Thursday, 9 May 2024
ทหาร

แม่ทัพภาคที่ 3 เป็นประธานในพิธีปิด 'การอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ให้แก่หน่วยฝึกทหารใหม่ หน่วยขึ้นตรง กองทัพภาคที่3'

วันที่ 19 เมษายน 2566 เวลา 13.00 น. พลโท สุริยะ เอี่ยมสุโร แม่ทัพภาคที่ 3 เป็นประธานในพิธีปิด 'การอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ให้แก่หน่วยฝึกทหารใหม่ หน่วยขึ้นตรง กองทัพภาคที่3' กลุ่มที่1 ภาคเหนือตอนล่าง โดยมีผู้ฝึกทหารใหม่เข้ารับการอบรมในผลัดที่ 1 จำนวน 25 นาย ณ กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

สืบเมืองกรุงรวบตำรวจเก๊ ทหารปลอมกรรโชก 3 ล้านกว่าบาท

สืบเนื่องเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 66  ได้มีชายจำนวน 4 คน แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. กับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามเข้าขอทำการตรวจค้นบ้านที่เกิดเหตุ และได้แจ้งผู้เสียหายว่าได้กระทำความผิดฐาน ยักยอกพร้อมแสดงหมายทิพย์  และกลุ่มคนร้ายได้ร่วมกันกรรโชกเงินจากผู้เสียหายเป็นจำนวนเงิน 3,100,000 บาท (สามล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน)  โดยภายในบ้านมีผู้หญิง เด็กอายุ9 ปี 6 ปี  ผู้เสียหายจึงยินยอมมอบเงินจำนวนดังกล่าวไป  และได้มาแจ้งความต่อ สน.หัวหมาก เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ได้สั่งการให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล  รอง ผบ.ตร.สส. พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. , พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. พล.ต.ต.สุระพรรณ นาทวรทัต ผบก.น.4 ร่วมกันเร่งรัดสืบสวนจับกุมกลุ่มคนร้ายให้ได้โดยเร็ว

เมื่อวันที่ 21-22 เมษายน 2566  พล.ต.ท.ธิติ  แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น.,พล.ต.ต.สุระพรรณ นาทวรทัต ผบก.น.4

พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระรองออย รอง ผบก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.สุพล  ค้ำชู รอง ผบก.น.4 พ.ต.อ.วิชิต ถิรขจรวงศ์ ผกก.สส.1 บก.สส.บช.น. ,พ.ต.อ.สิทธิศักดิ์ นาคามาตย์ ผกก.สส.บก.น.4 ,พ.ต.ท.จักรพงษ์ กิ่งแก้วรอง สส.บก.น.4 ,พ.ต.ท.พีรบูรณ์ แก้วดู รอง ผกก.สส.1 บช.น. , พ.ต.ท.เอกศิษฐ์ วรกิตติ์ฐากรณ์ รอง ผกก.สส.1 บช.น. , พ.ต.ต.คณิตนนท์ ถนอมศรี สว.กก.สส.1 บก.สส.บช.น. , พ.ต.ต.กฤตวัฒน์ ขุนอินทร์ สว.กก.สส.1 บก.สส.บช.น. ,เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนนครบาล (บก.สส.บช.น.) เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวน บก.น.4  เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.หัวหมาก  และ  ร.ท.เอกชาติ อ่อนทา

หัวหน้าชุดพัฒนาสัมพันธ์มวลชน ที่ 4110 จว.สงขลานำกำลังสืบสวนติดตามจับกุมตัวผู้ต้องหา 3 คน คือ

1.นายยะฝาด ชุมประมาณ อายุ 59 ปี ที่อยู่ 98 ม.4 ต.ทุ่งหมอ อ.สะเดา จ.สงขลา 
2.นายธนพัฒน์ เล็กมณี อายุ 26 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 175/8 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กทม.
3.นายธนมงคล ชาวสมุทร อายุ 38 ปี 175/8 ตรอกวัดพระยาทำ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กทม. 

โดยกล่าวหาว่า “ร่วมกันกรรโชกทรัพย์และร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่น ฯ”  พร้อมด้วยของกลาง รวม 25 รายการ คือ
1.หมวกแก๊ปสีดำ มีตราสัญลักษณ์กองทัพบก มีตัวอักษร ROYAL THAI ARMY
2.เสื้อคลุมแจ๊กเก็ต มีตราสัญลักษณ์ กอ.รมน.
3.กางเกงแทคติคอลสีดำ
4.เสื้อโปโลสีดำ
5.กระเป๋าหนัง มีตราสัญลักษณ์ กอ.รมน.
6.รองเท้าหนังสีน้ำตาล (ของกลางลำดับที่ 1-6 ยึดจากผู้ต้องหาที่ 1)
7. รถจักรยานยนต์ยี่ห้อยามาฮ่า รุ่น เอ็นแมกซ์  หมายเลขทะเบียน 1ขท 2103 กรุงเทพมหานคร
8. เสื้อกันลมสีดำ มีอักษรปักด้านหลังว่า “เอกสยาม” 1 ตัว
9. รองเท้าบู้ทสีน้ำตาลจำนวน 1 คู่

10. หมวกกันน็อคยี่ห้อ LUCKY สีดำ จำนวน 1 ใบ
11. หมวกแก็ปสีดำยี่ห้อ SPORTS จำนวน 1 ใบ
12. แว่นตากันแดดสีดำจำนวน 1 อัน
13. ทองคำรูปพรรณ ห้างขายทอง ทองใบเยาวราช หนัก 2 บาท  จำนวน 1 เส้น

