Thursday, 16 May 2024
สถาบันพระมหากษัตริย์

กล่าวหา ‘รัชกาลที่ 9’ ท้าทายอำนาจรัฐบาลจอมพล ป. 10 ข้อบิดเบือนประวัติศาสตร์ หมายล้มล้างสถาบันฯ

‘ทุ่นดำ-ทุ่นแดง’ กับ การตรวจความถูกต้องทางวิชาการของ ณัฐพล ใจจริง

กรณี ‘แผนการเสด็จเยือนชนบทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ณัฐพล ใจจริงอ้างว่ากระทำไปเพื่อท้าทายอำนาจรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม’

1.ข้อความของณัฐพล
อีกประเด็นหนึ่งที่พวกเราทุ่นดำ-ทุ่นแดง เห็นว่าควรหยิบยกนำมาพูดถึง เพราะประเด็นนี้มีลักษณะโน้มน้าวให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกไม่ดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  

นั่นก็คือ ‘แผนการเยี่ยมชนบท’ ของพระราชวงศ์และกลุ่มรอยัลลิสต์ ซึ่ง ณัฐพล ใจจริง ได้อ้างว่ากระทำเพื่อ ‘สร้างความนิยมให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ในการท้าทายอำนาจกับรัฐบาลจอมพล ป.’ 

โดยปรากฏในวิทยานิพนธ์ การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2491-2500) ในหน้า 156  ณัฐพลเขียนว่า…“สถานทูตสหรัฐฯรายงานว่า ไม่เพียงแต่ สถาบันกษัตริย์เริ่มต้นการท้าทายอำนาจของ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามเท่านั้น แต่ ‘กลุ่มรอยัลสสต์’ ยังมีแผนการสร้างกระแสความนิยม ในพระมหากษัตริย์ให้เกิดในหมู่ประชาชนเพื่อท้าทายอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. ในอีกทางหนึ่ง ด้วยการให้จัดโครงการให้พระองค์เสด็จเยี่ยมประชาชนในชนบท” 

และในหนังสือขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี (2563) ในหน้า 163 ณัฐพลได้กล่าวว่า…“สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เพียงเริ่มต้นท้าทายอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. เท่านั้น กลุ่มรอยัลลิสต์เองยังมีแผนการสร้างกระแสความนิยมในองค์พระมหากษัตริย์ให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนเพื่อท้าทายอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. ในอีกทางหนึ่งด้วย”

ทั้งสองส่วนนี้ ณัฐพล ใจจริง ได้อ้างที่มาจากเอกสารชั้นต้นชิ้นเดียวกันจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้แก่ NARA, RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4187, Memorandum of Conversation; Kukrit Pramote, George M. Widney, 29 April 1954

2. ข้อค้นพบ
เช่นเดียวกับหลาย ๆ ประเด็นของณัฐพลที่พวกเรา ทุ่นดำ-ทุ่นแดง ได้ทำการตรวจสอบมา การอ้างอิงหลักฐานของ ณัฐพล ในชิ้นนี้ ก็ผิดพลาดเช่นเคย กล่าวคือ เอกสาร NARA, RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4187, Memorandum of Conversation; Kukrit Pramote, George M. Widney, 29 April 1954 มีเนื้อหาระบุเพียงว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชย์ เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรง ‘เสด็จออกชนบท’ (gone to the country) เพื่อไปหาเสียงเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับทรรศนะของพระองค์เองเกี่ยวกับกรณีหรือนโยบายใด ๆ (views on an issue) และไม่เคยคิดที่จะทรงแสวงหาชื่อเสียง (publicity กระแสความสนใจจากสาธารณะ) จากการเสด็จออกชนบทด้วย แต่ความคิดของพระองค์เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลก็เป็นที่รับรู้โดยอ้อมผ่านการที่ทรงชะลอการลงพระปรมาภิไธยในร่างกฎหมายฉบับต่าง ๆ (ซึ่งเป็นพระราชอำนาจปกติของระบอบพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ - ทุ่นดำทุ่นแดง)

ข้อความต้นฉบับ (NARA, RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4187, Memorandum of Conversation; Kukrit Pramote, George M. Widney, 29 April 1954) คือ 

“I [Geroge M. Widney] asked Kukrit if the general public got to know of the King’s actions and views in such cases where he withheld or delayed royal approval. He was emphatic in saying that the public does, and that this is a source of strength for the King. Kukrit asserted, however, that the King had never “gone to the country” to justify his views on an issue nor had he ever sought to generate publicity for such actions. But his views nevertheless have become well known”

จะเห็นได้ว่าไม่มีข้อความในส่วนใดในเอกสารชิ้นนี้ที่ระบุเนื้อความหรือเบาะแส (hint/clue) ที่ว่า “สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เพียงเริ่มต้นท้าทายอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. เท่านั้น กลุ่มรอยัลลิสต์เองยังมีแผนการสร้างกระแสความนิยมในองค์พระมหากษัตริย์ให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนเพื่อท้าทายอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป.” ตามที่ณัฐพลได้กล่าวในผลงานวิชาการทั้ง 2 เล่มของเขาเลย 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประโยคจากเอกสารชั้นต้นที่ระบุว่า “the King had never ‘gone to the country’ to justify his views on an issue nor had he ever sought to generate publicity for such actions” ซึ่งแปลได้ว่า “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่ได้เสด็จไปชนบทเพื่อสร้างความชอบธรรมหรือความนิยมในหมู่ประชาชนแต่อย่างใดเลย”  

คำแปลดังกล่าวเรียกได้ว่า พลิกจากหน้าเมือเป็นหลังมือเลยทีเดียว 

และถ้าณัฐพลยังยืนยันแนวคิดของเขาในประเด็นนี้ ตามหลักวิชาการแล้ว เขาควรจะต้องอ้างเอกสารชิ้นอื่น ที่ไม่ใช่ชิ้นนี้ 

สรุป จุดนี้เองทำให้พวกเชื่อว่า แม้ว่าเอกสารที่ ณัฐพล ใช้อ้างอิง ‘มีอยู่จริง’

แต่เอกสารดังกล่าวกลับมีเนื้อหาที่ ‘ตรงกันข้าม’ กับสิ่งที่เขาได้บรรยายไว้ทั้งในวิทยานิพนธ์และหนังสือ 
หรือเรียกว่าเป็น ‘หนังคนละม้วน’ เลยก็ว่าได้ (เพราะม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ในฐานะกลุ่มรอยยัลลิสต์เองยืนยันเองว่าในหลวงไม่ได้ต้องการเสด็จชนบทเพื่อสร้างความนิยม) 

ทั้งนี้ เราไม่แน่ใจว่าเหตุใด ณัฐพล จึงกระทำการเช่นนี้ และอาจารย์ที่ปรึกษา หรือ บรรณาธิการสำนักพิมพ์ ได้ปล่อยให้ประเด็นดังกล่าวหลุดรอดมาได้อย่างไรเกือบ 10 ปี ?

