Saturday, 5 April 2025
ประเทศไทย

‘ดร.อาร์ม’ ชี้ ยุคโลกาภิวัตน์ไม่หวนกลับมาแล้ว นี่คือโจทย์ใหม่ของไทยบนการเมืองโลก

เมื่อวานนี้ (9 ก.ย. 67) สำนักข่าว TNN ได้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ ‘ปลดล็อกกับดัก: การปรับจุดยืนไทย ในโลกที่แบ่งขั้ว’ ซึ่งการจัดงานสัมมนาที่ได้มีการเชิญนักวิชาการไทยจากหลากหลายสาขาและภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยควรมีการดำเนินนโยบายอย่างไรเพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้ผลประโยชน์กับเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติได้

โดย ‘ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร’ ผ.อ. ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความคิดเห็นว่า ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ทั่วโลกอยู่ในช่วงโลกาภิวัตน์ หรือ โลกที่ไร้พรมแดน ทว่าไม่กี่ปีมานี้ โลกเหมือนจะเข้าสู่ Deglobalization และกำลังถูกตอกฝาโลงด้วยสงครามที่เกิดขึ้นทั่วโลก และประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังได้รับผลกระทบ Supply Chain ที่กำลังปั่นป่วนอยู่ในขณะนี้ 

“ก็จริง ๆ แล้วเนี่ย สมัยก่อนพูดกันนะครับว่าเป็นเทรนด์ของโลกว่าเป็นยุคที่ไม่มีสงคราม ยุคของความซิงลี้ ผู้คนค้าขาย ผู้คนที่เรียกกันว่า… เป็นมิตรต่อกันและกัน แต่ตั้งแต่สงครามการค้าของทรัมป์ตั้งแต่ปี 2017 ตามมาด้วยวิกฤตโควิด 19 ซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนของ Supply Chain ทั่วโลก แล้วก็มา ‘ตอกฝาโลง’ โลกาภิวัตน์ด้วยสงครามยูเครน ซึ่งเราบอกว่าทำให้ความไม่ไว้วางใจระหว่างมหาอำนาจเนี่ยสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ตอนนี้ผมคิดว่าบรรดานักวิชาการในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกต่างเห็นตรงกันว่าเป็นยุค Deglobalization คือเป็นยุคที่โลกาภิวัตน์ไม่หวนกลับมาแล้ว”

“แต่ว่าจริงๆ แล้ว หลายคนบอกว่า มันกำลังเกิดห่วงโซ่การค้าโลกแตกเป็น 2 ห่วงโซ่ ก็คือ ห่วงโซ่สหรัฐฯ เชื่อมโลก แล้วก็พยายามที่จะสกัดขัดขวางจีน และห่วงโซ่จีนเชื่อมโลก ซึ่งก็พยายามสกัดขัดขวางสหรัฐฯ อันนี้เลยเป็นโจทย์ใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะว่าในอดีต เราถามตลอดว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain อย่างไร แต่วันนี้ต้องพูดกันตามตรงนะครับว่า Global Supply Chain กำลังปั่นป่วนมากครับ”

อย่างไรก็ตาม ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ยุคแห่งสงครามเย็น แต่เป็นยุคสงครามร้อนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลก พร้อมกันนั้น ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบมากมายต่อการขับเคี่ยวกันทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นงานสัมมนาครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ท่ามกลางความร้อนระอุของโลกยุคนี้

‘สุรัชนี’ ชี้ ควรยึดประโยชน์ของไทยเป็นที่ตั้ง แนะ ไทยสามารถร่วมมือกับประเทศอื่นนอกจากมหาอำนาจ

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าว TNN ได้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ ‘ปลดล็อกกับดัก: การปรับจุดยืนไทย ในโลกที่แบ่งขั้ว’ ซึ่งการจัดงานสัมมนาที่ได้มีการเชิญนักวิชาการไทยจากหลากหลายสาขาและภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยควรมีการดำเนินนโยบายอย่างไรเพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้ผลประโยชน์กับเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติได้

