Saturday, 4 May 2024
ไทย

📌สรุปเหรียญเอเชียนเกมส์ หางโจว 2022 ประจำวันที่ 30 ก.ย.66 (เฉพาะชาติในกลุ่มประเทศอาเซียน)

📌สรุปเหรียญเอเชียนเกมส์ หางโจว 2022 ประจำวันที่ 30 ก.ย.66 (เฉพาะชาติในกลุ่มประเทศอาเซียน)

ล่าสุด ‘ไทย’ ครองอันดับที่ 6 คว้าเหรียญทอง 8 เหรียญเงิน 3 เหรียญทองแดง 14 รวมทั้งหมด 25 เหรียญ

3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสบังคับสยาม ยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แลกกับเมืองจันทบุรี ในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112

วันนี้ เมื่อ 130 ปีก่อน ฝรั่งเศสบังคับสยาม สละพื้นที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 นับเป็นการเสียดินแดนครั้งที่ 2 

‘การรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา’ จุดเริ่มต้นของ ‘วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112’ หรือ ‘กรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส ร.ศ. 112’ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เกิดขึ้นเมื่อกองทัพฝรั่งเศสส่งเรือรบ 2 ลำ คือ เรือแองกองสตองต์ และ เรือโกแมต์ โดยมีเรือสินค้า ‘เจ. เบ. เซย์’ เป็นเรือนำร่อง รุกล้ำฝ่าสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามา 

โดยหมู่ปืนใหญ่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าและหมู่เรือรบซึ่งเป็นแนวป้องกันของไทยได้ยิงสกัดถูกเรือสินค้าเสียหาย เรือรบของฝรั่งเศสจึงยิงตอบโต้ โดนเรือมกุฎราชกุมารของไทยเสียหาย และทหารไทยเสียชีวิต 8 นาย บาดเจ็บ 40 นาย ส่วนทหารฝรั่งเศสเสียชีวิต 3 นายและบาดเจ็บอีก 3 นาย จากนั้นเรือรบฝรั่งเศสทั้งสองก็แล่นฝ่าเข้ามาที่สถานกงสุลฝรั่งเศส ถนนเจริญกรุง 

โดยผลจากการปะทะกันครั้งนี้ ฝรั่งเศสได้บังคับให้สยามลงนามใน ‘สนธิสัญญาสันติภาพ’ ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ซึ่งเป็นการทำสัญญาสงบศึกระหว่างรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

โดยสาระสำคัญเป็นข้อกำหนดที่ฝรั่งเศสตั้งขึ้นเอง เช่น ให้สยามยอมสละข้ออ้างทั้งปวงว่า มีกรรมสิทธิ์อยู่เหนือดินแดนทั่วไปทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และบรรดาเกาะทั้งหลายในแม่น้ำนั้น ห้ามมิให้มีเรือติดอาวุธไว้ใช้ หรือเดินไปมาในน่านน้ำของทะเลสาบ และของแม่น้ำโขง และลำน้ำที่แยกจากแม่น้ำโขง ไม่สร้างค่ายหรือที่ตั้งกองทหารไว้ในเมืองพระตะบอง และเมืองนครเสียมราฐ รวมทั้งบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงในรัศมี 25 กิโลเมตร 

โดยให้บุคคลสัญชาติฝรั่งเศสก็ดี บุคคลในบังคับหรือในปกครองฝรั่งเศสก็ดี จะไปมาหรือค้าขายได้โดยเสรี ขออารักขาเมืองจันทบุรี ให้ลงโทษบุคคลที่เป็นต้นเหตุแห่งการสูญเสียชีวิตของทหารฝรั่งเศสในคำม่วนโดยมีคนของฝรั่งเศสเข้าร่วมพิจารณาตัดสินด้วย และที่สำคัญในกรณีเกิดความยุ่งยากในการตีความหมายของสัญญานี้ให้ใช้ฉบับภาษาฝรั่งเศสเท่านั้น