นอกจากนี้แล้ว เอกสารชั้นต้นฉบับนี้ก็น่าจะให้คำตอบที่หักล้างกับข้อเสนอทางวิชาการของณัฐพลที่ว่า ‘การเสด็จชนบทของในหลวงเป็นการโฆษณาชวนเชื่อของสหรัฐ’ 

เพราะข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีข้อความใด ๆ ในเอกสารชิ้นนี้ที่สามารถตีความหรือโยงใยไปในเรื่องการเสด็จชนบทคือ ‘โฆษณาชวนเชื่อ’ ที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์และรอยัลลิสต์กระทำการดังกล่าวในแผนการต่อต้านคอมมิวนิสต์ตามที่งานวิชาการของณัฐพลพยายามโน้มน้าวให้คนอ่านเชื่ออยู่เลย

กล่าวหา ‘รัชกาลที่ 9’ กรณีรัชกาลที่ 8 สวรรคต 10 ข้อบิดเบือนประวัติศาสตร์ หมายล้มล้างสถาบันฯ

‘ทุ่นดำ-ทุ่นแดง’ กับ ‘กรณีสวรรคต’ (กรณี ณัฐพล-สมศักดิ์)  

ว่าด้วย ‘คำกล่าวอ้าง’ ของพูนศุข พนมยงค์ ในหนังสือพิมพ์ Observer ปี 2500 เกี่ยวกับประเด็น ‘กรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8’ ที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์ของณัฐพล ใจจริง และบทความของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

1. เนื้อหาของณัฐพล ในหนังสือ ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี (2563) ของณัฐพล ใจจริง หน้า 232 ได้กล่าวถึง เนื้อหาการให้สัมภาษณ์ ‘คำกล่าวอ้างต่อกรณีสวรรคต’ ของพูนศุข พนมยงค์ ภรรยาปรีดี พนมยงค์ ต่อหนังสือพิมพ์ Observer พ.ศ. 2500 ไว้ว่า…

“ต่อมาทูตอังกฤษได้รับรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ออบเซอร์ฟเวอร์ (Observer) ซึ่งลงบทสัมภาษณ์ของพูนศุข พนมยงค์ ภริยาของปรีดีกล่าวตอบข้อซักถามของนักข่าวเกี่ยวกับกรณีสวรรคต โดยเธอแนะนำนักข่าวให้ไปถามบุคคลสำคัญ [ณัฐพลหมายความถึง ในหลวง ร.9 -ทุ่นทำ-ทุ่นแดง] ที่รู้เรื่องดังกล่าว ทูตอังกฤษบันทึกว่าขณะนั้นหนังสือพิมพ์ในไทยได้ใช้เรื่องสวรรคตโจมตีราชสำนักอย่างหนัก เขาเห็นว่ากรณีสวรรคตเป็นเรื่องอ่อนไหวและสั่งห้ามเจ้าหน้าที่ของสถานทูตฯ รายงานข่าวใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสวรรคตอีก” 

โดยข้อมูลในส่วนนี้ณัฐพลอ้างเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ FO 371/129653, Whittington to Foreign Office, 15 May 1957 ซึ่งเรื่องนี้ได้ปรากฏในวิทยานิพนธ์ การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500) ที่เสนอต่อคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน ในหน้า 218 ซึ่งมีเนื้อหาที่กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า…

“หากนักข่าวต้องการรู้ความจริงเกี่ยวกับการสวรรคต ควรไปถามพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลปัจจุบัน” 

ต่อมา สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้นำไปอ้างต่อในบทความชื่อ ‘สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: พูนศุข พนมยงค์ ให้สัมภาษณ์กรณีสวรรคต พฤษภาคม 2500’

และยังพบด้วยว่าข้อมูลของณัฐพลนี้ยังเชื่อมโยงไปถึงบทความ สมศักดิ์ ข้างต้นที่เขาโพสต์ลงในเว็บไซต์ประชาไทเมื่อหลายปีก่อน บทความดังกล่าวมีผู้แชร์ไปมากกว่า 10,000 ครั้งตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสมศักดิ์ได้ระบุว่า

“เดือนพฤษภาคม 2500 ทูตอังกฤษประจำสิงคโปร์ ได้รายงานไปยังลอนดอนว่า ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ได้ให้สัมภาษณ์นักข่าว นสพ. The Observer ของอังกฤษที่นั่นว่า…"หากนักข่าวต้องการรู้ความจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคตควรไปถามพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลปัจจุบัน"

(อ้างใน ณัฐพล ใจจริง, […] ผมเข้าใจว่า อันที่จริง ท่านผู้หญิงพูนศุขน่าจะให้สัมภาษณ์ The Observer ไว้ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมหรือเมษายน เพราะในต้นเดือนเมษายนนั้น เธอได้เดินทางมาถึงไทย การสัมภาษณ์น่าจะทำในช่วงที่เดินทางผ่านสิงคโปร์ คุณวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ได้บอกผมว่า เธอได้ค้นคว้าตรวจสอบ The Observer ในช่วงนั้น แต่ไม่พบรายงานการสัมภาษณ์นี้ เธอจึงเดาว่า ทางการอังกฤษอาจจะขอร้องให้ The Observer ยับยั้งการตีพิมพ์รายงานการสัมภาษณ์ดังกล่าวได้ทัน อย่างไรก็ตาม ดร.ณัฐพล ใจจริง บอกผมว่า รายงานของทูตอังกฤษ อ้างถึงคำสัมภาษณ์ที่ตีพิมพ์ไปใน The Observer แล้ว)”

2. ข้อค้นพบ

พวกเราทุ่นดำ-ทุ่นแดงมีโอกาสตรวจสอบเอกสารชั้นต้นจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ FO 371/1/129653 From Bangkok to Foreign Office. 15 May 1957 (หรือที่ณัฐพลอ้างว่า FO 371/129653, Whittington to Foreign Office, 15 May 1957) (วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2500) 

อันเป็นเอกสารฉบับเดียวกับที่ณัฐพลใช้อ้างอิงในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของเขา (ภาพประกอบในคอมเมนต์ ต้องขออภัยที่ภาพไม่คมชัด) ซึ่งเอกสารระบุเนื้อความเต็ม ๆ ไว้ดังนี้

“1. ข้าพเจ้าได้รับรายงานว่า Rawle Knox, ซึ่งปัจจุบันน่าจะอยู่ที่พนมเปญ, ได้รายงานว่า หนังสือพิมพ์ ‘Observer’ ได้ทำการสัมภาษณ์พูนศุข พนมยงค์, ซึ่งเธอได้แนะนำว่า, ถ้าเขา [Knox] ต้องการที่จะรู้ความจริงเกี่ยวกับการปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ [ใช้คำว่า regicide] ในปี 1946 [พ.ศ. 2489], เขาควรไปถามพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน; จากนั้นเธอได้กล่าวถึงเรื่อง ‘กรณีของของเจ้าชายสเปน’, ซึ่งเห็นได้ว่ามีนัยที่ชัดเจน

และต่อไปนี้คือข้อความต้นฉบับจาก FO 371/129653, Whittington to Foreign Office, 15 May 1957

(I have received a report that Rawle Knox, at present believed to be in Phnom Penh, has filled a dispatch with the “Observer” covering an interview with Madame Phoonsuk Phanomyong, in which she suggests that, if he really wants to know the truth about the regicide of 1946, he should ask the King; she then referred to “the case of the Spanish Princes”, with obvious implications.)

