Saturday, 19 April 2025
กฟผ

‘กฟผ.’ จับมือ ‘กรมพัฒนาพลังงานฯ’ ร่วมสร้างมาตรฐาน ฉลากแสดงประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการติดฉลาก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย ‘ความเป็นกลางทางคาร์บอน’

เมื่อไม่นานมานี้ นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ร่วมกับ นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือยกระดับประสิทธิภาพพลังงานของโรงงานและอาคารที่มีอยู่เดิม ด้วยการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงาน โดยมีผู้บริหาร พพ. และ กฟผ. ร่วมพิธี ณ อาคาร 50 ปี กฟผ. สำนักงานใหญ่

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท อธิบดี พพ. กล่าวว่า พพ. ได้ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ผ่านการกำกับและบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ.2552 ความร่วมมือในครั้งนี้ พพ. และ กฟผ. จะร่วมกันกำหนดเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของโรงงานและอาคาร ส่งเสริมกระบวนการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานเบอร์ 5 ให้แก่โรงงานและอาคารที่สามารถผ่านเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน ได้ 500 ktoe (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ) ต่อปี ช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ 5,864 ล้านหน่วย ลดการปล่อยคาร์บอนได้ 3.2 ล้านตัน ภายในปี 2580

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวเสริมว่า กฟผ. ได้ดำเนินงานบริหารจัดการด้านการใช้พลังงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ติดฉลาก ฯ แล้วกว่า 470 ล้านดวง ลดการใช้ไฟฟ้ากว่า 37,000 ล้านหน่วย ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 20 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้ดำเนินโครงการที่ปรึกษาพลังงาน มุ่งเน้นการให้คำปรึกษาในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอาคารและโรงงาน

การร่วมมือกับ พพ. ในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงผลลัพธ์ของการใช้พลังงานในอาคารและโรงงานที่มีอยู่เดิมผ่านการกำหนดค่าประสิทธิภาพพลังงาน เตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการภาคอาคารและโรงงานสำหรับการบังคับใช้กฎหมายประหยัดพลังงานของประเทศไทยและการบังคับใช้มาตรการระดับสากลที่มีผลต่อธุรกิจในประเทศไทย รวมทั้งบูรณาการระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของการใช้พลังงานในภาคอาคารและโรงงาน เพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายหรือดำเนินมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทยในอนาคต 

ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นการร่วมกันสร้างกลไกที่สำคัญและเป็นแนวทางที่มีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในภาคส่วนที่มีการใช้พลังงานสูง สร้างผลลัพธ์เชิงบวกด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนต่อไป

‘กฟผ.’ จับมือ ‘มิตซูบิชิฯ’ พัฒนาไฮโดรเจนผลิตไฟฟ้าร่วมก๊าซธรรมชาติ หวังเดินหน้าสู่พลังงานสะอาด - ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ปี 2065

เมื่อวานนี้ (4 มิ.ย.67) นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน และนายนรินทร์ เผ่าวณิช รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมประชุมหารือความร่วมมือทวิภาคีด้านพลังงานระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย ครั้งที่ 6 (The 6th Japan-Thailand Energy Policy Dialogue : 6th JTEPD) ณ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างภาครัฐและเอกชน พร้อมติดตามความก้าวหน้าของความร่วมมือ และนำเสนอโครงการ แนวทางนโยบาย แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์พลังงาน โดยมุ่งเน้นพลังงานสะอาด พลังงานทดแทน เทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานในอนาคต

ทั้งนี้ ในงานประชุมครั้งนี้ กฟผ.ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจกับบริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ เพื่อร่วมศึกษาศักยภาพและพัฒนาการนำไฮโดรเจนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมกับก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าสำหรับกังหันก๊าซ (Gas Turbine) โดยมีเป้าหมายส่งเสริมการเปลี่ยนด้านพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมายก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2065

ความร่วมมือในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศ ในการเดินหน้าเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดตามแผนพัฒนาพลังงานและแนวทางส่งเสริมการใช้ไฮโดรเจนของประเทศไทย ที่ริเริ่มนำเชื้อเพลิงทางเลือกและเชื้อเพลิงสะอาดมาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ของญี่ปุ่น เพื่อผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

อีกทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและแผนพัฒนาโครงการไฮโดรเจนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) กับบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น นำไปสู่การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

‘กฟผ.’ เดินหน้าเพิ่มสัดส่วน ‘พลังงานสะอาด’ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง จับมือ ‘IHI Corporation’ แลกเปลี่ยนความรู้ รุกใช้เชื้อเพลิงชีวมวล-ถ่านหิน

เมื่อวานนี้ (4 มิ.ย.67) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท IHI Corporation ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้ และเทคโนโลยีในการจัดตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง พร้อมทั้งประเมินองค์ประกอบและคุณสมบัติของ wood pellets เพื่อทดสอบการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล อัดแท่งร่วมกับถ่านหินที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยมี นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน และ Mr. Shinichi Kihara (ชินอิจิ คิฮารา), Director General of Agency for Natural Resources and Energy, Ministry of Economy, Trade and Industry of Japan (อธิบดีกรมทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น) เป็นสักขีพยาน ณ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ด้าน นายนรินทร์ เผ่าวณิช รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า กฟผ. ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดในทุกมิติ

โดยร่วมกับบริษัท IHI Corporation บริษัทชั้นนำระดับโลกที่มีประสบการณ์ด้านการเปลี่ยนผ่านเชื้อเพลิงจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล รวมถึงการสร้างโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งที่เหมาะสมกับโรงไฟฟ้า ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์การทำงาน องค์ความรู้ รวมทั้งศึกษาแนวทางด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ในการมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2065

ทั้งนี้ ความร่วมมือในครั้งนี้ประกอบด้วย การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยีในการออกแบบโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง (wood pellets) การประเมินและเลือกรูปแบบของโรงงานผลิตที่เหมาะสม การประเมินองค์ประกอบและคุณสมบัติของ wood pellets รวมถึงมีการทดสอบการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล อัดแท่งร่วมกับถ่านหินที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเป็นการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคการผลิตไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม และมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ของประเทศ

‘พีระพันธุ์’ มั่นใจ ‘กฟผ.’ จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ให้ประเทศไทย

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เชื่อมั่น ‘กฟผ.’ จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ให้ประเทศไทยได้
 

‘พีระพันธุ์’ ยืนยัน!! ตรึงค่าไฟ 4.18 บาทต่อหน่วย ขอบคุณ ‘กกพ.-กฟผ.-ปตท.’ ช่วยทำเพื่อประชาชน

(19 ก.ค. 67) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน กล่าวกรณีมีกระแสข่าวว่าจะปรับขึ้นค่าไฟ 6 บาทต่อหน่วย ว่า "จากการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อยุติว่า จะตรึงค่าไฟไว้ที่ 4.18 บาท รอบเดือน ก.ย.-ธ.ค.67 โดยในวันนี้ได้เชิญประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.), ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และประธานคณะกรรมการบมจ. ปตท. (PTT) มาหารือร่วมกัน

"ส่วนจะตรึงต่อไปอีกกี่เดือนนั้น ต้องพิจารณาตามราคาตามค่าเอฟทีที่ปรับทุก 4 เดือน ซึ่งต้องมาดูตรงนี้ด้วย ถ้ามีการปรับลดลงราคาไฟก็ลดลง อย่างไรก็ตามสำหรับการตรึงค่าไฟรอบนี้ ต้องขอบคุณการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และปตท.ที่ยินดีไม่รับค่าตอบแทนใดๆ จากค่าไฟฟ้างวดนี้เลย เพื่อช่วยเหลือประชาชน"

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ากระแสข่าวที่ออกมาเกิดจากอะไร? นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า "ก็เป็นเหมือนทุกครั้ง ที่พยายามทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด สื่อก็ต้องช่วยทำความเข้าใจ ต้องเข้าใจว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องคิดในสิ่งที่ควรจะเป็นจริง ก่อนที่สุดท้ายจะต้องมาดูด้วยว่า นโยบายจะสามารถแก้ไขอะไรได้บ้าง" 