นอกจากนี้สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวยังกำหนดให้สยามชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศสเป็นเงินจำนวน 3 ล้านฟรังก์ ตีเป็นเงินไทยประมาณ 1,560,000 บาท ในสมัยนั้น บังคับให้รัฐบาลสยามยอมสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดถึงเกาะแก่งในแม่น้ำโขงทั้งหมด เป็นพื้นที่ 143,000 ตารางกิโลเมตร และฝรั่งเศสได้ยึดเมืองจันทบุรีไว้ในอารักขานานกว่า 10 ปี (ระหว่างปี 2436-2447) จนกว่าสยามจะชดใช้ค่าเสียหายจนครบ ผลจากกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสครั้งนี้ทำให้สยามต้อง เสียดินแดนเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งนับเป็นการเสียเนื้อที่ครั้งใหญ่ที่สุด

ทั้งนี้ กรณีพิพาทดังกล่าว ได้กลายเป็นชนวนสงครามความขัดแย้งขึ้นอีกครั้งบนคาบสมุทรอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในกรณีพิพาทอินโดจีนระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีจักรวรรดิญี่ปุ่นเข้าร่วมวงศ์ไพบูลย์ด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามมหาเอเชียยบูรพาอีกด้วย

‘ไทย’ ครองแชมป์!! ‘พลเรือน’ ครอบครอง ‘ปืน’  มากสุดในอาเซียน

ชวนย้อนดูสถิติ ไทยครองแชมป์ ‘พลเรือนครอบครองปืน’ มากที่สุดในอาเซียน

การครอบครอบครองปืนในไทยกว่า 10.3 ล้านกระบอก มากเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน และอยู่อันดับที่ 13 ของโลก และพบว่า ปืนที่ครอบครองอยู่ เป็นปืนที่มีทะเบียน 7 ล้านกระบอก และปืนไม่มีทะเบียน 6 ล้านกระบอก และสัดส่วนการครอบครองปืน คือ ประชาชน 100 คน มีปืน 15 คน

‘กระทรวงพลังงาน’ เกาะติดสถานการณ์สู้รบ ‘อิสราเอล-ฮามาส’ หวั่นดันราคาพลังงานโลกพุ่ง ย้ำ ปริมาณสำรองของไทยยังมีพร้อม

(9 ต.ค. 66) นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่ากระทรวงพลังงานเกาะติดสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส (Hamas) หรือองค์กรการเมืองติดอาวุธของชาวปาเลสไตน์อย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ประเทศไทยจะยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะไม่ได้มีการนำเข้าพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) จากอิสราเอลหรือปาเลสไตน์

เนื่องจากปัจจุบันไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศกลุ่มตะวันออกกลางประมาณร้อยละ 57 และในส่วนของแอลเอ็นจีนำเข้าจากต่างประเทศประมาณร้อยละ 33 จากหลากหลายแหล่ง

ทางกระทรวงพลังงานก็ได้ติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง เพื่อประเมินและเตรียมความพร้อมหากเกิดสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น โดยกระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมด้านปริมาณสำรองพลังงาน

โดยปัจจุบันไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบ 3,910 ล้านลิตร ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่อยู่ระหว่างขนส่งอีก 1,637 ล้านลิตร น้ำมันสำเร็จรูป 2,180 ล้านลิตร ทำให้มีน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองใช้ได้กว่า 2 เดือน แบ่งเป็น น้ำมันดิบ 33 วัน อยู่ระหว่างขนส่งอีก 14 วัน และน้ำมันสำเร็จรูป 20 วัน ส่วนก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) สำหรับในภาคครัวเรือนใช้ได้ 21 วัน

“หากสถานการณ์มีความยืดเยื้อและรุนแรงขึ้น สิ่งที่น่ากังวลที่สุดจะเป็นเรื่องของราคาพลังงานโลก เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกพลังงานรายใหญ่ของโลก ซึ่ง sentiment หรือสภาวะอารมณ์ของตลาดอาจจะมีผลทำให้ราคาพลังงานสูงขึ้นได้ แม้ว่าในปัจจุบันราคาน้ำมันจะยังคงแกว่งตัวในช่วงแคบ ๆ แต่ยังคงต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด”