2. การเผยแพร่เรื่องราวใด ๆ ก็ตามในช่วงเวลานี้, ซึ่งการเมืองภายในประเทศ [ไทย] ขณะนี้ ปรากฏว่ากลุ่มรอยัลลิสต์ถูกโจมตีอย่างหนักจากหนังสือพิมพ์ภาษาไทย, และ [ต่อไป] อาจจะส่งผลสะท้อนกลับอย่างรุนแรงได้. ข้าพเจ้าจะรู้สึกขอบคุณเป็นอย่างสูงถ้าหากคุณสามารถเจรจากับ Knox อย่างเร่งด่วนที่สุด และ, ถ้ารายงานนี้จะใกล้ความจริงอยู่บ้าง, อย่างน้อยลองโน้มน้าวให้เขางดพิมพ์บทความนี้ไว้ก่อน จนกว่าพวกเราจะมีโอกาสได้พูดคุยกันกับเกี่ยวกับประเด็นนี้เมื่อเขาเดินทางกลับมายังกรุงเทพในสัปดาห์หน้า

(The publication of any such story at the present juncture when, for internal political reason the Royalists are under heavy attack in the Thai Press, could have serious repercussions. I should be grateful if you could talk to Knox very urgently and, assuming this report to be anywhere near the truth, try to persuade him at least to have his story held up until we have had an opportunity of discussing the matter with him on his return to Bangkok next week.”

และเมื่อพวกเรา (ทุ่นดำ-ทุ่นแดง) ได้ทำการสอบหลักฐานโดยการประมวลข้อมูลและข้อเท็จจริงเท่าที่เอกสารชั้นต้นจะอำนวยใน ณ ขณะนี้ พบว่าวิทยานิพนธ์ของญัฐพล ใจจริง รวมถึงบทความของสมศักดิ์ เจียมธรสกุล ได้สร้างเรื่องเข้าใจผิดไว้ในประเด็นนี้อย่างน้อย 2 ประเด็น ดังต่อไปนี้

>> ประเด็นที่ 1

เอกสาร FO 371/1/129653 From Bangkok to Foreign Office. 15 May 1957 ได้อ้างถึง ‘โทรเลขจากกรุงพนมเปญ’ ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (Addressed to Phnom Penh telegram No. 27, 15 May 1957) โดยไม่มีข้อมูลใดระบุถึง ‘สถานทูตอังกฤษในสิงคโปร์’ แต่อย่างใด

นี่ทำให้พวกเราทุ่นดำ-ทุ่นแดงมั่นใจว่า สมศักดิ์คงจะไม่มีโอกาสได้อ่านเอกสารตัวจริงเป็นแน่ เพราะเอกสารฉบับนี้ระบุเพียงว่าสถานทูตอังกฤษในไทยในเวลานั้นคาดกันว่า Rawle Knox (ผู้เขียน/สัมภาษณ์พูนศุข) น่าจะอยู่ในพนมเปญ และกำลังเดินทางกลับมายังกรุงเทพ 

ดังนั้นแล้ว ข้อความที่ปรากฏในบทความของสมศักดิ์ที่ระบุว่า…“เดือนพฤษภาคม 2500 ทูตอังกฤษประจำสิงคโปร์ ได้รายงานไปยังลอนดอนว่า ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ได้ให้สัมภาษณ์นักข่าว นสพ. The Observer ของอังกฤษที่นั่น”

โดยการอ้างวิทยานิพนธ์ของณัฐพล จึงเป็น ‘ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน’ เพราะเอกสารชิ้นนี้ (FO 371/1/129653 From Bangkok to Foreign Office. 15 May 1957) ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับสิงคโปร์เลยด้วยซ้ำ 

น่าสังเกตว่าความผิดพลาดเหล่านี้ของสมศักดิ์ อาจเป็นเพราะตัวสมศักดิ์ที่ไม่น่าจะได้ตรวจสอบหรืออ่านเอกสารชั้นต้นฉบับนี้ด้วยตัวเอง 

เนื่องเขาก็สารภาพเองว่าข้อมูล (ผิด ๆ) ดังกล่าวเป็นสิ่งที่เขาทราบมาจากณัฐพลอีกทอด จึงกล่าวได้ว่า ‘ความไว้เนื้อเชื่อใจ’ ของสมศักดิ์ต่อณัฐพลในครั้งนี้ย่อมเป็นบทเรียนที่ราคาแพงมากสำหรับชื่อเสียงในเรื่องความชำนิชำนาญในประเด็นสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ของเขา

>> ประเด็นที่ 2
ควรต้องขีดเส้นใต้ย้ำว่า ‘รายงาน/บทความของพูนศุข’ ไม่ได้ถูกตีพิมพ์ใน The Observer ในปี พ.ศ. 2500 (1957) แต่อย่างใด 

เนื่องจากเมื่อลองค้นหาบทความดังกล่าวของหนังสือพิมพ์ Observer ในห้วงเวลาเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2500 (ถ้าจะระบุชัด ๆ คือวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2500) 

เรากลับไม่พบว่าทาง Observer ได้เอาบทความนี้ไปตีพิมพ์ในระยะเวลานั้นตามที่ณัฐพลได้เขียนในวิทยานิพนธ์ของเขาแต่อย่างใด กล่าวสั้น ๆ ได้ว่า ข้อมูลกรณีสวรรคตของพูนศุขนี้ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์จริง ๆ อย่างที่ณัฐพลแอบอ้าง 

เพราะหากสังเกตให้ดี ณัฐพลได้อ้างถึงแต่เพียงเอกสารกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 เท่านั้นทั้งในวิทยานิพนธ์และในหนังสือขุนศึกฯ ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าว เป็นไปไม่ได้ที่บทความนี้จะถูกตีพิมพ์ไปแล้ว 

เพราะมีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานฉบับต่อมา ได้แก่ DS 1941/1 (A) From Phnom Penh to Foreign Office. 16 May 1957 (ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2500 ซึ่งถูกส่งตรงมาจากกรุงพนมเปญเพียงวันเดียวหลังจากเป็นเรื่องขึ้น) 

น่าสนใจว่าทั้งณัฐพลและสมศักดิ์กลับมิเคยอ้างถึงการมีอยู่ของเอกสารชิ้นนี้เลย ซึ่งรายงานดังกล่าวมีเนื้อความสำคัญ ดังนี้

