Sunday, 5 May 2024
ประชาธิปไตย

ครั้งหนึ่ง 'โรบินฮู้ด' ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เพราะวีรกรรมปล้นคนรวยมาแจกคนจนดันถูกใจพี่หมี

เชื่อไหมว่าประเทศที่เปี่ยมไปด้วยเสรีภาพทุกตารางนิ้วอย่างอเมริกา ชี้หน้ากล่าวหาตัวละครอย่างโรบินฮู้ดว่าเป็น 'คอมมิวนิสต์'  

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะมีการประกาศ 'แบน' หนังสือโรบินฮู้ดอย่างเป็นทางการทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในรัฐอินเดียน่าเลยทีเดียว

ย้อนความ...สาเหตุที่ทำให้โรบินฮู้ดและสหายโด่งดัง ก็เพราะพฤติกรรมปล้นคนรวยเอามาแจกคนจน ทำให้หลายคนสงสัยว่าโรบินฮู้ดมีตัวตนจริง หรือเป็นแค่เรื่องเล่า     

โดยต้นเรื่องนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 12-14 คืออาจจะเป็นใครก็ได้ในช่วงนั้น ส่วนป่าเชอร์วู้ดอันเป็นพำนักพักอาศัยของโรบินฮู้ดและผองเพื่อนมีอยู่จริง  

(ป่าเชอร์วู้ดมีพื้นที่ 32 กิโลเมตรในมณฑลนอตติงแฮมเชียร์ พื้นที่เป็นทุ่งราบและป่าทึบ สมัยก่อนพื้นที่ทุกตารางนิ้วในป่าเชอร์วู้ดเป็นพื้นที่ป่าสงวนให้กษัตริย์และราชวงศ์ใช้ล่าสัตว์)

ทีนี้ทำไมอยู่ ๆ โรบินฮู้ดถึงถูกอเมริกากล่าวหาว่าเป็นคอมมี่ไปได้?

นั่นก็เพราะสืบเนื่องมาจากวีรกรรมของโรบินฮู้ดเป็นถูกอกถูกใจพี่หมีขาวโซเวียต ในยุคที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ขยายตัวไปบางส่วนของโลกหรือยุคสงครามเย็น เลยยกโรบินฮู้ดให้เป็นวีรบุรุษต้นแบบของระบอบคอมมิวนิสต์ จนนำไปเป็นตัวเอกในหนังชวนเชื่อยุค 1970s - 1980s   

พอพี่หมีขาวรัสเซียเนียนเอาโรบินฮู้ดมาเป็นตัวเอกในหนังโฆษณาชวนเชื่อก็เป็นเรื่อง อเมริกาพ่อทุกสถาบันเห็นเข้าก็ตัวสั่นเร่า ประกาศแบนทันที และรัฐที่ประกาศปังดังลั่นคือ รัฐอินเดียน่า 

ในปี 1953 คณะกรรมการหนังสือเรียนของรัฐอินเดียน่าออกคำสั่ง 'แบน' หนังสือโรบินฮู้ดทุกเล่มทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วทั้งรัฐ โดยให้เหตุผลว่า พฤติกรรมของโรบินฮู้ดที่ปล้นคนรวยไปช่วยคนจนนั้น ดูแล้วมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ที่มุ่งยึดทรัพย์สินและบ้านช่องนายทุนเอามาให้ชนชั้นกรรมาชีพ โถ..ลูกอีช่างโยง

คงต้องขอเล่าประวัติศาสตร์อเมริกาช่วงสงครามเย็นให้ฟัง แล้วจะเห็นภาพว่าทำไม?...ทำไมรัฐอินเดียน่าถึงกล่าวหาโรบินฮู้ดแบบนี้

อเมริกาขับเคี่ยวกับทั้งพี่หมีขาวและพญามังกรจีนอย่างถึงพริกถึงขิงในยุคสงครามเย็น เป็นการต่อสู้กันระหว่างสองค่ายการปกครองระหว่างเสรีประชาธิปไตยกับลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งลุงแซมต่อต้านอย่างสุดตัวสุดตีน จนเข้าข่ายบ้าคลั่งในบางครั้ง

ช่วงสงครามเย็นที่ว่านี่แหละเกิดการล่าแม่มด โดยกล่าวหาว่าคนนั้นคนนี้มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เรียกว่าใครเกลียดใครหรืออยากล้างแค้นใคร แค่บอกทางการว่าไอ้นั่นอีนี่เป็นคอมมิวนิสต์รับรองถูกลากไปสอบสวนหมด เลยโดนกันทั่วหน้า ไม่ว่าเป็นนักการทูต นักเขียน กองทัพ รวมไปถึงบุคลากรในวงการภาพยนตร์

กลุ่มสุดท้ายนี่ถูกล่าอย่างหนัก เพราะคณะกรรมการของรัฐสภายุคนั้นเชื่อว่า ผู้กำกับหรือผู้สร้างหนัง สามารถชี้นำมวลชนให้ฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ผ่านทางภาพยนตร์เพื่อล้างสมอง หลายคนถูกสอบสวนอย่างหนัก ถูกขึ้นบัญชีดำ หรือถูกบีบให้คายชื่อเพื่อนหรือคนรู้จักที่เข้าข่ายเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งบางก็เอาตัวรอดด้วยการซัดทอดคนบริสุทธิ์

โดยจุดเริ่มต้นของการล่าแม่มดคอมมิวนิสต์มาจาก ลัทธิแม็คคาร์ธี (McCarthyism) ที่มาจากชื่อวุฒิสมาชิกโจเซฟ แม็คคาร์ธี แห่งพรรครีพับลิกัน ซึ่งอีตาแม็คคาร์ธีนี่ขวาจัดแบบชนิดที่เรียกว่าสุดโต่ง เกลียดคอมมิวนิสต์ชนิดสุดติ่งทิงนองนอย เลยกลายเป็นไล่ล่ากวาดล้างบรรดาคนที่มีแนวโน้มจะเป็นคอมมิวนิสต์ในอเมริกา

ช่วงนั้นทุกคนโดนไล่ล่าไม่เว้น แม้กระทั่งประธานาธิบดีเฮนรี เอส. ทรูแมน ยังโดนแม็คคาร์ธีกล่าวหาว่า อ่อนข้อให้กับพวกคอมมิวนิสต์และปกป้องสายลับโซเวียต 

'ดัชนีประชาธิปไตย' ปี 2022 ชี้!! ไทยขยับขึ้น 17 อันดับ สะท้อน 'บิ๊กตู่' วางรากฐานพัฒนาเพื่อเยาวชนของชาติ

(4 ก.พ.66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รายงานการจัดอันดับ 'ดัชนีประชาธิปไตย' (Democracy Index) ปี 2022 ของ Economist Intelligence Unit (EIU) ระบุว่า ประเทศไทย มีคะแนนรวมเพิ่มขึ้นมากที่สุดในปี 2022 ที่ 6.67 จาก 6.04 ในปี 2021 (เพิ่มขึ้น 0.62) และขยับจากอันดับที่ 72 ในปี 2021 เป็นอันดับที่ 55 ในปี 2022 จากทั้งหมด 167 ประเทศ โดยการจัดอันดับดังกล่าวเริ่มทำขึ้นเมื่อปี 2006 โดยใช้ตัวชี้วัดทั้งสิ้น 5 มิติ ได้แก่...

