Sunday, 16 June 2024
บิ๊กตู่

‘ชัยวุฒิ’ โยนถาม ‘บิ๊กตู่’ ยังอยู่กับ พปชร.หรือไม่ หลังลือสะพัดเตรียมย้ายซบ ‘รวมไทยสร้างชาติ’

‘ชัยวุฒิ’ โยนสื่อถาม ‘บิ๊กตู่’ ยังอยู่กับ พปชร.หรือไม่ หลังมีลือสะพัดเตรียมย้ายซบ ‘รวมไทยสร้างชาติ’ แจงลูกพรรคบอกชื่อ ‘ประยุทธ์’ ขายไม่ได้ เป็นความเห็นส่วนตัว แต่เชื่อยังไงทุกคนก็อยู่กับ 3 ป.

นายชัยวุฒิ ธนาคณานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกระแสยุบสภา รวมไปถึงการเปลี่ยนตัวแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ และ พลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา ว่า ข่าวที่สื่อมวลชนออกมาบางครั้งก็ไม่มีแหล่งข่าวที่ชัดเจน เป็นสิ่งที่คาดการณ์กันไป ซึ่งวันนี้คิดว่าทุกคนก็ตั้งใจทำงานเพื่อให้ประเทศชาติเดินไปข้างหน้า เมื่อเข้าสู่การเลือกตั้ง ก็ยังพอมีเวลาที่จะพูดคุยกันว่าใครจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคพลังประชารัฐ 

‘ฮุนเซนฯ’ ปลื้มสัมพันธ์ ‘ไทย-กัมพูชา’ แน่นแฟ้น พร้อมผลักดันข้อหารืออย่างต่อเนื่องในทุกระดับ

‘บิ๊กตู่’ หารือ ‘สมเด็จฮุนเซนฯ’ ย้ำความสัมพันธ์แน่นแฟ้นทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี พร้อมร่วมเดินหน้าแก้ไขปัญหาขบวนการหลอกลวงทางโทรศัพท์ข้ามชาติ

(10 พ.ย. 65) ตามเวลาท้องถิ่น ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หารือกับ สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องเพื่อกระชับความสัมพันธ์หลังจากผู้นำทั้งสองว่างเว้นจากการพบปะหารือกันมากว่าสามปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และเพื่อติดตามความคืบหน้าและหารือประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในระดับทวิภาคี

นายกรัฐมนตรี กล่าวยินดีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ประธานอาเซียนของกัมพูชา พร้อมขอบคุณที่ตอบรับคำเชิญเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ในฐานะแขกพิเศษ โดยนายกรัฐมนตรียินดีกับทิศทางความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทย-กัมพูชาที่แน่นแฟ้น ราบรื่น ซึ่งต้องขอบคุณนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่ให้ความใส่ใจและสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วยตนเอง จนทำให้มีความร่วมมือที่ดีในทุกด้านที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และหวังว่าจะได้กระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปในทุกระดับ 

“ไทยชื่นชมและสนับสนุนความพยายามของกัมพูชา ในฐานะประธานอาเซียน กับการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 และการร่วมมือกันในการฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคม รวมถึงการผลักดันให้อาเซียนมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในการรักษาเสถียรภาพ สันติภาพ และความเจริญของภูมิภาค” นายกรัฐมนตรี กล่าว

ด้านนายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวชื่นชมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างทั้งสองประเทศ ยินดีที่กัมพูชาและไทยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนและการหารือกันอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ รวมทั้งได้ยืนยันความพร้อมที่จะทำงานร่วมกับไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อสานต่อความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคีให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

ทั้งสองฝ่ายยินดีที่เศรษฐกิจของไทยและกัมพูชาเติบโตอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันอย่างแน่นแฟ้น โดยการค้าระหว่างกันมีการขยายตัวอย่างชัดเจน ซึ่งทั้งสองเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือและทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนและให้บรรลุเป้าหมายการค้าที่ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี ค.ศ. 2025

ไทยและกัมพูชาชื่นชมความร่วมมือด้านการเงินและเศรษฐกิจดิจิทัลที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศหารือกัน เพื่อกระชับความร่วมมือด้านการเงินและเศรษฐกิจดิจิทัลในมิติต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น

ในด้านความเชื่อมโยง ไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งทั้งสองฝ่ายยินดีที่มีการเปิดใช้งานทางหลวงพิเศษระหว่างกรุงพนมเปญกับจังหวัดพระสีหนุ ซึ่งเป็นทางหลวงพิเศษสายแรกของกัมพูชาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งไทยพร้อมร่วมมือกับกัมพูชาอย่างเต็มที่เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงทางคมนาคมขนส่งระหว่างสองประเทศมากยิ่งขึ้น

