Thursday, 17 April 2025
นายกรัฐมนตรี

‘อุ๊งอิ๊ง’ ไม่รับเงินเดือนนายกฯ เตรียมมอบให้ มูลนิธิ

(15 ก.ย. 67) ในการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร จะยึดแนวความคิดเดิม คือ การไม่รับเงินเดือนในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยจะมอบให้กับมูลนิธิต่างๆเช่นเดียวกับนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นความคิดของนางสาวแพทองธารมาตั้งแต่ต้นแล้ว

'สวนดุสิตโพล' กาง 25 ตัวชี้วัด 'ดัชนีการเมืองไทย' พร้อมเทียบฟอร์มนักการเมือง ‘รัฐบาล-ฝ่ายค้าน’

(29 ก.ย. 67) 'สวนดุสิตโพล' มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง 'ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกันยายน 2567' กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,183 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2567 โดยมีตัวชี้วัด 25 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน สรุปผลเรียงลำดับจากค่าคะแนนสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้

1. 'ดัชนีการเมืองไทย' เดือนกันยายน 2567 ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 4.80 คะแนน (เดือนสิงหาคม 2567 ได้ 4.46 คะแนน)

2. ประชาชนให้คะแนน 25 ตัวชี้วัด 'ดัชนีการเมืองไทย' โดยคะแนนเต็ม 10 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 

3. นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนคิดว่ามีบทบาทโดดเด่นในเดือนกันยายน 67 

4. ผลงานของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบในเดือนกันยายน 67 

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า คะแนนดัชนีการเมืองไทยเพิ่มขึ้นทุกตัวชี้วัดครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยได้ปัจจัยเชิงบวกที่สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนทั้งการได้นายกฯ คนใหม่ การเร่งแจกเงินหมื่นช่วยคนเปราะบาง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม การช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ผลงานเหล่านี้เข้าถึงปากท้องและครัวเรือนของประชาชนโดยตรง ทำให้รับรู้ได้ว่ารัฐบาลกำลังมุ่งมั่นแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แม้จะมีความกังวลผลของเงินหมื่นในระยะยาวแต่ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยเหลือประชาชนได้บ้าง

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อธิบายว่า คะแนนดัชนีการเมืองไทยปรับเพิ่มขึ้นในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยคะแนนของฝ่ายค้านเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วเป็นเพราะการทำหน้าที่อภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 มีการนำเสนอข้อมูลที่ชัดเจน เป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชนได้ ในขณะที่คะแนนฝั่งรัฐบาลก็ขยับเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่และการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยลงตัว และได้เริ่มขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ ๆ เช่น นโยบายเรือธงดิจิทัลวอลเล็ตที่ปรับเปลี่ยนมาแจกรูปแบบเงินสด ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าได้รับเงินหมื่นจริง ๆ รวมทั้งการที่รัฐบาลคลอดมาตรการเยียวยาให้กับผู้ประสบอุทกภัย ทำให้รู้สึกว่ารัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งประชาชน แม้ว่าการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำท่วมจะมีความล่าช้าก็ตาม รวมทั้งการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม การปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวันที่อาจเกิดขึ้น ทำให้ประชาชนรู้สึกว่ารัฐบาลเริ่มขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คะแนนของนายกรัฐมนตรีและผลงานของรัฐบาลขยับเพิ่มขึ้นนั่นเอง

‘ศิษย์หลวงตาบัว’ ค้านรัฐบาลแทรกแซง ‘แบงก์ชาติ’ ยื่นคำขาด หากยังเดินหน้า ก็ไม่อาจให้บริหารบ้านเมืองต่อ

(8 ต.ค. 67) ตัวแทนคณะศิษยานุศิษย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันใน ทำหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขอคัดค้านบุคคลซึ่งเกี่ยวโยงการเมืองเข้ามาแทรกแซงธนาคารแห่งประเทศไทย โดยระบุว่า