"การที่จะช่วยประชาชน ไม่ว่าจะค่าไฟฟ้าหรือน้ำมัน ไม่ได้อยู่ที่กระทรวงพลังงานเพียงกระทรวงเดียว แต่ต้องประสานทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเรื่องราคาน้ำมันที่กระทรวงพลังงานพยายามตรึงไว้ที่ราคาเดิมที่ 33 บาท/ลิตร แต่ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนับวันเป็นภาระหนี้สินมากขึ้น การจะปรับลดราคาน้ำมันลงมาได้ต้องปรับลดภาษีด้วย ซึ่งตนพยายามปรับปรุงกฎหมายอยู่ ขณะนี้การยกร่างกฎหมายฉบับที่ 1 เกี่ยวกับการดูแลราคาน้ำมันประจำวันเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการทบทวนความถูกต้อง จากนั้นจะเสนอให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบต่อไป" นายพีระพันธุ์ กล่าวทิ้งท้าย

‘กฟผ.’ พร้อมรับมือแหล่งก๊าซฯ JDA-A18 หยุดจ่ายก๊าซฯ 16 วัน มั่นใจ!! ไม่กระทบผู้ใช้ไฟฟ้าภาคใต้ เตรียมมาตรการรับมือไว้ 5 ด้าน

(27 ก.ค.67) กฟผ. เตรียมมาตรการ 5 ด้าน พร้อมรับมือการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA-A18) เพื่อซ่อมบำรุงประจำปี ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม – 13 สิงหาคม 2567 ยืนยันไม่ส่งผลต่อการใช้ไฟฟ้าภาคใต้ พร้อมขอความร่วมมือทุกภาคส่วนในพื้นที่ภาคใต้ร่วมประหยัดพลังงานในช่วงเวลา 18.00-21.30 น.

นายณัฐวุฒิ ผลประเสริฐ รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า แหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือ JDA-A18 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีกำหนดซ่อมบำรุงรักษาประจำปี ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม – 13 สิงหาคม 2567 รวม 16 วัน ส่งผลให้ไม่สามารถส่งจ่ายก๊าซฯ ให้กับโรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม กฟผ. ได้วางแผนมาตรการรองรับ 5 ด้าน เพื่อไม่ให้กระทบต่อการใช้ไฟฟ้าของประชาชนในภาพรวม ประกอบด้วย

• ด้านเชื้อเพลิง สำรองปริมาณน้ำมันดีเซลที่โรงไฟฟ้าจะนะและน้ำมันเตาที่โรงไฟฟ้ากระบี่ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในช่วงเวลาหยุดจ่ายก๊าซฯ รวมทั้งมีแผนรองรับหากการซ่อมบำรุงล่าช้ากว่ากำหนด

• ด้านระบบผลิต เตรียมโรงไฟฟ้าจะนะให้สามารถเดินเครื่องด้วยน้ำมันดีเซล พร้อมประสานโรงไฟฟ้าอื่น ๆ ในภาคใต้ให้มีความพร้อมเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า และสามารถรับไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน 

• ด้านระบบส่ง ตรวจสอบสายส่งเชื่อมโยงจากภาคกลางมายังภาคใต้ สายส่งไฟฟ้าและอุปกรณ์สำคัญในพื้นที่ให้พร้อมใช้งาน รวมถึงงดการทำงานบำรุงรักษาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง

• ด้านบุคลากร จัดเตรียมทีมงานเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมเข้าแก้ไขสถานการณ์ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

• ด้านผู้ใช้ไฟฟ้า กฟผ. ขอความร่วมมือจากภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน ร่วมกันประหยัดพลังงานไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม – 13 สิงหาคม 2567 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลา 18.00-21.30 น. ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้

“กฟผ. พร้อมดำเนินการตามมาตรการรองรับการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง JDA-A18 อย่างเต็มที่ และจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ขอให้ประชาชนมั่นใจว่าระบบไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้จะมีความมั่นคงและเพียงพอ ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชน” นายณัฐวุฒิ ผลประเสริฐ ได้กล่าวย้ำในตอนท้าย 

‘พีระพันธุ์’ ลั่น!! ตนทำงานแบบไม่เคยเกรงใจใคร

ย้อนไปเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 67 ในการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ที่รัฐสภา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน ต้องลุกขึ้นมาแจงข้อเท็จจริง หลังถูกพรรคฝ่ายค้านโดยนายศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายพาดพิงงบประมาณ ปี 2567 ด้วยข้อมูลที่ไม่ตรงข้อเท็จจริง