นายประเสริฐกล่าวว่า แต่อย่างไรก็ดีกระทรวงพลังงานจะยังคงดำเนินการอย่างเต็มที่ในการบรรเทาให้เกิดผลกระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุด และขอให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์วิกฤตนี้และร่วมกันใช้พลังงานโดยเฉพาะน้ำมันอย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด เพื่อผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

‘นายกฯ เศรษฐา’ บินลัดฟ้า หารือทวิภาคีกับ ‘ฮ่องกง’ หวังเดินหน้า EEC เชื่อมโยง เขตเศรษฐกิจ GBA

(9 ต.ค.66) ณ ทำเนียบผู้บริหารสูงสุดฮ่องกง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พบหารือทวิภาคีกับนายจอห์น ลี คา-ชิว (The Honorable John Lee Ka-chiu) ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีมุ่งส่งเสริมพลวัตความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน และความเชื่อมโยง ประเทศไทยและฮ่องกงเป็นพันธมิตรทางการค้า และการลงทุนที่สำคัญ อีกทั้งต่างยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของกันและกันอีกด้วย รวมถึงได้ชื่นชมความสะดวกสบายในการดำเนินธุรกิจ (ease of doing business) ของฮ่องกงด้วย หวังให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือน พร้อมเชิญผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงเยือนไทยด้วย

ด้านผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง กล่าวว่า ไทยและฮ่องกงมีความสัมพันธ์ที่ดี และเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะมิติด้านเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี เพื่อเป็นศูนย์กลางการดำเนินธุรกิจ และจุดหลอมรวมระหว่างตะวันออก และตะวันตกอีกทั้งประตูสู่จีนแผ่นดินใหญ่ จึงเป็นโอกาสที่ดีให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันต่อยอดผลประโยชน์เศรษฐกิจ และการเงินการธนาคาร ในสภาวะความท้าทายที่โลกกำลังเผชิญกับเศรษฐกิจที่ตกต่ำในขณะนี้

โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือที่มีความสนใจร่วมกัน ดังนี้นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ฮ่องกงมีบทบาทที่สำคัญ เชื่อมจีนกับส่วนอื่น ๆ ของโลก ตลอดจนบทบาทในฐานะศูนย์กลางภูมิภาคด้านการค้า การเงิน และบริการ

โดยไทยสามารถเป็นประตูสู่ภูมิภาคอาเซียนให้แก่ฮ่องกง และจีนได้ ซึ่งรวมถึงการเป็นประตูสำหรับธุรกิจ ตลอดจนสินค้า และบริการจากฮ่องกง และจีนได้ จึงหวังที่จะกระชับความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งการค้า การลงทุน และความเชื่อมโยง

ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งฮ่องกงมีความเชี่ยวชาญ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทย เชิญชวนฮ่องกงมาลงทุนในไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย

โดยไทยหวังที่จะเดินหน้าความร่วมมือเชิงลึกกับฮ่องกง เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยง และนโยบายการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อประสาน และเชื่อมโยง EEC กับเขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง - ฮ่องกง - มาเก๊า (Greater Bay Area: GBA)

‘เชฟเกาหลี’ แชร์ทริค ‘ปิ้งหมูกระทะ’ ไม่ให้เตาไหม้ ด้วยการนำไปต้มก่อนย่าง พร้อมยกให้ ‘ไทย’ เป็นประเทศแห่งซอส หลังเดินทางมาท้าพิสูจน์ความอร่อย

เมื่อวานนี้ (13 ต.ค.66) เป็นเชฟชื่อดัง ที่มีผู้ติดตามเกือบ 6 ล้านคน สำหรับ ‘แบคจงวอน’ เชฟ นักชิม นักเขียนเกาหลีชื่อดัง แห่งรายการ Baek Jong won’s Alley Restaurant