ตามที่ปรากฏกระแสข่าวเป็นวงกว้างว่า รัฐบาลนำโดย ฯพณฯ พยายามผลักดันบุคคลซึ่งเกี่ยวโยงกับการเมืองเข้ามาแทรกแซงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเห็นได้จาก รมว.คลังในรัฐบาลของท่านได้แต่งตั้ง
"คณะกรรมการสรรหาประธานและกรรมการธปท. ชุดใหม่" โดยไม่ได้แต่งตั้งอดีตผู้ว่าธปท. คนใดคนหนึ่งเป็น
กรรมการสรรหาด้วย พฤติการณ์ดังนี้แตกต่างจากประเพณีปฏิบัติในหลายครั้งที่ผ่านมา ราวกับว่า รัฐบาลของ
ท่านมีเจตนาแรงกล้าในการจัดส่งบุคคลที่ยึดโยงกับการเมืองให้เข้ามาแทรกแซงและครอบงำธปท.อย่าง
เบ็ดเสร็จเด็ดขาดให้จงได้

ทั้งนี้ มีกรณีตัวอย่างไม่น้อยจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินในหลายประเทศ ที่ต้นเหตุแห่งความวิบัติมาจากการเมืองเข้าแทรกแซงและครอบงำการทำงาน ที่คำนึงถึงความปลอดภัยแห่งอธิปไตยทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ยิ่งกว่านโยบายทางการเมืองของรัฐบาล ซึ่งในที่สุดจะส่งผลร้ายเป็นการบั่นทอนความเข้มแข็งของธนาคารกลาง จนเบี่ยงเบนทำงไกลจากความถูกต้อง และหากธนาคารกลางไม่อาจคะคานอำนาจของรัฐบาลที่มุ่งสร้างภาพด้วยนโยบายประชานิยม หวังผลเพียงผลประโยชน์ของกลุ่มก้อนพวกพ้องและภาพลักษณ์ทางการเมืองเท่านั้น จนสุ่มเสี่ยงความหายนะแห่งอธิบโดยทางการเงินของชาติให้พังพินาศไปสิ้นได้อย่างน่าสังเวชใจ

คณะศิษยานุศิษย์องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ในฐานะประชาชนคนไทยที่เทิดทูนชาติศาสน์กษัตริย์เหนือศิรเกล้า ประการสำคัญ ได้ร่วมกันปกป้องทุนสำรองปราการด่านสุดท้ายของชาติอย่างหนักแน่นจริงจัง ตามคำเตือนอย่างเข้มข้นขององค์หลวงตา และได้ร่วมกันเสียสละเงินทองเข้าคลังหลวงกว่า 13 ตัน ได้เห็นพ้องต้องกันว่า หาก ธปท.ถูกการเมืองเข้าแทรกแซง ย่อมบังเกิดมหันดภัยขั้นร้ายแรงต่อระบบการเงินมั่นคงของชาติให้วินาศไปได้อย่างง่ายตาย เพื่อป้องกันมิให้เกิดพฤติการณ์เช่นนี้

คณะศิษย์ฯ จึงขอน้อมนำคำสอนขององค์หลวงตาฯ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ตอนหนึ่งที่ว่า

"อำนาจอันใดก็ตามต้องให้มีประชาชนเป็นผู้ควบคุมอำนาจนั้นไว้ ไม่ใช่กฎหมายของคนสองสามคนเข้ามาตั้งเป็นเจ้าอำนาจวาสนาใหญ่โตเหยียบย่ำทำลายชาติไทยของเรา ก็เรียกรัฐบาลมหาภัยเท่านั้นเอง ไม่ใช่รัฐบาลที่ดีสมความมุ่งหมายของประชาชนที่ตั้งขึ้นมา"

จึงกราบเรียนด่วนที่สุดมาถึง ฯพณฯ เพื่อโปรดพิจารณา อย่านำการเมืองและอย่านำบุคคลที่มีหัวใจยึดโยงกับการเมืองเข้าแทรกแซงอำนาจหน้าที่แห่ง ธปท.โดยเด็ดขาด มิฉะนั้น คณะศิษย์ฯ ย่อมมิอาจยอมรับรัฐบาลประเภทที่ว่ามานี้ให้บริหารบ้านเมืองอีกต่อไปได้

2 นายกรัฐมนตรีไทย-จีน จับเข่าร่วมหารือทวิภาคี ผลักดันความร่วมมือในโอกาส 50 ปีมิตรประเทศ