โดย สส.ก้าวไกล รายนี้ พาดพิงเรื่องที่รัฐบาลลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนว่า ทำให้เกิดเป็นปัญหาการเงินให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จนประสบปัญหาทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ สส.ก้าวไกล ยกมาตั้งข้อสงสัยรัฐบาลในวันนั้น ก็ถูกตอกกลับด้วยข้อมูลจริงจากทาง รมว.พลังงาน เนื่องจาก สส.ก้าวไกล คนดังกล่าว เลือกเอาข้อมูลที่เป็นเพียง 'ข้อมูลคาดการณ์' ซึ่งทำไว้ล่วงหน้าก่อนของจริงตั้งแต่ตุลาคม 2566 มาพูด โดยมิได้นำ 'ข้อมูลจริง' ที่ 'เกิดขึ้นจริง' ณ เวลาดังกล่าว มานำเสนอกับประชาชนและสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้

โดยเรื่องนี้ หากใครฟังแล้ว ก็จะรู้สึกตกใจว่ารัฐบาลไปยัดปัญหาให้ กฟผ. เพิ่มทำไม? และประชาชนทางบ้าน รวมถึงสื่อมวลชนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง ก็จะยิ่งตกใจตามไปด้วย ขณะที่ นายพีระพันธุ์ เองก็ยอมรับว่า ตกใจ แต่ไม่ใช่การตกใจในข้อมูลและตัวเลขที่ สส.ก้าวไกลคนดังกล่าวพูด แต่เป็นความตกใจที่ ทำไมกล้านำ 'ข้อมูลคาดการณ์' ไม่นำข้อมูลจริง ๆ มาพูดต่อหน้าสาธารณชน

‘พีระพันธุ์’ โต้ ‘สส.ก้าวไกล’ ปมกระแสเงินสด ‘กฟผ.’ ลดลงจนติดลบ เป็นไปไม่ได้

ย้อนไปเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 67 ในการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ที่รัฐสภา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน ต้องลุกขึ้นมาแจงข้อเท็จจริง หลังถูกพรรคฝ่ายค้านโดยนายศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายพาดพิงงบประมาณ ปี 2567 ด้วยข้อมูลที่ไม่ตรงข้อเท็จจริง

โดย สส.ก้าวไกล รายนี้ พาดพิงเรื่องที่รัฐบาลลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนว่า ทำให้เกิดเป็นปัญหาการเงินให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จนประสบปัญหาทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ สส.ก้าวไกล ยกมาตั้งข้อสงสัยรัฐบาลในวันนั้น ก็ถูกตอกกลับด้วยข้อมูลจริงจากทาง รมว.พลังงาน เนื่องจาก สส.ก้าวไกล คนดังกล่าว เลือกเอาข้อมูลที่เป็นเพียง 'ข้อมูลคาดการณ์' ซึ่งทำไว้ล่วงหน้าก่อนของจริงตั้งแต่ตุลาคม 2566 มาพูด โดยมิได้นำ 'ข้อมูลจริง' ที่ 'เกิดขึ้นจริง' ณ เวลาดังกล่าว มานำเสนอกับประชาชนและสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้

โดยเรื่องนี้ หากใครฟังแล้ว ก็จะรู้สึกตกใจว่ารัฐบาลไปยัดปัญหาให้ กฟผ. เพิ่มทำไม? และประชาชนทางบ้าน รวมถึงสื่อมวลชนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง ก็จะยิ่งตกใจตามไปด้วย ขณะที่ นายพีระพันธุ์ เองก็ยอมรับว่า ตกใจ แต่ไม่ใช่การตกใจในข้อมูลและตัวเลขที่ สส.ก้าวไกลคนดังกล่าวพูด แต่เป็นความตกใจที่ ทำไมกล้านำ 'ข้อมูลคาดการณ์' ไม่นำข้อมูลจริง ๆ มาพูดต่อหน้าสาธารณชน