“1. Knox [ผู้เขียนบทความ] พร้อมที่จะสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบทความของเขากับคุณในวันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม เมื่อเขาได้เดินทางมาถึงกรุงเทพ. (บทความดังกล่าวได้ถูกส่งไปไปรษณีย์ไปอังกฤษและจะยังไม่ได้รับการตีพิมพ์จนกว่าจะถึงวันที่ 19 พฤษภาคม), อย่างไรก็ดี จะเป็นการฉลาดกว่า หากคุณจะเข้าพบเขาในทันทีมากกว่าที่จะรอเขาอยู่เฉย ๆ 

2. Knox ดูจะประหลาดใจที่คุณดูตื่นตระหนกและกล่าวว่า Rober Swam หรือ Rivett Carnac น่าจะเป็นผู้ให้ข้อมูลที่น่าตกใจเหล่านั้นไป, ข้อมูลของคุณ, อย่างไรก็ตาม, น่าจะมีส่วนถูกอยู่มาก…”

(ข้อความต้นฉบับคือ…
1. Knox is prepared to discuss his article (which has been mailed and will not be published until May 19) with you on Saturday May 18, when he will be in Bangkok. You may, however, be wise to get hold of him rather than await his [?]

2. Knox was surprised at your consternation and remarked that Robert Swam or Ribett Carnac must have given you an unnecessarily lurid account. Your information would, however, appear to be substantially correct.)

จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารชิ้นนี้ ‘ย้อนแย้ง’ กับสิ่งที่ณัฐพลและสมศักดิ์ได้นำเสนอว่าบทความที่สัมภาษณ์พูนศุขดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ไปแล้วในช่วง 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (ถ้าอนุมานว่าตีพิมพ์วันที่ 15 พฤษภาคม หมายความว่าบทความอาจต้องตีพิมพ์ก่อนวันที่สถานทูตอังกฤษจะได้รับรายงาน) 

แต่แท้ที่จริงแล้ว ข้อมูลที่สำคัญระบุว่าบทความนี้ได้ถูกส่งไปรษณีย์ (น่าจะเมลล์อากาศ) ไปยังอังกฤษ และจะยังไม่ได้รับการตีพิมพ์จนกว่าจะถึงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ตามกำหนดเดิม หรือ ทำการงดเผยแพร่ไปก่อน (held up) จนกว่าจะได้รับการถกเถียงถึงประเด็นสวรรคตดังกล่าวที่กรุงเทพฯ 

ซึ่งพวกเขา (เจ้าหน้าที่สถานทูตอังกฤษในกรุงเทพและ Knox ผู้เขียนบทความ) ได้นัดคุยกันในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 นี่ย่อมเป็นไปไม่ได้เลยว่าบทความดังกล่าวจะถูกตีพิมพ์ไปก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ตามที่ณัฐพลอ้าง 

เพราะย่อมจำนนด้วยหลักฐานชิ้นนี้ที่ระบุชัดเจนว่าพวกเขายังไม่ได้ตีพิมพ์ “จนกว่าจะถึงวันที่ 19 พฤษภาคม และ/หรือ ได้รับพูดคุยแลกเปลี่ยนกันก่อนที่กรุงเทพในวันที่ 18 พฤษภาคม”

ท้ายที่สุด แฟ้มเอกสารของอังกฤษในกรณี ‘คำกล่าวอ้าง’ ของพูนศุข พนมยงค์ ในหนังสือพิมพ์ Observer ปี 2500 เกี่ยวกับประเด็น ‘กรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8’ นี้ได้สิ้นสุดลงเพียงแค่เอกสารลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 

ไม่มีรายงานว่าหลังจากเจ้าหน้าที่สถานทูตอังกฤษในกรุงเทพและ Knox ผู้เขียนบทความได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในประเด็นสวรรคตในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 นั้นได้รับข้อสรุปเป็นอย่างไร 

แต่ข้อเท็จจริงในเวลานี้ (ตราบใดที่ยังไม่มีการค้นพบข้อมูลหลักฐานใด ๆ มาหักล้าง) คือ ‘รายงาน/บทความของพูนศุข พนมยงค์ ไม่ได้ถูกตีพิมพ์ใน The Observer ในปี พ.ศ.2500 (1957) แต่อย่างใด’ 
ในประเด็นนี้สอดคล้องกับที่สมศักดิ์ก็ได้อ้างว่า “คุณวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ได้บอกผม [สมศักดิ์] ว่า เธอได้ค้นคว้าตรวจสอบ The Observer ในช่วงนั้น แต่ไม่พบรายงานการสัมภาษณ์นี้ เธอจึงเดาว่าทางการอังกฤษอาจจะขอร้องให้ The Observer ยับยั้งการตีพิมพ์รายงานการสัมภาษณ์ดังกล่าวได้ทัน”

จึงกล่าวได้ว่าข้อมูลจากการตรวจสอบของทั้งของเราทุ่นดำ-ทุ่นแดง สอดคล้องกับวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ที่ได้ยืนยันว่าไม่พบบทความดังกล่าวใน The Observer 

อย่างไรก็ดี พวกเราเองก็ได้เห็นต่างกับวิมลพรรณตรงที่ว่าทางการอังกฤษเองคงไม่มีอำนาจไปปิดปากสื่อของเขาได้หากพวกเขาตั้งใจจะพิมพ์จริง ๆ (เป็นธรรมชาติของประเทศประชาธิปไตย) 

และเป็นไปได้มากกว่าว่า หลังจากที่ Knox ได้ถกเถียงในประเด็นสวรรคตที่กรุงเทพในราววันที่ 18 -19 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 แล้ว เขาคงจะเปลี่ยนใจและตัดสินใจระงับการตีพิมพ์บทความดังกล่าวเสียเองในท้ายที่สุด 

พวกเราเชื่อว่า Knox คงจะยอมจำนนด้วยหลักฐานที่หนักแน่นกว่า หลังจากได้ถกเถียงกับสถานทูตอังกฤษในไทย ซึ่งสถานทูตเองก็ระบุเองว่า Knox ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องนี้มาอย่างดี แต่อะไรทำให้ผู้เขียนบทความเองแท้ ๆ เปลี่ยนใจ ‘เท’ ไม่ตีพิมพ์บทความนี้ 

ซึ่งบางกลุ่มในไทยปัจจุบันมองว่าเป็น ‘หลักฐานเด็ด’ หรือ ‘ความจริง’ ในกรณีสวรรคต ? 