(11 ต.ค. 67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า หลี่เฉียง นายกรัฐมนตรีจีน เปิดเผยว่าจีนพร้อมทำงานร่วมกับไทยเพื่อใช้วาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2025 เป็นโอกาสสานต่อมิตรภาพดั้งเดิม เสริมสร้างการสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์ ส่งเสริมความร่วมมือ และผลักดันการสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกัน

หลี่กล่าวคำข้างต้นระหว่างพบปะหารือกับแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย นอกรอบการประชุมคณะผู้นำว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกในนครหลวงเวียงจันทน์ของลาวเมื่อวันพฤหัสบดี (10 ต.ค.) โดยหลี่เสริมว่าแนวคิด 'จีนและไทยเป็นครอบครัวเดียวกัน' ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก

จีนและไทยเป็นมิตรสหายและเพื่อนบ้านใกล้ชิดที่เชื่อมโยงกันด้วยภูเขาและแม่น้ำ ขณะการสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกันยังคงเดินหน้าต่อไปภายใต้คำชี้แนะเชิงยุทธศาสตร์จากคณะผู้นำของสองประเทศโดยมีความร่วมมือด้านต่าง ๆ มากมายและการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนอย่างอบอุ่น

หลี่คาดหวังว่าความสัมพันธ์จีน-ไทย จะผูกพันใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นและนำพาผลประโยชน์มาสู่ประชาชนของสองประเทศเพิ่มขึ้น โดยจีนสนับสนุนไทยแสวงหาวิถีทางการพัฒนาอันเหมาะสมกับสภาพการณ์ของประเทศ และยินดีจะเป็นหุ้นส่วนที่น่าไว้วางใจและเชื่อถือได้ของไทยเสมอ

ฝ่ายจีนพร้อมทำงานร่วมกับไทยเพื่อจัดวางยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ดีขึ้น สื่อสารนโยบายต่าง ๆ กับอีกฝ่ายอย่างแข็งขัน เร่งก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย ส่งเสริมการบูรณาการและการพัฒนาทางอุตสาหกรรม และกระชับความร่วมมือในนิคมอุตสาหกรรม เศรษฐกิจดิจิทัล ยานยนต์พลังงานใหม่ พลังงานแสงอาทิตย์ฯลฯ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านและยกระดับเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น

หลี่เรียกร้องทั้งสองฝ่ายร่วมจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2025 และเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนด้านสื่อ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การศึกษา และเยาวชน เพื่อรวบรวมแรงสนับสนุนจากสาธารณชนต่อมิตรภาพระหว่างสองประเทศ

จีนพร้อมทำงานร่วมกับไทยเพื่อดำเนินงานตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) อย่างมีคุณภาพสูง เร่งการบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เสริมสร้างการประสานงานและความร่วมมือพหุภาคี และร่วมคุ้มครองการพัฒนาอย่างสันติและมีเสถียรภาพในภูมิภาค

ด้านแพทองธารแสดงความยินดีกับวาระครบรอบ 75 ปี การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) และแสดงความเชื่อมั่นว่าจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง จะยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้นและมีส่วนส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของโลกยิ่งขึ้น

ไทยยินดีร่วมจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองกับจีนเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ในปี 2025 พร้อมเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนระดับสูง ส่งเสริมความร่วมมืออันเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกันในด้านเศรษฐกิจ การค้า การเกษตร และอื่น ๆ สนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและระหว่างประชาชนเพิ่มขึ้น และร่วมปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การพนันออนไลน์และการฉ้อโกงทางโทรศัพท์ เพื่อผลักดันการสร้างประชาคมไทย-จีนที่มีอนาคตร่วมกันต่อไป

แพทองธารเสริมว่าไทยยินดีเสริมสร้างการสื่อสารและการประสานงานกับจีนภายในอาเซียน ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง และกรอบความร่วมมือพหุภาคีอื่น ๆ ตลอดจนร่วมส่งเสริมการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน และคุ้มครองสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งระดับภูมิภาค

(แฟ้มภาพซินหัว : หลี่เฉียง นายกรัฐมนตรีจีน พบปะกับแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย นอกรอบการประชุมคณะผู้นำว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกในนครหลวงเวียงจันทน์ของลาว วันที่ 10 ต.ค. 2024)

นายกฯ หารือ กกร. เดินหน้าสางปัญหาเศรษฐกิจ จับตา ‘หนี้ครัวเรือนสูง-ปรับค่าแรงขั้นต่ำ’

(28 ต.ค. 67) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หารือกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน3 สถาบัน (กกร.) นำโดยนายสนั่น อังอุบลกุล ในฐานะประธาน กกร. และประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายผยง ศรีวณิช ประธานกรรมการสมาคมธนาคารไทย และนายสุธีร์ สธนสถาพร ผู้อำนวยการสำนักงาน กกร.