‘พีระพันธุ์’ โต้กลางสภาฯ หลัง ‘สส.ก้าวไกล’ ยกตัวเลขการเงิน ‘กฟผ.’ มาตั้งข้อสงสัย

ย้อนไปเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 67 ในการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ที่รัฐสภา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน ต้องลุกขึ้นมาแจงข้อเท็จจริง หลังถูกพรรคฝ่ายค้านโดยนายศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายพาดพิงงบประมาณ ปี 2567 ด้วยข้อมูลที่ไม่ตรงข้อเท็จจริง

โดย สส.ก้าวไกล รายนี้ พาดพิงเรื่องที่รัฐบาลลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนว่า ทำให้เกิดเป็นปัญหาการเงินให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จนประสบปัญหาทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ สส.ก้าวไกล ยกมาตั้งข้อสงสัยรัฐบาลในวันนั้น ก็ถูกตอกกลับด้วยข้อมูลจริงจากทาง รมว.พลังงาน เนื่องจาก สส.ก้าวไกล คนดังกล่าว เลือกเอาข้อมูลที่เป็นเพียง 'ข้อมูลคาดการณ์' ซึ่งทำไว้ล่วงหน้าก่อนของจริงตั้งแต่ตุลาคม 2566 มาพูด โดยมิได้นำ 'ข้อมูลจริง' ที่ 'เกิดขึ้นจริง' ณ เวลาดังกล่าว มานำเสนอกับประชาชนและสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้

โดยเรื่องนี้ หากใครฟังแล้ว ก็จะรู้สึกตกใจว่ารัฐบาลไปยัดปัญหาให้ กฟผ. เพิ่มทำไม? และประชาชนทางบ้าน รวมถึงสื่อมวลชนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง ก็จะยิ่งตกใจตามไปด้วย ขณะที่ นายพีระพันธุ์ เองก็ยอมรับว่า ตกใจ แต่ไม่ใช่การตกใจในข้อมูลและตัวเลขที่ สส.ก้าวไกลคนดังกล่าวพูด แต่เป็นความตกใจที่ ทำไมกล้านำ 'ข้อมูลคาดการณ์' ไม่นำข้อมูลจริง ๆ มาพูดต่อหน้าสาธารณชน

‘พีระพันธุ์’ ยัน!! ‘กฟผ.’ ชำระหนี้ ‘ปตท.’ หมดสิ้นแล้ว

ย้อนไปเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 67 ในการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ที่รัฐสภา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน ต้องลุกขึ้นมาแจงข้อเท็จจริง หลังถูกพรรคฝ่ายค้านโดยนายศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายพาดพิงงบประมาณ ปี 2567 ด้วยข้อมูลที่ไม่ตรงข้อเท็จจริง

โดย สส.ก้าวไกล รายนี้ พาดพิงเรื่องที่รัฐบาลลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนว่า ทำให้เกิดเป็นปัญหาการเงินให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จนประสบปัญหาทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ สส.ก้าวไกล ยกมาตั้งข้อสงสัยรัฐบาลในวันนั้น ก็ถูกตอกกลับด้วยข้อมูลจริงจากทาง รมว.พลังงาน เนื่องจาก สส.ก้าวไกล คนดังกล่าว เลือกเอาข้อมูลที่เป็นเพียง 'ข้อมูลคาดการณ์' ซึ่งทำไว้ล่วงหน้าก่อนของจริงตั้งแต่ตุลาคม 2566 มาพูด โดยมิได้นำ 'ข้อมูลจริง' ที่ 'เกิดขึ้นจริง' ณ เวลาดังกล่าว มานำเสนอกับประชาชนและสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้

โดยเรื่องนี้ หากใครฟังแล้ว ก็จะรู้สึกตกใจว่ารัฐบาลไปยัดปัญหาให้ กฟผ. เพิ่มทำไม? และประชาชนทางบ้าน รวมถึงสื่อมวลชนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง ก็จะยิ่งตกใจตามไปด้วย ขณะที่ นายพีระพันธุ์ เองก็ยอมรับว่า ตกใจ แต่ไม่ใช่การตกใจในข้อมูลและตัวเลขที่ สส.ก้าวไกลคนดังกล่าวพูด แต่เป็นความตกใจที่ ทำไมกล้านำ 'ข้อมูลคาดการณ์' ไม่นำข้อมูลจริง ๆ มาพูดต่อหน้าสาธารณชน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top