Saturday, 19 April 2025
สหรัฐอเมริกา

ความจริงที่คนไทยต้องทำใจ!! หาก 'สหรัฐฯ' และ 'โซรอส' ยังไม่หยุด ความพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งของไทยจะไม่สูญสิ้น

ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของชาติตะวันตกทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะก่อนการเลือกตั้งในประเทศไทยที่กำลังจะมีขึ้น กลุ่มฝ่ายค้านที่พยายามเข้ามามีอำนาจทางการเมือง และอ้างสารพัดเหตุว่า กองทัพซึ่งเป็นองค์กรที่ทรงพลังที่สุดของไทยยุ่งเกี่ยวกับการเมืองไทย โดยมี NGO นักเคลื่อนไหว พรรคการเมือง และนักการเมือง ได้รับเงินทุนสนับสนุนและการสนับสนุนทางการเมืองอย่างเต็มที่จาก วอชิงตัน ลอนดอน บรัสเซลส์ และองค์กรชาติตะวันตก รวมถึงมูลนิธิที่มีชื่อเสียงที่สุดของGeorge Soros นั่นก็คือ มูลนิธิ Open Society (OSF)

หนึ่งในผู้เคลื่อนไหวแถวหน้าดังกล่าว คือ Human Rights Watch (HRW) ซึ่งเคยเผยแพร่รายงานประณามการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 ว่าบ่อนทำลาย ‘สิทธิในการลงคะแนนเสียง’ เพื่อทำความเข้าใจกับโฆษณาชวนเชื่อที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก Soros ที่เผยแพร่โดย HRW ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าทำไมประเทศไทยจึงตกเป็นเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองตั้งแต่แรก

ทำไมต้องประเทศไทย? ราชอาณาจักรไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของภูมิภาคทั้งในด้านเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของอาเซียน และยังคงเป็นเพียงชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงชาติเดียวที่รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก

ในขณะที่นักวิเคราะห์บางคนยังคงยึดติดกับการเหมารวมในยุคสงครามเย็นเกี่ยวกับบทบาทของไทยในสงครามที่นำโดยสหรัฐฯ แต่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไทยได้หันเหออกจากวอชิงตันเป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพของไทยได้เริ่มเปลี่ยนอาวุธของอเมริกาที่มีอายุมากแล้วด้วยอาวุธของจีน รัสเซีย และยุโรป ซึ่งรวมถึงทุกอย่างตั้งแต่อาวุธขนาดเล็กไปจนถึงเฮลิคอปเตอร์ขนส่ง Mi-17 ของรัสเซีย เครื่องบินรบของยุโรป รถถังหลักของจีน และเรือบรรทุกบุคลากรติดอาวุธ (APCs) และแม้แต่เรือและเรือดำน้ำที่สร้างโดยจีน ทั้งไทยยังได้เป็นหุ้นส่วนหลักในโครงการ One Belt, One Road (OBOR) ของจีนอีกด้วย และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมทั้งสองประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

ในขณะที่ประเทศไทย โดยความจำเป็น ยังคงต้องรักษาความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกและพันธมิตรของชาติตะวันตกอย่างเช่น ญี่ปุ่น ซึ่งที่สุดแล้วไทยสามารถรักษาสมดุลของความสัมพันธ์เหล่านี้เป็นอย่างดี แม้จะมีแรงกดดันมากมายมหาศาลให้ไทยต้องเลือกข้างฝ่ายก็ตามที ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้และอื่น ๆ อีกมากมาย สหรัฐฯ ได้มีส่วนร่วมในความพยายามเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน โดยเริ่มต้นอย่างน้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ที่ ทักษิณ ชินวัตร มหาเศรษฐี และอดีตที่ปรึกษาของ Carlyle Group ก้าวขึ้นสู่อำนาจทางการเมือง

ภายในปี พ.ศ. 2544 เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า การผงาดขึ้นของจีนในระดับภูมิภาคและระดับโลกนั้นใกล้เข้ามาทุกที และกระบวนการปิดล้อมและโดดเดี่ยวปักกิ่งได้กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ การให้ผู้รับมอบหมายอย่าง ทักษิณ ชินวัตร เข้าสู่อำนาจทางการเมืองในไทยมีเป้าหมายเพื่อสร้างแนวร่วมที่เป็นหนึ่งเดียวของพันธมิตรของสหรัฐฯ ที่รายรอบจีน

Soros กับประเทศไทย จากบทความของ Jean Perier นักวิเคราะห์ภูมิรัฐศาสตร์เรื่อง ‘หลังจาก สูบเลือดไทยจนแห้งแล้ว Soros ก็เข้าสู่กระบวนการสังหาร’ นำเสนอเรื่องราวโดยละเอียดของวิกฤตการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี พ.ศ. 2540 และบทบาทในการเก็งกำไรทางการเงินของ Soros เริ่มจากขั้นแรก เร่งรัดกดดันด้วยกลยุทธทางการเงินต่าง ๆ แล้วจึงหาประโยชน์จากความเสียหายของไทย วิกฤตการณ์ดังกล่าวยังสร้างโอกาสในการโค่นล้มทางการเมืองของรัฐบาลไทยด้วยฝีมือของชาติตะวันตกอีกด้วย

การขึ้นสู่อำนาจของทักษิณหลังจากหายนะทางการเงินนั้นหมายถึงการสร้างประเทศไทยขึ้นใหม่ตามการออกแบบของวอชิงตัน ทักษิณรวบรวมอำนาจทางการเมืองอย่างรวดเร็ว พยายามสร้างพรรคการเมืองพรรคเดียวภายใต้การควบคุมของเขาและผู้สนับสนุนชาติตะวันตก

นอกจากนี้ เขายังได้ดำเนินการในหลากหลายขั้นตอนเพื่อเปลี่ยนแปลงไทยให้เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของสหรัฐฯ รวมทั้งการส่งทหารไทยเข้าร่วมการรุกรานอิรักของสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2546 เชิญชวนให้ CIA ของสหรัฐฯ ใช้ดินแดนของไทยเป็นฐานปฏิบัติการ การแปรรูป ปตท. กลุ่มบริษัทน้ำมันและก๊าซ อันเป็นรัฐวิสาหกิจของชาติ และพยายามที่จะผ่านข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐฯ-ไทย แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

นอกจากนี้ เขายังหลงระเริงไปกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการใช้อำนาจโดยมิชอบอย่างมากมาย ซึ่งในที่สุดทำให้มีเหตุผลในการโค่นเขาออกจากอำนาจด้วยการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ในขณะที่ผู้สนับสนุนทักษิณ รวมถึงสื่อตะวันตก อ้างว่า ข้อกล่าวหาการคอร์รัปชันของเขา เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง จาก Wikileaks ซึ่งเปิดเผยว่า สถานทูตสหรัฐฯ ส่งข้อมูลกลับไปยังกระทรวงการต่างประเทศว่า มีการผ่านกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีในวันเดียวกับที่เขาขายหุ้นบริษัทของเขาให้กับกลุ่มทุนของสิงคโปร์โดยปลอดภาษี

แม้ว่า สถานทูตสหรัฐฯ จะรับรู้ถึงการทุจริตของทักษิณ แต่ก็ยังคงสนับสนุนเขา และตั้งข้อสังเกตว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวจะทำให้กฎหมายการถือครองของชาวต่างชาติมีโอกาสที่จะเปิดเสรีมากขึ้น โดยอ้างว่า : “ข้อเท็จจริงที่ว่าข้อตกลงดังกล่าวมีโครงสร้างเพื่อให้ครอบคลุมข้อจำกัดของประเทศไทยในการลงทุนจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ทำให้เกิดคำถามร้อนแรงเกี่ยวกับบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย และแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของการเปิดเสรีจนถึงปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่หวังว่าจะก้าวไปข้างหน้าคือการถกเถียงทางการเมืองภายในประเทศเกี่ยวกับประเด็นนโยบาย เช่น การถือครองสินทรัพย์โทรคมนาคมของต่างชาติอาจทำให้คนไทยบางส่วนเลิกกลัวการเปิดเสรีตลาด และโดยการต่ออายุข้อตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา”

ตั้งแต่นั้นมา เนื่องจากทักษิณถูกดำเนินคดี และถูกตัดสินว่า มีความผิดในคดีทุจริตและถูกตัดสินจำคุก 2 ปี จึงทำให้เขาต้องหลบหนีตั้งแต่นั้นมาในฐานะผู้หลบหนีที่ซ่อนตัวในต่างประเทศ ทักษิณได้พยายามกลับคืนสู่อำนาจผ่านระบอบการปกครองแบบตัวแทนต่าง ๆ ที่ดำเนินการอย่างเปิดเผยโดยสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งน้องเขยของเขา สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. 2551 ก่อนที่จะถูกศาลพิพากษาถอดถอน และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของทักษิณ ซึ่งทำหน้าที่เป็น นายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2557 จนกระทั่งมีการรัฐประหารครั้งที่สองเพื่อโค่นเธอออกจากอำนาจเช่นเดียวกับพี่ชายของเธอ