กระบวนการเลือกตั้งและพหุนิยม (electoral process and pluralism), การทำงานของรัฐบาล (the functioning of government), การมีส่วนร่วมทางการเมือง (political participation), วัฒนธรรมทางการเมือง (political culture) และเสรีภาพพลเมือง (civil liberties) ซึ่งประเทศไทยได้ 7.42 6.07 8.33 5.63 และ 5.88 คะแนน ตามลำดับแต่ละมิติ

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 4 ต่อจากประเทศมาเลเซีย อันดับที่ 40 ฟิลิปปินส์อันดับที่ 52 อินโดนีเซีย อันดับที่ 54 และไทยอันดับที่ 55

นายอนุชา กล่าวว่า ในรายงานระบุว่าประเทศไทย มีคะแนนรวมเพิ่มขึ้น 0.62 ถือเป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในดัชนีนี้ การพัฒนาดังกล่าวเกิดจากการเพิ่มพื้นที่ทางการเมืองสำหรับพรรคฝ่ายค้านของประเทศ การมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น และภัยคุกคามจากความไม่สงบต่อประเทศลดลง จึงส่งผลให้ประเทศไทยเลื่อนอันดับโลกขึ้นมา 17 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 55 ซึ่งตัวเลขดัชนีประชาธิปไตยนี้เป็นอีกหนึ่งรูปธรรม ที่สะท้อนความจริงใจของรัฐบาลในการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศ รัฐบาลเคารพทุกเสียง ยอมรับความคิดเห็น ที่เป็นไปตามกระบวนการที่ถูกต้อง สร้างสรรค์ ซึ่งเชื่อมั่นว่าทุกคนมีจิตใจที่ตั้งมั่นในการพัฒนาชาติ 

เชื่อผมสักครั้ง!! ‘บิ๊กป้อม’ โพสต์ เข้าใจโครงสร้างอำนาจประเทศ ขอ ก้าวข้ามความขัดแย้ง มั่นใจ!! ทำได้และทำได้ดีกว่าใคร

(8 มี.ค 66) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ‘พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ’ เรื่อง ‘บทที่ 2 ก้าวสู่วิถีประชาธิปไตย’ ระบุว่า…

“การที่เป็นนายทหาร เติบโตจาก ชั้นผู้น้อย จนมาเป็น ผู้บัญชาการทหารบก อยู่เป็นผู้หนึ่งในศูนย์กลางอำนาจรัฐ ประกอบกับการคบหาสมาคมกับคนในทุกวงการตามโอกาสที่อำนวยให้มากมาย ทำให้ผมเข้าใจ ‘โครงสร้างอำนาจของประเทศ’ เป็นอย่างดี เป็นโครงสร้างที่ส่งผลต่อการช่วงชิงและจัดสรรอำนาจจริง ไม่ใช่แค่โครงสร้างในรูปแบบที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปได้รับรู้

ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน การต่อสู้ของ 2 ฝ่าย 2 แนวความคิด เป็นไปอย่างเข้มข้น ฝ่ายหนึ่งมองเห็นแต่ความเหลวแหลกของพฤติกรรมนักการเมือง แต่ความไม่รู้ ความไม่มีความสามารถของประชาชนที่จะเลือกคนมีความรู้ความสามารถเข้ามาบริหารจัดการประเทศ เห็นแต่ ‘นักธุรกิจการเมือง-การลงทุนทางการเมืองเพื่อค้ากำไร แสวงหาผลประโยชน์-นักการเมืองที่มาจากผู้มีบารมีในท้องถิ่น เข้ามาขยายแหล่งผลประโยชน์จากอำนาจส่วนกลาง’
ผู้ประสบความสำเร็จในตำแหน่ง หน้าที่การงาน ทั้งที่เป็นข้าราชการ และภาคเอกชน ทั้งนักธุรกิจ นักลงทุนที่ทำงานขับเคลื่อนประเทศ ส่วนใหญ่ทนกับความรู้สึกของตัวเองที่มีต่อนักการเมืองในคุณสมบัติข้างต้นไม่ไหว

การสนับสนุนให้ก่อร่างโครงสร้างอำนาจนิยม เกิดขึ้นจากความเหลือทนต่อพฤติกรรมดังกล่าวของนักการเมือง

ผมรับรู้ถึงกระแสสนับสนุน ‘การปฎิวัติรัฐประหาร’ ที่ไม่เคยหมดไปจากโครงสร้างอำนาจประเทศเรามาตลอด และมองความเป็นไปทั้งหมดอย่างเข้าใจ ว่าทำไมกลุ่มผู้มีอิทธิพล ในการกำหนดความเป็นไปของประเทศจึงพากันคิดและร่วมกันลงมือเช่นนั้น

อย่างไรก็ตาม เหมือนชะตาชีวิตเอื้อให้ผมมีโอกาสเข้ามาทำงานในฐานะนักการเมือง ตั้งแต่ในฐานะรัฐมนตรีในรัฐบาลที่นำโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ได้ทำงานร่วมกับผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งรัฐมนตรี และ ส.ส. จนมาถึงได้ร่วมก่อตั้งพรรค และขยับมาเป็นหัวหน้าพรรคด้วยเหตุผลที่กล่าวไปในบทที่แล้ว

ด้วยประสบการณ์ใหม่ และอุปนิสัยเดิมของผม ที่รักในการคบหาสมาคมกับผู้คน ทำให้ผมได้เรียนรู้ชีวิต และความคิดของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมากขึ้น
.
นักการเมืองในประเทศที่ประชาชนยังต้องการความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ มากมาย ด้วยโครงสร้างการบริหารจัดการประเทศไม่เอื้อให้ประชาชนพึ่งพาตัวเองได้ ขณะที่การบริหารจัดการของระบบราชการยังบกพร่องและเป็นปัญหาอยู่มาก

นักการเมืองที่ถูกหมิ่นแคลนจากชนชั้นที่มีอิทธิพล กำหนดความเป็นไปของประเทศที่ผมได้กล่าวถึงข้างต้น กลับเป็นผู้ที่เข้าอกเข้าใจปัญหา เป็นที่พึ่งที่หวังได้ในทุกเรื่องของประชาชน มากกว่าคนกลุ่มอื่นในโครงสร้างอำนาจ

ผมเริ่มเข้าใจอย่างลึกซึ้งขึ้นเรื่อย ๆ ว่า การตัดสินว่า “ประชาชนไม่มีความสามารถในการเลือกคนดี มีความสามารถเข้ามาเป็นผู้แทน” นั้นเป็น ‘ความคิดที่ไม่ถูก’ เพราะมองการตัดสินใจเลือกของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบในโครงสร้างอำนาจแบบนี้ เพียงมุมเดียว และเป็นมุมมองที่ไม่เคยเข้าใจความรู้สึกนึกคิดชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่เป็นส่วนใหญ่ของประเทศ

เมื่อชีวิตนักการเมืองของผม ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่สัมผัสการทำงานของนักการเมืองพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งด้วยภารกิจราชการอย่างเช่นการลงไปแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ต่างๆ และลงไปร่วมหาเสียง สร้างความนิยมให้สมาชิกพรรคในจังหวัดต่าง ๆ

ผมได้รับรู้ว่า การปลูกฝังสำนึกประชาธิปไตยให้กับประชาชนนั้น ไปไกลแล้ว ทั้งที่ผ่านบทบาทของนักการเมืองส่วนกลาง และนักการเมืองท้องถิ่นที่มีการเลือกตั้งกันทุกระดับ ทำให้ผมกลับมาย้อนมองผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ว่าทำไม ‘พรรคที่สนับสนุนอำนาจนิยม’ จึงพ่ายแพ้ต่อ ‘พรรคที่เดินในแนวทางประชาธิปไตยเสรีนิยม’ ทุกครั้ง

'วันนอร์ – ทวี' มั่นใจได้ ส.ส. 15 เขตทั่วประเทศไทย ลั่นเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคฝ่ายประชาธิปไตยได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

(11 มี.ค.66) ที่ ห้องประชุมโรงแรมดิอิมพีเรียล นราธิวาส อ.เมือง จ.นราธิวาส นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ เป็นประธาน เปิดการประชุมใหญ่ สามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2566  พร้อมด้วย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคประชาชาติ โดยมี คณะผู้บริหารและสมาชิกพรรคประชาชาติร่วมกิจกรรม กว่า 1000 คน  

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ กล่าวว่า ประชาชนบอกว่า การเลือกตั้ง คราวหน้า พรรคประชาชาติจะแลนด์สไลด์ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ พรรคประชาชาติจะได้ ส.ส.มากกว่าเดิม เพราะ 4 ปีที่ผ่านมา ต้องขอบคุณ เลขาธิการพรรค และ ส.ส.พรรคประชาชาติ ได้ทำงานในสภา อย่างหนัก ขอยืนยันว่าหลังจากนี้ไป พรรคประชาชาติ คือพรรคเฉพาะกิจจะหมดสิ้นไป 

พรรคประชาชาติไม่ได้เป็นฝ่ายค้านเพื่อรอเป็นรัฐบาล เราไม่สนับสนุน เผด็จการ การสืบทอด อำนาจ 4 ปี เราพยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และได้ทำงานสำเร็จ ได้บางส่วน การเลือกตั้งบัตรสองใบ เป็นการให้โอกาสกับพรรคประชาธิปไตย และ 4 ปี พิสูจน์ได้ ว่า เราเป็นพรรคเล็กแบบมีคุณภาพ และ เป็นพรรคพร้อมที่จะโตแน่นอน พรรคประชาชาติ รับปากจะแก้ปัญหาให้ประชาชนทันทีที่เข้าสภา อาทิ กฎหมาย กยศ. จะแก้ไข ไม่ให้มีดอกเบี้ย ไม่มีค่าปรับ และจะให้เรียนฟรี   กฎหมายการห้ามซ้อมทรมาน ส.ส.ของเราสู้เต็มที่แต่ มีถูก ฝ่ายเผด็จการชะลอไป อีก 8 เดือน และอีกหลายเรื่องที่จะแก้ปัญหา

