Saturday, 19 April 2025
กองกำลังประชาชนแห่งเมียนมา

เบื้องลึกกองกำลังประชาชนแห่งเมียนมา  เส้นทางแห่งอุดมการณ์ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

หลังจากที่หนุ่มสาวหลายคนที่มีอุดมการณ์เดียวกันเข้าป่าสู่พื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธที่เป็นแนวร่วมกับ NUG ในตอนนั้น…

- หลายคนได้ไปต่อหากมีเงินมีทองพอจะสามารถลี้ภัยต่อไปยังประเทศที่ 3 ได้ 
- หลายคนไปประเทศที่ 3 พร้อมกับทำตัว Low Profile เพื่อให้คดีการเมืองจบ จากนั้นค่อยกลับมาสู่มาตุภูมิเมียนมาอีกครั้งเมื่อทุกอย่างดีขึ้น
- บางคนไปแล้วก็กลายเป็น PDF ชั้นผู้นำ คอยจัดหาทุนจากต่างประเทศมาสนับสนุนกองกำลังที่ต่อสู้

ส่วนหนุ่มสาวอีกจำนวนหนึ่งที่เคยมีชีวิตเมืองแม้จะไปสู่อ้อมกอดของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอุดมการณ์ที่แน่วแน่ แต่ด้วยการใช้ชีวิตที่ต่างกันสุดขั้วหลายคนจึงเลือกที่จะถอนตัวออกมา บางคนยอมมามอบตัวภายใต้กฏอภัยโทษของรัฐบาลทหาร ในขณะที่อีกหลายคนอยู่ในค่ายที่เขาให้เข้าไม่ให้ออกและสุดท้ายเมื่อหนีออกมาแต่ก็ไม่ได้ถึงบ้าน

การดำเนินการของกลุ่ม PDF มีทั้งการก่อการกับทหาร พลเรือนที่ใกล้ชิดทหาร เจ้าหน้าที่รัฐบาล ไปจนถึงคนทั่วไปที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ แต่แค่สงสัยว่าเป็นสายลับให้ทหาร รวมไปถึงการสร้างกลุ่มกองกำลังโดยเกณฑ์ชาวบ้านในดินแดนห่างไกลมาเป็นพวก ซึ่งแรกๆ ก็มีการให้ความร่วมมือของชุมชนกับกลุ่ม แต่หลังจากที่มีการระเบิดโรงไฟฟ้า ทำลายเสาสัญญาณโทรศัพท์ ระเบิดสะพาน เผาโรงเรียน ทั้งหมดทำให้ประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยและเริ่มผละตัวออกจากการเป็นคนช่วยเหลือสนับสนุน NUG ไปอย่างช้าๆ

>> ในภาพของสงครามตัวแทน
จะเห็นได้ชัดว่ารัสเซียเป็นผู้เข้ามาช่วยสนับสนุนทางกองทัพรัฐบาลทหารของเมียนมาในขณะที่ฝั่ง NUG ก็ได้เข้าพบกับรองเลขาธิการของสหรัฐอเมริกาเพื่อขอการสนับสนุนและช่วยเหลือ แต่เหมือนการช่วยเหลือเหล่านั้นเริ่มถูกบีบให้แคบลงหลังจากที่ทางรัฐบาลทหารสั่งปิด NGO ต้องสงสัยว่าเป็นแหล่งเงินทุนให้กับฝ่ายต่อต้านของเมียนมา ทำให้กิจกรรมการสนับสนุนทุนถูกย้ายมาสู่ NGO ที่อยู่ในประเทศไทยที่เป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับเมียนมายาวที่สุดและยังเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีความเกรงอกเกรงใจเหล่าประเทศทางตะวันตกอยู่ ทำให้คนในแม่สอดหรือข้าราชการในแม่สอดได้เห็นเหล่า พณ ท่านทูตหรือเอกอัคราชทูตทั้งหลายต่างเดินทางมายังแม่สอดด้วยเหตุผลว่ามาเยี่ยมชมค่ายอพยพหรือมาพบกับ NGO ที่ตั้งอยู่แถวนี้ โดยที่ก็น่าสงสัยว่านี่ใช่ภารกิจของทูตที่ต้องมาเยี่ยมชมคนที่ไม่ใช่คนในประเทศตนเองนั้นหรือ

เบื้องลึกกองกำลังประชาชนแห่งเมียนมา ไทย…'ผู้รับบุญ' หรือ 'แพะรับบาป'

ไทยเราได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ให้การดูแลชาวต่างชาติที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นมาช้านานแล้ว

