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA ที่กล่าวไว้ว่า…

จากนี้ไป คือ ช่วงเวลา ‘วัดกึ๋น’ ผู้บริหารของประเทศไทย!!

หากต้องการสร้างเศรษฐไทยยุคใหม่ ที่มีทั้งความปลอดภัยให้แก่ระบบเศรษฐกิจ, การคลัง และสร้างรายได้แก่ประชาชนได้อย่างยั่งยืน ผู้นำของประเทศ จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ที่จะขับเคลื่อนแนวทางเหล่านี้ให้เดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว ดังนี้...

>> เรื่องแรก ‘ปฏิรูป’
สถานการณ์ของประเทศไทยในวันนี้ แค่ ‘เปลี่ยน’ หรือปรับ ไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะปัญหาต่าง ๆ บางทีต้องรื้อใหม่ตั้งแต่โครงสร้าง ซึ่งผมมองว่า ต่อจากนี้ประเทศไทยต้องใช้คำว่า ‘ปฏิรูป’ โดยการปฏิรูปนี้ต้องเข้าไปสะเทือนหลายโครงสร้างของประเทศ ทั้งการเมือง, เศรษฐกิจ, การศึกษา องค์กรด้านความมั่นคง และกฎระเบียบที่ย่อหย่อน ต้องเขย่ากันใหม่ตั้งแต่รากฐาน ไม่ได้บอกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ไม่ดี แต่ไม่พอ อย่างเรื่องการศึกษา พูดมานาน ทั้งแนวทางการเรียนการสอนแบบใหม่ การพัฒนาบุคลากรครูผู้สอน และรวมถึงการเท่าทันกับเทรนด์อาชีพที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เหล่านี้พูดกันมานาน แต่ก็ยังไม่เกิดอะไรขึ้น นั่นก็เพราะมันไม่ง่าย เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องเยอะ กระทบคนเยอะ นี่จึงเป็นตัววัดฝีมือผู้บริหารประเทศที่ต้องทรงวิสัยทัศน์

>> เรื่องที่ 2 ‘ตระหนักใน 3 ทักษะเปลี่ยนโลก’
ในโลกยุคการศึกษา 4.0 มี 3 เรื่องใหญ่ ๆ ที่ภาคการศึกษาต้องทำ นั่นก็คือ 

1. ทักษะด้านดิจิทัล ทั้งเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และโค้ดดิ้ง ซึ่งเรื่องนี้ก็เห็นว่าระบบการศึกษาไทยกำลังให้ความสำคัญอยู่ 

2. ทักษะในการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลก ต้องเข้าใจว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก ต้องเท่าทันโลก 

3. ทักษะด้านซอฟต์สกิล ซึ่งเป็นเรื่องของภาวะส่วนบุคคล ที่ต้องมีไหวพริบ ควบคุมอารมณ์ได้ดี มีทักษะในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อนำมาสู่การทำงานและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือทำงานกันเป็นทีมได้ ซึ่ง 3 สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ World Economic Forum ให้ความสำคัญกับการอยู่ในโลกดิจิทัลอย่างมาก แต่โลกการศึกษาไทยอาจจะยังไม่ได้เน้น และเราต้องเร่งขับเคลื่อนเรื่องนี้ เพราะผมมองว่ามันสำคัญมากกับการใช้ชีวิตในโลกยุคหลังจากนี้

>> เรื่องที่ 3 ‘โลกนอกกะลา’
การเปิดรับต่อองค์ความรู้นอกประเทศ เป็นสิ่งที่ยังเป็นปัญหาในสังคมไทย ซึ่งเรื่องนี้ก็คงต้องฝากความหวังไว้ที่สื่อบ้านเรา ช่วยเปิดโลกให้คนไทยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวในต่างประเทศ ทั้งการเมือง, เศรษฐกิจ, สังคม, การศึกษา และเรื่องอื่น ๆ ต้องเติมเข้ามาให้คนไทยได้รับรู้กันมากขึ้น เพราะในวันนี้คนไทยจำนวนไม่น้อย เริ่มคิดว่า พวกเขาคือ ศูนย์กลางของจักรวาล สิ่งที่เขารู้คือสิ่งที่เป็นบรรทัดฐาน และคิดว่าเรื่องราวแคบ ๆ ในประเทศ คือ คำตอบที่ถูกต้อง …ผมเคยถามคำถามหนึ่งกับนักศึกษาว่า รู้ไหมนายกฯ คนก่อนของเยอรมนี (อังเกลา แมร์เคิล) อยู่ในตำแหน่งกี่ปี ไม่มีใครตอบได้ …เขาอยู่ในตำแหน่ง 16 ปีครับ แต่บ้านเราพอมีนายกฯ ที่อยู่ในตำแหน่ง 8 ปีก็โวยวายกันแล้ว เป็นต้น