โดยก่อนเริ่มหารือนายสนั่นได้มอบ สมุดปกขาว ข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศจัดทำโดย กกร. ให้กับนายกรัฐมนตรี

ขณะที่นางสาวแพทองธาร กล่าวว่า ดีใจที่ได้เจอที่ทำเนียบรัฐบาลอีกครั้งเพราะได้เจอครั้งแรกที่พรรคเพื่อไทยก่อนแถลงนโยบายรัฐบาล ก็อยากพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งครั้งที่แล้วก็ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจซึ่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี  

และแน่นอนว่าผลกระทบนี้ส่งผลถึงประชาชนมีหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น อยากให้ภาครัฐและภาคเอกชนได้พูดคุยร่วมมือกัน เราไม่สามารถจะพูดได้แค่เรื่องการปรับโครงสร้างหนี้อย่างเดียวที่เป็นปัญหา แต่ต้องมีการหารายได้ใหม่เข้าสู่ประเทศถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจโตได้

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า และสิ่งที่รัฐบาลทำขณะนี้ก็มีเรื่องของซอฟต์พาวเวอร์ และมีความร่วมมือกับเอกชนจำนวนมากเพราะมองว่าเอกชนคือภาคสำคัญที่จะทำให้ประเทศมีรายได้เพิ่มและสนับสนุนประชาชนด้วยจึงอยากจะให้รัฐกับเอกชนทำงานร่วมกันเยอะขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจและโอกาสใหม่ๆให้กับประชาชนซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก วันนี้รัฐบาลพร้อมที่จะซัพพอร์ตรับฟังจากภาคเอกชน เพื่อให้สามารถปรับให้เข้านโยบายของรัฐบาลต่อไป

ด้านนายสนั่น กล่าวว่า เชื่อมั่นรัฐบาลภายใต้การนำของนายกฯแพทองธาร ซึ่งสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายและปัญหาหลากหลายมิติ กกร.จึงได้ระดมความคิดเห็นจากภาคธุรกิจในสาขาต่างๆ จัดทำเป็นสมุดปกขาวเสนอให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการทั้งในระยะเร่งด่วนระยะกลาง และระยะยาว 

โดยมีทั้งหมด 4 ประเด็น ได้แก่ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  หรือ SMEs การบริหารจัดการน้ำและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น ระยะเร่งด่วน เสนอมาตรการลดภาระค่าครองชีพประชาชน ลดต้นทุนของผู้ประกอบการทั้งการควบคุมราคาสินค้าพื้นฐาน และบริการที่จำเป็น ตรึงราคาค่าไฟ น้ำมันดีเซล เพื่อลดต้นทุนผู้ประกอบการ และลดภาระประชาชน รวมถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยเอกชนขอให้เป็นไปตามกลไกของคณะอนุกรรมการไตรภาคี  

ประธาน กกร. และประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจควรแยกวิธีให้เหมาะสมและใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพโดยมุ่งเป้ากระตุ้นไปยังกลุ่มเปราะบาง ถือเป็นสิ่งเร่งด่วนที่รัฐบาลดำเนินการไปแล้ว  

ขณะที่ประชาชนกลุ่มที่ยังพอมีกำลังซื้อสามารถดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจในลักษณะโครงการคูณสองเพื่อช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลไม่จำเป็นจะต้องใช้งบประมาณมาก สำหรับกลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูงสามารถออกมาตรการดึงการจับจ่ายใช้สอยให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้นเช่น มาตรการทางภาษี  ที่รัฐไม่ต้องใช้งบประมาณเลย

กห. ขานรับนโยบายรัฐบาล เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดร้อยเอ็ด นำร่องจังหวัดสีขาว ทั่วประเทศ