Soros และพรรคพวก ให้การสนับสนุนการกลับมาของทักษิณ เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะได้จากทักษิณในฐานะพรรคพวกของสหรัฐฯ และความพยายามอย่างกระตือรือร้นของเขาในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2549 ที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นชาติพันธมิตรของสหรัฐฯ ที่มีการบูรณาการได้อย่างสมบูรณ์ จึงเห็นได้ชัดว่า เหตุใดสหรัฐฯ และพันธมิตรในยุโรป พยายามที่จะพาเขาและพรรคพวกกลับคืนสู่อำนาจ

อย่างไรก็ตาม มันได้กลายเป็นการต่อสู้ที่ยากเย็นแสนเข็ญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ยังสามารถโกงการเลือกตั้งผ่านการซื้อเสียงอย่างโจ่งแจ้งในต่างจังหวัด และการใช้การก่อการร้ายอย่างเป็นระบบเป็นประจำ ตัวทักษิณเองก็ผ่านความล้มเหลวทางการเมืองต่อเนื่อง และการถูกยึดทรัพย์สินโดยศาลไทย ขยับจากอันดับ 4 ที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทยตกลงมาอยู่อันดับที่ 14 การประท้วงต่อต้านทักษิณที่มีคนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาลในปี พ.ศ. 2557 ถือเป็นการต่อต้านทั่วประเทศอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนเพื่อไม่ให้เขากลับคืนสู่อำนาจ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่มีแนวโน้มนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

แต่ถึงแม้เขาจะไม่สามารถกลับคืนสู่อำนาจได้ แต่ความสามารถของเขาในการสร้างความแตกแยก และความพยายามในการทำให้ประเทศไทยถอยหลัง รวมถึงการใช้ความรุนแรงมากขึ้น ก็เป็นการสนองตอบวัตถุประสงค์ของวอชิงตันและวอลล์สตรีทในการต่อต้านประเทศที่ไม่พึงประสงค์อย่างจีนได้

นับตั้งแต่ทักษิณถูกขับไล่ในปี พ.ศ. 2549 เขาและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน กลุ่ม “สิทธิต่าง ๆ นักศึกษา  นักกิจกรรม และสื่อต่าง ๆ” ได้รับการสนับสนุนอย่างเปิดเผยจาก วอชิงตัน ลอนดอน และบรัสเซลส์ ผ่านการสนับสนุนทางการเมืองและการล็อบบี้โดยตรง และผ่านสหรัฐฯ และองค์กรพัฒนาเอกชนที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร (องค์กรพัฒนาเอกชน) ซึ่งเกือบทั้งหมดได้รับทุนบางส่วนจากมูลนิธิ Open Society ของ Soros ด้วย

ย้อนประวัติโหด 2 คู่หูนักปล้น ในเขต North Hollywood สู่การยิงปะทะกับตำรวจครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ

สวัสดีนักอ่านทุกท่านครับ วันนี้ผมหยิบยกเรื่องราวการยิงปะทะกันระหว่างคนร้ายและตำรวจสหรัฐฯ มาเล่าสู่กันฟังครับ หลายๆ ท่านคงคุ้นชินกับเรื่องการพกพาปืนของชาวสหรัฐฯ กันมาพอสมควร เนื่องด้วยมักจะมีข่าวออกมาบ่อยๆ ว่าเกิดเหตุกราดยิงระทึกขวัญตามสถานที่ต่างๆ สุดท้ายมักจบลงด้วยคราบน้ำตาของผู้สูญเสีย ทว่า ปัญหากราดยิงของสหรัฐฯ ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่น่าพอใจของคนในประเทศ

เรื่องที่ผมยกมาเล่านี้ ต้องกล่าวย้อนกลับไปเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 เกิดเหตุการปล้นในนครลอสแองเจลลิส และต่อมาก็กลายเป็นการยิงปะทะกันต่อสู้กันอย่างดุเดือดระหว่างตำรวจกับผู้ร้าย และถือเป็นการยิงปะทะที่ดุเดือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรมตำรวจแห่งนครลอสแองเจลลิส (LAPD)

เหตุการณ์ครั้งนั้น ทั้งสองฝ่ายสาดกระสุนใส่กันเกือบสองพันนัด โดยฝ่ายตำรวจยิงไปราว 650 นัด และคนร้ายยิงอีกราว 1,100 นัด มีผู้เสียชีวิต 2 คน เป็นคนร้ายทั้งคู่ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 20 คน

นับเป็นเหตุการณ์อีกครั้งหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจการยิงที่ด้อยกว่าคนร้าย

คนร้ายทั้งสองคือ Larry Eugene Phillips Jr. และ Ștefan Emilian ‘Emil’ Mătăsăreanu (เกิดที่ประเทศโรมาเนีย) พบกันครั้งแรกที่โรงยิม Gold เมืองเวนิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี ค.ศ. 1989 พวกเขามีความสนใจร่วมกันในเรื่องการยกน้ำหนัก การเพาะกาย และอาวุธปืน

แต่ก่อนรู้จักกัน ‘Phillips’ เป็นผู้ที่พฤติกรรมเป็นคนร้ายเกี่ยวข้องกับการต้มตุ๋นด้านอสังหาริมทรัพย์ และการโจรกรรมในร้านค้า ส่วน Emil เป็นวิศวกรไฟฟ้าและทำธุรกิจซ่อมคอมพิวเตอร์ที่ค่อนข้างจะไม่ประสบความสำเร็จ

20 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 Phillips และ Emil ได้ปล้นรถหุ้มเกราะซึ่งจอดอยู่นอกธนาคาร First Bank ในเมือง Littleton มลรัฐโคโลราโด

วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1993 ทั้งสองถูกจับที่เมือง Glendale ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนครลอสแองเจลิสในข้อหาขับรถเร็วเกินกำหนด จากการค้นรถ หลังจากที่ Phillips ยอมจำนนพร้อมอาวุธปืนที่พกติดตัว ตำรวจพบปืน AK-47 กึ่งอัตโนมัติ 2 กระบอก, ปืนพก 2 กระบอก, กระสุนปืนขนาด 7.62 × 39 มม. มากกว่า 1,600 นัด, กระสุนขนาด 9 × 19 มม. และ .45 ACP อีก 1,200 นัด, วิทยุรับฟังความถี่ตำรวจ, ระเบิดควัน, อุปกรณ์ประกอบระเบิด, เสื้อเกราะ, และป้ายทะเบียนของรัฐแคลิฟอร์เนีย 3 แผ่นที่เลขแตกต่างกัน

ในขั้นต้นทั้งสองถูกข้อหาสมรู้ร่วมคิดที่จะก่อการปล้น ทั้งสองติดคุก 100 วัน และถูกคุมประพฤติ 3 ปี หลังจากได้รับการปล่อยตัวทั้งสองได้รับคืนทรัพย์สินส่วนใหญ่ ยกเว้นอาวุธปืนและวัตถุระเบิด

14 มิถุนายน ค.ศ. 1995 ทั้งคู่ได้ปล้นรถหุ้มเกราะของบริษัท Brinks ในเมือง Winnetka มลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยได้สังหาร Herman Cook พนักงานรักษาความปลอดภัย และพนักงานรักษาความปลอดภัยอีกคนถูกยิงบาดเจ็บสาหัส

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1996 ได้ปล้นธนาคารแห่งอเมริกา 2 สาขาในพื้นที่ San Fernando Valley ในนครลอสแองเจลิสได้เงินไปประมาณ 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Phillips และ Emil ถูกขนานนามว่าเป็น ‘จอมโจรอุบัติการณ์สูง (High Incident Bandits)’ โดยเจ้าหน้าที่สอบสวน จากอาวุธที่ใช้ในการปล้น 3 ครั้งก่อนที่จะเกิดเหตุการยิงกันที่เขต North Hollywood

วันเกิดเหตุ Phillips และ Emil ขับรถ Chevrolet Celebrity สีขาว ปี ค.ศ.1987 มาถึงธนาคารแห่งอเมริกาสาขาแยกถนน Laurel Canyon และถนน Archwood ในเขต North Hollywood ราว 09.17 น. และได้ตั้งนาฬิกาปลุกไว้แปดนาที เป็นการประมาณเวลาที่ตำรวจจะมาถึงหลังจากที่ได้รับแจ้งเหตุ

ในช่วงเวลานี้ Phillips ใช้วิทยุรับฟังความถี่ตำรวจ เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนไหวของตำรวจก่อนการปล้น ขณะที่ทั้งสองกำลังเดินไปยังธนาคารก็ถูกพบโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ LAPD 2 นาย Loren Farrell และ Martin Perello ที่กำลังขับรถสายตรวจเพื่อตรวจตราตามถนน Laurel Canyon เจ้าหน้าที่ Perello แจ้งวิทยุขอความช่วยเหลือ ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุ 211 ที่ธนาคารแห่งอเมริกา ‘211’ คือรหัสแจ้งว่ามีการปล้น