‘ลูกหมี’ ขอคนไทยเลือก ‘ปชป.’ เป็นผู้นำ เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ ย้ำ!! พรรคทำงานด้วยวิถีประชาธิปไตย ‘ไม่โกง-สุจริต-ท้องอิ่ม’

(6 พ.ค. 66) น.ส.รัศมี ทองสิริไพรศรี รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และทีมโฆษกศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง กล่าวถึงเหตุผลที่พี่น้องประชาชนต้องเลือกพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะเป็นการเลือกตั้งที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้ อย่าเพียงเลือกไปตามกระแส เพราะประเทศไทยจำเป็นต้องมีผู้นำที่มีประสบการณ์ จึงจะสามารถนำพาประเทศไปรอดได้

ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองเดียวที่เป็นสถาบันทางการเมืองที่ยั่งยืน และนำเสนอนโยบายครอบคลุมคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ด้วย 3 แกนหลัก คือ ‘สร้างเงิน’ คือ การสร้างเงินให้คนไทย สร้างเงินให้ประเทศ ‘สร้างคน’ ด้วยการศึกษา สาธารณสุข เพื่อให้คนไทยมีศักยภาพในการรักษาเงิน และทำงานเพื่อสร้างเงินให้ตนเองและครอบครัวได้ต่อไปในอนาคต ‘สร้างชาติ’ ด้วยการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยึดมั่นทำงานการเมืองด้วยวิถีประชาธิปไตยสุจริต และประชาธิปไตยท้องอิ่ม 

และภายใต้ 3 แกนหลักดังกล่าว ประกอบด้วย 16 นโยบายที่โดดเด่น สำหรับคนทุกกลุ่ม ดังต่อไปนี้

1.) ประกันรายได้ ‘จ่ายเงินส่วนต่าง’ ข้าว มัน ยาง ปาล์ม ข้าวโพด
2.) ชาวนารับ 30,000 บาทต่อครัวเรือน
3.) ธนาคารหมู่บ้าน/ชุมชน แห่งละ 2 ล้านบาท
4.) อินเทอร์เน็ตฟรี 1 ล้านจุด ทุกหมู่บ้าน ทุกห้องเรียน
5.) เรียนฟรีถึงปริญญาตรี สาขาที่ตลาดต้องการ
6.) ฟรีนมโรงเรียน 365 วัน
7.) ตรวจสุขภาพฟรี รักษาฟรี ใช้บัตรประชาชนใบเดียว
8.) SME มีแต้มต่อ 3 แสนล้าน
9.) ชมรมผู้สูงอายุ รับ 30,000 บาท ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน
10.) ออกโฉนดที่ดิน 1 ล้านแปลง ภายใน 4 ปี
11.) ออกกรรมสิทธิ์ทำกิน ให้ผู้ทำกินในที่ดินของรัฐฯ
12.) ประมงท้องถิ่นรับ 100,000 บาท ทุกปี
13.) ปลดล็อกประมงพาณิชย์ ภายใต้ IUU
14.) ปลดล็อก กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ซื้อบ้านได้
15.) 3 ล้านบาท ต่อยอดเกษตร แปลงใหญ่
16.) ค่าตอบแทน อกม. 1,000 บาทต่อเดือน   

น.ส.รัศมี กล่าวอีกว่า ยังมีนโยบายอื่น ๆ อีกที่น่าสนใจ อาทิ การวางรากฐานศึกษาด้วย CODING ซึ่งการศึกษาเป็น DNA ของพรรคประชาธิปัตย์ นโยบาย Delta work Thailand กรุงเทพต้องไม่จมน้ำ และการประกาศสงครามกับปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 การผลักดันกฎหมายอากาศสะอาด นโยบายเกี่ยวกับสตรี 5 ด้าน เพื่อเสริมเก่งสร้างแกร่งให้ผู้หญิง ขจัดความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และครอบครัว ตั้งแต่ด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้างสังคมเสมอภาค ส่งเสริมผู้หญิงเป็นพลังทางเศรษฐกิจ วางรากฐานการศึกษา และส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาททางการเมือง

‘ตาทอง’ วัย 80 ปี ปีนเสาโทรศัพท์ เรียกร้องประชาธิปไตย เผย ซื้อตัวรถทัวร์เตรียมเข้า กทม.มาหา ‘อุ๊งอิ๊ง’ หนุนนั่งนายกฯ

(8 พ.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ ติดที่ว่าการอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มีลุงวัย 80 ปี ปีนขึ้นไปบนเสาส่งสัญญาณสูงกว่าตึก 3 ชั้น จากนั้นใช้โทรโข่ง ประกาศเรียกร้องประชาธิปไตย จนชาวบ้านที่พบเห็นได้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และกู้ภัยให้มาช่วยกันเจรจาให้ลุงลงมาพูดคุยกันที่ด้านล่าง

หลังจากการเจรจาผ่านไป ประมาณ 30 นาที ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัด และด้านบนไม่มีน้ำดื่ม ทำให้ลุงคนดังกล่าว เริ่มมีอาการอ่อนเพลียและอิดโรย ไม่สามารถลงมาได้ ทำให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยบางแก้ว ต้องปีนนำน้ำขึ้นไปให้ และช่วยประคองกันลงมา

ร่างมติวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่ 114 และร่างมติสภาผู้แทนสหรัฐฯ ที่ 369 จี้ รบ.ไทย ‘ปกป้อง-สนับสนุน’ ประชาธิปไตย เสรีภาพการชุมนุม-แสดงออก

ร่างมติวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่ 114 และ ร่างมติสภาผู้แทนสหรัฐฯ ที่ 369 เรียกร้องหรือแทรกแซง ให้รัฐบาลไทยปกป้อง-สนับสนุนประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน-เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ-เสรีภาพในการแสดงออก

 

Edward Markey วุฒิสมาชิกมลรัฐ Massachusetts พรรค Democratic 
ผู้ซึ่งเคลื่อนไหวเพื่อที่จะออกมติวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่ 114

จากเอกสารที่คนไทยกลุ่มหนึ่งได้กล่าวหาให้ร้ายประเทศไทย โดยส่งถึงรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และวุฒิสมาชิก (Edward Markey วุฒิสมาชิกมลรัฐ Massachusetts พรรค Democratic) และส.ส. (Susan Wild ส.ส. มลรัฐ Pennsylvania พรรค Democratic) ของสหรัฐฯ ซึ่งได้มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องที่จะออกมติวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่ 114 และมติสภาผู้แทนสหรัฐฯ ที่ 369 อันมีเนื้อหาเป็นการกล่าวหาและมีลักษณะเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทยนั้น 

Susan Wild ส.ส. มลรัฐ Pennsylvania พรรค Democratic
ผู้ซึ่งเคลื่อนไหวเพื่อที่จะออกมติสภาผู้แทนสหรัฐฯ ที่ 369

รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มอบให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ประสานกับทั้งสำนักงานของวุฒิสมาชิก Ed Markey และ ส.ส. Susan Wild โดยตรงแล้ว และอยู่ระหว่างชี้แจงประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์ไทยด้วยข้อเท็จจริง ร่างข้อมติทั้งสอง (วุฒิสภาที่ 114 และสภาผู้แทนที่ 369) ซึ่งมีถ้อยคำคล้ายคลึงกันมาก ยังคงเป็นเพียงร่างข้อมติที่รอการพิจารณาของคณะกรรมาธิการต่างประเทศของวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งขึ้นอยู่กับประธานของคณะกรรมาธิการฯ จะยกขึ้นพิจารณาหรือไม่ จึงยังไม่มีการเสนอไปที่วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนฯ แต่อย่างใด และวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ ที่กระทรวงการต่างประเทศถือว่าเป็น “มิตรแท้ของไทย” ยังไม่มีผู้ใดร่วมอุปถัมภ์ (Sponsor) ร่างข้อมติแต่อย่างใด ทั้งนี้รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงการต่างประเทศกำลังมีหนังสือไปถึงวุฒิสมาชิก Markey โดยตรงแล้ว และความพยายามในการขับเคลื่อนเพื่อให้วุฒิสภาและสภาผู้แทนสหรัฐฯเชื่อว่า มีการดำเนินการผ่าน Lobbyist อย่างแน่นอน