(3 พ.ย. 67) พลตรีธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผย ณ วัดบ้านเขวาทุ่ง ตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมสั่งการโมเดล การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด 1 ใน 25 จังหวัด ที่กำหนดเป็นพื้นที่นำร่องจังหวัดสีขาว ทั่วประเทศ 

โดยรัฐบาล ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ถือเป็นวาระแห่งชาติ และขอให้ทุกภาคส่วนมุ่งมั่นดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป พร้อมยกระดับให้เข้มข้นขึ้น ขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ตามภูมิภาค โดยมี จังหวัดนำร่อง 10 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ : เชียงใหม่ ภาคกลาง : อุทัยธานี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : สกลนคร นครพนม ภาคตะวันออก : ระยอง ภาคใต้ : นครศรีธรรมราช ตรัง นราธิวาส โดยต้องเป็นพื้นที่ปลอดยาเสพติด หรือ ปัญหายาเสพติดลดลงกว่าร้อยละ 90 การแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไป โดยทุกหน่วยงานต้องบูรณาการร่วมกันทั้งในการป้องกัน สกัดกั้น และฟื้นฟู รวมถึงต้องมีการพัฒนาเชื่อมระบบข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ 

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบนโยบายจึงได้สั่งการให้เหล่าทัพ ใช้เครื่องมือ ยุทโธปกรณ์ และทรัพยากรที่มีอยู่ในการป้องปราม ป้องกัน สกัดกั้นยาเสพติดแนวพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ตอนในของประเทศ การกวดขันกวาดล้าง ตัดวงจรการค้ายาเสพติด รวมถึงการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีและสร้างความไว้วางใจให้กับประชาชน  ตลอดจนการเตรียมสถานพยาบาลในสังกัดของเหล่าทัพ ในการฟื้นฟู รักษาบำบัดผู้ติดยาเสพติด ทั้งนี้ นรม. ได้มอบหมายให้ รอง นรม./รมว.กห. ร่วมบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มสถานพยาบาล จัดทำโมเดลบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โครงการธวัชบุรี โมเดล เป็นพื้นที่นำร่องในการบำบัด ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดอย่างครบวงจร ครอบคลุมถึงสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่แข็งแรง รวมถึงการจัดอบรมพัฒนาทักษะสร้างอาชีพ เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้มีทักษะ ความรู้ สามารถประกอบอาชีพ เลี้ยงชีพและอยู่ร่วมในสังคมได้

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหม ได้ดำเนินการในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งด้านการป้องกันและปราบปราม การสกัดกั้น ความร่วมมือระหว่างประเทศ ตลอดจน การบำบัดรักษามาอย่างต่อเนื่อง และพร้อมในการบูรณาการร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเข้มงวดจริงจัง ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อให้ยาเสพติดหมดไปจากประเทศไทย

นิราช ทิพย์ศรี รายงาน 0909535645

ร้อยเอ็ด…นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ ตรวจติดตาม “ร้อยเอ็ดโมเดล” ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นท

( 1 พ.ย. 67 ) 11.30 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  พร้อมด้วย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม , นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม  ตรวจติดตาม “ร้อยเอ็ดโมเดล” ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ณ วัดเขวาทุ่ง อ.ธวัชบุรี  จ.ร้อยเอ็ด  รับโดยฟังการบรรยายสรุป “ร้อยเอ็ดโมเดล” และ นายกฯกล่าวว่า ขอให้เรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องของทุกคนที่ช่วยกันอย่างจริงจัง และการบำบัดรักษา ขอให้ทุกหน่วยทำงานอย่างบูรณาการ และเพิ่มการรักษาพยาบาล เน้นย้ำตัดวงจรยาเสพติด เน้นมาตรการบังคับใช้กฎหมาย พร้อมบำบัดรักษาได้รับการบำบัดรักษาอย่างจริงจริงและแผนขอรัฐบาลพร้อมที่ฝึกอาชีพให้ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาให้สามารถออกไปประกอบอาชีพตนเองได้ รัฐบาลขอเริ่มที่จังหวัดนำร่องนี้ก่อน และรัฐบาลเน้นย้ำ ขจัดปัญหายาเสพติดให้หมดสิ้นไป     

จากนั้นเวลา 12.45 น. ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมกระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด โครงการมินิธัญญารักษ์ ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อ.ศรีสมเด็จ  จ.ร้อยเอ็ด เยี่ยมชมโครงการมินิธัญญารักษ์ และให้กำลังใจผู้เข้ารับการบำบัด 