คนที่ตอบได้คงมีแต่ Knox เพียงคนเดียว 

ดังนั้น คำอ้างของพูนศุขที่ว่า…

“ถ้าเขา [Knox] ต้องการที่จะรู้ความจริงเกี่ยวกับการปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2489, เขาควรไปถามพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน” 

จึงกลายเป็นเพียงกระแส ๆ หนึ่งในช่วงไม่กี่วันในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2500 ที่ได้พัดมาและลอยไปในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะแม้แต่ Knox ซึ่งเป็นคนเขียนบทความแท้ ๆ ก็ยังตัดสินใจถอนบทความของเขาออกในนาทีสุดท้าย จึงนับได้ว่าคำอ้างของพูนศุขเช่นนี้เป็นอันใช้ไม่ได้ 

และที่แย่ยิ่งกว่านั้น นักวิชาการไทยบางคน อาทิ สมศักดิ์ และ ณัฐพล กลับเอาเรื่องนี้มาขยายความเป็นตุเป็นตะ ถึงขนาดฟันธงว่าเป็นบทความที่ได้รับการตีพิมพ์จริง ๆ ทั้งที่พวกเขาบางคนยังไม่เคยเห็นเอกสารชั้นต้นที่ว่าหรืออ่านมันอย่างละเอียดแต่อย่างใดเลยด้วยซ้ำ การ ‘กุ’ ข้อมูลทางวิชาการเช่นนี้ เป็นสิ่งที่จะยอมรับไม่ได้ และน่าละอายยิ่ง!!

ป.ล. ‘ทุ่นดำ-ทุ่นแดง’ ได้เสริมว่าในขณะนั้น ยังไม่มี ‘ทูต’ (ambassador) ที่สิงคโปร์ มีแต่ ‘ข้าหลวง’ (commissioner) สมศักดิ์เองก็ผิดพลาดตรงนี้ด้วย!!

‘ผบ.ทร.’ ขอ ‘คนไทย’ เข้าใจเรื่องขบวนเสด็จฯ พร้อมย้ำเรามีวันนี้ได้เพราะ ‘สถาบันพระมหากษัตริย์’

(12 ก.พ.67) พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ให้สัมภาษณ์กรณีการใช้เสรีภาพแสดงออก ภายหลังเกิดกรณีนักเคลื่อนไหวการเมืองบีบแตรและพยายามขับรถแทรกระหว่างขบวนเสด็จ ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันที่อยู่คู่บ้านเมือง และนำพาประเทศชาติ รอดมาถึงทุกวันนี้ ถ้าทุกท่านได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะรัชกาลใด ได้นำพาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ รวมทั้งแก้ปัญหาในคราวที่ชาวต่างชาติจะมายึดครองประเทศไทย วันนี้ดูเป็นเรื่องง่าย เพราะเป็นโลกของการสื่อสาร การตัดสินใจมีคณะกรรมการมากมาย แต่สมัยก่อนการตัดสินใจ ในการนำพาประเทศชาติ อยู่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียว ท่านได้นำพาประเทศชาติมาจนถึงทุกวันนี้ ขอให้คนไทยทุกระลึกและนึกอยู่เสมอว่าเรามีวันนี้ได้เพราะพระองค์ท่าน

“การที่ท่านสัญจรไปไหนมาไหน ความรักในท่าน อยากให้เราทำการจราจรให้เรียบร้อย รถที่ติดนั้น พระองค์ท่านจะต้องไปปฏิบัติภารกิจมากมาย ก็จะได้เดินทางไปด้วยความเรียบร้อย ถึงที่หมายทันเวลาเท่านั้นเอง คือความมุ่งประสงค์ เพราะฉะนั้น อยากให้คนไทยทุกเข้าใจ เรารักใครสักคน คุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน หากไม่สบาย มีรถฉุกเฉินก็เพื่อวัตถุประสงค์ไปให้ถึงจุดหมายที่ทันเวลาเท่านั้นเอง ขอให้เราคนไทย อยู่กันด้วยความเข้าใจ ความเคารพ ความรัก ความศรัทธา จะทำให้การปฏิบัติต่อพระองค์ท่านเป็นไปด้วยความเรียบร้อย” ผบ.ทร. กล่าว

ย้อนดูจุดยืน ‘รวมไทยสร้างชาติ.’ และ ‘ไทยสร้างไทย’ ต่อประเด็น ‘คนรุ่นใหม่กับสถาบันพระมหากษัตริย์’

กาลครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้เอง!!

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 66 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวปราศรัยตอนหนึ่งว่า “พรรค รทสช. ไม่ได้เป็นพรรคที่จัดตั้งใหม่ แต่เป็นพรรคที่เติบโตเร็วที่สุด พรรคการเมืองมีเกิด มีอยู่ มีดับ แต่รวมไทยสร้างชาติจะอยู่ตลอดไปภายใต้แนวทางและนโยบายของลุงตู่ และหัวใจของพรรคคือ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน มีคนฝากส่งมาเรื่องหนึ่งบอกว่าอย่าลืมเรื่องประเทศไทย คนไทย 70 กว่าล้านคน แต่ทำไมวันนี้เห็นคนไม่กี่คน หยิบมือหนึ่ง สร้างความวุ่นวายปั่นป่วน ทำไมคนไทยไม่รักชาติ ทำไมชังชาติ ทำไมไม่รักสถาบัน ทำไมจะล้มสถาบัน”

นายพีระพันธฺุ์กล่าวต่อว่า “เขาถามผมว่า ถ้ามาดูแลบ้านเมืองจะทำอย่างไร ผมตอบไปว่า คำตอบง่ายมาก แผ่นดินไทยประเทศไทยมีไว้เพื่อคนรักชาติ แผ่นดินประเทศไทยเป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นหลักชัยของประเทศ ถ้าคุณไม่ชอบคุณไม่มีสิทธิเปลี่ยน เพราะคนไทยทั้งชาติเขาเอา ถ้าคุณไม่ชอบเชิญไปอยู่ที่อื่น ไม่ห้าม ไปได้เลย ท่านชอบประเทศไหนไปเลย แต่ประเทศไทยต้องเป็นแบบนี้ตลอดไป ภายใต้รวมไทยสร้างชาติเราจะไม่เปลี่ยนแปลง ถ้ารวมไทยสร้างชาติเป็นแกนนำรัฐบาลเราจะจัดการกับพวกชังชาติ พวกล้มสถาบันโดยเด็ดขาด”

ต่อมาวันที่ 27 เม.ย. 66 น.ต.ศิธา ทิวารี กล่าวขณะลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตอนหนึ่งว่า “สิ่งที่ผู้ใหญ่รู้เมื่อก่อน ทุกวันนี้เสิร์ชหาในกูเกิลแปปเดียวก็เจอ แต่สิ่งที่เด็กรู้วันนี้ ผู้ใหญ่เสิร์ชหาที่ไหนก็ไม่เจอ ดังนั้น ผู้ใหญ่ต้องฟังเด็ก เพราะผู้ใหญ่อีก 20-30 ปีก็ลงโลงกันหมด แล้วประเทศนี้ก็จะกลายเป็นของเด็ก เราต้องรับฟัง แลกเปลี่ยนความเห็น และหาทางออกร่วมกัน และนี่คือสาเหตุว่าทำไมผมกับคุณหญิงสุดารัตน์ และผู้ร่วมอุดมการณ์ จึงออกมาก่อตั้งพรรคไทยสร้างไทย เพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างคนรุ่นเก่ามากประสบการณ์และคนรุ่นใหม่ไฟแรงเก่ง ๆ เพื่อสร้างประเทศไทยที่ดีที่สุด” 