แต่หากนับในยุคปัจจุบันในรัชสมัยของพ่อหลวงล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ก็มี 'เหตุการณ์ที่ท่าแขก' หรือ 'วันท่าแขกแตก' ซึ่งเป็นกลุ่มชาวเวียดนามที่ทางการไทยเรียกว่า 'ญวนอพยพ' การหนีข้ามแม่น้ำโขงจากฝั่งลาวมาฝั่งไทยครั้งนี้เป็นการหนีการปราบปรามของกองกำลังฝรั่งเศสจากเวียงจันทน์ สะหวันเขตและท่าแขก แขวงคำม่วน มายังหนองคาย มุกดาหาร 

จาก 'เหตุการณ์ที่ท่าแขก' ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 ครั้งนั้น นับเป็นการอพยพครั้งใหญ่ของชาวเวียดนามมายังไทย ทำให้ชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ที่ท่าแขกได้หนีข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทยประมาณ 50,000 คน รวมทั้งชาวลาวอีก 4,000 คน โดยชาวเวียดนามเกือบทั้งหมดยังคงลี้ภัยและพำนักอาศัยอยู่ในภาคอีสานของไทยต่อมาจวบจนปัจจุบัน หรือจะเหตุการณ์ที่คอมมิสนิสต์มีชัยในดินแดนอินโดจีนในช่วงประมาณปี 2517 ก็มีชาวเวียดนาม ลาว เขมรจำนวนไม่น้อยที่เดินทางมาลี้ภัยในประเทศไทย และไทยก็เปิดศูนย์รับผู้ลี้ภัยเพื่อรอวันที่พวกเขาเหล่านั้นเดินทางกลับ  และอีกหลายคนก็เลือกที่จะใช้ชีวิตในไทย

>> สงครามกะเหรี่ยงกับภาระของไทย
สงครามระหว่างกะเหรี่ยงกับกองทัพเมียนมามีมาตั้งแต่ปี 2492 โดยรัฐบาลไทยเคยใช้รัฐกะเหรี่ยงเป็นรัฐกันชนกับพม่า ซึ่งหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยเกรงภัยจากคอมมิวนิสต์ที่ได้ตั้งพรรคทั้งในไทยและเมียนมาหรือพม่าในขณะนั้น ที่ได้รับการสนับสนุนจากจีน ไทยและสหรัฐฯ ที่สนับสนุนกบฏกะเหรี่ยง และในช่วง พ.ศ. 2503 – 2533 สหรัฐฯ ยังให้การสนับสนุนรัฐบาลเมียนมาในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ด้วย 

โบเมียะกล่าวว่า รัฐกะเหรี่ยงเป็นรัฐกันชนที่ไม่ให้คอมมิวนิสต์ในไทยและเมียนมารวมตัวกัน นโยบายของรัฐไทยเปลี่ยนไปในช่วง พ.ศ. 2533 เมื่อเมียนมาได้เป็นสมาชิกอาเซียนใน พ.ศ. 2540 ไทยจึงได้ยุติการให้ความช่วยเหลือกองกำลังกะเหรี่ยง ในแง่ของผู้อพยพจากสงครามพบว่ามีชาวกะเหรี่ยงเริ่มอพยพเข้าสู่ไทยใน พ.ศ. 2527 สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงได้ประโยชน์จากค่ายผู้อพยพในไทยในฐานะเป็นที่หลบภัยและเป็นแหล่งสนับสนุนอาหารและวัสดุอื่นๆ ผ่านสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย มีชาวกะเหรี่ยงราว 2 แสนคนอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมามีชาวกะเหรี่ยง 73,775 คน  และเมื่อหลังจากการปฎิวัติชาวกะเหรี่ยงและเมียนมาอีกจำนวนไม่น้อยที่อพยพมาตามชายแดน ซึ่งนี่ไม่รวมถึงผู้ที่ข้ามแดนมาอย่างผิดกฎหมาย

ในวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 14 อ.แม่สอด, กองกำลังนเรศวร, เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง จ.ตาก และฝ่ายปกครอง อ.แม่สอด พร้อมหน่วยข่าวด้านความมั่นคงนำกำลังเข้าควบคุม อาคารพาณิชย์ 4 ชั้น เกือบ 40 คูหา ย่านชุมชนหนาแน่น ถนนตาลเดี่ยว ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก

หลังจากสืบทราบว่ามีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา กลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะ PDF ซึ่งหนีข้ามมาจากฝังเมียนมาเข้ามาเช่าบ้านหลบอาศัยอยู่ในพื้นที่แม่สอดกันอย่างอิสระจำนวนมาก เพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยมีรายงานว่ามีชาวต่างชาติ และองค์กรระหว่างประเทศเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยเมื่อตรวจค้นภายในอาคารพบสัมภาระทางทหาร อุปกรณ์ทางทหาร เครื่องแบบทหาร โลโก้หน่วยทหารกลุ่มต่อต้านต่างๆ รวมทั้งโดรนขนาดต่างๆ อุปกรณ์ควบคุม อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่สำคัญพบกระสุนปืนจำนวนหนึ่ง 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top