‘บิ๊กตู่’ มั่นใจ ประชุมเอเปก 2022 จะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศหลายด้าน วอนทุกคนช่วยกันต้อนรับแขกผู้มีเกียรติสู่ประเทศ

วันที่ 12 พ.ย. 65 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Prayut Chan-o-cha ระบุว่า…

เรียน พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน

ในช่วงสัปดาห์ข้างหน้านี้ จะมีผู้นำและผู้แทนจากทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกและประเทศอื่นๆ เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก 2565 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง นับเป็นช่วงเวลาสำคัญของประเทศไทยที่ทั่วโลกจะมองมาที่เราในฐานะเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่มีบทบาทนำในการร่วมกำหนดนโยบายและบรรทัดฐานทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก

เป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถร่วมภาคภูมิใจได้ว่า ประเทศไทยของเราได้เดินหน้า และได้รับการยอมรับในด้านต่างๆ ในระดับโลก ทั้งเรื่องการเป็นหนึ่งในประเทศที่บริหารจัดการสถานการณ์โควิดได้ดีที่สุดในโลก และล่าสุด เมื่อวานนี้ ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากองค์กรจัดอันดับความน่าเชี่อถือชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น (Japan Credit Rating Agency) ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยขึ้นเป็นระดับ A ซึ่งรวมถึงปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้สกุลเงินบาท ขึ้นเป็นระดับ A+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ 

‘บิ๊กป้อม’ ล่าก๊วนป่วนภาพลักษณ์ไทย หลังเหตุระเบิด 2 ปั๊มน้ำมันยะลา

พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกประจำ รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้สั่งการ กอ.รมน.ภาค 4 (ส่วนหน้า) และหน่วยงานความมั่นคงให้ขยายผลสืบสวนติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุระเบิดป่วนปั๊มน้ำมัน 2 จุด ที่ อ.ยะหริ่ง และ อ.เมือง จ.ยะลา เป็นเหตุให้สถานีเชื้อเพลิงได้รับความเสียหายเมื่อคืนที่ผ่านมา 

พร้อมย้ำ ขอให้หน่วยงานข่าวและหน่วยงานความมั่นคง เฝ้าระวังป้องกัน ไม่ประมาทจากการก่อเหตุทั้งในและนอกพื้นที่ที่อาจเกิดขึ้น โดยให้ยกระดับความเข้มข้น ตื่นตัวเฝ้าระวังและตรวจสอบติดตามความเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายทั้งในและนอกพื้นที่ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงข้อมูลกับเทคโนโลยีเฝ้าตรวจ เพื่อปฏิบัติการป้องกันเชิงรุกและสามารถปฏิบัติการแก้ปัญหาต่อเหตุการณ์และเป้าหมายได้รวดเร็วทันต่อสถานการณ์

ก้าวสำคัญ!! มิตรภาพ ‘ไทย-ซาอุดีอาระเบีย’ เปิดประตูเชื่อมหลากประเทศในโลกมุสลิม

การเสด็จเยือนประเทศไทยของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ในฐานะแขกของรัฐบาลไทย และแขกพิเศษการประชุมผู้นำเอเปคครั้งที่ 29 ในวาระเดียวกัน เป็นการตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อไทยที่เพิ่งฟื้นคืนเป็นปกติ และมองอนาคตร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญ 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียที่คืบหน้านี้ ทาง ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงความคิดเห็นกับ THE STATES TIMES ไว้ว่า…

“ความสัมพันธ์มีความคืบหน้าไปมากหลังจากรัฐบาลไทย ที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ ทำให้มีความคืบหน้าด้านการทูต และความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยได้เดินทางเยือนประเทศซาอุดีอาระเบีย ผมคิดว่าได้ประโยชน์ในการสร้างความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนทางการค้า การลงทุนในหลายเรื่อง ที่สำคัญและโดดเด่น คือการขอให้ซาอุดีอาระเบียช่วยสนับสนุนไทยทำความตกลงทางการค้า FTA กับกลุ่มประเทศร่ำรวยน้ำมัน ได้แก่ โอมาน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย รวมถึงคูเวต เพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกันซึ่ง FTA (Free Trade Area) หรือ เขตการค้าเสรี ในปัจจุบันประเทศไทยมี FTA กับกลุ่มประเทศในอาเซียน แต่ไม่มีในตะวันออกกลาง ผมคิดว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์และสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนทางการค้าระหว่างกันซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