ขณะที่ Phillips และ Emil เข้าไปในธนาคาร พวกเขาอาวุธประกอบด้วย ปืนไรเฟิล Norinco Type 56 S-1 Phillips และ Emil สั่งให้ลูกค้าออกจากโถงที่มี ATM ใกล้กับทางเข้าธนาคารและนอนลงกับพื้น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของธนาคารเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว และเห็นโจร 2 คนพร้อมอาวุธหนัก จึงวิทยุเพื่อนร่วมงานซึ่งอยู่ที่ลานจอดรถให้เรียกตำรวจ แต่ไม่มีการตอบรับ

Phillips ตะโกนว่า "ชูมือขึ้น! ก่อนที่จะเปิดฉากยิงเพดานเพื่อข่มขู่พนักงานธนาคารและลูกค้าประมาณ 30 คน เพื่อไม่ให้ขัดขืน Phillips ยิงเพื่อเปิดประตูกันกระสุน (ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันกระสุนความเร็วต่ำเท่านั้น) และสามารถเข้าถึงเคาเตอร์และตู้นิรภัย ได้บังคับให้ John Villigrana ผู้ช่วยผู้จัดการ เปิดตู้นิรภัย Villigrana จึงจำเป็นต้องเปิดและเริ่มนำเงินใส่ถุงเงิน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลารับมอบของธนาคารห้องนิรภัยจึงมีเงินน้อยกว่า 750,000 ดอลลาร์ตามที่ Phillips และ Emil คาดเอาไว้ ทำให้ Phillips โกรธจนเกิดการโต้เถียงกับ Villigrana และเรียกให้ Villigrana หาเงินให้มากขึ้น และแสดงความหงุดหงิดที่ชัดเจนด้วยการยิงปืนเข้าไปในตู้เซฟของธนาคารถึง 75 นัด ทำลายเงินที่เหลืออยู่ 

Phillips พยายามที่จะเปิดตู้ ATM ของธนาคาร แต่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายผู้จัดการสาขาไม่สามารถเข้าถึงเงิน ATM ได้อีก

ก่อนจะหนี Phillips และ Emil ได้ขังตัวประกันในห้องนิรภัยของธนาคาร ท้ายที่สุดทั้งสองก็เหลือเงินสด 303,305 ดอลลาร์ ซึ่งมีสีระเบิดสามซองซึ่งต่อมาก็เกิดระเบิดทำให้เกิดตำหนิบนเงินที่พึ่งปล้นมาทั้งหมด

ด้านนอกเมื่อเจ้าหน้าที่ชุดแรกได้ยินเสียงปืนจากธนาคาร และวิทยุเรียกกำลังเสริม ก่อนที่จะหลบเข้าหลังรถสายตรวจเล็งปืนไปยังประตูธนาคาร ในขณะที่โจรยังคงอยู่ข้างใน ตำรวจสายตรวจและสายสืบมาถึง และเข้าประจำตำแหน่งกำบังที่เหมาะสมทั้งสี่มุมรอบ ๆ ธนาคารอย่างมีประสิทธิภาพ

เวลาประมาณ 9:24 น. Phillips เดินออกทางประตูทางเหนือ และพบกับตำรวจห่างราว 200 ฟุต (60 ม.) จึงเปิดฉากยิงเป็นเวลาหลายนาที ทำให้ตำรวจบาดเจ็บ 7 นาย และพลเรือนอีก 3 คน

นอกจากนี้ Phillips ยังยิงเข้าใส่เฮลิคอปเตอร์ตำรวจซึ่งบินตรวจการณ์ด้านบน จนต้องบินห่างออกมาในระยะปลอดภัย Phillips ถอยกลับเข้ามาข้างในสักพัก ก่อนโผล่ออกทางประตูด้านเหนือ ขณะที่ Emil เดินออกจากประตูทางทิศใต้

Phillips และ Emil เริ่มยิงปะทะกับเจ้าหน้าที่ โดยยิงไปยังรถสายตรวจที่จอดอยู่ตามถนน Laurel Canyon หน้าธนาคาร เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอาวุธปืนมาตรฐาน ได้แก่ ปืนพกแบบ Beretta 92F/FS ขนาด 9 มม. ปืนพกลูกโม่ S&W Model 15 ขนาด .38 และปืนลูกซอง Ithaca แบบโยนลำ (Pump action) Model 37 ขนาด 12 ทันทีที่เจ้าหน้าที่ยิงตอบโต้กระสุนของเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเจาะผ่านชุดเกราะที่ Phillips และ Emil สวมใส่ได้ ด้วยปืนพกของเจ้าหน้าที่ LAPD ส่วนใหญ่ไม่มีอานุภาพเพียงพอ และในระยะไกลมีความแม่นยำต่ำ มีเสียงตำรวจ LAPD เตือนเจ้าหน้าที่คนอื่นว่า "อย่าหยุดยานพาหนะหลบหนี เพราะพวกเขามีอาวุธปืนอัตโนมัติ ไม่มีอะไรที่จะสามารถหยุดยั้งพวกเขาได้" 

นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังถูกตรึงไว้ด้วยห่ากระสุนจาก Phillips และ Emil ทำให้ยากต่อการพยายามยิงตรงศีรษะ (ซึ่งไม่มีเกราะป้องกัน) เจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนายจึงได้ไปขอยืมปืน AR-15 จำนวน 5 กระบอกจากร้านขายปืนใกล้เคียงเพื่อนำมาใช้ยิงต่อสู้กับ Phillips และ Emil

มีสองตำแหน่งที่อยู่ติดกับลานจอดรถด้านทิศเหนือที่เหมาะจะกำบังเจ้าหน้าที่ และสามารถยิง Phillips ด้วยปืนพก ขณะที่ Phillips กำลังยิง และหลบใกล้กับรถ 4 คันที่จอดอยู่ติดกับกำแพงด้านเหนือของธนาคาร และสถานที่แห่งหนึ่งที่ เจ้าหน้าที่ Zielenski กองตำรวจจราจร Valley ใช้เป็นที่กำบังคือ ร้านอาหาร Del Taco สาขา West wall ห่างจาก Phillips ราว 351 ฟุต เจ้าหน้าที่ Zielenski ยิง Phillips ไป 86 นัด และอาจยิงถูกอย่างน้อยหนึ่งนัด ตำแหน่งอื่นที่เป็นประโยชน์เจ้าหน้าที่ LAPD คือสนามหลังบ้านเลขที่ 6641 ถนน Agnes ผนังบล็อกช่วยกำบังเจ้าหน้าที่ที่ทำการยิงต่อสู้ และอาจยิงถูก Phillips ด้วยกระสุน 9 มม. จากปืนพกของนักสืบ Bancroft ซึ่งยิงไป 17 นัด และนักสืบ Harley ยิงไปอีกราว 15 ถึง 24 นัด ถูก Phillips ในระยะประมาณ 55 ฟุต

หลังจากที่ Emil เคลื่อนรถ Chevrolet Celebrity ออกจากพื้นที่จอดรถคนพิการในลานจอดรถทางตอนเหนือ Phillips อาจถูกยิงที่มือซ้าย (อ้างอิงจากภาพข่าวเฮลิคอปเตอร์ที่แสดงให้เห็นว่า เขามีอาการบาดเจ็บ) ในเวลาเดียวกันกระสุนปืนจากเจ้าหน้าที่ LAPD ยิงถูกปืน H&K 91 ที่ Phillips ใช้ยิงจนขัดข้องและใช้งานไม่ได้ เจ้าหน้าที่ LAPD ยิง Phillips บาดเจ็บจากสองจุดกำบังและป้องกันไม่ให้ Phillips สามารถหลบหนีได้ง่าย ๆ

‘สหรัฐฯ’ เสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ หลังสภาพคล่องติดขัด เงินสดเหลือใช้ไม่ถึงกลางปี 66 ลุ้น!! นโยบายยืดชีวิต

เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ออกอาการหวั่นวิตก ว่าเงินคงคลังในประเทศกำลังหมด ซึ่งอาจนำไปสู่สัญญาณอันตรายว่าสหรัฐฯ มหาอำนาจด้านเศรษฐกิจอันดับ 1 ของโลก เสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2566 นี้ หากสภาคองเกรซไม่เร่งพิจารณานโยบายเพิ่มเพดานหนี้ หรือ ระงับอำนาจในการกู้เงินในประเทศ ก่อนภาคธุรกิจการเงินของโลกจะปั่นป่วนรุนแรง 

ทั้งนี้ เจเน็ต ยังได้ส่งจดหมายตรงถึงทั้งประธานสภาผู้แทน และ วุฒิสภา ให้เร่งพิจารณานโยบายดังกล่าวเพื่อปกป้องศรัทธา และความน่าเชื่อมั่นของสหรัฐอเมริกาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยได้อ้างถึงแผนการจำกัดวงเงินกู้จำนวน 31.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่เป็นอำนาจการกู้เงินตามกฎหมาย