‘ผศ.ดร. สุรัชนี ศรีใย’ นักวิจัยอาคันตุกะ สถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค ประเทศสิงคโปร์ และเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ได้รับเชิญไปสัมมนางานดังกล่าว มีความเห็นว่า ประเทศไทยจะต้องตอบตนเองให้ได้ก่อนว่าต้องการผลประโยชน์ของชาติแบบใด นโยบายแบบใด ที่น่าจะสามารถให้ประโยชน์กับทุกคนในประเทศส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่เพียงเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น และยังเสริมว่า ประเทศไทยสามารถทำงานร่วมกับประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศมหาอำนาจที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นตลาดอื่นๆ ทางเศรษฐกิจได้ เช่น อาเซียนและประเทศในกลุ่ม EU เป็นต้น 

“คิดว่าไทยต้องเริ่มจากการ Identify ความต้องการของตนเองก่อนว่าผลประโยชน์ของชาติไทยมันคืออะไร ซึ่งอันนี้ขีดเส้นใต้เยอะมากว่าหมายถึง ‘ผลประโยชน์ของคนไทย’ ส่วนใหญ่นะคะว่า การที่ประเทศจะบริหารความสัมพันธ์ระหว่างไทยเองกับประเทศที่เป็นมหาอำนาจนี้น่ะค่ะ มันจะส่งผลประโยชน์ต่อคนไทยยังไง เมื่อไปจากจุดนั้นแล้ว เราก็จะสามารถนึกได้นอกกรอบว่า เราจะสามารถบริหารความสัมพันธ์เหล่านี้ยังไงได้บ้างนะคะ นี่คือจุดเริ่มต้นสำคัญที่เราจะต้องเริ่มก่อน หลังจากนั้นเราก็จะสามารถที่จะเลือกได้ว่า เราจะไปสู่ผลประโยชน์เหล่านั้นเนี่ย โดยการที่จะทำงานร่วมกับมหาอำนาจไหน? หรือเราไม่จำเป็นต้องทำงานร่วมกับมหาอำนาจอย่างเดียวค่ะ เราสามารถที่จะนึกถึงตัวละครอื่นๆ อย่างเช่น ทำงานผ่านกรอบอาเซียน ทำงานร่วมกับ EU ก็ได้ หรือแม้กระทั่งกับประเทศอื่นๆ ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นตลาดอื่นๆ ที่ไทยจะสามารถ Explore ได้ค่ะ” 

อย่างไรก็ตาม ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ยุคแห่งสงครามเย็น แต่เป็นยุคสงครามร้อนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลก พร้อมกันนั้น ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบมากมายต่อการขับเคี่ยวกันทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นงานสัมมนาครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ท่ามกลางความร้อนระอุของโลกยุคนี้

'ดุลยภาค' ชี้ โลกกำลังเข้าสู่การแบ่งขั้วมหาอำนาจที่ชัดเจน ย้ำ!! ประเทศไทยควรวางตัวเป็นกลางอย่างสร้างสรรค์

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าว TNN ได้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ ‘ปลดล็อกกับดัก: การปรับจุดยืนไทย ในโลกที่แบ่งขั้ว’ ซึ่งการจัดงานสัมมนาที่ได้มีการเชิญนักวิชาการไทยจากหลากหลายสาขาและภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยควรมีการดำเนินนโยบายอย่างไรเพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้ผลประโยชน์กับเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติได้

‘รศ.ดร. ดุลยภาค ปรีชารัชช’ จาก สถาบันเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ได้เข้าร่วมสัมมนาดังกล่าว ได้มีความคิดเห็นว่า ประเทศไทยเหมาะที่จะดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยการเป็นกลางอย่างยืดหยุ่นและสร้างสรรค์มากกว่า และเน้นยึดหลักความถูกต้องและกฎกติการะหว่างประเทศเป็นตัวนำ พร้อมกับเลือกดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นการถาวร อย่างเช่น ประเทศไทยโยกเข้าหาสหรัฐอเมริกาในเรื่องการทหาร และ โยกเข้าหาจีนในเรื่องของการค้าและเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปิดกั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากจนเกินไป รวมไปถึงขณะเดียวกันก็ให้ประเทศไทยหันมาเสริมสร้างแกนนอก ซึ่งหมายถึง การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจนอกประเทศไทยด้วย