เนื้อหาเต็มของร่างมติวุฒิสภาที่ 114 ดังกล่าว มีใจความดังนี้ :
ร่างมติเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปกป้องและสนับสนุนประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม สิทธิในเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและเสรีภาพในการแสดงออก และเพื่อวัตถุประสงค์อื่น

(ร่างมติวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่ 114) เร่งเร้าให้รัฐบาลไทยปกป้องและสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม สิทธิในเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและเสรีภาพในการแสดงออก และเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ในวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา นาย MARKEY (สำหรับตัวเขาเองและนาย DURBIN) ได้ยื่นมติดังต่อไปนี้ ซึ่งได้อ้างถึงคณะกรรมาธิการมติ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยปกป้องและผดุงไว้ซึ่งประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม สิทธิในเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและเสรีภาพในการแสดงออก และเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ โดยที่ราชอาณาจักรไทย (ครั้งหนึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ ‘ราชอาณาจักรสยาม’) และสหรัฐอเมริกาได้สถาปนาความสัมพันธ์กันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2361 และได้ทำสนธิสัญญาทางไมตรีและการค้า ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2376 ซึ่งได้ลงนามอย่างเป็นทางการ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง 2 ประเทศ; โดยที่ไทยเป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญารายแรกของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ค่านิยมสากล และยังคงเป็นมิตรที่มั่นคงของสหรัฐอเมริกา 

ในขณะที่ผ่านสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2497 (หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘สนธิสัญญามะนิลา’) สหรัฐอเมริกาและไทยแสดงความปรารถนาร่วมกันที่จะ ''เสริมสร้างโครงสร้างแห่งสันติภาพและเสรีภาพและเพื่อ ยึดมั่นในหลักการของประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคล และหลักนิติธรรม'' โดยที่ในปี พ.ศ. 2505 สหรัฐอเมริกาและไทยได้ลงนามในแถลงการณ์ Thanat-Rusk โดยสหรัฐฯ ให้คำมั่นว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยหากต้องเผชิญกับการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยผ่านสนธิสัญญาไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำ ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 พร้อมกับความสัมพันธ์ทางการค้าที่หลากหลายและเพิ่มมากขึ้น 

สหรัฐอเมริกาและประเทศไทยได้พัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้น โดยที่สหรัฐอเมริการับรองประเทศไทยในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ประธานาธิบดี Joseph R. Biden และผู้นำอาเซียนได้ยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอาเซียนให้เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม เพื่อเปิดขอบเขตความร่วมมือใหม่ที่สำคัญต่อความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงในอนาคตของสหรัฐอเมริกาและประเทศสมาชิกอาเซียน โดยที่ไทยประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกในปี 2565 (1) เพื่อฟื้นฟูการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (2) เพื่อฟื้นฟูการเชื่อมต่อหลังจากการหยุดชะงักจากการระบาดของ COVID–19 และ (3) เพื่อบูรณาการวัตถุประสงค์ของการมีส่วนร่วมและความยั่งยืนควบคู่กับเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ไทยถูกกำหนดให้เป็นพันธมิตรหลักที่ไม่ใช่สมาชิก NATO ในปี พ.ศ. 2546 และเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนด้านความมั่นคงที่แข็งแกร่งที่สุดของสหรัฐฯ 

ความสัมพันธ์ดังกล่าวยืนยันอีกครั้งโดยแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมปี พ.ศ. 2563 สำหรับพันธมิตรด้านการทหารระหว่างสหรัฐฯ-ไทย ในขณะที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจัดการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกันหลายครั้ง รวมถึง Cobra Gold ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับนานาชาติประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกที่มีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในขณะที่รัฐบาลไทยยังคงเป็นพันธมิตรในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและผู้ลี้ภัย รวมถึงความพยายามในการบรรเทาทุกข์ข้ามชาติหลังจากเหตุการณ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดียในปี พ.ศ. 2547 และแผ่นดินไหวในประเทศเนปาล พ.ศ. 2558 

โดยที่ประเทศไทยสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2475 และได้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้ว 19 ครั้ง รวมทั้งรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ซึ่งกำหนดให้มีผู้แทนจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในสภาสองสภาและมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยที่ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 กองทัพไทยได้ก่อการรัฐประหารโดยยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ประกาศกฎอัยการศึก และแทนที่รัฐบาลพลเรือนด้วยคณะทหาร ซึ่งเรียกว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่ง (ในคำนำนี้เรียกว่า ‘คสช.’) ซึ่งนำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก

โดยที่ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 คสช. ได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 คสช. ได้จัดให้มีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งมีข้อบกพร่องอย่างมาก คือ เจตนาทำให้เอกสารถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่การลงประชามติในปี พ.ศ. 2559 ถูกทำลายโดยการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบอย่างกว้างขวาง ขณะที่ คสช. เมินเสียงเรียกร้องจำนวนมากจากสหประชาชาติและรัฐบาลต่างประเทศให้เคารพสิทธิของประชาชนในการแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างเสรี และตัดทอนเสรีภาพอย่างรุนแรงในช่วงก่อนทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ดำเนินคดีกับนักข่าวและผู้วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ เซ็นเซอร์สื่อและป้องกันการชุมนุมในที่สาธารณะเกินห้าคน ในขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2017

(1) ยึดอำนาจโดยกองทัพไทยทำให้พลเรือนไม่สามารถควบคุมทางการเมือง
(2) บังคับเรียกร้องให้รัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาชุดต่อมาปฏิบัติตาม ‘แผนปฏิรูป 20 ปี’ ที่ออกโดยรัฐบาลทหาร
(3) มีบทบัญญัติที่ทำให้สภาผู้แทนราษฎร 500 คนอ่อนแอ และมีการสงวนที่นั่งวุฒิสมาชิก 250 ที่นั่งในวุฒิสภาสำหรับสมาชิกวุฒิสภาที่ คสช.แต่งตั้ง และหัวหน้า คสช. รวมทั้งผู้นำสูงสุดของทหารและตำรวจ และ
(4) ให้อำนาจเกินขอบเขตแก่สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกโดยรัฐบาลทหารที่ไม่ได้รับเลือกในการเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไป; 

โดยที่ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ประเทศไทยจัดการเลือกตั้งโดย 
(1) กลุ่มตรวจสอบอิสระหลายกลุ่มที่อ้างว่ามีปัญหาทั้งกระบวนการและระบบ ประกาศว่า การเลือกตั้งไม่เสรีและยุติธรรมอย่างเต็มที่ และเอียงข้างอย่างหนักเพื่อเข้าข้างรัฐบาลทหาร และ
(2) ส่งผลให้พรรคการเมืองของ คสช. ซึ่งนำโดยประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่และแต่งตั้งประยุทธ์ให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีก ขณะที่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 พรรคอนาคตใหม่ฝ่ายค้านถูกยุบและถูกสั่งห้ามตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ สืบเนื่องจากกระบวนการทางกฎหมายที่มีข้อบกพร่องจากการตั้งข้อหาเท็จ ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญยังวินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไม่ได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้อยู่ในตำแหน่ง 8 ปี ทั้งที่ยังคงอยู่ในอำนาจตั้งแต่การรัฐประหารในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557

ในขณะที่รัฐบาลไทยยังไม่มีความคืบหน้าในการสืบสวนการโจมตีอย่างรุนแรงต่อนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยบางคน การลักพาตัวและสูญหาย และการสังหารผู้เห็นต่างทางการเมืองของไทยทั่วเอเชีย โดยที่ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 รัฐบาลไทยได้ชะลอการออกกฎหมายต่อต้านการทรมานที่สำคัญอีกครั้ง ซึ่งแม้ว่าจะมีข้อบกพร่อง แต่จะช่วยให้ทั้งความชัดเจนเกี่ยวกับความผิดทางอาญาของการทรมานและการป้องกันการทรมาน 