โจทย์ใหญ่!! การถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จฯ ในวันที่ไทยมี ‘คนไม่ปกติ’ หมายคิดแต่จะล้มเจ้า

ผมอาจจะเขียนเรื่องนี้ช้าไปกว่าทุก ๆ คน แต่อยากให้เรื่องนี้เป็นเรื่องช้าที่ช่วยย้ำเตือนถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ของพวกเราชาวไทย แม้ว่าคนอาจจะพยายามเปลี่ยนแปลงระบอบ ยกเลิกระบบ และแก้ไขกฎหมายอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งในสภาและนอกสภา

จากเหตุการณ์ป่วนขบวนเสด็จฯ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มันมีความจริงด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจราจรเมื่อขบวนเสด็จฯ และกฎหมายเกี่ยวกับการถวายความปลอดภัยเมื่อมีขบวนเสด็จฯ ซึ่งหลายคนไม่เคยสนใจรับรู้ โดยเฉพาะเยาวชนที่เรียกตัวเองว่าผู้นำการเปลี่ยนแปลง (ซึ่งบางคนมันก็ไม่ใช่เยาวชนแล้วล่ะ) แต่มักจะทำผิดกฎหมายอยู่บ่อย ๆ โดยมักจะอ้างว่าตัวเองมีสิทธิ เสรีภาพในการกระทำการนั้น ๆ ผมอยากจะพรุสวาทเบ ๆ ด้วยคำสั้น ๆ ถึงพวกเขาเหล่านั้นว่า ‘ไอ้บ้า’ ประเทศมีกฎหมายถ้าอยากอยู่แบบทำอะไรก็ได้ ก็ไปอยู่ในสถานที่ ที่เขาไม่มีกฎหมาย แต่คงยากเพราะไปที่ไหนเขาก็มีกฎควบคุมทั้งนั้นสรุปคือ ‘ลำบาก’ กับการอยู่ละ!!

กลับมาดูกฎหมายที่ผมจะเล่ากันดีกว่า...

เริ่มต้นด้วยกฎหมายเกี่ยวกับขบวนเสด็จฯ โดยเฉพาะว่าด้วยการจราจร ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงห่วงใยราษฎรของพระองค์เมื่อมีการเสด็จฯ และจำเป็นต้องปิดการจราจร ทรงเกรงว่าการเสด็จพระราชดำเนินของพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์ จะกระทบกับการเดินทางของประชาชน จึงให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดแนวทางอำนวยความสะดวกด้านการจราจรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 โดยมีแนวทางในการปฏิบัติ 10 ข้อ ดังนี้….

1. ไม่ให้ปิดการจราจร เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เส้นทางได้ตามปกติ

2.ในเส้นทางเสด็จฯ ให้จัดช่องทางเสด็จฯ และช่องทางประชาชน โดยใช้อุปกรณ์ เช่น กรวยยาง ป้ายไฟ เพื่อความสะดวก

3. เส้นทางฝั่งตรงข้ามทางเสด็จฯ กรณีที่มีเกาะกลางถนนเส้นทางฝั่งตรงข้าม สามารถใช้ได้ตามปกติ กรณีไม่มีเกาะกลางถนน ให้ใช้อุปกรณ์ เช่น กรวยยางวาง โดยประชาชนสามารถวิ่งตามเส้นทางที่จัดไว้ได้ตามปกติ

4. กรณีทางร่วมทางแยกให้ประชาชนใช้เส้นทางได้ตามปกติ โดยใช้วิธีการควบคุมรถ เช่น ใช้กรวยยางวางควบคุมกระแสรถ

5. สำหรับสะพานกลับรถ หรือสะพานข้าม ให้ประชาชนใช้ได้ตามปกติ

6. กรณีทางพิเศษที่มีด่านเก็บเงิน ให้วางแนวกรวยยางด้านซ้ายให้ประชาชนเดินรถได้ โดยให้เหลือช่องทางสำหรับขบวนเสด็จอย่างน้อย 2 ช่องทาง

7. กรณีเส้นทางร่วมทางแยก ไม่ให้บังคับให้ประชาชนเปลี่ยนเส้นทาง ให้คำนึงถึงความตั้งใจของประชาชนเป็นหลัก

8. เน้นย้ำในการวางอุปกรณ์ให้พิจารณาตามความเหมาะสม ให้คำนึงถึงเวลา ให้กระทบประชาชนน้อยที่สุด

9. ใช้มาตรการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดกับทั้งประชาชนและผู้ปฏิบัติหน้าที่

10. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นต้องลงไปกำกับดูแลด้วยตนเอง สำหรับผู้ปฏิบัติให้ใช้วาจา กิริยา ท่าทางด้วยความสุภาพ ไม่ให้ประชาชนรู้สึกว่าถูกบังคับ

การดำเนินการปรับรูปแบบการถวายการอารักขาระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลัก เพื่อถวายความปลอดภัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ในระดับสูงสุด เพื่อให้สมกับพระเกียรติ และเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ก็เลยไม่เข้าใจว่าเมื่อดำเนินการลักษณะดังกล่าวนี้แล้วทำไมยังไป ‘หนักศีรษะ’ ของหญิงสาวและชายหนุ่มคู่นั้นอีก (ไม่อยากพิมพ์ชื่อให้เป็นเสนียดคีย์บอร์ดครับ) หรือมันยังไม่สาแก่ใจในการ ‘ด่า’ และ ‘ความต้องการบางอย่าง’ โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องเจ้า เรื่องนาย ทำให้ต้องรีบขับรถด้วยความเร็วเพื่อเข้าไปแทรกขบวนเสด็จฯ แต่เมื่อโดนกัก ก็ลงไปลำเลิก ว่ากล่าว เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ถวายการอารักขาอย่างคนไร้อารยะ ซึ่งเขาทั้งคู่คงลืมเรื่องกฎแห่งความปลอดภัยทางการจราจร และกฎหมายอีกหลายต่อหลายข้อ โดยเฉพาะกฎหมายตาม พ.ร.บ.การถวายความปลอดภัย พ.ศ. 2560 ซึ่ง ‘ไอ้คนพวกนี้’ มันไม่เคยสนใจอยู่แล้ว แต่ผมขอตัดบางข้อใน พรบ. เพื่อนำไปสู่ข้อความสำคัญดังนี้...