“ผมคิดว่าเราน่าจะดำเนินนโยบายเป็นกลางแบบยืดหยุ่น นั่นก็คือ เราไม่ประกาศว่าเราฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เนื่องจากยังไม่ได้มีแรงบีบคั้นทางยุทธศาสตร์อย่างรุนแรงที่ถึงขนาดประเทศไทยต้องเลือกข้างนะครับ เพราะฉะนั้นเราน่าจะยึดประเด็น ยึดความถูกต้อง ยึดกฎกติกา บรรทัดฐานระหว่างประเทศเป็นตัวนำ มหาอำนาจชาติใดทำเหมาะไม่เหมา จะต้องมีการประณามหรือยังไง แล้วก็ปฏิบัติไปตามความเหมาะสมบนหลักการแบบนี้ แต่ในขณะเดียวกันในบางครั้ง ในบางประเด็น เราอาจจะต้องโยกเข้าหาสหรัฐฯ หรือจีนบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะฝักใฝ่ประเทศเหล่านั้นเป็นการถาวร ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องของการซ้อมรบ พันธมิตรทางทหาร พันธมิตรทางยุทธศาสตร์ กำลังทหารของสหรัฐอเมริกายังมีความสำคัญอยู่ เพราะฉะนั้น ไทยก็น่าจะเอนเข้าหาสหรัฐฯ หรือว่าระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศ เครื่องบินรบต่าง ๆ เราก็ต้องเน้นสหรัฐอเมริกา แล้วก็จีนก็เข้ามาตาม จีนอยากจะถ่วงดุลกับสหรัฐฯ ก็เข้ามาบริหารความสัมพันธ์ดู แต่ในมิติของการค้าชายแดน ในมิติของการลงทุน การท่องเที่ยวต่างๆ เนี่ย อิทธิพลจีนน่าจะมีอยู่สูงกว่าอย่างชัดเจน เราก็ต้องโยกเข้าหาจีนไปโดยปริยาย แต่เราก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะปิดโอกาสนี้สำหรับสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่นๆ เพราะฉะนั้นผมคิดว่า ความเป็นกลางแบบยืดหยุ่น แบบสร้างสรรค์น่าจะเหมาะสมกับไทยนะครับ”

“แล้วอีกเรื่องหนึ่งก็คิดว่า ประเทศไทยน่าจะเสริมสร้างแกนนอก เสริมสร้างแกนนอกก็คือ ให้เราไปมองดูพื้นที่นอกประเทศไทยว่า ส่วนไหนจะเป็นอิทธิพล เขตไหนเป็นอิทธิพลของเรา เหนือ, ใต้, ออก, ตก อย่างนี้ เช่น พื้นที่รัฐฉานของพม่า พื้นที่บรรจบทางทะเลระหว่าง ไทย, พม่า, อินเดีย, อินโดนีเซีย อะไรอย่างนี้เป็นต้น เป็นพื้นที่ที่เราจะต้องทำ Power Projection นะครับ ทำการสำแดงอำนาจ หรือเพิ่มปฏิบัติการทางเศรษฐกิจหรือมิติต่าง ๆ ให้มากขึ้น” 

อย่างไรก็ตาม ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ยุคแห่งสงครามเย็น แต่เป็นยุคสงครามร้อนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลก พร้อมกันนั้น ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบมากมายต่อการขับเคี่ยวกันทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นงานสัมมนาครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ท่ามกลางความร้อนระอุของโลกยุคนี้

'นักเขียนซีไรต์' อัด!! พวกดูถูกเหยียดหยามคนทำความดี เอาแต่ก่นด่าประเทศชาติที่เกิดและมีชีวิตอยู่มาจนวันนี้

(13 ก.ย. 67) วิมล ไทรนิ่มนวล นักเขียนรางวัลซีไรต์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กในหัวข้อ 'หนักแผ่นดิน' ระบุว่า...

“คนที่เผชิญกับอุทกภัยก็สาหัสแล้ว คนลุ้น-เอาใจช่วยก็เหนื่อย ซ้ำยังต้องเผชิญกับโอษฐภัยบรรลัยชาติของพวกสามกีบอีก แต่ละวันพวกมันเคยทำประโยชน์อะไรเพื่อใครบ้าง? นอกจากดูถูกเหยียดหยามคนทำความดี ก่นด่าประเทศชาติที่พวกมันเกิดและมีชีวิตอยู่มาจนวันนี้…

“ประเทศนี้สิ้นเปลืองทรัพยากร สิ้นเปลืองอาหารและสาธารณูปโภคแล้ว ยังถูกพวกมันคอยแต่บ่อนเซาะทำลายไม่รู้จบสิ้น พวกมันมีชีวิตอยู่เพื่อเป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินเท่านั้น ไร้ค่าไร้ประโยชน์อย่างสิ้นเชิง…

“พวกหนักแผ่นดินของจริง!”