ขณะที่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ผู้ประท้วงหลายหมื่นคนทั่วประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาและเยาวชนเป็นหลัก ได้เรียกร้องอย่างสันติให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ปฏิรูปรัฐธรรมนูญ และเคารพสิทธิมนุษยชน ในขณะที่รัฐบาลไทยตอบโต้การประท้วงอย่างสันติเหล่านี้ด้วยมาตรการปราบปราม ซึ่งรวมถึงกลยุทธ์การข่มขู่ การใช้กำลังมากเกินไประหว่างการประท้วง การสอดแนม การคุกคาม การจับกุม การใช้ความรุนแรง และการจำคุก โดยที่ระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2566 หน่วยงานของรัฐบาลไทยได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อกลุ่มนักเคลื่อนไหวกว่า 1,800 คนเข้าร่วมเดินขบวนและแสดงความคิดเห็น โดยมีเด็กกว่า 280 คน โดย 41 คนเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 

ในขณะที่รายงานที่เผยแพร่ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยองค์กรพัฒนาเอกชนพบว่า ทางการไทยใช้สปายแวร์ Pegasus กับนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยอย่างน้อย 30 คนและบุคคลที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และต่อต้านนักวิชาการและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทยอย่างเปิดเผย และในขณะที่รัฐบาลไทยยังคงพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งหากมีการประกาศใช้ (1) จะเป็นกฎหมายที่เข้มงวดที่สุดกฎหมายหนึ่งต่อองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในเอเชีย และ (2) จะมีผลที่ไม่อาจย้อนกลับได้ต่อภาคประชาสังคมในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยทั่วไป 

ดังนั้น บัดนี้ จึงมีมติว่าวุฒิสภา (1) ยืนยันความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่าง 2 สหรัฐอเมริกาและไทย ความสัมพันธ์บนพื้นฐานของค่านิยมประชาธิปไตยและผลประโยชน์เชิงกลยุทธ์ร่วมกัน 

(2) เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับประชาชนชาวไทย ในการแสวงหารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย การปฏิรูปการเมือง สันติภาพในระยะยาว และความเคารพ ต่อจุดยืนด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

(3) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยสนับสนุน 10 ประการและสนับสนุนประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน กฎ ของกฎหมายและสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ 1 เสรีภาพในการแสดงออกและความเป็นส่วนตัว

(4) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยสร้าง 3 เงื่อนไขสำหรับการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและยุติธรรมในวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 รวมถึง
(A) เปิดโอกาสให้พรรคฝ่ายค้านและผู้นำทางการเมือง สามารถดำเนินกิจกรรมได้โดยปราศจาก การแทรกแซงที่ไม่เหมาะสมจากรัฐ เจ้าหน้าที่
(B) ทำให้สื่อ นักข่าว และสมาชิกภาคประชาสังคมสามารถใช้เสรีภาพในการกดขี่ ชุมนุมโดยสงบ และการสมาคมได้ โดยปราศจากผลกระทบและความกลัวต่อการดำเนินคดี
(C) ทำให้มั่นใจว่าการนับคะแนนเสียงเป็นยุติธรรมและโปร่งใส

(5) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการอย่างเข้มงวด ปล่อยตัวและยกเลิกข้อกล่าวหาอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและงดเว้นจากการก่อกวน ข่มขู่หรือประหัตประหารผู้ที่มีส่วนร่วมในความสงบ การประท้วงเต็มรูปแบบและกิจกรรมของพลเมืองในวงกว้างมากขึ้น โดยการดูแลสิทธิและความเป็นอยู่ของเด็กและนักเรียนโดยเฉพาะ

(6) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงผลกำไรและการปฏิรูป กฎหมายและข้อบังคับอื่น ๆ ที่บ่อนทำลายการแสดงออกอย่างเสรีและการเข้าถึงข้อมูล

(7) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยลงทุน ระงับและยุติการโจมตีด้วยสปายแวร์ที่มุ่งเป้าไปที่นักวิชาการ 4 คน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และหลักของกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยต่าง ๆ

(8) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกใหม่และยุติการประกาศใช้กฎหมายและกฤษฎีกาที่ใช้ในการเซ็นเซอร์เนื้อหาและคำพูดออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเลือกตั้ง รวมถึงประเทศไทย
(A) ในต่างประเทศ และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่คลุมเครือ
(B) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(C) กฎหมายยุยงปลุกปั่นในวงกว้าง

(9) สื่อสารไปยังรัฐบาลไทยว่ามีการละเมิดสิทธิอย่างต่อเนื่องต่อ ประชาชนชาวไทยที่จะอยู่อย่างสันติและเป็นประชาธิปไตย กำหนดอนาคตของพวกเขา ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้ที่สหรัฐฯ จะยอมรับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไปอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์

(10) กล่าวอย่างชัดเจนว่า การแทรกแซงทางทหารหรือราชวงศ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมก่อน ระหว่าง หรือหลังการเลือกตั้งทั่วไปจะ
(A) บั่นทอนความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทยเป็นอย่างมากและ
(B) เป็นอันตรายต่อความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและความมั่นคงต่อประเทศไทยและการดำเนินการร่วมกันในระดับภูมิภาคและเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.markey.senate.gov/imo/media/doc/thailand_resolution_-_032023pdf.pdf

เหตุเกิดที่สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฏร์ เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

กี่ครั้งกี่หนแล้วที่ม็อบสามนิ้วแสดงอำนาจบาตรใหญ่ ข่มขู่คุกคามเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยอ้างสิทธิเสรีภาพอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย กระทำการต่างๆ ด้วยความรุนแรง ซ้ำอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า การกระทำลักษณะนี้ในสหรัฐฯ จะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการอย่างเด็ดขาด ด้วยมาตรการที่รุนแรงที่สุด

เหตุเกิดที่สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฏร์ เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

เหตุเกิดที่สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฏร์ เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

เหตุเกิดที่สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฏร์ เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

อันที่จริงแล้ว เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจนปานปลายเป็นความรุนแรงนั้น ล้วนแล้วแต่เกิดจากการกระทำของผู้ชุมนุมซึ่งอ้างสิทธิเสรีภาพ (อย่างไม่มีขอบเขต) ทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ต่างไปจากเหตุจลาจลจนกลายเป็นความรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นภายในรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อ 6 มกราคม ค.ศ. 2021 ทำให้มีผู้เสียชีวิตขณะเกิดเหตุ 5 ราย โดย 1 รายถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำรัฐสภาสหรัฐฯ ยิง 1 รายจากการใช้ยาเกินขนาด 3 รายจากสาเหตุธรรมชาติ และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำรัฐสภา 4 รายเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายภายในเจ็ดเดือนหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว (ซึ่งเหตุการณ์วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2021 นี้ ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ได้ใช้คำว่า ‘ประท้วง(Protest)’ แต่กลับใช้คำว่าเป็นเหตุการณ์ ‘โจมตี(Attack)’) ซึ่ง ส.ส.และ สว.ของรัฐสภาไทยก็ไม่เคยออกมติแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด เพราะมีมารยาทด้วยเห็นว่าเป็นกิจการภายในของสหรัฐฯ เอง เช่นนี้แล้วจะไม่เรียกว่า ร่างมติทั้งสองร่างดังกล่าว เป็นการกล่าวหาและมีลักษณะเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทย ได้อย่างไร!!!

เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำรัฐสภาสหรัฐฯ ใช้อาวุธปืนสงครามจี้คุมตัวผู้ก่อเหตุประท้วงในรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อ 6 มกราคม ค.ศ. 2021

เรื่อง: ดร.ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล 
ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ อาจารย์พิเศษหลักสูตรปริญญาโทและเอก นักเล่าเรื่องมากมายในหลากหลายมิติ เป็นผู้ที่ชื่นชมสนใจในประวัติศาสตร์สงครามสมัยใหม่ตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ

ควันหลังเลือกตั้ง!! ย้อนทำความรู้จัก ‘MOU’ จากทั่วโลก เวิร์คหรือไม่? ทางการเมือง

หนึ่งประเด็นที่ดูเป็น ‘เรื่องใหม่’ ของการเมืองไทย และถูกจับตามากที่สุด หลัง ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ออกมาประกาศต่อสาธารณชน เมื่อทราบผลการนับคะแนนไม่เป็นทางการ และปรากฏว่าพรรคก้าวไกลได้คะแนนเสียงมากที่สุด ก็คือ การเตรียมจัดทำข้อตกลง หรือ ‘เอ็มโอยู’ ระหว่างพรรคที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาล โดยยืนยันว่า…