14. สร้อยข้อมือทองคำ ห้างขายทอง ทองใบเยาวราช หนัก 2 บาท จำนวน 1 เส้น
15. แหวนทองคำห้างขายทองทองใบเยาวราช หนัก 2 สลึง จำนวน 1 วง
16.เงินสดจำนวน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) (ของกลางลำดับที่ 7-16 ยึดจากผู้ต้องหาที่ 2)
17. เสื้อแขนยาวสีดำ 1 ตัว
18. กางเกงยีนส์สียีนส์ 1 ตัว
19. รองเท้าบู้ทสีน้ำตาลจำนวน 1 คู่
20. หมวกกันน็อคยี่ห้อ INDEX สีดำแดง จำนวน 1 ใบ
21. กระเป๋าสะพายข้างสีน้ำตาล 1 ใบ
22. ทองคำรูปพรรณ ห้างขายทอง ทองใบเยาวราช น้ำหนัก 2 บาท  จำนวน 1 เส้น
23. สร้อยข้อมือทองคำ ห้างขายทอง ทองใบเยาวราช น้ำหนัก 2 บาท จำนวน 1 เส้น
24. แหวนทองคำห้างขายทองทองใบเยาวราช น้ำหนัก 2 สลึง จำนวน 1 วง
25. เงินสดจำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทบาทถ้วน) (ของกลางลำดับที่ 17-25 ยึดจากผู้ต้องหาที่ 3)

ทัวร์ลง ‘กองทัพบก’ หลังปล่อยเพลง ‘หนักแผ่นดิน’ ช่วงใกล้เลือกตั้ง ชาวเน็ตวิจารณ์ยับ!! ทหารไม่รู้จักหน้าที่ของตัวเอง สมควรถูกปฏิรูป

กองบัญชาการกองทัพบกเผยแพร่วิดีโอคลิปเพลง ‘หนักแผ่นดิน’ ทำชาวเน็ตทัวร์ลงด่ายับ ชี้ มาในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้ง หลังถูกบางพรรคการเมืองออกนโยบายยกเลิกเกณฑ์ทหารพาดพิง

(5 พ.ค. 66) เพจเฟซบุ๊ก ‘กองทัพบก Royal Thai Army’ ของกองบัญชาการกองทัพบก เผยแพร่วิดีโอคลิปเพลง ‘หนักแผ่นดิน’ ที่บรรเลงและขับร้องโดยกรมดุริยางค์ทหารบก หลังจากคลิปดังกล่าวเผยแพร่ออกไปราว 2 ชั่วโมง มีคนแชร์ไปกว่า 300 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม มีชาวเน็ตแสดงความคิดเห็นโจมตีกองทัพบกจำนวนมาก พร้อมกับตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมถึงได้ปล่อยเพลงนี้ออกมาในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้ง เพราะมีบางพรรคการเมืองออกนโยบายหาเสียงพาดพิงกองทัพ เช่น ยกเลิกเกณฑ์ทหาร

สำหรับความเห็นที่น่าสนใจ อาทิ

“ทหารที่ไม่รู้จักหน้าที่ตัวเองนี่ล่ะครับ หนักแผ่นดินที่สุด”

“เฮือกสุดท้ายแล้วสินะ 555 แต่อาชีพพวกxึงอะ หนักแผ่นดินสุดแล้ว ข่าวระยำในประเทศมีแต่ข่าวพวกxึง เส้นสายใช้กันไม่หยุด คอร์รัปชันในกองทัพเท่าไหร่ จนเกิดจ่าคลั่ง เพลงนี้ร้องให้อาชีพตัวเองฟังกันนะ”

“ต้องมีท่าเต้นด้วยนะครับ ฟังเฉยๆ ไม่รู้สึกฮึกเหิมเลย”

‘ทภ.2’ ปล่อยคลิปการ์ตูน สื่อถึงความสำคัญของการมีทหาร ตัดพ้อโซเชียล!! ถูกโจมตี-ถูกตั้งคำถาม ทั้ง ๆ ที่ทำเพื่อชาติ

(8 พ.ค. 66) ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 2 ได้ส่งคลิปภาพการ์ตูนประกอบเพลงแร็ป ที่ชื่อว่า ‘มีทหารไว้ทำไม’ เผยแพร่โดยไม่ได้บอกว่าใครเป็นผู้จัดทำขึ้น เนื้อหาเล่าเรื่องราวการปฏิบัติหน้าที่ของทหารในสนามรบ ท่ามกลางความเป็นห่วงของครอบครัวในเรื่องความปลอดภัย แต่ทหารก็ยังย้ำในหน้าที่ปกป้องชาติ และ ประชาชน ก่อนที่คลิปดังกล่าวจะตัดไปเป็นภาพการ์ตูนผู้ชายใส่เสื้อเชิ้ตขาวชี้นิ้ว และมีข้อความเป็นคำพูดว่า “เราไม่ต้องการทหาร กลับเข้ากรมกองไป ไร้ประโยชน์ ประเทศอื่นเขาไม่รบกันแล้ว สมัยนี้เขาใช้เรือประมงไปรบแล้ว เปลือง และกระจอก เขาไม่รบกันแล้ว รบไปก็ไม่ชนะ“ โดยมีฉากหลังเป็นทหารเดินลาดตระเวนในสนาม 