ส่วนของตลาดแรงงานไทยในซาอุดีอาระเบีย หลังจากฟื้นฟูความสัมพันธ์ ดร.ศราวุฒิ ให้ความเห็นว่า “ตลาดแรงงานของซาอุดีอาระเบียได้เปลี่ยนแปลงไป เราต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า เมื่อ 30 - 40 ปีที่แล้ว ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่เจริญเติบโตจากการขายน้ำมันและมีภูมิประเทศเป็นทะเลทราย ซึ่งเขาต้องการพัฒนาประเทศให้อยู่ดีกินดี สร้างความทันสมัย เจริญก้าวหน้า เพราะฉะนั้นแรงงานที่ไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบียในอดีต คือ แรงงานที่ไปสร้างวัตถุปัจจัยต่าง ๆ แต่ในวันนี้ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศร่ำรวย ประชาชนมีสวัสดิการดี บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทันสมัยไปเรียบร้อยแล้ว รูปแบบของตลาดแรงงานวันนี้จึงกลายเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมัน ภายใต้วิสัยทัศน์ 2030 โดยต้องอาศัยการลงทุนขนาดใหญ่ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ความต้องการแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะแรงงานฝีมือ และรวมถึงการเปิดรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้กลายเป็นการเปิดกว้างแก่แรงงานและนักลงทุนทั่วโลก ที่จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้วิสัยทัศน์ 2030 กลายเป็นจริง” 

ในด้านการท่องเที่ยวและความมั่นคงทางอาหาร ก็เป็นอีกประเด็นที่ซาอุดีอาระเบียมุ่งเน้นผลักดันไม่แพ้กัน ซึ่ง ดร.ศราวุฒิ เห็นว่า “ประเทศซาอุดีอาระเบียพยายามผลักดันเรื่องการท่องเที่ยว ปัจจุบันซาอุฯ เป็นศูนย์กลางศาสนสถานของโลกมุสลิม และมีผู้ศรัทธาไปแสวงบุญ ปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน ทำให้มีรายได้เข้าประเทศ นอกจากนี้ยังพยายามขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในรูปแบบอื่น ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่ท่องเที่ยวย่านที่ติดทะเลแดง มีโบราณสถานหลายแห่ง ที่เป็น Unseen ของโลก ตรงนี้ผมคิดว่าประเทศไทยสามารถที่จะเข้าไปประสานความร่วมมือและมีอะไรที่สนับสนุนกันได้ นอกจากนี้ยังมองเห็นปัญหาทางด้านความมั่นคงทางอาหารของซาอุดีอาระเบีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลัง ประสบปัญหาราคาอาหารสูงขึ้นและกลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ปัจจุบันซาอุดีอาระเบียต้องนำเข้าอาหารจากโลกเยอะมาก และประเทศไทยได้ร่วมสนับสนุนซาอุดีอาระเบียเรื่องของไก่และเรื่องของอาหารฮาลาล จึงเป็นความร่วมมือที่ประเทศไทยอาจได้ประโยชน์ในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร ส่วนความร่วมมือทางการเกษตรก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งทางซาอุดีอาระเบียมีศักยภาพในการผลิตปุ๋ยได้ในราคาถูก และประเทศไทยก็มีความต้องการให้บริษัทผู้ผลิตปุ๋ยในประเทศซาอุดีอาระเบียส่งออกปุ๋ยให้กับประเทศไทยในราคาสมเหตุสมผล”

รัฐบาลเผยเหตุ 'สี จิ้นผิง' ไม่จับมือนายกฯ เหตุ!! จีนเข้มมาตรการป้องโควิด-19

'โฆษกรัฐบาล' แจงปมดราม่า 'สี จิ้นผิง' เมิน จับมือ 'บิ๊กตู่' เหตุ จีนเข้มมาตรการป้องโควิด-19 

(18 พ.ย. 65) ที่ศูนย์สิริกิติ์ฯ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงกรณีที่มีเสียงวิจารณ์กรณีที่ปรากฎภาพประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง ปฎิเสธการจับมือทักทายกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ว่า...

'บิ๊กตู่' ถกผู้นำชาติมหาอำนาจใน APEC 2022 ไฮไลต์!! หารือข้อราชการแบบเต็มคณะกับ 'สี จิ้นผิง'

กำหนดการ #APEC2022THAILAND 19 พ.ย.65 

ภายหลังจบภารกิจในช่วง 01.15 ของวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีกำหนดการในการประชุม #APEC2022 ของ 19 พ.ย.65 ดังนี้...