ล่าสุด เชฟแบค ก็ได้เดินทางมาพิสูจน์ความอร่อยของร้านอาหารไทย พาไปกิน ปูผัดผงกะหรี่ โจ๊กร้านดัง จิ้มจุ่ม และล่าสุดกับ หมูกระทะ ที่ขอเคลมว่า “ย่างหมูกระทะได้เก่งที่สุดในกรุงเทพฯ” พร้อมโชว์การย่างหมูกระทะแบบเชฟดังเกาหลี พร้อมมิชชั่น จนกว่าจะออกจากร้าน จะไม่ยอมให้กระทะไหม้เด็ดขาด

เชฟแบค มาไปกินหมูกระทะร้านดัง ที่มีหมูหมักซอส ตับ กุ้ง และบอกว่า “ในบรรดาแขกที่มาที่นี่ ผมน่าจะเป็นคนที่ย่างเก่งที่สุด” และยังโชว์ให้ดู โดยบรรยายใต้คลิปว่า

“คนกรุงเทพทุกคนครับ~ ได้ยินมาว่าหมูกระทะเริ่มมาจากที่เกาหลีเหรอครับ~ผมต้องใช้โอกาสนี้บอกวิธีทานหมูย่างที่ถูกต้องแบบเกาหลีหน่อยแล้วล่ะครับ วันนี้เราจะไม่นั่งอยู่กับที่ครับ! ทุกคนช่วยยืนดูเลยนะครับ”

ในคลิปได้บอกเคล็ดลับในการกินไม่ให้เตาไหม้ว่า เอาที่ต้มแล้ว มาไว้ที่ย่าง เพื่อป้องกันเตาไหม้และเอาที่กำลังไหม้ลงไปที่น้ำซุป เพื่อให้น้ำซุปอร่อยขึ้น ซึ่งเมื่อชิมแล้วก็พูดว่า “คงต้องเปิดร้านนี้ที่เกาหลี” เพราะอร่อยจริง ทั้งยังชมไทยว่า ‘ประเทศแห่งซอส’ ในการลองชิมน้ำจิ้มต่างๆ ทั้งสุกี้ และ ซีฟู้ด

ช่วงหนึ่ง แบคจงวอน ยังได้นำน้ำซุป เทราดลงไปที่หมูซึ่งย่างอยู่บนเตาเพิ่มความชื้นด้วย

ขอบคุณคนไทย รักษารสชาติดั้งเดิมให้อยู่ แต่ของเราเริ่มหายไปแล้ว เพราะว่าไปร้านที่ย่างเนื้อ ส่วนใหญ่ทำให้เตาไหม้ ก็เลยสั่งเนื้อเพิ่มไม่ได้ เมนูย่างเนื้อเริ่มหายไป ไม่ใช่เพราะว่าขายไม่ได้นะ ร้านเนื้อมีปัญหาว่าสั่งเพิ่มยาก (เตาไหม้เลยกินเยอะไม่ได้) ก็เลยเริ่มเปลี่ยนเป็นเนื้อธรรมดา

ทั้งนี้ แบคจองวอน ก่อตั้งธุรกิจอาหาร Theborn Korea ในปี 1993 และขยายออกไปมากกว่า 26 แบรนด์ ทั้ง Saemaeul , Bornga ที่คนไทยรู้จัก หรือ Paik’s Beer และ Baek’s Coffee กระจายอยู่ในหลายประเทศ กว่า 1,300 แห่ง

ไทยหน้าบาน!! จีนเลือกอุปกรณ์นักวิทย์ฯ ไทย ติดยาน 'ฉางเอ๋อ 7' ลุยสำรวจดวงจันทร์ปี 69

(16 ต.ค. 66) คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ฝ่ายจีนในโครงการฉางเอ๋อ 7 ได้คัดเลือก ‘อุปกรณ์สำรวจสภาพอวกาศระหว่างโลกและดวงจันทร์ ตรวจวัดรังสีคอสมิก และติดตามผลกระทบที่มีต่อโลก’ (Sino-Thai Sensor Package for Space Weather Global Monitoring) เป็น 1 ใน 7 อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่จะติดตั้งไปกับอวกาศยานฉางเอ๋อ 7