'แกนนำก้าวหน้า' แซะ!! ประเทศไหนพึ่งพา 'อาสาฯ-เงินบริจาค' ก็แปลว่าภาครัฐพึ่งพาไม่ได้ ไม่รู้จะเสียภาษีให้ไปทำไม

(13 ก.ย. 67) นายชำนาญ จันทร์เรือง แกนนำคณะก้าวหน้า ได้โพสต์รูปและข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

"ประเทศไหนที่พึ่งพาอาสาสมัครและเงินบริจาคจากประชาชนเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติแสดงว่าบริการสาธารณะของภาครัฐประเทศนั้นพึ่งไม่ได้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเสียภาษีให้รัฐประเภทนี้ไปทำไม"

จับภาวะเศรษฐกิจไทย ในจังหวะ 'ต้นทุนแพง แข่งขันลำบาก' โจทย์ใหญ่สุดหินของรัฐบาล ส่วนฝ่ายค้านก็ค้านแต่เรื่องผิดๆ ถูกๆ

ข่าวปิดกิจการ ของห้างสรรพสินค้า ‘ตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี’ พร้อมการยุติการจ่ายกระแสไฟฟ้า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 กระทบต่อผู้ประกอบการร้านค้า ที่เช่าพื้นที่ขาย บนอาคาร 12 ชั้น ทั้งหมด ร้านอาหารที่ใช้ตู้แช่เย็น เพื่อเก็บวัตถุดิบ หากไม่สามารถขาย หรือขนย้ายได้ทัน ก็คงเสียหายไปอีกไม่น้อย

ธุรกิจเอสเอ็มอีไทย 8 เดือนแรกปีนี้ 'ปิดกิจการ' 10,000 ราย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า ข้อมูลการปิดกิจการของธุรกิจ SMEs ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2567 มีอยู่ประมาณ 10,000 ราย (อ้างอิงข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า) โดยภาคอีสานและภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่มีความเปราะบางสูงสุด สะท้อนจากสัดส่วนธุรกิจที่ปิดกิจการเทียบกับธุรกิจที่มีอยู่

ไม่ใช่แค่ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจที่กระทบต่อเอสเอ็มอีไทย แต่พบว่ายังมีความท้าทายจากปัจจัยภายในที่เผชิญ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจที่อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ก็เผชิญร่วมกัน โดย 95% ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า 3 เรื่องที่มีความกังวลและกดดันศักยภาพในการทำธุรกิจมากที่สุดคือ 

1.ต้นทุนการผลิต ต้นทุนการดำเนินงาน ต้นทุนวัตถุดิบที่สูง 

2.พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป 

3.กลยุทธ์การผลิตและการตลาดที่ล้าสมัย ทำให้เอสเอ็มอีไทยอาจมีแนวโน้มฟื้นช้ากว่าคาด

ทั้งนี้มองในระยะข้างหน้าปัญหาเหล่านี้อาจจะมีความรุนแรง แก้ไขและควบคุมได้ยาก พบ 4 ประเด็นจากปัจจัยภายนอกที่เข้ามาซ้ำเติมปัญหาเหล่านี้คือ 

1.ต้นทุนพลังงานที่น่าจะผันผวน 

2.ต้นทุนค่าแรงที่กำลังจะปรับสูงขึ้น 

3.สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ 

และ 4.ปัญหาการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่ขยายเข้าไปในท้องถิ่นต่าง ๆ ทำให้เอสเอ็มอีแข่งขันได้ยากขึ้น รวมถึงยังเน้นแข่งขันด้านราคา ที่ทำให้สภาพคล่องของธุรกิจด้อยลงอย่างต่อเนื่อง

ต้นทุนเป็นปัญหาหลัก ที่ส่งผลให้ SMEs ปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก แต่รัฐบาล เตรียมประกาศปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 นี้ !! ซึ่งก็ต้องรอดูว่า มาตรการที่จะมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่ต้องแบกรับต้นทุนค่าแรงงาน ที่สูงขึ้น จะออกมาในรูปแบบใด หากมาตรการไม่สามารถช่วยเหลือได้ จำนวนตัวเลขการปิดกิจการ ก็คงเพิ่มขึ้นในอัตราก้าวหน้า และแรงงาน ก็คงตกงานกันอีกเป็นจำนวนมาก