นอกจากนั้น ยังมีภาพการ์ตูนทหารในภารกิจช่วยประชาชนช่วงน้ำท่วม ตัดสลับกับการ์ตูนชายเชิ้ตขาวคนเดิม ชี้นิ้วพร้อมคำพูดที่ว่า “กลับไป ไม่ใช่หน้าที่ทหาร อย่ามายุ่ง” ก่อนจะเป็นคำพูดของทหารที่บอกว่า “หน้าที่ของพวกเราคือช่วยประชาชนไม่ใช่เหรอ ?” ต่อด้วยประโยคคำพูดที่ว่า “เราคงต้องอดทน อดทนเข้าไว้ ไม่ว่าใครจะเกลียดเรา” 

ตบท้ายด้วยการ์ตูนทหารกราบเท้าหญิงสูงอายุนอนป่วย พร้อมกล่าวอำลา มีข้อความว่า “วันนี้ไม่ชอบทหารก็ไม่เป็นไร แต่ทหารพร้อมช่วยเหลือประชาชนอยู่เสมอ แม้ว่าประชาชนบางส่วนไม่ต้องการทหาร แต่ทหารก็ยังเตรียมตัวพร้อมไว้เสมอ เพราะนี่คือทหารไทยที่พร้อมรับทุกสถานการณ์ ขอให้กำลังใจทหารที่ทำงานมาโดยตลอด อีกทั้งขอขอบคุณทหารไทย จนกว่าจะพบกันใหม่เมื่อประชาชนต้องการ 

(สุรินทร์) ผบ.มทบ.25 ตรวจเยี่ยมการ รับ-ส่งทหารกองเกินเข้ากองประจำการประจำปี 2566 ผลัดที่ 1

วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 10:30 น. พลตรี ชินวิช  เจริญพิบูลย์  ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25 ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ การรับ-ส่งทหารกองเกินเข้ากองประจำการ ประจำปี 2566 ผลัดที่ 1 ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพอีสานใต้ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมี พันเอกสุดใจ  แพงพรมมา สัสดีจังหวัดสุรินทร์ รักษาการ หัวหน้าฝ่าย สรรพกำลังมณฑลทหารบกที่ 25 พันเอก จิรัฏฐ์ ช่วงฉ่ำ เสนาธิการกองกำลังสุรนารี พันเอกสุรังค์  วิทยาวงศรุจิ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน  และ คณะนายทหารให้การต้อนรับ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 มณฑลทหารบกที่ 25 ได้ดำเนินการ รับ-ส่ง ทหารเข้ากองประจำการ ผลัดที่ 1/2566 จำนวน 390 นาย แยกเป็น แผนก กองทัพบก จำนวน 209 นาย แผนก กองทัพอากาศ จำนวน 108 นาย แผนก กองทัพเรือ จำนวน 73 นาย  พลตรี ชินวิช  เจริญพิบูลย์  ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25 ได้เน้นย้ำให้ปฏิบัติในทุกขั้นตอน อย่างเคร่งครัด และได้พบปะพูดคุย กับผู้ปกครองและญาติของทหารใหม่ที่มาส่ง ให้คลายความกังวล และขอให้เชื่อมั่นในกระบวนการของกองทัพ ที่จะดูแลทหารใหม่หรือน้องคนเล็ก เสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ในการรับ-ส่งทหารกองเกินเข้ากองประจำการประจำปี 2566 ผลัดที่ 1ในครั้งนี้ มณฑลทหารบกที่ 25 ได้จัด วงดนตรี จากหมวดดุริยางค์ทหารบก มณฑลทหารบกที่ 25 และการแสดงศิลปะแม่ไม้มวยไทย มาให้ ผู้ปกครองและญาติทหารใหม่ได้ชมอีกด้วย

ต่อจากนั้น พลตรี ชินวิช  เจริญพิบูลย์  ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25 ได้เดินทาง ไปตรวจเยี่ยม การรับทหารใหม่ ณ หน่วยฝึกทหารใหม่ มณฑลทหารบกที่ 25 ซึ่ง มีทหารใหม่เข้ากองประจำการ จำนวน 87 นาย

 ปุรุศักดิ์  แสนกล้า  ข่าว/ภาพ

‘สวิตเซอร์แลนด์’ ประเทศที่มีความเป็นกลางที่สุดในโลก เหตุใดยังจำเป็นต้องมี ‘ทหาร’ แม้อยู่ในภาวะไร้สงคราม

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีผู้ใช้ติ๊กต็อกรายหนึ่ง ชื่อ ‘khaekhaitravel’ โพสต์คลิปบอกเล่าสาระความรู้ เกี่ยวกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ถึงเรื่องของ ‘ทหาร’ ในประเทศที่มีความเป็นกลางมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก โดยระบุว่า…

“รู้หรือไม่? ผู้ชายชาวสวิตเซอร์แลนด์ทุกคน จำเป็น ‘ต้องเป็นทหาร’ และทหารทุกคนจะมีปืนไรเฟิลไว้ที่บ้าน เพราะที่สวิตเซอร์แลนด์นั้นไม่ได้มีทหารเยอะเหมือนประเทศไทยบ้านเรา ด้วยความที่สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศขนาดเล็กและมีจำนวนประชากรเพียง 8.8 ล้านคน เพราะฉะนั้น ที่สวิตเซอร์แลนด์ส่วนมากจะมีแต่ทหารอาสา ซึ่งก็คือผู้ชายสวิตเซอร์แลนด์ที่ถูกฝึกทหารกันไว้แล้ว หากเกิดสงครามขึ้น คนสวิตฯ ก็พร้อมรบ เพราะมีอาวุธพร้อม และทหารที่พร้อมตลอดเวลา ส่วนใครที่ไม่ได้เป็นทหาร เช่น ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ มีความพิการ หรือเป็นนักกีฬาของประเทศ จะต้องจ่ายภาษี 3% ของรายได้ ซึ่งมีระยะเวลาที่ต้องจ่ายประมาณ 10-12 ปีเลยทีเดียว และหากเป็นผู้ที่ไม่มีรายได้ก็จะจ่ายภาษีส่วนนี้น้อยลง”