การถวายความปลอดภัย หมายความว่า “การรักษาความปลอดภัยสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และให้หมายความรวมถึงการรักษาความปลอดภัยสําหรับผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์.....และบุคคลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นพระราชอาคันตุกะ....โดยครอบคลุม พระราชฐาน ที่ประทับหรือที่พัก...ขณะที่เสด็จฯ ไปหรือไปยังที่ใด รวมตลอดถึงการรักษาความปลอดภัยของ ยานพาหนะ และสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้อง”

โดยมี ‘หน่วยราชการในพระองค์’ และ ‘หน่วยงานรัฐ’ เป็นผู้รับผิดชอบ โดยไปอ่านฉบับเต็มได้นะครับ ไม่ยาวแค่ 3 หน้าสั้น ๆ ที่ https://www.royaloffice.th/wp-content/uploads/2018/09/พรบ-ถวายความปลอดภัย.pdf 

แต่คุณเชื่อไหม? ว่ากฎหมายฉบับนี้ก็มีช่องที่ทำให้พวกคนไร้อารยะเห็นช่องในการจะก่อการ เพราะกฎหมายฉบับนี้ไม่มีบทลงโทษใด ๆ ครับ จะเอาผิดไอ้คนพวกนี้ก็ทำได้แค่ ‘กฎหมายจราจร’ เท่านั้น (ซึ่งหลายคนจะพยายามโยงไปที่ ม.112 มันก็ไม่สามารถนะโยม อย่ามั่ว!! เพราะล่าสุดที่พวกมันโดนจับคือคดีเก่าล้วนๆ และเจตนาพวกมันก็ชัดว่าต้องการประทุษร้ายต่อพระบรมวงศานุวงศ์ โดนถอนประกันไม่ใช่เรื่องแปลก และจะโดน ม.116 ก็สมควรได้รับไปครับ) 

ปกติประเทศไทยของเรานี้ ไม่มีใครที่จะกระทำการอันมิบังควรต่อองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ นอกจากไอ้คนประเภทที่เราได้เห็นกันมานี่ล่ะครับ 

จากเหตุการณ์และกฎหมายที่ว่ามา ก็เลยทำให้สภาเดือดครับ เพราะเล็งเห็นแล้วว่ามี ‘คนไม่ปกติ’ อยู่ในสังคมไทยของเรา ทั้งยังกล้าที่จะกระทำการมิบังควรให้เกิดขึ้นโดยไม่มีจิตสำนึก จึงได้มีการผลักดันอย่างเต็มที่เพื่อ ‘เพิ่มโทษ’ และ ‘ลดจุดอ่อน’ พ.ร.บ.การถวายความปลอดภัย พ.ศ. 2560 โดยเป็นโทษหนักต่างกรรมต่างวาระ ทั้งโทษจำคุกสูงสุดถึง 5 ปี และปรับถึง 500,000 บาท ในกรณีที่ก่อเกิดอันตรายต่อร่างกายและชีวิตขององค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งข้อนี้ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นเป็นแน่ (ยกเว้นพวกมัน) 

แต่สภาก็ยังคงมีท่านผู้ทรงเกียรติหลายท่าน ‘ขวาง’ ทั้งยังไม่พูดถึงกรณีการละเมิดดังกล่าว แต่เฉไฉไปพูดถึงเรื่องความปลอดภัยและโทษที่ ‘คนไม่ปกติ’ ได้รับ ทั้งยังไปยกเรื่องการปะทะกันของกลุ่มคน โดยไม่สนใจถึงมูลเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นเลยแม้แต่นิดเดียว ก็อย่างว่าน่าจะเป็น ‘พรรคพวกเดียวกัน’ หรือไม่ก็คงเป็น ‘คนไม่ปกติ’ เหมือนกัน ไม่แปลกที่ใครจะคิดไปในทางเดียวกันว่าพรรคของพวกท่านนั่นแหละที่อยู่เบื้องหลัง โดยอาจจะเป็นผู้นำจิตวิญญาณของท่านหรือสาวคางทูมเป็นผู้บงการก็ได้ 

อ่านมาถึงตรงนี้ทุกท่านมองว่าเราควรทำอย่างไรกันดี? เมื่อเรามีพวก ‘คนไม่ปกติ’ คิดแต่จะล้มเจ้าอยู่ทุกวัน

ถาม? เมื่อพรรคการเมืองพรรคหนึ่งมีพฤติกรรมล้มล้างสถาบันชัด ตอบ!! จะถามหาความรับผิดชอบจากคนที่เลือกเข้ามาได้ไหม?

คนไทยถ้าไม่แกล้งหูหนวกตาบอดกันจริง ๆ จะต้องทราบดีว่า สส. จำนวนไม่น้อยที่สังกัดพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง มีพฤติกรรมที่คิดล้มล้างสถาบันมานานหลายปี โดยใช้วิธีล้างสมองเด็ก ส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุนให้เด็กออกหน้าแสดงแทน เช่น เผารูป ขีดเขียนกำแพงวัดพระแก้ว กระทั่งการขับรถป่วนขบวนเสด็จฯ 

พรรคการเมืองที่ล้มสถาบันจะเข้ามาไม่ได้ ถ้าไม่มีคนจำนวนมาก 'กาเลือก' เข้ามา 

ช่างไม่แฟร์กับคนที่รักสถาบันเลย รู้ทั้งรู้แต่กลับต้องยอมให้กลุ่มคนที่เป็นอันตรายต่อสถาบัน มาสูบกินเงินเดือนจากภาษีอันเหนื่อยยากของประชาชน 

ว่าแต่คนที่เลือกพรรคที่มีพฤติกรรมล้มสถาบันเข้ามา ถึงวันนี้คุณคิดว่า 'ตน' เป็นคนที่เข้าข่ายสายพันธุ์ใดมากที่สุด? 

1. มีนิสัยย้อนแย้งเหมือนพรรคการเมืองที่เขาเลือก ที่มักจะพูดอย่างแต่ทำอีกอย่าง หาความชัดเจนในตัวตนไม่เจอ และไม่คิดจะไม่รับผิดชอบใด ๆ ในสิ่งที่ตนเองทำ สายลมแสงแดดไปวัน ๆ ไม่สนผิดชอบชั่วดี 

2. คิดน้อย ไม่คิดหน้า คิดหลัง ไม่ดูการกระทำของคนให้ลึกซึ้ง หลงเพียงรูปโฉม วาทกรรม เบื่อของเก่า เห่อของใหม่ เห็นคนส่วนใหญ่ทำอะไรก็ทำตามส่ง ๆ ไป ไม่ลงลึก ไม่มีแก่นสาร เป็นประเภทโลกสวยกลวง ๆ เป็นบุคลากรของสังคมที่ไร้คุณภาพ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ 'บ่อนทำลายสถาบัน' ก่อตัวขึ้นในสังคมไทย

3. หลงพลาดผิดไปแล้ว รู้สึกสำนึกว่าได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำผิดกับแผ่นดินชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ไป ตั้งใจกลับตัว ปรับความคิดใหม่ เดินหันหลังให้ 'พรรคล้มสถาบัน' อย่างถาวร

4. ตอแหล เห็นกระแสคนรักสถาบันก็รักบ้าง เพราะกลัวถูกสังคมตั้งคำถาม แต่ส่วนลึกก็ไม่ได้รักสถาบันจริง อาจจะเกลียดสถาบันด้วยซ้ำ คนจำพวกนี้อ่านง่าย เห็นอะไรที่เป็นกระแสก็จะกระโจนเข้าหาทางนั้น เป็นคนที่จะไม่มีทางจริงใจกับฝ่ายใด และจะไม่มีทางได้ใจใครกลับมาเช่นกัน

5. แฟนคลับที่เบาปัญญา ถึงวันนี้ยังมองไม่ออก และไม่เชื่อว่าว่าพรรคการเมืองนี้คิดล้มล้างทำลายสถาบัน พวก 'บ่อนทำลายสถาบัน' จะชอบคนกลุ่มนี้มากที่สุด เพราะไม่เท่าทัน

6. พวกที่เกลียดสถาบันเหมือนกัน มีทั้งเปิดหน้าแสดงออกตรง ๆ กับพวกที่หลบซ่อนสนับสนุนอยู่เงียบ ๆ ไม่เผยตัวตนชัดเจน ซึ่งในสังคมไทยจะมีคนอย่างหลังมากกว่า

แล้วคุณคิดว่าตัวเองเข้าข่ายคนแบบใดมากที่สุด?