รัฐมนตรีคลังหญิง หนักใจกับความหนักหนาสาหัสของสภาพคล่องในกองคลังของสหรัฐฯ ถึงขนาดกล่าวออกมาว่า ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่า เงินสดจะหมดคลังสหรัฐฯ เมื่อไหร่ แต่หากประเมินจากรายได้ภาษีในเดือนเมษายนที่ผ่านมา และ ระดับค่าใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง คาดว่ามีกระแสเงินสดใช้จ่ายได้ถึงแค่ต้นเดือนมิถุนายนนี้เท่านั้น

‘พงษ์ภาณุ’ หวั่น ไทยหลุดโผลงทุนจาก ‘สหรัฐฯ - ยุโรป’ หลังตะวันตก เริ่มแง้มกันท่าชาติไม่เป็นประชาธิปไตย

‘พงษ์ภาณุ’ หวั่น ไทย หลุดเรดาร์ลงทุน หลังสหรัฐฯ - ตะวันตก อ้าง ‘ความมั่นคง’ จัดระเบียบ Supply Chains ใหม่ ปักหมุดฐานการผลิตประเทศที่ไว้วางใจ กีดกันชาติไม่เป็นประชาธิปไตย

(7 พ.ค. 66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ให้มุมมองต่อเศรษฐกิจของโลก ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00-08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 66 โดยระบุว่า สืบเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ อเมริกา กับจีน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดสงครามทางการค้ามาอย่างต่อเนื่อง จากผลพวงที่เกิดขึ้นทำให้สินค้าหลายแบรนด์ได้ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน อาจกล่าวได้ว่า โลกกำลังจัดระเบียบ Global Supply Chains ใหม่จากเดิมที่เน้นประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ มาเน้นเรื่องความมั่นคงมากขึ้น

ย้อนกลับไปในอดีตหลายสิบปี ก่อนที่จะเกิดความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ในอุตสาหกรรมการผลิตและ Supply Chains ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ไปยังพื้นที่เขตเศรษฐกิจ หรือประเทศที่มีประสิทธิภาพสูงสุดด้านการผลิตทั่วโลก บริษัทฯ ใหญ่ ๆ ประสบความสำเร็จจากการใช้ระบบนี้ ยกตัวอย่าง แอปเปิล และไนกี้ ที่มีการกระจายการผลิตชินส่วนไปในหลาย ๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จีน เวียดนาม ไทย เป็นต้น ซึ่งประเทศเหล่านี้นับว่ามีประสิทธิภาพในการผลิตสูงและต้นทุนต่ำ

แต่ภายหลังเกิดความขัดแย้ง เริ่มเกิดความไม่ไว้วางใจระหว่างกันอย่างชัดเจน เดิมที่ยึดผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่ปัจจุบันความมั่นคงปลอดภัยด้าน Supply Chains ถูกยกขึ้นมาให้ความสำคัญมากกว่า และแทนที่ประสิทธิภาพไปแล้ว

นายพงษ์ภาณุ ได้ยกตัวอย่างความมั่นคงทางด้าน Supply Chains ว่า บริษัทยักษ์ใหญ่จากชาติตะวันตกได้บทเรียนจากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งจีนปิดประเทศไป 3 ปี และสงครามระหว่างรัสเซีย - ยูเครน ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักด้าน Supply Chains ในหลาย ๆ จุด ทำให้บริษัทแม่ไม่สามารถผลิตสินค้าออกสู่ตลาดได้ ซึ่งทั้ง 2 เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ชาติตะวันตกนำมาใช้อ้าง เพื่อย้ายฐานการผลิต

แน่นอนว่า เมื่อเกิดการย้ายฐานการผลิต ย่อมมีประเทศที่ได้รับประโยชน์ โดยประเทศที่ได้รับอานิสงส์ในส่วนนี้มี 2 ประเทศในอาเซียน นั่นก็คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ที่มีปัจจัยสนับสนุนทั้งปัจจัยทางการเมืองและปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการดึงดูด Supply Chains เข้ามาเลือกเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่

นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า ประเด็นที่น่ากังวลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย จากการย้ายฐานการผลิตที่ผ่านมาสหรัฐฯ และชาติตะวันตกมองว่าไทยไม่มั่นคงและจัดอยู่ในกลุ่มเผด็จการ (Autocracy) ส่วนประสิทธิภาพและต้นทุนก็สู้คนอื่นไม่ได้ Global Supply Chains จึงย้ายไปที่อื่นหมด ขณะเดียวกันเป็นที่น่าสังเกตว่า ในขณะที่ เวียดนามและอินโดนีเซีย ขยับเข้าใกล้สหรัฐฯ มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยกลับดูเหมือนเดินห่างจากสหรัฐฯ มากขึ้นเช่นกัน

ทั้งนี้ เห็นได้จาก กรณีที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ได้จัดเวทีการประชุมสุดยอดฝ่ายประชาธิปไตย ที่ใช้ชื่อว่า Summit for Democracy ครั้งที่ 2 เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งถือเป็นความพยายามของสหรัฐฯ ที่จะแบ่งประเทศในโลกออกเป็น 2 กลุ่ม คือประชาธิปไตย และเผด็จการ โดยในครั้งนี้มีการเชิญผู้นำกว่า 120 ประเทศเข้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย หรือมีแนวโน้มดัชนีชี้วัดความเป็นประชาธิปไตยอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นบวกในสายตารัฐบาลสหรัฐฯ และน่าสังเกตว่า เวียดนาม ได้เข้าร่วม ทั้งที่ปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ แต่ประเทศไทยกลับไม่ได้รับเชิญทั้ง 2 ครั้ง

“ถ้าหากว่าประเทศไทย ต้องการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากชาติตะวันตก จำเป็นจะต้องเข้าร่วมเป็นพันธมิตรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเป็นมิติทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นข้ออ้างของสหรัฐฯ และชาติตะวันตกที่จะนำมาพิจารณากระจาย Supply Chains โดยให้ความสำคัญในประเด็นความมั่นคงทางการเมือง มากกว่าประสิทธิภาพเหมือนเช่นในอดีต ในส่วนนี้ไทยเองจะต้องแสดงให้เห็นว่า ยังคงเป็นประเทศที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้อยู่ในเรดาร์ของประเทศมหาอำนาจภายหลังจากนี้”

นอกจากนี้ นายพงษ์ภาณุ มองว่า เรื่องต้นทุนพลังงานของประเทศไทยที่สูงขึ้น จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้เช่นกัน เพราะต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นต้นทุนหลักสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตในขณะนี้ ถือว่าสูงกว่าประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนาม และอินโดนีเซีย อยู่พอสมควร 

'เอเชีย-แปซิฟิก' หวั่น!! หลังจีนเท้าความเหตุการณ์ยูโกสลาเวีย เตือนสติ!! เตรียมเจอความป่าเถื่อนของนาโตที่นำโดยสหรัฐฯ

ปักกิ่งจะไม่มีวันลืม และจะไม่มีวันให้อภัย ต่อเหตุการณ์ทิ้งระเบิดสถานทูตของพวกเขาในกรุงเบลเกรด ปี 1999 จากคำกล่าวของหวัง เหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนในวันจันทร์ (8 พ.ค.) โดยหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาประณามกลุ่มพันธมิตรทหารที่นำโดยสหรัฐฯ สำหรับก่อความขัดแย้งโดยอ้างตัวว่าเป็นพันธมิตรป้องกันตนเอง พร้อมแนะนำเชิงเหน็บแนมให้ส่องกระจกดูอาชญากรรรมต่างๆ ที่ตนเองก่อไว้ ในขณะที่ดูเหมือนว่านาโตกำลังบ่ายหน้ามาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

หวัง ออกมาตอกย้ำในเรื่องนี้ ด้วยที่เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นวาระครบรอบเหตุโจมตีสถานทูตจีนในยูโกสลาเวีย ซึ่งส่งผลให้ผู้สื่อข่าวชาวจีนเสียชีวิต 3 ราย และเจ้าหน้าที่ด้านการทูต 20 คนได้รับบาดเจ็บ "ประชาชนชาวจีนจะไม่มีวันลืมกับสิ่งที่พวกเขาต้องเสียสละเพื่อค้ำยันความจริง ความเที่ยงธรรมและความยุติธรรม และเราจะไม่มีวันลืมการกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อนที่ลงมือโดยนาโตที่นำโดยสหรัฐฯ" เขาบอกกับผู้สื่อข่าว

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน กล่าวอ้างว่า นาโตซึ่งเป็นพันมิตรทหารระดับภูมิภาคได้จุดไฟซ้ำ ๆ และนำพาความขัดแย้งไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ไล่ตั้งแต่บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ไปจนถึงโคโซโว จากอิรักไปอัฟกานิสถาน และจากลิเบียสู่ซีเรีย"

"หลังจากมีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามต่าง ๆ ที่เข่นฆ่าชีวิตหลายแสนคนและทำหลายล้านคนต้องไร้ถิ่นฐาน เวลานี้นาโตกำลังจู่โจมมาทางทิศตะวันออก เข้าสู่เอเชีย-แปซิฟิก ยุยงการเผชิญหน้า บ่อนทำลายสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนระบุ

เหตุโจมตีสถานทูต เกิดขึ้นในช่วง 6 สัปดาห์ของการทำสงครามทางอากาศของนาโตกับยูโกสลาเวีย โดยเป็นการเปิดปฏิบัติการในนามของพวกแบ่งแยกดินแดนเชื้อสายแอลเบเนียในโคโซโว ระเบิด 5 ลูกพุ่งใส่สถานทูตจีน ส่งผลให้ผู้สื่อข่าวชาวจีนเสียชีวิต 3 ราย ในขณะที่ปักกิ่งประณามการทิ้งบอมบ์ดังกล่าวว่าเป็นการกระทำอันโหดเหี้ยมป่าเถื่อน

ร่างมติวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่ 114 และร่างมติสภาผู้แทนสหรัฐฯ ที่ 369 จี้ รบ.ไทย ‘ปกป้อง-สนับสนุน’ ประชาธิปไตย เสรีภาพการชุมนุม-แสดงออก

ร่างมติวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่ 114 และ ร่างมติสภาผู้แทนสหรัฐฯ ที่ 369 เรียกร้องหรือแทรกแซง ให้รัฐบาลไทยปกป้อง-สนับสนุนประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน-เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ-เสรีภาพในการแสดงออก

 

Edward Markey วุฒิสมาชิกมลรัฐ Massachusetts พรรค Democratic 
ผู้ซึ่งเคลื่อนไหวเพื่อที่จะออกมติวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่ 114

จากเอกสารที่คนไทยกลุ่มหนึ่งได้กล่าวหาให้ร้ายประเทศไทย โดยส่งถึงรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และวุฒิสมาชิก (Edward Markey วุฒิสมาชิกมลรัฐ Massachusetts พรรค Democratic) และส.ส. (Susan Wild ส.ส. มลรัฐ Pennsylvania พรรค Democratic) ของสหรัฐฯ ซึ่งได้มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องที่จะออกมติวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่ 114 และมติสภาผู้แทนสหรัฐฯ ที่ 369 อันมีเนื้อหาเป็นการกล่าวหาและมีลักษณะเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทยนั้น 

Susan Wild ส.ส. มลรัฐ Pennsylvania พรรค Democratic
ผู้ซึ่งเคลื่อนไหวเพื่อที่จะออกมติสภาผู้แทนสหรัฐฯ ที่ 369

รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มอบให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ประสานกับทั้งสำนักงานของวุฒิสมาชิก Ed Markey และ ส.ส. Susan Wild โดยตรงแล้ว และอยู่ระหว่างชี้แจงประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์ไทยด้วยข้อเท็จจริง ร่างข้อมติทั้งสอง (วุฒิสภาที่ 114 และสภาผู้แทนที่ 369) ซึ่งมีถ้อยคำคล้ายคลึงกันมาก ยังคงเป็นเพียงร่างข้อมติที่รอการพิจารณาของคณะกรรมาธิการต่างประเทศของวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งขึ้นอยู่กับประธานของคณะกรรมาธิการฯ จะยกขึ้นพิจารณาหรือไม่ จึงยังไม่มีการเสนอไปที่วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนฯ แต่อย่างใด และวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ ที่กระทรวงการต่างประเทศถือว่าเป็น “มิตรแท้ของไทย” ยังไม่มีผู้ใดร่วมอุปถัมภ์ (Sponsor) ร่างข้อมติแต่อย่างใด ทั้งนี้รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงการต่างประเทศกำลังมีหนังสือไปถึงวุฒิสมาชิก Markey โดยตรงแล้ว และความพยายามในการขับเคลื่อนเพื่อให้วุฒิสภาและสภาผู้แทนสหรัฐฯเชื่อว่า มีการดำเนินการผ่าน Lobbyist อย่างแน่นอน

เนื้อหาเต็มของร่างมติวุฒิสภาที่ 114 ดังกล่าว มีใจความดังนี้ :
ร่างมติเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปกป้องและสนับสนุนประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม สิทธิในเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและเสรีภาพในการแสดงออก และเพื่อวัตถุประสงค์อื่น

(ร่างมติวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่ 114) เร่งเร้าให้รัฐบาลไทยปกป้องและสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม สิทธิในเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและเสรีภาพในการแสดงออก และเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ในวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา นาย MARKEY (สำหรับตัวเขาเองและนาย DURBIN) ได้ยื่นมติดังต่อไปนี้ ซึ่งได้อ้างถึงคณะกรรมาธิการมติ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยปกป้องและผดุงไว้ซึ่งประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม สิทธิในเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและเสรีภาพในการแสดงออก และเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ โดยที่ราชอาณาจักรไทย (ครั้งหนึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ ‘ราชอาณาจักรสยาม’) และสหรัฐอเมริกาได้สถาปนาความสัมพันธ์กันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2361 และได้ทำสนธิสัญญาทางไมตรีและการค้า ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2376 ซึ่งได้ลงนามอย่างเป็นทางการ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง 2 ประเทศ; โดยที่ไทยเป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญารายแรกของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ค่านิยมสากล และยังคงเป็นมิตรที่มั่นคงของสหรัฐอเมริกา 

ในขณะที่ผ่านสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2497 (หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘สนธิสัญญามะนิลา’) สหรัฐอเมริกาและไทยแสดงความปรารถนาร่วมกันที่จะ ''เสริมสร้างโครงสร้างแห่งสันติภาพและเสรีภาพและเพื่อ ยึดมั่นในหลักการของประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคล และหลักนิติธรรม'' โดยที่ในปี พ.ศ. 2505 สหรัฐอเมริกาและไทยได้ลงนามในแถลงการณ์ Thanat-Rusk โดยสหรัฐฯ ให้คำมั่นว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยหากต้องเผชิญกับการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยผ่านสนธิสัญญาไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำ ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 พร้อมกับความสัมพันธ์ทางการค้าที่หลากหลายและเพิ่มมากขึ้น 

สหรัฐอเมริกาและประเทศไทยได้พัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้น โดยที่สหรัฐอเมริการับรองประเทศไทยในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ประธานาธิบดี Joseph R. Biden และผู้นำอาเซียนได้ยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอาเซียนให้เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม เพื่อเปิดขอบเขตความร่วมมือใหม่ที่สำคัญต่อความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงในอนาคตของสหรัฐอเมริกาและประเทศสมาชิกอาเซียน โดยที่ไทยประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกในปี 2565 (1) เพื่อฟื้นฟูการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (2) เพื่อฟื้นฟูการเชื่อมต่อหลังจากการหยุดชะงักจากการระบาดของ COVID–19 และ (3) เพื่อบูรณาการวัตถุประสงค์ของการมีส่วนร่วมและความยั่งยืนควบคู่กับเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ไทยถูกกำหนดให้เป็นพันธมิตรหลักที่ไม่ใช่สมาชิก NATO ในปี พ.ศ. 2546 และเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนด้านความมั่นคงที่แข็งแกร่งที่สุดของสหรัฐฯ 

ความสัมพันธ์ดังกล่าวยืนยันอีกครั้งโดยแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมปี พ.ศ. 2563 สำหรับพันธมิตรด้านการทหารระหว่างสหรัฐฯ-ไทย ในขณะที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจัดการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกันหลายครั้ง รวมถึง Cobra Gold ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับนานาชาติประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกที่มีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในขณะที่รัฐบาลไทยยังคงเป็นพันธมิตรในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและผู้ลี้ภัย รวมถึงความพยายามในการบรรเทาทุกข์ข้ามชาติหลังจากเหตุการณ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดียในปี พ.ศ. 2547 และแผ่นดินไหวในประเทศเนปาล พ.ศ. 2558 

โดยที่ประเทศไทยสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2475 และได้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้ว 19 ครั้ง รวมทั้งรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ซึ่งกำหนดให้มีผู้แทนจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในสภาสองสภาและมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยที่ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 กองทัพไทยได้ก่อการรัฐประหารโดยยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ประกาศกฎอัยการศึก และแทนที่รัฐบาลพลเรือนด้วยคณะทหาร ซึ่งเรียกว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่ง (ในคำนำนี้เรียกว่า ‘คสช.’) ซึ่งนำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก

โดยที่ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 คสช. ได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 คสช. ได้จัดให้มีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งมีข้อบกพร่องอย่างมาก คือ เจตนาทำให้เอกสารถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่การลงประชามติในปี พ.ศ. 2559 ถูกทำลายโดยการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบอย่างกว้างขวาง ขณะที่ คสช. เมินเสียงเรียกร้องจำนวนมากจากสหประชาชาติและรัฐบาลต่างประเทศให้เคารพสิทธิของประชาชนในการแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างเสรี และตัดทอนเสรีภาพอย่างรุนแรงในช่วงก่อนทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ดำเนินคดีกับนักข่าวและผู้วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ เซ็นเซอร์สื่อและป้องกันการชุมนุมในที่สาธารณะเกินห้าคน ในขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2017

(1) ยึดอำนาจโดยกองทัพไทยทำให้พลเรือนไม่สามารถควบคุมทางการเมือง
(2) บังคับเรียกร้องให้รัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาชุดต่อมาปฏิบัติตาม ‘แผนปฏิรูป 20 ปี’ ที่ออกโดยรัฐบาลทหาร
(3) มีบทบัญญัติที่ทำให้สภาผู้แทนราษฎร 500 คนอ่อนแอ และมีการสงวนที่นั่งวุฒิสมาชิก 250 ที่นั่งในวุฒิสภาสำหรับสมาชิกวุฒิสภาที่ คสช.แต่งตั้ง และหัวหน้า คสช. รวมทั้งผู้นำสูงสุดของทหารและตำรวจ และ
(4) ให้อำนาจเกินขอบเขตแก่สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกโดยรัฐบาลทหารที่ไม่ได้รับเลือกในการเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไป; 

โดยที่ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ประเทศไทยจัดการเลือกตั้งโดย 
(1) กลุ่มตรวจสอบอิสระหลายกลุ่มที่อ้างว่ามีปัญหาทั้งกระบวนการและระบบ ประกาศว่า การเลือกตั้งไม่เสรีและยุติธรรมอย่างเต็มที่ และเอียงข้างอย่างหนักเพื่อเข้าข้างรัฐบาลทหาร และ
(2) ส่งผลให้พรรคการเมืองของ คสช. ซึ่งนำโดยประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่และแต่งตั้งประยุทธ์ให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีก ขณะที่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 พรรคอนาคตใหม่ฝ่ายค้านถูกยุบและถูกสั่งห้ามตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ สืบเนื่องจากกระบวนการทางกฎหมายที่มีข้อบกพร่องจากการตั้งข้อหาเท็จ ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญยังวินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไม่ได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้อยู่ในตำแหน่ง 8 ปี ทั้งที่ยังคงอยู่ในอำนาจตั้งแต่การรัฐประหารในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557

ในขณะที่รัฐบาลไทยยังไม่มีความคืบหน้าในการสืบสวนการโจมตีอย่างรุนแรงต่อนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยบางคน การลักพาตัวและสูญหาย และการสังหารผู้เห็นต่างทางการเมืองของไทยทั่วเอเชีย โดยที่ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 รัฐบาลไทยได้ชะลอการออกกฎหมายต่อต้านการทรมานที่สำคัญอีกครั้ง ซึ่งแม้ว่าจะมีข้อบกพร่อง แต่จะช่วยให้ทั้งความชัดเจนเกี่ยวกับความผิดทางอาญาของการทรมานและการป้องกันการทรมาน 

ขณะที่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ผู้ประท้วงหลายหมื่นคนทั่วประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาและเยาวชนเป็นหลัก ได้เรียกร้องอย่างสันติให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ปฏิรูปรัฐธรรมนูญ และเคารพสิทธิมนุษยชน ในขณะที่รัฐบาลไทยตอบโต้การประท้วงอย่างสันติเหล่านี้ด้วยมาตรการปราบปราม ซึ่งรวมถึงกลยุทธ์การข่มขู่ การใช้กำลังมากเกินไประหว่างการประท้วง การสอดแนม การคุกคาม การจับกุม การใช้ความรุนแรง และการจำคุก โดยที่ระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2566 หน่วยงานของรัฐบาลไทยได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อกลุ่มนักเคลื่อนไหวกว่า 1,800 คนเข้าร่วมเดินขบวนและแสดงความคิดเห็น โดยมีเด็กกว่า 280 คน โดย 41 คนเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 

ในขณะที่รายงานที่เผยแพร่ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยองค์กรพัฒนาเอกชนพบว่า ทางการไทยใช้สปายแวร์ Pegasus กับนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยอย่างน้อย 30 คนและบุคคลที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และต่อต้านนักวิชาการและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทยอย่างเปิดเผย และในขณะที่รัฐบาลไทยยังคงพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งหากมีการประกาศใช้ (1) จะเป็นกฎหมายที่เข้มงวดที่สุดกฎหมายหนึ่งต่อองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในเอเชีย และ (2) จะมีผลที่ไม่อาจย้อนกลับได้ต่อภาคประชาสังคมในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยทั่วไป 

ดังนั้น บัดนี้ จึงมีมติว่าวุฒิสภา (1) ยืนยันความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่าง 2 สหรัฐอเมริกาและไทย ความสัมพันธ์บนพื้นฐานของค่านิยมประชาธิปไตยและผลประโยชน์เชิงกลยุทธ์ร่วมกัน 

(2) เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับประชาชนชาวไทย ในการแสวงหารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย การปฏิรูปการเมือง สันติภาพในระยะยาว และความเคารพ ต่อจุดยืนด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

(3) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยสนับสนุน 10 ประการและสนับสนุนประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน กฎ ของกฎหมายและสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ 1 เสรีภาพในการแสดงออกและความเป็นส่วนตัว

(4) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยสร้าง 3 เงื่อนไขสำหรับการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและยุติธรรมในวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 รวมถึง
(A) เปิดโอกาสให้พรรคฝ่ายค้านและผู้นำทางการเมือง สามารถดำเนินกิจกรรมได้โดยปราศจาก การแทรกแซงที่ไม่เหมาะสมจากรัฐ เจ้าหน้าที่
(B) ทำให้สื่อ นักข่าว และสมาชิกภาคประชาสังคมสามารถใช้เสรีภาพในการกดขี่ ชุมนุมโดยสงบ และการสมาคมได้ โดยปราศจากผลกระทบและความกลัวต่อการดำเนินคดี
(C) ทำให้มั่นใจว่าการนับคะแนนเสียงเป็นยุติธรรมและโปร่งใส

(5) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการอย่างเข้มงวด ปล่อยตัวและยกเลิกข้อกล่าวหาอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและงดเว้นจากการก่อกวน ข่มขู่หรือประหัตประหารผู้ที่มีส่วนร่วมในความสงบ การประท้วงเต็มรูปแบบและกิจกรรมของพลเมืองในวงกว้างมากขึ้น โดยการดูแลสิทธิและความเป็นอยู่ของเด็กและนักเรียนโดยเฉพาะ

(6) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงผลกำไรและการปฏิรูป กฎหมายและข้อบังคับอื่น ๆ ที่บ่อนทำลายการแสดงออกอย่างเสรีและการเข้าถึงข้อมูล

(7) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยลงทุน ระงับและยุติการโจมตีด้วยสปายแวร์ที่มุ่งเป้าไปที่นักวิชาการ 4 คน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และหลักของกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยต่าง ๆ

(8) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกใหม่และยุติการประกาศใช้กฎหมายและกฤษฎีกาที่ใช้ในการเซ็นเซอร์เนื้อหาและคำพูดออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเลือกตั้ง รวมถึงประเทศไทย
(A) ในต่างประเทศ และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่คลุมเครือ
(B) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(C) กฎหมายยุยงปลุกปั่นในวงกว้าง

(9) สื่อสารไปยังรัฐบาลไทยว่ามีการละเมิดสิทธิอย่างต่อเนื่องต่อ ประชาชนชาวไทยที่จะอยู่อย่างสันติและเป็นประชาธิปไตย กำหนดอนาคตของพวกเขา ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้ที่สหรัฐฯ จะยอมรับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไปอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์

(10) กล่าวอย่างชัดเจนว่า การแทรกแซงทางทหารหรือราชวงศ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมก่อน ระหว่าง หรือหลังการเลือกตั้งทั่วไปจะ
(A) บั่นทอนความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทยเป็นอย่างมากและ
(B) เป็นอันตรายต่อความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและความมั่นคงต่อประเทศไทยและการดำเนินการร่วมกันในระดับภูมิภาคและเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.markey.senate.gov/imo/media/doc/thailand_resolution_-_032023pdf.pdf

เหตุเกิดที่สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฏร์ เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

กี่ครั้งกี่หนแล้วที่ม็อบสามนิ้วแสดงอำนาจบาตรใหญ่ ข่มขู่คุกคามเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยอ้างสิทธิเสรีภาพอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย กระทำการต่างๆ ด้วยความรุนแรง ซ้ำอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า การกระทำลักษณะนี้ในสหรัฐฯ จะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการอย่างเด็ดขาด ด้วยมาตรการที่รุนแรงที่สุด

เหตุเกิดที่สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฏร์ เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