ผู้ใช้ติ๊กต็อกยังกล่าวอีกว่า การเป็นทหารที่สวิตเซอร์แลนด์ค่อนข้างมีความยืดหยุ่น เพราะผู้ชายที่สวิตฯ ต้องเป็นทหารกันประมาณ 300 วัน ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นทหารไปเลยเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือจะเลือกเป็นทหาร 10 ปีก็ได้ เพราะบางคนก็ไม่สะดวกที่จะหยุดทุกอย่างเพื่อไปเป็นทหาร ที่สวิตเซอร์แลนด์จึงสามารถเลือกเป็นทหารกันประมาณ 10 ปี โดยแต่ละปีผู้ชายชาวสวิตฯ จะต้องมาฝึกทหารเป็นเวลา 2-3 อาทิตย์ เพื่อสะสมชั่วโมงหรือสะสมวันให้ครบนั่นเอง

“จริงๆ เคยมีคำถามจากประชาชนเยอะมาก ว่าเหตุใดประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเป็นกลาง แต่ทำไมถึงต้องใช้งบประมาณจำนวนมากไปกับทหาร ซึ่งประชาชนบางส่วนก็ไม่เห็นด้วย แต่สวิตเซอร์แลนด์ก็มองว่า ถึงแม้ประเทศเขาจะมีความเป็นกลาง แต่ก็ต้องมีความมั่นคงไปด้วย เช่น เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้ให้ประชาชนร่วมกันโหวต ว่าจะซื้อเครื่องบินรบดีหรือไม่ ปรากฎว่า เสียงข้างมาก หรือคิดเป็นประมาณ 50.1% มีมติเห็นด้วยที่จะอนุมัติการซื้อเรื่องบินรบ” ผู้ใช้ติ๊กต็อก กล่าว

‘วรนัยน์’ ชี้ ไทยไร้ภาวะสงคราม ไม่จำเป็นต้องบังคับเกณฑ์ทหาร แนะ ควรมองบริบทโดยรวมที่แตกต่างของแต่ละประเทศ

เมื่อไม่นานมานี้ นายวรนัยน์ วาณิชกะ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคชาติพัฒนากล้า ได้โพสต์คลิปผ่านติ๊กต็อกส่วนตัว ชื่อ ‘voranai11’ ถึงกรณีการยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร โดยได้ยกตัวอย่างสาเหตุของแต่ละประเทศในการต้องมีทหาร ว่า…

“เนื่องจากเป็น ส.ส. สอบตก ทำให้ในช่วงนี้ผมได้มีเวลามากขึ้น เพราะฉะนั้น อยากจะใช้โอกาส ตอบข้อโต้แย้งเกี่ยวกับประเด็นวิดีโอยกเลิกเกณฑ์ทหาร ที่ผมได้ทำมาประมาณเดือนกว่าแล้ว และได้ยอดวิวในติ๊กต็อกมาประมาณ 3 ล้านวิว

ประเด็นแรก หลายคนพูดว่า ประเทศไทยไม่ควรและไม่จำเป็นต้องทำแบบประเทศอื่น ผมอยากจะเสนอแนวคิดนี้ครับ มนุษย์เราอยู่บนโลกที่กว้างใหญ่ มีความรู้ไร้ขีดจำกัด การวิวัฒนาการของมนุษย์นั้นก็คือการเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่จะเรียนรู้ได้ สิ่งใดที่ดี เรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ สิ่งใดที่ไม่ดี เรียนรู้ เพื่อที่จะไม่นำมาประยุกต์ใช้ นี่คือวิถีของมุนษย์ ที่ไม่ยอมที่จะอยู่ในกะลา

ประเด็นที่สอง ประเทศอิสราเอล ประเทศเกาหลีใต้ หรือประที่เจริญแล้ว ก็ยังมีการเกณฑ์ทหาร ถูกต้องครับ แต่เราต้องเข้าใจบริบทของ geopolitics หรือ ที่เราเรียกว่า ‘ภูมิรัฐศาสตร์’ หรือ ‘ภูมิศาสตร์การเมือง’ ของแต่ละประเทศ ผู้นำทั่วโลกต่างตระหนักดีว่า เกาหลีเหนือมีความต้องการที่จะบุกยึดเกาหลีใต้ ผู้นำทั่วโลกตระหนักดีว่า อิหร่านมีความต้องการที่จะบุกยึดอิสราเอล เพราะฉะนั้น ทั้ง 2 ประเทศนี้ จึงต้องมีความพร้อมที่จะสู้รบสงครามครั้งใหญ่ทุกเมื่อ เกาหลีใต้ จึงต้องมีการเกณฑ์ทหาร และนอกจากนี้ อิสราเอลยังมีการเกณฑ์ทหารทั้งผู้ชายและผู้หญิงอีกด้วย นั่นคือบริบทของประเทศนั้นๆ”

เมื่อถามถึงบริบทของประเทศไทย นายวรนัยน์ กล่าว่า ไม่มีประเทศเพื่อนบ้านของเราประเทศไหน ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย หรือประเทศใดก็ตาม มี national agenda หรือ ‘วาระแห่งชาติ’ ที่จะบุกยึดประเทศไทย เมียนมาก็ไม่มี national agenda ที่จะบุกยึดประเทศไทย เพราะนายพลของเมียนมา มีความสนิทสนมกับนายพลของประเทศไทย มีความรักกันมาก รักกันยิ่งกว่ารักประชาชนในประเทศของตัวเองเสียอีก ตนไม่ได้กลัวว่านายพลของเมียนมาจะส่งทหารมายิงคนไทย แต่ตนเป็นห่วงว่านายพลของไทย จะส่งทหารมายิงคนไทย นี่คือ บริบทของประเทศไทยของเรา