‘ธนกร’ หนุน กมธ.นิรโทษกรรม แต่ย้ำ ไม่ยกโทษให้พวกคนผิด ม.112 เพราะไม่ใช่คดีทางการเมือง แต่เป็นการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงของคนไทย

(9 มี.ค.67) นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวถึงคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ได้ข้อยุติเริ่มนับเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 จนถึงปัจจุบัน โดยจะเชิญทุกฝ่ายการเมืองที่มีคดีความจากการชุมนุม มาแสดงความคิดเห็น ว่า ตนเห็นด้วย หากจะเริ่มนับ 1 ในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยเฉพาะความเห็นต่างทางการเมือง ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในชาติ ซึ่งอาจจะต้องดูข้อกฎหมายเกี่ยวกับแต่ละคดีประกอบอย่างละเอียด เพราะหลายเหตุการณ์ที่เกิดการชุมนุมทางการเมืองขึ้น ยอมรับว่า ไม่ได้ชุมนุมโดยสงบ มีการใช้อาวุธทำลายสิ่งของและสถานที่ราชการด้วย จึงต้องดูให้ละเอียดรอบคอบเพราะเป็นคดีอาญา การเชิญตัวแทนกลุ่มการเมืองฝ่ายต่างๆ มาร่วมประชุมแสดงความเห็นถือเป็นนิมิตหมายที่ดีทางการเมือง

นายธนกร ย้ำว่า ขอสนับสนุน กมธ.นิรโทษกรรมฯ ที่ยังไม่พิจารณาคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพราะไม่ใช่คดีการเมือง แต่เป็นคดีหมิ่นประมาทอาฆาตมาตร้ายพระมหากษัตริย์ ไม่ควรเหมารวมกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้ รวมกับความเห็นต่างทางการเมือง และเชื่อว่า หากมีการรวมคนที่ทำผิดมาตรา 112 ให้รับการนิรโทษกรรม ตนเองและคนไทยทั้งชาติไม่มีใครยอมได้แน่นอน

“ขอให้กมธ.นิรโทษกรรมพิจารณาให้ดี ให้รอบคอบ ไม่ควรหยิบเอาคดีทำผิดหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์ มาพิจารณารวมกับคดีการเมือง เพราะไม่เกี่ยวกัน แม้ว่าจะมีบางพรรค พยายามชี้ให้เห็นว่าเป็นความเห็นต่างทางการเมืองก็ตาม ซึ่งความจริงแล้ว สถาบันฯอยู่เหนือการเมือง ไม่เกี่ยวข้องกัน เป็นการสร้างชุดข้อมูล สร้างความเข้าใจที่ผิดๆให้กับบางกลุ่มและประชาชน จึงจำเป็นที่ กมธ.นิรโทษกรรม จะต้องมีจุดยืนทางกฎหมาย หากมีการเหมารวมและยกโทษให้กับผู้กระทำความผิดมาตรา 112 เชื่อว่าคนไทยทั้งประเทศ ไม่มีใครยอมได้” นายธนกร ระบุ

เมื่อสถาบันฯ มอบความรัก ความสงบสุข ปลุกคนเทียมคน แล้วเหตุไฉนคนไทยผู้จงรักภักดีต่อชาติ จะมิ 'กตัญญู'

พระมหากษัตริย์ไทยประกาศ 'เลิกทาส' ให้พี่น้องคนไทย รวมถึงคนต่างแดนหลากหลายเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่เดิม และที่เดินทางเข้ามาหวังจะตั้งรกรากในผืนแผ่นดินไทยทุกคนได้มีที่ทำกินอย่างเท่าเทียม และเสรี

ทั้งยังมอบความรัก ความสงบสุขร่มเย็น ให้เรารู้สึกปลอดภัย มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความเป็น 'คนเทียมคน' จนเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองตามมา

สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เคยทำร้ายคนไทยที่คิดดีต่อสถาบันฯ และเราก็ไม่ควรคิดล้มล้างทำลายสิ่งที่มีบุญคุณกับเรา เราแสดงออกในความเป็นคนแบบไหน สังคมก็จะมองเห็นเราเป็นคนในแบบนั้นเสมอ ไม่มีทางปกปิดได้มิด

กลุ่มคน หรือองค์กรที่มีพฤติกรรมคิดร้ายต่อชาติ ต่อสถาบัน มีแผน ‘ชักศึกเข้าบ้าน’ แอบร่วมมือกับต่างชาติให้มาทำร้ายสถาบันของตัวเอง วันใดวันหนึ่งก็จะถูกเปิดเผยออกมาให้โลกรับรู้ และมักจบลงด้วยการรับโทษในฐานะ 'อาชญากรแผ่นดิน'

ที่สุดก็อาจจะไม่มีแผ่นดินอยู่

ทัศนคติที่เราแสดงออกมา จึงเป็นบทสรุปเกี่ยวกับนิสัยที่แท้จริงของคนเราทุกคนได้ดีที่สุด

เปรียบเปรยได้ไม่ต่างจากผึ้งเพียงหนึ่งตัว หรือจะบินมาเป็นฝูง ก็ไม่เคยคิดตอมขี้...ฉันใด แมลงวันจะตัวเดียวหรือบินมาเป็นพันเป็นหมื่นตัว ก็มักจะเลือกขี้ตอม...ฉันนั้น

ผึ้งอยู่ที่ไหนก็ชอบดอกไม้ แมลงวันต่อให้อยู่ใกล้ดอกไม้แสนสวย ก็จะบินหากองขี้อยู่ร่ำไป

เกิดเป็นคนมาแล้วทั้งทีก็ควรมองให้ออก สิ่งใดคือความหวานบริสุทธิ์ คือสาระประโยชน์ที่มีคุณค่ามากมายต่อโลกใบนี้ และสิ่งใดคือของเสีย คือขยะ คือความเน่าเหม็น ที่คอยสะท้อนถึงความสกปรกที่ซุกซ่อนอยู่ในจิตใจ

คุณคือผึ้ง หรือคือแมลงวัน คุณเลือกเป็นได้ด้วยตัวเอง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top