ฝ่ายค้าน ที่จะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการบริหารของรัฐบาลให้เป็นไปโดยชอบตามทำนองคลองธรรม จากการอภิปรายล่าสุด ก็ยังไม่พบว่า มีข้อแนะนำในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ จากแกนนำฝ่ายค้าน อ่านตัวเลขงบประมาณ ยังผิด ๆ ถูก ๆ มีแต่ข่าวคราว การหาเสียงเลือกตั้งซ่อม เลือกตั้งท้องถิ่น ผลักดันสุราเสรี จัดสัมมนาเรื่อง Sex Tourism และเพศพาณิชย์ ที่ยังมองไม่เห็นว่า จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจได้อย่างไร เมื่อเทียบกับโครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการแลนด์บริจด์ 

ม.หอการค้าไทย เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เดือนสิงหาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 57.7 เป็น 56.5 เป็นการปรับตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือนนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 

เดือนมีนาคม 2567 'ดนันท์ สุภัทรพันธุ์' กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เคยกล่าวถึงกรณีการแข่งขันอันดุเดือดท่ามกลางสมรภูมิขนส่งไว้ว่า 'ไปรษณีย์ไทย' กำลังเจอปัญหาการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมเพราะโดนกีดกันจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากร้านค้าและลูกค้าไม่สามารถเลือกขนส่งเองได้ เขาเสนอว่า ต้องมี 'Regulator' หรือหน่วยงานที่เข้ามาทำหน้าที่กำกับดูแลเป็นผู้กำหนดกติกาการแข่งขัน เพื่อความเป็นธรรมและชัดเจนมากขึ้น 

เท่านั้นยังไม่พอ เพราะตอนนี้ต้องเจอศึกหนักจาก ‘Temu’ ที่มีความยากกว่าหลายเท่า เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่มีสำนักงานในไทย แม้แต่กรมสรรพากรก็ตรวจสอบไม่ได้ ทำให้ต้นทุนของ Temu ต่ำกว่าเดิม จากที่ส่วนแบ่งในตลาดถูก 'Shopee' และ 'Lazada' ปันส่วนไป 

ถ้าคนขายตาย ผู้ประกอบการตาย ขนส่งก็ไม่รอด ‘GDP’ ไหลออกนอกประเทศ แล้วรัฐบาลจะหารายได้จากแหล่งใด มากระตุ้นเศรษฐกิจ สุดท้าย ผู้ประกอบการ ธุรกิจ SMEs ในประเทศต้องปิดตัวลง ถ้ายังไม่แก้ สุดท้ายก็ตายกันหมด

'อดีตทูตนริศโรจน์' เผย!! เหตุการณ์น้ำโขงสูง โทษจีนได้ไม่เต็มปาก ชี้!! ตัวแปร 'พายุยางิ - 50 แม่น้ำสายย่อยในลาวไหลลงโขง' มีส่วนมาก

(16 ก.ย. 67) นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

“เหตุการณ์น้ำโขงสูงจนท่วมนั้น To be fair โทษจีนได้ไม่เต็มปากครับ เพราะอิทธิพลพายุ 'ยางิ' ครั้งนี้ทำให้เกิดพายุฝนมากในเขตลาว, เวียดนาม, พม่า, ไทย…

“สมัยผมทำงานที่ลาวเคยฟังบรรยายสรุปจาก จนท.องค์กรลุ่มแม่น้ำโขง MRC ถึงทราบว่าในลาวมีแม่น้ำสายย่อยต่าง ๆ รวม 50 สายที่ไหลลงแม่น้ำโขง และแต่ละแห่งก็มีเขื่อนทั้งสิ้น ซึ่งมีอิทธิพลต่อแม่น้ำโขงโดยตรง บางทีอาจส่งผลมากกว่าจีนด้วยซ้ำ…

“มวลน้ำเฉพาะที่ลาวอย่างเดียวก็มหาศาลแล้วครับ…

“แต่คนเข้าใจผิดนึกว่า น้ำจากเขื่อนจีนอย่างเดียว!”