และเวลา 14.45 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  พร้อมคณะ เดินทางไปที่ อบต.น้ำใส อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด เพื่อติดตามการฝึกอาชีพของผู้ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้พวกเขากลับคืนสู่สังคมได้อย่างมั่นคง ซึ่งรัฐบาลมุ่งหวังให้ร้อยเอ็ดโมเดลเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ และเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ประเทศไทยจะสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างยั่งยืน

โกสิทธิ์/ร้อยเอ็ด(ห)
081-377-2689

‘พุธิตา’ ปชน. ป้อง ‘อุ๊งอิ๊ง’ วิ่งเล่นกับลูกที่ตึกไทยคู่ฟ้า ชี้ ไม่ควรโจมตี เพราะนอกจากเป็นนายกฯ ยังเป็นแม่ด้วย

(7 พ.ย. 67) สส.พุธิตา พรรคประชาชน ชี้ กรณีดราม่าอุ๊งอิ๊ง วิ่งเล่นสนามหญ้ากับลูกสาวที่ตึกไทยคู่ฟ้า ท่านนายกฯ เป็นแม่ด้วย ไม่ควรโจมตี

จากกรณีมีคลิปนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และบุตรสาว วิ่งเล่นในสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมีชาวเน็ตจำนวนมากแสดงคิดเห็นทำนองว่า สถานที่ทำงานไม่ควรจะนำลูกมาวิ่งเล่น 

ล่าสุด นางสาวพุธิตา ชัยอนันต์ สส.เชียงใหม่ พรรคประชาชน โพสต์ข้อความผ่าน X  ระบุว่า

คุณอุ๊งอิ๊ง นอกจากจะเป็นนายกแล้ว เขายังเป็นคุณแม่ที่มีลูกยังเล็กด้วย การที่ลูกมารอคุณแม่ทำงานเด็ก ๆ จะวิ่งเล่นในสนามบ้างเป็นเรื่องธรรมดาค่ะ ไม่ควรจะเอามาประเด็นโจมตี ชี้เจตนาที่เกินจริงเลยค่ะ

ทำดีมากแล้ว เชื่อคนไทยปลื้มให้กำลังใจ หลังชวดมง คว้ารองอันดับ 3 Miss Universe 2024

วันที่ (19 พ.ย. 67) ที่ทำเนียบรัฐบาล หลังการแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่น้องโอปอล หรือ น.ส.สุชาตา ช่วงศรี Miss Universe Thailand ได้รับรางวัลรองอันดับ 3 ในการประกวด Miss Universe 2024 ว่า

"ส่วนตัวได้ทราบข่าวแต่ไม่ได้ดูการประกวดในช่วงเวลานั้น เนื่องจากติดประชุมเอเปค แต่ขอชื่นชมว่าน้องโอปอลสวยมาก และอยากให้กำลังใจน้องเสมอ เมื่อเราส่งตัวแทนไทยไปแข่งขัน เราก็มักจะรู้สึกภูมิใจอยู่แล้ว เพราะน้องทำได้ดีมาก และไม่ว่าอย่างไร ก็ถือเป็นตัวแทนของประเทศและเป็นสีสันให้กับคนไทย เชื่อว่าเมื่อคนไทยเห็นก็จะส่งกำลังใจให้น้องอย่างเต็มที่" นายกฯ กล่าว

“พาณิชย์” เผย ครม.สัญจร เคาะ! มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว-ข้าวโพด ปี 67/68 กว่า 9,900 ล้านบาท ช่วยพี่น้องเกษตรกรไทยยั่งยืน

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ภายหลังการประชุม ครม. สัญจรที่เชียงใหม่ ที่มี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้อนุมัติมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มาตรการเพิ่มช่องทางการตลาด ปี 67/68 ซึ่งจะส่งผลให้ราคาผลผลิตที่เกษตรกรขายได้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมทั้งมาตรการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้มีเพียงพอต่อความต้องการ รวมงบประมาณทั้งสิ้น กว่า 9,924 ล้านบาท จำแนกเป็น ข้าวเปลือก 3 มาตรการ วงเงิน 9,604 ล้านบาท และข้าวโพด 5 มาตรการ 320 ล้านบาท ดังนี้