เมื่อถามว่า ชายแดนของไทยเรามีปัญหาหรือไม่? นายวรนัยน์ ตอบว่า มี แต่ทหารอาสาที่สมัครใจมาเป็นทหารที่เรามีอยู่ สามารถจัดการได้ ทหารพรานที่สมัครใจ สามารถจัดการได้

อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพูดถึง คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่หลายคนโต้แย้งว่า สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่เจริญแล้ว ไม่ได้อยู่ในบริบทที่จะมีใครมาบุกยึดด้วยซ้ำไป เป็นนายธนาคารของทั้งโลก แต่ก็ยังมีการเกณฑ์ทหาร นายวรนัยน์ ได้อธิบายไว้ว่า “ถูกต้องครับ เขามีการเกณฑ์ทหาร เมื่อถามว่าบริบทคืออะไร ประการแรก คือ ทหารเกณฑ์ของประเทศเขา ไม่ใช่ทหารรับใช้ ไม่มีใครต้องมานั่งซักเสื้อผ้าให้คุณนาย หรือคอยรับใช้นายพล เขาเหล่านั้นเป็นทหารที่ถูกฝึกและใช้งานอย่างมืออาชีพ ประเด็นที่สอง เขามีทางเลือก หากใครไม่อยากเป็นทหาร เขาสามารถเลือก Alternative civilian service หรือ ‘บริการพลเรือนทางเลือก’ ได้ ว่าจะไปอยู่หน่วยกู้ภัย หรือหน่วยอื่นๆ ตรงส่วนนี้ก็สามารถเลือกได้”

อีกหนึ่งประเด็นสำคัญ คือ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีการทำประชามติ ว่าจะยกเลิกการเกณฑ์ทหารหรือไม่ ผลออกมาคือ 70% บอกว่า “ไม่ยกเลิก” ไม่ยกเลิก ก็คือไม่ยกเลิก นี่คือวิถีของประชาธิปไตย ร่วมกันตัดสินใจ

เมื่อถามว่า แล้วอย่างนี้ ประเทศไทยควรมีการร่วมกันทำประชามติ เรื่องของการยกเลิกการเกณฑ์ทหารหรือไม่? นายวรนัยน์ ตอบว่า “ไม่จำเป็น ตอนนี้เลือกตั้งเสร็จแล้ว พรรคใหญ่ที่ชนะการเลือกตั้ง อันดับ 1 และ อันดับ 2 ทั้ง 2 พรรค ชูนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ดังนั้น เขามีมติอยู่แล้ว ในสภาฯ ก็ผ่านได้ เพราะฉะนั้น การยกเลิกเกณฑ์ทหารก็เป็นวิถีของประชาธิไตยอยู่แล้ว และนี่คือ การใช้หลักการประชาธิไตย ที่จะตัดสินทิศทางของประเทศไทยต่อไป”
 

29 พฤษภาคมของทุกปี วันสากลแห่งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติ รำลึกถึงเจ้าหน้าที่ ในภารกิจเพื่อสันติภาพ และแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

วันที่ 29 พฤษภาคมของทุกปีเป็น “วันสากลแห่งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติ” (International Day of United Nations Peacekeepers) เพื่อเป็นการรำลึกถึงเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจและพลเรือน ในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ เพื่อสันติภาพและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง บรรเทาความทุกข์ยากของผู้อื่นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก

‘ROTC’ หลักสูตรกองกำลังทหารสำรองแห่งกองทัพสหรัฐฯ เส้นทางสู่การติดยศนายทหาร เพื่อเป็นองครักษ์พิทักษ์ชาติ

Reserve Officers' Training Corps : ROTC 
กองกำลังการฝึกนายทหารสำรองแห่งกองทัพสหรัฐฯ


เดิมทีสหรัฐอเมริกาก็มีการเกณฑ์ทหาร และได้ยกเลิกไปนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1972 ภายหลังทหารถอนตัวจากสงครามเวียดนาม ปัจจุบันกำลังพลของกองทัพสหรัฐฯ มาโดยความสมัครใจทั้งหมด แน่นอนที่สุดคือ การรับสมัครบุคคลเพื่อเป็นทหารโดยสมัครใจ จะต้องเพิ่มงบประมาณด้านกำลังพลอย่างมากมาย เพื่อจูงใจให้มีคนมาสมัครเป็นทหาร สำหรับ Reserve Officers’ Training Corps หรือ ‘ROTC’ แปลเป็นไทยคือ ‘กองกำลังการฝึกนายทหารสำรองแห่งกองทัพสหรัฐฯ’ ROTC เป็นระบบการรับสมัครนายทหารชั้นสัญญาบัตรอีกรูปแบบหนึ่ง ROTC เป็นกลุ่มของโปรแกรมการฝึกอบรมผู้ที่จบจากวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย เพื่อฝึกอบรมเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรของกองทัพสหรัฐฯ


หลาย ๆ คนเข้าใจว่า ROTC เป็นนักศึกษาวิชาทหารที่เรียนรักษาดินแดน (รด.) แบบบ้านเรา แต่ไม่ใช่ครับ แนวคิดของ ROTC ในสหรัฐอเมริกาถูกจัดทำขึ้นโดย Alden Partridge ผู้เป็นนักเขียน สมาชิกสภามลรัฐ Vermont นักกฎหมาย นักสำรวจจัดทำแผนที่ และผู้บัญชาการโรงเรียนนายทหารสหรัฐฯ แห่งแรกที่ West Point มลรัฐ New York เป็นผู้บุกเบิกการศึกษาทางทหารของกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งเน้นการฝึกด้วยออกกำลังกาย ตลอดจนเป็นผู้สนับสนุนแนวคิดของทหารประชาชน (Citizen Soldier) และจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางทหารของเอกชนทั่วประเทศ รวมถึงมหาวิทยาลัย Norwich

ROTC เริ่มจาก รัฐบัญญัติ Morrill ปี ค.ศ.1862 กำหนดให้วุฒิสภาและผู้แทนราษฎรแต่ละคน มอบที่ดินของรัฐบาลกลางจำนวน 30,000 เอเคอร์ เพื่อเป็นที่ดินสำหรับการเกษตรกรรมและสร้างสถาบันการศึกษา ซึ่งกฎหมายดังกล่าวถือกันว่า เป็นกฎหมายที่วางรากฐานด้านการศึกษาขั้นสูงให้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งการให้ที่ดินเพื่อจัดตั้งวิทยาลัย ซึ่งข้อกำหนดส่วนหนึ่งของรัฐบาลสำหรับโรงเรียนเหล่านี้คือ ต้องมีหลักสูตรทางการทหารเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรประจำด้วย ซึ่งต่อมากลายเป็นที่รู้จักในฐานะ ROTC 

มหาวิทยาลัยที่ ROTC เริ่มตั้งขึ้นคือ Norwich University ใน Northfield มลรัฐ Vermont ก่อตั้งขึ้นในปี 1819 โดยอดีตอาจารย์ผู้สอนในวิทยาลัยการทหาร West Point ร้อยเอก Alden ผู้เป็นเจ้าของแนวความคิดของ ‘ทหารพลเมือง’ โดยชายแต่ละคนจะได้รับการฝึกฝนให้ทำหน้าที่ในฐานะทหารเมื่อชาติต้องการ แต่สามารถปฏิบัติหน้าที่เช่นพลเรือนทั่วไปในยามสงบ ซึ่งในที่สุดความคิดนี้ก็นำไปสู่การจัดตั้งกองหนุนของแต่ละเหล่าทัพ (Reserve Force) และกองกำลังพิทักษ์ชาติ (National Guard) ด้วยการฝึกอบรมในที่ตั้งของกองกำลังพิทักษ์ชาติในท้องถิ่นนั้น


กำเนิดอีกทางหนึ่งของ ROTC สมัยใหม่ มาจาก ‘Plattsburg Idea’ ในปี ค.ศ.1915 พลตรี Leonard Wood ได้จัดตั้งหน่วยฝึกทหารพลเมือง ซึ่งการฝึกตอนแรกจะแยกความเป็นทหารออกจากการเป็นพลเรือนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่มีความพยายามในการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม และมีการบรรจุนายทหารที่มีทักษะทางทหาร หลังจากการฝึกทหารในช่วงฤดูร้อน ชายอเมริกันกว่า 5,000 นาย มาถึงเมือง Plattsburgh ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ.1917 เพื่อเป็นกองทหารอาสากลุ่มแรก ปลายปี ค.ศ.1917 มีชายอเมริกันมากกว่า 17,000 นาย ได้รับการฝึกช่วงก่อนเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สหรัฐอเมริกามีกองกำลังเตรียมพร้อม รวมถึงหนึ่งในผู้ที่สำเร็จการศึกษาจาก Plattsburgh รุ่นแรกสุดคือ Theodore Roosevelt Jr. (บุตรชายคนโตของ Theodore Roosevelt ประธานาธิบดีคนที่ 26 ของสหรัฐฯ)


กระทั่งทศวรรษ 1960 มหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ หลายแห่งจำเป็นต้องใช้ ROTC ภาคบังคับสำหรับนักศึกษาชายทุกคน อย่างไรก็ตาม จากการประท้วงต่อต้านบทบาทของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม ROTC ภาคบังคับจึงถูกยกเลิกไป คงไว้แต่โปรแกรมอาสาสมัคร ในบางแห่ง ROTC ถูกยกเลิกจากมหาวิทยาลัยโดยสิ้นเชิง

ศตวรรษที่ 21 การถกในรัฐสภาอเมริกันเน้นไปยัง ‘กฎหมายไม่ถามไม่บอก (Don't Ask, Don't Tell)’ ซึ่งลงนามในกฎหมายโดยประธานาธิบดี Bill Clinton ในปี ค.ศ.1993 และบังคับใช้จนถึงปี ค.ศ.2011 ซึ่งห้ามพวกรักร่วมเพศเข้าร่วมในกองทัพสหรัฐฯ จากการเปิดเผยถึงรสนิยมทางเพศ ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกปลดประจำการ วิทยาลัยบางแห่งเชื่อว่า คำสั่งทางกฎหมายนี้จะกำหนดให้พวกเขายกเว้นหรือแก้ไขนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติ


ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีความพยายามร่วมกันกำลังทำอยู่ที่มหาวิทยาลัยไอวี่ลีกที่เคยยกเลิก ROTC (รวมทั้ง ม.Columbia) เพื่อให้ ROTC กลับคืนสู่มหาวิทยาลัย โปรแกรม Harvard ROTC ได้รับการดำเนินการใหม่ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ.2011 หลังจากมีการยกเลิกกฎหมาย Don't Ask, Don't Tell ปี ค.ศ. 2010