“เวลาที่เราจะร่วมรัฐบาลกัน มันไม่ใช่แค่แบ่งกระทรวง หรือดู ส.ส. จำนวนเท่าไร แต่เราจะทำเป็นเอ็มโอยู ที่เป็นเอกสารเปิดเผยต่อสาธารณชน ว่าการร่วมรัฐบาลเราคาดหวังอะไรซึ่งกันและกันบ้าง เวลาทำงานจะได้ไม่สะดุดระหว่างทาง แล้วก็ให้ประชาชนสามารถคาดหวังได้ว่าสิ่งที่เคยสัญญา ก่อนเลือกตั้งและหลังเลือกตั้งยังเหมือนเดิมทุกประการ”

ก่อนอื่น มาดูนิยามของ เอ็มโอยู (MOU-Memorandum of Understanding) ก็คือ “บันทึกความเข้าใจ” ซึ่งทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างบุคคล องค์กร หรือสถาบัน ตั้งแต่สองฝ่าย หรือมากกว่านั้น ไม่ได้เป็นสัญญาผูกมัด แต่เพื่อเป็นการแสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังที่ได้ระบุและตกลงกันไว้

ในส่วนของการเมือง เมื่อการเลือกตั้งปรากฏผลลัพธ์ออกมา ว่าไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในสภาฯ การฟอร์มรัฐบาลจึงต้องออกมาในรูปแบบการเจรจาจัดตั้ง ‘รัฐบาลผสม’ 

ที่ผ่านมาในการเมืองไทย การจัดตั้งรัฐบาลหลายพรรค มักเริ่มที่การดูจำนวน ส.ส. ก่อนตกลงผลประโยชน์ แบ่งโควต้ารัฐมนตรี และจับจองกระทรวงต่างๆ อาจมี ‘การให้สัตยาบัน’ เพื่อเป็นพันธะยึดโยงร่วมกันบ้าง แต่แทบไม่เคยเห็นการทำเอ็มโอยู เป็นตัวหนังสือกำหนดแนวทางดำเนินนโยบายร่วมกัน ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะแต่ละพรรคการเมือง ย่อมมีนโยบายและจุดยืนแตกต่างกัน จึงต้องหาความลงตัว แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง เพื่อเดินหน้าทำงานร่วมกันให้ได้ 

แต่สำหรับในหลายประเทศทั่วโลก การจัดทำข้อตกลงร่วมกันของพรรคร่วมรัฐบาลในรัฐบาลผสม ก็อาจไม่ใช่เรื่องแปลกและเคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง เรามาลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น

เริ่มต้นกันที่ ‘เยอรมนี’ ที่หลังสิ้นสุดยุคการบริหารบ้านเมืองโดยพรรคสหภาพคริสเตียนเดโมแครต หรือ ‘CDU’ ภายใต้การนำของ ‘อังเกลา แมร์เคิล’ มานานกว่า 16 ปี ก็นำมาสู่การเลือกตั้งทั่วไป 26 กันยายน 2021 ซึ่งพรรคโซเชียลเดโมแครต ที่นำโดย ‘โอลาฟ ชอลซ์’ ได้เสียงสนับสนุน 25.7% ร่วมกับ พรรคกรีน ที่มีเสียง 14.8% และพรรคฟรีเดโมเครต อีก 11.5% จับมือกันจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยมีการลงนาม ‘ข้อตกลงภายใน’ ร่วมกัน จำนวนกว่า 177 หน้า เพื่อเป็นแบบร่างแผนการบริหารประเทศตลอดระยะเวลา 4 ปี

สำหรับสาระสำคัญในข้อตกลงนี้ ครอบคลุมการดำเนินนโยบาย ทั้งการสร้างรัฐทันสมัย การเปลี่ยนแปลงสู่ยุครัฐบาลดิจิทัล มาตรการป้องกันและลดโลกร้อน การส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรมการลงทุนและธุรกิจ  การพัฒนาที่อยู่อาศัย การสร้างงาน รัฐสวัสดิการ กระบวนการยุติธรรม และนโยบายต่างประเทศและสหภาพยุโรป

ส่วนที่ ‘สหราชอาณาจักร’ ถ้าย้อนไปดูบรรยากาศหลังการเลือกตั้งในปี 2010 ปรากฏว่าไม่มีพรรคการเมืองได้ครองเสียงเบ็ดเสร็จในสภาฯ โดยพรรคคอนเซอร์เวทีฟที่นำโดย ‘เดวิด คาเมรอน’ ได้เสียงมากที่สุด ได้ตกลงจัดตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคลิเบอรัลเดโมแครต และนำมาสู่การทำ ‘ข้อตกลง’ ร่วมกัน ที่ครอบคลุมวาระสำคัญ เช่น การแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญๆ นโยบายและความรับผิดชอบที่จะผลักดันให้เกิดขึ้น โดยมีการประเมินและทบทวนความคืบหน้าของข้อตกลงและเผยแพร่เป็นเอกสารชี้แจงสู่สาธารณะในช่วงครึ่งเทอม เพื่อประเมินการทำงานร่วมกันรวมถึงพิจารณาความร่วมมือกันในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

คล้อยหลังมา 5 ปี หลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2015 ‘เทเรซา เมย์’ ไม่สามารถพาพรรคคอนเซเวทีฟ ที่ได้ 318 ที่นั่ง แต่ยังไม่สามารถครองเสียงข้างมากในสภาได้ จึงตัดสินใจใช้เวลานานกว่า 2 สัปดาห์ในการเจรจาจับมือพรรคลำดับ 5 อย่าง สหภาพประชาธิปไตยหรือดียูพี ที่มีจำนวน ส.ส. 10 คน เพื่อจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย โดยที่พรรคดียูพีจะไม่ร่วมรัฐบาล โดยมีการลงนามในข้อตกลงร่วมกัน 

สาระสำคัญคือ พรรคดียูพีจะโหวตสนับสนุนพรรคคอนเซเวทีฟในวาระสำคัญ เช่น การผ่านร่างงบประมาณและการลงมติไว้วางใจ รวมถึงสนับสนุนการออกกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับเบร็กซิท ความมั่นคง และอื่นๆ ขณะเดียวกัน รัฐบาลพรรคคอนเซอเวทีฟต้องให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนโครงการและนโยบายของพรรคดียูพี เช่น การเพิ่มงบประมาณ 1 พันล้านปอนด์ให้กับไอร์แลนด์เหนือ ฐานที่มั่นของพรรคดียูพี เพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข และการศึกษา ในช่วง 2 ปี 

หรือลองแวะมาดูในพื้นที่ใกล้ตัว อย่าง ‘มาเลเซีย’ ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ที่เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 15 ปรากฎว่าไม่มีพรรคใดชนะขาดการเลือกตั้งและมีเสียงข้างมากในสภาฯ แต่ในที่สุด ‘อันวาร์ อิบราฮิม’ ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสม และสาบานตนรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ปีที่แล้ว

ซึ่งต่อมา ในเดือนธันวาคม มีการลงนามในเอ็มโอยู เพื่อเสถียรภาพของรัฐบาลผสม โดยพรรคแนวร่วมได้ลงนามยืนยันว่าจะสนับสนุน ‘อันวาร์ อิบราฮิม’ ผ่านการออกเสียงให้รัฐบาลหรืองดเว้นการออกเสียงเมื่อมีการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ รวมทั้งให้การสนับสนุนรัฐบาล อย่างเช่น การผ่านงบประมาณรายจ่าย

ย้อนกลับมาที่บ้านเรา สูตรจัดตั้งรัฐบาลผสม ที่มี ‘ก้าวไกล’ เป็นแกน จับมือกันถึง 8 พรรค จำนวน 313 เสียง เพิ่งผ่านเวลามาเพียงสัปดาห์เศษเท่านั้น ขณะเดียวกันการจัดทำ ‘เอ็มโอยู’ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่เคยสัญญาไว้กับประชาชนตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง ก็เป็นเรื่องใหม่ และไม่ง่าย 

แต่ถ้าการทำข้อตกลง เอ็มโอยู ครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้น ในการยกระดับ การ ‘เจรจา’ ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อเปิดทางนำไปสู่การทำงานด้านนโยบายร่วมกันเพื่อประชาชน ก็จะเป็นการเริ่ม ‘เปลี่ยน’ หากจุดสมดุล และเป็นบรรทัดฐานใหม่ของการเมืองไทยนับจากนี้ ที่จะทำให้การบริหารบ้านเมือง เป็นไปตามที่เคยสัญญาและให้คำมั่นกับประชาชนเอาไว้ แทนที่จะเป็นไปเพื่อการรักษาผลประโยชน์ และตำแหน่งแห่งที่ของนักการเมือง เป็นประชาธิปไตยของประชาชนเพียงแค่สี่นาที อย่างที่เคยฝังรากอยู่ในบ้านเรามานาน