ข้าวเปลือก 3 มาตรการ เพื่อดูดซับข้าวเปลือกในช่วงที่ข้าวออกมาจำนวนมาก เป้าหมาย 8.50 ล้านตันประกอบด้วย 

(1) สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี เป้าหมาย 3 ล้านตัน วงเงิน 8,362.76 ล้านบาท โดยช่วยค่าฝาก 1,500 บาท/ตัน ในกรณีเข้าร่วมกับสหกรณ์ สหกรณ์รับ 1,000 บาท/ตัน เกษตรกรรับ 500 บาท/ตัน เก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง 1–5 เดือน เริ่มตั้งแต่ ครม. มีมติ - 28 ก.พ.2568 และเกษตรกรสามารถนำข้าวไปขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยข้าวหอมมะลิตันละ 12,500 บาท ปรับเพิ่มจากปีก่อนที่ตันละ 12,000 บาท (+500 บาท/ตัน) ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 ล้านบาท ปรับเพิ่มจากปีก่อนที่ตันละ 10,500 บาท (+500 บาท/ตัน) ข้าวหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเหนียว ตันละ 10,000 บาท หากข้าวราคาขึ้น เกษตรกรสามารถไปไถ่ถอนออกมา เพื่อนำมาจำหน่ายได้ 

(2) สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน ปรับเพิ่มจากปีก่อนที่เป้าหมาย 1 ล้านตัน (+0.5 ล้านตัน) วงเงิน 656.25 ล้านบาท โดยสหกรณ์จ่าย ดอกเบี้ย 1% รัฐช่วยดอกเบี้ย 3.5% ระยะเวลา 15 เดือน ระยะเวลาการจ่ายสินเชื่อตั้งแต่ ครม. มีมติ -30 ก.ย.2568 

และ (3) ชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการเก็บสต๊อก เป้าหมาย 4 ล้านตัน วงเงิน 585 ล้านบาท โดยรัฐช่วยดอกเบี้ย 3% เก็บสต๊อก 2–6 เดือน ระยะเวลารับซื้อตั้งแต่ ครม. มีมติ - 31 มี.ค.2568

นายพิชัย กล่าวอีกว่า มติคณะรัฐมนตรียังได้อนุมัติมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 67/68 เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องของสถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกร รวมถึงรักษาเสถียรภาพราคาในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก  ซึ่งจะส่งผลให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรขายได้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และมาตรการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรมีเงินทุนในการพัฒนาการผลิตของตนเองโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และลดต้นทุนการผลิตรวม 5 โครงการ ประกอบด้วย

(1) สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร เป้าหมาย 0.1 ล้านตัน วงเงิน 35 ล้านบาท โดยสหกรณ์จ่าย ดอกเบี้ย 1% รัฐช่วยดอกเบี้ย 3.5% ระยะเวลา 12 เดือน ระยะเวลาการจ่ายสินเชื่อตั้งแต่ ครม. มีมติ -31 พ.ค.2568

(2) ชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการเก็บสต๊อก เป้าหมาย 0.2 ล้านตัน วงเงิน 26.67 ล้านบาท โดยรัฐช่วยดอกเบี้ย 3% เก็บสต๊อก 2–4 เดือน ระยะเวลารับซื้อตั้งแต่ ครม. มีมติ - 31 ม.ค. 2568

(3) โครงการเพิ่มช่องทางการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 67/68 วงเงิน 51.50 ล้านบาท

(4) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 67 – 68 วงเงิน 138 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรนำไปใช้เป็นเงินทุนในการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและคุณภาพ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อาทิ ระบบน้ำหยด วงเงินรายละไม่เกิน 230,000 บาท เป้าหมาย 10,000 ราย รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย 3% ต่อปี 

และ (5) โครงการส่งเสริมพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประเทศไทย (ปีที่ 1) วงเงิน 69.54 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพิ่มคุณภาพผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยจะดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูก 32 จังหวัด 

“รัฐบาลนำโดยท่านนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการดูแลราคาสินค้าเกษตรทุกตัวให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวงพาณิชย์ก็จะเร่งดำเนินมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพิ่มคุณภาพผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน“ นายพิชัยกล่าว 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top