เหตุเกิดที่สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฏร์ เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

เหตุเกิดที่สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฏร์ เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

อันที่จริงแล้ว เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจนปานปลายเป็นความรุนแรงนั้น ล้วนแล้วแต่เกิดจากการกระทำของผู้ชุมนุมซึ่งอ้างสิทธิเสรีภาพ (อย่างไม่มีขอบเขต) ทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ต่างไปจากเหตุจลาจลจนกลายเป็นความรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นภายในรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อ 6 มกราคม ค.ศ. 2021 ทำให้มีผู้เสียชีวิตขณะเกิดเหตุ 5 ราย โดย 1 รายถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำรัฐสภาสหรัฐฯ ยิง 1 รายจากการใช้ยาเกินขนาด 3 รายจากสาเหตุธรรมชาติ และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำรัฐสภา 4 รายเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายภายในเจ็ดเดือนหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว (ซึ่งเหตุการณ์วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2021 นี้ ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ได้ใช้คำว่า ‘ประท้วง(Protest)’ แต่กลับใช้คำว่าเป็นเหตุการณ์ ‘โจมตี(Attack)’) ซึ่ง ส.ส.และ สว.ของรัฐสภาไทยก็ไม่เคยออกมติแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด เพราะมีมารยาทด้วยเห็นว่าเป็นกิจการภายในของสหรัฐฯ เอง เช่นนี้แล้วจะไม่เรียกว่า ร่างมติทั้งสองร่างดังกล่าว เป็นการกล่าวหาและมีลักษณะเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทย ได้อย่างไร!!!

เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำรัฐสภาสหรัฐฯ ใช้อาวุธปืนสงครามจี้คุมตัวผู้ก่อเหตุประท้วงในรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อ 6 มกราคม ค.ศ. 2021

เรื่อง: ดร.ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล 
ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ อาจารย์พิเศษหลักสูตรปริญญาโทและเอก นักเล่าเรื่องมากมายในหลากหลายมิติ เป็นผู้ที่ชื่นชมสนใจในประวัติศาสตร์สงครามสมัยใหม่ตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ

‘ไบเดน’ ยกเลิกทริปเอเชีย บินด่วนกลับสภา เหตุต้องแก้ปัญหาเพดานหนี้ก่อนไม่เหลือเงินจ่ายหนี้

โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ จำเป็นต้องยกเลิกกำหนดการณ์เยือนประเทศในย่านเอเชียอย่างกะทันหัน เพราะต้องกลับไปแก้ปัญหาเพดานหนี้ที่กำลังวิกฤติในสหรัฐฯ

โดย โจ ไบเดน จะยังคงเข้าร่วมงานประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G7 ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่นตามกำหนดเดิมก่อน 3 วัน แล้วจะบินกลับสหรัฐฯ เลย ซึ่งจะต้องยกเลิกแผนการเยือนกลุ่มประเทศพันธมิตรในย่านเอเชียทั้งหมด รวมถึงงานประชุมกลุ่มประเทศสมาชิก QUAD ที่ออสเตรเลียด้วย 

นับเป็นภารกิจภายในประเทศที่สำคัญเร่งด่วนมาก เพราะหากแก้ไขวิกฤติเพดานหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ทัน จะมีผลร้ายแรงต่อเครดิต ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลสหรัฐฯ เสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ และ ภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำโลกในระยะยาว

แพทริค ครอนิน นักวิเคราะห์จากสถาบัน Hudson Institute Asia-Pacific มองว่า การที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้องยกเลิกแผนการเยือนต่างประเทศกลางอากาศ ไม่ใช่เรื่องผิดวิสัย เพราะผู้นำสหรัฐฯ ต้องให้ความสำคัญกับการหาทางรอดในวิกฤติการเงินของประเทศก่อนเป็นอันดับแรก หากใครที่ติดตามการเมืองสหรัฐฯ มานานก็จะเข้าใจ แต่ต้องยอมรับว่าบทบาทของสหรัฐฯ ในเวทีต่างประเทศก็จะดูด้อยลงไป เมื่อต้องทิ้งนัดหมายสำคัญเพื่อไปจัดการเรื่องการเมืองในบ้านที่ไม่เรียบร้อย 

ผลจากการยกเลิกแผนเดินทางในเอเชีย ทำให้โจ ไบเดน พลาดโอกาสในการเยือนประเทศปาปัว นิวกินี ที่จะเป็นการเยือนครั้งแรกของผู้นำสหรัฐฯ ในตำแหน่ง ซึ่งไบเดนมีนัดหมายต้องไปเจรจาเพื่อเซ็นข้อตกลงด้านความมั่นคงร่วมกันถึง 2 ฉบับ และยังทำให้การประชุมประเทศพันธมิตร QUAD (สหรัฐ-ออสเตรเลีย-ญี่ปุ่น-อินเดีย) ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดด้วย  

แต่ในเมื่อวาระของชาติสำคัญเร่งด่วนกว่า โจ ไบเดน จำเป็นต้องกลับไปจัดช่วยทีมรัฐบาลผลักดันแผนการเพิ่มเพดานหนี้ให้เป็นผลสำเร็จให้ได้ ก่อนหายนะทางการเงินในรัฐบาลสหรัฐฯ จะเกิดขึ้น 

ข้อกำหนดเพดานหนี้ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีไว้เพื่อจำกัดวงเงินกู้ของรัฐบาลไม่ให้สูงกว่าค่าใช้จ่ายของภาครัฐอย่างเกินความจำเป็น แต่ทว่า รัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายที่มากกว่ารายได้จากภาษีมาโดยตลอด ที่ทำให้รัฐบาลกลางจำเป็นต้องเพิ่มข้อจำกัดเพดานหนี้เพื่อกู้เงินเสริมสภาพคล่องอยู่หลายครั้ง 

มีข้อมูลชี้ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ มีการปรับขยายเพดานหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 90 ครั้ง และไม่เคยปรับลดลงเลย และทุกครั้งที่มีการหารือเกี่ยวกับการขยายเพดานหนี้ มักนำมาสู่เกมการเมืองที่ไม่สามารถหาข้อตกลงได้ง่ายนัก เมื่อฝ่ายที่คัดค้านมองว่าการเพิ่มเพดานหนี้ เป็นการเพิ่มภาระหนี้สาธารณะให้กับประชาชนผู้เสียภาษี ซึ่งรัฐบาลน่าจะหาวิธีที่ดีกว่าด้วยการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลกลางลงเพื่อให้สมดุลย์กับรายได้จากภาษี 

แต่ฝ่ายที่สนับสนุนการเพิ่มเพดานหนี้ แย้งว่า การลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ หมายถึงการลดสวัสดิการสังคมของประชาชน และยังไม่ช่วยแก้ปัญหาการเงินได้อย่างทันท่วงที ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลสหรัฐฯ

อย่างเช่นวิกฤติการเงินที่เคยเกิดขึ้นในปี 2011 สมัยของบารัค โอบามา บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ได้ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลง จาก AAA เป็น AA+ เนื่องจากความมั่นใจในศักยภาพการชำระหนี้ของรัฐบาลกลางลดลง ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สภาคองเกรซได้มีการพิจารณาเพิ่มเพดานหนี้แล้ว แต่ออกมาอย่างล่าช้า จึงเป็นเหตุให้สำนักจัดอันดับต่าง ๆ มองว่าเป็นความเสี่ยงในนโยบายทางการเงินของรัฐบาลกลาง 

เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ พยายามกดดันสภาคองเกรซให้เร่งพิจารณาการขยายเพดานหนี้ โดยได้อ้างอิงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2011 การปรับลดความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดการเงินโลก ทำให้สถานะการเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกของสหรัฐฯ สั่นคลอนได้ 

อีกทั้งวิกฤติเงินคงคลังในรัฐบาลกลาง เริ่มอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง และดูจะร้ายแรงกว่าที่คิด จนทำให้โจ ไบเดน ต้องทิ้งนัดหมายสำคัญกับพันธมิตรในย่านเอเชียเอาไว้ก่อน เพราะทางรอดของประเทศสำคัญกว่า

จีน แนะ ซาอุฯ - อิหร่าน - อิรัก - UAE - กาตาร์ - บาห์เรน ผนึกกำลัง สร้างพันธมิตรกองทัพเรือร่วมกัน เพื่อความมั่นคง

อัล จาดีด สำนักข่าวตะวันออกกลางรายงานว่า ประเทศในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ซาอุดิอารเบีย อิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตท์ (UAE) กาตาร์ และ บาห์เรน กำลังวางแผนที่จะสร้างพันธมิตรกองทัพเรือร่วมกัน เพื่อความมั่นคงในการคมนาคมขนส่งในตะวันออกกลาง โดยมีจีนทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจาครั้งนี้ 