ภายใต้กฎหมายปัจจุบันมีโปรแกรม ROTC 3 ประเภท ซึ่งแต่ละโปรแกรมมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ได้แก่


- โปรแกรมแรก คือ โปรแกรมที่วิทยาลัยการทหารระดับสูง (Senior Military Colleges : SMCs) 6 แห่งหรือที่เรียกว่า วิทยาลัยการทหาร ได้แก่ (1) Norwich University, Northfield, Vermont (2) Texas A&M University, College Station, Texas (3) The Citadel, The Military College of South Carolina, also known as The Citadel, in Charleston, South Carolina (4) Virginia Military Institute, in Lexington, Virginia (5) Virginia Tech, in Blacksburg, Virginia และ University of North Georgia, Dahlonega, Georgia สถาบันเหล่านี้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี (อย่างน้อยที่สุด) และจัดให้นักเรียนทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นนักเรียนนายทหารภายใต้ระเบียบวินัยทางทหาร ผู้ที่เข้าร่วมในโปรแกรมนักเรียนต้องเข้าร่วมการศึกษา ROTC อย่างน้อย 2 ปี


- โปรแกรมที่ 2 คือ ‘วิทยาลัย/มหาวิทยาลัยพลเรือน’ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทัพบก วิทยาลัย/มหาวิทยาลัยเหล่านี้ เป็นวิทยาลัย/มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี และไม่ได้สอนหลักสูตรทางทหาร


- ประเภทที่ 3 คือ หลักสูตรที่วิทยาลัยทหารชั้นผู้น้อย (Programs at military Junior Colleges (MJC)) เหล่านี้ เป็นโรงเรียนทหารที่ให้การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/อนุปริญญา (โดยทั่วไปคือ AS หรือ AA) โรงเรียนเหล่านี้ไม่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี แต่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดอื่น ๆ ของวิทยาลัยการทหาร (หากเข้าร่วมในโครงการอบรม Early Commissioning Program : ECP ก่อน) และนักเรียนนายทหารจะต้องผ่านมาตรฐานทางทหารเช่นเดียวกับโรงเรียนอื่น ๆ (หากลงทะเบียนใน ECP) ตามที่คำสั่งระบุไว้ว่า นักเรียนนายทหารจะเข้าเป็นนายทหารยศร้อยตรีในกองทัพบก/กองกำลังพิทักษ์ชาติเมื่อเรียนจบ เมื่อทำสัญญาแล้ว ร้อยตรีเหล่านี้จะต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันอื่น (ตามที่นายทหารแต่ละคนได้เลือก) ในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยของตน เมื่อได้รับปริญญาตรี ร้อยตรี (ECP) สามารถรับการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องในยศร้อยโท มีเพียงกองทัพเท่านั้นที่เสนอโปรแกรมการบรรจุล่วงหน้า ในช่วงสงคราม MJC มีบทบาทสำคัญในการสร้างนายทหารให้กับกองทัพบก ในช่วงสงครามเวียดนาม ความต้องการนายทหารสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนั้น ไม่ได้มีผลบังคับใช้ ดังนั้น เมื่อมีบรรจุนายทหารก็สามารถตรงไปทำหน้าที่ในตำแหน่งที่รับผิดชอบได้เลย


เมื่อเข้าร่วมในโครงการ ROTC ที่เลือกได้จากมหาวิทยาลัยมากกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ มี เหตุผลหลัก 2 ประการที่ทำให้ ROTC เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ คือ (1) มีโอกาสได้รับทุนการศึกษาและ (2) ผู้สำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เข้าร่วมกองทัพในตำแหน่งนายทหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับยศ ‘ร้อยตรี’ มีโปรแกรมแยกต่างหาก สำหรับกองทัพบก, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน สำหรับ Coast Guard ไม่มีโปรแกรม ROTC นักศึกษา ROTC จะได้รับผลประโยชน์ทางการเงิน โดยมีทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนใน ROTC หากได้รับการคัดเลือก สามารถได้รับการสนับสนุนทางการเงินไม่เกิน 4 ปีสำหรับ ค่าเล่าเรียน, ห้องพัก, ค่าอาหาร และค่าหนังสือ มีทุนการศึกษามากมายผ่านทางการฝึกทหาร แต่ ROTC ไม่ใช่วิธีเดียวที่จะได้รับการศึกษาผ่านทางการทหาร หากเคยทำหน้าที่ในกองทัพแล้ว คุณสามารถเรียนต่อระดับวิทยาลัยในฐานะทหารผ่านศึกได้


ประเภทของ ROTC : กองทัพบก ด้วยวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยกว่า 1,100 แห่ง ที่ร่วมโปรแกรม ROTC กองทัพบก มีสาขาวิชาและวิทยาเขตที่หลากหลายเป็นตัวเลือก ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับมอบหมายให้เป็นร้อยตรี จากเว็บไซต์กองทัพบกสหรัฐฯ จำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 8 ปี หากได้รับทุนการศึกษา หากไม่ได้รับทุนการศึกษาจะต้องเป็นนายทหารกำลังสำรองที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลา 5 ปีหรือ 3 ปี


กองทัพเรือ จากเว็บ NROTC ของกองทัพเรือสหรัฐฯ มีสถาบันการศึกษา 75 แห่งทั่วประเทศที่เป็นหน่วยร่วม NROTC มี 3 เส้นทางอาชีพ พยาบาลทหาร และเรือตรีสังกัดกองทัพเรือ ร้อยตรีสังกัดนาวิกโยธิน กองทัพเรือ และหน่วยบัญชานาวิกโยธินต้องใช้ทุน 8 ปีหลังจากสำเร็จการศึกษาจากการเรียนตามโครงการ ROTC วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย 4่ ปี