ฝากไว้ให้คิด พ่อไดโนเสาร์ตัวหนึ่ง เขียนจดหมาย ถึง ลูกที่โหยหาประชาธิปไตย – เสรีภาพ

วันที่ 26 พ.ค.2566 - ขณะนี้ชาวเน็ตมีการแชร์ต่อข้อความของผู้เขียนที่ใช้ชื่อว่า "พ่อไดโนเสาร์ตัวหนึ่ง" เขียนถึงลูก โดยมีเนื้อหาดังนี้

ถึง ลูกรัก

พ่อติดตามข่าวที่ลูกเรียกร้อง”ประชาธิปไตย”และ”เสรีภาพ”แล้ว พ่อรู้สึกแปลกใจ ที่เราอยู่กันมาตั้งแต่ลูกเกิด ทนุถนอมอบรมมาอย่างดี แต่ลูกกลับไปเชื่อ”ใครก็ไม่รู้” ที่ไม่เคยแม้แต่จะให้เงินลูกสักบาท ให้กินข้าวสักจาน จนลืมคำสั่งสอนของพ่อแม่ แต่อย่างไรก็ดี พ่อเคารพความคิดเห็นของลูกเสมอ จะไม่ตำหนิติติงอะไร แต่จะปรับตัวประพฤติปฏิบัติให้ดีขึ้นตามที่ลูกต้องการ ดังนั้น พ่อกับแม่จึงคิดว่า ถึงเวลาที่เราควรจะทบทวนปรับตัวให้เข้ากับ”เสรีภาพ”ตามที่ลูกต้องการ พ่อจึงอยากจะแจ้งให้ลูกทราบดังนี้

1.บุญคุณต่อกัน คงไม่มีตามที่ลูกบอกว่า ลูกเกิดมาเพราะความสนุกของพ่อแม่ จึงไม่มีบุญคุณต่อตัวลูก ไม่ว่าจะเป็นการอดหลับอดนอนเลี้ยงดู ข้าวปลาอาหาร และอื่นๆที่เคยหยิบยื่นให้ ซึ่งทั้งหมดนั้นพ่อและแม่ไม่คิด ถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบแม้ลูกจะไม่เต็มใจก็ตาม

2.ค่าใช้จ่ายที่พ่อเคยให้ลูกใช้ในแต่ละเดือนนั้น พ่อคิดว่ามันเป็นการละเมิด”สิทธิเสรีภาพ”ของพ่อ เพราะเงินที่หามาได้นั้นมาจากน้ำพักน้ำแรงของพ่อ พ่อจึงควรมี”สิทธิเสรีภาพ”ในการจับจ่ายใช้สอยโดยไม่ควรให้ลูกละเมิดสิทธิ์ของพ่อโดยการนำเงินของพ่อไปใช้ ดังนั้น พ่อจะตัดค่าใช้จ่ายที่เคยให้ลูกลงครึ่งหนึ่ง โดยในส่วนที่เหลือ เป็นการทำหน้าที่ในฐานะ”บุพการี”ที่รักสนุกจนทำให้ลูกเกิดมา ถือว่าเราใช้”สิทธิเสรีภาพ”ในขอบเขตของแต่ละคนตามที่ลูกต้องการ

3.ค่าที่พัก จริงๆแล้ว บ้านเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อกับแม่โดยมีลูกเป็นผู้อาศัย หรือเปรียบดังผู้เช่าที่สมควรจะเสียค่าเช่า ซึ่งตลอดมา ลูกไม่เคยจ่ายค่าเช่าเลยแม้แต่บาทเดียว รวมทั้งค่าน้ำค่าไฟก็ไม่เคยเสีย แต่ไม่เป็นไร พ่อยินดีให้อยู่ฟรีๆ แต่จากนี้ เราต้องเคารพ”สิทธิเสรีภาพ”ตามที่ลูกแสวงหา ดังนั้น ในเมื่อลูกใช้น้ำใช้ไฟที่พ่อไม่ได้ผลิตเอง แต่ซื้อมา ลูกจึงต้องรักษาเสรีภาพด้วยการ”ใช้เอง จ่ายเอง”ทั้งค่าน้ำค่าไฟ จะได้เท่าเทียมกัน เพราะพ่อกับแม่ก็ใช้เอง จ่ายเอง อย่างเสมอภาคเช่นเดียวกัน

4.อาหารการกิน เพื่อให้มีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค และเพื่อให้ทันสมัยตามที่ลูกต้องการ นับจากนี้ พ่อกับแม่จะหันไปสั่งอาหารฟู๊ด แพนด้ามากินตามที่พ่อและแม่อยากกิน ส่วนลูกจะกินอะไร ก็แล้วแต่เสรีภาพของลูก โดยขอให้จ่ายเงินเองเพื่อความเสมอภาค หรือต้องการหุงหากินเอง ก็ใช้สิทธิ์ได้เต็มที่เพราะแม่เตรียมเอาไว้ให้แล้วในครัวโดยไม่คิดเงิน

5.เรื่องมรดก เพราะเราไม่มีบุญคุณต่อกัน ดังนั้น ลูกไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเป็นภาระเลี้ยงพ่อแม่ยามแก่เฒ่า ขอให้ลูกเดินตามความฝันที่ลูกต้องการ เพราะอีกไม่นานพ่อกับแม่ก็คงตายแล้วตามที่ลูกๆด่าทอ และเพื่อตายอย่างสงบและไม่ให้เป็นภาระของลูกๆ พ่อจึงจัดการมรดกที่พอมีของพ่อ ทั้งบ้านและที่ดิน ตลอดจนทรัพย์สินอื่นๆ พ่อจะเริ่มทยอยขายให้หมดก่อนพ่อตาย โดยเงินที่ขายมาได้นี้ พ่อจะแบ่งให้ลูกครึ่งหนึ่งในฐานะบุพการี ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง พ่อและแม่จะเก็บไว้กินไว้ใช้ รวมทั้งเอาไว้จัดงานศพ ส่วนที่เหลือจากจัดงานแล้ว ถือว่าเป็น”สิทธิเสรีภาพ”ของพ่อ พ่อจึงขอถวายวัดไปเพื่อสั่งสมบุญไปใช้ในภพหน้า

6.พ่อจะไม่บั่นทอนกำลังใจของลูกในการตามหา”เสรีภาพ”ในฝันตามที่ถูกสร้างวิมานไว้ แต่อยากให้ลูกคิดให้จงหนักว่าคนที่เขาวาดฝันให้ลูกนั้น เขามาเสี่ยงตายกับลูกหรือไม่ แต่สำหรับพ่อและแม่แล้ว หากลูกเป็นอะไรไป พ่อกับแม่คงใจสลายเพราะความรัก ซึ่งแม้จะเป็นความรักที่ลูกไม่เคยเห็นค่าเลยก็ตาม พ่อจึงขออวยพรให้ลูกปราศจากอันตรายทั้งปวง

7.เรื่องสุดท้าย เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ต่อจากนี้ ลูกจะเรียกพ่อกับแม่ว่า”คุณ”เฉยๆก็ได้นะ ส่วนพ่อกับแม่จะขออนุญาตเรียกลูกว่า”ลูก” ตลอดไป
 

‘ดร.หิมาลัย’ เผย ‘ภราดรภาพ’ คือการผสานความคิดเก่า-ใหม่ เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ชี้!! ‘ประชาธิปไตย’ ไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง

เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 66 ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ผู้ประสานงานพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ได้เล่าถึงประเด็น ความเป็นประชาธิปไตย กับ ภราดรภาพ ที่จะอยู่ร่วมกัน ระหว่างความคิดแบบเก่า และ ความคิดแบบใหม่ได้ โดยไม่ขัดแย้ง ผ่านรายการ ‘คุยกับ ดร. หิมาลัย’ EP.3 โดยระบุว่า…