เครื่องมือดังกล่าวมีน้ำหนัก 3 กิโลกรัม ติดตั้งเซ็นเซอร์แม่เหล็กซึ่งจะพุ่งเป้าลงไปยังดวงจันทร์เพื่อตรวจสอบสนามแม่เหล็ก และส่งการแจ้งเตือนเหตุการณ์สภาพอากาศในอวกาศ เช่น พายุสุริยะ ไปยังโลก ในขณะที่เครื่องตรวจจับอีกชิ้นหนึ่งที่จะตรวจวัดรังสีคอสมิกพลังงานต่ำในช่วงพลังงานที่ไม่เคยมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องมาก่อน

รายงานระบุว่า อุปกรณ์ดังกล่าวได้รับการพัฒนาร่วมกัน นำโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) และมหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้กรอบความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศเชิงลึก ภายใต้โครงการสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ (International Lunar Research Station)

ปัจจุบัน ทีมวิจัยของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยมหิดลกำลังทำงานร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์อวกาศแห่งชาติในกรุงปักกิ่งเพื่อปรับแต่งการออกแบบเชิงวิศวกรรมโดยละเอียด

ตามแผนโครงการสำรวจดวงจันทร์ระยะที่ 4 ยานอวกาศฉางเอ๋อ-7 จะทำการสำรวจภูมิประเทศขั้วใต้ของดวงจันทร์ รวมทั้งองค์ประกอบของทางกายภาพ และสภาพแวดล้อมในอวกาศ ตั้งเป้าเปิดตัวในปี 2569 เพื่อปูทางสำหรับการก่อสร้างสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ (ILRS) ซึ่งเป็นฐานที่จีนและพันธมิตรระหว่างประเทศจะสร้างบนดวงจันทร์เพื่อการสำรวจทางวิทยาศาสตร์และการใช้ทรัพยากรในช่วงปี 2573

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2566 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศเชิงลึก (Deep Space Exploration Laboratory : DSEL) องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Adminnistration: CNSA) ได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศเชิงลึก ภายใต้โครงการสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ เพื่อร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบอุปกรณ์ปฏิบัติภารกิจอวกาศ ดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์สนับสนุนอื่น ๆ รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะเชิงวิจัย ด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์ และวิศวกรรมดาราศาสตร์เชิงลึก ครอบคลุมถึงการสำรวจอวกาศ สภาพอวกาศ วิทยาศาสตร์ข้อมูล และการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง

‘รองนายกฯ ไทย’ ยก ‘แผน BRI’ เป็นสุดยอดวิสัยทัศน์ระดับโลก เชื่อมต่อความเจริญ หนุนการค้า-ลงทุน เสริมแกร่ง ศก. ‘ไทย-จีน’

เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 66 สำนักข่าวซินหัว, กรุงเทพฯ รายงานว่า เมื่อไม่นานนี้ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ให้สัมภาษณ์พิเศษกับสำนักข่าวซินหัวว่า ‘แผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ (BRI) ถือเป็นวิสัยทัศน์ระดับโลกอันชาญฉลาดที่ส่งเสริมการเชื่อมต่อและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงนำพาความเจริญมายังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

นายปานปรีย์ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ’ (BRF) ครั้งที่ 3 ว่าแผนริเริ่มฯ เป็นโครงการที่มีความชาญฉลาดมาก มีการมองไปข้างหน้าเพื่อการพัฒนาภูมิภาค และเพื่อให้โลกมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น พัฒนาการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะทำให้ประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาได้ประโยชน์จากโครงการนี้สูงมาก

แผนริเริ่มฯ ได้ยกระดับการเชื่อมต่อระดับภูมิภาคผ่านโครงการต่างๆ อย่าง ‘ทางรถไฟ’ ซึ่งเชื่อมต่อเมืองสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดการขนส่งสินค้าอย่างราบรื่นตลอดแนวเส้นทาง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ซึ่งรัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการสร้างทางรถไฟจีน-ไทย ซึ่งจะเชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ลาว และจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งจีน ลาว และไทย