อาชีพ ‘นักการเมืองไทย’ มีไว้เพื่อช่วยพัฒนาชาติ มิใช่เพื่อ ‘รวมหัวซุกหาง’ มุ่งแต่ ‘ล้มล้างสถาบัน’

น้ำป่าไหลทะลักมาครั้งนี้ ชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องคนไทยในหลายจังหวัดก็เปียกโชกไปด้วยความใจร้ายของธรรมชาติ เมื่อภูเขาร้างต้นไม้ หน้าดินไร้ความเขียวของหญ้าปกคลุม ป่าทั้งป่าถูกข้าราชการ นักการเมือง และคนใจร้ายตัดจนเหลือแต่ตอเพียงเพื่อ ‘ความเห็นแก่ตัว’ และ ‘บ้องตื้น’ ก็ถึงเวลาที่ ‘อุทกภัยใจเหี้ยม’ โกรธจัด จึงซัดเอาผู้คนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ต้องหนีตายกันแทบไม่ทัน 

ลำบากไปถึงคนทั้งชาติ ที่ต้องลงแรงลงใจเข้าช่วยเหลือ ยามนี้จึงเห็น ‘น้ำใจคนไทย’ ที่ไหลเย็น และแรงยิ่งกว่าสายน้ำป่า แม้เป็นภาพที่น่าข่มขืน แต่ก็พอยิ้มได้เต็มหน้าที่เห็นแสงสว่างส่องรอดมาจากหัวใจของคนไทยเรา

แต่กระนั้นก็ตาม ขณะที่ทุกแรงบนผืนแผ่นดินไทย มุ่งตรงไปสู่การช่วยเหลือ ‘ผู้ประสบอุทกภัย’ อย่างจริงจัง แข็งขัน และเร่งด่วน ใครมีเงินช่วยเงิน ใครมีเสบียงก็ช่วยจัดส่งไปให้ ด้วยยังขาดแคลนจำนวนมาก ก็ยังมี ‘คนใจมาร’ จำนวนหนึ่ง ห่อหุ้มด้วย ‘เปลือกส้มชั่ว’ แสดงความคิดที่เป็นพิษ หยาบหนา และน่าอดสูยิ่ง นอกจากมือพายไม่เป็น ยังยึดโยงความคิดเข้าเหน็บกัดทหารอาสา ที่มาช่วยชีวิตประชาชนที่โดนสายน้ำล้อมบ้านจนหนีออกมาไม่ได้

ทหารกล้าชั้นผู้น้อย ไปจนถึงชั้นสูงระดับบัญชาการรบทุกนาย ทุกเหล่า สมัครใจมาทำหน้าที่แทนพี่น้องคนไทย ยอมเสี่ยง ยอมสละเวลาแห่งความสุขสบายส่วนตัว ขนเอายุทโธปกรณ์ที่มีพร้อมกว่าองค์กรใด ๆ เพื่อมาช่วยให้อีกหลายชีวิตรอดปลอดภัย ไม่น่าเชื่อว่าจะยังมี ‘นักการเมืองชั่ว’ ฉวยใช้เวลาแห่ง ‘ความเป็นความตาย’ เช่นนี้ กระทบชิ่ง หวังสะกิดให้ ‘สถาบันเบื้องสูง’ ต้องมีตำหนิ จึงไม่รู้ว่าจะสรรหาคำใดมาเปรียบกับพฤติกรรมเลว ๆ ที่นับวันก็ยิ่ง ‘เผยอความกักขฬะ’ ที่ซุกซ่อนอยู่ในจิตใจออกมาให้สังคมเห็น 

คนอาชีพ ‘นักการเมือง’ ที่ดีงามจริง เมื่อประชาชนเลือกเข้ามาให้กินเงินภาษีจากความเหนื่อยยาก ก็ควรต้องช่วยชาติบ้านเมือง เสียสละแรงกายใจ ทุ่มเทให้กับการพัฒนาประเทศ ไม่ต่างจากสุนัขที่เลี้ยงไว้ที่บ้านยังรู้ว่าก็ต้องซื่อสัตย์กับเจ้าของ มิใช่ไปไล่กัดคนที่คอยให้ข้าวให้น้ำเรากิน