ผมคิดว่าบรรยากาศของประชาธิปไตยมันเบ่งบานมาตั้งนานแล้วตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งแล้ว แต่ละพรรคการเมืองก็จะนำเสนอจุดเด่นของตัวเองเพื่อให้พี่น้องประชาชนนั้นได้พิจารณา หลักการของประชาธิปไตยนั้นก็ง่ายๆก็คือเรื่องของสิทธิและเสรีภาพ และก็ความเสมอภาค สิทธิและเสรีภาพก็มักจะไปควบคู่กัน ทุกคนมีสิทธิในการเลือกตั้งจะเห็นว่าการหาเสียงนั้นก็เป็นไปอย่างคึกคัก อันนี้คือสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง แต่จริงๆแล้วมันยังมีอีกหลายด้าน ทางเศรษฐกิจทางสังคมและทางวัฒนธรรม ซึ่งผมคิดว่าประเทศไทยไม่ได้มีปัญหา กับบริบทต่างๆเหล่านี้ แต่บางท่านอาจจะคิดว่ามันอาจจะดีได้มากกว่านี้ มันควรจะเด่นชัดกว่านี้หรือตรงนั้นตรงนี้ควรจะได้รับการแก้ไข ก็นำไป แต่สิ่งที่ผมเป็นห่วงในปัจจุบันนี้ก็คือ นอกจากสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคแล้ว สิทธิและเสรีภาพถ้าเราใช้มากเกินไปมันก็จะไปละเมิดสิทธิของคนอื่น เสรีภาพนั้นมันมีหลายอย่างบางครั้งคนที่คิดเห็นไม่ตรงกันก็อาจจะมีการกระทบกระทั่งกัน ระหว่างความเชื่อ อาจจะมีคนที่มีความเชื่อแบบใหม่เสรีภาพแบบใดซึ่งเขาก็ถูกของเขา แต่ก็อย่าลืมว่าคนที่มีความคิดความเชื่อแบบเก่าๆนั้นเขาก็มีเสรีภาพแบบเก่าๆของเขาอยู่เช่นเดียวกัน อย่าไปตีค่าว่าเขาเป็นคนเลว มันเป็นความคิดเห็นของแต่ละคน อันนี้มันจะต้องเป็นการเปิดใจให้กว้าง แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือการทำลายรากฐานความคิดของสังคมเลย มันก็เคยมีบทเรียนมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติ เรดการ์ด ของประเทศจีน ตอนนั้นก็จะมีความเชื่อพื้นฐานของการเคารพบรรพบุรุษการกตัญญูซึ่งก็มีการพยายามทำลายความเชื่อพื้นฐานต่างๆเหล่านี้ คือมีความคิดที่ว่าสิ่งต่างๆ จะดีขึ้นได้นั้น จะต้องทำลายของเก่าก่อน แต่หลังจากที่ได้ทำลายของเก่าแล้วมันก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้นมา ภาพความขัดแย้งเช่นนี้ ไม่อยากให้เกิดขึ้นในประเทศไทยของเรา
.
ถ้าเราจะสร้างสังคมขึ้นมาใหม่หรืออะไรก็ตาม นอกจากเรื่องของสิทธิและเสรีภาพแล้ว ในประชาธิปไตยมันมีอยู่ 1 คำก็คือ คำว่าภราดรภาพ ภราดรภาพมันก็คือการอยู่ร่วมกันแบบฉันมิตร อยู่กันแบบพี่น้อง หมายความว่าในความเห็นต่างนั้นเราต้องพยายามแสวงหาจุดร่วมกัน ที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

ในการจะก้าวเดินไปข้างหน้านั้น มันมีอยู่คำพูดหนึ่งนั่นก็คือเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นี่คือหลักการของภราดรภาพเลย เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในขณะที่น้องๆก้าวเดินไปกับความทันสมัย วันนี้หลายธุรกิจก็ไปทำอยู่ในโลกของดิจิตอลนั่นคือความก้าวหน้า สมมุติว่าวันนี้ยกเลิกเงินเก่าระบบที่เป็นเงินกระดาษทั้งหมด ยกเลิกเงินเหรียญทั้งหมด เพื่อใช้ดิจิตอล เพื่อให้มันทันสมัยกว่า มันจะมีข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน มันก็ไม่สามารถจะทำลายสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้หายไปได้ ในความคิดของน้องๆ อายุ 30 กว่าที่เติบโตขึ้นมาที่จะดูแลประเทศ เราก็จะต้องยอมรับความคิดของเขาแต่ในขณะเดียวกันน้องๆ อายุ 30 กว่าๆที่กำลังเติบโตขึ้นมานั้น ก็อย่าเพิ่งคิดว่าความคิดของรุ่นพี่ ๆ นั้นมันล้าสมัยทั้งหมด หรือมันเสียหายทั้งหมด ที่ผ่านมานั้นมันก็มีสิ่งที่ดีอยู่เหมือนกัน 

ใครที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ก็จะต้องทำสิ่งที่ดีให้กับประเทศ ถ้าเขาคนนั้นเป็นคนกตัญญู ทำไมถึงพูดอย่างนี้ เพราะถ้าเขากตัญญูต่อบรรพบุรุษของเขา เขาก็จะรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล รักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลคืออะไร นั่นคือไม่ทำสิ่งที่มันเสียหาย จริงๆแล้วความกตัญญูที่คนรุ่นใหม่มองว่ามันล้าสมัยนั้น แท้ที่จริงแล้ว มันก็มีประโยชน์

ก่อนจะมีความเชื่อเรื่องความกตัญญูนั้น ก็ต้องมีความเชื่อเรื่องความดีก่อน ซึ่งมาจากศาสนา ทุกศาสนาก็จะพูดถึงเรื่องของการทำความดี ละเว้นความชั่ว นั่นคือความเชื่อในเรื่องของความดี 2 สิ่งนี้คือพื้นฐานของสิ่งเก่าที่มีประโยชน์ ในอดีตมีความพยายามสร้างสิ่งใหม่โดยการทำลายสิ่งเก่า ซึ่งมันก็ไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าเราจะเอาบทเรียนจากในอดีตนั้นมาใช้ ก็อยากจะให้มองว่าในสิ่งเก่าสิ่งไหนที่มันดีอยู่แล้วก็ให้เก็บเอาไว้สิ่งไหนที่มันจะต้องปรับปรุงแก้ไขก็ปรับเปลี่ยนกันไป แก้ไขกันไป มันต้องเกื้อกูลกันทั้งสองอย่าง

การแบ่งแยกดินแดนนั้น ท่านเกิดมาเป็นคนไทย ถือบัตรประชาชนไทย สิทธิประโยชน์ทุกอย่าง ท่านก็ได้รับเหมือนคนไทยทุกคนเท่ากัน รัฐบาลไทยดูแลทุกคนเหมือนกันเท่าเทียมกัน แล้วมันมีความจำเป็นอะไรที่จะต้องไปแบ่งแยก เพื่อให้เกิดความแตกแยกกันขึ้นมา ถ้าเราปรับความคิดที่จะแบ่งแยก มาเป็นช่วยกันพัฒนามันจะดีกว่าไหม พัฒนากันไปให้มันมีความเจริญก้าวหน้า เราช่วยกันพัฒนาประเทศไปด้วยกัน เดินไปด้วยกันมันจะดีกว่าไหม แทนที่จะคิดแบ่งแยกกันออกไป

หลายท่าน ยกฝรั่งเศส เป็นประเทศแม่แบบแห่งประชาธิปไตย ท่านรู้ไหมครับ ว่า ฝรั่งเศสเขาเขียนไว้ 3 คำ เสรีภาพ เสมอภาค และมีภราดรภาพด้วย ไม่รู้ว่านักการเมืองรุ่นใหม่เวลาเข้าพูดถึงประชาธิปไตยเขาได้พูดถึงคำว่าภราดรภาพด้วยหรือไม่ เพราะถ้ามีคำว่าภราดรภาพ มันจะไม่ปลุกเร้า มันจะไม่แรง แต่ถ้านักการเมืองที่เป็นนักประชาธิปไตย และต้องการให้เป็นประชาธิปไตยเพื่อส่วนรวมนั้น เขาจะต้องเน้นคำว่าภราดรภาพ แต่ถ้าเป็นนักประชาธิปไตยที่ต้องการเปลี่ยนแปลงตามความคิดของตัวเองเป็นหลัก เขาจะไม่เน้นคำว่าภราดรภาพ แต่เขาจะไปเน้นเรื่องอื่น แต่ถ้าประเทศเราจะยึดมั่นในประชาธิปไตยให้ถูกต้องแล้ว ก็ควรจะเน้นคำว่าภราดรภาพลงไปด้วย ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ กล่าวทิ้งท้าย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top