“เราหวังจะเสริมสร้างการเชื่อมต่อกับมาเลเซียและสิงคโปร์เพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศเหล่านี้ในด้านการค้า การลงทุน และสำคัญที่สุดคือ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน” นายปานปรีย์กล่าว พร้อมชี้ว่า จีนมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกที่เผชิญความไม่แน่นอนมากมายในสถานการณ์ปัจจุบัน

สำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจจีน นายปานปรีย์กล่าวว่า ประเทศจีนมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก เวลานี้เศรษฐกิจจีนจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจโลกฟื้นกลับมาได้ในสภาพที่ปกติ เพื่อนบ้านหรือภูมิภาคที่อยู่ใกล้จีน ก็สามารถค้าขายกับจีนได้อย่างเป็นปกติเช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การค้าในภูมิภาคของเอเชียมีความแข็งแรงทั้งหมด

“ในมุมมองผม ก็ยังมองเศรษฐกิจของจีนในด้านดีและด้านบวก” นายปานปรีย์กล่าว

สำหรับความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างไทยและจีนนั้นหยั่งรากลึก โดยนอกจากการค้าและการลงทุนแล้ว ความร่วมมือทวิภาคียังครอบคลุมด้านอื่นๆ เช่น ความมั่นคง สังคม และวัฒนธรรม ขณะการทำงานร่วมกันมุ่งเน้นเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียว โดยเฉพาะการเกื้อหนุนห่วงโซ่อุปทานเพื่อความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน

อนึ่ง ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศของจีน ระบุว่า การค้าทวิภาคีระหว่างจีนและไทยในปี 2022 อยู่ที่ 1.35 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.9 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อนหน้า โดยจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทย

นายปานปรีย์ กล่าวว่า จีนเป็นหนึ่งในตลาดเป้าหมายสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งเมื่อไม่นานนี้ ไทยได้ดำเนินนโยบายฟรีวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวชาวจีน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเยือนไทย และกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

สำหรับการพัฒนาระดับภูมิภาค นายปานปรีย์กล่าวว่า ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนที่แข็งแรงจะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาค รวมถึงไทย ในหลากหลายด้าน เช่น การค้า การลงทุน และความมั่นคงของภูมิภาค

“ความสัมพันธ์นี้เป็นประโยชน์ต่อทั้งอาเซียนและจีน” นายปานปรีย์กล่าว

‘สีจิ้นผิง’ พบปะ ‘นายกฯ ไทย’ ร่วมหารือความร่วมมือระหว่างประเทศ มุ่งเพิ่มมิติใหม่สู่ความสัมพันธ์ฉันครอบครัว พัฒนาเพื่ออนาคตร่วมกัน

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 66 สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง รายงานความคืบหน้า นายสีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้พบปะหารือกับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งอยู่ระหว่างเยือนกรุงปักกิ่ง เพื่อเข้าร่วมการประชุมหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ (BRF) ครั้งที่ 3 และเยือนจีนอย่างเป็นทางการ

นายสีจิ้นผิง กล่าวว่า จีนเป็นประเทศแรกนอกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่นายเศรษฐาเดินทางเยือนอย่างเป็นทางการ ซึ่งสะท้อนอย่างเต็มที่ว่ารัฐบาลชุดใหม่ของไทยให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทวิภาคีอย่างมาก

จีนพร้อมทำงานร่วมกับไทยเพื่อสร้างนิยมความเป็นไปได้ในยุคใหม่นี้ให้กับคำกล่าว “จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” อย่างต่อเนื่อง และทำให้ข้อได้เปรียบของมิตรภาพอันยาวนาน เป็นพลังขับเคลื่อนความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน

นายสีจิ้นผิงกล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายควรเร่งรัดการก่อสร้าง ‘ทางรถไฟจีน-ไทย’ ขยับขยายความร่วมมือด้านต่างๆ อาทิ เศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาสีเขียว และพลังงานใหม่ ตลอดจนเสริมความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การฉ้อโกงทางโทรคมนาคมและการพนันออนไลน์ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมอันปลอดภัยสำหรับการพัฒนาของสองประเทศ