คงมีแต่ ‘เดรัจฉาน’ เท่านั้น ที่มีจิตใจต่ำกว่าสัตว์ จึงพูดไม่รู้ฟัง เตือนกี่ครั้งก็ไม่สำนึก ท่องอยู่ไม่กี่คำในกะโหลกหนา ๆ คือ ‘ล้มเจ้า’, ‘ล้มสถาบัน’, ‘แก้ 112’ , ‘ล้มล้างการปกครอง’

มีนักการเมืองเลว ๆ แบบนี้ในประเทศไทย เสียดายเงินภาษีของเราจริง ๆ 

ไทยติดอันดับ 17 แดนสวรรค์ของวัยเกษียณทั่วโลก 'ความเป็นมิตร-สถานที่น่าอยู่-ระบบสาธารณสุขดีเลิศ'

(18 ก.ย. 67) ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต (U.S. News & World Report) เปิดเผยผลการจัดอันดับประเทศที่เหมาะใช้ชีวิตหลังเกษียณมากที่สุด (Best Countries for a Comfortable Retirement) จาก 89 ประเทศ ปรากฏว่า สวิตเซอร์แลนด์ยังคงครองอันดับ 1 ได้เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน เนื่องจากระบบบริการสุขภาพที่ดีและอัตราภาษีต่ำ ขณะที่ประเทศไทยติดอันดับที่ 17 ขยับขึ้นมาจากอันดับ 18 ในรายงานเมื่อปีที่แล้ว รั้งอันดับสูงสุดในอาเซียนและเอเชีย

ผลสำรวจดังกล่าวได้จากผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 17,000 คนทั่วโลก และผู้ตอบแบบสำรวจกลุ่มย่อยจำนวน 5,900 คนที่อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 40 กลางๆ ขึ้นไป พิจารณาจากคุณลักษณะ 7 ด้าน ได้แก่ ราคาจับต้องได้, สภาพแวดล้อมด้านภาษีเอื้ออำนวย, ความเป็นมิตร, สถานที่น่าอยู่, ภูมิอากาศน่ารื่นรมย์, สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ และระบบสาธารณสุขที่ดี 

สำหรับอันดับประเทศน่าอยู่ที่สุดสำหรับวัยเกษียณ 10 อันดับแรก ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, โปรตุเกส, ออสเตรเลีย, สเปน, แคนาดา, เดนมาร์ก, เนเธอร์แลนด์, สวีเดน และลักเซมเบิร์ก

‘นายกฯ’ ชื่นชมกองทัพ เป็นที่พึ่งของประชาชนยามทุกข์ยาก พร้อมส่งกำลังใจให้กำลังพลปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย

(18 ก.ย. 67) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ชื่นชมกองทัพเป็นที่พึ่งของประชาชน โดยเฉพาะยามเกิดภัยพิบัติกองทัพได้นำกำลังพล ยุทโธปกรณ์ และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนอย่างทุ่มเท เต็มกำลังความสามารถและอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่า กองทัพอยู่เคียงข้าง ไม่ทอดทิ้งประชาชน

นายกฯ กล่าวว่า จากรายงานกองทัพได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จนสถานการณ์คลี่คลายทั้งในพื้นที่ จ.เชียงราย, น่าน, หนองคาย, เลย, บึงกาฬ, นครพนม, ราชบุรี, อุบลราชธานี และ จ.กาฬสินธุ์ โดยได้ทำการช่วยเหลือประชาชน ดังนี้... 

1.ช่วยเหลือประชาชนล้างทำความสะอาด ดินโคลน (บ.เล่าลิ่ว ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย) 

2.ลาดตระเวนป้องกันอาชญากรรม เฝ้าระวังความปลอดภัยดูแลทรัพย์สินประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย (แม่สาย เชียงราย) 

3.ติดตั้งชุดประปาสนาม ผลิตน้ำประปาชั่วคราว 4 แห่ง ให้ประชาชนเชียงรายคลายความเดือดร้อน

4.ฟื้นฟู/ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย (รร.บ้านปอน ต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน) 

และ 5.ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่หนองคาย กรอกกระสอบทราย และนำกระสอบทรายไปวางเพื่อเสริมแนวกั้นป้องกันมวลน้ำโขง เพื่อจัดทำพนังกั้นน้ำ (บ้านปากมาง ม.12 ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย)

“ขอเป็นกำลังใจให้กองทัพและกำลังพลทุกนายที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน ขอให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง บนพื้นฐานความไม่ประมาท คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก” นายกฯ เน้นย้ำ 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top