ข่าวนี้ ได้รับการยืนยันจากกองทัพเรืออิหร่าน เมื่อ พลเรือตรี ผบ.ทร ชาห์ราม อิรานี ได้กล่าวออกสื่อโทรทัศน์ในอิหร่านเมื่อวันศุกร์ที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า อิหร่านยินดิที่จะเข้าร่วมพันธมิตรกองทัพเรือกับชาติอื่นในตะวันออกลาง และหากทำสำเร็จ อาจมีการรวมกองทัพเรือของอินเดีย และ ปากีสถาน มาร่วมด้วย

พลเรือตรี ชาห์ราม อิรานี ได้กล่าวเสริมว่า ประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้เล็งเห็นแล้วว่า การผนึกกำลังร่วมมือกันเท่านั้นจึงจะสามารถสร้างความมั่นคงในดินแดนแถบนี้ได้ 

และนับเป็นความสำเร็จอีกขั้นของจีน ในฐานะคนกลางในการเจรจาสร้างสันติภาพในตะวันออกกลาง โดยก่อนหน้านี้ ในช่วงเดือนมีนาคม จีนสามารถพาคู่พิพาทระหว่างซาอุดิอารเบีย และ อิหร่าน กลับมาจับมือ และ สานสัมพันธ์ทางการทูตได้อีกครั้งหลังจากที่บาดหมางกันมานานหลายสิบปี 

ทำให้นักวิเคราะห์ที่เฝ้าสังเกตการในตะวันออกกลางมองว่า จากการที่จีนประสบความสำเร็จในการจัดการกับข้อพิพาทระหว่างชาติในตะวันออกกลางด้วยแผนการร่วมมือในเชิงเศรษฐกิจ และ ความมั่นคงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงอิทธิพลของจีนในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียอย่างชัดเจน ในขณะที่อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาเริ่มอ่อนจางไป 

และเห็นได้ชัดเจนยิ่งขี้น จากการที่ UAE ได้ถอนตัวออกจากกลุ่มกองกำลังร่วมทางทะเลที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ที่มีไว้เพื่อรักษาความปลอดภัยในย่านอ่าวเปอร์เซียที่เป็นเส้นทางการค้าน้ำมันที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งโลก ก่อนที่จะมีข่าวว่าเข้าร่วมในพันธมิตรกองทัพเรือที่เป็นแผนการของจีนในอีก 2 วันต่อมา 

แต่การประกาศร่วมมือกันในการสร้างกองทัพเรือของประเทศพันธมิตรในตะวันออกกลาง ที่มีอิหร่านร่วมด้วย สร้างความไม่พอใจแก่อิสราเอล ที่เคยพยายามกดให้ชาติพันธมิตรตะวันออกลางร่วมโดดเดี่ยวอิหร่าน ด้วยข้อกล่าวหาว่าอิหร่านแทรกซึม และสนับสนุนองค์กรก่อการร้าย อย่างกลุ่ม ฮิซบอลลาห์ ในเลบานอน หรือกลุ่มกบฎฮูตี ในเยเมน และอาจมีปัญหากับสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน เนื่องจาก กลุ่ม  Iranian Revolutionary Guard Corps หรือ กองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอิหร่านถูกขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา

อีกทั้งยังเป็นการท้าทายอำนาจของสหรัฐอเมริกาโดยตรง อันเนื่องจากสหรัฐฯ ได้คว่ำบาตรทางการค้ากับอิหร่าน และกดดันประเทศพันธมิตรในการซื้อ-ขายน้ำมันจากอิหร่าน แต่เมื่อจีนได้พาอิหร่านมาจับมือกับชาติมหาอำนาจในตะวันออกกลางได้ ก็จะเปิดช่องทางการค้าให้กับอิหร่านอย่างเปิดเผย รวมถึงการสร้างความมั่นคงปลอดภัยในเส้นทางขนส่งทางทะเลผ่านแผนการสร้างพันธมิตรกองทัพเรือ ก็จะยิ่งลดบทบาทของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคนี้ลงไปเรื่อยๆ 

แต่ถึงแม้กลิ่นสันติภาพจะแรงในตะวันออกกลาง แต่บรรยากาศในทะเลจีนใต้ยังคงคุกรุ่น เมื่อจีนพยายามที่จะสร้างอิทธิพลในตะวันออกกลาง แต่กับไต้หวัน ดินแดนใกล้ตัว กำลังอ่อนไหวพร้อมระเบิดได้ทุกเมื่อ อันเนื่องจากเขตพื้นที่ในตะวันออกกลาง สหรัฐฯ อาจยอมที่จะหลับตาข้างหนึ่งไปก่อน เพราะกำลังเปลี่ยนเป้าสายตามาลงที่ย่านอินโด-แปซิฟิค นั่นเอง 

ซีเค เจิง’ แจง ประเทศนี้ ไม่มีทางล้ม ต่อให้ซาอุฯ-จีน-รัสเซีย-อินเดีย มารวมกัน ก็ยังสู้ไม่ได้

ซีเค เจิง (CK Cheong) นักธุรกิจหนุ่มรุ่นใหม่ ได้โพสต์คลิปสั้นลง TikTok ช่องckfastwork กล่าวถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ว่ามันไม่มีทางจะล้มลงได้ โดยได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวไว้ มีใจความว่า …

ประเทศสหรัฐอเมริกา มันไม่มีทางจะล้ม อเมริกามี คำพูดคำหนึ่ง คำว่า Too Big To fail ใหญ่เกินไปจนล้มไม่ได้แล้ว เพราะถ้าอเมริกาล้ม ก็จะอุ้มทั้งโลกล้มไปด้วย นี่คือความเป็นจริง รัสเซีย อินเดีย จีนพยายามทำเงินเหรียญสกุลของตัวเอง สู้สหรัฐอเมริกา สู้ไม่ได้หรอก คนที่คิดว่าประเทศเหล่านี้จะสู้ได้ เขาเพ้อฝัน ขนาดอาวุธรวมกันทั้งโลกยังสู้อเมริกาไม่ได้เลย เศรษฐกิจตลาดหุ้นทั้งโลกสู้ตลาดหุ้นอเมริกาก็ยังสู้ไม่ได้เลย ตราสารหนี้ทั้งโลกรวมกันยังสู้ไม่ได้เลย สู้อเมริกาไม่ได้ คุณจะเอาอะไรไปสู้กับอเมริกา คุณไม่มีอาวุธ คุณไม่มีตลาดหุ้น คุณไม่มีตราสารหนี้

คุณจะล้มอเมริกาได้อย่างไร เงินของเราทุกคนกองอยู่ที่อเมริกา แล้วอเมริกาจะล้มได้อย่างไร น้ำมันเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ครองโลกได้ก็จริง แต่มูลค่าของมันก็ยังสู้อเมริกาไม่ได้เลย เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น บริษัทที่มีมูลค่า มากที่สุดอันดับ 2 ของโลกคือบริษัทน้ำมันของซาอุ แต่ที่มากกว่าบริษัทนั้นก็คือบริษัท Apple ที่เป็นแค่ 1 บริษัท ใน ตลาดหุ้นของอเมริกา แล้วคุณคิดว่าตลาดหุ้นอเมริกาใหญ่กว่า หรือตลาดน้ำมันของซาอุใหญ่กว่า อย่าไปบอกว่าอเมริกาจะแพ้ อเมริกาไม่มีวันแพ้ ผมไม่ได้เข้าข้างอเมริกา ผมพูดถึงความเป็นจริง คนที่บอกว่าซาอุ จีน รัสเซีย อินเดียมาร่วมกัน

แล้วจะล้มสหรัฐอเมริกา ไม่มีทาง มันเป็นไปไม่ได้ บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของซาอุยังใหญ่สู้กับเบอร์ 1 ในบริษัท ของตลาดหุ้นอเมริกาไม่ได้เลย และสิ่งที่พวกเขาใช้อยู่ทุกวัน นี้ Facebook Amazon Microsoft NVIDIA AI ชิพ ทุกอย่าง มันก็มาจากอเมริกาอยู่ดี แล้วเราจะล้มอเมริกาได้อย่างไร ไม่เอาน่า มันเพ้อฝัน เขาสามารถพยายามได้นะครับ แต่ผมไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้น ซีเค เจิงกล่าวทิ้งท้าย

🔍นิตยสาร Forbe

🔍นิตยสาร Forbes (ฟอร์บส) ของสหรัฐฯ เผยผลจัดอันดับบริษัทมหาชนยอดเยี่ยมของโลกครั้งที่ 20 ประจำปี 2023 โดยมี 17 บริษัทมหาชนของไทยติดทำเนียบ ‘GLOBAL 2000’

ทั้งนี้ เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกมี 4 ข้อ ได้แก่ รายได้ กำไร สินทรัพย์ และมูลค่าตลาด โดยใช้ข้อมูลทางการเงิน 12 เดือนล่าสุด จนถึงวันที่ 5 พ.ค. 66 มาประกอบการคำนวณอันดับ ส่วนจะมีบริษัทมหาชนไหนบ้าง มาดูกัน!!
 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top