นายสีจิ้นผิงเสริมว่า จีนยินดีแบ่งปันโอกาสจากตลาดขนาดใหญ่ และการเปิดกว้างระดับสูงของจีน เพื่อเพิ่มพูนพลังเชิงบวกสู่การพัฒนาของเอเชีย

ด้านนายเศรษฐากล่าวว่า ไทยจะทำงานร่วมกับจีนเพื่อสร้างประชาคมไทย-จีน ที่มีอนาคตร่วมกันอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น

ไทยจะพยายามอย่างสุดกำลังในการรับรองความปลอดภัยของพลเมืองจีนในไทย และยินดีต้อนรับผู้ประกอบการชาวจีนเข้ามาลงทุน และพลเมืองจีนเดินทางเยือนไทย

อนึ่ง คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสของจีน รวมถึงช่ายฉีและหวังอี้ ได้เข้าร่วมการพบปะหารือครั้งนี้ด้วย

‘เศรษฐา’ เข้าเฝ้า ‘มกุฎราชกุมารซาอุฯ’ กระชับความสัมพันธ์สองชาติ ด้าน ซาอุฯ รับปากจะช่วย ‘ตัวประกันไทย’ ในสงครามอย่างเต็มที่

เมื่อวานนี้ (20 ต.ค.66) ณ โรงแรม Ritz Carlton กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าเฝ้าฯ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammed bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีซาอุดีอาระเบีย ในโอกาสการหารือทวิภาคี ระหว่างการเข้าร่วมการประชุม ASEAN – GCC Summit โดยนายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมนตรีและมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีซาอุดีฯ ต่างยืนยันความตั้งใจร่วมกันในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การท่องเที่ยว รวมถึงพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนไทยและซาอุดีฯ ให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในวิสัยทัศน์ของพระราชาธิบดี รวมถึงมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีซาอุดีฯ ที่ทรงวางรากฐาน นำไปสู่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างทั้งสองประเทศ โดยไทยยืนยันมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือด้าน ต่าง ๆ ให้พัฒนายิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมแก่ประชาชนไทยและซาอุดีฯ

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและ มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีซาอุดีฯ หารือประเด็นความร่วมมือดังนี้

ด้านความสัมพันธ์ ทั้งสองฝ่ายหารือถึงการดำเนินความสัมพันธ์ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา โดยเฉพาะควรส่งเสริมการค้าและการลงทุนซึ่ง นายกฯ เสนอการจัดทำ Thai-GCC FTA รวมทั้งแสดงการสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพ Expo 2030 จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2034 ของซาอุดีอาระเบีย รวมถึงแนวทางความร่วมมือและประเด็นที่คั่งค้างในด้าน 1) การเมืองและการกงสุล 2) การลงทุน 3) ความมั่นคงและการทหาร 4) วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และ 5) เศรษฐกิจและการค้า โดยไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย (Saudi – Thai Coordination Council: STCC) ครั้งที่ 1 เพื่อทบทวนการดำเนินความสัมพันธ์ และกำหนดแนวทางความร่วมมือทั้ง 5 ด้าน

ด้านความมั่นคง ทั้งสองฝ่ายพร้อมส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งที่ผ่านมามีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง เพื่อเข้าร่วมงานนิทรรศการด้านการป้องกันประเทศของทั้งสองฝ่ายแล้วในงาน Defense and Security ของไทย และงาน World Defense Show ของซาอุดีฯ ซึ่งทำให้ไทยและซาอุดีฯ มีโอกาสขยายความร่วมมือในด้านความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ซึ่งไทยจะให้ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เร่งรัดความร่วมมือให้เป็นรูปธรรมต่อไป

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีขอบคุณรัฐบาลซาอุดีอาระเบียที่ดูแลคนไทยกว่า 6,000 คน ที่อยู่ในซาอุดีอาระเบีย และแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล ซึ่งมีคนไทยเสียชีวิต บาดเจ็บ และถูกลักพาตัว ซึ่งซาอุดีอาระเบียรับที่จะดำเนินการอย่างเต็มที่ในการให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ถูกจับกุมตัว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top