เวลา 08.00 น. นายกรัฐมนตรีหารือทวิภาคีกับ กับนายแอนโทนี แอลบาเนซี (The Honourable Anthony Albanese MP) นายกรัฐมนตรีเครือรัฐออสเตรเลีย 

เวลา 08.30 น. นายกรัฐมนตรีหารือทวิภาคีแบบสั้น (pull-aside) กับ นางสาวจาชินดา อาร์เดิร์น (The Right Honourable Jacinda Ardern MP) นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์

เวลา 08.40 น. นายกรัฐมนตรีหารือทวิภาคีกับ นางคริสตาลินา กอร์เกียวา (Ms. Kristalina Georgieva) กรรมการจัดการกองทุนเงินระหว่างประเทศ (IMF) 

เวลา 09.15 น. นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเขตผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 (Retreat ช่วงที่ 2) ภายใต้หัวข้อ ‘Sustainable Trade and Investment การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน’ ณ ห้องประชุม Plenary Hall 2 ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

เวลา 11.30 น. นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวในฐานะประธานผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 

'บิ๊กตู่-นายกฯ นิวซีแลนด์' ย้ำความร่วมมือรอบด้าน ร่วมยกระดับพัฒนา 'เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว-สิ่งแวดล้อม'

(19 พ.ย.65) ที่ห้อง 111 ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หารือทวิภาคีกับ น.ส.จาซินดา อาร์เดิร์น (H.E. Rt Hon. Jacinda Ardern) นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้...

นายกรัฐมนตรียินดีที่นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์เดินทางมาร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในครั้งนี้ ซึ่งไทยตั้งใจจะสานต่อความสำเร็จของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของนิวซีแลนด์เมื่อครั้งล่าสุด ไทยและนิวซีแลนด์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกมิติ โดยพร้อมเพิ่มพูนความร่วมมือที่มีอยู่เดิมและในสาขาความร่วมมือใหม่ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลพร้อมผลักดันและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้นในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาค และเวทีพหุภาคี

นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ยินดีที่พบกับนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ยินดีกับการเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แม้ในช่วงสถานการณ์ที่ยากลำบาก ชื่นชมไทยที่สามารถผลักดันความร่วมมือจากทุกเขตเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนิวซีแลนด์พร้อมสนับสนุนแนวทางที่หารือร่วมกันเพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่นิวซีแลนด์ให้ความสำคัญ เชื่อมั่นว่าทั้งสองประเทศจะสามารถขยายความร่วมมือในด้านอื่นๆ ได้อีกมาก

'บิ๊กตู่' ชวนขยายระยะเวลา 'โคเซ็น' ปั้นบุคลากรคุณภาพ เพิ่มศักยภาพคนรองรับเทคโนโลยียุคใหม่ และ EEC

การประชุมเอเปค 2022 ที่จัดขึ้นในประเทศไทยนั้น ถือเป็นความสำเร็จของรัฐบาลที่ทำให้ ไทยนั้นก้าวขึ้นสู่เวทีผู้นำเศรษฐกิจ งานนี้มีผู้นำเขตเศรษฐกิจ ผู้นำประเทศต่างๆ มากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นมหาอำนาจที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก และหนึ่งในนั้นก็คือ ‘คิชิดะ ฟูมิโอะ’ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ประเทศแห่งเทคโนโลยี ผู้นำแห่งอุตสาหกรรมล้ำยุค นายกฯ ของญี่ปุ่นนั้น ได้เข้าหารือทวิภาคีไทย-ญี่ปุ่น กับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ในโอกาสเยือนไทยเพื่อร่วมการประชุมเอเปค APEC 2022 THAILAND โดยไทยนั้นพร้อมเป็นหุ้นส่วนกับญี่ปุ่นในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน และส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจพลังงานคาร์บอนต่ำ ผ่านข้อเสนอความร่วมมือทางด้านพลังงาน หรือ ‘ไวท์เปเปอร์’ ซึ่งก็สอดรับกับนโยบายเศรษฐกิจ BCG ของประเทศไทย 

และญี่ปุ่นนั้นก็พร้อมที่จะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของอาเซียน ไทยกับญี่ปุ่นในอนาคตก็จะยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กันอย่างรอบด้าน โดยจะดำเนินการให้เป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน 

อดีตแรงงานซาอุฯ ปลื้มใจ ‘ไทย-ซาอุฯ’ ฟื้นความสัมพันธ์ ถือเป็นโอกาสคนรุ่นใหม่ สานต่อวัฒนธรรมทั้ง 2 ประเทศ

โอกาสคนรุ่นใหม่!!
อดีตแรงงานซาอุฯ ปลื้มใจ ‘ไทย-ซาอุฯ’ ฟื้นความสัมพันธ์ ถือเป็นโอกาสคนรุ่นใหม่ สานต่อวัฒนธรรมทั้ง 2 ประเทศ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top