>> เรื่องที่ 4 ‘หยุดสร้างผลงานเพื่อเรียกคะแนนเสียง’
ด้วยหนทางในการต่อสู้ทางการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการบริหารประเทศ พรรคการเมืองโดยมากก็มักจะสร้างผลงานระยะสั้นออกมา เพราะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการเข้าไปปฏิรูปโครงสร้างบางอย่างที่แม้จะเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่ก็มักจะใช้เวลานาน แต่ผมอยากให้เห็นภาพแบบนี้ว่า เรื่องโครงสร้างพื้นฐานบ้านเรา ที่กว่าจะเป็นรูปเป็นร่างทุกวันนี้ ถ้าไม่ได้รัฐบาลที่อยู่ต่อเนื่องนาน ๆ อาจจะไม่ได้เห็นก็ได้ เฉกเช่นเดียวกันกับระบบคมนาคมขนส่งในยุโรป, อังกฤษ, อเมริกา กว่าจะทำได้ก็เป็น 100 ปี หรือ ชินคันเซ็น ในญี่ปุ่นก็สร้างมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลลัพธ์ของมันคือ เมื่อระบบโครงสร้างที่ดีเกิดขึ้น การพัฒนาทางเศรษฐกิจไหลตามมาโดยอัตโนมัติ เหมือนที่ญี่ปุ่น สถานีรถไฟใหญ่ ๆ อยู่ตรงไหน ความเจริญจะอยู่ตรงนั้น เกิดห้าง, โรงเรียน, มหาวิทยาลัย, ร้านขายของ และอีกมากมายที่มีเม็ดเงินมหาศาลเกิดการหมุนเวียนในพื้นที่ ฉะนั้นนโยบายที่มาจากแรงผลักดันทางการเมือง เพียงเพื่อล่าคะแนนเสียงจากประชาชนในช่วงเลือกตั้ง ไม่ยั่งยืน!! 

>> เรื่องที่ 5 ‘สร้างคนต้นน้ำ-ปลายน้ำ’
ประเทศไทยต้องยกระดับขึ้นไปทั้งแผง ต้องผสานพลังขนานใหญ่จากทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน โดยเฉพาะกับบุคลากร ที่ต้องสร้างกันตั้งแต่ ‘ต้นน้ำ’ แบบเข้มแข็ง เริ่มที่ระบบการศึกษาที่ต้องสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัลโลก ตลาดงาน รวมถึงสถาบันครอบครัวก็ต้องเข้มแข็งด้วย ขณะเดียวกันในส่วนของ ‘ปลายน้ำ’ ก็ต้องส่งเสริมให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ หรือ SMEs เหล่านี้ต้องสอดคล้องไปด้วยกัน ตลาดงานได้คนเก่ง สร้างการเติบโตทางธุรกิจ แล้วภาษีก็จะไหลวนคืนสู่ประเทศ แต่วันนี้ทุกภาคที่ว่ามายังแยกเป็นส่วน ๆ ไม่ทำงานประสานพลังกัน เราต้องยกระดับหลากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำงานร่วมมือกัน ก้าวขึ้นไปพร้อมกันแบบยกแผง

>> เรื่องที่ 6 ‘แจกเท่าไร คนไทยก็ไม่รวย’
วิธีง่าย ๆ ในการทำให้คนที่เงินในกระเป๋ามากขึ้น ก็คือ แจกเงิน เพิ่มรายได้ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำได้ทันที ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ แต่โจทย์นี้มันไม่ง่าย หากต้องการให้เงินในบัญชีคนไทยงอกเงยได้อย่างยั่งยืน ซึ่งก็ต้องบอกตรง ๆ ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องชี้วัดเชิงนโยบายว่าผู้บริหารประเทศมีความแหลมคมแค่ไหน กลับกันคนไทยจะมีเงินในกระเป๋าได้มากขึ้นจริง ๆ ต้องมาจากความสามารถในการทำงานที่มากขึ้น แล้วรายได้ที่ความมั่นคงอย่างยั่งยืนจะมากตาม ฉะนั้นแจกเงินหมดคลังไป คนไทยก็ไม่รวย

เหล่านี้เป็นโจทย์สำคัญ ที่ผู้นำของประเทศ, รัฐบาล และทุกหน่วยงานที่จะมีบทบาทต่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย คงจะรอช้าไม่ได้ ซึ่งแน่นอนว่า แนวคิด ‘ปฏิรูป’ นี้มันไม่ง่าย แต่ถ้าไม่ทำตอนนี้ โอกาสที่จะเติมเงินใส่กระเป๋าคนไทย และสร้างสรรค์เศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้กว่าที่เป็นอยู่อย่างยั่งยืน ก็คงจะไม่ง่ายด้วยเช่นกัน และการสร้างแค่นโยบายเชิงประชานิยม จนทำให้คนในประเทศเสพติดจนเป็นนิสัย ก็ไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้นมาอีกด้วย

ป้าหมาย ‘ท่องเที่ยวไทยเชิงคุณภาพ’ ผ่านมุมมอง ‘วีระศักดิ์ โควสุรัตน์’ | CONTRIBUTOR EP.30

เมืองไทยมีดี มีจุดขายที่งดงามในภาคการท่องเที่ยว แต่จะพอใจเพียงเท่านี้ พอใจเพียงจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ลูกเดียว อาจจะไม่ยั่งยืน

มิติใหม่ของการท่องเที่ยวไทย ต้องปรับประยุกต์ เพื่อสร้างการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
กระตุ้นให้เกิดความหลากหลายในแต่ละเขตแดน เมือง จังหวัด ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องร้อยห่วงโซ่ของ ‘ความยิ้มแย้ม-ความยืดหยุ่น-ไม่หย่อนยาน’ 
รวมถึงปรับแนวทางสู่ความยั่งยืน ด้วยการพัฒนาระบบการท่องเที่ยวใต้วิธีคิดที่ทันโลก

เพราะนี่คือวาระสำคัญของอนาคตการท่องเที่ยวไทยในวันข้างหน้า 
ในวันที่ ‘หินก้อนใหญ่’ ยังกดทับ ‘หญ้าสีเขียว’ ในบางพื้นที่อยู่

ปลดล็อกร่างทอง ‘ท่องเที่ยวไทยเชิงคุณภาพ’ ไปด้วยกันกับ Contributor EP นี้ กับผู้ที่เข้าใจระบบนิเวศการท่องเที่ยวยั่งยืนแบบถ่องแท้ได้จาก... คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top