กองทัพอากาศ จากเว็บ AFROTC วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยกว่า 1,100 แห่งร่วมโครงการ ROTC กองทัพอากาศ หลังจากจบการศึกษาแล้วผู้เข้ารับการฝึกจะได้รับยศเป็น เรืออากาศตรี ส่วนใหญ่ต้องทำหน้าที่เพื่อใช้ทุน เป็นเวลา 4 ปีในกองทัพอากาศสหรัฐฯ บางสาขาต้องการความมุ่งมั่นที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นนักบินจะต้องทำหน้าที่ใช้ทุนเป็นเวลา 10 ปี


ทางเลือกในอาชีพ คุณสมบัติสำหรับนักศึกษา ROTC ผู้สมัครจะต้องเป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกา มีส่วนสูงและน้ำหนักตามมาตรฐานเฉพาะเจาะจง และอยู่ในช่วงอายุตามที่กำหนด การเข้าร่วมโครงการ ROTC ของวิทยาลัยตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกของวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย ถือเป็นเส้นทางที่จะก้าวไปสู่การเป็นนายทหารที่บรรจุแต่งตั้งในกองทัพสหรัฐฯ ตามเหล่าทัพที่เลือกสมัคร มีโอกาสในการทำงานในสาขาต่าง ๆ หลังจากสำเร็จการศึกษาหลังจากที่ภาระหน้าที่ทางทหารเสร็จสิ้นแล้ว สามารถเลือกที่จะเป็นนายทหารต่อ หรือเปลี่ยนอาชีพไปอยู่ในภาคเอกชนพลเรือน


อาจสรุปได้ว่า นายทหารหลักของกองทัพสหรัฐฯ มาจากโรงเรียนนายทหารของเหล่าทัพต่าง ๆ และจากโปรแกรม ROTC จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งโปรแกรม ROTC สามารถผลิตนายทหารเป็นกำลังสำรองให้เหล่าทัพต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อไล่เรียงดูนายทหารยศพลเอก (4 ดาว) ของกองทัพบกสหรัฐฯ ปรากฏว่า มาจากโครงการ ROTC ที่รู้จักมากที่สุดท่านหนึ่ง คือ พลเอก Colin Powell อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ อดีตประธานคณะเสนาธิการร่วม กองทัพสหรัฐฯ เป็นผู้จบปริญญาตรี ด้านธรณีวิทยา จาก City College of New York (CCNY) ก็เป็นนายทหารตามโครงการ ROTC 

สำหรับบ้านเราหากเรียนรักษาดินแดน 3 ปี ได้ยศเป็นสิบเอก แล้วจะได้รับการปลดเป็นทหารกองหนุนไม่ต้องเกณฑ์ทหาร หากเรียน 5 ปี ได้รับยศว่าที่ร้อยตรี แล้วปลดเป็นทหารกองหนุนเช่นกัน สิทธิพิเศษไม่มี ยกเว้นศูนย์การบินทหารบกจะรับสมัครศิษย์การบินจากนายทหารชั้นสัญญาบัตร สังกัดกองทัพบก และผู้ที่จบทั้งปริญญาตรี และ รด.ปี 5 ปัจจุบันการรับสมัครนายทหารจากพลเรือนของกองทัพไทย แยกสมัครตามแต่ความต้องการตามความรู้ความสามารถตามที่เหล่าทัพต่าง ๆ โดยไม่มีการนำผลการเรียนวิชาทหารมาพิจารณาแต่อย่างใด หากเหล่าทัพต่าง ๆ รับสมัครนายทหารจากบุคคลพลเรือนทั่วไป โดยนำผลการเรียนวิชาทหารมาพิจารณา น่าจะทำให้ นักเรียน นิสิต นักศึกษา สนใจเรียนวิชาทหารมากขึ้น และจะเรียนต่อจนจบชั้นปีที่ 5 มากขึ้น จะได้บุคลากรที่มีพื้นฐานทางทหาร มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเป็นทหารมากขึ้น และเหล่าทัพต่าง ๆ ก็จะได้นายทหารจากพลเรือนที่มีคุณภาพมากขึ้นด้วย

นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ได้ไลฟ์สด ‘SONDHI TALK’ ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ แสดงจุดยืน

เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 66 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ได้ไลฟ์สด ‘SONDHI TALK’ ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ แสดงจุดยืน ประกาศพร้อมลงถนน ไม่ยอมให้พรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล เพื่อเอื้อสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 66 โดยระบุว่า…

“ผมไม่ยอมแน่ๆ วันนั้นมาถึงเมื่อไหร่ ผมพร้อมจะลงถนนทันที พรรคก้าวไกลต้องการจะคุมกระทรวงกลาโหม เพื่อทำให้ทหารอ่อนแอ ลดงบประมาณทหาร ลดกำลังพล ผมไม่นึกเลยว่า ผมอายุขนาดนี้แล้ว จะเจอความเลวทรามต่ำช้าของคนที่อ้างตัวเองว่าเป็นคนรุ่นใหม่ หากเห็นด้วยกับผม กระจายคำพูดของผมออกไปหาแนวร่วม ถามทุกคนว่า หากไม่อยากให้มีสงคราม บอกไปเลยว่า พรรคก้าวไกล จะเป็นคนนำสงครามเข้ามา นี่คือเรื่องสำคัญที่สุดในประเทศไทยตอนนี้”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top